Neutron radiography | การถ่ายภาพด้วยนิวตรอน [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
BWR type reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำเดือด, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้น้ำเป็นทั้งตัวทำให้เย็นและตัวหน่วงความเร็ว นิวตรอน โดยออกแบบการทำงานให้น้ำเดือดอยู่ภายในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และใช้ไอน้ำที่เกิดขึ้นไปขับกังหันไอน้ำของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยตรงเพื่อ ผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า [นิวเคลียร์] |
Absorber | สารดูดกลืน, วัสดุใดๆ ที่สามารถดูดกลืนหรือลดความเข้มของ<em>รังสีชนิดก่อไอออน</em> ตัวอย่างของสารดูดกลืน<em>นิวตรอน</em> เช่น แฮฟเนียม หรือ แคดเมียม ใช้เป็นแท่งควบคุมใน<em>เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์</em> สารดูดกลืนรังสีแกมมา เช่น คอนกรีตและเหล็ก ใช้เป็นวัสดุกำบังรังสีในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แผ่นกระดาษหรือแผ่นโลหะบางสามารถดูดกลืนหรือลดความเข้มของรังสีแอลฟาได้ [นิวเคลียร์] |
Activation | การก่อกัมมันตภาพรังสี, กระบวนการทำให้ธาตุเกิดกัมมันตภาพรังสีโดยการระดมยิงธาตุนั้นๆ ด้วยนิวตรอน โปรตอน หรือ อนุภาคอื่นๆ ตัวอย่างการก่อกัมมันตภาพรังสี เช่น การผลิตสารไอโซโทปกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 โดยการระดมยิงธาตุเทลลูเรียมด้วยนิวตรอน [นิวเคลียร์] |
Advanced Gas-cooled Reactor | เครื่องปฏิกรณ์ขั้นสูงระบายความร้อนด้วยแก๊ส, เอจีอาร์, <em>เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์</em>ผลิตไฟฟ้าแบบหนึ่ง ใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ระบายความร้อน โดยพัฒนามาจากแบบที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ ตัวอย่างของเครื่องปฏิกรณ์ชนิดนี้คือเครื่องปฏิกรณ์ Hinkley Point B อยู่ทางตะวันตกของประเทศอังกฤษ ใช้ยูเรเนียมไดออกไซด์ (มียูเรเนียม-235 ร้อยละ 1.4 ถึง 2.6) เป็นเชื้อเพลิง และใช้แกรไฟต์เป็น<strong>สารลดความเร็วนิวตรอน</strong> เครื่องปฏิกรณ์นี้ สามารถผลิตไอน้ำที่มีอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส และความดัน 16 เมกะพาสคัล ทำให้มีประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้สูงถึงร้อยละ 40 ซึ่งสูงเท่ากับโรงไฟฟ้าพลังเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน [นิวเคลียร์] |
Alpha particle | อนุภาคแอลฟา, อนุภาคที่มีประจุบวก ประกอบด้วย<em>โปรตอน</em> 2 อนุภาค และ<em>นิวตรอน</em> 2 อนุภาค ซึ่งเหมือนกับนิวเคลียสของฮีเลียม-4 มีความสามารถในการทะลุทะลวงต่ำ ผ่านอากาศได้เพียง 2-3 เซนติเมตร และไม่สามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษหรือผิวหนังได้ อนุภาคแอลฟาเกิดจาก<em>การสลาย</em>ของสารกัมมันตรังสีบางชนิด เช่น ยูเรเนียม และทอเรียม [นิวเคลียร์] |
Atom | อะตอม, หน่วยที่เล็กที่สุดที่ยังคงสมบัติทางเคมีของธาตุ โครงสร้างของอะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสอยู่ตรงกลางและอิเล็กตรอนอยู่ในวงโคจรรอบนิวเคลียส นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน ในสภาพปกติอะตอมมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับโปรตอน [นิวเคลียร์] |
Atomic weight, A | น้ำหนักเชิงอะตอม, น้ำหนักทั้งหมดของโปรตอนกับนิวตรอนในนิวเคลียสของธาตุรวมกัน (ดู atomic mass ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Binding energy | พลังงานยึดเหนี่ยว, พลังงานยึดเหนี่ยวของโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียส มีค่าเท่ากับพลังงานที่น้อยที่สุดสำหรับการแยกนิวเคลียสออกเป็นโปรตอนและนิวตรอน นอกจากนี้ยังหมายถึง พลังงานยึดเหนี่ยวของอิเล็กตรอนด้วย ซึ่งมีค่าเท่ากับพลังงานที่ต้องใช้เพื่อแยกอิเล็กตรอนออกมาจากอะตอมหรือโมเลกุล [นิวเคลียร์] |
Boron Neutron Capture Therapy | บีเอ็นซีที, รังสีรักษาโดยการจับยึดนิวตรอน, การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งบางชนิด โดยการฉีดสารประกอบโบรอนเสถียรให้ไปสะสมในเซลล์มะเร็ง แล้วฉายรังสีนิวตรอนไปที่บริเวณนั้น อะตอมโบรอนจะจับยึดนิวตรอนไว้กลายเป็นโบรอนกัมมันตรังสี ซึ่งจะสลายพร้อมกับปล่อยอนุภาคแอลฟาออกมาทำลายเซลล์มะเร็งนั้น (ดู neutron capture ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Boiling water reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำเดือด, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้น้ำเป็นทั้งตัวทำให้เย็นและตัวหน่วงความเร็วนิวตรอน โดยออกแบบการทำงานให้น้ำเดือดอยู่ภายในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และใช้ไอน้ำที่เกิดขึ้นไปขับกังหันไอน้ำของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยตรงเพื่อผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า [นิวเคลียร์] |
Breeder reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ผลิตเชื้อเพลิง, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ผลิตวัสดุฟิสไซล์ขึ้นในแบล็งเคต โดยนิวตรอนเข้าไปทำปฏิกิริยากับวัสดุเฟอร์ไทล์บางส่วนทำให้กลายเป็นวัสดุฟิสไซล์, Example: [นิวเคลียร์] |
Burst reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบทวีกำลัง, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยที่สามารถเพิ่มกำลังและรังสีให้สูงขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ซ้ำๆ กันได้ โดยนิวตรอนฟลักซ์ในระหว่างการทวีกำลังแต่ละครั้งมีค่าสูงมากเกินกว่าการเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในสภาวะปกติ [นิวเคลียร์] |
Burnable poison | สารพอยซันเสื่อมสภาพได้, สารดูดกลืนนิวตรอน เช่น โบรอน ที่ผสมไว้ในแท่งเชื้อเพลิงหรือเปลือกแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์เพื่อลดการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ในระยะแรก ซึ่งมีปริมาณเชื้อเพลิงมาก หลังจากใช้งานไประยะหนึ่งจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสารที่ไม่ดูดกลืนนิวตรอน เป็นการชดเชยผลจากเชื้อเพลิงที่ถูกใช้ไป และการสะสมตัวของผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียสที่ดูดกลืนนิวตรอนที่เกิดขึ้นในเชื้อเพลิง ทำให้อายุการใช้งานของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ยาวนานขึ้น [นิวเคลียร์] |
Carbon-14 | คาร์บอน-14, ไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุคาร์บอน มีครึ่งชีวิต 5, 730 ปี เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นบนของโลก โดยอนุภาคนิวตรอนที่เกิดมาจากรังสีคอสมิกไปชนนิวเคลียสของธาตุไนโตรเจนเกิดเป็นคาร์บอน-14 และถูกออกซิไดส์ไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่วงจรของสิ่งมีชีวิต หลังจากสิ่งมีชีวิตตายไป จะไม่มีการแลกเปลี่ยนกับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศอีก คาร์บอน-14 ที่มีอยู่ก็จะสลายลดลงด้วยอัตราที่สามารถทราบได้ จึงใช้ในการคำนวณอายุซากสิ่งมีชีวิตและวัตถุโบราณที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ (ดู Radiocarbon dating ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Chain reaction, Fission | ปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียส, ปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียสที่สามารถเกิดขึ้นซ้ำๆ ได้เอง โดยนิวเคลียสจะดูดกลืนนิวตรอนแล้วเกิดการแบ่งแยกของนิวเคลียสขึ้น พร้อมกับปลดปล่อยนิวตรอนใหม่เพิ่มขึ้นออกมา ซึ่งจะถูกนิวเคลียสอื่นๆ ดูดกลืนต่อไปอีก และทำให้เกิดปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียสต่อเนื่องไปเรื่อยๆ (ดู nuclear fission ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Chemical shim | สารเคมีเสริมการควบคุม, สารเคมี เช่น กรดบอริก ที่เติมเข้าไปในตัวทำให้เย็นของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อเสริมการทำงานของแท่งควบคุมปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียส โดยการดูดกลืนนิวตรอน, Example: [นิวเคลียร์] |
Control rod | แท่งควบคุม, อุปกรณ์ควบคุมกำลังของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มีลักษณะเป็นแท่ง แผ่น หรือท่อ ประกอบด้วยสารดูดกลืนนิวตรอน เช่น แฮฟเนียม โบรอน อุปกรณ์นี้อยู่ภายในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และสามารถปรับการเคลื่อนที่เข้าหรือออกเพื่อลดหรือเพิ่มอัตราการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์, Example: [นิวเคลียร์] |
Core | แกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, บริเวณส่วนกลางเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ประกอบด้วย เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ แท่งควบคุม สารหน่วงนิวตรอน และโครงสร้างที่รองรับอุปกรณ์ต่างๆ [นิวเคลียร์] |
Criticality | ภาวะวิกฤต, ภาวะที่ปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียสสามารถสืบเนื่องอยู่ได้ โดยอัตราการเกิดนิวตรอนจากปฏิกิริยาเท่ากับอัตราการสูญเสียนิวตรอน [นิวเคลียร์] |
Delayed neutrons | ดีเลย์นิวตรอน, นิวตรอนที่ถูกปล่อยออกมาจากผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียสในช่วงเวลาหลายวินาทีหรือหลายนาทีภายหลังการเกิดปฏิกิริยาการแบ่งแยกนิวเคลียส ดีเลย์นิวตรอนที่เกิดขึ้นนี้มีไม่เกินร้อยละ 1 ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการออกแบบและควบคุมเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (ดู prompt neutrons ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Elementary particles | อนุภาคมูลฐาน, อนุภาคชั้นสามัญที่สุดของสสารและรังสี ส่วนใหญ่มีอายุสั้นและไม่ปรากฏในภาวะปกติ (ยกเว้น อิเล็กตรอน นิวตรอน โปรตอน และนิวทริโน) เดิมหมายถึงอนุภาคใดๆ ที่ไม่สามารถแบ่งย่อยต่อไปได้ หรืออนุภาคที่เป็นองค์ประกอบของอะตอม ปัจจุบันหมายถึงอนุภาคโปรตอน นิวตรอน อิเล็กตรอน มีซอน มิวออน แบรีออน และปฏิยานุภาคของอนุภาคเหล่านี้ รวมทั้งโฟตอน แต่ไม่รวมอนุภาคแอลฟาหรือดิวเทอรอน [นิวเคลียร์] |
Enhanced-Radiation Warhead | หัวรบเพิ่มสมรรถนะรังสี, อีอาร์ดับเบิลยู, หัวรบที่เป็นลูกระเบิดนิวตรอน (ดู neutron bomb ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Epithermal neutron | เอพิเทอร์มัลนิวตรอน, นิวตรอนที่มีพลังงานสูงกว่าเทอร์มัลนิวตรอนแต่ต่ำกว่านิวตรอนเร็ว มีพลังงานในช่วง 0.5 อิเล็กตรอนโวลต์ ถึง 1 แสนอิเล็กตรอนโวลต์ คำนี้มีความหมายเหมือนกับ intermediate neutron [นิวเคลียร์] |
Water moderated reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์น้ำมวลเบา, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้น้ำธรรมดาเป็นทั้งตัวทำให้เย็นและตัวหน่วงความเร็วนิวตรอน เช่น เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำเดือด และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน ซึ่งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ประเภทนี้ [นิวเคลียร์] |
Triton | ไทรทอน, นิวเคลียสของอะตอมทริเทียม ประกอบด้วยโปรตอน 1 อนุภาค และนิวตรอน 2 อนุภาค [นิวเคลียร์] |
Thorium | ทอเรียม, ธาตุกัมมันตรังสีที่มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 90 มีน้ำหนักเชิงอะตอมประมาณ 232 ไอโซโทปที่มีอยู่ในธรรมชาติ คือ ทอเรียม-232 แปรธาตุเป็นยูเรเนียม-233 ได้ด้วยการอาบนิวตรอน (ดู fertile material, fissile material, transmutation ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Thermalization | การเทอร์มัลไลซ์, กระบวนการที่นิวตรอนพลังงานสูง หรือนิวตรอนเร็ว เกิดการสูญเสียพลังงานจากการชนวัสดุรอบข้าง [นิวเคลียร์] |
Thermal neutron | เทอร์มัลนิวตรอน, นิวตรอนที่มีพลังงานในช่วงประมาณ 0.02 ถึง 0.5 อิเล็กตรอนโวลต์ มีความเร็วเฉลี่ย 2, 200 เมตรต่อวินาที ที่อุณหภูมิห้อง, Example: [นิวเคลียร์] |
Slow neutron | นิวตรอนช้า, นิวตรอนที่มีพลังงานในช่วงประมาณ 0.02 ถึง 0.5 อิเล็กตรอนโวลต์ มีความเร็วเฉลี่ย 2, 200 เมตรต่อวินาที ที่อุณหภูมิห้อง, Example: [นิวเคลียร์] |
Subatomic particle | อนุภาคย่อยของอะตอม, อนุภาคใด ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอะตอม เช่น อิเล็กตรอน นิวตรอน และโปรตอน, Example: [นิวเคลียร์] |
Spallation Neutron Source | ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชัน, เครื่องผลิตนิวตรอนชนิดหนึ่ง โดยการเร่งโปรตอนพลังงานสูงกว่า 100 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ เข้าชนเป้าซึ่งเป็นธาตุหนัก เช่น แทนทาลัม ทังสเตน หรือ ยูเรเนียม ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่มีการปลดปล่อยนิวตรอนพลังงานเฉลี่ย 1 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชันเครื่องแรกมีชื่อว่า KENS ตั้งอยู่ที่สถาบัน KEK (Ko Enerugi Kenkyujo) ประเทศญี่ปุ่น เริ่มใช้งานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2523 [นิวเคลียร์] |
Reflector | ตัวสะท้อน(นิวตรอน), ชั้นวัสดุที่ล้อมรอบแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ทำหน้าที่สะท้อนนิวตรอนกลับเข้าไปในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ทำให้เกิดการแบ่งแยกนิวเคลียสมากขึ้นและใช้นิวตรอนอย่างคุ้มค่า วัสดุที่ใช้เป็นตัวสะท้อนนิวตรอน เช่น แกรไฟต์ เบริลเลียม และยูเรเนียมธรรมชาติ, Example: [นิวเคลียร์] |
Radioactivation | การก่อกัมมันตภาพรังสี, กระบวนการทำให้ธาตุเกิดกัมมันตภาพรังสีโดยการระดมยิงธาตุนั้นๆ ด้วยนิวตรอน โปรตอน หรือ อนุภาคอื่นๆ ตัวอย่างการก่อกัมมันตภาพรังสี เช่น การผลิตสารไอโซโทปกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 โดยการระดมยิงธาตุเทลลูเรียมด้วยนิวตรอน [นิวเคลียร์] |
Radiative capture | การจับยึดแบบปล่อยรังสี, กระบวนการจับยึดทางนิวเคลียร์โดยนิวเคลียสแล้วแผ่เฉพาะรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาทันที เช่น เมื่อนิวเคลียสจับยึดนิวตรอนแล้วปล่อยรังสีแกมมาออกมา [นิวเคลียร์] |
radiation | รังสี, การแผ่รังสี, พลังงานที่แผ่จากต้นกำเนิดรังสีผ่านอากาศหรือสสาร ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น ความร้อน แสงสว่าง คลื่นวิทยุ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา หรือเป็นกระแสของอนุภาคที่เคลื่อนที่เร็ว เช่น รังสีคอสมิก รังสีแอลฟา รังสีบีตา อนุภาคนิวตรอน อนุภาคโปรตอน [นิวเคลียร์] |
Pulsed reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบทวีกำลัง, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยที่สามารถเพิ่มกำลังและรังสีให้สูงขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ซ้ำๆ กันได้ โดยนิวตรอนฟลักซ์ในระหว่างการทวีกำลังแต่ละครั้งมีค่าสูงมากเกินกว่าการเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในสภาวะปกติ [นิวเคลียร์] |
Prompt neutrons | พรอมต์นิวตรอน, นิวตรอนที่ถูกปล่อยออกมาทันทีเมื่อเกิดการแบ่งแยกนิวเคลียส นิวตรอนที่เกิดจากปฏิกิริยานี้มากกว่าร้อยละ 99 เป็นพรอมต์นิวตรอน (ดู delayed neutrons ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Prompt criticality | ภาวะวิกฤตพรอมต์, สถานะของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ปฏิกิริยาลูกโซ่ของการแบ่งแยกนิวเคลียสสามารถคงอยู่ต่อไปโดยพรอมต์นิวตรอนเท่านั้น, Example: [นิวเคลียร์] |
Poison | สารพอยซัน(ต่อปฏิกิริยานิวเคลียร์), วัสดุใดๆ ที่มีภาคตัดขวางการดูดกลืนนิวตรอนสูง ซึ่งจะดูดกลืนนิวตรอนบางส่วนจากปฏิกิริยาลูกโซ่การแบ่งแยกนิวเคลียสในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็นผลให้การเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ลดลง [นิวเคลียร์] |
Nucleus | นิวเคลียส, แกนกลางของอะตอม มีประจุเป็นบวก และขนาดเล็กประมาณ 10-15 เมตร หรือประมาณ 1 ใน 10, 000 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของอะตอม เป็นที่รวมของมวลเกือบทั้งหมดของอะตอม ทุกนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน ยกเว้นนิวเคลียสของไฮโดรเจนธรรมดาที่มีเพียงโปรตอนหนึ่งอนุภาค [นิวเคลียร์] |
Nucleon | นิวคลีออน, องค์ประกอบของนิวเคลียส หมายถึง โปรตอน หรือนิวตรอน, Example: [นิวเคลียร์] |
Nuclear transformation | การแปลงนิวเคลียส, การเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของธาตุด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ เช่น การแปรธาตุยูเรเนียม-238 เป็นพลูโทเนียม-239 โดยการก่อกัมมันตภาพรังสีด้วยนิวตรอน <br>(ดู transmutation ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Nuclear reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, อุปกรณ์สำหรับให้ปฏิกิริยาลูกโซ่การแบ่งแยกนิวเคลียสเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและสามารถควบคุมได้ ใช้สำหรับผลิตนิวตรอน หรือพลังงานความร้อน มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ แกนปฏิกรณ์ ซึ่งบรรจุเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ สารหน่วงความเร็วนิวตรอน สารสะท้อนนิวตรอน สารหล่อเย็น วัสดุกำบังรังสี และระบบควบคุม <br>บางครั้งเรียกว่า เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู (atomic reactor)</br> [นิวเคลียร์] |
Nuclear reactions | ปฏิกิริยานิวเคลียร์, ปฏิกิริยาที่เกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของอะตอม เช่น ฟิชชัน ฟิวชัน การจับยึดนิวตรอน หรือ การสลายกัมมันตรังสี ซึ่งแตกต่างกับปฏิกิริยาเคมี ที่จำกัดอยู่เพียงการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของอิเล็กตรอนที่อยู่รอบๆ นิวเคลียส [นิวเคลียร์] |
Nuclear fission | การแบ่งแยกนิวเคลียส, การที่นิวเคลียสของธาตุหนักบางชนิดแยกออกเป็นนิวเคลียสของธาตุที่เบากว่าอย่างน้อยสองชนิดที่มีขนาดใกล้เคียงกัน พร้อมกับปลดปล่อยนิวตรอน 1 ถึง 3 อนุภาค รังสีแกมมา และพลังงานออกมา [นิวเคลียร์] |
Neutron generator | เครื่องกำเนิดนิวตรอน, เครื่องเร่งอนุภาคชนิดหนึ่งที่ใช้ในการผลิตนิวตรอน โดยการเร่งอนุภาคที่มีประจุ เช่น ดิวเทอรอน ให้มีพลังงานระหว่าง 150-500 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ แล้วปล่อยให้ชนกับเป้าบางๆ ที่เหมาะสม ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นจะให้นิวตรอนที่มีพลังงานได้ถึง 17.59 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์, Example: [นิวเคลียร์] |
Neutron generation | รุ่นนิวตรอน, นิวตรอนที่เกิดขึ้นจากการแบ่งแยกนิวเคลียสในแต่ละรุ่น โดยนิวตรอนที่เกิดและปล่อยออกมาในรุ่นก่อน จะเกิดการเทอร์มัลไลซ์ และถูกดูดกลืนโดยวัสดุฟิสไซล์แล้วเกิดการแบ่งแยกนิวเคลียสให้นิวตรอนรุ่นถัดมา และเกิดตามกระบวนการนี้ไปเรื่อยๆ <br>ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลังทั่วไป จะมีนิวตรอนเกิดขึ้นประมาณ 40, 000 รุ่นในทุก ๆ วินาที</br> <br>(ดู thermalization ประกอบ)</br>, Example: [นิวเคลียร์] |
Neutron density | ความหนาแน่นนิวตรอน, จำนวนของนิวตรอนต่อหนึ่งหน่วยปริมาตรภายในแกนของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ <br>(ดู neutron flux ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Neutron capture | การจับยึดนิวตรอน, กระบวนการที่นิวเคลียสของอะตอมดูดกลืนหรือจับยึดนิวตรอนเอาไว้ โอกาสที่วัสดุจะจับยึดนิวตรอนได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพลังงานของนิวตรอนและธรรมชาติของวัสดุนั้น <br>(ดู cross section ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |