230 ผลลัพธ์ สำหรับ *เข้าร่วม*
ภาษา
หรือค้นหา: เข้าร่วม, -เข้าร่วม-NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
เข้าร่วม | (v) join, See also: participate, attend, cooperate, Syn. ร่วม, Ant. แยกตัว, Example: นักศึกษาส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมวันไหว้ครูของมหาวิทยาลัย, Thai Definition: มีส่วนเข้าไปอยู่ในนั้นด้วย |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
การฌาปนกิจสงเคราะห์ | น. กิจการที่บุคคลหลายคนตกลงเข้าร่วมกันเพื่อทำการสงเคราะห์ซึ่งกันและกันในการจัดการศพ หรือจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ตกลงเข้าร่วมกันนั้นซึ่งถึงแก่ความตาย และมิได้ประสงค์จะหากำไรหรือรายได้เพื่อแบ่งปันกัน. |
ชุมนุมสหกรณ์ | น. สหกรณ์ตั้งแต่ ๕ สหกรณ์ขึ้นไปที่รวมกันจัดตั้งเป็นชุมนุมสหกรณ์เพื่อร่วมกันดำเนินกิจการให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ที่เข้าร่วมกันนั้น ชุมนุมสหกรณ์มี ๒ ระดับ คือ ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ. |
แซง ๒ | น. เรียกม้าหลวงหรือช้างหลวงพวกหนึ่งที่จัดให้เดินเลียบไปข้าง ๆ กระบวนแห่หรือกองทัพ ว่า ม้าแซง ช้างแซง, เรียกเรือกราบซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ป้องกันภัยกระบวนเรือพระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างกระบวน ว่า เรือแซง. |
ประเทศราช | (ปฺระเทดสะราด) น. เมืองที่มีเจ้าผู้ครองเมืองของตนเอง แต่อยู่ภายใต้อำนาจควบคุมดูแลและคุ้มครองของพระมหากษัตริย์ของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งเจ้าเมืองประเทศราชนั้นมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการถวายเป็นประจำ และในเวลาเกิดศึกสงครามต้องเกณฑ์กำลังทหารเข้าร่วมกองทัพหลวงด้วย. |
พระอันดับ | น. พระลูกวัด, พระอนุจร ก็เรียก, พระผู้มิได้เป็นประธานหรือคู่สวดในสังฆกรรม เช่น พระอันดับนาค (พระอันดับในพิธีบวชนาค) พระอันดับแจง (พระอันดับในพิธีสวดแจง), โดยปริยายหมายถึงผู้น้อยที่เข้าร่วมพิธีโดยมิได้มีบทบาทสำคัญอะไร. |
รวม | ก. บวกเข้าด้วยกัน, ผสมเข้าด้วยกัน, เช่น รวมคะแนน รวมเงิน, เข้าร่วมกัน, คละปนกัน, เช่น รวมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย อยู่รวมกัน, ผนึกเข้าด้วยกัน เช่น รวมนํ้าใจ รวมพลัง. |
ร่วมวง | ก. เข้าร่วมในวงอย่างในวงอาหารในวงไพ่. |
ร่วมสังฆกรรม | ก. อาการที่พระสงฆ์ทำสังฆกรรมร่วมกัน, (ปาก) ทำงานร่วมกัน เช่น ฉันเข้าร่วมสังฆกรรมกับเขา. |
เรือแซง | น. เรือกราบซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ป้องกันภัยกระบวนเรือพระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างและปิดท้ายกระบวน. |
เรือประตู | น. เรือหลวงที่จัดเข้าร่วมในกระบวนเสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขาและป้องกันอันตรายกระบวนเรือพระที่นั่ง จัดอยู่ตามตำแหน่งเป็นชั้น ๆ ข้างหน้ากระบวนมีเรือประตูนอกหรือเรือประตูชั้นนอกอยู่ข้างหน้าเรือคู่ชักหมู่หนึ่ง กับอยู่ต่อเรือคู่ชักเข้ามาก่อนถึงเรือดั้งอีกแถวหนึ่งเรียกว่า เรือประตูใน และยังมีอยู่ทางตอนท้ายกระบวนอีก ๒ หมู่ หมู่ต้นอยู่ต่อท้ายเรือกันเรียกว่า เรือประตูใน กับหมู่ปลายอยู่ต่อท้ายหมู่เรือพระที่นั่งกรมพระราชวังบวรฯ และเรือที่นั่งเจ้านายเรียกว่า เรือประตูนอก. |
ลงทะเบียน | ก. จดเป็นหลักฐาน เช่น จดหมายลงทะเบียน, ลงชื่อรายงานตัวเป็นหลักฐาน เช่น ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนา, ลงชื่อแสดงความจำนงเข้าเรียน เช่น ลงทะเบียนเรียนภาคที่ ๑. |
ลงอุโบสถ | ก. เข้าร่วมสังฆกรรมฟังพระปาติโมกข์ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า วันแรม ๑๔ หรือ แรม ๑๕ คํ่าของเดือน (ใช้แก่พระสงฆ์), ลงโบสถ์ ก็ว่า. |
เล่นการเมือง | ก. ฝักใฝ่หรือปฏิบัติการเกี่ยวกับงานบริหารบ้านเมือง, โดยปริยายหมายความว่า ใช้เล่ห์เหลี่ยมพลิกแพลงไม่ตรงไปตรงมา เพื่อผลประโยชน์ของตน เช่น ในวงการกีฬาก็มีการเล่นการเมือง นักกีฬาเก่ง ๆ บางคนถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมทีม. |
สงฆ์ | ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปร่วมกันทำสังฆกรรม แต่จำนวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมแต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวดพิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวดอัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่าจำนวนที่กำหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจำนวนใช้ไม่ได้. |
สมัคร | (สะหฺมัก) ก. ยื่นความจำนงขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือร่วมในกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้น เช่น สมัครเป็นสมาชิกสมาคม สมัครเข้าทำงาน, บางทีก็มีคำ ใจ ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งเป็นคำผสมชนิดที่ต้องการเน้น เช่น ใจสมัคร ว่า ใจที่สมัคร, สมัครใจ ว่า สมัครด้วยความเต็มใจ. |
สมัครพรรคพวก | น. ผู้เข้าร่วมเป็นพวกด้วย เช่น เขาเป็นคนกว้างขวาง มีสมัครพรรคพวกมาก. |
สมาคม | (สะมา-) น. การประชุม, การเข้าร่วมพวกร่วมคณะ, การคบค้า |
ส่วน | การเข้าร่วม เช่น เรื่องนี้ขอมีส่วนด้วย |
สหพันธ์ | น. สหภาพหรือสมาคมตั้งแต่ ๒ สหภาพหรือ ๒ สมาคมขึ้นไปที่ร่วมกันดำเนินกิจการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพหรือสมาคมที่เข้าร่วมกันนั้น เช่น สหพันธ์กรรมกร. |
สหภาพ | น. การรวมตัวขององค์การตั้งแต่ ๒ องค์การขึ้นไป เพื่อทำกิจการทั่วไปหรือกิจการเฉพาะอย่างตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่เข้าร่วมกันนั้น เช่น สหภาพศุลกากร สหภาพรัฐสภา |
สังเกตการณ์ | ก. เฝ้าดูหรือศึกษาเหตุการณ์หรือเรื่องราวพอรู้เรื่อง. น. เรียกผู้เข้าร่วมประชุมที่ไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง ว่า ผู้สังเกตการณ์. |
ออกรางวัล | ออกเลขรางวัลโดยจับจากบัตรหรือชื่อของผู้เข้าร่วมงาน. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
political socialization | การกล่อมเกลาทางการเมือง, การปลูกฝังให้เข้าร่วมสังคมการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
participation | การมีส่วนร่วม, การเข้าร่วม, การร่วม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
labour force participation ratio | อัตราส่วนการทำงาน (ของประชากร), อัตราส่วนการเข้าร่วมในกำลังแรง [ ดู activity ratio ] [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
socialization, political | การกล่อมเกลาทางการเมือง, การปลูกฝังให้เข้าร่วมสังคมการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
adhesion | การเข้าร่วมเป็นภาคี (ในสนธิสัญญา) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
adhesion; adherence | การเข้าร่วมเป็นภาคี (ในความตกลง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
associate oneself as prosecutor | เข้าร่วมเป็นโจทก์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
adherence; adhesion | การเข้าร่วมเป็นภาคี (ในความตกลง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
joinder | การเข้าร่วม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
joinder of parties | การเข้าร่วมเป็นโจทก์หรือเป็นจำเลย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
nominal party | ผู้เข้าร่วมเป็นคู่ความแต่ในนาม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Participant observation | การสังเกตการณ์แบบเข้าร่วม [TU Subject Heading] |
Labor Force Participation | อัตราส่วนการเข้าร่วมแรงงาน, Example: อัตราส่วนของประชากรที่ทำงานต่อประชากรทั้งหมด โดยคำนวณแยกตามอายุ เพศ และกลุ่มอื่นๆ ตามที่ต้องการ [สิ่งแวดล้อม] |
ASEAN Minus X | แนวทางในการขับเคลื่อนความร่วมมืออาเซียน, เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนความร่วมมืออาเซียนที่มีความ ยืดหยุ่นซึ่งเปิดโอกาสให้สามารถริเริ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจได้โดยไม่ต้อง รอให้ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมพร้อมกัน [การทูต] |
Asia Cooperation Dialogue | ความร่วมมือเอเชีย เวทีความร่วมมือในระดับทวีปเอเชีย โดยเป็นความคิดริเริ่มของไทยในการสร้างกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกอนุ ภูมิภาคของเอเชีย มีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงจุดแข็งและต่อยอดความร่วมมือต่าง ๆ ของประเทศเอเชีย โดยอาศัยความแตกต่างหลากหลายและทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเอเชียมีอยู่มา ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมุ่งสร้างความร่วมมือในวงกว้างทั้งทวีปเอเชีย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคเอเชียแข็งแกร่งและเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งสำหรับภูมิภาค อื่น ๆ เอซีดีได้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อ 18-19 มิถุนายน 2545 โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจาก 18 ประเทศเข้าร่วม ที่ประชุมได้แบ่งกรอบความร่วมมือเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติการหารือ (dialogue dimension) และมิติโครงการความร่วมมือ (project dimension) เช่น การท่องเที่ยว ความมั่นคงทางพลังงาน และการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Market) [การทูต] |
ASEAN Regional Forum | การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต] |
ASEAN Dialogue Partners | คู่เจรจาอาเซียน " ประกอบด้วย 9 ประเทศ 1 กลุ่มประเทศ และ 1 องค์การระหว่างประเทศ คือ ออสเตรเลีย แคนาดา จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ประชาคมยุโรป และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยคู่เจรจาเหล่านี้ (ยกเว้นโครงการพัฒนาแห่งสห- ประชาชาติ) จะเข้าร่วมการประชุม PMC ด้วย " [การทูต] |
ASEAN Sectoral Dialogue Partners | คู่เจรจาเฉพาะด้านของอาเซียน " ปัจจุบันมีเพียงประเทศเดียว คือ ปากีสถาน ทั้งนี้ คู่เจรจาเฉพาะด้าน มิได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม PMC " [การทูต] |
ASEAN Special Senior Officials Meeting | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนสมัยพิเศษ เป็นการประชุมในลักษณะเดียวกับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน แต่มีผู้แทนฝ่ายทหารของประเทศสมาชิกเข้าร่วมการประชุมด้วย เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2535 [การทูต] |
Bangkok Process | เป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการในระดับรัฐมนตรี เพื่อแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นระหว่างกันอย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์เกี่ยวกับแนวทางในการสนับ สนุนกระบวนการสร้างความปรองดองภายในชาติและการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าตาม ?Roadmap towards Democracy in Myanmar? เดิมเรียกว่า Forum on International Support for National Reconciliation in Myanmar ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Bangkok Process ครั้งแรกเมื่อ 15 ธันวาคม 2546 ที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศจาก 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น พม่า สิงคโปร์ และไทย รวมทั้งนาย Razali Ismail เป็นผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยพม่าเข้าร่วม [การทูต] |
The Conference on Interaction and Confidence-Building Measures in Asia | การประชุมว่าด้วยการแสวงหามาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (ด้านความมั่นคง) ในเอเชีย " CICA ได้รับการจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยความริเริ่มของคาซัคสถาน และมีสมาชิกเข้าร่วม 16 ประเทศ ได้แก่ คาซัคสถาน อินเดีย ปากีสถาน ปาเลสไตน์ รัสเซีย ตุรกี จีน อิสราเอล อิหร่าน อัฟกานิสถาน อียิปต์ อาเซอร์ไบจาน มองโกเลีย คีร์กิซสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน และประเทศผู้สังเกตการณ์อีก 10 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี ยูเครน เวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และเลบานอน " [การทูต] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] |
concert of nations | ความปรองดองระหว่างชาติ หลักการและแนวคิดเรื่องความปรองดองระหว่างชาติเกิดขึ้นในยุโรป ระหว่าง พ.ศ. 2357-2358 ซึ่งเรียกว่า Concert of Europe หรือบางครั้งเรียกว่า Concert of Allies โดยการรวมตัวของกลุ่มรัฐพันธมิตรที่ต่อต้านการขยายอำนาจของฝรั่งเศส คือ รัสเซีย ออสเตรีย ปรัสเซีย และอังกฤษ ได้รวมตัวกันเป็นระบบแห่งยุโรป (European system) หรือระบบแห่งมหาอำนาจในยุโรป ซึ่งต่อมาฝรั่งเศสและสเปนได้เข้าร่วมในระบบความปรองดองแห่งยุโรปด้วย นอกจากนี้การเกิดระบบความปรองดองแห่งยุโรปซึ่งมีระบบการประชุมคองเกรส ระหว่างชาติมหาอำนาจเป็นกลไกสำคัญนั้น ยังเป็นการแสดงถึง "มหาอำนาจแห่งปฐมลำดับ" (The powers of the first order) และยังถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการเรียกชื่อที่ระบุคำว่ามหาอำนาจ (The first expression of the idea of the Great Powers) อย่างไรก็ตาม ระบบความปรองดองแห่งยุโรปได้ล่มสลายลงในปี พ.ศ. 2365 [การทูต] |
Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-China | การประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต] |
intervention | 1. การเข้าแทรกแซง 2. การเข้าร่วมอภิปราย การเข้าร่วมกล่าวถ้อยแถลง (ใช้ในกรณีการประชุมพหุภาคี) [การทูต] |
North Atlanitc Treaty Organization | องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] |
Nuclear Test Ban | หมายถึง สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งในบรรยากาศ ในอวกาศ และใต้น้ำ สนธิสัญญาฉบับนี้ได้มีผลบังคับเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1963 ประเทศที่ลงนามเริ่มแรกในสนธิสัญญาได้แก่ อังกฤษ สหภาพโซเวียต และ สหรัฐอเมริกา รวมสามประเทศจุดมุ่งหมายสำคัญของสนธิสัญญาคือ รัฐบาลของประเทศทั้งสาม ต้องการให้มีการทำความตกลงกันเป็นผลสำเร็จเกี่ยวกับการลดอาวุธ หรือปลดกำลังอาวุธทั้งหมดโดยสิ้นเชิง ภายใต้การควบคุมระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด ตามความมุ่งประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งต้องการให้ยุติหรือเลิกการแข่งขันกันสะสมอาวุธ และกำจัดมิให้มีเหตุจูงใจที่จะผลิตและทดสอบอาวุธไม่ว่าชนิดใดทั้งหมด รวมทั้งอาวุธนิวเคลียร์ด้วย นอกจากนี้ ยังเสาะแสวงหาที่จะให้หยุดการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ไปตลอดชั่วกาลนานสนธิ สัญญานี้มีข้อความอยู่ 5 มาตรา และไม่จำกัดอายุเวลา ทั้งยังเปิดโอกาสให้ประเทศอื่น ๆ ทั้งหลายเข้าร่วมลงนามเป็นภาคีได้ ในทางตรงกันข้าม ประเทศภาคีก็มีสิทธิใช้อธิปไตยแห่งชาติได้เพื่อถอนตัวจากสนธิสัญญา ถ้าหากประเทศนั้น ๆ เห็นว่า ประโยชน์อันสูงสุดของประเทศตนต้องตกอยู่ในอันตราย และแจ้งล่วงหน้าสามเดือนให้ประเทศภาคีอื่น ๆ ทั้งหมดทราบการตกลงใจนั้น [การทูต] |
Organization of American States | องค์กรรัฐอเมริกัน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2491 เป็นองค์กรความร่วมมือในทวีปอเมริกาและ แคริบเบียน ซึ่งเป็นองค์กรหลักด้านการเมืองในทวีปอเมริกา และในปัจจุบันได้ขยายบทบาทเน้นหนักความร่วมมือเพื่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการร่วมมือป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและคอรัปชั่น ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 35 ประเทศ ประเทศผู้สังเกตการณ์ 45 ประเทศ โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ถาวรของ OAS เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2541 (ประเทศสมาชิกดูที่ FTAA) [การทูต] |
R.S.V.P. | โปรดตอบให้ผู้เชิญทราบด้วยว่าผู้ได้รับเชิญจะไป ร่วมงานหรือไม่ เป็นคำย่อมาจากภาษาฝรั่งเศสที่ว่า Répondez s'il vous plaît ซึ่งระบุในบัตรเชิญเข้าร่วมงานต่าง ๆ แปลว่า โปรดตอบให้ผู้เชิญทราบด้วยว่าผู้ได้รับเชิญจะไปร่วมงานหรือไม่ [การทูต] |
Regrets Only | เป็นคำที่ระบุในบัตรเชิญเข้าร่วมงานต่าง ๆ ซึ่งหากผู้ได้รับเชิญจะไม่ไปร่วมจะต้องตอบให้ผู้เชิญทราบ หากสามารถไปร่วมได้ ไม่ต้องตอบ [การทูต] |
To Remind | เป็นคำที่ระบุในบัตรเชิญเข้าร่วมงานต่าง ๆ ในกรณีที่ การเชิญนั้นผู้ได้รับเชิญได้ตอบรับการเชิญอย่างไม่เป็นทางการแล้ว การส่งบัตรเชิญโดยระบุคำว่า "To Remind" เป็นการส่งมาเตือนอีกครั้งหนึ่ง [การทูต] |
Vienna Convention on Consular Relations | อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1961 สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ตกลงให้จัดการประชุมระหว่างผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม จากประเทศสมาชิก เพื่อทำหน้าที่พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล และได้ประชุมกัน ณ กรุงเวียนนา เมื่อต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 1963 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ถึงวันที่ 22 เมษายน มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม เป็นจำนวน 92 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ส่วนประเทศโบลิเวีย กัวเตมาลา ปละปารากวัย ได้เข้าร่วมประชุมด้วยในฐานะผู้สังเกตการณ์ (Observers)มีข้อน่าสังเกตว่า ในข้อ 73 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอนุสัญญานี้ว่า จะไม่มีผลกระทบต่อความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้บังคับระหว่างรัฐภาคีแห่งความตกลงดังกล่าว และไม่มีข้อความใดในอนุสัญญานี้ที่จะตัดหนทางของรัฐในการทำความตกลงระหว่าง ประเทศ เพื่อยืนยันหรือเติมต่อหรือยืดขยายบทแห่งอนุสัญญานี้ออกไปอีก [การทูต] |
Vienna Convention on Diplomatic Relations | อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1959 ให้จัดการประชุมระหว่างผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากประเทศสมาชิก เพื่อพิจารณาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการติดต่อและการคุ้มกันทางการทูต และได้เริ่มต้นประชุมกัน ณ กรุงเวียนนา ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม ถึงวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1961 มีรัฐบาลของประเทศสมาชิกส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมร่วมด้วย 81 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย อนุสัญญาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1964 [การทูต] |
Association Constant | ค่าคงที่ของการเข้าร่วมกัน [การแพทย์] |
Calvin cycle | วัฏจักรคัลวิน, ขั้นหนึ่งของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เป็นการเปลี่ยนแปลงสารที่มีคาร์บอน 5 อะตอม โดยมีคาร์บอนไดออกไซด์เข้าร่วม กลายเป็นสารที่มีคาร์บอน 3 อะตอม แล้วสารที่มีคาร์บอน 3 อะตอมนี้จะเปลี่ยนกลับไปเป็นสารที่มีคาร์บอน 5 อะตอมใหม่อีกครั้งหนึ่ง เป็นวัฏจักรเช่นนี้เรื่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Intrinsic Association Constant | ค่าคงที่ของการเข้าร่วมกัน [การแพทย์] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
เข้าร่วม | [khaoruam] (v, exp) EN: join ; participate ; attend ; cooperate FR: se joindre ; s'associer ; participer |
เข้าร่วมการเจรจา | [khaoruam kān jēnrajā] (v, exp) EN: take part in negotiations FR: prendre part à une réunion de négociation |
เข้าร่วมการประชุมนานาชาติ | [khaoruam kān prachum nānāchāt] (v, exp) EN: attend an international conference FR: participer à une conférenvce internationale |
เข้าร่วมประชุม | [khaoruam prachum] (v, exp) EN: take part in a meeting FR: participer à une réunion |
เข้าร่วมสัมมนา | [khaoruam sammanā] (v, exp) EN: attend a seminar FR: participer à un séminaire |
ผู้ที่เข้าร่วม | [phū thī khaoruam] (n, exp) EN: attendant FR: participant [ m ] |
Longdo Approved EN-TH
attendee | (n) ผู้เข้าร่วม (ในการประชุม, งานต่าง), Syn. attendant |
take part | (vi) |in sth.| เข้าร่วม มีส่วนร่วม, Syn. participate |
entrant | (n) ผู้มาใหม่, ผู้เข้าทำงานใหม่, สมาชิกใหม่ เช่น They are entrants for a competition. พวกเขาเป็นผู้เข้าร่วมการแข่งขัน |
networking | (n) กิจกรรมการพบปะผู้คน, ทำความรู้จักคนใหม่ๆ, สนทนา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เช่น ในงานสัมมนาอาจมีช่วงงานเลี้ยงที่เป็น networking party ให้ผู้เข้าร่วมได้พบปะทำความรู้จักกัน |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
absent | (vt) ทำให้ขาด, See also: ไม่เข้าร่วม |
absentee | (n) ผู้ที่ไม่มา, See also: ผู้ที่ไม่เข้าร่วมประชุม, ผู้ขาดการประชุม |
ally | (vt) ทำให้รวมตัวกัน, See also: ทำให้เข้าร่วมเป็นกลุ่มเดียวกัน, Syn. unite |
ally | (vi) รวมตัวกัน, See also: เข้าร่วมเป็นกลุ่มเดียวกัน |
at | (prep) เข้าร่วม, Syn. attending |
attend | (vi) เข้าร่วม |
attend | (vt) เข้าร่วม, Syn. accompany, appear at |
absent from | (phrv) ไม่มา, See also: ไม่เข้าร่วม, ขาด เรียน, ประชุมหรืออื่นๆ |
admit to | (phrv) อนุญาตให้เข้า (เข้ามา, เข้าไป, เข้าร่วม), See also: ยอมให้เข้า |
affiliate to | (phrv) เข้าร่วมกับ (ปกติใช้รูป passive voice), See also: เข้าเป็นสมาชิก, Syn. affiliate with |
affiliate with | (phrv) เข้าร่วมกับ (ปกติใช้รูป passive voice), See also: เข้าเป็นสมาชิก, Syn. affiliate to |
ally with | (phrv) เป็นพันธมิตรกับ, See also: เข้าร่วมกับ |
bandwagon | (n) กิจกรรมที่มีคนจำนวนมากเข้าร่วม (เช่น การแข่งขันฟุตบอลโลก) |
blackball | (vt) ป้องกันไม่ให้เข้าร่วมโดยออกเสียงต่อต้าน |
be attached to | (phrv) เข้าร่วม (กลุ่ม, กองทหาร) |
be away | (phrv) ขาด, See also: ขาดเรียน, ไม่เข้าร่วม, Syn. keep away |
be on the scene | (idm) มาถึง, See also: มาร่วม, เข้าร่วม |
bind together | (phrv) ทำให้รวมกัน, See also: ทำให้เข้าร่วม |
buy in | (phrv) ซื้อหุ้น, See also: จ่ายเพื่อเข้าร่วม |
conferee | (n) ผู้เข้าร่วมการสัมมนา |
contest | (vt) เข้าร่วมการประกวด, See also: เข้าร่วมการแข่งขัน |
cast in with | (phrv) ตัดสินใจเข้าร่วม, See also: ร่วมชะตากรรม, Syn. fling in with, throw in with |
chisel in | (phrv) เข้าร่วมโดยไม่ได้รับเชิญ (คำไม่เป็นทางการ) |
close ranks | (idm) เข้าร่วมกับ, See also: ร่วมกัน, ร่วมกับ |
conscript into | (phrv) เกณฑ์ทหาร, See also: เกณฑ์ให้เข้าร่วมกองทัพ, บังคับด้วยกฎหมายให้เข้าร่วมกองทัพ |
contract in | (phrv) ทำสัญญาเข้าร่วม, See also: เซ็นสัญญาเข้าร่วม |
count in | (phrv) เลือกให้เข้าร่วม (คำไม่เป็นทางการ), Ant. count out |
cut out | (phrv) ไม่ให้เข้าร่วม, Syn. cut off |
dive into | (phrv) เริ่มกินอาหาร, See also: เริ่มเข้าร่วมกิจกรรม |
draw in | (phrv) ชวนให้ร่วม, See also: ชักนำให้เข้าร่วม |
draw into | (phrv) กระตุ้นให้เข้าร่วม, See also: ดึงดูดให้ทำ |
drop in | (phrv) ไม่เข้าร่วม (ระบบสังคมหรือการศึกษา) |
engage in | (phrv) ทำให้เกี่ยวพันกับ, See also: ทำให้เข้าร่วม, ทำให้มีส่วนร่วมกับ |
enrol in | (phrv) ทำให้เข้าร่วม |
enter for | (phrv) เสนอชื่อ, See also: เข้าร่วม, ร่วม, Syn. be down for, be in for, go in for, put down for, put in |
enter into | (phrv) เข้าร่วม |
enter the lists | (idm) เริ่มเข้ามาร่วมวง, See also: เข้าร่วมการแข่งขัน / การโต้เถียง |
fall in with | (phrv) เข้าร่วมกับ (มักเป็นเรื่องไม่ค่อยดี), See also: ร่วมข้อหากับ |
feature in | (phrv) มีส่วนสำคัญใน, See also: เข้าร่วมเป็นส่วนสำคัญ, มีบทบาทสำคัญใน |
fence out | (phrv) ป้องกันไม่ให้เข้าร่วม |
fling one's hat into the ring | (idm) ประกาศว่าจะเข้าร่วม (การแข่งขันหรือการเลือกตั้ง), Syn. throw into, toss into |
defaulter | (n) ผู้ไม่เข้าร่วมการแข่งขัน (ทางกีฬา), Syn. obsentee |
disjoin | (vt) ไม่เข้าร่วม, See also: ทำให้แตกแยก, Syn. divide, part, break, Ant. unite, join, connect |
disjoin | (vi) ไม่เข้าร่วม, See also: แตกแยก, แบ่งแยก, Syn. divide, part, break, Ant. unite, join, connect |
enter | (vt) เข้าร่วม, See also: เข้าไปมีส่วนร่วม, เป็นสมาชิก, Syn. enroll, join, take part in |
federate | (vt) รวมเข้าเป็นสมาพันธรัฐ, See also: เข้าร่วมในสหพันธ์, Syn. combine, confederate, unify |
go in with | (phrv) เข้าร่วม (ทำธุรกิจ) กับ |
go into | (phrv) เข้าร่วม (กลุ่ม), See also: เริ่มเข้าสู่ ธุรกิจ, วิชาชีพ, Syn. be in |
go through | (phrv) เข้าร่วม (กิจกรรม), Syn. go through with |
go to | (phrv) เข้าเรียน, See also: เข้าร่วม |
Hope Dictionary
accede | (แอคซีด') vt. เห็นด้วย, รับคำ, ยอมตาม, เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ, ยินยอม, กำลังจะมาถึง, กำลังครอบงำ, เข้าร่วม. -accedence n. |
affiliate | (อะฟิล' ลิเอท) vt., vi. ผูกพัน, เข้าร่วม, รับเป็นสมาชิก, สืบสาวเรื่องราว, เป็นพี่น้องกัน, ยกให้เป็นพี่น้อง, รับเป็นบุตร. -n. สาขา (กิจการธุรกิจ) , ผู้ที่เป็นสมาชิกหรือผูกพัน. -affiliable adj. -affiliation n., Syn. branch, associate |
align | (อะไลนฺ') vt. จัดให้เป็นเส้นเดียวกัน, ทำให้เป็นเส้นเดียวกัน, ทำให้เป็นแถวเดียวกัน, ปรับ, กลายเป็นเดียวกันหรือเส้นตรง, เข้าร่วม. |
assist | (อะซิสทฺ') vt., vi. ช่วยเหลือ, สงเคราะห์, สนับสนุน, สงเคราะห์, เข้าร่วม. -assister, assistor n., Syn. aid, help, support, tend, Ant. hinder, hamper |
associate | (อะโซ'ชีเอท) vt., vi. เกี่ยวเนื่อง, เข้าร่วม, มีส่วนร่วม, เชื่อมสัมพันธ์กัน, คบค้าสมาคม. |
attendance | (อะเทน'เดินซฺ) n. การอยู่กับ, การไป (เข้าร่วม) , จำนวนหรือผู้คนที่ไปเข้าร่วม, การดูแลรักษา, Syn. presence |
attendant | (อะเทน'เดินท) n. ผู้ดูแล, ผู้รับใช้, ผู้ปรนนิบัติ, ผู้เข้าร่วมประชุม, สิ่งประกอบ. -adj. ซึ่งอยู่ร่วมด้วย, เกี่ยวข้อง, ดูแลรักษา (servant) |
communicant | n. ผู้เข้าร่วมพิธีรำลึกถึงวันสวรรคตของพระเยซู, ผู้ติดต่อ, ผู้ส่งข่าว. adj. ซึ่งติดต่อ |
communion | (คะมิว'เยิน) n. การร่วมกัน, การเข้าร่วม, การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น, นิกายศาสนา, กลุ่มคนที่มิเชื่อในศาสนาเหมือนกัน, การรับอาหาร (ขนมปัง) จากพระเจ้าในพิธีศีลมหาสนิท (Eucharist) , พิธีศีลมหาสนิท, Syn. intercourse, fellowship, asociation, afinity |
default | (ดิฟอลทฺ') v., n. (การ) ไม่ยอมชำระหนี้, ไม่เข้าร่วมแข่ง, แพ้การแข่งขันเนื่องจากไม่มาแข่ง, ไม่ปฏิบัติตามสัญญา, แพ้คดีเพราะไม่ยอมมาศาล, ทางเลือกก่อนเมื่อไร้ทางเลือก, Syn. failure ค่าโดยปริยายค่าเริ่มต้นหมายถึง ค่าค่าหนึ่งที่กำหนดไว้ในโปรแกรมสำเร็จ ทุกโปรแกรม ให้เป็นค่าที่ใช้ในตอนเริ่มต้นโปรแกรม ทุกครั้งที่เรียกโปรแกรมนี้ใช้ คอมพิวเตอร์ก็จะใช้ค่าที่ตั้งไว้นี้ เช่น ในโปรแกรม Page Maker กำหนดค่าเริ่มต้นไว้ว่า ให้ขนาดของหน้าเป็น A4 ทุกครั้งที่มีการเรียกใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ก็จะกำหนดขนาดของหน้ามาเป็น A4 ก่อนเสมอ หากต้องการเปลี่ยนแปลงภายหลัง ก็ย่อมทำได้ |
holdout | n. การยึดหน่วง, คนที่ไม่ยอมเข้าร่วมกิจการ |
incubus | (อิน' คิวบัส) n., (pl. -bi, -buses) ผีที่เข้ามานอนทับคนที่กำลังหลับ (โดยเฉพาะผีผู้ชายที่เข้าร่วมประเวณีกับผู้หญิงที่กำลังหลับ) , สิ่งที่ครอบงำจิตใจ, ภาระที่หนัก |
launch | (ลอนชฺ) { launched, launching, launches } vt. ปล่อย (เรือ) ลงน้ำปล่อย (ดาวเทียม, ทุ่นระเบิด) , เหวี่ยง, ยิง, ทำให้เริ่มปฏิบัติการ, เริ่ม, ยื่น (คำคัดค้าน) , ออกคำสั่ง. vi. เริ่ม, เข้าร่วม, ลงมือ. n. การปล่อย, การเริ่มปฏิบัติการ, การเข้าร่วม, เรือบด, เรือยนต์ คำที่มีความหม |
masquerade | (แมสคะเรด') n. การรื่นเริงสวมหน้ากาก, หน้ากากที่สวมในงานดังกล่าว, การเสแสร้ง, การปิดบัง, การซ่อนเร้น, การปลอมตัว. vi. ปลอมตัว, เข้าร่วมงานรื่นเริงสวมหน้ากาก., See also: masquerader n. |
mingle | (มิง'เกิล) v. ผสม, ปนกัน, รวมกัน, ประสาน, เข้าร่วม., See also: minglement n. mingler n., Syn. blend, mix |
misjoinder | (มิสจอย'เดอะ) n. การเข้าร่วมด้วย |
nonconforming | (นอนคันฟอรฺ'มิง) adj. ซึ่งไม่ลงรอยกัน, ซึ่งไม่ยอมเข้าร่วม |
partake | (พาร์เทค) v. เข้าร่วม, มีส่วน |
participation | (พาร์ทิส'ซะเพ'เชิน) n. การเข้าร่วม, การมีส่วนร่วม |
presence | (เพรซ'เซินซฺ) n. การมีอยู่, การเข้าร่วม, การปรากฎ, บริเวณใกล้เคียง, การอยู่ต่อหน้า, กริยาท่าทาง, บุคคล, ภูติผีปีศาจ, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ |
present | (เพรส'เซินทฺ) adj. มีอยู่, ปรากฎอยู่, ปัจจุบัน, เดี๋ยวนี้, ต่อหน้า, เข้าร่วม n. เวลาปัจจุบัน, ขณะนี้, กริยาปัจจุบัน vt. เสนอ, ให้, ยื่น, มอบ, แนะนำ, นำเข้าพบ, บรรยาย, แสดงให้เห็น, เล็ง (ปืน) , ฟ้องร้อง n. ของขวัญ, See also: presents n. เอกสารปัจจุบัน -Phr. at pres |
racer | (เร'เซอะ) n. ผู้วิ่งแข่ง, สิ่งที่เข้าร่วมแข่งขันความเร็ว, สิ่งที่มีความเร็วสูง, |
round table | (เรานดฺ'เท'เบิล) adj. เกี่ยวกับการประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมมีสิทธิเท่าเทียมกัน |
sideline | (ไซดฺ'ไลนฺ) n. เส้นข้าง, เส้นข้างสนาม, เส้นริม, งานปลีกย่อย, งานอดิเรก, สินค้าประกอบ, งานผลพลอยได้, See also: sidelines n. บริเวณที่เลยเส้นริมพอดี. vt. ทำให้เข้าร่วมไม่ได |
sit | (ซิท) { sat, sat, sitting, sits } vi. นั่ง, เข้านั่ง, ตั้งอยู่, พักผ่อนบน, นั่งบน, นั่งเกาะ, นั่งฟักไข่, เป็นผู้แทน, ประจำตำแหน่ง, เข้าร่วมสอบ, เข้าประชุม, ดูแลเด็กทารก, เหมาะกับ vt. ทำให้นั่ง, นั่งลง, นั่งคร่อม, จัดหาที่นั่งให้ sit out นั่งจนเลิก, ไม่สามารถเข้าร่วมได้ |
synagogue | (ซิน'นะกอก) n. โบสถ์ยิว, โบสถ์ศาสนายิว, กลุ่มชาวยิวที่เข้าร่วมพิธีทางศาสนา., See also: synagogic adj. synagogical adj., Syn. synagog |
world's fair | n. การแสดงสินค้านานาชาติ, นิทรรศการขนาดใหญ่ที่จัดขึ้น โดยมีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมแสดงผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม เกษตรกรรม วิทยาศาสตร์และศิลปกรรม |
Nontri Dictionary
affiliate | (vt) ติดต่อ, ผูกพัน, เข้าร่วม, เกี่ยวข้อง |
affiliation | (n) การติดต่อ, การเข้าร่วม, การผูกพัน, การเกี่ยวเนื่อง |
associate | (vi, vt) คบหา, สมาคม, เข้าร่วม |
enlist | (vt) เข้าร่วม, ขอความช่วยเหลือ, ร่วมมือ, เกณฑ์(ทหาร) |
enlistment | (n) การเข้าร่วม, ความร่วมมือ, การเข้าเกณฑ์ทหาร, การสมัครเป็นทหาร |
join | (vt) รวม, เข้าร่วม, ต่อกัน, พบ, บรรจุ, เข้าเป็นสมาชิก |
joiner | (n) ผู้เข้าร่วม, ผู้ร่วม, ช่างไม้ |
launch | (vi) ลงมือทำ, เริ่มงาน, เริ่มดำเนินการ, เข้าร่วม |
partake | (vi) ร่วมมือ, สมรู้ร่วมคิด, เข้าร่วม, มีส่วนแบ่ง |
partaker | (n) ผู้ร่วมมือ, ผู้สมรู้ร่วมคิด, ผู้เข้าร่วม |
participate | (vi) เข้าร่วม, ร่วมมือ, สมทบ, มีส่วนร่วม |
participation | (n) การเข้าร่วม, ความร่วมมือ, การมีส่วนร่วม |
presence | (n) การมี, การปรากฏ, การนำออกแสดง, การถวายตัว, การเข้าร่วม |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
chancel screen | [แชน-เซล-สครีน] (n) ฉากกางเขนเป็นฉากที่ใช้แบ่งบริเวณพิธีที่เป็นที่ตั้งของแท่นบูชาเอก จากบริเวณของฆราวาสที่เข้าร่วมพิธีในวัดคริสต์ศาสนาที่นิยมสร้างกันในยุคกลาง ฉากกางเขนอาจจะทำด้วยไม้, หิน หรือเหล็ดดัด ในยุุคกลางเหนือฉากอาจจะเป็นที่ตั้งของรูปแกะของพระเยซูบนกางเขนโดยมีนักบุญจอห์นและพระแม่มารีสองข้าง ซึ่งทำให้เป็นที่มาของการเรียกว่าฉากกางเขน (Wikipedia.org), See also: rood screen, Syn. choir screen |
chancel screen | [แชน-เซล-สครีน] (n) ฉากกางเขนเป็นฉากที่ใช้แบ่งบริเวณพิธีที่เป็นที่ตั้งของแท่นบูชาเอก จากบริเวณของฆราวาสที่เข้าร่วมพิธีในวัดคริสต์ศาสนาที่นิยมสร้างในยุคกลาง ฉากกางเขนอาจจะทำด้วยไม้, หิน หรือเหล็ดดัด ในยุุคกลางเหนือฉากอาจจะเป็นที่ตั้งของรูปแกะของพระเยซูบนกางเขนโดยมีนักบุญจอห์นและพระแม่มารีสองข้าง ซึ่งทำให้เป็นที่มาของการเรียกว่าฉากกางเขน (Wikipedia.org), See also: rood screen, Syn. choir screen |
position | (vi, vt) [ Lingusitics ] เข้าร่วมบทสนทนา เป็นส่วนหนึ่งของบทสนทนา sym. take stage (pragmatics) |
rood screen | [รูด สครีน] (n) ฉากกางเขนเป็นฉากที่ใช้แบ่งบริเวณพิธีที่เป็นที่ตั้งของแท่นบูชาเอกจากบริเวณของฆราวาสที่เข้าร่วมพิธีในวัดคริสต์ศาสนา ที่นิยมสร้างกันในยุคกลาง ฉากกางเขนอาจจะทำด้วยไม้, หิน หรือเหล็ดดัด ในยุุคกลางเหนือฉากอาจจะเป็นที่ตั้งของรูปแกะสลักของพระเยซูบนกางเขนโดยมีนักบุญจอห์นและพระแม่มารีสองข้าง ซึ่งทำให้เป็นที่มาของการเรียกว่าฉากกางเขน (Wikipedia.org), See also: choir screen, chancel screen |
Longdo Approved JP-TH
出席 | [しゅっせき, shusseki] (vt) เข้าร่วมงานหรือพิธี |
参加 | [さんか, sanka] (vt) เข้าร่วมกิจกรรม |
混ざる | [まざる, mazaru] (vt) ร่วม, เข้าร่วม |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
立会い | [たちあい, tachiai] เข้าร่วม |
打ち上げ | [うちあげ, uchiage] (n, vi, vt) (ลอนชฺ) { launched, launching, launches } vt. ปล่อย (เรือ) ลงน้ำปล่อย (ดาวเทียม, ทุ่นระเบิด) , เหวี่ยง, ยิง, ทำให้เริ่มปฏิบัติการ, เริ่ม, ยื่น (คำคัดค้าน) , ออกคำสั่ง. vi. เริ่ม, เข้าร่วม, ลงมือ. n. การปล่อย, การเริ่มปฏิบัติการ, การเข้าร่วม, เรือบด, เรือยนต์ คำที่มีความหม |
町内会 | [ちょうないかい, chounaikai] สมาคมของประชาชนที่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกัน(สมาคมแห่งนี้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกันแล้ว โดยทั่วไปแล้วทุกคนต้องเข้าร่วมและต้องจ่ายค่าสมาชิก โดยที่สมาคมจะเป็นคนกำหนดกฏเกณฑ์ภายในชุมชนแห่งนั้นเช่นการกำหนดสถานที่ิทิ้งขยะ และทำหน้าที่กระจายข่าวสารภายในชุมชน สมาคมแบบนี้จะมีอยู่ในทุกชุมชนทั่วประเทศญี่ปุ่น หากเทียบกับประเทศไทย ก็ให้นึกถึง "คณะกรรมการชุมชน" ก็น่าจะเทียบเคียงกันได้) |
参加者 | [さんかしゃ, sankasha] (n) ผู้ร่วมงาน, ผู้เข้าร่วม |
Saikam JP-TH-EN Dictionary
出場 | [しゅつじょう, shutsujou] TH: การเข้าร่วมกิจกรรม EN: participation |
参加 | [さんか, sanka] TH: การเข้าร่วม EN: participation (vs) |
臨む | [のぞむ, nozomu] TH: เข้าร่วม EN: to attend (function) |
加わる | [くわわる, kuwawaru] TH: เข้าร่วม EN: to join in |
Longdo Approved DE-TH
einsteigen | (vi) |stieg ein, ist eingestiegen| เข้าร่วมหุ้นธุรกิจ เช่น in ein Unternehmen einsteigen, See also: der Einstieg |
Neuling | (n) |der, pl. Neulinge| เด็กใหม่, บุคคลที่เพิ่งเข้าร่วมกลุ่มหรือเพิ่งเข้าร่วมทำงานด้วย เช่น In unserem Betrieb haben wir jetzt 2 Neulinge. = เรามีพนักงานหน้าใหม่อยู่ในบริษัทขณะนี้ด้วยกัน 2 คน, See also: -, Syn. der Anfänger |
teilnehmen | (vi) |nimmt teil, nahm teil, hat teilgenommen, + an D| เข้าร่วม(งานประชุม สัมมนา), ลงเรียน, เข้าเรียน เช่น Nimmst du an einem Spanischkurs in diesem Semester teil? เธอลงเรียนคอร์สภาษาสเปนในภาคการเรียนนี้หรือเปล่า |
sich beteiligen | (vt) |beteiligte sich, hat sich beteiligt, an + D| เข้าร่วม, มีส่วนร่วมใน เช่น Er hat sich an der Demonstration beteiligt., Syn. teilnehmen |
Longdo Unapproved DE-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
*onzentrieren | konzentrierend | konzentriert | kon* | รวม, รวมกำลัง, เข้าร่วมชุมนุมกัน |
das Teilnahmeformular, -e | (n) ใบสมัคร เพื่อเข้าร่วมงาน/กิจกรรม/สมาคม ฯลฯ |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0445 seconds, cache age: 1.433 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม