177 ผลลัพธ์ สำหรับ *ในด้าน*
ภาษา
หรือค้นหา: ในด้าน, -ในด้าน-พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
การจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ | น. การดำเนินการพัฒนาที่ดินหลายแปลงโดยการวางผังจัดรูปที่ดินใหม่ ปรับปรุงหรือจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และการร่วมรับภาระและกระจายผลตอบแทนอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยความร่วมมือระหว่างเอกชนกับเอกชนหรือเอกชนกับรัฐ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เหมาะสมยิ่งขึ้นในด้านต่าง ๆ. |
เกจิอาจารย์ | น. “อาจารย์บางพวก”, อาจารย์ที่เชื่อกันว่ามีความรู้ความสามารถในด้านคาถาอาคมและการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง. |
คณาธิการ | น. ผู้มีอำนาจในคณะ, ผู้ปกครองคณะ, เรียกภิกษุผู้ทำหน้าที่ในด้านการปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่ผู้ช่วยเจ้าอาวาสขึ้นไป ว่า พระคณาธิการ. |
ซ้าย | เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติเพื่อลดช่องว่างระหว่างชนชั้นในด้านเศรษฐกิจและการเมือง เป็นต้น มักใช้วิธีการที่รุนแรงและรวดเร็ว ว่า ฝ่ายซ้าย, โดยทั่วไปใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์. |
ปมจิต | น. อารมณ์และความรู้สึกของบุคคลที่เก็บกดสะสมไว้ในจิตใต้สำนึกมาตั้งแต่ในวัยเด็ก ปมจิตนี้จะทำให้บุคคลผู้นั้นแสดงออกในด้านความคิด ความรู้สึก และการกระทำในลักษณะที่ซํ้ากันจนเกิดเป็นอุปนิสัยประจำตัว. |
ประชาสงเคราะห์ | น. การช่วยเหลือในด้านสวัสดิการ เช่นการบรรเทาทุกข์ผู้ประสบสาธารณภัยที่รัฐให้แก่ประชาชนที่ตกทุกข์ได้ยาก. |
ปัญญาอ่อน | น. ภาวะที่มีระดับสติปัญญาด้อยหรือตํ่ากว่าปรกติ มักมีสาเหตุเกิดขึ้นในระหว่างพัฒนาการ ทำให้เด็กมีความสามารถจำกัดในด้านการเรียนรู้และมีพฤติกรรมปรับตัวไม่อยู่ในระดับที่ควรเป็น. |
ผังเมือง | น. แผนผัง นโยบาย และโครงการที่ใช้เป็นแนวทางในการสร้างหรือพัฒนาเมืองหรือส่วนของเมืองในด้านต่าง ๆ เช่น สุขลักษณะ ความสะดวกสบาย ความสวยงาม ความปลอดภัยของประชาชน. |
ฝ่ายซ้าย | น. กลุ่มที่มีอุดมคติเพื่อลดช่องว่างระหว่างชนชั้นในด้านเศรษฐกิจและการเมืองเป็นต้น มักใช้วิธีการที่รุนแรงและรวดเร็ว, โดยทั่วไปใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์. |
พาณิชยศิลป์ | น. ศิลปกรรมประเภทหนึ่งซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในด้านธุรกิจการค้าโดยเฉพาะ เช่น ศิลปะในการเขียนภาพโฆษณา ศิลปะในการออกแบบเครื่องแต่งกาย. |
ภาค, ภาค- | (พาก, พากคะ-) น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษาภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้านการปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค. |
มหาวิทยาลัย | (มะหาวิดทะยาไล) น. สถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลายสาขาวิชา หรือหลายกลุ่มสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญา และประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่ผู้สำเร็จการศึกษา รวมทั้งดำเนินการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ. |
มาตรฐาน | (มาดตฺระ-) น. สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไป เช่น เวลามาตรฐานกรีนิช, สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนด ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น มาตรฐานอุตสาหกรรม หนังสือนี้ยังไม่เข้ามาตรฐาน. |
แรงงานสัมพันธ์ | น. ความสัมพันธ์ในด้านการจ้างงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการว่าจ้างทำงาน เช่น เงื่อนไขการจ้าง สภาพการทำงาน. |
วิจิตรศิลป์ | (-จิดตฺระสิน, -จิดสิน) น. ศิลปะที่มุ่งแสดงในด้านคุณภาพของความงามมากกว่าประโยชน์ใช้สอย. |
วิทยฐานะ | น. ฐานะในด้านความรู้ เช่น สอบเทียบวิทยฐานะ มีวิทยฐานะในระดับปริญญาตรี. |
ไว้ฝีมือ | ว. อาการที่แสดงความสามารถในด้านศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการฝากฝีมือไว้อย่างเต็มที่ เช่น ออกแบบบ้านอย่างไว้ฝีมือ วาดภาพอย่างไว้ฝีมือ. |
ศิลปหัตถกรรม | น. ศิลปวัตถุที่เป็นผลงานประเภทศิลปะประยุกต์ มีจุดประสงค์และความต้องการในด้านประโยชน์ใช้สอย เช่น งานโลหะ งานถักทอ งานเย็บปักถักร้อย. |
ศิลปิน, ศิลปี | (สินละ-) น. ผู้มีความสามารถแสดงออกซึ่งคุณสมบัติทางศิลปะในด้านจิตรกรรมประติมากรรมเป็นต้น และมีผลงานเป็นที่ยอมรับนับถือจากสถาบันทางศิลปะแห่งชาติ. |
สันทัด | ก. ถนัด, จัดเจน, เช่น เรื่องนี้เขาไม่สันทัด เขาสันทัดในด้านคำนวณ. |
สันทัดกรณี | (สันทัดกะระนี, สันทัดกอระนี) ว. ที่รู้เรื่องนั้น ๆ ดี เช่น เขาเป็นผู้สันทัดกรณีในด้านการต่างประเทศ. |
เสรีนิยม | ทัศนคติทางสังคมที่ต้องการให้บุคคลมีสวัสดิการในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้นและกระจายไปยังคนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง. |
เสาหลัก | น. บุคคลที่สังคมยอมรับนับถือว่าเป็นหลักของบ้านเมืองในด้านสติปัญญาหรือด้านวิทยาการต่าง ๆ เป็นต้น. |
เสื้อสามารถ | น. เสื้อที่มอบให้เพื่อแสดงว่าผู้รับมีคุณสมบัติดีเด่นในด้านกีฬา. |
อกหัก | ว. พลาดหวัง (มักใช้ในด้านความรัก). |
อนาจาร | (อะนาจาน) ว. ลามก, น่าบัดสี, ทำให้เป็นที่อับอาย, เป็นที่น่ารังเกียจแก่ผู้อื่นในด้านความดีงาม. |
อักษรศาสตร์ | (อักสอระสาด, อักสอนสาด) น. วิชาการหนังสือ เน้นในด้านภาษาและวรรณคดี. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
posterointernal | -ส่วนในด้านหลัง [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Coincidence counting | การนับรังสีบรรจวบ, การนับรังสีที่เกิดจากเหตุการณ์การแผ่รังสีลักษณะเฉพาะตั้งแต่สองเหตุการณ์ขึ้นไป ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกันหรือเกิดในช่วงเวลาที่สัมพันธ์กัน การนับรังสีนี้เป็นวิธีหนึ่งเพื่อตรวจหาหรือจำแนกวัสดุกัมมันตรังสี และใช้เทียบมาตรฐานอัตราการสลายของวัสดุกัมมันตรังสีนั้น ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการวิเคราะห์เชิงก่อกัมมันตภาพรังสี การถ่ายภาพทางการแพทย์ การศึกษารังสีคอสมิก และการวัดรังสีระดับต่ำ (ดู counter ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
clinical professor | ศาสตราจารย์คลินิก, ตำแหน่งทางวิชาการที่สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งบุคลากรฝ่ายเวชกรรมที่มีความรู้ ความชำนาญในด้านการสอน การวิจัย การค้นคว้าทดลอง และวิธีบำบัดรักษาในภาคเวชปฏิบัติ ซึ่งมีคุณค่าทางวิชาการ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
มาตรฐาน | สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไป เช่น เวลามาตรฐานกรีนิช สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนด ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น มาตรฐานอุตสาหกรรม หนังสือนี้ยังไม่เข้ามาตรฐาน, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ มาตราฐาน [คำที่มักเขียนผิด] |
Budget in business | งบประมาณในด้านธุรกิจ [TU Subject Heading] |
Career in (specifie field or discipline) | อาชีพในด้าน... [TU Subject Heading] |
Contributions in Buddhism | ผลงานในด้านพุทธศาสนา [TU Subject Heading] |
Contributions in [ specific field or topic ] | ผลงานในด้าน... [TU Subject Heading] |
Semi conductor industrial equipment industry | อุตสาหกรรมเครื่องมือเครื่องใช้ประเภทสารกึ่งตัวนำที่ใช้ในด้านอุตสาหกรรม [TU Subject Heading] |
Semi conductor production equipment industry | อุตสาหกรรมเครื่องมือเครื่องใช้ประเภทสารกึ่งตัวนำที่ใช้ในด้านการผลิต [TU Subject Heading] |
ASEAN-Australia Development Cooperation Programme | โครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาอาเซียน-ออสเตรเลีย เป็นกรอบความร่วมมือระยะ 5 ปี ที่ออสเตรเลียให้ความร่วมมือกับ อาเซียนในด้านโครงการพัฒนากับอาเซียน โดยจะเริ่มโครงการครั้งแรกระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2544-2549 มีมูลค่ารวม 45 ล้านเหรียญออสเตรเลีย ซึ่งอาเซียนต้องออกเงินสมทบโครงการอีกร้อยละ 20 อนึ่ง AADCP เป็นโครงการความร่วมมือที่เกิดขึ้นเพื่อทดแทน AAECP (ASEAN-Australia Economic Cooperation Programme หรือ โครงการร่วมมือด้านเศรษฐกิจอาเซียน-ออสเตรเลีย) ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2546 [การทูต] |
ASEAN-Canada Joint Cooperation Committee | คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน-แคนาดา เป็นการประชุมระดับอธิบดี จัดขึ้นทุกปี เพื่อทบทวน ติดตามและขยายความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่าง ๆ [การทูต] |
Bangkok Declaration : Global Dialogue and Dynamic Engagement | ปฏิญญากรุงเทพ : การหารือและการมีส่วนร่วมอย่างมีพลวัตของประชาคมโลก " หนึ่งในสองของเอกสารผลการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่แสดงฉันทามติของประเทศสมาชิกอังค์ถัด 190 ประเทศ เกี่ยวกับผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ร่วมทางการเมืองของประเทศสมาชิกอังค์ถัดที่จะร่วมมือ กันดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อทำให้สมาชิกทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ได้รับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ในด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อีกทั้งเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบของกระบวนการโลกาภิวัตน์ได้ แม้ปฏิญญากรุงเทพจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมือง เป็นสัญญาประชาคมที่ทุกประเทศสมาชิกอังค์ถัดมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามแนว นโยบายที่ได้ร่วมกันแถลงไว้ในเอกสารดังกล่าว และเอกสารนี้สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการเจรจาหารือระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเรื่องของการเงิน การค้า การลงทุน และการพัฒนาได้ " [การทูต] |
Convention on Elimination of All Forms of Discrimination Against Women | อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2522 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2527 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบและเพื่อความ เสมอภาคระหว่างสตรีและบุรุษในทุกด้าน ขณะนี้มีประเทศต่าง ๆ เป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว 167 ประเทศ (ข้อมูลถึงกรกฎาคม 2543) ไทยยังคงมีข้อสงวนอีก 2 ข้อ ในอนุสัญญาฯ คือ ข้อ 16 เรื่องความเสมอภาคในด้านครอบครัวและการสมรส และ ข้อ 29 เรื่องการระงับการตีความ การระงับข้อพิพาท โดยรับอนุญาโตตุลาการ [การทูต] |
civil society | ประชาสังคม หมายถึง สังคมที่ประชาชนในระดับต่าง ๆ มีการรวมตัวกันอย่างแข็งแกร่ง เพื่อที่จะเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินทางเลือกสาธารณะ ที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของท้องถิ่นและประเทศโดยรวม [การทูต] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] |
Commonwealth of Nations | การรวมตัวของชาติต่าง ๆ เข้าเป็นสมาคมทางการเมือง ประกอบด้วยประเทศสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ลังกา ไซปรัส แกมเบีย กาน่า อินเดีย จาไมก้า คีเนีย มาเลเซีย มาลาวี มอลต้า นิวซีเแลนด์ ไนจีเรีย ปากีสถาน ซิเอร่าเลโอน แทนเซียเนีย ทรินิแดด-โทเบโก ยูแกนดา และแซมเบียตามทรรศนะของ Oppenheim ศาสตราจารย์นักกฎหมายระหว่างประเทศในระดับโลก สมาคมทางการเมืองแห่งนี้ก็คือกลุ่มของรัฐที่รวมกันโดยไม่มีพื้นฐานการรวมตัว ทางกฎหมายที่เคร่งครัดแต่อย่างใด หากแต่มีความผูกพันร่วมกันในด้านประวัติศาสตร์ จารีตประเพณี กฎหมาย และมีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างแน่นแฟ้นมากกว่า [การทูต] |
Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] |
Diplomatist หรือ Diplomat | ใช้กับราชการทุกคนที่ประจำทำงานในด้านทางการทูต ไม่ว่าจะประจำอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศ หรือในราชการต่างประเทศ คือ ในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือในสำนักงานทางทูตอื่นๆในทรรศนะของ เซอร์แฮโรลด์ นิโคลสัน นักการทูตยอดเยี่ยมคนหนึ่งของอังกฤษ ได้ระบุไว้ว่า นักการทูตหรือ Diplomat จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ ยึดถือความเป็นจริง มีความแม่นยำ สงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น อารมณ์ดี มีความสงบเสงี่ยมและมีความจงรักภักดี ทั้งยังจะต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญา มีความรู้ มองเห็นการณ์ไกล มีความสุขุมรอบคอบ ใจดีกับแขกและผู้แปลกหน้า มีเสน่ห์ มีความอุตสาหะวิริยะ มีความกล้า และมีปฏิภาณในทำนองเดียวกัน Francoise de Callieres (1645-1717) นักการทูตชั้นเยี่ยมของฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นเอกอัครราชทูตประจำโปแลนด์ ซาวอย ฮอลแลนด์ บาวาเรีย และลอเรน ได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า De la miniere avec les souverains เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการเจรจาทางการทูต ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังเป็นที่รับรองกันทั่วไปว่าเป็นหนังสือที่ดีเยี่ยมเล่ม หนึ่ง หรือเป็นจินตกวีนิพนธ์เรื่องการดำเนินการทูตกับเจ้าผู้ครองนคร (Princes) สมัยนั้นCallieres ได้วางมาตรฐานของนักการทูตไว้สูงมากเพราะเขาเห็นว่า ไม่มีงานราชการใด ๆ ที่จะยากยิ่งไปกว่าการเจรจา ในการเจรจานั้น ผู้เจรจาจะต้องสามารถมองเห็นเหตุการณ์ทะลุปรุโปร่ง หรือมีสติปัญญาเฉียบแหลม มีความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง มีความละมุนละไม มีความรอบรู้และความเข้าใจอย่างกว้างขวาง ตลอดจนข้อสำคัญที่สุด ต้องเป็นผู้มีความสุขุมคัมภีรภาพ สามารถมองเห็นการณ์ไกลชนิดเจาะลึกทีเดียว นอกจากนี้ จะต้องเป็นผู้มีอารมณ์ขันอย่างสม่ำเสมอ ไม่โกรธง่าย มีจิตใจสงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น พร้อมเสมอที่จะรับฟังทุกคนที่เขาพบด้วยความตั้งอกตั้งใจ พูดจาอย่างเปิดเผย และมีอารมณ์ร่าเริงไม่หน้าเง้าหน้างอ มีอัธยาศัยไมตรี รวมทั้งมีกิริยาท่าทางเป็นที่ต้องตาต้องใจกับทุกคน ในฐานะนักเจรจา (Negotiator) นักการทูตจะต้องมีคุณลักษณะและคุณสมบัติตามที่กล่าวมานี้เป็นอย่างน้อย เนื่องจากมีการเจรจาเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของนักการทูตนั่นเอง [การทูต] |
ASEAN Initiative on Electronic Commerce Cooperation | ความริเริ่มด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน " เป็นแผนงานหลักในการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือด้านการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน ประกอบด้วย (1) การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม (2) การกำหนดนโยบายและกฎหมายที่อำนวยความสะดวกการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (3) การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้าบริการและการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยการ จัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ (5) การ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐ " [การทูต] |
Enhanced Interaction | การส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ " การส่งเสริมปฏิสัมพันธ์เป็นคำที่เสนอโดย นายอาลี อาลาตัส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ในที่ประชุม AMM ครั้งที่ 31 ณ กรุงมะนิลา ซึ่งในด้านสารัตถะมีความหมายเช่นเดียวกับนโยบาย Flexible Engagement แต่เป็นคำที่อาเซียนส่วนใหญ่เห็นว่า มีความ เหมาะสมที่จะใช้สื่อเจตนารมณ์ของอาเซียนในการยกระดับความร่วมมือที่เพิ่มพูน และเปิดกว้างระหว่างกัน " [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Hanoi Plan of Action | แผนปฏิบัติการฮานอย เป็นแผนงานระยะ 6 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2547 ซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 2 ที่กรุงฮานอย เมื่อเดือนธันวาคม 2541 ได้ให้ความเห็นชอบเพื่อใช้เป็นแผนงานฉบับแรกของอาเซียนสำหรับการสร้างเสริม ความร่วมมือของอาเซียนในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่วิสัยทัศน์อาเซียนปี พ.ศ. 2563 [การทูต] |
human security | ความมั่นคงของมนุษย์ " หมายถึง การสร้างสภาพที่มั่นคงให้แก่มนุษย์โดยครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านการเมือง (เช่น การปลอดจากภัยสงคราม) ด้านเศรษฐกิจ (เช่น การกินดีอยู่ดี การมีสุขอนามัย) และด้านสังคม (เช่น การมีสิทธิพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด) " [การทูต] |
International Bank for Reconstruction and Development | ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ธนาคารโลก (World Bank) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 เพื่อส่งเสริมให้เงินทุนมีการไหลเวียนระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือในด้านการให้กู้ในโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนา [การทูต] |
International Labor Organization | องค์การแรงงานระหว่างประเทศ มีสถานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษ ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ มีหน้าที่ส่งเสริมปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงาน โดยการตั้งมาตรฐานในด้านค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน เงื่อนไขการว่าจ้าง และการประกันสังคม [การทูต] |
International Narcotics Control Board | คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ทำหน้าที่ติดตามความเคลื่อนไหวของสารเสพติดที่ใช้ในด้านการแพทย์ รวมทั้งควบคุมดูแลการค้าสารเคมีระหว่างประเทศ เพื่อกำจัดช่องทางการลักลอบใช้สารดังกล่าว [การทูต] |
Inter-Governmental Maritime Consultative Organization | องค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต] |
International Civil Aviation Organization | เรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต] |
International Trade Centre | ศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างประเทศ ภายใต้อังค์ถัดและองค์การการค้าโลก เป็นศูนย์กลางของสหประชาชาติ สำหรับการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านการส่งเสริม การค้าและการพัฒนาการส่งออก [การทูต] |
International Telecommunication Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ มีหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านโทรคมนาคม สนับสนุนการพัฒนาในด้านดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชาติทั้งปวง [การทูต] |
Joint Commission | คณะกรรมาธิการร่วม " เป็นกลไกความร่วมมือในระดับทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก JC มีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน วัฒนธรรม และสังคม โดยแต่ละฝ่ายจะสลับกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม ซึ่งอาจมีขึ้นปีละครั้งหรือ 2-3 ปีต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสะดวกของทั้งสองฝ่าย JC อาจมีกลไกย่อยหรือคณะกรรมการภายใต้ JC เพื่อกำกับดูแลเฉพาะเรื่องหรือมีคณะกรรมการในระดับส่วน ภูมิภาค เช่น ไทยกับมาเลเซียมีคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee - GBC) มีบทบาทในการดูแลความร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคงบริเวณชายแดน และมีคณะกรรมการจัดทำหลักเขตแดนทางบก (Land Boundary Committee - LBC) เพื่อดูแลการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างประเทศทั้งสอง นอกจากนั้น ยังมีคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee - JTC) ระหว่างไทยกับบางประเทศ เป็นกลไกเพื่อส่งเสริมการค้าและขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน " [การทูต] |
Mekong - Ganga Cooperation | ความร่วมมือแม่นำโขง - คงคา ริเริ่มขึ้นเมื่อกรกฎาคม พ.ศ.2543 ที่กรุงเทพฯ มีสมาชิก 6 ประเทศ คือกัมพูชา อินเดีย ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมโยง ระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกับประเทศในลุ่มแม่น้ำคงคาในด้านการ ท่องเที่ยว การศึกษาวัฒนธรรม และคมนาคมขนส่งโดยอาศัยปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เกื้อกูลกันและความสัมพันธ์ที่ ดีระหว่างกัน และเป็นยุทธศาสตร์เชื่อมโยง GMS (จีน) ไปสู่อินเดีย [การทูต] |
New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] |
Pacific Charter | คือกฎบัตรแปซิฟิค ซึ่งประกาศ ณ กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ในโอกาสที่มีการตกลงกันทำสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Southeast Asia Defense Treaty-SEATO ) ประเทศที่ลงนามเป็นภาคีในสนธิสัญญา คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาสาระสำคัญในสนธิสัญญาดังกล่าว หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า SEATO (ซีโต้) นั้นคือ ทุกประเทศภาคีจะร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้พลเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมาตรฐานการครอง ชีพสูงขึ้น มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และมีสวัสดิภาพสังคมที่ดี แต่จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดคามสนธิสัญญาคือ บรรดาประเทศภาคีตกลงที่จะป้องกันหรือตอบโต้ความพยายามใด ๆ ที่จะล้มล้างเสรีภาพที่มีอยู่ในเขตสนธิสัญญา หรือทำลายอธิปไตยหรือบูรณภาพแห่งเขตแดนของประเทศภาคี พูดอย่างสั้น ๆ ก็คือฝ่ายโลกเสรีอันมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ต้องการกีดกันมิให้ประเทศฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้าไปมีอำนาจครอบงำดินแดนเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างสงครามเย็น (Cold War ) โดยวิธีรุกรานหรือวิธีอื่นใดก็ตาม [การทูต] |
Regional Organizations | คือองค์การส่วนภูมิภาค ในเรื่องนี้ ข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติไว้ว่า ?ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน อันจักริดรอนสิทธิประจำตัวในการป้องกันตนเองโดยลำพังหรือโดยร่วมกัน หากการโจมตีโดยกำลังอาวุธบังเกิดแก่สมาชิกของสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็น เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มาตรการที่สมาชิกได้ดำเนินไปในการใช้สิทธิป้องกันตนเองนี้ จักต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบโดยทันที และจักไม่กระทบกระเทือนอำนาจและความรับผิดชอบของคณะมนตรีความมั่นคงภายใต้กฎ บัตรฉบับปัจจุบันแต่ทางหนึ่งทางใด ในอันที่จักดำเนินการเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมา ซึ่งสันติภาพความมั่นคงระหว่างประเทศ?จะเห็นได้ว่า ประเทศต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันมักจะทำข้อตกลงกันในส่วนภูมิภาค โดยอาศัยสนธิสัญญา และโดยที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกัน ( Geographical Propinquity ) หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีวัตถุประสงค์ที่จะอำนวยความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเมืององค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่งที่พอจะหยิบยก มาเป็นตัวอย่างได้ คือ องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ซึ่งบัดนี้ได้ยุบเลิกไปแล้วเพราะหมดความจำเป็น องค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States-OAS) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (NATO) องค์การร่วมมือระหว่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา (ANZUS) เป็นต้น องค์การภูมิภาคเหล่านี้ตั้งขึ้นโดยอาศัยข้อ 51 ของกฎบัตร สหประชาชาติ ซึ่งกล่าวถึงสิทธิของประเทศสมาชิกที่จะทำการป้องกันตนเองโดนลำพังหรือโดย ร่วมกัน หากถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ [การทูต] |
regionalism | ภูมิภาคนิยม " เป็นการรวมกลุ่มของประเทศในภูมิภาคบนพื้นฐานของการตระหนักถึงผลประโยชน์ร่วม กันในการพัฒนาและความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นการระดมพลังในการปกป้องและเสริมสร้างความก้าวหน้าและสันติภาพความ มั่นคงของแต่ละประเทศและของภูมิภาคโดยส่วนรวม - open regionalism ภูมิภาคนิยมแบบเปิด เป็นกระบวนการ รวมตัวและร่วมมือกันในภูมิภาคเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าซึ่งกันและกัน โดยไม่มีการกีดกันประเทศภายนอก - closed regionalism ภูมิภาคนิยมแบบปิด เป็นกระบวนการ รวมตัวและร่วมมือกันในภูมิภาคเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าซึ่งกันและกัน โดยมีการกีดกันประเทศภายนอก " [การทูต] |
reformasi | การปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ (ศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย-มาเลเซีย) [การทูต] |
sanction | การคว่ำบาตร (ในกรอบสหประชาชาติ) " หมายถึง มาตรการลงโทษที่คณะมนตรีความมั่นคง ใช้ต่อประเทศสมาชิกที่มีการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ รวมทั้งเป็นภัยต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศโดยการจำกัด หรือห้ามประเทศสมาชิกอื่น ๆ ติดต่อในด้านต่าง ๆ (เช่น ด้านการค้า การคมนาคมขนส่ง) อย่างเป็นทางการกับประเทศนั้น ๆ เพื่อบีบบังคับให้มีการปฏิบัติตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคง มาตรการห้ามการ ติดต่อเหล่านี้ บางครั้งเรียกว่า ปิดล้อม (embargo) เช่น ปิดล้อมด้านอาวุธ ปิดล้อมด้านการค้า เป็นต้น " [การทูต] |
Stalemate | ภาวะจนมุม เป็นคำที่ยืมมาจากเกมหมากรุกและใช้ในความหมายที่ว่า ตกอยู่ในสภาพชะงักงันหรือทางตัน คำนี้จะใช้กันแพร่หลายในด้านการทูต และในด้านการเจรจาระหว่างประเทศ คือ ทั้งสองฝ่ายต่างยึดมั่นในหลักการของแต่ละฝ่าย ซึ่งแตกต่างกันได้ก็ด้วยอาศัยมือที่สาม หรือประเทศที่สามเข้ามาแทรกแซงแก้ไขให้ [การทูต] |
Tokyo International Conference on African Development | การประชุมระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาแอฟริกา ณ กรุงโตเกียว " เป็นการริเริ่มของรัฐบาลญี่ปุ่น ร่วมกับองค์การสหประชาชาติและ องค์การ Global Coalition for Africa เพื่อสนับสนุนการพัฒนาใน ภูมิภาคแอฟริกา ในรูปของความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเอเชียกับ แอฟริกาอย่างเป็นรูปธรรมและมีเอกภาพ โดยเป็นการประชุมในระดับรัฐมนตรี และมีการประชุมแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งแรก (TICAD I) มีขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 ตุลาคม 2536 โดยมีการรับรองเอกสารปฏิญญา กรุงโตเกียว (Tokyo Declaration) ซึ่งเป็นสัญญาประชาคมที่ประเทศต่าง ๆ จะให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาแก่แอฟริกา และครั้งที่ 2 (TICAD II) มีขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม 2541 โดยมีการรับรองแผนปฏิบัติการกรุงโตเกียว (Tokyo Agenda for Action) ซึ่งเป็น แนวทางในการพัฒนาแอฟริกาในด้านต่าง ๆ ทั้งสังคมและเศรษฐกิจ " [การทูต] |
United Nations Drug Control Programme | โครงการควบคุมยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางด้านข้อมูลข่าวสารและความรู้ในด้านการควบคุมยาเสพติด โดยได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกในด้านการจัดทำยุทธศาสตร์ควบคุมยาเสพ ติด [การทูต] |
United Nations University | มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1973 ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นสถาบันอิสระที่บริหารปกครองตนเองภายในโครงร่างของสหประชาชาติ เรียกได้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศในเชิงวิชาการ ในอันที่จะมีส่วนช่วยเหลือเกื้อกูลต่อการแก้ปัญหาเร่งด่วนต่าง ๆ ของโลก มหาวิทยาลัยนี้มีลักษณะไม่เหมือนกับมหาวิทยาลัยอื่นทั่ว ๆ ไป ทั้งในด้านโครางสร้างและแบบอย่างการดำเนินงาน กล่าวคือ ไม่มีนิสิตนักศึกษาของตนเอง ไม่มีคณะในมหาวิทยาลัย และไม่มีบริเวณมหาวิทยาลัย (campus) ดำเนินงานภายในเครือข่ายของสถาบันวิจัยและวิชาการต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งศูนย์ฝึกและศูนย์วิจัยของตนเอง ทั้งยังรวมไปถึงผู้คงแก่เรียนเป็นรายบุคคลด้วย ทั้งนี้ เพื่อร่วมกันหาทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ของโลกเป็นจุดสำคัญเรื่องที่มหาวิทยาลัยสหประชาชาติกำลังกังวลและสนใจอยู่ใน ขณะนี้ คือ เรื่องเกี่ยวกับค่านิยมของมนุษย์ทั่วโลก รวมทั้งความรับผิดชอบทั้งหลายที่มนุษย์ทั่วโลกจะพึงมี เรื่องทิศทางใหม่ ๆ ในภาวะเศรษฐกิจที่กลังปรากฏอยู่ในโลก รวมทั้งเรื่องความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการทางเทคโนโลยีเรื่องพลัง ที่ทำให้เกิดความผันแปรระหว่างพลเมืองของโลก ตลอดจนเรื่องสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ยังมุ่งหมายที่จะช่วยเพิ่มพูนศักยภาพในการวิจัย และการฝึกในประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายด้วย และภายในมหาวิทยาลัยเองก็กำลังสนใจด้านวิจัยและการฝึกฝนในบางเรื่องโดยเฉพาะ [การทูต] |
Adaptation | ความสามารถในด้านการปรับปรุง, การปรับสภาพ, การดัดแปลง, การปรับตัว, การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม [การแพทย์] |
Agricultural Chemicals | สารเคมีในด้านการเกษตร [การแพทย์] |
Development, Bio-Sexual | ความเจริญเติบโตทางเพศในด้านร่างกาย [การแพทย์] |
Development, Locomotive | การเจริญในด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย [การแพทย์] |
Disease-Oriented | โรคที่ทำให้ผู้ป่วยมาหาแพทย์, เน้นในด้านของโรค [การแพทย์] |
Education Failure | ความล้มเหลวในด้านการศึกษา [การแพทย์] |
Exercise, Horizontal | ออกกำลังแบบการเขยิบขั้นแรงต้านทานในด้านนอน [การแพทย์] |
stem cell lines | stem cell lines, หมายถึงเซลล์ที่มีความคงตัวในด้านพันธุกรรม และไม่สามารถพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยได้ [ชีวจริยธรรม] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
การดำเนินคดีในด้านการปกครอง | [kān damnoēnkhadī nai dān kān pokkhrøng] (n, exp) EN: administrative court |
การพัฒนาในด้านบวก | [kān phatthanā nai dān būak] (n, exp) EN: positive development |
ความขัดแย้งกันในด้านผลประโยชน์ | [khwām khatyaēng kan nai dān phonprayōt] (n, exp) EN: conflict of interest |
ในด้าน | [nai dān] (adv) EN: in the sense of FR: d'un point de vue ; dans le domaine |
ในด้านบวก | [nai dān būak] (adj) EN: positive |
ในด้านลบ | [nai dān lop] (adj) EN: negative |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
anthropology | (n) มานุษยวิทยา, See also: การศึกษาเกี่ยวกับมนุษยในด้านต่างๆ, Syn. science of humans, study of humans |
arm | (n) สิ่งที่คล้ายแขน (ในด้านรูปร่างและหน้าที่), See also: สิ่งที่ยื่นออกมาคล้ายแขน |
athletic | (adj) ในด้านกีฬา |
conscientious | (adj) ที่ทำด้วยความรู้สึกด้านดี, See also: ที่ควบคุมด้วยความรู้สึกในด้านดี, Syn. honest, scrupulous |
faculty | (n) ศักยภาพหรือความสามารถในด้านร่างกายและจิตใจ, See also: สติปัญญา |
incline to | (phrv) ลาดเอียงไปทาง, See also: เอียงไปทาง, ลาดลงในด้านของ, Syn. incline towards |
incline towards | (phrv) ลาดเอียงไปทาง, See also: เอียงไปทาง, ลาดลงในด้านของ, Syn. incline to |
increase in | (phrv) ทำให้เพิ่มขึ้นในเรื่อง, See also: มากขึ้นในด้าน |
gender gap | (n) ช่องว่างระหว่างเพศหญิงและเพศชาย (ทางด้านสังคม), See also: ความแตกต่างระหว่างหญิงและชายในด้านความคิดเห็น วัฒนธรรม ค่านิยม คุณค่าสังคมและอุปนิสัย, Syn. gender-gap |
on the one hand | (idm) ในมุมหนึ่ง, ในด้านหนึ่ง... (มักใช้คู่กับ on the other hand--มองในทางกลับกัน), Syn. on one hand, Ant. on the other hand, on the other side |
involvement | (n) ความสัมพันธ์ในด้านชู้สาว, See also: ความอื้อฉาวเชิงชู้สาว, Syn. attachment |
note for | (phrv) มีชื่อเสียงในด้าน |
malformation | (n) การสร้างขึ้นมาอย่างผิดปกติ (ในด้านรูปร่างหรือโครงสร้าง), See also: ความผิดปกติในด้านรูปร่างหรือโครงสร้าง, การผิดส่วนในด้านรูปร่างหรือโครงสร้าง, Syn. deformity, disfigurement, misshapenness |
medicinal | (adj) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นยา, See also: ซึ่งมีคุณสมบัติในด้านการแพทย์, ซึ่งมีคุณสมบัติในทางรักษา, ซึ่งใช้ในการรักษาโรค, Syn. curative, therapeutical, sanative |
offside | (adj) ที่อยู่ในด้านที่ห่างจากขอบถนน |
personal | (adj) ทางเรือนร่าง, See also: เกี่ยวกับรูปร่างภายนอก, ในด้านร่างกาย, Syn. corporal |
pole | (n) สิ่งที่ต่างกันมาก (ในด้านความคิด ความชอบ หลักการ ตำแหน่ง) |
undergo | (vt) ประสบ (เหตุการณ์ในด้านลบ), See also: ตรากตรำ, ผ่านประสบการณ, เผชิญกับ, Syn. experience, bear, tolerate, endure |
virtuoso | (n) ผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะในด้านศิลปะและดนตรี, Syn. artist, master |
Hope Dictionary
apple computer inc. | บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ <คำแปล>เป็นชื่อบริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแอปเปิล ชุดที่โด่งดังมาก ได้แก่ แอปเปิลทู (Apple II) และ แมคอินทอช (Macintosh) ฯ คอมพิวเตอร์แอปเปิลที่วางขาย ในตลาดรุ่นแรก ๆ นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างความฮือฮาอย่างมากในวงการคอมพิวเตอร์ เพราะเป็นครั้งแรก (ราว ค.ศ.1977) ที่มีการผลิตคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กในราคาที่คนทั่วไปจะหาไว้ใช้เป็นสมบัติส่วนตัวได้ ผู้ที่ช่วยกันริเริ่มคิดประดิษฐ์ได้แก่ Steve Jobs กับ Steve Wozniak สองสหายวัยรุ่นที่สร้างเครื่องต้นแบบเครื่องแรกในโรงรถ ส่วนเครื่องรุ่นแมคอินทอชนั้นเป็นคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแรกที่เริ่มนำสัญรูป (icon) รายการคำสั่ง แบบดึงลง (pull down menu) กรอบสนทนา (dialog box) เมาส์ (mouse) ฯลฯ มาใช้ ทำให้คนทั่วไปเริ่มรู้สึกว่า การใช้คอมพิวเตอร์ไม่ใช่ของยากอะไรเลย ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้หนักไปในด้านการผลิตสิ่งพิมพ์ (desktop publishing) อย่างไรก็ตาม หาใช่มีแต่เครื่องแอปเปิลแมคอินทอชเท่านั้นไม่ที่ใช้ระบบการทำงานดังที่กล่าวแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์พีซีก็เลียนแบบ โดยการนำเอาระบบวินโดว์มาใช้ |
circuit switching | การสลับวงจรในด้านการสื่อสารข้อมูล (data communications) หมายถึงเทคนิคในการสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เมื่อมีการเชื่อมต่อกันแล้วจะติดต่อกันได้ตลอดเวลา ผู้อื่นจะแทรกเข้ามาไม่ได้เลย จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปลดวงจรออก ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น การติดต่อทางสายโทรศัพท์ เมื่อเริ่มพูดกันได้แล้ว คนอื่นจะต่อสายแทรกเข้ามาไม่ได้ จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะวางหูลง (ปลดวงจร) ดู packet switching เปรียบเทียบ |
considering | (คันซิด'เดอริง) prep. เกี่ยวกับ, ในด้าน, เมื่อพิจารณาถึง. -adv. เมื่อพิจารณาถึงทุกสิ่งแล้ว |
dbase | (ดีเบส) เป็นชื่อโปรแกรมสำเร็จที่ได้รับความนิยมมากสมัยหนึ่งในด้านการจัดการฐานข้อมูล (database management) ได้รับการพัฒนาติดต่อกันมาหลายรุ่น (version) |
engage | (เอน'เกจฺ) vt. หมั้น, ผูกมัด, นัดหมาย, สู้รบ, ต่อสู้, จ้าง, ว่าจ้าง, พัวพัน, ทำให้ทำงานในด้าน, ทำงานอยู่, เชื่อมต่อกับ., See also: engager n. ดูengage, Syn. bind |
expansion card | แผ่นวงจรส่วนขยายหมายถึง แผ่นวงจรที่ออกแบบพิเศษให้ใช้เสียบเข้ากับบัสของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่อง ให้ทำงานเพิ่มขึ้นได้ในด้านต่าง ๆ เช่น ทำให้หน่วยความจำของเครื่องมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือทำให้เครื่องใช้กับซีดีรอม (CD ROM) ได้ หรือทำให้ใช้เป็นโมเด็มภายใน (internal modem) ได้ เป็นต้น |
fifties | n., adj. ปีหรือจำนวนที่อยู่ระหว่าง50ถึง59. คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้าหมายถึง คอมพิวเตอร์ยุคใหม่สุด ซึ่งนับเป็นยุคที่ห้า คอมพิวเตอร์ยุคนี้จะเน้นในเรื่องปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) เป็นสำคัญ เช่น ทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ ให้มากขึ้น ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน รวมทั้งประมวลผลได้เร็วยิ่งขึ้นด้วย ญี่ปุ่นทำท่าว่าจะเป็นผู้นำในด้านนี้มากกว่าชาติอื่น ดู artificial intelligence ประกอบ |
gantt chart | แผนภูมิแกนต์หมายถึง แผนผังคุมกำหนดงาน มักใช้ในด้านการจัดการโครงการ ผังในลักษณะนี้จะแสดงถึงปริมาณงานและกำหนดเวลาที่จะต้องใช้ เพื่อทำงานนั้นให้ลุล่วง |
ibm | abbr. Intercontinental Ballistic Missile จรวดขีปนาวุธข้ามทวีป, International Business Machines Corporation, บริษัทไอบีเอ็ม เป็นชื่อบริษัทที่ผลิตเครื่องจักรประมวลผลสำหรับธุรกิจหลายชนิด ซึ่งก็หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ไอบีเอ็มเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดบริษัทหนึ่งในด้านนี้ ในปัจจุบัน เริ่มมีคู่แข่งมากขึ้น บริษัทไอบีเอ็มนี้ผลิตคอมพิวเตอร์ทุกขนาดตั้งแต่ขนาดใหญ่ (mainframe) จนถึงไมโครคอมพิวเตอร์ ราคาเครื่องของบริษัทนี้จะแพงกว่าของบริษัทอื่น และมีบริษัทมากมายพยายามเลียนแบบ จนเกิดมีคำ"IBM compatibles" ซึ่งใช้เรียกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เทียบเคียงกับคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มได้ กล่าวคือ ใช้โปรแกรมระบบ (operating system) อย่างเดียวกัน |
international business ma | นิยมเรียกชื่อย่อว่า IBM (อ่านว่า ไอบีเอ็ม) เป็นชื่อบริษัทที่ผลิตเครื่องจักรประมวลผลสำหรับธุรกิจหลายชนิด ซึ่งก็หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ไอบีเอ็มเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดบริษัทหนึ่งในด้านนี้ ในปัจจุบัน เริ่มมีคู่แข่งมากขึ้น บริษัทไอบีเอ็มนี้ผลิตคอมพิวเตอร์ทุกขนาดตั้งแต่ขนาดใหญ่ (mainframe) จนถึงไมโครคอมพิวเตอร์ ราคาเครื่องของบริษัทนี้จะแพงกว่าของบริษัทอื่น และมีบริษัทมากมายพยายามเลียนแบบ จนเกิดมีคำ"IBM compatibles" ซึ่งใช้เรียกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เทียบเคียงกับคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มได้ กล่าคือ ใช้โปรแกรมระบบเดียวกัน |
lisp | ลิสพ์ย่อมาจาก List Programming เป็นชื่อภาษาคอมพิวเตอร์อีกภาษาหนึ่ง ภาษานี้เกิดขึ้นในราว ๆ ต้น ค.ศ.1960 ที่ MIT เพื่องานวิจัยในด้านปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) โปรแกรมที่ใช้ภาษานี้ก็มีประเภทโปรแกรมประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language) และการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ในเรื่องของปัญญาประดิษฐ์ |
paleogeography | (เพลีโอจิออก'กระฟี) n. วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ของโลกในด้านธรณีวิทยา, See also: paleogeographer n. paleogeographic adj. paleogeographical adj. |
pcmcia | (พีซีเอ็มซีไอเอ) ย่อมาจาก Personal Computer Memory Card International Association (สมาคมระหว่างประเทศเพื่อบัตรความจำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล) แต่เดิมหมายถึงแผ่นวงจรที่ใช้บันทึกข้อมูล มีลักษณะเหมือนการ์ด ขนาดเท่าบัตรเครดิต (ยาว 8.5 ซม. กว้าง 5.4 ซม.) ต่อมาได้มีการพัฒนาให้นำมาใช้สอยได้มากขึ้น เช่น ใช้เป็นฮาร์ดดิสก์ก็ได้ เป็นการ์ดเพิ่มหน่วยความจำก็ได้ เป็นการ์ดแฟกซ์ หรือโมเด็มก็ได้ โครงสร้างของการ์ดนี้เป็นชิป (chip) ใช้เสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมาก ๆ เช่น โน้ตบุ๊ก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ บางด้าน |
personal computer memory | Personal Computer Memory Card International Association สมาคมระหว่างประเทศเพื่อ บัตรความจำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใช้ตัวย่อว่า PCMCIA (อ่านว่า พีซีเอ็มซีไอเอ) แต่เดิมหมายถึงแผ่นวงจรที่ใช้บันทึกข้อมูล มีลักษณะเหมือนการ์ด ขนาดเท่าบัตรเครดิต (ยาว 8.5 ซม. กว้าง 5.4 ซม.) ต่อมาได้มีการพัฒนาให้นำมาใช้สอยได้มากขึ้น เช่น ใช้เป็นฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ก็ได้ เป็นการ์ดเพิ่มหน่วยความจำก็ได้ เป็นการ์ดแฟกซ์ หรือโมเด็มก็ได้ โครงสร้างของการ์ดนี้เป็นชิป (chip) ใช้เสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมาก ๆ เช่น โน้ตบุ๊ก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ บางด้าน |
presentation graphics | ภาพเพื่อการนำเสนอหมายถึง ซอฟต์แวร์ประเภทที่มุ่งไปในด้านการนำเสนอผลงานที่ชวนให้ประทับใจ โดยเฉพาะ เพื่อนำไปใช้ประกอบการบรรยาย หรืองานประชาสัมพันธ์ เป็นต้นว่า จะต้องสามารถแปลงตัวเลขใน ตารางจัดการ เป็นผังงาน กราฟ ฯ แล้วสามารถนำข้อความ ภาพ และเสียง หรือที่เรียกว่า สื่อหลายแบบ (multimedia) มาจัดเสนอในรูปแบบที่จะดึงดูดใจให้ดูน่าเชื่อถือ กับทั้งอาจจัดทำเป็น สไลด์ หรือแสดงบนจอภาพแล้วถ่ายทอดออกทางเครื่องฉายข้ามศีรษะ (overhead projector) ได้ นับเป็นการแสดงถึงเทคโนโลยีชั้นสูงอย่างหนึ่ง โปรแกรมที่ใช้กันมาก ก็มี Freelance, HiJack ฯ |
task management | การจัดภารกิจหมายถึงการจัดภารกิจในด้านการปฏิบัติการของชุดคำสั่ง เป็นต้นว่า การกำหนด ตำแหน่งที่เก็บข้อมูล (เป็นหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ หรือ operating system) |
Nontri Dictionary
considering | (pre) เมื่อพิจารณาถึง, เกี่ยวกับในด้าน |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Dyslexia | (n) ความบกพร่องในการอ่าน หรือ ความบกพร่องในด้านการเรียนรู้ |
good at | [กู๊ด แอท] (adj, slang) เก่ง, มีความสามารถในด้าน, ทำได้ดีในเรื่อง |
grean | [เกรียน] (n, adv) เป็นนิสัยหนึ่งของบุคคลยังไม่พ้นจากทางโลก ไม่รับฟังความเห็นผู้อื่น ตั้งตนเองเป็นหลัก มีความคิดอยู่ในฝันของตนเอง มีผู้อื่นยกย่องเห็นในตวามสามารถในด้านถนัดของตนเองแล้วมีความสุข |
เมพ | (adj, adv) เก่ง เชี่ยวชาญ ชำนาญในด้านนั้นๆ (คำที่พิมพ์ผิดมาจากคำว่า เทพ), Syn. เทพ |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
活躍 | [かつやく, katsuyaku] 1.สร้างผลงานหรือมีบทบาทในด้านต่าง ๆ 2.ขะมักขเม้นทำงาน |
Saikam JP-TH-EN Dictionary
下手 | [へた, heta] TH: ไม่ชำนาญในด้าน ไม่มีฝีมือในด้าน EN: unskillful (an) |
Longdo Approved DE-TH
aushalten | (vt) |hält aus, hielt aus, hat ausgehalten| ทน, อดทน (ในด้านลบ ซึ่งต่างจาก sich gedulden ที่อาจหมายความได้ทั้งด้านลบและบวก) เช่น Ich halte den Geruch nicht mehr aus. ฉันทนกลิ่นนี้ไม่ได้แล้ว |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0573 seconds, cache age: 15.771 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม