ต้องหา | ก. ถูกกล่าวหาในคดีอาญา. |
ผู้ต้องหา | น. บุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล. |
ก๊อก ๆ แก็ก ๆ | ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ตอนนี้ตกงาน ต้องหาอะไรทำก๊อก ๆ แก็ก ๆ ไปก่อน. |
กักขัง | น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ที่ให้กักตัวผู้ต้องโทษไว้ในสถานที่ซึ่งกำหนดไว้อันมิใช่เรือนจำ มิใช่สถานีตำรวจ และมิใช่สถานที่ควบคุมผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน. |
การไต่สวนมูลฟ้อง | น. กระบวนไต่สวนของศาลเพื่อวินิจฉัยถึงมูลคดีที่จำเลยต้องหา. |
กุญแจมือ | น. ห่วงเหล็กมีกุญแจไข สำหรับเจ้าหน้าที่ใช้ใส่ข้อมือผู้ต้องหา. |
ขยับขยาย | (-ขะหฺยาย) ก. แก้ไขให้คลายความลำบากหรือความคับแคบเป็นต้น เพื่อให้เหมาะแก่ความต้องการหรือเหตุการณ์ เช่น บ้านหลังนี้คับแคบลงไปแล้ว ต้องหาทางขยับขยาย อดทนทำงานนี้ไปก่อนแล้วค่อยขยับขยาย. |
ขัง | กักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล. |
เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า | ก. ให้มีความรอบคอบอย่าประมาท เช่นเดียวกับเวลาจะเข้าป่าจะต้องหามีดติดตัวไปด้วย. |
ทดแทน | ก. ตอบแทน เช่น เราต้องทดแทนคุณแผ่นดิน, ชดใช้หรือชดเชยสิ่งที่เสียไป เช่น ทำของเขาเสียหายไป ก็ต้องหาของใหม่มาทดแทน. |
ปรัศนี | สิ่งที่เป็นเงื่อนงำต้องหาคำตอบ. |
ปล่อยชั่วคราว | ก. ปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยจากการควบคุมหรือขังชั่วระยะเวลาหนึ่งในระหว่างการสอบสวนหรือระหว่างการพิจารณาของศาล โดยไม่มีประกัน มีประกัน หรือมีประกันและหลักประกัน. |
เปลี่ยนตัว | ก. เอาคนหนึ่งเข้าแทนอีกคนหนึ่ง เช่น เปลี่ยนตัวผู้ต้องหา. |
พยานหลักฐาน | น. ในทางแพ่งหมายถึง สิ่งที่จะนำมาใช้ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริง ในทางอาญาหมายถึง สิ่งที่จะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยหรือผู้ต้องหามีความผิดหรือบริสุทธิ์. |
ไพร่ส่วย | น. ไพร่หลวงที่ไม่ต้องการเข้าเดือน แต่ต้องหาสิ่งของใช้ในราชการส่งมาแทน, ไพร่หลวงส่วย ก็ว่า. |
มุ้งสายบัว | น. ห้องขังผู้ต้องหา. |
เรา | ส. สรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม. |
เรือนจำ | น. ที่ขังนักโทษและผู้ต้องหา. |
เศษส่วน | น. จํานวน ๒ จํานวน หรือนิพจน์ ๒ นิพจน์ที่เขียนในรูปของผลหารโดยไม่ต้องหารต่อไปอีก เช่น หรือ จำนวนบนเรียกว่า เศษ จำนวนล่างเรียกว่า ส่วน. |
ส่งข้าวส่งน้ำ, ส่งปิ่นโต | ก. เอาข้าวปลาอาหารเป็นต้นไปให้แก่ผู้ต้องหาหรือนักโทษ เช่น ถ้าติดตะรางใครจะส่งข้าวส่งน้ำให้ ญาติติดคุกเลยต้องส่งปิ่นโตให้เป็นประจำ. |
สถานพินิจ | น.เป็นคำย่อ ใช้เรียกสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กและเยาวชน เช่น สืบเสาะเรื่องราวบุคคล และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด ควบคุมและฝึกอบรมเด็กและเยาวชน . |
สอบ ๑ | ก. ตรวจ ทดลอง เปรียบเทียบ หรือไล่เลียง เพื่อหาข้อเท็จจริง หรือวัดให้รู้ว่ามีความรู้หรือความสามารถแค่ไหน เช่น สอบตาชั่งให้ได้มาตรฐาน สอบราคาสินค้า สอบปากคำผู้ต้องหา สอบพิมพ์ดีด. |
สอบปากคำ | ก. ซักถามเพื่อให้บุคคลให้การโดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ เช่น สอบปากคำพยาน สอบปากคำผู้ต้องหา, กฎหมายใช้ว่า ถามปากคำ. |
หมายขัง | น. หนังสือสั่งการที่ศาลสั่งให้ขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือระหว่างพิจารณาคดีในศาล. |
หมายจับ | น. หนังสือสั่งการที่ศาลสั่งให้เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ต้องหาหรือจำเลย. |
หมายหัว | ก. จดจำไว้ด้วยความประสงค์ร้าย เช่น เขาถูกพวกนักเลงหมายหัวไว้ว่าจะต้องหาทางกำจัดให้ได้, คาดหมายไว้ว่าจะเป็นไปในทางไม่ดี เช่น เด็กคนนี้ถูกหมายหัวไว้ว่าจะต้องสอบตกแน่ ๆ. |
หมายอาญา | น. หนังสือสั่งการที่ศาลสั่งให้เจ้าหน้าที่ทำการจับ ขัง จำคุก หรือปล่อยผู้ต้องหา จำเลย หรือนักโทษ หรือให้ทำการค้น. |