118 ผลลัพธ์ สำหรับ *เวียดนาม*
ภาษา
หรือค้นหา: เวียดนาม, -เวียดนาม-พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
เวียดนาม | น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับเขมร ลาว และจีน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนเชื้อชาติเวียด, เรียกเต็มว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม. |
กูปรี | (-ปฺรี) น. ชื่อวัวป่าขนาดใหญ่ชนิด Bos sauveli Urbain ในวงศ์ Bovidae เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้สีดำ มีเขาขนาดใหญ่ ส่วนปลายบิดชี้ขึ้นข้างบน ใช้เขาขุดดินและแทงต้นไม้ทำให้ปลายแตกเป็นเส้น ๆ ร่นลงไปมองเห็นเป็นพู่ ตัวเมียสีน้ำตาลอมเทาหรือน้ำตาลเข้ม เขาเล็กกว่า ปลายไม่แตกเป็นพู่ มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณอีสานใต้ตามชายแดนไทย–กัมพูชา ลาว เวียดนาม เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทยที่ใกล้จะสูญพันธุ์, โคไพร ก็เรียก. |
เขมร ๑ | (ขะเหฺมน) น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับไทย ลาว และเวียดนาม มีภาษาพูดอยู่ในตระกูลมอญ–เขมร และมีอักษรของตนเองใช้ เรียกว่า อักษรขอม. |
จาม ๑ | น. ชื่อชนชาติหนึ่ง ปัจจุบันส่วนใหญ่มีถิ่นฐานอยู่ในเขตประเทศเวียดนามตอนใต้. |
จีน ๑ | น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับมองโกเลีย รัสเซีย เวียดนาม ลาว พม่า ภูฏาน เนปาล อินเดีย คีร์กีซ และคาซัคสถาน มีภาษาพูดและอักษรของตนเองใช้. |
ญวน ๑ | น. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งอยู่ทางทิศใต้ของประเทศจีน และทางทิศตะวันออกของประเทศลาวและเขมร, ปัจจุบันเรียกว่า เวียดนาม. |
ตะวันออกไกล | น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันออกของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ห่างไกลจากทวีปยุโรปมาก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มองโกเลีย และไซบีเรีย บางทีก็รวมถึงประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และอินโดนีเซียด้วย. |
ภาษาคำโดด | น. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่องกับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำสองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. |
มองโกลอยด์ | น. ชนชาติผิวเหลือง มีลักษณะผมดำเหยียด หน้ากว้าง จมูกเล็ก ตาเรียว เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม. |
ลาว ๑ | น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับไทย เขมร เวียดนาม พม่า และจีน, เรียกเต็มว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. |
เวียด | น. ชนชาติเก่าแก่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีถิ่นฐานทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ปัจจุบันคือประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเวียดนาม. |
สุวรรณภูมิ | (สุวันนะพูม) น. ดินแดนแหลมทองซึ่งเชื่อกันว่ามีอาณาบริเวณครอบคลุมพม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์. |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Art, Vietnamese | ศิลปะเวียดนาม [TU Subject Heading] |
Arts, Vietnamese | ศิลปกรรมเวียดนาม [TU Subject Heading] |
Combodian-Vietnamese Conflict, 1977-1991 | สงครามเขมร-เวียดนาม, ค.ศ. 1977-1991 [TU Subject Heading] |
Cookery, Vietnamese | การปรุงอาหารเวียดนาม [TU Subject Heading] |
Foreing workers, Vietnamese | คนงานต่างชาติชาวเวียดนาม [TU Subject Heading] |
Hanoi (Vietnam) | ฮานอย (เวียดนาม) [TU Subject Heading] |
Proverbs, Vietnamese | สุภาษิตและคำพังเพยเวียดนาม [TU Subject Heading] |
Saigon (Vietnam) | ไซง่อน (เวียดนาม) [TU Subject Heading] |
Short stories, Vietnam | เรื่องสั้นเวียดนาม [TU Subject Heading] |
Sino-Vietnamese Conflict, 1979 | สงครามจีน-เวียดนาม, ค.ศ. 1979 [TU Subject Heading] |
Vietnam | เวียดนาม [TU Subject Heading] |
Vietnamese | ชาวเวียดนาม [TU Subject Heading] |
Vietnamese language | ภาษาเวียดนาม [TU Subject Heading] |
Vietnamese War, 1961-1975 | สงครามเวียดนาม, ค.ศ. 1961-1975 [TU Subject Heading] |
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy | ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต] |
Asia Pacific Economic Cooperation | ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก " เป็นกระบวนการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2532 มีเป้าหมายในการเปิดการค้าเสรีและการลงทุน ภายในปี พ.ศ. 2553 สำหรับสมาชิกพัฒนาแล้ว และปี พ.ศ. 2563 สำหรับสมาชิกกำลังพัฒนา ขณะนี้มีสมาชิกประกอบด้วย ออสเตรเลีย บรูไน ดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกีนี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม โดยประเทศไทยเป็นสมาชิกก่อตั้ง " [การทูต] |
Association of South-East Asian Nations | สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน จัดตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 เพื่อร่วมมือและส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์และการบริหารในภูมิภาค โดยมีสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ต่อมาบรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2527 เวียดนามเป็นสมาชิกประเทศที่ 7 ในปี พ.ศ. 2538 ลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันในปี พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับสุดท้ายหรือประเทศที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2542 [การทูต] |
Asia Europe Meeting | การประชุมเอเชีย-ยุโรป " เป็นการประชุมระดับผู้นำจากเอเชีย 10 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ บรูไน ดารุสซาลาม จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น ผู้นำจากยุโรป 15 ประเทศ คือ สหราช- อาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย และประธานคณะกรรมาธิการยุโรป การประชุมครั้งแรกมีขึ้น ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2539 " [การทูต] |
The Conference on Interaction and Confidence-Building Measures in Asia | การประชุมว่าด้วยการแสวงหามาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (ด้านความมั่นคง) ในเอเชีย " CICA ได้รับการจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยความริเริ่มของคาซัคสถาน และมีสมาชิกเข้าร่วม 16 ประเทศ ได้แก่ คาซัคสถาน อินเดีย ปากีสถาน ปาเลสไตน์ รัสเซีย ตุรกี จีน อิสราเอล อิหร่าน อัฟกานิสถาน อียิปต์ อาเซอร์ไบจาน มองโกเลีย คีร์กิซสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน และประเทศผู้สังเกตการณ์อีก 10 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี ยูเครน เวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และเลบานอน " [การทูต] |
Cambodia-Laos-Myanmar-Viet Nam | กลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม [การทูต] |
East-West Economic Corridor | การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะฝั่งตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมโยงพม่า-ไทย-ลาว-เวียดนาม [การทูต] |
Forum for Comprehensive Development of Indochina | เวทีเพื่อการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แบบในอินโดจีน เป็นความริเริ่มโดยกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นที่จะให้มีเวทีปรึกษาหารือ เพื่อช่วยพัฒนาประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม กลไกประกอบด้วยคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะที่ปรึกษาภาคเอกชนโดยเน้นบทบาทในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาภาค เอกชนตลอดจนการสร้างความเชื่อมโยงกับกรอบความร่วมมือ (GMS) [การทูต] |
Francophonie (International Organization of the Francophony) | องค์การระหว่างประเทศกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษา ฝรั่งเศส ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2513 ที่เมือง Niamey ประเทศ Niger เพื่อเป็นเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสานนโยบายความร่วมมือต่าง ๆ เน้นการส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นสื่อกลาง และส่งเสริมความร่วมมือพหุพาคีเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ปัจจุบันมีสมาชิก 53 ประเทศ (เบลเยียม บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก มอลโดวา โมนาโก โรมาเนีย สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา โดมินิกา เฮติ เซนต์ลูเซีย เบนิน บูร์กินาฟาโซ บุรุนดี แคเมอรูน เคปเวิร์ด สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ชาด คอโมโรส สาธารณรัฐคองโก โกตดิวัวร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก จิบูตี อียิปต์ อิเควทอเรียลกินี กาบอง กินี กินีบิสเซา มาดากัสการ์ มาลี มอริเตเนีย มอริเซียส โมร็อกโก ไนเจอร์ รวันดา เซาตูเมและปรินซิปี เซเนกัล เชเชลส์ โตโก ตูนีเซีย กัมพูชา ลาว เลบานอน เวียดนาม วานูอาตู แอลเบเนีย มาซิโดเนีย สาธารณรัฐเช็ก ลิทัวเนีย สาธารณรัฐสโลวัก สาธารณรัฐโลวีเนีย และโปแลนด์) และ 3 มลรัฐ [ แคนาดา-นิวบรันสวิก แคนาดา- ควิเบก และชุมชนฝรั่งเศสในเบลเยียม (French Community in Belgium) ] [การทูต] |
Ganga-Suwanabhumi-Mekong Cooperation | ความร่วมมือลุ่มน้ำคงคา-สุวรรณภูมิ-ลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย ไทย-ลาว-พม่า-เวียดนาม-กัมพูชา และอินเดีย เป็นกรอบความร่วมมือที่เสนอในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับ รัฐมนตรีต่างประเทศประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 33 เมื่อ 28 กรกฎาคม 2543 โดยมีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2543 [การทูต] |
Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-China | การประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Greater Mekong Subregion Economic Cooperation | กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง หรือ กรอบความร่วมมือหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ " ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน (มณฑล ยูนนาน) มีธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เป็นกลไกประสานความร่วมมือ โดยริเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 ประกอบด้วยความร่วมมือ 8 สาขา ได้แก่ คมนาคมขนส่ง พลังงาน สื่อสาร โทรคมนาคม พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม และการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติ การค้า และการลงทุน " [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Joint Strategy for Economic Partnership | ยุทธศาสตร์ร่วมเพื่อความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ไทย-เวียดนาม เป็นแผนแม่บทเพื่อกำกับการดำเนินความสัมพันธ์ทาง เศรษฐกิจไทย-เวียดนาม ในทุกมิติ ครอบคลุมด้านการค้า การลงทุน การผลิต การเงิน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ [การทูต] |
Mekong - Ganga Cooperation | ความร่วมมือแม่นำโขง - คงคา ริเริ่มขึ้นเมื่อกรกฎาคม พ.ศ.2543 ที่กรุงเทพฯ มีสมาชิก 6 ประเทศ คือกัมพูชา อินเดีย ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมโยง ระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกับประเทศในลุ่มแม่น้ำคงคาในด้านการ ท่องเที่ยว การศึกษาวัฒนธรรม และคมนาคมขนส่งโดยอาศัยปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เกื้อกูลกันและความสัมพันธ์ที่ ดีระหว่างกัน และเป็นยุทธศาสตร์เชื่อมโยง GMS (จีน) ไปสู่อินเดีย [การทูต] |
Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Fund | กองทุนให้ความช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน " ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนให้ความช่วย เหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน พ.ศ. 2539 โดยให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงาน รับผิดชอบ มีวัตถุประสงค์ให้เงินกู้ผ่อนปรนแก่รัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินของรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม เพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาประเทศ โดยเงินกู้ที่ รัฐบาลไทยปล่อยให้กู้นี้ จะต้องเป็นเงินสกุลบาท และส่วนหนึ่งของ เงินกู้จะต้องนำไปซื้อสินค้าและบริการจากภาคเอกชนไทย " [การทูต] |
order at sea | การจัดระเบียบทางทะเล " เช่น ความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือไทย-เวียดนามในการลดความ ขัดแย้งในทะเลระหว่างกัน อาทิ การล่วงล้ำน่านน้ำและลักลอบทำประมง โดยมีมาตรการสำคัญ คือ การลาดตระเวนร่วมในพื้นที่ประชิดกันทางทะเลระหว่างกองทัพเรือทั้งสองฝ่าย เป็นประจำ " [การทูต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
ภาษาเวียดนาม | [phāsā Wīetnām] (n, exp) EN: Vietnamese FR: vietnamien [ m ] ; langue vietnamienne [ f ] |
ประเทศเวียดนาม = ประเทศเวียตนาม | [Prathēt Wīetnām] (n, prop) EN: Vietnam FR: Vietnam [ m ] ; Viêt Nam [ m ] |
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม = สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม | [Sāthāranarat Sangkhomniyom Wīetnām] (n, prop) EN: Socialist Republic of Vietnam |
เวียดนาม = เวียตนาม | [Wīetnām] (adj) EN: Vietnamese FR: vietnamien |
เวียดนาม = เวียตนาม | [Wīetnām] (n, prop) EN: Vietnam FR: Vietnam [ m ] ; Viêt Nam [ m ] |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
Annam | (n) ประเทศเวียดนาม |
Annamese | (adj) เกี่ยวกับญวนหรือเวียดนาม (ชนชาติ ภาษาและวัฒนธรรม) |
Hanoi | (n) เมืองฮานอย, See also: ชื่อเมืองหลวงของประเทศเวียดนาม |
Hanoi | (n) ฮานอย, See also: ชื่อเมืองหลวงของประเทศเวียดนาม |
Indochina | (n) อินโดจีน (มีพม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนามและแหลมมลายู) |
Nam | (sl) ประเทศเวียดนาม |
Viet Cong | (n) ทหารเวียดนามซึ่งเป็นทหารคอมมิวนิสต์, See also: เวียดกง ช่วงปีค.ศ.1954-1976, Syn. communist, Vietcong |
Vietcong | (n) เวียดกง, See also: ทหารคอมมิวนิสต์ในเวียดตามใต้ที่รบกับทหารเวียดนามเหนือ ในช่วงปีค.ศ 1954-1976 |
VietCong | (n) ทหารเวียดนามซึ่งเป็นทหารคอมมิวนิสต์, See also: เวียดกง ช่วงปีค.ศ.1954-1976, Syn. communist, Viet cong |
Vietminh | (n) กองทัพเวียดนามที่รบเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น&ฝรั่งเศสที่แหลมอินโดจีน |
Vietnam | (n) ประเทศเวียดนาม |
Vietnamese | (adj) เกี่ยวกับเวียดนามหรือชาวเวียดนาม |
Vietnamese | (n) ชาวเวียดนาม, See also: ภาษาเวียดนาม |
Hope Dictionary
indo-china | (อิน'โดไช'นะ) n. อินโดจีน (ประกอบด้วย เวียดนาม, ลาว, เขมร, ไทย, พม่า, มาเลเซียและสิงคโปร์), Syn. Farther India |
southeast asia | n. เอเซียอาคเนย์, ประเทศและดินแดนในบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเซีย (ได้แก่บรูไน, พม่า, เขมร, อินโดนีเซีย, ลาว, ไทย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ตีมอร์, สิงคโปร, เวียดนาม) . -Sountheast Asian |
vietnam | (เวียตนาม', -แนม') n. ประเทศเวียดนามประกอบด้วย Annam Tonkin และ Cochin-China สมัยก่อน, Syn. Viet Nam |
vietnamese | (เวียตนะมีซ') n. ชาวเวียดนาม, ภาษาเวียดนาม (เป็นภาษาAustroasiaticภาษาหนึ่ง) . adj. เกี่ยวกับเวียดนาม หรือชาวเวียดนาม pl. Vietnamese |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
overlapping territorial claims area | (n) พื้นที่ทับซ้อน, พื้นที่ทางบกหรือทางทะเลซึ่งมีประเทศมากกว่า ๑ ประเทศ อ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ สงคราม ความเชื่อทางศาสนา ที่ตั้งของชุมชนทางชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย หรือผลประโยชน์แห่งรัฐ เช่น พื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารที่มีปัญหาการอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ดังกล่าว ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา. หมู่เกาะสแปรตลีที่เป็นพื้นที่ทับซ้อน มีหลายประเทศต่างอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะทั้งหมดหรือบางส่วนของหมู่เกาะ ได้แก่ จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน บูรไน และ มาเลเซีย |
Longdo Approved DE-TH
rund um | (adv) โดยประมาณ เช่น Rund um eine Million Vietnamesen leben in Frankreich. คนเวียดนามประมาณหนึ่งล้านคนอาศัยอยู่ในฝรั่งเศส |
Longdo Approved FR-TH
vietnamien | (n) |m| คนเวียดนาม |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0938 seconds, cache age: 2.201 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม