103 ผลลัพธ์ สำหรับ *ได้รับเลือก*
ภาษา
หรือค้นหา: ได้รับเลือก, -ได้รับเลือก-พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กรรมการ ๑ | (กำมะกาน) น. บุคคลซึ่งได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้งเพื่อกระทำกิจการบางอย่างเป็นคณะ. (ส. กรฺม + การ; ป. กมฺม + การ). |
กรรมสัมปาทิก | บุคคลที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้ทำหน้าที่กรรมการของสมาคม. |
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง | น. ผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งทางการเมือง เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี นายกเทศมนตรี. |
ผู้แทนราษฎร | น. บุคคลที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ทำหน้าที่นิติบัญญัติในสภา, (ปาก) ผู้แทน. |
ผู้บริหารท้องถิ่น | น.ผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นให้ทำหน้าที่บริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี. |
เสียง | ความเห็น เช่น เรื่องนี้ฉันไม่ออกเสียง, ความนิยม เช่น คนนี้เสียงดี มีหวังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, คะแนนเสียง เช่น ลงมติกันแล้วเขาชนะเพราะได้เสียงข้างมาก. |
เสียงแข็ง | น. คะแนนเสียงดี เช่น ในพื้นที่นี้เขามีเสียงแข็งมาก คงได้รับเลือกตั้งแน่. |
เสียงตก | โดยปริยายหมายถึงคะแนนเสียงต่ำลง เช่น ในพื้นที่นี้เขามีเสียงตกไปมาก สงสัยว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้คงจะไม่ได้รับเลือก. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
lame duck session | สมัยประชุมสภาที่มีสมาชิกไม่ได้รับเลือกตั้งซ้ำ (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
recall | การถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
re-eligibility | คุณสมบัติที่จะได้รับเลือกตั้งซ้ำ, คุณสมบัติที่จะได้รับแต่งตั้งซ้ำ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
session, lame duck | สมัยประชุมสภาที่มีสมาชิกไม่ได้รับเลือกตั้งซ้ำ (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
quotient, electoral; quota, electoral | เกณฑ์คะแนนเสียงอย่างน้อย (ที่จะได้รับเลือกตั้ง) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
quota, electoral; quotient, electoral | เกณฑ์คะแนนเสียงอย่างน้อย (ที่จะได้รับเลือกตั้ง) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
monotonicity | การได้รับเลือกซ้ำตลอดกาล, ความซ้ำซาก [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
certificate of election | หนังสือสำคัญการได้รับเลือกตั้ง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
caucus | การประชุมลับของพรรคการเมือง (ของกลุ่มผู้มีสิทธิได้รับเลือกตั้ง) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
electoral quota; electoral quotient | เกณฑ์คะแนนเสียงอย่างน้อย (ที่จะได้รับเลือกตั้ง) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
electoral quotient; electoral quota | เกณฑ์คะแนนเสียงอย่างน้อย (ที่จะได้รับเลือกตั้ง) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
election, certificate of | หนังสือสำคัญการได้รับเลือกตั้ง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
eligibility | การมีคุณสมบัติสมัครรับเลือกตั้ง, การมีคุณสมบัติที่จะได้รับเลือก [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
hand-picked | ผู้ที่ได้รับเลือกสรร (โดยผู้มีอำนาจ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เป็นคณะกรรมาธิการหลัก ซึ่งรับผิดชอบในการเสาะหามาตรการในการส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศ ต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งตรวจสอบและสอดส่องการดำเนินการด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษย ชนในประเทศต่าง ๆ ด้วย คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 53 ประเทศ มาจากการเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่งวาระละ 3 ปี คณะกรรมาธิการฯ โดยจะมีการประชุมเป็นประจำทุกปี ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน ณ นครเจนีวา ประเทศไทยได้รับเลือกตั้งเข้าเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการฯ สำหรับวาระ พ.ศ. 2544-2546 [การทูต] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] |
Commission on Sustainable Development | คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (ประเทศไทยได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมาธิการฯ สำหรับวาระปี พ.ศ. 2548-2550) [การทูต] |
European Parliament | สภายุโรป เป็นองค์กรหนึ่งในสหภาพยุโรป สมาชิกสภายุโรปจะเป็นผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งมาจากกลุ่มประเทศสมาชิก สหภาพยุโรป ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2505 [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
United Nations Transitional Administration in East Timor | องค์กรบริหารชั่วคราวของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก " จัดตั้งขึ้นตามมติสหประชาชาติที่ 1272 (1999) เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2542 พลโทบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ นายทหารไทย ได้รับเลือกให้เป็นผู้บัญชาการกองกำลังรักษาสันติภาพของ UNTAET ในติมอร์ตะวันออก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 " [การทูต] |
Voting Procedure in the United Nations | วิธีการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ในเรื่องนี้ สมาชิกแต่ละประเทศมีคะแนนเสียง 1 คะแนน ข้อมติของสมัชชาในปัญหาสำคัญ (Important Questions) จะกระทำโดยถือคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียง ที่เรียกว่าปัญหาสำคัญนั้นได้แก่ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การเลือกตั้งสมาชิกไม่ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีภาวะทรัสตี การรับสมาชิกใหม่ของสหประชาชาติ การงดใช้สิทธิและเอกสิทธิแห่งสมาชิกภาพ การขับไล่สมาชิก ปัญหาการดำเนินงานของระบบภาวะทรัสตี และปัญหางบประมาณ คำวินิจฉัยปัญหาอื่น ๆ รวมทั้งการกำหนดประเภทแห่งปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 เพิ่มเติมนั้น จัดกระทำโดยอาศัยคะแนนเสียงข้างมากของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียงอนึ่ง ในการเลือกตั้งผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจักต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (Absolute majority) ในที่ประชุมของสมัชชาและในที่ประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงด้วย นอกจากนี้สมาชิกสหประชาชาติที่ค้างชำระค่าบำรุงแก่องค์การ ย่อมไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในสมัชชา ถ้าหากจำนวนเงินที่ค้างชำระเท่าหรือมากกว่าจำนวนเงินค่าบำรุงที่ถึงกำหนด ชำระสำหรับ 2 ปีเต็มที่ล่วงมา อย่างไรก็ตาม สมัชชาอาจอนุญาตให้สมาชิกเช่นว่านั้นลงคะแนนเสียงก็ได้ ถ้าทำให้เป็นที่พอใจได้ว่า การไม่ชำระนั้น เนื่องมาจากภาวะอันอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของสมาชิกนั้น [การทูต] |
random sampling | การสุ่มตัวอย่าง, การเลือกตัวอย่างสมาชิกของประชากรโดยที่ทุกสมาชิกในกลุ่มมีโอกาสได้รับเลือกเท่า ๆ กันโดยไม่เจาะจง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
ผู้ได้รับเลือกตั้ง | [phū dāirap leūaktang] (n, exp) EN: elected representative FR: élu [ m ] |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
be in | (phrv) ได้รับเลือกตั้ง, Syn. get in |
elect as | (phrv) ได้รับเลือกเป็น |
elect to | (phrv) ได้รับเลือกเป็น |
elect with | (phrv) ได้รับเลือกด้วย (คะแนนหรือคะแนนเสียง), Syn. return with |
get in | (phrv) ได้รับเลือกตั้ง, See also: ถูกเลือก, Syn. be in, come in |
get into | (phrv) สอบเข้าได้, See also: ได้รับการยอมรับ, ได้รับเลือก |
get onto | (phrv) ได้รับแต่งตั้ง, See also: ได้รับเลือก |
take office | (idm) เริ่มปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย, See also: เริ่มทำงานที่ได้รับเลือกให้ทำ |
presentee | (n) ผู้ถูกนำเสนอ, See also: ผู้ได้รับเลือก, ผู้รับของที่ให้ |
president-elect | (n) ผู้ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีแต่ยังไม่ได้เข้ารับตำแหน่ง |
pass over | (phrv) ไม่ได้รับเลือก |
return with | (phrv) ได้รับเลือก (ตั้ง) ด้วย (คะแนนเสียง), Syn. elect with |
Hope Dictionary
electee | (อีเลค'ที) n. ผู้ได้รับเลือก |
inauguration day | วันเข้ารับตำแหน่งเป็นทางการของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (วันที่ 20 มกราคม หลังจากได้รับเลือกตั้ง) |
ineligible | (อินเอล'ลิจิเบิล) adj. ขาดคุณสมบัติที่จะได้รับการรับเลือก, ขาดคุณสมบัติ, ไม่สมควรที่จะ ได้รับเลือก., See also: ineligibility, ineligibleness n. |
selection | (ซีเลค'เชิน) n. การเลือก, การคัดเลือก, สิ่งที่ได้รับเลือก, Syn. election, discrimination |
slate | (สเลท) n. กระดานชนวน, หินชนวน, สีหินชนวน, สีเทาอมน้ำเงินเข้ม, รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง, รายชื่อผู้ที่จะได้รับการพิจารณาคัดเลือก, -Phr. (clean slate ประวัติความประพฤติที่ขาวสะอาด) vt. ปูด้วยหินชนวน, ปูด้วยแผ่นหิน, เสนอชื่อเข้ารับการเลือกตั้ง, กำหนดรายชื่อผู้ที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับพิจารณาได้รับเลือก |
Nontri Dictionary
elective | (adj) เกี่ยวกับการเลือก, ซึ่งมีสิทธิ์เลือก, ซึ่งได้รับเลือก |
eligibility | (n) ความเหมาะสม, ความมีสิทธิ์จะได้รับเลือก |
eligible | (adj) ซึ่งมีสิทธิ์จะได้รับเลือก, น่าเลือก, เหมาะ |
nominee | (n) ผู้ได้รับเลือก |
Longdo Approved JP-TH
当選 | [とうせん, tousen] (n) ได้รับเลือก |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0383 seconds, cache age: 29.329 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม