225 ผลลัพธ์ สำหรับ *ไปแล้ว*
ภาษา
หรือค้นหา: ไปแล้ว, -ไปแล้ว-Longdo Unapproved CN - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
袓 | [袓] (n, adj, pron) บรรพบุรุษ, วงศ์ตระกูล, ป้ายสุสานประจำตระกูล, สืบทอด, ผู้ที่ตายไปแล้ว, เทพประจำท้องถิ่น, โบราณกาล, ประวัติศาสตร์ |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
โดยทั่วไปแล้ว | (adv) generally, See also: ordinarily, normally, commonly, in general, Syn. ปกติ, ธรรมดา, Example: โดยทั่วไปแล้วในเดือนเมษายนอากาศจะร้อนมาก |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
แล้วไปแล้ว | ว. สิ้นสุดแล้ว เช่น เรื่องมันแล้วไปแล้ว เอามาพูดทำไมอีก. |
กลาย | เรียกปีที่ล่วงหรือเปลี่ยนไปแล้วปีหนึ่ง ว่า ปีกลาย. |
กะผลุบกะโผล่ | (-ผฺลุบ-โผฺล่) ก. อาการที่ผลุบลงแล้วโผล่ขึ้น เช่น ปลากะผลุบกะโผล่ขึ้นมาหายใจ, อาการที่ผลุบเข้าไปแล้วโผล่ออกมา เช่น มากะผลุบกะโผล่อยู่หลังเวทีทำไม, จม ๆ ลอย ๆ เช่น ขอนลอยน้ำกะผลุบกะโผล่, โดยปริยายหมายความว่า ไปหรือมาไม่สม่ำเสมอ เช่น ถ้าจะมาช่วยงานก็ขอให้มาสม่ำเสมอ อย่ากะผลุบกะโผล่ มาบ้างไม่มาบ้าง, ผลุบโผล่ ๆ หรือ ผลุบ ๆ โผล่ ๆ ก็ว่า. |
ขยับขยาย | (-ขะหฺยาย) ก. แก้ไขให้คลายความลำบากหรือความคับแคบเป็นต้น เพื่อให้เหมาะแก่ความต้องการหรือเหตุการณ์ เช่น บ้านหลังนี้คับแคบลงไปแล้ว ต้องหาทางขยับขยาย อดทนทำงานนี้ไปก่อนแล้วค่อยขยับขยาย. |
คณะกรรมการอำเภอ | น. คณะบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบร่วมกันในการปกครองอำเภอ ปัจจุบันได้ถูกยุบเลิกไปแล้ว โดยโอนอำนาจและหน้าที่ไปเป็นของนายอำเภอ. |
-คต | (-คด) ก. ถึงแล้ว, ไปแล้ว, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ตถาคต สุคต สวรรคต ทิวงคต. |
คล้อย | (คฺล้อย) ก. บ่าย, ชาย, เรียกอาการที่ดวงตะวันเลยเที่ยงไปแล้ว ว่า ตะวันคล้อย, เรียกอาการที่ดวงจันทร์เลยเที่ยงคืนไปแล้ว ว่า เดือนคล้อย |
งัวเลีย ๑ | น. เรียกผมที่หน้าผากซึ่งตั้งชันขึ้นไปแล้วปลายย้อนกลับลงมา. |
งา ๓ | น. ส่วนหนึ่งของเครื่องดักสัตว์เช่นลอบหรือไซ ทำเป็นซี่ ๆ ปลายสอบเข้าหากันเพื่อไม่ให้ปลาที่เข้าไปแล้วออกมาได้. |
ฉัตร ๑, ฉัตร- | ส่วนที่ต่อจากปุ่มฆ้องเป็นฐานแผ่ออกไปแล้วงองุ้มลงมาเป็นขอบโดยรอบอย่างฉัตร |
ชิงเปรต | ก. แย่งเครื่องเซ่นสรวงวิญญาณบรรพบุรุษหรือผู้ที่ตายไปแล้ว ซึ่งเรียกว่า “เปรต” ในงานทำบุญวันสารทเดือน ๑๐ เมื่อเสร็จพิธีเซ่นแล้ว ถือว่าเครื่องเซ่นเหล่านั้นเป็นมงคล. |
เซลล์ทุติยภูมิ | น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วต้องนำไปอัดไฟเสียก่อน แล้วจึงจะนำไปใช้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบบางส่วนจะหมดเปลืองและแปรสภาพไป แต่อาจทำให้กลับคงคืนสู่สภาพเดิมได้อีก โดยวิธีนำเซลล์ไฟฟ้าไปอัดไฟใหม่ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์. |
เซลล์ปฐมภูมิ | น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็นำไปใช้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ทันที เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบบางส่วนจะหมดเปลืองไปโดยไม่กลับคงคืนเป็นสภาพเดิมได้อีก เช่น ถ่านไฟฉาย. |
ดูเหมือน | ว. เข้าใจว่า เช่น ดูเหมือนตอนนี้เขาจะกลับบ้านไปแล้ว, คะเนว่า, เห็นจะ, เช่น ไฟฟ้าดูเหมือนจะดับราว ๆ ตี ๔. |
ตกกระไดพลอยโจน | เมื่อพลาดไปแล้วก็ยอมเลยตามเลยเพื่อไม่ให้เสียเชิง. |
ตระบัดสิน | ก. ยืมหรือกู้เอาทรัพย์เขาไปแล้วโกงเอาเสีย, ยักยอก. |
ตลบหลัง | ก. ปล่อยให้ล่วงลํ้าเข้าไปแล้วโอบตีหรือทำร้ายจากข้างหลัง. |
ติดหมัด | ว. ทันทีทันใด (เลียนจากภาษามวย คือต่อยไปแล้วบวมหรือโนตามหมัดขึ้นมา). |
เตลิด | (ตะเหฺลิด) ก. แตกหนีไปคนละทิศละทาง, หนีไปอย่างไร้ทิศทาง, เช่น ฝูงวัวเตลิดไป, โดยปริยายหมายความว่า รั้งไม่อยู่ เช่น เด็กคนนี้เตลิดไปแล้ว เอาแต่เที่ยวเตร่ไม่ยอมเรียนหนังสือ. |
โต๊ะครึม | น. การละเล่นบูชาครูหมอตายายเพื่อให้มาเข้าทรงเมื่อมีคนเจ็บไข้ได้ป่วย เพราะเชื่อว่าการป่วยนั้นเกิดจากตายายที่ล่วงลับไปแล้วมาทำโทษ. |
ทักษิณานุปทาน, ทักษิณานุประทาน | น. การที่พระมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงพระราชอุทิศถวายเจ้านายที่มีศักดิ์สูงซึ่งเสด็จล่วงลับไปแล้ว. |
นมข้น | น. นมที่มีลักษณะข้นและมีรสหวานจัด ได้จากการทำให้น้ำบางส่วนในน้ำนมวัวระเหยไปแล้วเติมน้ำตาล. |
น้อง ๆ | ว. จวนจะเป็น, ใกล้จะเป็น, เกือบจะเป็น, เช่น น้อง ๆ อธิบดีเข้าไปแล้ว. |
นัด ๓ | ลักษณนามเรียกกระสุนปืนทั้งที่ยังมิได้ยิงและที่ได้ยิงออกไปแล้ว เช่น กระสุน ๓ นัด ยิงสลุต ๒๑ นัด. |
บัตรเทวดา | น. เรียกสิ่งที่ประกอบด้วยก้านกล้วย ๔ ก้านตั้งเป็นเสาทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมเรียวตรงขึ้นไปแล้วรวบยอดปักแผ่นรูปเทวดาที่จะสังเวย ระหว่างร่วมในเสาทำกระบะกาบกล้วยเรียงขึ้นไปเป็นชั้น ๆ สำหรับวางเครื่องสังเวยเทวดา, เรียกสั้น ๆ ว่า บัตร ก็มี. |
บานแผละ | (-แผฺละ) น. ผนังตอนที่บานประตูหน้าต่างโบสถ์วิหารเป็นต้นเมื่อเปิดเข้าไปแล้วแปะอยู่. |
ปล่อย | โดยปริยายหมายถึง ขาย เช่น ที่ที่ซื้อไว้ปล่อยไปแล้วราคา ๕ ล้านบาท. |
ปล่อยปลาลงน้ำ | ก. ปล่อยศัตรูไปแล้วเขาจะไม่นึกถึงบุญคุณ, มักใช้เข้าคู่กับ ปล่อยเสือเข้าป่า เป็น ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงนํ้า. |
ปลุกผี | รื้อฟื้นเรื่องที่ยุติไปแล้วขึ้นมาใหม่ เช่น ปลุกผีคอมมิวนิสต์. |
เปต, เปต- | ผู้ตายไปแล้ว, เปรต ก็ว่า. |
เปตพลี | (-พะลี) น. เครื่องเซ่นสรวงที่กระทำให้แก่ผู้ตายไปแล้ว. |
เปตา | ผู้ตายไปแล้ว. |
เป็นสุข | ก. มีความสบายกายสบายใจ เช่น เขาถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ ๑ เวลานี้จึงเป็นสุขมาก ประชาชนในประเทศนี้อยู่เย็นเป็นสุขเสมอหน้ากัน, โดยปริยายหมายความว่า ตาย เช่น ไหน ๆ เขาก็เป็นสุขไปแล้ว อโหสิให้เขาเถิด. |
แป๊บ ๓ | น. ชั่วเวลานิดเดียว เช่น เผลอแป๊บเดียว กลับบ้านไปแล้ว, ลักษณนามใช้เรียกชั่วเวลานิดเดียว เช่น รอสักแป๊บหนึ่งนะ เดี๋ยวจะมา. |
ผลุบโผล่ ๆ, ผลุบ ๆ โผล่ ๆ | (-โผฺล่) ว. อาการที่ผลุบลงแล้วโผล่ขึ้น เช่น กวนน้ำให้ขุ่น เดี๋ยวปลาก็ผลุบ ๆ โผล่ ๆ มาให้จับ, อาการที่ผลุบเข้าไปแล้วโผล่ออกมา เช่น มาผลุบโผล่ ๆ อยู่แถวนี้ จะหาใครหรือ, จม ๆ ลอย ๆ เช่น ขอนลอยน้ำผลุบ ๆ โผล่ ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ไปหรือมาไม่สมํ่าเสมอ เช่น เขาอาสามาช่วยงานบ้าน แต่ทำผลุบ ๆ โผล่ ๆ มาบ้างไม่มาบ้าง, กะผลุบกะโผล่ ก็ว่า. |
ผี | น. สิ่งที่มนุษย์เชื่อว่าเป็นสภาพลึกลับ มองไม่เห็นตัว แต่อาจจะปรากฏเหมือนมีตัวตนได้ อาจให้คุณหรือโทษได้ มีทั้งดีและร้าย เช่น ผีปู่ย่าตายาย ผีเรือน ผีห่า, เรียกคนที่ตายไปแล้ว |
แพล็บ ๑ | (แพฺล็บ) น. ชั่วเวลานิดเดียว เช่น โผล่มาแพล็บเดียวหายไปแล้ว ทำแพล็บเดียวเสร็จ, แผล็บ ก็ว่า, ลักษณนามใช้เรียกชั่วเวลานิดเดียว เช่น ขอตัวไปทำธุระแพล็บเดียว แล้วจะรีบกลับมาทำงานต่อ. |
ฟอกโลหิต | ก. อาการที่แก๊สออกซิเจนซึ่งหายใจเข้าไปแล้วเปลี่ยนเลือดดำเป็นเลือดแดง. |
ฟาดเคราะห์ | ตัดใจยอมเสียสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปเพื่อให้หมดเคราะห์ หรือตัดใจคิดว่าสิ่งที่เสียไปแล้วเป็นการทำให้หมดเคราะห์ ในความเช่น นึกว่าฟาดเคราะห์. |
ภูมิแพ้ | (พูม-) น. สภาพที่ร่างกายมีปฏิกิริยาผิดปรกติต่อสิ่งที่ตามธรรมดาเมื่อเข้าสู่ร่างกายคนทั่ว ๆ ไปแล้วจะไม่มีอันตรายใด ๆ จะมีอันตรายก็เฉพาะในคนบางคนที่แพ้สิ่งนั้นเท่านั้น. |
เม่า ๒ | น. เรียกปลวกทุกชนิดในระยะที่มีปีกเพื่อบินออกผสมพันธุ์ ลำตัวขนาดแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิด ยาวตั้งแต่ ๐.๕-๒.๗ เซนติเมตร มีปีก ๒ คู่ยาวกว่าลำตัว เหมือนกันทั้งรูปทรงและเส้นปีก เมื่อพับปีก ปีกจะแบนราบไปตามลำตัวด้านหลัง เมื่อผสมพันธุ์แล้วสลัดปีกและเฉพาะตัวเมียจะไปสร้างรังใหม่ ว่า แมลงเม่า. |
เมื่อ | น. ครั้ง, คราว, เช่น เรื่องนี้เกิดเมื่อเขาไปต่างจังหวัด, โอกาส เช่น พบได้ทุกเมื่อ, ขณะที่ เช่น เมื่อเขาออกจากบ้าน ฝนก็ตก, คำนำหน้าคำบอกเวลาที่ล่วงไปแล้ว เช่น เมื่อคืนนี้ เมื่อเช้านี้ เมื่อวานซืน. |
แมงมุม | น. ชื่อสัตว์พวกแมงในอันดับ Araneae ปากมีรยางค์คู่หน้ารูปร่างคล้ายปากคีบและมีรยางค์ปากรูปทรงคล้ายขา ๑ คู่ ไม่มีหนวด ลำตัวขนาดแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิด มีขา ๘ ขา ทุกชนิดมีขาที่สามารถชักใยจากรูเปิดตรงส่วนท้อง ส่วนใหญ่กินแมลง มีทั้งชนิดชักใยดักสัตว์ เช่น แมงมุมขี้เถ้า (Pholcusspp.) ในวงศ์ Pholcidae และที่กระโดดจับสัตว์ เช่น แมงมุมสุนัขป่า (Pardosaspp.) ในวงศ์ Lycosidae. |
แมลงช้าง | น. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Myrmeleontidae มีปีก ๒ คู่ใสคล้ายแมลงปอ มีหนวดยาว ๑ คู่ ตัวอ่อนมีขากรรไกรหน้าเรียก เขี้ยว ยาวโค้งคล้ายงาช้าง อาศัยตามพื้นดินที่เป็นฝุ่นหรือทรายที่แห้งโดยฝังตัวอยู่ในหลุมซึ่งขุดเป็นรูปกรวยเพื่อล่อให้มดหรือสัตว์ขนาดเล็กตกลงไปแล้วจับกิน เช่น แมลงช้างในสกุล Myrmeleon และในสกุล Palpares วงศ์ Mymeleontidae, ตุ้ม หรือ ตุ๊ดตู่ ก็เรียก. |
ไม้จำปา | น. ลำไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วใส่กะลาลงไปเพื่อให้ปลายบาน, ใช้สอยผลไม้, ถ้าเอามะพร้าวลูกเล็ก ๆ ใส่ลงไปแล้วมีชิ้นไม้ขัดทแยงสกัดลูกมะพร้าวไว้ใช้สำหรับขุดดินจากหลุมที่ขุดไว้ลึกประมาณ ๑ แขน. |
ยาสั่ง | น. ยาพิษจำพวกหนึ่งที่เชื่อกันว่า ถ้าผู้ใดกินเข้าไปแล้วจะต้องตาย เมื่อไปกินอาหารที่กำหนดหรือตามเวลาที่กำหนดไว้. |
ยืนคำ | ก. ยืนยันคำพูดที่พูดไปแล้วโดยไม่เปลี่ยนแปลง. |
เยื่อใย | น. ความเกี่ยวพันแม้จะขาดกันไปแล้ว แต่ก็ยังมีอาลัยเหลืออยู่, ความผูกพันที่ยังตัดไม่ขาด, เช่น เขาทิ้งไปอย่างไม่มีเยื่อใย. |
โยนหัวโยนก้อย | ก. โยนสตางค์หรือสิ่งอื่นขึ้นไปแล้วทายว่าตกลงมาจะหงายด้านหัวหรือก้อย. |
รู้เหนือรู้ใต้ | ก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงมาก ไปแล้วไม่รู้เหนือรู้ใต้, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้เหนือรู้ใต้, รู้หนเหนือหนใต้ ก็ว่า. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
avowry | การยืนยันสิ่งที่ได้กระทำไปแล้ว [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
after the time has elapsed | หลังจากเวลาที่กำหนดล่วงพ้นไปแล้ว [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
ศราทธพรต | [ สาดทะพฺรด ] น. พิธีทําบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว.(ส. ศฺราทฺธ+ วฺรต) [ศัพท์พระราชพิธี] |
Initial Reserves | ปริมาณน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่ประมาณได้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง, ปริมาณน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่ประมาณได้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งว่าจะสามารถผลิตได้จากแหล่งกักเก็บที่สำรวจพบแล้ว โดยรวมถึงปริมาณที่ผลิตไปแล้วทั้งหมดและปริมาณที่คาดว่าจะสามารถผลิตได้ในอนาคต โดยเทคโนโลยีและสภาพเศรษฐกิจที่คาดการณ์ได้ ณ เวลานั้น [ปิโตรเลี่ยม] |
Make-up Gas | ก๊าซส่วนที่รับคืนมาจากการจ่ายเงินค่าก๊าซไปแล้วในปีก่อนตามข้อผูกพัน Take or Pay, ก๊าซส่วนที่รับคืนมาจากการจ่ายเงินค่าก๊าซไปแล้วในปีก่อนตามข้อผูกพัน Take or Pay (ดูคำ Take or Pay) [ปิโตรเลี่ยม] |
Lethal dose | ปริมาณรังสีถึงตาย, แอลดี, ปริมาณรังสีขนาดหนึ่งซึ่งคาดว่าเมื่อได้รับแล้วเป็นเหตุทำให้เสียชีวิต เช่น หากระบุเป็น lethal dose 50/30 (LD 50/30) จะหมายถึงปริมาณรังสีขนาดหนึ่งซึ่งเมื่อประชากรได้รับเข้าไปแล้ว ทำให้เกิดการเสียชีวิตร้อยละ 50 ภายในเวลา 30 วัน โดยทั่วไป LD 50/30 สำหรับมนุษย์ เป็นการรับปริมาณรังสีในช่วง 4 – 5 ซีเวิร์ต ในระยะเวลาสั้นๆ [นิวเคลียร์] |
accession | ภาคยานุวัติ หมายถึง การให้ความยินยอมที่จะผูกพันตามสนธิสัญญาภายหลังจากที่มีการลงนามในสนธิ สัญญาไปแล้ว [การทูต] |
Consular office Declared ?Non grata? | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
International Law Commission of the United Nations | คือคณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมปรับปรุงกฎหมายระหว่า ประเทศ รวมทั้งการทำประมวลกฎหมายให้ก้าวหน้าและทันสมัยคณะกรรมาธิการนี้ประกอบด้วย สมาชิกรวม 25 คน ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งสมาชิกคราวละ 5 ปี และจะทำงานในคณะกรรมาธิการในฐานะตัวบุคคล มิใช่เป็นตัวแทนจากประเทศของตน ตลอดการประชุมสมัชชาสหประชาชาติเป็นจำนวนหลายสมัยมาแล้ว คณะกรรมาธิการได้ทำหน้าที่ร่างกฎหมายในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นกฎหมายระหว่างประเทศเป็นจำนวนไม่น้อย บางเรื่องได้ริเริ่มขึ้นเองโดยคณะกรรมาธิการ แต่บางเรื่องทางสมัชชาสหประชาชาติหรือคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ได้ส่งไปให้พิจารณาดำเนินการคณะกรรมาธิการได้ร่างสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายทาง ทะเลไปแล้วไม่น้อยกว่า 4 ฉบับ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง อนุสัญญาว่าด้วยอาณาเขตทางทะเลและพื้นที่ติดชายฝั่งอนุสัญญาเกี่ยวกับการจับ ปลา การอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีชีวิตในท้องทะเลหลวง พร้อมทั้งได้รับสัตยาบันสารจากประเทศต่าง ๆ ไว้แล้วเป็นจำนวนมาก เมื่อ ค.ศ.1961 และ 1963 คณะกรรมาธิการได้จัดให้มีการประชุมใหญ่สองครั้งตามลำดับ ณ กรุงเวียนนา พร้อมทั้งได้ลงมติรับรองอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต และอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล [การทูต] |
Iron Curtain | ม่านเหล็ก เป็นศัพท์ที่อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ผู้ล่วงลับไปแล้ว คือ เซอร์วินสตัน เชอชิลล์ เป็นผู้บัญญัติขึ้นหมายถึงเครื่องกีดขวางปิดกั้นเขต ซึ่งโซเวียตรัสเซียและประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกไม่ยอมให้มีการ ติดต่อหรือเดินทางเข้าไปในอาณาเขตของประเทศดังกล่าว ที่เรียกกันว่า ประเทศหลังม่านเหล็ก เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองในระหว่างสงครามเย็น แต่ภายหลังที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ล่มสลาย ม่านเหล็กก็พลอยหมดสภาพไปในที่สุด [การทูต] |
Regional Organizations | คือองค์การส่วนภูมิภาค ในเรื่องนี้ ข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติไว้ว่า ?ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน อันจักริดรอนสิทธิประจำตัวในการป้องกันตนเองโดยลำพังหรือโดยร่วมกัน หากการโจมตีโดยกำลังอาวุธบังเกิดแก่สมาชิกของสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็น เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มาตรการที่สมาชิกได้ดำเนินไปในการใช้สิทธิป้องกันตนเองนี้ จักต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบโดยทันที และจักไม่กระทบกระเทือนอำนาจและความรับผิดชอบของคณะมนตรีความมั่นคงภายใต้กฎ บัตรฉบับปัจจุบันแต่ทางหนึ่งทางใด ในอันที่จักดำเนินการเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมา ซึ่งสันติภาพความมั่นคงระหว่างประเทศ?จะเห็นได้ว่า ประเทศต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันมักจะทำข้อตกลงกันในส่วนภูมิภาค โดยอาศัยสนธิสัญญา และโดยที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกัน ( Geographical Propinquity ) หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีวัตถุประสงค์ที่จะอำนวยความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเมืององค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่งที่พอจะหยิบยก มาเป็นตัวอย่างได้ คือ องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ซึ่งบัดนี้ได้ยุบเลิกไปแล้วเพราะหมดความจำเป็น องค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States-OAS) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (NATO) องค์การร่วมมือระหว่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา (ANZUS) เป็นต้น องค์การภูมิภาคเหล่านี้ตั้งขึ้นโดยอาศัยข้อ 51 ของกฎบัตร สหประชาชาติ ซึ่งกล่าวถึงสิทธิของประเทศสมาชิกที่จะทำการป้องกันตนเองโดนลำพังหรือโดย ร่วมกัน หากถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ [การทูต] |
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] |
Wives of Diplomats | ภรรยาของนักการทูต ในประเทศที่มีกษัตริย์ และเอกอัครราชทูตจัดถวายพระราชสาส์นตราตั้งต่อกษัตริย์หรือราชินีในฐานะ ประมุขของรัฐนั้น มักจะให้ภรรยาเข้าเฝ้าด้วยต่างหาก แต่การเข้าเฝ้านั้นจะมีพิธีรีตองน้อยกว่าของเอกอัครราชทูตในอดีตกาล ภรรยาของเอกอัครราชทูตมักจะไม่ได้รับการพิจารณารับรองและยกย่องเหมือนกับที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาทิเช่น ที่กรุงเวนิส ตามกฎหมายปี ค.ศ. 1268 ไม่อนุญาตให้ภรรยาของเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย ไม่ว่าจะไปประจำแห่งไหน เพราะเกรงว่าภรรยาอาจจะปากโป้งเกี่ยวกับการงานของสามี แต่กฎหมายได้กำหนดให้เอกอัครราชทูตนำพ่อครัวของตนเองติดตามไปด้วย เพื่อกันมิให้เอกอัครราชทูตต้องถูกวางยาพิษในอาหารที่รับประทานกล่าวโดยทั่ว ไปแล้ว ทุกวันนี้ภรรยาของเอกอัครราชทูตได้อุปโภคเอกสิทธิ เกียรติ ลำดับอาวุโส และความคุ้มกันต่าง ๆ เหมือนกับสามี ถึงแม้ในบางกรณีเอกอัครราชทูตกับภรรยาอาจแยกกันอยู่ก็ตาม ภรรยาของเอกอัครราชทูตที่เพิ่งยื่นสารตราตั้ง มักจะหาโอกาสไปเยี่ยมคารวะภรรยาของเอกอัครราชทูตอื่น ๆ ด้วย แม้ว่าในทุกวันนี้ธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวอาจจะไม่เคร่งครัดเหมือนกับสมัย ก่อน อนึ่ง ในบางประเทศได้มีระเบียบข้อบังคับ ห้ามมิให้ผู้แทนทางการทูตและทางการกงสุลที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ แต่งงานกับคนต่างชาติโดยมิได้รับอนุมัติจากรัฐบาลของตนก่อน [การทูต] |
จุดวาบไฟ | จุดวาบไฟ, อุณหภูมิต่ำสุดน้ำมันที่ทำให้เกิดไอน้ำมันเป็นปริมาณมากพอ เมื่อสัมผัสเปลวไปก็จะทำให้ลุกไหม้ทันที จุดวาบไฟไม่มีผลต่อคุณภาพหรือการใช้งานโดยตรง หากเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายเพื่อความปลอดภัยจากการเกิดอัคคีภัย การเก็บรักษาและขนถ่าย เพราะถ้าเกินอุณหภูมิจุดนี้ไปแล้วจะเป็นจุดติดไฟ [ปิโตรเลี่ยม] |
Adolescent Type | อายุ 10 ปีไปแล้ว, ชนิดเด็กโต [การแพทย์] |
Cervical Stump, Carcinoma of the | มะเร็งปากมดลูกในรายที่ตัดมดลูกออกไปแล้ว [การแพทย์] |
graafian follicle | กราเฟียนฟอลลิเคิล, กลุ่มเซลล์ภายในรังไข่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมซึ่งเป็นที่อยู่ของไข่ หลังจากปล่อยไข่ออกไปแล้วกราเฟียนฟอลลิเคิลกลายเป็นคอร์ปัสลูเทียม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
serum | ซีรัม, เซรุ่ม, ส่วนของน้ำเลือดที่แยกเอาสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวออกไปแล้ว เซรุ่มที่มีภูมิคุ้มกันที่ต้องการใช้ฉีดเข้าไปในร่างกาย เพื่อให้ภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายโดยตรง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electron affinity | อิเล็กตรอนอัฟฟินิตี, พลังงานที่ปล่อยออกมาหรือรับเข้าไปเนื่องจากอะตอมที่อยู่ในสถานะแก๊สรับอิเล็กตรอนเข้าไปแล้วเกิดเป็นไอออน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
magnetic field | สนามแม่เหล็ก, สนามแม่เหล็ก สนามของแรงซึ่งมีอยู่รอบ ๆ แท่งแม่เหล็กหรือรอบ ๆ ตัวนำ ที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก คือ บริเวณที่อนุภาคไฟฟ้าเคลื่อนที่เข้าไปแล้วมีแรงกระทำต่ออนุภาคนั้น ขนาดของสนามแม่เหล็กเท่ากับปริมาณของเส้นแรงแม่เหล็กหรือฟลักซ์แม่เหล็กต่อหน่วยพ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
elasticity | สภาพยืดหยุ่น, สมบัติของวัตถุที่เมื่อถูกแรงกระทำให้รูปร่างเปลี่ยนไปแล้ว เมื่อแรงหยุดกระทำ วัตถุจะคืนรูปร่างสู่สภาพเดิมได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
superposition principle | หลักการซ้อนทับ, การที่คลื่น 2 คลื่นเคลื่อนที่มาพบกันในตัวกลางเดียวกันและเกิดการรวมกันขึ้น ทำให้รูปร่างของคลื่นรวมขณะนั้นเปลี่ยนไป แต่เมื่อเคลื่อนที่ผ่านกันไปแล้ว คลื่นทั้ง 2 นั้นจะมีรูปร่างเหมือนเดิมก่อนที่จะมารวมกัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
persistence of vision | การเห็นภาพติดตา, ความรู้สึกที่เหมือนกับเห็นภาพของวัตถุถึงแม้วัตถุนั้นจะพ้นสายตาไปแล้ว การที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากกระแสประสาทที่กระตุ้นให้เห็นภาพยังคงค้างอยู่บนประสาทรับภาพ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
plasticity | สภาพพลาสติก, สมบัติของวัสดุที่เมื่อถูกแรงกระทำให้รูปร่างเปลี่ยนไปแล้ว เมื่อแรงหยุดกระทำ วัสดุนั้นจะเปลี่ยนรูปร่างไปอย่างถาวร โดยผิววัสดุไม่มีการฉีกขาดหรือแตกหัก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Luteinization | ไข่ตกหลุดออกไปแล้ว, ลูเตียนไนเซชั่น [การแพทย์] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
โดยทั่วไปแล้ว | [dōi thūapai laēo] (adv) EN: generally |
หลังจาก 6 โมงเย็นไปแล้ว | [langjāk hok mōng yen pai laēo] (xp) EN: after 6 o'clock FR: après 6 heures (du soir) ; au-delà de 6 heures (du soir) |
ผิดไปแล้ว | [phit pai laēo] (v, exp) EN: it's my fault ; i'm sorry ; what's done is done ; I admit I'm in the wrong |
ต้องไปแล้ว | [tǿng pai laēo] (v, exp) EN: must be going ; have to go (now) FR: devoir déjà partir |
Longdo Approved EN-TH
oil cake | (n, jargon) กากทะลายปาล์มที่เกิดขึ้นหลังจากการหีบน้ำมันปาล์มแล้ว, กากของเมล็ดฝ้ายที่ผ่านการบีบเอาน้ำมันออกไปแล้ว |
RWY | (abbrev) อักษรย่อของ runway ทางวิ่งของเครื่องบิน โดยทั่วไปแล้วจะมีตัวเลข 2 หลักแสดงต่อทางด้านหลังเพื่อแสดงทิศที่มุ่งไป, See also: TWY |
epiphany | (n) เป็นวันฉลองเทศกาลที่โหราจารย์ 3 คนจากทิศตะวันออก ได้นำของขวัญมาถวายแก่กุมารเยซู โดยทั่วไปแล้วตรงกับวันที่ 6 มกราคม, See also: Christmas |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
again | (adv) เพิ่มจากที่กล่าวไปแล้ว, See also: นอกจากนี้, Syn. besides, further |
apostrophe | (n) การพูดกับบุคคลในจินตนาการ, See also: การพูดกับบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว |
back number | (n) หนังสือพิมพ์/นิตยสารที่เคยตีพิมพแล้วแต่ยังมีค่าอยู่, See also: สำเนาหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารฉบับที่ออกไปแล้ว, Syn. back issue |
boomerang | (n) ไม้ที่มีลักษณะโค้งแบน เมื่อขว้างไปแล้วจะย้อนกลับมาหาผู้ขว้าง |
bulimia | (n) โรคผิดปกติทางอารมณ์ทำให้กินมากเกินไปแล้วอาเจียนออก, Syn. bulimia nervosa |
bygone | (adj) ซึ่งผ่านไปแล้ว, See also: ซึ่งเกิดขึ้นนานมาแล้ว, Syn. former, past, Ant. future |
bygone | (n) สิ่งที่ผ่านไปแล้ว, See also: อดีต, Syn. past |
be past it | (idm) หวนกลับไปทำสิ่งที่ผ่านมาอีกไม่ได้ (คำไม่เป็นทางการ), See also: กลับไปยังอดีตผ่านไปแล้วไม่ได้, Syn. get past |
call it a day | (idm) ทำเสร็จไปแล้ว |
change horses in mid-stream | (idm) เลือกบางสิ่งหลังจากสายไปแล้ว |
cry over spilt milk | (idm) ไม่มีประโยชน์ที่จะเสียใจกับสิ่งที่ผ่านไปหรือทำไปแล้ว |
drive back on | (phrv) บังคับให้ใช้หรือกลับไปทำ (สิ่งเดิมหรือสิ่งที่หยุดทำไปแล้ว), Syn. fall back on |
dead | (adj) ซึ่งไม่ใช้แล้ว (ภาษา), See also: ซึ่งสูญสิ้น, ซึ่งตายไปแล้ว, ซึ่งเลิกใช้แล้ว, Syn. defunct, extinct, no longer in use, obsolete, Ant. living, existing |
dinosaur | (n) สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่มากที่สูญพันธุ์ไปแล้ว, See also: ไดโนเสาร์, Syn. extinet volcano |
dodo | (n) นกจำพวกนกพิราบขนาดใหญ่สูญพันธ์ไปแล้ว, Syn. auk |
dowager | (n) ภรรยาหม้ายของสามีสูงศักดิ์ที่ล่วงลับไปแล้ว, Syn. widow, dame, matron |
fait accompli | (n) สิ่งที่ทำสำเร็จไปแล้ว, See also: สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว |
go to glory come | (idm) จากไปแล้ว (คำพูดเลี่ยงของคำว่า ตาย), See also: เสียชีวิต |
go to kingdom come | (idm) จากไปแล้ว (คำพูดเลี่ยงของคำว่า ตาย), See also: เสียชีวิต |
gone | (idm) ตาย (คำเลี่ยงเพื่อให้สุภาพ), See also: เสียไปแล้ว, ไปสบายแล้ว, ไปแล้ว |
have had enough | (idm) เลิกทน (เพราะได้รับบางสิ่งมากไปแล้ว), See also: เลิกต่อสู้ |
in the second place | (idm) อย่างที่สอง (ปกติใช้เมื่อพูดถึงอย่างแรกไปแล้ว) |
Let bygones be bygones | (idm) ลืมสิ่งที่ผ่านไปแล้ว |
out of season | (idm) หมดหน้าไปแล้ว, See also: หมดฤดูกาล |
out of the woods | (idm) ผ่านจุดวิกฤติไปแล้ว, See also: ไม่เสี่ยงอีกต่อไป |
so to speak | (idm) จะว่าไปแล้ว, See also: จะพูดเช่นนั้นก็ได้, จะให้เป็นเช่นนั้นก็ได้ |
taken for dead | (idm) คิดว่าตายแล้ว, See also: น่าจะตายไปแล้ว |
wise after the event | (idm) รู้วิธีจัดการเมื่อเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว |
ibidem | (adv) ในที่เดียวกัน (อ้างถึงหนังสือ บท หรือหน้าหนังสือที่อ้างไปแล้ว) |
lie behind | (phrv) เป็นอดีต, See also: ผ่านไปแล้ว |
live after | (phrv) ยังคงอยู่ (แม้หายหรือตายไปแล้ว), See also: ยังปรากฎอยู่ |
mammoth | (n) สัตว์ขนาดใหญ่ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วประมาณ 10, 000 ปี, See also: มีลักษณะคล้ายช้าง ขนยาว งาโค้งยาว |
offcut | (n) ชิ้นส่วนที่เหลืออยู่จากตัดส่วนหลักไปแล้ว |
pantheon | (n) ปูชนียสถานที่เป็นหลุมฝังศพ/สิ่งเตือนให้ระลึกถึงคนสำคัญที่ตายไปแล้ว, See also: วัดหรือโบสถ์สำหรับสักการะบูชาเทพเจ้าทั้งหลาย, Syn. temple, church |
past | (n) อดีต, See also: เวลาที่ผ่านไปแล้ว, Syn. antiquity, long ago, good old days, former times, Ant. the present, future, tomorrow |
past | (n) สิ่งที่เกิดในอดีต, See also: เหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้ว, Syn. events, happenings |
past | (adj) ที่ผ่านไปแล้ว, Syn. before, previous, former |
preterition | (n) สิ่งที่ผ่านไปแล้ว, See also: อดีต |
protohuman | (adj) เกี่ยวกับคนสูญพันธุ์ไปแล้ว มีรูปร่างเหมือนคนยุคปัจจุบัน |
quagga | (n) สัตว์คล้ายม้าลายของแอฟริกาใต้ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว |
relic | (n) พระบรมสารีริกธาตุ, See also: อัฐิ, สารีริกธาตุ, ส่วนของร่างกายผู้ศักดิ์สิทธิ์ ดับขันธ์ไปแล้ว ที่ยังหลงเหลืออยู่, Syn. holy relic, vestige |
whoozis | (sl) ชื่อเรียกแทนชื่อจริง (ที่ลืมไปแล้ว), Syn. whoozit |
undo | (vt) ยกเลิก, See also: ยกเลิกสิ่งที่ได้เกิดขึ้นไปแล้ว, Syn. reverse, cancel, Ant. unchanged |
urban renewal | (n) การฟื้นฟูดินแดนท้องถิ่นที่เสียหายหรือเสื่อมสลายไปแล้ว, Syn. modernization, gentrification, improvement |
Hope Dictionary
all clear | สัญญาณที่ว่าการโจมตีทางอากาศได้ผ่านพ้นไปแล้ว |
ammonite 1 | (แอม' โมไนทฺ) n. เปลือกหอยชนิดหนึ่งที่สูญพันธุ์ไปแล้ว. -ammonitic adj. -ammonitoid adj. |
apostrophe | (อะพอส' ทระฟี) n. เครื่องหมายย่อ (ซ) , การพูดกับผู้ที่ไม่อยู่หรือล่วงลับไปแล้ว. -a-postrophic adj. |
apostrophise | (อะพอส'ทระไฟซ) vt., vi. พูดกับผู้ที่ไม่อยู่ หรือตายไปแล้วเสมือนกับว่าผู้นั้นอยู่ ณ ที่นั้น |
aurochs | (ออ'รอคซ) n., (pl. -rochs) วัวป่ายุโรปชนิดหนึ่งในยุโรป สูญพันธ์ไปแล้ว, European bison (a European wild ox) |
boomerang | (บูม'มะแรง) { boomeranged, boomeranging, boomerangs } n. ไม้รูปโค้งซึ่งเมื่อเหวี่ยงออกไปแล้วกลับมาหาผู้เหวี่ยง, อาวุธลับที่กลับไปทำลายผู้ใช้, ดาบที่คืนสนอง vt. ทำอันตรายอย่างไม่คาดคิดกับผู้ริเริ่ม |
bubble memory | หน่วยความจำแบบฟองหมายถึง หน่วยความจำชนิดหนึ่งที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ใด้แม้ว่าไฟฟ้าจะดับไปแล้วก็ตาม นิยมใช้กันมากสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดวางตัก (laptop) หรือคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ที่ไม่มีเนื้อที่มากพอที่จะมีฮาร์ดดิสก์ได้ |
cancel | (แคน'เซิล) { cancelled, cancelling, cancels } vt., n. (การ) ยกเลิก, ขีดฆ่า, ทำให้เป็นโมฆะ, หักกลบลบหนี้. vi.ชดเชย., See also: canceler n. ดูcancel canceller n. ดูcancel หมายถึง การยกเลิกคำสั่งที่สั่งไปแล้ว อาจจะเนื่องมาจากได้สั่งการผิดลงไปด้วยความพลั้งเผลอ หรือมีการเปลี่ยนใจ ในระบบวินโดว์ คำสั่งบางคำสั่งจะมีการถามเพื่อให้มีการย้ำเตือน corfir mation เช่นเมื่อสั่งลบ ย้าย ฯ ในกรณีเช่นนี้ จะมีปุ่มคำสั่งนี้ไว้ให้เลือกทุกครั้ง มีคู่กับปุ่ม OK เพื่อให้มีโอกาสแก้ไขหรือเปลี่ยนใจได้ ถ้าไม่ต้องการยกเลิก ให้กดที่ปุ่ม OK |
celebrant | (เซล'ละบรันทฺ) n. ผู้ร่วมพิธีศาสนา, ผู้ร่วมการฉลอง, ผู้สรรเสริญคนที่ตายไปแล้ว |
compile | (คัมไพล์') { compiled, compiling, compiles } vt. รวบรวม, เรียบเรียง แปลโปรแกรมหมายถึง แปลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น ภาษาซี (C) ภาษา โคบอล (COBOL) ซึ่งเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจ ให้เป็นภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้ การแปลนั้น คอมพิวเตอร์จะอ่านโปรแกรมทั้งหมดเข้าไปแล้วจึงจะลงมือแปล เมื่อเข้าใจแล้ว คอมพิวเตอร์จึงจะปฏิบัติตามคำสั่งในโปรแกรมได้ |
defrag | นำ (แฟ้มข้อมูล) มาต่อกันในฮาร์ดดิสก์นั้น เมื่อมีการสั่งบันทึกข้อมูลลงไปแล้วมาสั่งลบภายหลัง จะทำให้มีที่ว่างเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ฉะนั้น เมื่อมีการนำแฟ้มข้อมูลใหม่บันทึกลงไป คอมพิวเตอร์ก็จะจัดการแบ่งข้อมูลใหม่นี้ให้ได้สัดส่วนพอดีกับช่องที่ว่างอยู่ก่อน ทำให้แฟ้มข้อมูลเดียวถูกเก็บเป็นหย่อม ๆ การเก็บแฟ้มข้อมูลในลักษณะนี้ เรียกว่า เป็นการกระจาย (fragmentation) โปรแกรมระบบดอสรุ่น 6.0 จึงมีคำสั่ง "defrag" ซึ่งจะช่วยจัดการนำแฟ้มข้อมูลเดียวกันมาเรียงให้ติดต่อกัน เพื่อให้การค้นคืนแฟ้มทำได้รวดเร็วขึ้น ในระบบวินโดว์ ก็จะต้องสั่งให้มีการนำแฟ้มมาต่อกันนี้เป็นครั้งคราวเสมอ |
deselect | ยกเลิกการเลือกหมายถึง การสั่งยกเลิกคำสั่งที่ " เลือก " (select) ไว้ เช่น หากเปลี่ยนใจหลังจากที่ได้ "กำหนด" หรือ " เลือก" ไปแล้ว เช่น สั่งเลือกแฟ้มข้อมูลจำนวนหนึ่งไว้ แล้วเกิดเปลี่ยนใจ อยากจะยกเลิก ในระบบวินโดว์ จะมีปุ่ม deselect ให้เลือกกดได้เมื่อต้องการ เหมือนกด Cancel ดู select ประกอบ |
esc key | (แป้นพิมพ์) แป้นหลีกมาจากคำว่า ESCape key ซึ่งเป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีไว้เพื่อสั่งให้ยกเลิกคำสั่งสุดท้ายที่ได้สั่งให้เครื่องปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดไปแล้ว เป็นต้นว่า สั่งคัดลอกแฟ้มข้อมูล ถ้าเกิดเปลี่ยนใจ ให้กดแป้นนี้ คอมพิวเตอร์ก็จะเลิกทำ คล้าย ๆ กับการกดเมาส์ที่ " cancel " โดยปกติ แป้นนี้มักจะอยู่แถวบนสุดทางด้านซ้ายของแผงแป้นอักขระ |
escape key | แป้นหลีกเป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ (บนแป้นมักจะมี ESC) มีไว้เพื่อสั่งให้ยกเลิกคำสั่งสุดท้ายที่ได้สั่งให้เครื่องปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดไปแล้ว เป็นต้นว่า สั่งคัดลอกแฟ้มข้อมูล ถ้าเกิดเปลี่ยนใจ ให้กดแป้นนี้ คอมพิวเตอร์ก็จะเลิกทำ คล้าย ๆ กับการกดเมาส์ที่ " cancel " โดยปกติ แป้นนี้มักจะอยู่แถวบนสุดทางด้านซ้ายของแผงแป้นอักขระ |
goner | n. สิ่งหรือคนที่จากไปแล้ว |
hot spot | จุดร้อนหมายถึง เนื้อที่บางส่วนบนจอภาพ ที่เมื่อกดเมาส์ลงไปแล้ว จะทำให้เกิดรายการอื่นขึ้นมา แทนที่จะเป็นเรื่องเดิมที่ทำอยู่ ตัวอย่าง เช่นในโปรแกรมประเภทใช้สื่อหลายแบบ (multimedia) หรือการเรียกเมนู Help หรือกดเรียกลูกโป่ง (balloon) มาให้คำอธิบายในเครื่องแมคอินทอช |
incremental back up | การสำรองเพิ่มขึ้นหมายถึง กระบวนการของการคัดลอกแฟ้มข้อมูล ซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ ๆ หรือไม่ก็เป็นแฟ้มที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ หลังจากที่ได้คัดลอกทำสำรองไปแล้วชุดหนึ่ง |
main memory | หน่วยความจำหลักหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ได้อยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น เมื่ออ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยความจำ แล้วจะเรียกมาใช้เมื่อต้องการ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำนี้ จะอยู่ตลอดไปจนกว่าไฟจะดับ หรือมีการอ่านข้อมูลใหม่เข้าไปทับมีความหมายเหมือน main storage |
main storage | หน่วยเก็บหลักหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ได้อยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น เมื่ออ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยความจำ แล้วจะเรียกมาใช้เมื่อต้องการ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำนี้ จะอยู่ตลอดไปจนกว่าไฟจะดับ หรือมีการอ่านข้อมูลใหม่เข้าไปทับมีความหมายเหมือน main memory |
mammoth | (แมม'เมิธ) n. สัตว์ใหญ่คล้ายช้าง ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วมีขนยาว งาโค้งมาก และมีฟันกรามเป็นสัน. adj. มหึมา, ใหญ่โตมาก, มีปริมาณมาก, Syn. colossal |
memory map | แผนที่แสดงการใช้หน่วยความจำหมายถึงแผนที่หรือแผนผังที่แสดงถึงการใช้หน่วยความจำส่วนที่เรียกว่า แรม (RAM) ในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะคล้ายกับแผนที่แสดงที่ตั้งจังหวัดต่าง ๆ ในแต่ละประเทศนั้นเอง สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องนี้เลยก็ได้ |
memory unit | หน่วยความจำหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว เครื่องอ่านก็จะนำข้อมูลที่อ่านได้ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ แล้วจะเรียกมาใช้ในเวลาที่ต้องการ ข้อความหรือข้อมูลที่นำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำแล้วไม่ว่าจะนำมาใช้สักกี่ครั้งกี่หน ก็จะยังคงเป็นอยู่อย่างเดิม แต่ถ้าข้อมูลอื่นถูกอ่านทับเข้าไป ข้อมูลเก่าจะถูกลบไปทันที หรือถ้าไฟดับ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในหน่วยความจำก็จะหายไปหมดเช่นกัน คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดี หรือมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับหน่วยความจำนี้มากกว่าอย่างอื่น สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ เราเรียกหน่วยความจำนี้ว่า ชิป (chip) ซึ่งใช้เป็นที่เก็บข้อมูล แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ ประเภทอ่านได้อย่างเดียว เรียกว่า "รอม" (ROM หรือที่ย่อมาจาก read-only memory) ซึ่งเก็บคำสั่งประเภทที่เครื่องต้องปฏิบัติตามทันที เช่น ไบออส (BIOS) ข้อมูลในนั้นจะไม่มีวันลบหายแม้ว่าจะปิดเครื่อง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า "แรม" (RAM หรือที่ย่อมาจาก random access memory) หน่วยความจำแรมนี้ใช้เก็บโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่กำลังจะใช้งาน เมื่อปิดไฟที่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะหายไปหมด และหากเริ่มต้นเปิดเครื่องใหม่ ต้องการจะใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลใด ก็จะต้องบรรจุ (load) โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลนั้นมาเก็บไว้ในแรมก่อน จึงจะทำงานต่อไปได้ สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว ยิ่งแรมมีขนาดใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีประสิทธิภาพเท่านั้นอย่างไรก็ตาม หน่วยความจำที่กล่าวถึงนั้นเป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เรายังมีหน่วยเก็บข้อมูลที่อยู่นอกเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย หน่วยความจำนอกเครื่องนี้ เราเรียกว่า หน่วยความจำช่วย (auxiliary memory) ซึ่งหมายถึงสื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง เป็นต้นว่า จานบันทึก แถบบันทึก หน่วยความจำเหล่านี้ ไฟดับข้อมูลก็ยังอยู่ |
milk | (มิลคฺ) n. น้ำนม, ของเหลวที่คล้ายน้ำนม (เช่นน้ำมะพร้าว) vt. รีดน้ำนม, รีด, ปอกลอก, บั่นทอน vi. ให้น้ำนม -Phr. (cry over spilt milk เสียใจต่อสิ่งที่ล่วงเลยไปแล้ว), See also: milking n., Syn. tap, extract, exploit |
moa | (โม'อะ) n. นกบินไม่ได้ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว คล้ายนกกระจอกเทศ |
primary storage | หมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ได้อยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น เมื่ออ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยความจำ แล้วจะเรียกมาใช้เมื่อต้องการ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำนี้ จะอยู่ตลอดไปจนกว่าไฟจะดับ หรือมีการอ่านข้อมูลใหม่เข้าไปทับมีความหมายเหมือน main storageดู secondary storage เปรียบเทียบprint : พิมพ์หมายถึง การแสดงผลลัพธ์ที่ประมวลผลได้จากคอมพิวเตอร์ลงบนกระดาษ หรือแผ่นใส ฯ กับใช้เป็นรายการคำสั่งในโปรแกรมสำเร็จหลายโปรแกรม ที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำการดังกล่าว ซึ่งมักจะมีคำถามตามมาอีกหลายคำถามในกรอบสนทนา (dialog box) เป็นต้นว่า พิมพ์กี่ชุด พิมพ์หน้าไหนบ้าง ขยายหรือย่อขนาดกี่เปอร์เซ็นต์ ฯ รวมทั้งเป็นคำสั่งในโปรแกรมในภาษาต่าง ๆ เกือบทุกภาษาด้วย |
refresh rate | อัตราการทำใหม่หมายถึง อัตราความเร็วที่เครื่องสามารถจะสร้างภาพใหม่ หลังจากที่ได้รับข้อมูลเพิ่มขึ้นหรือมีการแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อมีการสร้างภาพใดภาพหนึ่งไปแล้ว หากมีการแก้ไขหรือย้าย จอภาพจะต้องสร้างภาพใหม่ทุกครั้ง ในการสร้างภาพใหม่นี้ ยิ่งทำได้เร็วเท่าใดยิ่งดี อัตราความช้า/เร็ว ของการสร้างภาพใหม่นี้ขึ้นกับคุณภาพของจอด้วย |
s-100 | เอส-ร้อย <คำอ่าน>หมายถึง แผ่นวงจรขยายแบบหนึ่งซึ่งใช้กับโปรแกรมระบบซีพีเอ็ม (CP/M) ปัจจุบันกลายเป็นของล้าสมัยไปแล้วดู CP/M ประกอบ |
suttee | (ซูที', ซัท'ที) n. การเผาตัวเองของหญิงหม้ายฮินดูสมัยก่อนเพื่อให้ตายตามสามีที่ตายไปแล้ว, หญิงหม้ายฮินดูที่เผาตัวเอง เพื่อตายตามสามี., See also: sutteeism n. |
trilobite | (ไทร'ละไบทฺ) n. แมลงทะเล ที่สูญพันธุ์ไปแล้วสมัยดึกดำบรรพ์ มีร่างแบนเป็นวงรี, See also: trilobitic adj. |
Nontri Dictionary
bygone | (adj) ผ่านไปแล้ว, ล่วงไปแล้ว, ที่เป็นอดีต |
bygone | (n) สิ่งที่เป็นอดีต, สิ่งที่ล่วงไปแล้ว |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Aradia | [อาราเดีย] (name) ชื่อของบุตรีแห่งเทวีไดอาน่า ถูกนำมาเรียกขาลโดยแม่มดชาวอิตตารี แต่โดยทั่วไปแล้ว ยังคงใช้ในหลายธรรมเนียมจวบจนทุกวันนี้ |
diptych | งานศิลปะแบบหนึ่งที่ประกอบด้วยแผ่นแกะสลักสองแผ่นซึ่งสามารถพับได้, กระดานเขียนโบราณ มีสองแผ่น สามารถพับได้, สมุดที่หน้าหนึ่งจารึกชื่อคนตาย อีกหน้าคือนักบวชและผู้มีพระคุณในโบสถ์ที่ล่วงลับไปแล้ว |
g2g | (vi, vt, modal, verb) ย่อมาจาก Got to go ต้องไปแล้ว เป็นศัพท์ที่ชอบไช้ Chat กันบน internet |
ichthyosaur | (n) ฟอสซิลของสัตว์เลื้อยคลานคล้ายปลาชนิดหนึ่งที่สูญพันธุ์ไปแล้ว |
postgame | (n, vt, slang) ภายหลัง; มักใช้เรียกสิ่งที่ทำเพิ่มขึ้นอีก หลังจากทำไปแล้ว ( * w *m iiiita) |
prequel | คำเรียกหนังสือ/ภาพยนตร์ภาคต่อ ที่มีลำดับเนื้อเรื่องก่อนเนื้อเรื่องหลัก เช่น หนังภาคแรกที่จบไปแล้วเป็นเรื่องของตัวเอก และหนังภาค2ที่กำลังเข้าเป็นเรื่องของพ่อแม่ตัวเอก ในวงการหนังจะเรียกหนังภาค 2 ว่า "prequel" เป็นต้น |
rickrolling | (n) เป็นการหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ตประเภทหนึ่ง ที่ผู้หลอก แสดงลิงค์ในเรื่องที่ผู้อ่านสนใจแต่เมื่อคลิ๊กลิงค์นั้นๆไปแล้ว เนื้อหาที่ปรากฏกลับเป็นมิวสิควีดีโอของ Rick Astley ในเพลง Never Gonna Give You Up |
To add insult to injury | (slang) ทำให้บางคนรู้สึกแย่กว่าเดิมหลังจากที่คุณได้ทำให้เขาเจ็บใจหรือเสียใจไปแล้ว ex. After Adam broke up with me, he added insult to injury by telling me that his new girlfriend is my best friend. |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
じゃね | [jaane, jaane] (vt) ไปแล้วนะ |
じゃね | [じゃね'jaane'จะ เนะ, jane jaane] (vi) ไปแล้วนะ, ลาก่อน, bye |
町内会 | [ちょうないかい, chounaikai] สมาคมของประชาชนที่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกัน(สมาคมแห่งนี้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกันแล้ว โดยทั่วไปแล้วทุกคนต้องเข้าร่วมและต้องจ่ายค่าสมาชิก โดยที่สมาคมจะเป็นคนกำหนดกฏเกณฑ์ภายในชุมชนแห่งนั้นเช่นการกำหนดสถานที่ิทิ้งขยะ และทำหน้าที่กระจายข่าวสารภายในชุมชน สมาคมแบบนี้จะมีอยู่ในทุกชุมชนทั่วประเทศญี่ปุ่น หากเทียบกับประเทศไทย ก็ให้นึกถึง "คณะกรรมการชุมชน" ก็น่าจะเทียบเคียงกันได้) |
Saikam JP-TH-EN Dictionary
取れる | [とれる, toreru] TH: หายไปแล้ว |
Longdo Approved DE-TH
schon | -ไปแล้ว |
anscheinend | (adv) เป็นที่เห็นได้ชัด (ตัดสินหรือคาดการณ์จากสิ่งที่เห็นหรือสังเกตได้) เช่น Sein Koffer ist nicht mehr da. Anscheinend ist er schon weggefahren. กระเป๋าเดินทางของเขาไม่อยู่แล้ว เขาคงจะออกเดินทางไปแล้ว, See also: scheinbar, Syn. vermutlich |
Longdo Approved FR-TH
vais | ((présent)) je vais = ฉันไป ( กริยาผันรูปปัจจุบัน ของ aller กับประธานบุรุษที่ 1 เอกพจน์ je = ผม, ฉัน )เช่น je vais partir. = ผมจะไปแล้วหละ |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.05 seconds, cache age: 2.107 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม