8 ผลลัพธ์ สำหรับ -มรรคา-
ภาษา
หรือค้นหา: -มรรคา-, *มรรคา*เนื่องจากผลลัพธ์มีน้อย ระบบจึงเปลี่ยนคำค้นเป็น *มรรคา*
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
มรรค, มรรค-, มรรคา | (มัก, มักคะ-, มันคา) น. ทาง |
มรรค, มรรค-, มรรคา | เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล |
มรรค, มรรค-, มรรคา | ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ–ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ–ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา–การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ–การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ–การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ–ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ–ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ–ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. |
ฉวาง | (ฉะหฺวาง) ก. ขวาง เช่น อันว่าพยัคฆราช อันฉวางมรรคาพระมัทรี (ม. คำหลวง มัทรี). |
ตระง่อง | (ตฺระหฺง่อง) ก. จ้อง, คอยดู, เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล (ม. คำหลวง กุมาร), กระหง่อง กระหน่อง ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็มี. |
ตระหง่อง, ตระหน่อง | (ตฺระ-) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล (ม. คำหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้. |
ตราบ | (ตฺราบ) น. ข้าง, ฟาก, ริม, เช่น สองตราบจับสูล จำรูลจับศักดิ์ สภักผ้าเกราะผ้ากราย (ม. คำหลวง มหาราช), ไกวกนนแสงแคลงยยาบ สองตราบข้างมรรคา (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
ทูร- | (ทูระ-) ว. คำประกอบหน้าคำศัพท์ หมายความว่า ไกล เช่น ทูรบถ ทูรมรรคา ว่า ทางยาว, ทางไกล. |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0212 seconds, cache age: 0.655 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม