126 ผลลัพธ์ สำหรับ *สหพันธ*
ภาษา
หรือค้นหา: สหพันธ, -สหพันธ-NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
สหพันธ์ | (n) union, Syn. สมาพันธ์ |
สหพันธ์ | (n) federation, See also: alliance, union, Syn. สมาคม, สมาพันธ์, องค์กร, องค์การ, Example: สหพันธ์แรงงานเป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อต่อรองหรือเรียกร้องผลประโยชน์ต่างๆ เพื่อผู้ใช้แรงงาน, Thai Definition: สหภาพหรือสมาคมตั้งแต่ 2 สหภาพหรือ 2 สมาคมขึ้นไปรวมตัวกันเข้าเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพหรือสมาคมที่เข้าร่วมกันนั้น |
สหพันธรัฐ | (n) federal state, Syn. สมาพันธ์รัฐ |
สหพันธ์กรรมกร | (n) labour federation, See also: labour union, Syn. สหภาพแรงงาน, Example: สหพันธ์กรรมกรช่วยต่อรองเรื่องค่าจ้างแรงงานให้กรรมกร |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
สหพันธ์ | น. สหภาพหรือสมาคมตั้งแต่ ๒ สหภาพหรือ ๒ สมาคมขึ้นไปที่ร่วมกันดำเนินกิจการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพหรือสมาคมที่เข้าร่วมกันนั้น เช่น สหพันธ์กรรมกร. |
สหพันธรัฐ | น. รัฐหลายรัฐที่รวมกันเป็นรัฐรวม โดยมีรัฐบาลกลางเป็นผู้ดำเนินกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประโยชน์ส่วนรวมตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ละรัฐมีอำนาจเฉพาะกิจการภายในรัฐของตนเท่านั้น. |
รัทเทอร์ฟอร์เดียม | น. ธาตุลำดับที่ ๑๐๔ สัญลักษณ์ Rf เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ ในสหพันธรัฐรัสเซียเรียกชื่อธาตุนี้ว่า เคอร์ชาโทเวียม (kurchatovium) และใช้สัญลักษณ์ Ku. |
รัสเซีย | น. ชื่อประเทศที่ส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันออกและอีกส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปเอเชียภาคเหนือและภาคกลาง, เรียกเต็มว่า สหพันธรัฐรัสเซีย. |
สห- | (สะหะ-) ว. ด้วยกัน, พร้อม, ร่วม, ร่วมกัน, (ใช้ประกอบหน้าคำอื่น) เช่น สหประชาชาติ สหพันธ์สหรัฐ. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
labour federation | สหพันธ์แรงงาน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
state, federal | สหพันธรัฐ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Basic Law | กฎหมายหลักพื้นฐาน (รัฐธรรมนูญสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ค.ศ. ๑๙๔๙) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
consortium | ๑. สิทธิของคู่สมรส (ก. แพ่ง)๒. สหพันธ์ธุรกิจการเงิน (ก. พาณิชย์) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Chancellor | นายกรัฐมนตรี (ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและสาธารณรัฐออสเตรีย) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
chancellor | นายกรัฐมนตรี (ของบางประเทศ เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี) (ก. รัฐธรรมนูญ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Deutsche Industrie Norm (DIN) | สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (ดีน) [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
DIN (Deutsche Industrie Norm) | ดีน (สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี) [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
federation; federal state | สหพันธรัฐ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
federal state; federation | สหพันธรัฐ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
federal state; federation | สหพันธรัฐ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
federalism | ระบอบสหพันธรัฐ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
federalism | ระบอบสหพันธรัฐ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
federation; federal state | สหพันธรัฐ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
International Federation of Library Asso | สหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด, Example: <p>International Federation of Library Associations and Institutions (IFLA) สหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) มีวัตถุประสงค์ในการประสานสามัคคีระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และ สารนิเทศศาสตร์ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ประสบการณ์ และร่วมมือกันสร้างความพัฒนาถาวรให้แก่ห้องสมุด และสถาบันบริการสารนิเทศ รวมทั้งการพัฒนาทางมาตรฐานงานเทคนิคของห้องสมุด ปัจจุบันมีสมาชิกทั่วโลกจำนวน 1, 600 คน / หน่วยงาน จาก 150 ประเทศ <p>IFLA มีสถานภาพเป็นองค์กรอิสระระดับสากล ไม่แสวงหากำไร ให้คำแนะนำปรึกษาด้านห้องสมุด บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ แก่องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน สภาระหว่างประเทศว่าด้วยการจดหมายเหตุ และองค์การอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศ การศึกษา และวัฒนธรรม IFLA ก่อตั้งขึ้นที่เมือง Edinburgh, Scotland และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ให้ตั้งสำนักงานที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ <p>IFLA จัดการประชุมวิชาการทุกปีโดยหมุนเวียนเปลี่ยนสถานที่ไปตามประเทศสมาชิกต่าง ๆ เพื่อให้บรรณารักษ์นานาชาติจากทั่วโลกได้มาพบ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์วิชาการ วิชาชีพ และสร้างมิตรภาพ ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างห้องสมุด โดยประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดประชุม IFLA ครั้งที่ 65 ในปี พ.ศ. 2542 (วันที่ 19 - 27 สิงหาคม 2542) โดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์การประชุม หัวข้อการประชุมในครั้งนั้น เรื่อง On the Threshold of the 21st Century : Libraries as Gateways to an Enlightened World หรือ ห้องสมุดเป็นประตูไปสู่โลกอันสดใสในรุ่งอรุณแห่งศตวรรษใหม่ สนใจกิจกรรมการจัดประชุมของ IFLA ติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.ifla.org [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Russia (Federation) | รัสเซีย (สหพันธรัฐ) [TU Subject Heading] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Palestine Question | ปัญหาปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1947 ประเทศอังกฤษได้ขอให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทำการประชุมสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหาปาเลสไตน์ สมัชชาได้ประชุมกันระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และที่ประชุมได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับปาเลสไตน์ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกรวม 11 ประเทศ ซึ่งหลังจากที่เดินทางไปตรวจสถานการณ์ในภาคตะวันออกกลาง ก็ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รายงานนี้ได้ตั้งข้อเสนอแนะรวม 12 ข้อ รวมทั้งโครงการฝ่ายข้างมาก (Majority Plan) และโครงการฝ่ายข้างน้อย (Minority Plan) ตามโครงการข้างมาก กำหนดให้มีการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐอาหรับแห่งหนึ่ง รัฐยิวแห่งหนึ่ง และให้นครเยรูซาเล็มอยู่ภายใต้ระบบการปกครองระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ดินแดนทั้งสามแห่งนี้มีความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปสหภาพเศรษฐกิจ ส่วนโครงการฝ่ายข้างน้อย ได้เสนอให้ตั้งรัฐสหพันธ์ที่เป็นเอกราชขึ้น ประกอบด้วยรัฐอาหรับและรัฐยิว อันมีนครเยรูซาเล็มเป็นนครหลวงต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติได้ประชุมลงมติรับรองข้อเสนอของโครงการฝ่ายข้างมาก ซึ่งฝ่ายยิวได้รับรองเห็นชอบด้วย แต่ได้ถูกคณะกรรมาธิการฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่รับรอง โดยต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐอาหรับแต่เพียงแห่งเดียว และทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของคนยิวที่เป็นชนกุล่มน้อย อนึ่ง ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้อำนาจอาณัติเหนือดินแดนปาเลสไตน์ สิ้นสุดลงและให้กองทหารอังกฤษถอนตัวออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1948 นอกจากนั้นยังให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีของสหประชาชาติจัดทำธรรมนูญการปกครองโดย ละเอียดสำหรับนครเยรูซาเล็มจากนั้น สมัชชาสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติขึ้น ประกอบด้วยประเทศโบลิเวีย เช็คโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก ปานามา และฟิลิปปินส์ ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงก็ได้รับการขอร้องให้วางมาตรการที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่า สถานการณ์ในปาเลสไตน์จักถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพหรือไม่ และถ้าหากมีการพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงความตกลงตามข้อมติของ สมัชชาเมื่อใด ให้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ โดยอาศัยข้อ 39 ของกฎบัติสหประชาชาติเป็นบรรทัดฐาน [การทูต] |
Copolymers | โพลิเมอร์สหพันธ์, โคโพลิเมอร์, โคโพลีเมอร์ [การแพทย์] |
Interdisciplinary | สหพันธวิชา, สหวิชาชีพ [การแพทย์] |
International Federation of Clinical Chemistry | องค์การสหพันธ์เคมีคลินิกระหว่างประเทศ, สมาพันธ์เคมีคลินิกระหว่างชาติ [การแพทย์] |
International Planned Parenthood Association | สหพันธ์สมาคมวางแผนครอบครัวระหว่างประเทศ [การแพทย์] |
International Planned Parenthood Federation | สหพันธ์วางแผนครอบครัวแห่งโลก [การแพทย์] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
สหพันธ์ | [sahaphan] (n) EN: federation ; alliance ; union FR: fédération [ f ] ; alliance [ f ] ; union [ f ] ; syndicat [ m ] |
สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน | [Sahaphan Futbøn Asīan] (org) EN: ASEAN Football Federation (AFF) |
สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ | [Sahaphan Futbøn Nānāchāt] (org) EN: Fédération Internationale de Football Association (FIFA) FR: Fédération Internationale de Football Association (FIFA) |
สหพันธ์กรรมกร | [sahaphan kammakøn] (n, exp) EN: labour federation ; labour union FR: syndicat ouvrier [ m ] |
สหพันธ์กีฬา | [sahaphan kīlā] (n, exp) EN: sport federation FR: fédération sportive [ f ] |
สหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยโลก | [Sahaphan Kīlā Mahāwitthayālai Lōk] (org) EN: International University Sports Federation (FISU) FR: Fédération Internationale de Sport Universitaire [ f ] |
สหพันธ์กีฬานานาชาติ | [sahaphan kīlā nānāchāt] (n, exp) FR: fédération sportive internationale [ f ] |
สหพันธ์กีฬาสากล | [sahaphan kīlā sākon] (n, exp) EN: international sports federation |
สหพันธรัฐ | [sahaphantharat] (n) EN: federation FR: fédération [ f ] |
Longdo Approved EN-TH
Chancellor | (n) นายกรัฐมนตรี (ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และของสาธารณรัฐออสเตรีย) |
Hesse | (n, uniq) รัฐหนึ่งในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ตั้งอยู่ทางตะวันตกตอนกลาง เมืองสำคัญทางเศรษฐกิจของรัฐนี้คือ Frankfurt am Main |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
alliance | (n) สหพันธ์, See also: สมาพันธ์, องค์กร, พันธมิตร, Syn. union, league, federation |
federal | (n) สหพันธรัฐ, See also: สหรัฐ, สหพันธ์, สหภาพ |
federal | (adj) เกี่ยวกับสหพันธรัฐ, Syn. central, governmental |
federate | (vt) รวมเข้าเป็นสมาพันธรัฐ, See also: เข้าร่วมในสหพันธ์, Syn. combine, confederate, unify |
federated | (adj) ซึ่งรวมตัวกันภายใต้ส่วนกลาง, See also: ซึ่งรวมเข้าเป็นสหพันธ์, Syn. confederate, joined, unified |
federation | (n) สหพันธรัฐ, See also: สหรัฐ, สหพันธ์, สหภาพ, Syn. alliance, confederacy |
league | (n) สหพันธ์, Syn. alliance |
union | (n) สหภาพ, See also: สหพันธ, สมาคม |
union | (n) สหภาพแรงงาน, See also: สหพันธ์แรงงาน, Syn. labor union |
Hope Dictionary
afl | abbr. American Federation of Labor สหพันธ์แรงงานแห่งอเมริกา |
alliance | (อะไล' เอินซฺ) n. พันธมิตร, สันนิบาต, การแต่งงาน, ความสัมพันธ์ที่เกิดจากการแต่งงาน, สหพันธ์, ข้อตกลงระหว่างประเทศ, Syn. fusion, union -A.difference, disparity |
antiunion | (แอนทียูน' เนียน) adj. ต่อต้านสหพันธ์กรรมกร. -antiunionist n. |
commonwealth | (คอม'มันเวลธฺ) n. เครือประเทศ, การรวมกัน., See also: Commonwealth n. เครือจักรภพอังกฤษ, สหพันธรัฐ, สมาพันธรัฐ, ประชากรของรัฐ, สาธารณประโยชน์ |
confederacy | (คันเฟด'เดอระซี) n. สหภาพ, สหพันธ์, กลุ่มคนที่กระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, การร่วมกันคิดอุบาย, Syn. alliance, conspiracy, bloc, syndicate |
confederate | (คันเฟด'เดอริท) adj. ซึ่งรวมกันในรูปสหพันธ์ สันนิบาต หรืออื่น ๆ, See also: Confederate เกี่ยวกับกลุ่ม 11 รัฐภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา ที่แยกตัวออกเป็นอิสระในปี ค.ศ.1860-61 n. พันธมิตร, ผู้สมรู้ ร่วมคิด. vt., vi. รวมกันเป็นกลุ่ม คำที่มีความหมายเหมือน |
federal | (เฟด'เดอเริล) adj. สหพันธ์, สหรัฐ, สมาพันธรัฐ, สันนิบาต, พันธมิตร, กลาง |
federation | (เฟดเดอเร'เชิน) n. การรวมเข้าเป็นสหรัฐหรือสมาพันธรัฐ, กลุ่มการเมือง (สหรัฐ, สมาพันธรัฐ, สหพันธ์, สันนิบาต, พันธมิตรหรืออื่น ๆ), Syn. league |
ifips | (ไอฟิปส์) ย่อมาจาก International Federation of Information Processing Societies แปลว่า สหพันธ์สมาคมระหว่างประเทศเพื่อการประมวลผลสารสนเทศ เป็นองค์กรหนึ่งที่เกิดจากการรวมตัวกัน ในอันที่จะพัฒนาวิทยาการสารสนเทศ (information science) และการประมวลผลข้อมูลให้ก้าวหน้า |
league | (ลีก) { leagued, leaguing, leagues } n. สหพันธ์, สันนิบาต, สมาคม, กลุ่มคน, พันธมิตร, คณะ, ประเภท, สมาคมนักกีฬา, กลุ่มนักกีฬา, หน่วยระยะทาง (ประมาณ3ไมล์หรือนอตในอังกฤษและอเมริกา) vt. เป็นพันธมิตร, รวมกัน, รวมกลุ่ม |
union | (ยู'เนียน) n. การรวมกัน, ความสามัคคี, การสอดคล้องกัน, การสมรสกัน, การสังวาส, สหภาพ, สหพันธรัฐ, องค์การกรรมกร, เครื่องมือเชื่อมต่อ, ส่งท่อร่วม, การเชื่อมกัน. -Phr. (the Union สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยสหรัฐอเมริกา (สมัยก่อน)), Syn. unification |
Nontri Dictionary
correlation | (n) ความเกี่ยวพัน, ความสัมพันธ์, สหพันธ์ |
federal | (adj) เกี่ยวกับสหพันธ์, เกี่ยวกับสันนิบาต, เกี่ยวกับพันธมิตร |
federate | (adj) ซึ่งรวมเป็นสหพันธ์, ซึ่งเป็นพันธมิตร, ซึ่งเป็นสหพันธรัฐ |
federate | (vt) รวมเป็นสหพันธ์, จัดการปกครองแบบสหพันธรัฐ |
federation | (n) สหพันธ์, กลุ่มการเมือง, การจัดตั้งพรรคการเมือง, การรวมกัน |
league | (n) สมาคม, สันนิบาต, สหพันธ์, คณะ, พันธมิตร, ความยาวสามไมล์ |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Airbus | ยี่ห้อเครื่องบินโดยสารยี่ห้อหนึ่ง มีมากมายหลายรุ่น โดยชื่อรุ่น เช่น A320, A380 คำว่า Airbus เป็นเครื่องหมายการค้าและบริการของ Airbus Operations GmbH แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี |
cartel | (n) กลุ่มสหพันธ์ธุรกิจ |
Council of Ministers | "คณะมนตรีบริหาร" เป็นชื่อเรียกรัฐบาลระดับแคว้น รัฐ หรือภูมิภาค คำนี้ปรากฎในบางประเทศที่ใช้ระบอบการปกครองแบบสหพันธรัฐ หัวหน้าคณะมนตรีบริหารมักมีชื่อตำแหน่งว่า "มุขมนตรี" |
federal tax | (n) ภาษีสหพันธรัฐ |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
連合 | [rengou] สหพันธ์ สหภาพ |
Longdo Approved DE-TH
Bundesrepublik | (n) |die| ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ย่อมาจาก Bundesrepublik Deutschland |
Bundes- | (n) แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (ใช้นำหน้าคำนามอื่นๆ) เช่น Bundeswehr กองทัพเยอรมัน |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0593 seconds, cache age: 13.328 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม