กมลาสน์ | (กะมะลาด) น. “ผู้มีบัวเป็นที่นั่ง” คือ พระพรหม. |
กัป | (กับ) น. อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จจนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์ มาล้างโลก, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ กัลป์ เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ป. กปฺป; ส. กลฺป). (ดู กัลป-, กัลป์). |
กัมลาศ | (กำมะลาด) น. กมลาสน์ คือ พระพรหม เช่น เพียงกัมลาศลงมาดิน (ม. คำหลวง กุมาร). |
กัลป-, กัลป์ | (กันละปะ-, กัน) น. กัป, อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จจนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์มาล้างโลก ซึ่งได้แก่ช่วงเวลากลางวัน วันหนึ่งของพระพรหม คือ ๑, ๐๐๐ มหายุค (เท่ากับ ๔, ๓๒๐, ๐๐๐, ๐๐๐ ปีมนุษย์) เมื่อสิ้นกัลป์ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ โลกจะไร้สิ่งมีชีวิตและอยู่ในความมืดมนจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ แล้วพระพรหมก็จะสร้างโลกเป็นการขึ้นต้นกัลป์ใหม่ โลกจะถูกสร้างและถูกทำลายเช่นนี้สลับกันตลอดอายุของพระพรหม ทั้งนี้ตามคติของพราหมณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ กัป เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. |
ครรไลหงส์ | น. “พระผู้มีหงส์เป็นพาหนะ” หมายถึง พระพรหม เพราะพระพรหมทรงมีหงส์เป็นพาหนะ. |
จตุรพักตร์ | ว. “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม. |
จตุรมุข | น. “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม. |
จัตุรพักตร์ | ว. จตุรพักตร์, “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม. |
ชั่วกัปชั่วกัลป์ | น. ชั่วอายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จจนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์มาล้างโลก ซึ่งเป็นเวลาที่นานมาก เช่น ขอให้คงอยู่ชั่วกัปชั่วกัลป์. |
ตรีมูรติ | ว. มีรูป ๓ คือ รูปพระพรหม รูปพระวิษณุ รูปพระศิวะ. |
ตรีมูรติ | น. ชื่อเรียกเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ มี ๓ องค์ คือ พระพรหม (พระผู้สร้าง) พระวิษณุหรือพระนารายณ์ (พระผู้รักษา) และพระศิวะหรือพระอิศวร (พระผู้ทำลาย). |
ทรง | ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม |
ธาดา | น. ผู้สร้าง, ผู้ทรงไว้, พระพรหมผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์. |
ปรเมษฐ์ | (ปะระเมด, ปอระเมด) น. ผู้สูงสุด คือ พระพรหม. |
ประชานาถ | น. พระพรหม. |
ปัทมปาณี | น. ผู้มีดอกบัวในมือ คือ พระพรหม พระวิษณุ, ชื่อหนึ่งหรือปางหนึ่งของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระหัตถ์ทรงดอกบัว. |
ปิตามหะ | นามพระพรหม. |
แผน ๒ | น. เรียกพระพรหม ว่า ขุนแผน เช่น ขุนแผนแรกเอาดินดูที (แช่งนํ้า). |
พรหมทัณฑ์ | น. ตามศาสนาพราหมณ์หมายความว่า “ไม้พระพรหม” ชื่อศัสตรากายสิทธิ์ชนิดหนึ่ง |
พรหมธาดา | น. พระพรหมผู้สร้าง. |
พรหมบถ | น. ทางไปสู่พระพรหม, ทางไปสู่ความดีสูงสุด. |
พรหมบท | น. ที่อยู่ของพระพรหม |
พรหมบริษัท | น. ชุมนุมพระพรหม, ชุมนุมพราหมณ์. |
พรหมเรขา, พรหมลิขิต | (พฺรมมะ-, พฺรม-) น. อำนาจที่กำหนดความเป็นไปของชีวิต (ถือกันว่า พระพรหมเขียนไว้ที่หน้าผากของเด็กซึ่งเกิดได้ ๖ วัน). |
พรหมโลก | (พฺรมมะ-) น. โลกของพระพรหม |
พรหมโลก | ภูมิเป็นที่สถิตของพระพรหม. |
พรหเมนทร์, พรหเมศวร | (พฺรมเมน, พฺรมเมสวน) น. พระพรหมผู้เป็นใหญ่. |
มหายุค | ๑, ๐๐๐ มหายุค หรือ ๔, ๓๒๐, ๐๐๐, ๐๐๐ ปีมนุษย์ เป็น ๑ กัลป์ เท่ากับช่วงกลางวันของพระพรหมเมื่อถึงเวลาค่ำ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยเพลิง และปล่อยให้โลกอยู่ในความมืด จนกว่าพระพรหมจะสร้างโลกขึ้นใหม่ในเช้าวันรุ่งขึ้น. |
ลิขิต | ก. เขียน, กำหนด, เช่น พระพรหมได้ลิขิตชีวิตไว้แล้ว. |
ศักติ | ชายาของพระผู้เป็นใหญ่ ๓ องค์ ได้แก่ พระสรัสวดี คือ ศักติของพระพรหม พระลักษมี คือ ศักติของพระวิษณุ และพระอุมา คือ ศักติของพระศิวะ. |
สรัสวดี | (สะรัดสะวะดี) น. เทวีองค์หนึ่งในลัทธิศักติของศาสนาฮินดู เป็นชายาของพระพรหม ถือว่าเป็นเทวีแห่งศิลปวิทยา มีหลายชื่อ เช่น ภารตี พราหมี สารทา, ไทยใช้ว่า สุรัสวดี ก็มี. |
สร้าง ๑ | (ส้าง) ก. เนรมิต, บันดาลให้มีให้เป็นขึ้นด้วยฤทธิ์อำนาจ, เช่น พระพรหมสร้างโลก, ทำให้มีให้เป็นขึ้นด้วยวิธีต่าง ๆ กัน (ใช้ทั้งทางรูปธรรมและนามธรรม) เช่น สร้างบ้าน สร้างเมือง สร้างศัตรู สร้างชื่อเสียง. |
สุรเชษฐ์ | น. พระพรหม. |
หงส-, หงส์ ๑ | (หงสะ-, หง) น. นกในนิยายถือว่าเป็นนกในตระกูลสูง มีเสียงไพเราะ เป็นพาหนะของพระพรหม |
หงสรถ | (หงสะรด) น. พระผู้มีหงส์เป็นพาหนะ คือ พระพรหม. |
โองการ | น. คำศักดิ์สิทธิ์ เช่น โองการแช่งน้ำในพระราชพิธีถือพระพิพัฒน์สัตยา (ศรีสัจจปานกาล), ถ้าเป็นคำศักดิ์สิทธิ์มาจากพระดำรัสสั่งของพระมหากษัตริย์ที่รับบรมราชาภิเษกแล้ว เรียกว่า พระราชโองการ หรือ พระบรมราชโองการ. [ ป.; ส. โอํการ = อักษรโอม ซึ่งมาจากคำว่า “อะ อุ มะ” ในทางศาสนาพราหมณ์ หมายถึง พระมหาเทพทั้ง ๓ คือ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม ในทางพระพุทธศาสนา อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า) อุ = อุต̣ตมธม̣ม (พระธรรมอันสูงสุด) ม = มหาสง̣ฆ (พระสงฆ์) ]. |
โอม | น. คำที่ประกอบด้วยเสียง ๓ เสียง คือ อ อุ ม [ อ่านว่า อะ อุ มะ ] รวมกัน ข้างฝ่ายฮินดูหมายถึง พระเจ้าทั้ง ๓ คือ อ = พระศิวะ อุ = พระวิษณุ ม = พระพรหม |