144 ผลลัพธ์ สำหรับ * จาน*
ภาษา
หรือค้นหา: จาน, - จาน-พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
จ | (จอ) พยัญชนะตัวที่ ๘ เรียกว่า จอ จาน เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น กิจ วินิจฉัย ตำรวจ. |
จาน ๑ | น. ภาชนะรูปแบน ๆ สำหรับใส่สิ่งของต่าง ๆ, ลักษณนามเรียกจานที่ไม่มีอะไรบรรจุว่า ใบ หรือ ลูก เช่น จานใบหนึ่ง จาน ๒ ลูก, ลักษณนามเรียกสิ่งของที่บรรจุอยู่ในจานว่าจาน เช่น ข้าวจานหนึ่ง ข้าว ๒ จาน, เรียกของที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น จานเสียง, เรียกมะเขือชนิดหนึ่ง ว่า มะเขือจาน, คู่กับ มะเขือถ้วย. |
จานบิน | น. วัตถุบิน ลักษณะคล้ายจาน ๒ ใบควํ่าประกบกัน เชื่อกันว่าเป็นยานอวกาศที่มาจากดาวดวงอื่น, จานผี ก็เรียก. |
จานผี | ดู จานบิน. |
ทอง ๒ | น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล Butea วงศ์ Leguminosae ชนิด B. monosperma (Lam.) Taub. เป็นไม้ต้น ดอกสีแสด, ทองธรรมชาติ ก็เรียก, พายัพเรียก ทองกวาว, อีสานเรียก จาน |
น ๑ | (นอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๕ เรียกว่า นอ หนู เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากนหรือแม่กน เช่น จาน. |
บิน ๑ | ก. ไปในอากาศด้วยกำลังปีกหรือเครื่องยนต์เป็นต้น เช่น นกบิน เครื่องบินบิน, โดยปริยายหมายถึง การไปโดยลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จานบิน |
แผ่นเสียง | น. วัสดุแผ่นกลมบางซึ่งบันทึกเสียงไว้ในลักษณะเป็นร่องบนผิวพื้น เมื่อใส่บนแผ่นหมุนของหีบเสียง วางเข็มลงในร่องแล้วให้จานหมุนไป ก็จะเกิดเสียงตามที่บันทึกไว้, จานเสียง ก็เรียก. |
ไฟฉาย | น. เครื่องทำความสว่าง ประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญ คือ จานฉายรูปโค้งสำหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุอยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้ มักทำเป็นรูปทรงกระบอก. |
ร้าว | ว. มีรอยแตกลึกเป็นทางลงไปในเนื้อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น แก้วร้าว จานร้าว ผนังร้าว. |
ลายน้ำทอง | น. ลายหรือรูปภาพซึ่งเขียนเส้นทองบนพื้นสีหรือเขียนสีบนพื้นทองบนเครื่องกระเบื้อง เช่น จาน ชาม กระโถน. |
เล่น | กิน เช่น หิวมาก เลยเล่นข้าวเสีย ๓ จาน. |
สถาล | (สะถาน) น. ภาชนะใส่ของ, จาน, ชาม. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
papillitis | ๑. จานประสาทตาอักเสบ๒. ปุ่มอักเสบ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
disc; disk | จาน, จานบันทึก [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
disk; disc | จาน, จานบันทึก [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
disk | จาน, จานบันทึก [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
disk; disc | จาน, จานบันทึก [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
disc; disk | จาน, จานบันทึก [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Disk | จาน, จานแม่เหล็ก, Example: สื่อบันทึกทำด้วยจานโลหะ ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลและโปรแกรม จานแม่เหล็กอาจแบ่งได้เป็นหลายประเภท อาทิ diskette หรือ floppy disk และ hard disk [คอมพิวเตอร์] |
Biodisc | จานหมุนชีวภาพ, จานชีวภาพ, Example: ระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้ตัวกลางเป็นแผ่นกลม เรียงกันเป็นรูปทรงกระบอก เพื่อให้จุลินทรีย์ยึดเกาะ และหมุนตามแกนนอนในรางรับน้ำเสีย : ดู rotating biological contactor (Rotating Biological Contactor, RBC หมายถึง ระบบบำบัดน้ำเสียโดยใช้ตัวกลางทรงกระบอก หมุนตามแกนแนวนอน จุ่มอยู่ในถังที่น้ำเสียไหลเข้ามา จุลินทรีย์ที่เกาะอาศัยบนผิวตัวกลางจะได้รับ ออกซิเจนในจังหวะที่ตัวกลางหมุนขึ้นพ้นน้ำ ) [สิ่งแวดล้อม] |
Impeller | ใบพัด จานใบพัด [พลังงาน] |
Mooney viscosity | ความหนืดของยางดิบหรือยางคอมพาวด์ ทดสอบด้วยเครื่องวัดความหนืด Mooney viscometer ซึ่งเครื่องวัดดังกล่าวมีจานโลหะหมุนอยู่ในห้องใส่ยางภายใต้อุณหภูมิและความ ดันตามที่กำหนดไว้ การหมุนของจานโลหะในยางทำให้เกิดแรงบิด (torque) ขึ้น และจะขับให้สปริงรูปตัวยูเกิดการเคลื่อนที่ ใช้ไมโครมิเตอร์วัดขนาดการเคลื่อนที่ให้ออกมาเป็นมาตรที่เรียกว่า Mooney Viscosity เช่น 50 ML 1+4 (100C) 50 หมายถึง ค่าความหนืดที่วัดได้ในหน่วยมูนนี่ M หมายถึง Mooney L หมายถึง จานหมุนขนาดใหญ่ (ถ้าใช้จานหมุนขนาดเล็กให้ใช้อักษร S) 1 หมายถึง ระยะเวลาที่ใช้ในการอุ่นยางก่อนทดสอบ เป็นนาที 4 หมายถึง เวลาที่ใช้ในการทดสอบ เป็นนาที 100 degree C หมายถึง อุณหภูมิที่ใช้ในการทดสอบ [เทคโนโลยียาง] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
eat off2 | (phrv) กินอาหารจาก (ภาชนะเช่น จาน), See also: รับประทานอาหารจาก, Syn. dine off, eat out of, feed off |
eat out of | (phrv) กินอาหารจาก (ภาชนะเช่น จาน), See also: รับประทานอาหารจาก, Syn. dine off, eat out of, feed off |
discus | (n) แผ่นกลมใช้ขว้างในการแข่งกีฬาประเภทลู่ / ลาน, See also: จักร, จานจักร, Syn. disk, disc, round |
disk | (n) แผ่นดิสก์ (ทางคอมพิวเตอร์), See also: ดิสก์, จานบันทึกแม่เหล็ก, Syn. disc |
diskette | (n) แผ่นดิสก์, See also: ดิสก์เกต, จานบันทึกแม่เหล็ก, Syn. floopy disk, magnetic tape |
flying saucer | (n) ยานอวกาศที่มาจากนอกโลก, See also: จานผี, จานบิน |
mat | (n) ที่รอง (แก้ว, แจกัน, จานอาหาร, ตะเกียง ฯลฯ), See also: แผ่นรอง |
Hope Dictionary
auxiliary memory | หน่วยความจำช่วย <คำแปล>หมายถึงหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ (เพิ่มไปจากหน่วยความจำหลัก) เช่น จานบันทึก เมื่อใดที่ต้องการใช้ ก็ให้เครื่องคอมพิวเตอร์นำมาเก็บในเครื่อง จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม แล้วเก็บลงใหม่ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อมิให้สิ้นเปลืองหน่วยความจำหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ |
auxiliary storage | หน่วยเก็บช่วย <คำแปล>หมายถึงหน่วยความจำหรือหน่วยเก็บที่ใช้เก็บข้อมูลนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ (เพิ่มไปจากหน่วยความจำหลัก) เช่น จานบันทึก เมื่อใดที่ต้องการใช้ ก็ให้เครื่องคอมพิวเตอร์นำมาเก็บในเครื่อง จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม แล้วเก็บลงใหม่ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อมิให้สิ้นเปลืองหน่วยความจำหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์มีความหมายเหมือน auxiliary memory |
blank disk | จานบันทึกเปล่าหมายถึง จานบันทึกที่ไม่มีข้อมูลเก็บ หรือข้อมูลถูกลบออกไปหมด |
boot | (บูท) { booted, booting, boots } n. รองเท้าหุ้มข้อเท้า, รองเท้าบู๊ท, เครื่องหุ้มคล้ายปลอก, ฝาครอบป้องกัน, ปลอกหุ้มเบาะ, โครงรถ, เครื่องรัดทรมานข้อเท้า, การเตะ, การถีบ, การปลดออก vt. สวมรองเท้าบู๊ท, เตะ, ถีบ เริ่มต้นใหม่เริ่มเครื่องใหม่หมายถึง การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เริ่มต้นทำงาน (ว่ากันว่า คำ "boot" นี้ มาจากคำว่า "bootstrap" เบื้องหลังการใช้คำ ๆ นี้ อยู่ที่การขู่ว่า ถ้าไม่ทำงานแล้วละก็ โดนรองเท้าบู๊ตแน่ ๆ เลย) การเริ่มเครื่องใหม่นั้น โดยปกติ เมื่อกดสวิตช์เปิดแล้ว คอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นทำงานด้วยการอ่านจานบันทึกในหน่วยบันทึก A: ถ้าในหน่วยบันทึก A: ไม่มีจานบันทึก ก็จะไปอ่านจานบันทึก C: (จะไม่สนใจหน่วยบันทึก B: เลย) ถ้ามีจานบันทึกใน A: จานบันทึกนั้นจะต้องมีคำสั่งระบบ (แฟ้มข้อมูล command.com) อยู่ คอมพิวเตอร์จึงจะเริ่มต้นทำงานต่อไปได้ ถ้าจานบันทึกใน A: ไม่มีคำสั่งระบบ จะมีรายงานบนจอภาพว่าเป็น "non-system disk" ในกรณีเช่นนี้ต้องเปลี่ยน แผ่น A: หรือดึงแผ่น A: ออก แล้วเริ่มต้นใหม่จาก หน่วยบันทึก C: (ถ้ามี) อนึ่ง การเริ่มเครื่องใหม่นั้น ทำได้ 2 วิธี วิธีแรกเริ่มด้วยการเปิดสวิตช์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ได้อธิบายแล้ว เรียกว่า "cold boot" อีกวิธีหนึ่งที่ใช้เมื่อมีการเปิดเครื่องอยู่ก่อนแล้ว แต่ต้องการเริ่มเครื่องใหม่ หรือเครื่องเกิดขัดข้องหรือค้าง (hang) ให้ กดแป้น CTRL +ALT +DEL เรียกว่า "warm boot" |
brake drum | n. จานเบรก |
casette tape | ตลับแถบบันทึกหมายถึง ม้วนแถบพลาสติกอาบแม่เหล็ก นำมาใช้ในการเก็บข้อมูล ใช้ทั้งกับไมโครคอมพิวเตอร์ และเครื่องขนาดใหญ่ (mainframe) ที่นำมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์นั้น มีลักษณะเหมือนตลับเทปเพลงธรรมดา สมัยหนึ่งเรานิยมใช้แถบบันทึกนี้เก็บข้อมูล เพราะราคาถูกกว่าสื่ออย่างอื่น แต่จะมีปัญหาตามมามากมาย เช่นในเรื่องความคลาดเคลื่อนของข้อมูล อีกทั้งยังมักจะเสียง่าย ในปัจจุบัน จึงหันมานิยมใช้จานบันทึก (diskette) จานบันทึกอัดแน่นหรือซีดี (CD) แทนกันหมดแล้ว |
cd | abbr. ธาตุ cadmium, แผ่นซีดี ย่อมาจาก compact disk แปลตามตัวอักษรว่า จานบันทึกอัดแน่น มีลักษณะเป็นแผ่นจานกลม ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ซม. ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล จานบันทึกนี้มีความจุสูงมาก (ประมาณ 600ล้านตัวอักษร) ปัจจุบันมีอุปกรณ์ใช้อ่านข้อมูลจากจานบันทึกนี้ได้ แต่การบันทึกข้อมูลลง ยังทำไม่ได้ง่าย ๆ ต้องมีเครื่องพิเศษเฉพาะ บันทึกได้ทั้งข้อมูลธรรมดา เพลง ภาพยนตร์ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มาก เพราะราคาถูก ความจุสูง แต่ยังติดขัดในปัญหาบางประการในเรื่องการบันทึกข้อมูลลง ดู CD ROM ประกอบ 2. ย่อมาจากคำ Change Directory เป็นคำสั่งในระบบดอสที่สั่งให้เข้าไปในสารบบ (directory) ใดสารบบหนึ่ง หรือออกจากสารบบใดสารบบหนึ่ง เช่น C:/>CD <ชื่อสารบบ> \ (หมายความว่าให้เข้าไปในสารบบชื่อนั้น) C:> CD\ (หมายความว่า ให้ออกจากสารบบที่อยู่) |
cd-rom drive | หน่วยขับซีดีรอมหมายถึง หน่วยบันทึกที่ใช้อ่านจานบันทึกอัดแน่น หรือซีดี ในปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากมีหน่วยบันทึกที่สามารถอ่านข้อมูลจากสื่อชนิดนี้ได้ แต่ยังคงบันทึกข้อมูลลงไปไม่ได้ ต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ความเร็วในการอ่านค่อนข้างสูงจนดูภาพเคลื่อนไหวได้ดีเหมือนดูภาพยนตร์ ในปัจจุบัน จานซีดีกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นทุกที ทำให้ราคาถูกลงมาก คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจึงมักจะมีหน่วยบันทึกชนิดนี้ติดตั้งไว้ด้วย |
clay pigeon | n. จานเป้าใชัเหวี่ยงขึ้นไปในอากาศ, คนที่อยู่ในภาวะที่คนอื่นเอาเปรียบได้ |
command.com | คอมมานด์จุดคอม (ชื่อแฟ้มระบบ) เป็นชื่อแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่งในระบบดอส ซึ่งบรรจุคำสั่งระบบต่าง ๆ เช่น dir, copy, del จานบันทึกที่นำมาจัดรูปแบบการเก็บข้อมูลด้วยคำสั่ง format A:/s แล้ว จะมีแฟ้มข้อมูลนี้อยู่ในแผ่น A: แฟ้มข้อมูลนี้ จะนำมาใช้เป็นแผ่นเริ่มต้นเปิดเครื่อง (boot) ได้ ถ้าใช้คำสั่ง Format ในระบบวินโดว์ ต้องกากบาทที่ช่องสี่เหลี่ยมหน้าคำ system disk ด้วย จึงจะมีแฟ้มข้อมูลนี้ (จานบันทึกที่ไม่มีแฟ้มข้อมูลนี้ ใช้เก็บแฟ้มข้อมูลได้อย่างเดียว จะนำมาสั่งให้เริ่มเครื่อง (boot) ไม่ได้) |
compression | (คัมเพรส'เชิน) n. การอัด, การบีบ, การกด, ผลจากการถูกอัด, ความกดดัน, ภาวะที่ปริมาตร (ในห้องเครื่อง) ต่ำลงและความกดดันของอากาศสูงขึ้นก่อนการเผาไหม้., Syn. compressure การอัดแน่นหมายถึง นำข้อมูลหรือคำสั่งจำนวนมาก ๆ มาอัดให้แน่น เพื่อ ให้ใช้ที่เก็บในหน่วยความจำ หรือจานบันทึกน้อยลง โดยปกติ จะมีโปรแกรม หรือคำสั่ง ในดอส 6.0 ที่สามารถอัดโปรแกรม ใหญ่ ๆ ที่กินเนื้อที่มาก ๆ ให้เหลือน้อยลง เพื่อจะได้เก็บลงในแผ่นจานบันทึกได้ จานบันทึกชนิดอ่อน floppy disk ในปัจจุบัน มีความสูงสุด 1.44 เมกะไบต์ ฉะนั้น ถ้าแฟ้มข้อมูลใหญ่มาก ก็จะไม่สามารถเก็บลงในแผ่นได้ จึงต้องจัดการอัดให้แน่นเสียก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อจะเรียกมาใช้ จะต้องนำมาคลายออกก่อน เรียกว่า "decompress" การอัดแน่นก็ดี การคลายคืนก็ดี จะต้องมีโปรแกรมเฉพาะจัดทำให้ ในระบบดอส นิยมใช้ PKZip/Unzip ในระบบ Windows 95 โปรแกรมที่นิยมชื่อ WinZip ในระบบยูนิกซ์ ใช้ Gunzipดู expand, decompress เปรียบเทียบ |
crowdie | (เครา'ดี) n. จานอาหาร, จานข้าว |
crowdy | (เครา'ดี) n. จานอาหาร, จานข้าว |
daisey wheel printer | เครื่องพิมพ์แบบจานอักขระหมายถึงเครื่องพิมพ์แบบกระทบ (impact printer) ชนิดหนึ่ง ที่ใช้วิธีพิมพ์ด้วยการมีจานอักขระหรือจานกลม ๆ ที่มีลักษณะเหมือนวงล้อ มีตัวอักขระต่าง ๆ ติดอยู่ที่ปลายก้านแต่ละก้านที่กางออกไปจากศูนย์ตรงกลาง) เวลาพิมพ์ จานนี้ก็จะหมุนไปรอบ ๆ เมื่ออักษรตัวใดกระทบกับกระดาษ ก็จะเกิดเป็นอักษรตัวนั้นบนกระดาษดู daisy wheel ประกอบ |
daisy wheel | จานอักขระหมายถึง จานกลม ๆ มีลักษณะเหมือนวงล้อ มีตัวอักขระต่าง ๆ ติดอยู่ที่ปลายก้านแต่ละก้านที่กางออกไปจากศูนย์ตรงกลาง ใช้กับเครื่องพิมพ์แบบกระทบ (impact printer) เวลาพิมพ์ จานนี้ก็จะหมุนไปรอบ ๆ เมื่ออักษรตัวใดกระทบกับกระดาษ ก็จะเกิดเป็นอักษรตัวนั้นบนกระดาษ |
dasd | (แดสดี) ย่อมาจาก direct access storage device (แปลว่า อุปกรณ์หน่วยเก็บแบบเข้าถึงโดยตรง) หมายถึงสื่อที่ใช้เก็บข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้โดยตรง (direct access) หรือทันที ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกไว้ในส่วนใด เช่น จานบันทึก (disk) ดู direct access ประกอบ |
data entry | การบันทึกข้อมูลหมายถึง การป้อนข้อมูลเข้าไปเก็บในสื่อ (medium) อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น แถบบันทึก (tape) จานบันทึก (disk) ฯลฯ โดยผ่านทางแผงแป้นอักขระ (keyboard) หรืออาจหมายถึงการส่งข้อมูลเข้าประมวลผลในคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้ |
direct access storage dev | อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูลเข้าถึงโดยตรงใช้ตัวย่อว่า DASD (อ่านว่าแดสดี) หมายถึงหน่วยเก็บข้อมูลที่ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกไว้ ณ ส่วนใด เช่น จานบันทึก ดู direct access ประกอบ |
directory | (ดิเรค'ทะรี) n. หนังสือรวบรวมชื่อและที่อยู่ของบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ , แผ่นป้ายแสดงชื่อหน่วยงานและชั้นที่อยู่ของอาคารธุรกิจหลังใหญ่, คณะกรรมการ. adj. เกี่ยวกับการชี้ทาง, เกี่ยวกับการแนะแนว, Syn. list สารบบหมายถึง การแบ่งจานบันทึก โดยเฉพาะจานบันทึกที่มีความจุมาก ๆ ที่สามารถบรรจุแฟ้มข้อมูลได้หลายร้อยแฟ้ม ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อใช้เก็บแฟ้มข้อมูลเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อสะดวกในการค้นหา จานบันทึกทุก ๆ จานจะมีสารบบอย่างน้อยหนึ่งสารบบ เป็นสารบบเริ่มต้นเรียกว่า " สารบบราก " root directory เราอาจใช้คำสั่งสร้างสารบบ หรือสารบบย่อยเพิ่มขึ้น เพื่อใช้เก็บแฟ้มประเภทเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกันเอาไว้ด้วยกัน ก็ได้ การเก็บแฟ้มข้อมูลด้วยวิธีนี้ทำให้หาง่ายขึ้น |
disc brake | n. จานห้ามล้อ |
discus | (ดิส'คัส) n. จานกลมที่ใช้โยนแข่ง, กีฬาโยนจานกลมให้ไกลที่สุด -pl. discuses, disci |
dish | (ดิช) { dished, dishing, dishes } n. จาน, จานกับข้าว, อาหาร1จาน, อาหาร, หญิงสวย. vt. ใส่จาน, ทำคล้ายรูปจาน, คุยกันเล่น, Syn. vessel, container |
disk | (ดิสคฺ) { disked, disking, disks } n. แผ่นกลม, แผ่นเสียง, จานกลม. vt. พรวนดินด้วยคราดกลม., Syn. disc, circle จานบันทึกหมายถึง อุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีลักษณะกลม เหมือนจาน มีอยู่ 3 ชนิด1. จานอ่อน floppy disk มีลักษณะอ่อน บรรจุในซองกระดาษ มีขนาด 5.25x5.25 นิ้ว การเก็บรักษาค่อนข้างยาก จุข้อมูลได้ประมาณสามแสนหกหมื่นถึงหนึ่งล้านสองแสนตัวอักษร 2. จานบันทึกอีกชนิดหนึ่งมีลักษณะแข็งกว่าเพราะห่อหุ้มด้วยพลาสติกแข็ง มีขนาดเล็กกว่าแบบแรก มักเรียกกันว่า diskette มีขนาด 3.5x3.5 นิ้ว จุข้อมูลได้สูงสุดถึง 1.44 ล้านตัวอักษร ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากกว่าแบบแรก เพราะเก็บรักษาได้ง่ายกว่า3. จานบันทึกแข็งหรือที่นิยมเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ hard disk มักจะบรรจุไว้ในกล่องพร้อมกับหน่วยขับ drive แล้วเก็บอยู่ภายในตัวเครื่องเลย ฮาร์ดดิสก์นั้นมีความจุสูงมากประมาณ 100-800 ล้านตัวอักษร เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะมีประสิทธิภาพสูงและราคาลดลงทุกวัน ปัญหาเรื่องการเก็บรักษาเกือบจะไม่มีเลย แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับไวรัสได้นอกจาก 3 ชนิดที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว ก็ยังมีอีกหลายชนิด เช่น จานบันทึกที่นำมาใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ mainframe ที่เรียกว่าชุดจานบันทึก disk pack ซึ่งจะมีแกนยึดติดกันตรงกลาง, จานแสงหรือจานเลเซอร์ optical or laser disk, จานวีดิทัศน์ vedio disk, จานบันทึกอัดแน่น compact disk ซึ่งล้วนแต่มีความจุสูงมาก ปัจจุบันจานบันทึกได้รับความนิยมมากกว่าสื่อบรรจุข้อมูลอื่น เพราะราคาถูก ใช้ซ้ำได้ และการค้นคืนข้อมูลทำได้รวดเร็วกว่าสื่อชนิดอื่น |
disk brake | n. จานห้ามล้อ |
disk pack | ชุดจานชุดจานบันทึกจานบันทึกที่ใช้กับเมนเฟรมมักจะมาเป็นชุด ๆ ละ 5-10 แผ่น มีแกนยึดให้ติดกันอยู่ตรงกลาง ชนิด (ที่เป็นแผ่นเดียวก็มี เรียกว่า disk cartridge) จานนี้ใช้เป็นสื่อเก็บข้อมูล ที่มีประสิทธิภาพมาก โดยปกติ จานบันทึกแต่ละชุดจะบรรจุข้อมูลได้ทั้งสองหน้า ยกเว้นจานแรกและจานสุดท้าย |
diskette | แผ่นบันทึกหมายถึง จานบันทึกขนาดเล็ก เฉพาะที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีลักษณะอ่อน จึงเรียกว่า แผ่นบันทึก บรรจุไว้ในซองกระดาษ ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล เช่นเดียวกับจานบันทึกแม่เหล็ก ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน มีขนาด 5.25x5.25 นิ้ว มีความจุประมาณ 360 เคไบต์ (K byte) หรือ 360, 000 ตัวอักษร และ 1.2 เมกะไบต์ หรือ หนึ่งล้านสองแสนตัวอักษร บางทีเรียกกันว่า floppy disk นอกจากนั้น มีขนาด 3.5x3.5 นิ้ว บรรจุอยู่ในซองที่แข็งกว่า มีความจุประมาณ 720 เคไบต์ และ 1.44 เมกะไบต์ หรือ หนึ่งล้านสี่แสนตัวอักษร ในปัจจุบัน อาจใช้เก็บข้อมูลได้ทั้งสองหน้า ทำให้บรรจุข้อมูลได้มาก (เดิมบรรจุข้อมูลได้หน้าเดียว) หรือบางทีอาจทำให้ข้อมูลเบียดอัดมากขึ้น เรียกว่า double density (DD) ชนิดธรรมดาเรียกว่า single density (เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว) และหากเก็บข้อมูลได้หน้าเดียว เรียกว่า single sided (SS) ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว หากเก็บข้อมูลได้ทั้งสองหน้า เรียกว่า double sided (DS) แผ่นบันทึกชนิดที่มีความจุพิเศษ คือจุได้ถึง 1.2 ล้านตัวอักษรสำหรับแผ่น 5.25 นิ้ว และจุได้ 1.44ล้านตัวอักษรสำหรับแผ่น 3.5 นิ้ว เรียกว่า high density (HD) ดู disk ประกอบ |
double density disk | หนาแน่นสองเท่าใช้ตัวย่อว่า DD (อ่านว่า ดีดี) หมายถึงจานบันทึกที่บรรจุข้อมูลได้สองเท่าของจานบันทึกธรรมดา ในเนื้อที่เท่ากัน เช่น จานDD ขนาด 5.25 นิ้วจุข้อมูลได้ถึง 360 K (ในขณะที่จานบันทึกธรรมดาจุเพียง 180 K) และจานDD ขนาด 3.5 นิ้ว จุได้ถึง 720 K (ในขณะที่จานบันทึกธรรมดาจุเพียง 360 K) จานบันทึกธรรมดาหรือที่เรียกว่าแบบมีความหนาแน่นเท่าเดียว (single density) นั้น บัดนี้หาซื้อไม่ได้แล้ว ดู HD ประกอบ |
erasable storage | หน่วยเก็บที่ลบได้ <คำแปล>หมายถึง สื่อเก็บข้อมูลที่สามารถบันทึกข้อมูลใหม่ทับข้อมูลเก่าได้ เช่น แถบบันทึก (tape) หรือ จานบันทึก (diskette) เมื่อบันทึกข้อมูลใหม่ ข้อมูลเก่าจะถูกลบออกไปเอง ส่วนบัตร (card) เป็นหน่วยเก็บที่ลบไม่ได้ หมายความว่า ใช้ได้ครั้งเดียวก็ต้องโยนทิ้ง |
external memory | หน่วยความจำภายนอกหมายถึง สื่อต่าง ๆ ที่ใช้เป็นตัวเก็บข้อมูลเพิ่มจากหน่วยความจำหลัก (main memory) ในคอมพิวเตอร์ เช่น แถบบันทึก (tape) จานบันทึก (disk) เพราะราคาถูกกว่ามาก ถึงจะไม่เปิดไฟ ก็สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ หน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีที่พอจะนำข้อมูลจำนวนมาก ๆ เข้าไปเก็บไว้ได้หมด (ยิ่งมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งแพงมาก) เพื่อช่วยประหยัด เราอาจเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำรอง หรือหน่วยความจำช่วย (auxiliary storage) นี้ก่อน และจะดึงไปไว้ในหน่วยความจำหลักเฉพาะเมื่อเวลาต้องการเรียกใช้มีความหมายเหมือน external storage, secondary memory และ auxiliary storage |
external storage | หมายถึง สื่อต่าง ๆ ที่ใช้เป็นตัวเก็บข้อมูลเพิ่มจากหน่วยความจำหลัก (main memory) ในคอมพิวเตอร์ เช่น แถบบันทึก (tape) จานบันทึก (disk) เพราะราคาถูกกว่ามาก ถึงจะไม่เปิดไฟ ก็สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ หน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีที่พอจะนำข้อมูลจำนวนมาก ๆ เข้าไปเก็บไว้ได้หมด (ยิ่งมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งแพงมาก) เพื่อช่วยประหยัด เราอาจเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำรอง หรือหน่วยความจำช่วย (auxiliary storage) นี้ก่อน และจะดึงไปไว้ในหน่วยความจำหลักเฉพาะเมื่อเวลาต้องการเรียกใช้มีความหมายเหมือน external memory, secondary memory และ auxiliary storage |
fixed disk | จานบันทึกอยู่กับที่เป็นชื่อที่ใช้เรียกฮาร์ดดิสก์ (hard disk) อีกชื่อหนึ่ง เพราะโดยปกติ เราไม่อาจจะถอดจานบันทึกแข็งนี้ ออกจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ และเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่าง จานบันทึกแบบธรรมดา (floppy disk) ที่สามารถถอดหรือดึงออกได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ฮาร์ดดิสก์ที่ดึงเข้าออก ได้ก็มี ใช้อยู่ บ้าง แม้ว่าจะไม่เป็นที่นิยมนัก ฮาร์ดดิสก์ชนิดนั้น เรียกว่า removable hard disk ดู removable hard disk ประกอบ |
floppy disk | จานบันทึกอ่อนหมายถึง จานแบน ๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กไว้บนผิวหน้า ใช้สำหรับบันทึกข้อมูล ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบันนี้ มีอยู่สองขนาด คือขนาด 5.25 นิ้ว ซึ่งจะมีปลอก กระดาษหุ้ม กับขนาด 3.5 นิ้วซึ่งจะอยู่ในปลอกพลาสติก ทำให้แข็งและทนกว่า มีความจุในการบันทึกต่าง ๆ กัน ชนิดที่มีความหนาแน่นสองเท่า (double density) จะจุ 360 - 720 K (ประมาณ 360, 000 - 720, 000 ตัว อักขระ) ชนิดความหนาแน่นสูง (high density) จะจุ 1.2 - 1.44 เมกะไบต์ (ประมาณ 1.2 ล้าน - 1.4 ล้านตัวอักขระ) บางทีเรียก diskette เพื่อให้แตกต่างกับจานบันทึกที่ใช้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า disk มีความหมายเหมือน diskette |
format | (ฟอร์'แมท) n. รูปแบบ, แผนการรวมทั้งหมด, Syn. plan, layout รูปแบบจัดรูปแบบ1. หมายถึงรูปแบบการเก็บข้อมูลของโปรแกรมสำเร็จแต่ละโปรแกรม โปรแกรม Word Perfect และโปรแกรม WordStar แม้จะเป็นโปรแกรมประมวลผลคำเหมือนกัน แต่รูปแบบการเก็บข้อมูลก็ไม่เหมือนกัน 2. FORMAT เป็นคำสั่งหนึ่งในระบบดอส และระบบวินโดว์ ที่ใช้เพื่อเตรียมจัดรูปแบบจานบันทึกใหม่ ๆ ไว้สำหรับเก็บข้อมูลหรือโปรแกรม จานบันทึกของแมคอินทอชกับจาน บันทึกของพีซี จะกำหนดรูปแบบการเก็บข้อมูลไม่เหมือนกัน ฉะนั้น หากนำจานบันทึกที่จัดรูปแบบด้วยคำสั่ง "FORMAT" ของระบบดอสไปใช้กับเครื่องแมคอินทอช หน่วยบันทึกก็จะไม่รับ เพราะอ่านไม่ได้ หรือบันทึกข้อมูลลงเก็บไม่ได้ |
gb | (จีบี) ย่อมาจากคำว่า gigabyte (อ่านว่า กิกะไบต์) เป็นหน่วยวัดความจุข้อมูล 1 GB เท่ากับหนึ่งพันล้านไบต์ (หรือ 230) หรือ หนึ่งพันล้านตัวอักขระ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำ จานบันทึก หรือ ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ฯ |
gigabyte | (กิกะไบต์) ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดความจุข้อมูล 1 GB เท่ากับหนึ่งพันล้านไบต์ (หรือ 230 หรือ 10243 หรือ หนึ่งพันล้านตัวอักขระ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำ จานบันทึก หรือ ฮาร์ดดิสก์ ฯ |
hard disk | (ฮาร์ดดิสก์) จานบันทึกแบบแข็งหมายถึง จานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ใช้เก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ๆ โดยปกติจะบรรจุไว้ในกล่องมิดชิด บางที เรียก fixed disk เพื่อให้เห็นแตกต่างกับจานบันทึกขนาดเล็กที่นำไปไหนมาไหนได้ ที่เรียกว่า floppy disk ในปัจจุบัน ฮาร์ดดิสก์เป็นของจำเป็นมาก และมีอยู่ภายในไมโครคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ความจุขนาดปกติจะ มีตั้งแต่ 40 - 1, 000 เมกะไบต์ ยิ่งจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น |
hardware | n. เครื่องโลหะ. , เครื่องกลไกที่ใช้ปฏิบัติการ, อาวุธ, ยุทโธปกรณ์, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องกลไกของคอมพิวเตอร์, หมายถึง ส่วนกายภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 1. หน่วยรับข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์ หน่วยบันทึก 2. หน่วยความจำ เช่น ชิป (chip) หรือหน่วยความจำรอง เช่น จานบันทึก 3. หน่วยแสดงผล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ ฯลฯ นอกจากนั้นยังรวมถึงอุปกรณ์ ประกอบอื่น ๆ เช่น โมเด็ม ดู software เปรียบ เทียบ |
hd | abbr. hearingdistance, hodgkin's disease, heart disease, hemodialysis <คำย่อ>เอชดี <คำอ่าน>ย่อมาจากคำว่า high density แปลว่า ความหนาแน่นสูง ใช้บอกคุณสมบัติจานบันทึก (diskette) เช่น จานขนาด 5.25นิ้ว ถ้าเป็นจานชนิด HD จะมีความจุถึง 1.2 เมกะไบต์ ส่วนจานบันทึกความหนาแน่นสูงขนาด 3.5 นิ้ว จะมีความจุถึง 1.44 เมกะไบต์ โดยปกติ จะมีป้ายพิมพ์บอกไว้บนจานบันทึกประเภทนี้ถ้าเป็นขนาดธรรมดาจะใช้คำว่า DD ดู DD เปรียบเทียบ |
high capacity | ความจุสูงใช้เรียกจานบันทึกที่มีความหนาแน่นสูง (high density) เช่น จานขนาด 5.25นิ้ว ถ้าเป็นจานชนิด ที่มีความหนาแน่นสูง จะมีความจุถึง 1.2 เมกกะไบต์ ส่วนจานบันทึกความหนาแน่นสูงขนาด 3.5 นิ้ว จะมีความจุถึง 1.44 เมกกะไบต์ โดยปกติ จะมีป้ายพิมพ์บอกไว้บนจานบันทึกประเภทนี้ ถ้าเป็นขนาดธรรมดาจะใช้คำว่า DD ดู high density ประกอบ |
high density | ความหนาแน่นสูงใช้ตัวย่อว่า HD (อานว่า เอชดี) ใช้บอกคุณสมบัติจานบันทึก (diskette) เช่น จานขนาด 5.25นิ้ว ถ้าเป็นจานชนิด HD จะมีความจุถึง 1.2 เมกกะไบต์ ส่วนจานบันทึกความหนาแน่นสูงขนาด 3.5 นิ้ว จะมีความจุถึง 1.44 เมกกะไบต์ โดยปกติ จะมีป้ายพิมพ์บอกไว้บนจานบันทึกประเภทนี้ ถ้าเป็นขนาดธรรมดาจะใช้คำว่า DD ดู DD เปรียบเทียบ |
hollerith card | บัตรฮอลเลอริทหมายถึงบัตรที่ฮอลเลอริท (Dr. John Hollerith) เป็นผู้ออกแบบ ทำด้วยกระดาษ ต้องมีขนาดมาตรฐาน (7 1/8 x 3 1/4 นิ้ว) ใช้สำหรับบรรจุข้อมูลโดยเจาะเป็นรูตามรหัสที่กำหนด คอมพิวเตอร์สามารถอ่านรูบนบัตรเหล่านี้แล้วนำไปเก็บในหน่วยความจำเพื่อใช้ประมวลผลได้ ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว เพราะใช้สื่อเก็บข้อมูลอย่างอื่น สะดวกกว่า ผิดพลาดน้อยกว่า เช่น จานบันทึก แถบบันทึก มีความหมายเหมือน computer card |
initialize | เริ่มต้นหมายถึง การเตรียมการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ พร้อมที่จะทำงานได้ การเริ่มต้นในอุปกรณ์ส่วนใดก็จะลบล้างข้อมูลเก่าที่บรรจุไว้ที่ส่วนนั้นหมดไป สำหรับเครื่องแมคอินทอช คำ "intialize" จานบันทึก มีความหมายเหมือนคำ format ในระบบดอส กล่าวคือ แปลว่า จัดเตรียมรูปแบบการบันทึก หมายถึง กำหนดแทร็ก (track) และเซ็กเตอร์ (sector) ให้มีความหมายเหมือนคำ format |
interleaving | แทรกสลับสลับหมายถึง อัตราส่วนของการบันทึกข้อมูลลงในแต่ละเซ็กเตอร์ (sector) กับเซ็กเตอร์ ที่ข้ามไปของจานบันทึกแบบแข็ง (hard disk) เช่น ถ้าจานแข็งยี่ห้อหนึ่งกำหนดไว้ 3:1 หมายความว่า จานนี้บันทึกข้อมูลหนึ่งเซ็กเตอร์แล้วข้ามไปสามเซ็กเตอร์ จึงจะบันทึกข้อมูลใหม่ |
k | (เค) พยัญชนะอังกฤษตัวที่ 11, เสียง K ย่อมาจาก kilobyte (กิโลไบต์) มีค่าเท่ากับ 1, 024 ไบต์ (210) บางทีก็ใช้ตัวย่อ ว่า KB ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล เช่น หน่วยความจำ จานบันทึก ฯ 1 ไบต์จะเก็บได้ 1 ตัวอักขระ (หรือช่องว่าง) ถ้าพูดว่าจานบันทึกนี้มีความจุ 720 เคไบต์ ก็แปลว่า เก็บข้อมูลได้ไม่เกิน (720x1024) 737, 280 ตัวอักขระ หรือถ้าบอกว่าหน่วยความจำขนาด 64 เคไบต์ ก็แปลว่า มีความจุ (64x1024) 65, 536 ตัวอักขระ |
kb | ย่อมาจาก kilobyte มีค่าเท่ากับ 1, 024 ไบต์ (210) บางทีก็ใช้ตัวย่อ ว่า K เฉย ๆ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล เช่น หน่วยความจำ จานบันทึก 1 ไบต์จะเก็บได้ 1 ตัวอักขระ (หรือช่องว่าง) ถ้าพูดว่าจานบันทึกนี้มีความจุ 720 เคไบต์ ก็แปลว่า เก็บข้อมูลได้ไม่เกิน (720x1024) 737, 280 ตัวอักขระ หรือถ้าบอกว่าหน่วยความจำขนาด 64 เคไบต์ ก็แปลว่า มีความจุ (64x1024) 65, 536 ตัวอักขระ |
kiiobyte | ใช้ตัวย่อว่า K หรือ KB มีค่าเท่ากับ 1, 024 ไบต์ (210) บางทีก็ใช้ตัวย่อ ว่า KB ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล เช่น หน่วยความจำ จานบันทึก ฯ 1 ไบต์จะเก็บได้ 1 ตัวอักขระ (หรือช่องว่าง) ถ้าพูดว่าจานบันทึกนี้มีความจุ 720 เคไบต์ ก็แปลว่า เก็บข้อมูลได้ไม่เกิน (720x1024) 737, 280 ตัวอักขระ หรือถ้าบอกว่าหน่วยความจำขนาด 64 เคไบต์ ก็แปลว่า มีความจุ (64x1024) 65, 536 ตัวอักขระ |
liveware | หมายถึง บุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้นว่า1. วิศวกรคอมพิวเตอร์ (computer engineer) ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องการบำรุงรักษาตัวเครื่อง หรือเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับส่วนตัวเครื่อง (hardware) 2. นักวิเคราะห์ระบบ (system analyst) คือ ผู้ที่จะวิเคราะห์ระบบงานที่จะใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผล3. นักเขียนชุดคำสั่งหรือผู้ทำโปรแกรม (programmer) คือผู้ที่จะเขียนคำสั่งต่าง ๆ ให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม4. ผู้ควบคุมเครื่อง (operator) คือผู้ที่จะบังคับควบคุมคอมพิวเตอร์ ด้วยการกดปุ่มบนแผงหน้าปัด ให้ทำงานตามคำสั่ง5. ผู้เตรียมข้อมูล (data entry operator) หมายถึงผู้ที่นำข้อมูลลงในสื่อชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น แถบบันทึก จานบันทึกมีความหมายเหมือน peopleware |
magnetic disk | จานแม่เหล็กหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะเหมือนจาน เคลือบผิวด้วยไอออนออกไซด์ ทำให้เกิดกระแสแม่เหล็กบนผิวหน้าของจานแม่เหล็ก จะมีสองขั้วคือขั้วบวกและขั้วลบ สถานะสองขั้วนี้เองที่เรานำมาใช้แทนรหัสเลขฐานสอง (คือ 0 กับ 1) และทำให้เราสามารถบันทึกข้อมูลซึ่งแตกออกเป็นดิจิต (digit) ได้อย่างง่ายดาย นับเป็นสื่อเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีทั้งจานอ่อน (floppy disk หรือ diskette) และจานแข็ง (hard disk) จานบันทึกเหล่านี้จะต้องนำมาจัดรูปแบบการบันทึก (format) คือกำหนดแทร็ก (track) และเซ็กเตอร์ (sector) ก่อน จึงจะนำไปใช้ได้ดู track และ sector ประกอบ |
magnetic storage | หน่วยเก็บแม่เหล็กหน่วยเก็บข้อมูลที่มีคุณสมบัติของการเป็นแม่เหล็ก ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไม่ก็ตาม เช่น แกนแม่เหล็ก (magnetic core) หรือสื่อต่าง ๆ ที่เป็นแม่เหล็ก เช่นแถบบันทึกแม่เหล็ก (magnetic tape) จานแม่เหล็ก (magnetic disk) ฯลฯ |
megabyte | (เมก' กะไบท์) n. 220 ไบต์หรือ 1, 048, 576 ไบต์ : ย่อว่า MB, ใช้ตัวย่อว่า MB (เอ็มบี) เท่ากับหนึ่งบ้านไบต์ ใช้บอกขนาดของหน่วยความจำ เช่น คอมพิวเตอร์ ขนาด 16 เมกะไบต์ หมายความว่า มีขนาดหน่วยความจำ 16 ล้านไบต์ หรือบอกความจุของสื่อ เช่น จานแม่เหล็ก หรือจานบันทึก ว่ามีความจุ 1.2 เมกะไบต์ ก็หมายความว่า เก็บข้อมูลได้ 1.2 ล้านตัวอักษร เป็นต้น |
Nontri Dictionary
discus | (n) จาน(ใช้ในการกีฬา) |
dish | (n) จาน, อาหาร |
palette | (n) จานสี |
paten | (n) จานโลหะแบน |
plate | (n) จาน, แผ่นพิมพ์, ป้ายชื่อ, โล่รางวัล |
platter | (n) จานยาว, แผ่นเสียง |
porringer | (n) จาน, ชาม, ถ้วย |
saucer | (n) จานรองแก้ว, จานรองถ้วย |
trencher | (n) จานไม้, ถาดไม้, เขียง |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
fomite | (n) วัตถุที่เป็นพาหะนำเชื้อโรค เช่น จานชาม หนังสือ ลูกบิดประตู เสื้อผ้า เป็นต้น |
Longdo Approved DE-TH
Geschirr | (n) |das| จาน ถ้วย ชาม, See also: der Teller, die Schale |
Teller | (n) |der, pl. Teller| จาน |
Festplatte | (n) |die, pl. Festplatten| จานแม่เหล็กเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์, ฮาร์ดดิสก์ เช่น Jede Festplatte beinhaltet Gigabytes von persönlichen Daten. |
Longdo Approved FR-TH
assiette | (n) |f, pl. -s| จาน |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0398 seconds, cache age: 8.72 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม