นักบวช | น. ผู้ที่ได้เข้าพิธีบวชตามลัทธิศาสนาต่าง ๆ เช่น ภิกษุ สามเณร บาทหลวง. |
กงเต๊ก | น. การทำบุญให้แก่ผู้ตายตามพิธีของนักบวชนิกายจีนและญวน มีการสวดและเผากระดาษที่ทำเป็นรูปต่าง ๆ มีบ้านเรือน คนใช้ เป็นต้น. |
กมัณฑลุ | (กะมันทะ-) น. กะโหลกนํ้าเต้า, เต้านํ้า, หม้อนํ้า, ภาชนะใส่นํ้าเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจำของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ทำด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ ว่า ภาชนะใส่น้ำ คือ เต้านํ้า (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง (เสือโค). |
กะดี | น. ที่อยู่ของนักบวชเช่นพระภิกษุ, เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่ เช่น วัดกะดีทอง (สามดวง) |
กุฎี | น. ที่อยู่ของนักบวชเช่นพระภิกษุ, เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่, โบราณเรียกว่า กะดี |
ขบฉัน | ก. เคี้ยวกิน (ใช้แก่นักบวช). |
ขบฉัน | น. เรียกอาหารการกินของนักบวช ว่า ของขบฉัน. |
ครอง | นุ่งห่ม (ใช้แก่นักบวช) เช่น ครองจีวร ครองผ้า |
คฤหัสถ์ | (คะรึหัด) น. ผู้ครองเรือน, ผู้ไม่ใช่นักบวช, ฆราวาส, ภาษาปากใช้ว่า กระหัด. |
คาทอลิก | น. ชื่อนิกายหนึ่งของคริสต์ศาสนา มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข เชื่อถือในตรีเอกภาพ คือถือว่า พระบิดา พระบุตร และพระจิต เป็นพระเป็นเจ้าองค์เดียวกัน พระเยซูมี ๒ สภาวะ คือ สภาวะพระเป็นเจ้า กับ สภาวะมนุษย์ ยกย่องแม่พระและนักบุญ มีนักบวชเรียกว่า บาทหลวง, เรียกเต็มว่า โรมันคาทอลิก. |
ฆราวาส | (คะราวาด) น. คนผู้อยู่ครองเรือน, คนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่บรรพชิตหรือนักบวช. |
ชี ๑ | น. นักบวช เช่น ท้าวธคือไกรษรงามสง่า เสด็จเข้าป่าเปนชี (ม. คำหลวง วนประเวศน์) |
ชีปะขาว ๑ | น. นักบวชนุ่งขาวห่มขาว. |
ชีเปลือย | น. นักบวชจำพวกหนึ่ง ถือเพศเปลือยกาย, โดยปริยายใช้เรียกคนที่ไม่นุ่งผ้า. |
ดบัสวิน, ดบัสวี | (ดะบัดสะ-) น. ผู้ประพฤติความเพียร, ฤษี, เพศหญิงว่า ดบัสวินี, เขียนเป็น ดบัศวี ก็มี เช่น รอยมึงบยำชีหน้าหนวด นักบวชด้วยดบัศวี แต่ก่อนฤๅ (ม. คำหลวง ชูชก). |
เดียรถีย์ | (-ระถี) น. นักบวชนอกพระพุทธศาสนาในอินเดียสมัยพุทธกาล. |
ถึงแก่มรณภาพ | ก. ตาย (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร หรือนักบวชในลัทธิศาสนาอื่น), ที่ใช้สั้น ๆ ว่า ถึงมรณภาพ หรือ มรณภาพ ก็มี. |
ถึงมรณภาพ | ก. ตาย (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร หรือนักบวชในลัทธิศาสนาอื่น), มรณภาพ ก็ว่า, ใช้เต็มว่า ถึงแก่มรณภาพ. |
ถือเพศ | ก. ประพฤติปฏิบัติตนเยี่ยงนักบวชหรือผู้ครองเรือน เช่น ถือเพศเป็นฤๅษี ลาจากสมณเพศมาถือเพศเป็นคฤหัสถ์. |
ทชี | (ทะชี) น. นักบวช เช่น พระบาททงงสองฉลองขึ้นเหนือเกล้า ทชีเถ้ากาฬเทพิลน้นน (ม. คำหลวง ทศพร). |
ทิคัมพร | (-พอน) น. ชื่อนิกายในศาสนาเชน นักบวชนิกายนี้ประพฤติตนเป็นคนเปลือยกาย, คู่กับ นิกายเศวตัมพรหรือเศวตามพร. [ ป., ส. ทิคฺ (ทิศ, ฟ้า) + อมฺพร (เครื่องนุ่งห่ม) = ผู้มีฟ้าเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมายความว่า ไม่นุ่งผ้า ]. |
ทุศีล | ว. ล่วงละเมิดศีลหรือวินัย (มักใช้แก่นักบวชนักพรต). |
เทพพยากรณ์ | (เทบ-) น. คำทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าที่มนุษย์ได้รับจากพระเจ้าหรือเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง มักมีนักบวชหรือคนทรงเป็นสื่อกลาง. |
ธชี | (ทะ-) น. พราหมณ์, นักบวช. |
นิกาย | น. หมู่, พวก, หมวด, ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวชในศาสนาเดียวกัน ที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น มหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์ |
นิครนถ์ | (-คฺรน) น. นักบวชในศาสนาเชน. |
บรรพชิต | (บันพะชิด) น. นักบวชในพระพุทธศาสนา. |
บริพาชก | (บอริพาชก) น. ปริพาชก, นักบวชผู้ชายนอกพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งในอินเดีย. |
บริพาชิกา | (บอริ-) น. ปริพาชิกา, นักบวชผู้หญิงนอกพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งในอินเดีย. |
บัพชิต | (บับพะชิด) น. บรรพชิต, นักบวช, ผู้บวช. |
บาทหลวง | (บาดหฺลวง) น. นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก. |
ประชาชน, ประชาราษฎร์ | น. พลเมือง, สามัญชนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ข้าราชการ พ่อค้า หรือนักบวช ในความว่า ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน. |
ปริพาชก | (ปะริ-) น. นักบวชผู้ชายนอกพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งในอินเดีย, เพศหญิงใช้ว่า ปริพาชิกา. |
ปริพาชิกา | (ปะริ-) น. นักบวชผู้หญิงนอกพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งในอินเดีย. |
ปะตาปา | น. นักบวช. |
พระ | นักบวช เช่น พระไทย พระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน |
โยคี | น. นักบวชผู้ปฏิบัติตามลัทธิโยคะ, ฤษีพวกหนึ่ง. |
รูปชี | น. นักบวชหญิง. |
แรงงาน | น. คนงาน, ผู้ใช้แรงในการทำงาน, เช่น การพัฒนาชนบทต้องอาศัยแรงงานจากท้องถิ่น งานก่อสร้างต้องการแรงงานเพิ่ม, ประชากรในวัยทำงาน ไม่รวมถึงคนพิการ คนวิกลจริต นักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน นักบวช ทหาร ผู้ต้องขัง และผู้ประกอบกิจการเพื่อหากำไร เช่น วันแรงงาน, แรงที่ใช้ในการทำงาน เช่น ถนนนี้สร้างสำเร็จด้วยแรงงานของชาวบ้าน |
โรมันคาทอลิก | น. ชื่อนิกายหนึ่งในคริสต์ศาสนา มีสันตะปาปาเป็นประมุข, นักบวชในนิกายนี้ เรียกว่า บาทหลวง. |
ฤษี | (รึ-) น. ฤๅษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ. |
ฤๅษี | น. ฤษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ. |
ลูกประคำ | น. ไม้หรือแก้วเป็นต้นที่ทำเป็นเม็ดกลมมีรูตรงกลางร้อยด้วยด้ายหรือไหม ส่วนมากมี ๑๐๘ ลูก สำหรับนักบวชมีฤษีเป็นต้นใช้สวมคอเพื่อกำหนดนับการบริกรรมภาวนา คือเมื่อบริกรรมภาวนาจบครั้งหนึ่ง ๆ ก็รูดไว้เม็ดหนึ่ง, เครื่องประดับที่ทำเช่นนั้น. |
วัด ๑ | น. สถานที่ทางศาสนา โดยปรกติมีโบสถ์ วิหาร และที่อยู่ของสงฆ์หรือนักบวชเป็นต้น. |
ศาสนบุคคล | น. นักบวชในศาสนา เช่น ภิกษุสามเณรเป็นศาสนบุคคลของพระพุทธศาสนา. |
เศวตัมพร, เศวตามพร | (สะเหฺวตำพอน, -ตามพอน) น. ชื่อนิกายในศาสนาเชนหรือเดียรถีย์นิครนถ์ นักบวชนิกายนี้ประพฤติตนเป็นผู้นุ่งห่มผ้าขาว, คู่กับ นิกายทิคัมพร. |
สมณสาสน์ | (-สาด) น. จดหมายของสมเด็จพระสังฆราชหรือประมุขของประเทศซึ่งเป็นนักบวชที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ. |
เสียพรหมจรรย์ | ก. ขาดจากความเป็นนักบวชเพราะล่วงละเมิดการประพฤติพรหมจรรย์. |
เสียเพศ | ก. เปลี่ยนภาวะจากคฤหัสถ์เป็นนักบวช เช่น ซัดยังเมืองมัทรบุรี เสียเพศเทพี เป็นดาบสศรีโสภา (สมุทรโฆษ), เปลี่ยนภาวะจากนักบวชเป็นคฤหัสถ์ เช่น เสียฤษีพรตเพศ ห้องหิมเวศนาจลจรหล่ำน้นน ราชเวสมธารยิ ทรงเพศเป็นพญามหากระษัตราธิราช (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
อาชีวก | (-วก) น. นักบวชนิกายหนึ่งนอกพระพุทธศาสนาในครั้งพุทธกาล. |