129 ผลลัพธ์ สำหรับ *ลิขสิทธิ์*
ภาษา
หรือค้นหา: ลิขสิทธิ์, -ลิขสิทธิ์-Longdo Unapproved TH - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ลิขสิทธิ์ | ไม่ควรวม 'ประดิษฐกรรม (invention)' ในความหมายของ ลิขสิทธิ์ เพราะ invention เป็นพื้นฐานความหมายของ 'patent (สิทธิบัตร)' นั่นหมายความว่า เมื่อคนไทยใช้คำว่า ลิขสิทธิ์ จะเกิดความสับสนว่า พูดถึง copyright หรือว่า patent. ปัญหาเกิดขึ้นได้. |
ลิขสิทธิ์ | ข้อสังเกต ไม่ควรมีเนื้อหาข้างล่าง ในส่วนต้นของคำ 'ลิขสิทธิ์' เพราะ ไม่ใช่ definition / คำแปล / คำจำกัดความ: ไม่ควรวม 'ประดิษฐกรรม (invention)' ในความหมายของ ลิขสิทธิ์ เพราะ invention เป็นพื้นฐานความหมายของ 'patent (สิทธิบัตร)' นั่นหมายความว่า เมื่อคนไทยใช้คำว่า ลิขสิทธิ์ จะเกิดความสับสนว่า พูดถึง copyright หรือว่า patent. ปัญหาเกิดขึ้นได้. |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ลิขสิทธิ์ | (n) copyright, Example: บริษัทอินเทลได้ขายลิขสิทธิ์การออกแบบโปรเซสเซอร์รุ่นเก่าๆ ให้บริษัทอื่น, Thai Definition: สิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วย, Notes: (กฎหมาย) |
ค่าลิขสิทธิ์ | (n) copyright cost, See also: copyright charge, payment for copyright, Example: นักเขียนสละเงินค่าลิขสิทธิ์เพื่อตั้งเป็นมูลนิธิไว้คอยช่วยเหลือคนยากจน |
สงวนลิขสิทธิ์ | (v) reserve the copyright, Example: ทางค่ายเทปขอสงวนลิขสิทธิ์เทปที่จัดจำหน่าย, Thai Definition: หวงแหนไว้ซึ่งลิขสิทธิ์ |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ละเมิดลิขสิทธิ์ | ก. กระทำอย่างหนึ่งอย่างใดต่องานที่มีลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ได้แก่ ทำซํ้าหรือดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์. |
ลิขสิทธิ์ | (ลิกขะสิด) น. สิทธิทางวรรณกรรม ศิลปกรรม และประดิษฐกรรม ซึ่งผู้เป็นต้นคิดได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย |
ลิขสิทธิ์ | สิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วย. |
ทรัพย์สิน | น. วัตถุที่มีรูปร่าง รวมทั้งวัตถุที่ไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นวัตถุมีรูปร่าง ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร กระแสไฟฟ้าที่ส่งตามสาย เป็นวัตถุไม่มีรูปร่าง. |
ว่าด้วย | บ. เกี่ยวกับ เช่น วารสารชุดนี้ว่าด้วยเรื่องวัฒนธรรม กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์. |
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และทรัพย์สินทางปัญญาอื่น รวมทั้งกิจการเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศบางเรื่อง. |
สงวน | (สะหฺงวน) ก. ถนอมรักษาไว้ เช่น เสียสินสงวนศักดิ์ไว้ วงศ์หงส์ (โลกนิติ) สงวนมรดกของชาติ, หวงแหนไว้ เช่น สงวนเนื้อสงวนตัว สงวนลิขสิทธิ์ สงวนสิทธิ์. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
piracy | ๑. การกระทำอันเป็นโจรสลัด (ก. อาญา)๒. การละเมิดลิขสิทธิ์ (ก. แพ่ง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
copyright | ลิขสิทธิ์ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
copyright | ลิขสิทธิ์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
fair use | การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
infringement of copyright | การละเมิดลิขสิทธิ์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Copyright | ลิขสิทธิ์ [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Copyright page | หน้าลิขสิทธิ์ [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Copyright law | กฎหมายลิขสิทธิ์ [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Copyright | ลิขสิทธิ์, Example: <p>ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 <p>ลิขสิทธิ์ หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น <p>ผู้สร้างสรรค์ หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ <p>ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียว (Exclusive rights) ที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ที่ได้ทำขึ้น <p>งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์ ประกอบด้วยงานประเภทต่าง ๆ คือ <p>1. วรรณกรรม หมายความว่า งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และให้หมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย <p>2. นาฏกรรม หมายความว่า งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และให้หมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย <p>3. ศิลปกรรม หมายความว่า งานอันมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม งานภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม งานภาพถ่าย งานภาพประกอบ แผนที่ โครงสร้าง ภาพร่าง งานศิลปประยุกต์ <p>4. ดนตรีกรรม หมายความว่า งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้อง ไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และให้หมายความรวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยก และเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว <p>5. โสตทัศนวัสดุ หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของภาพโดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะอย่างใด อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีกโดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุนั้น และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบงานนั้นด้วย ถ้ามี <p>6. ภาพยนตร์ หมายความว่า โสตทัศนวัสดุอันประกอบด้วยลำดับของภาพ ซึ่งสามารถนำออกฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์หรือสามารถบันทึกลงบนวัสดุอื่น เพื่อนำออกฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์ และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์นั้นด้วย ถ้ามี <p>7. สิ่งบันทึกเสียง หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของเสียงดนตรี เสียงการแสดง หรือเสียงอื่นใด โดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะใด ๆ อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีกโดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุนั้น แต่ทั้งนี้ มิให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น <p>8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หมายความว่า งานที่นำออกสู่สาธารณชนโดยการแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุ โทรทัศน์ หรือโดยวิธีอย่างอื่นอันคล้ายคลึงกัน <p>ทั้งนี้โดยทั่วไป ลิขสิทธิ์นี้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลา 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Copyright law | กฎหมายลิขสิทธิ์, Example: กฎหมายลิขสิทธิ์ คือ กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองสิทธิในทางวรรณกรรมและศิลปกรรม ผู้แต่งหรือเจ้าของผลงานจะได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายนี้ ผู้ใดจะนำข้อความไปตีพิมพ์หรือแปลเป็นภาษาอื่นๆ หรือผลิตออกเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้แต่งหรือเจ้าของผลงาน หรือเจ้าของลิขสิทธิ์มิได้ <p> <p>กฎหมายลิขสิทธิ์ของแต่ละประเทศจะระบุให้สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์ส่งหนังสือที่พิมพ์ให้หอสมุดแห่งชาติเก็บรักษา ตามจำนวนที่กำหนด ส่วนใหญ่จะเป็นจำนวน 2 ฉบับ เพื่อเป็นการควบคุมบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ที่ผลิตในแต่ละประเทศ <p> <p>หนังสือภาษาต่างประเทศ จะมีการแจ้งลิขสิทธิ์ระบุไว้ที่หน้าลิขสิทธิ์หรือ copyright page ซึ่งก็คือ ด้านหลังของหน้าปกใน โดยจะปรากฏคำว่า Copyright หรือ © พร้อมทั้งชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์และปี ค.ศ. ที่ได้รับลิขสิทธิ์เป็นครั้งแรก และจะมีรายละเอียดถึงการห้ามคัดลอกข้อความใดข้อความหนึ่ง โดยมิได้รับอนุญาต <p> <p>หนังสือภาษาไทย จะมีคำว่า สงวนลิขสิทธิ์ ปรากฏไว้ที่ด้านหลังหน้าปกใน เช่นเดียวกัน และมีการระบุชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์และปี พ.ศ ที่ได้รับลิขสิทธิ์เป็นครั้งแรก และจะมีรายละเอียดถึงการห้ามคัดลอกข้อความใดข้อความหนึ่ง โดยมิได้รับอนุญาต <p> <p>กฎหมายลิขสิทธิ์มีความเกี่ยวข้องกับห้องสมุด เนื่องจากห้องสมุดมีงานลิขสิทธิ์หลายประเภทอยู่ในครอบครอง เช่น งานวรรณกรรม ในรูปของหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ในลักษณะต่างๆ ตลอดจนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดิทัศน์ ฯลฯ สื่อบันทึกเสียงรูปแบบต่างๆ เช่น แผ่นเสียง เทปคาสเซทส์ งานศิลปกรรม เช่น ภาพวาด ภาพเขียน เป็นต้น <p> <p>ธัชชัย ศุภผลศิริ ได้จำแนกสถานภาพของห้องสมุดที่เกี่ยวกับงานลิขสิทธิเป็น 4 ประำการ คือ <p>1. ในฐานะเจ้าของทรัพย์สิน <p>2. ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์สิน <p>3. ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ <p>4. ในฐานะผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ <p> <p>1. ห้องสมุดในฐานะเจ้าของทรัพย์สิน ห้องสมุดเป็นผู้จัดซื้อ จัดหาสื่อต่างๆ เข้ามา แต่มิได้หมายความว่า ห้องสมุดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เพียงแต่ห้องสมุดมีกรรมสิทธิ์ในสื่อเหล่านั้น ห้องสมุด อาจนำมาไว้ให้บริการผู้อ่่านในห้องสมุดหรือยืมไปอ่าน หากไม่นำมาคืน ห้องสมุดสามารถใช้สิทธิทวงถามเพื่อให้นำมาคืนได้ แต่ห้องสมุดไม่มีสิทธิ์ที่จะทำซ้ำหรือดัดแปลง หรือเผยแพร่งานนั้นต่อสาธารณชนได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เช่น ห้องสมุดไม่สามารถนำหนังสือที่ซื้อมาทำสำเนาเข้าปกเป็นจำนวนหลายเล่ม เพื่อให้มีจำนวนหนังสือเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องซื้อไม่ได้ เป็นต้น <p>2. ห้องสมุดในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์สิน หมายถึง ห้องสมุดมิได้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน แต่อยู่ในฐานะครอบครองทรัพย์สินเท่านั้น เจ้าของทรัพย์สินอาจให้ยืมหนังสือหรือสิ่งของบางรายการแก่ห้องสมุด และอาจระบุเงื่อนไขบางประการไว้ เช่น การนำสิ่งของมาแสดงในงานนิทรรศการ เมื่อครบกำหนดต้องคืน และห้องสมุดต้องรักษาทรัพย์สินนั้นๆ <p>3. ห้องสมุดในฐานะเข้าของลิขสิทธิ์ ห้ิองสมุดอาจจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานที่มีอยู่ในห้องสมุด การใช้งานลิขสิทธิ์ย่อมไม่มีปัญหาใดๆ เพียงแต่ดูแลลิขสิทธิ์ของตนเองเมื่อพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานเหล่านั้น <p>4. ห้องสมุดในฐานะผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ ห้องสมุดไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ แต่เป็นผู้ที่จะใช้งานลิขสิทธิ์นั้นในขอบเขตการให้บริการของตน แต่โดยหลักแล้ว ห้องสมุดไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ ย่อมกระทำการที่กฎหมายให้เจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานลิขสิทธิ์อาจได้รับการปกป้องจากการกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ <p>4.1 การกระทำโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ <p>4.2 การกระทำต่องานที่หมดอายุลิขสิทธิ์ไปแล้ว <p>4.3 การกระทำต่อสิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์ <p>4.4 การกระทำที่ต้องด้วยข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ <p> <p>การกระทำโดยไ้ด้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ห้องสมุดตรวจสอบว่าผู้ใดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และทำการขออนุญาต โดยมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร และควรแจ้งว่าเป็นการใช้เพื่อประโยชน์ในการศึกษา และขอความอนุเคราะห์ในการยกเว้นค่าใช้ลิขสิทธิ์ (กรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์อาจจะมีเงื่อนไข) <p>การกระทำต่องานที่หมดอายุลิขสิทธิ์ไปแล้ว งานที่หมดอายุลิขสิทธิ์ย่อมตกเป็นสมบัติสาธารณะ ไม่ต้องขออนุญาตต่อผู้ใด ห้องสมุดอาจทำซ้ำ เพื่อการเก็บรักษาหรือเพื่อให้ผู้ใช้บริการยืมอ่านได้ <p>การกระทำต่อสิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์ สิ่งที่กฎหมายลิขสิทธิ์ระบุว่าไม่มีลิขสิทธิ์ คือ <p>1. ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ <p>2. รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย <p>3. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือ หน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถ่น <p>4. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ <p>5. คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือท้องถิ่นจัดทำขึ้น <p> สิ่งต่างๆ ข้างต้น ไม่ถือว่าเป็นงานลิขสิทธิ์ ห้องสมุดอาจทำซ้ำ ดัดแปลงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ <p>การกระทำที่ต้องด้วยข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ระบุข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวกับงานดำเนินงานของห้องสมุดหลายมาตรา มีทั้ืงบทเฉพาะเกี่ยวกับการทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุด (มาตรา 34) บทบัญญัติทั่วไปสำหรับการพิจารณาข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทต่างๆ (มาตรา 32 และมาตรา 33) และบทบัญญัติเกี่ยวกับงานลิขสิทธิ์เฉพาะประเภท (มาตร 35 ถึง 42) แต่ตัวบทกฎหมายนี้ก็ไม่ได้บัญญัติชัดเจนพอที่จะอ่านแล้วชี้ชัดได้ว่าการกระทำอย่างใดขนาดใดจะถือว่าต้องด้วยข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ <p> <p>รายการอ้างอิง <p>ธัชชัย ศุภผลศิริ. "กฎหมายลิขสิทธิ์กับงานห้องสมุด" หน้า 5-25 ใน เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง ลิขสิทธิ์ในงานห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ. กรุงเทพฯ : สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Copyright page | หน้าลิขสิทธิ์, Example: หน้าลิขสิทธิ์ อยู่ด้านหลังหน้าปกใน ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจดลิขสิทธิ์ หนังสือภาษาอังกฤษจะมีสัญลักษณ์ © เพื่อให้ทราบว่าเป็นปีลิขสิทธิ์ ซึ่งหมายถึง หนังสือเล่มนี้หรือผลงานนี้ได้จดลิขสิทธิ์และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ห้ามผู้อื่นคัดลอกหรือเลียนแบบโดยมิได้รับอนุญาต ระบุข้อความให้ทราบการสงวนลิขสิืทธิ์ เจ้าของลิขสิทธิ์ รวมทั้งข้อความเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ และข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์การจำหน่าย เช่น สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ เป็นต้น และมักจะปรากฏข้อมูล CIP (Cataloging in Publication) อยู่ด้วย <p> <p>ตัวอย่าง <p>Copyright © 2004 by the American Library Association. All rights reserved except those which may be granted Section 107 and 108 of the Copyright Revision Act of 1976. <p><img src="http://thaiglossary.org/sites/default/files/20120907-Copyright-Page_0.jpg" width="500" higth="100" alt="CopyrightPage1"> <p>จากหนังสือ Protecting your library's digital sources : the essential guide to planning and preservation <p> <p> ส่วนหนังสือภาษาไทยมักจะใช้คำว่า "สงวนลิขสิทธิ์" ข้อมูลการสงวนลิขสิืทธิ์ เจ้าของลิขสิทธิ์ รวมทั้งข้อความเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ และข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์การจำหน่าย เช่น สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ เป็นต้น และมักจะปรากฏข้อมูล CIP (Cataloging in Publication) อยู่ด้วย <p> <p>ตัวอย่าง <p>สงวนลิขสิทธิ์ในประเทศไทยตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ © พ.ศ. 2554 โดย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ห้ามคัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ทำซ้ำ จัดพิมพ์ หรือกระทำอื่นใด โดยวิธีการใดๆ ในรูปแบบใดๆ ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ เพื่อเผยแพร่ในสื่อทุกประเภท หรือเพื่อวัตถุประสงค์ใดๆ นอกจากจะได้รับอนุญาต <p><img src="http://thaiglossary.org/sites/default/files/20120907-Copyright-Page2.jpg" width="500" higth="100" alt="CopyrightPage2"> <p>จากหนังสือ พูดดีไม่ต้องเพาเวอร์พอยต์ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Copyright infringement | การละเมิดลิขสิทธิ์, Example: <p>การละเมิดลิขสิทธิ์ หมายถึงการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ เผยแพร่ ดัดแปลง ทำซ้ำ โดยผู้เป็นเจ้าของผลงานไม่อนุญาตหรือไม่ได้รับทราบ ซึ่งผลงานสิ่งประดิษฐ์ วรรณกรรม ศิลปกรรม ฯลฯ เป็นกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ การนำผลงานมาใช้อาจมีเงื่อนไขบางประการเรียกว่าสัญญาอนุญาต ซึ่งกำหนดโดยเจ้าของผลงานหรือกำหนดตามกฎหมาย เมื่อไม่ทำตามเงื่อนไขจึงถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ <p>สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มีจุดประสงค์มุ่งให้ความคุ้มครองในเรื่องลิขสิทธิ์ และป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น สนธิสัญญากรุงเบิร์น สนธิสัญญาลิขสิทธิ์ และสนธิสัญญาการแสดงและสิ่งบันทึกเสียง นอกจากสนธิสัญญาแล้ว ยังมีองค์กรที่ให้การคุ้มครองเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น องค์การการค้าโลก และกรมทรัพย์สินทางปัญญา <p>สำหรับประเทศไทย ได้มีการออกพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 บังคับใช้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ คือ มาตรา 27 ระบุว่าการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้ (1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน <p>มาตรา 15 ภายใต้บังคับมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 14 เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียว ดังต่อไปนี้ (1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน (3) ให้เช่าต้นฉบับ หรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง (4) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น (5) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (1) (2) หรือ (3) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้ การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง (5) จะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง <p>อย่างไรก็ตาม การละเมิดลิขสิทธิ์ มีข้อยกเว้นในประเด็นเรื่อง การใช้โดยเป็นธรรม หรือ การใช้โดยชอบธรรม (Fair use) ที่เป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลทั่วไปมีสิทธิพิเศษที่จะใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์ หากการใช้นั้นเป็นการใช้ที่เป็นธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างดุลยภาพระหว่างการปกป้องผลประโยชน์อันชอบธรรมของเจ้าของลิขสิทธิ์ และการรักษาประโยชน์ของสาธารณชนในอันที่จะใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ซึ่งหลักการว่าด้วยดุลยภาพนี้เป็นหลักการพื้นฐานของกฎหมายลิขสิทิ์ของทุกประเทศ โดยมีความมุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้เกิดการสร้างงานที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อสังคม และให้สังคมสามารถใช้งานนั้นได้โดยไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของผู้สร้างสรรค์งาน การจะเข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ และเข้าข่ายการใช้โดยเป็นธรรม (Fair use) จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ เป็นการกระทำเพื่อการวิจัยหรือศึกษางานนั้น การกระทำนั้นมิได้เป็นการกระทำเพื่อหากำไร และการกระทำนั้นไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Copyright | ลิขสิทธิ์ [เศรษฐศาสตร์] |
World Intillectual Property Organization Copyright treaty (1996) | สนธิสัญญาลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (ค.ศ. 1996) , สนธิสัญญาลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (ค.ศ. 1996) [TU Subject Heading] |
Copyright | ลิขสิทธิ์ [TU Subject Heading] |
Copyright and electronic data processing | ลิขสิทธิ์กับการประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ [TU Subject Heading] |
Copyright infringement | การละเมิดลิขสิทธิ์ [TU Subject Heading] |
Copyright, International | ลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ [TU Subject Heading] |
Fair use (Copyright) | การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ [TU Subject Heading] |
Intellectual property infringement | การละเมิดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา [TU Subject Heading] |
Pirated editions | ฉบับละเมิดลิขสิทธิ์ [TU Subject Heading] |
Public domain (Copyright law) | สาธารณสมบัติของแผ่นดิน (กฎหมายลิขสิทธิ์) [TU Subject Heading] |
Intellectual Property | ทรัพย์สินทางปัญญา " หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ซึ่งผู้เป็นเจ้าของสามารถถือครอง และ/หรือเก็บเกี่ยวสิทธิประโยชน์ได้ นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ - Patent สิทธิบัตร หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างใหม่ ยังไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อน และเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และการประดิษฐ์นั้นสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ - Copy Rights ลิขสิทธิ์ หมายถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรี งานภาพยนต์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ - Neighboring Rights สิทธิข้างเคียง เป็นความคุ้มครองที่แตกแขนงมาจากลิขสิทธิ์ เนื่องจากงานที่สร้างขึ้นไม่สามารถถูกจัดเข้าเป็นงานลิขสิทธิ์ได้โดยตรง เพราะผลงานที่เกิดขึ้นนั้นได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเป็นสื่อกลาง และก่อให้เกิดผลงานโดยใช้ เครื่องมือในทางวิชาชีพสร้างงานขึ้นมา ดังนั้น บุคคลผู้ที่เข้ามาเป็น สื่อกลางเพื่อผลิตงานให้แก่ผู้สร้างงานจึงควรมีสิทธิในผลงานนั้นเหมือนกับ เจ้าของงานลิขสิทธิ์ด้วย - Trade Marks เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือตราที่ใช้กับสินค้าเพื่อให้ประชาชนทั่วไปแยกแยะได้ว่าสินค้านั้นเป็นของ ผู้ใด ใครเป็นเจ้าของ และมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกว่า ยี่ห้อ สำหรับเครื่องหมายการค้านั้น จะเป็นภาพ เป็นคำ หรือเป็นตัวอักษรก็ได้ Service Marks เครื่องหมายบริการ เป็นเรื่องที่เกิดใหม่เนื่องจากสินค้าบริการได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น การให้บริการด้านการเงิน การโทรคมนาคม จึงทำให้ผู้ให้บริการต้องการที่จะใช้เครื่องหมาย เพื่อชี้ให้เห็นถึงการบริการของตน เช่นเดียวกับการใช้เครื่องหมายการค้า " [การทูต] |
Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights | หมายถึง สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า เช่น เครื่องหมายการค้า (trademark) ลิขสิทธิ์ (copyrights) และสิทธิบัตร (patent) เป็นต้น [การทูต] |
World Intellectual Property Organization | องค์การเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่ เกี่ยวกับการค้า ถือกำเนิดจากอนุสัญญากรุงปารีส ปี ค.ศ. 1883 และอนุสัญญากรุงเบอร์นส์ ปี ค.ศ. 1886 ว่าด้วยการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรมอนุสัญญาจัดตั้งองค์การเกี่ยวกับ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับการค้านี้ ได้มีการลงนามกันเมื่อปี ค.ศ. 1967 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 เป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งของสหประชาชาติ และมีประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การแล้วรวม 155 ประเทศ วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ ต้องการให้ทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ทั่วโลกได้รับการธำรงรักษาและเพิ่ม ขึ้น ทั้งนี้ เพื่อจะกระตุ้นให้มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมและวัฒนธรรม และเอื้ออำนวยต่อการถ่ายทอดวิทยาการเทคโนโลยี รวมทั้งให้เผยแพร่งานวรรณกรรม และศิลปกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม และทรัพย์สินทางลิขสิทธิ์กับสิทธิที่ใกล้เคียงองค์การมีสำนักเลขาธิการตั้ง อยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตำแหน่งหัวหน้าขององค์การนี้ เรียกว่า ผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งขณะนี้ได้แก่ Dr.Arpad Bogsch [การทูต] |
Copyright | ลิขสิทธิ์ [การบัญชี] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ | [kān khumkhrøng likkhasit] (n, exp) EN: copyright protection |
การละเมิดลิขสิทธิ์ | [kān lamoēt likkhasit] (n, exp) EN: infringement of copyright |
ค่าลิขสิทธิ์ | [khā likkhasit] (n, exp) EN: copyright fee FR: droits d'auteur [ mpl ] |
ขโมยลิขสิทธิ์ | [khamōi likkhasit] (v, exp) FR: plagier |
กฎหมายลิขสิทธิ์ | [kotmāi likkhasit] (n, exp) EN: copyright law ; copyright act FR: loi sur le droit d'auteur [ m ] |
ลิขสิทธิ์ | [likkhasit] (n) EN: copyright FR: droit d'auteur [ m ] ; copyright [ m ] |
งานอันมีลิขสิทธิ์ | [ngān an mī likkhasit] (n, exp) EN: copyright work |
เงินค่าลิขสิทธิ์ | [ngoen khā likkhasit] (n, exp) EN: royalties FR: royalties [ fpl ] (anglic.) |
สงวนลิขสิทธิ์ | [sa-ngūan likkhasit] (v, exp) EN: reserve the copyright |
สงวนลิขสิทธิ์ | [sa-ngūan likkhasit] (v, exp) EN: all rights reserved FR: tous droits réservés |
สงวนลิขสิทธิ์ทั้งหมด | [sa-ngūan likkhasit thangmot] (v, exp) EN: all rights reserved |
Longdo Approved EN-TH
memory stick | (n) อุปกรณ์เก็บข้อมูลประเภท flash memory ชนิดหนึ่ง ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท SONY และใช้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆของ SONY มีขนาดเล็กประมาณเท่าแผ่นหมากฝรั่ง magic gate memory stick คือ memory stick ที่มีหมายเลขรหัสประจำในแต่ละแผ่น เพื่อให้สามารถควบคุมการทำสำเนาข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์ (เช่น ข้อมูลเพลง หรือภาพ) ได้ คือ ข้อมูลที่บันทึกจะนำมาใช้ได้เมื่ออ่านจากแผ่นที่มีหมายเลขที่กำหนดเท่านั้น และจะใช้ไม่ได้เมื่อทำสำเนาข้อมูลนั้นไปยังแผ่นหรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่น, See also: flash memory |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
copyright | (adj) ซึ่งมีการคุ้มครองลิขสิทธิ์, Syn. copyrighted |
copyright | (vt) ปกป้องลิขสิทธิ์ |
copyright | (n) ีลิขสิทธิ์, Syn. right of first publication |
piracy | (n) การละเมิดลิขสิทธิ์, Syn. cheating, copying |
pirate | (vt) ละเมิดลิขสิทธิ์ |
pirate | (n) ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์, See also: ผู้ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น |
royalty | (n) ค่าลิขสิทธิ์ |
shareware | (n) ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ที่มีลิขสิทธิ์ |
Hope Dictionary
copy protection | การป้องกันการคัดลอกหมายถึง วิธีการป้องกันไม่ให้ผู้ใดสามารถคัดลอกได้ ผู้เขียนโปรแกรมมักพยายามทำทุกวิถีทางที่จะกันไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใด มาคัดลอกโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่เขาสร้างขึ้นไว้ เช่นใช้อุปกรณ์ปิดกั้น หรือซ่อนแฟ้มข้อมูลบางแฟ้มไม่ให้มองเห็น อย่างไรก็ตาม เมื่อมีกฎหมายในเรื่องของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ออกมาแล้ว ผู้ที่จะคัดลอกก็จะต้องระมัดระวังในเรื่องการคัดลอกนี้มากขึ้น |
copyright | (คอพ'พีไรทฺ) n. ลิขสิทธิ์. adj. ซึ่งได้รับการคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์, See also: copyrightable adj. ดูcopyright copyrighter n. ดูcopyright |
freeware | ฟรีแวร์ของฟรีหมายถึง ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่แม้จะจดทะเบียนลิขสิทธิ์เอาไว้ แต่ก็ยินยอมให้มีการคัดลอกเอาไปใช้ได้อย่างเสรี โดยไม่คิด เงิน (ต่างกับ public domain ซึ่งไม่มีการจด ทะเบียนใด ๆ เลย ใครจะคัดลอกหรือนำไปใช้ ก็สามารถทำได้ทั้งสิ้น) |
linux | (ลีนุกซ์) ระบบปฏิบัติการคล้ายระบบยูนิกซ์ (UNIX like operating system) ของคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง แก่นของระบบถูกเขียนขึ้นโดย ลีนุส ทรอวัลด์ และเขาได้ทำการเผยแพร่ไปทางอินเตอร์เน็ต จนเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน สามารถแจกจ่ายทำซ้ำได้โดยไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ ใช้กันมากในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ใช้งานร่วมกันหลายราย (multiusers) มี่โปรแกรมสำเร็จรูปจำนวนมากที่เขียนภายใต้ระบบนี้ ดู DOS, UNIX, GUI, Linus, Linus Torvald ประกอบ |
packaged program | โปรแกรมสำเร็จในทางคอมพิวเตอร์ใช้หมายถึง application package ซึ่งก็คือ โปรแกรมสำเร็จที่มีผู้เขียนไว้จำหน่าย มีการจดลิขสิทธิ์ (ห้ามการคัดลอก) ปัจจุบันได้รับความนิยมมาก ราคาถูกกว่าการจ้างเขียน การใช้ก็ไม่ยาก ผู้ที่ซื้อไปใช้เพียงแต่อ่านคู่มือเอาเอง หรือเรียนรู้วิธีใช้คำสั่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ผู้ผลิตจะแข่งขันกันในการทำให้โปรแกรมเหล่านี้ใช้ง่าย มีทั้งโปรแกรมระบบ เช่น MS DOS และ Windows โปรแกรมตารางจัดการเช่น Excel, Lotus โปรแกรมประมวลผลคำ เช่น Word Perfect, MS Word, CU Writer ฯลฯ |
pds | (พีดีเอส) ย่อมาจาก public domain software เป็นที่รวมของโปรแกรมฟรี หมายถึงผู้สร้างซอฟต์แวร์นั้น ๆ ยินยอมให้คนทั่วไปคัดลอกไปใช้ได้ ไม่ผิดพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ดู public domain ประกอบ |
pentium | (เพนเทียม) หมายถึง ชิป (chip) แบบใหม่ล่าสุดที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี ผลิตโดยบริษัท Intel ชิปรุ่นนี้ทำงานได้เร็วกว่า และมีสมรรถนะสูงกว่ารุ่น 80486 มากมาย เดิมทีเดียว เขาจะใช้ชื่อ Intel 586 แต่เกี่ยวเนื่องด้วยเรื่องลิขสิทธิ์ ทำให้มิอาจใช้ชื่อนั้นได้จึงต้องตั้งชื่อใหม่ว่า pentium |
piracy | (ไพ'ระซี) n. การกระทำที่เป็นโจรสลัด, การปล้นความคิด, การละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรของคนอื่น |
pirate | (ไพ'เรท) n. โจรสลัด, เรือโจรสลัด, ผู้ปล้นสะดม, ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรของผู้อื่น. -vt., vi. ปล้นสะดม, กระทำพฤติกรรมที่เป็นโจรสลัด, ยักยอก, ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรของผู้อื่น, พิมพ์บทประพันธ์ของคนอื่น, See also: piratical, piratic adj. pirati |
public domain | n. ที่ดินของรัฐ, สิ่งประดิษฐ์หรือผลงานทางวรรณกรรมที่สิทธิบัตร หรือลิขสิทธิ์หมดอายุ, สาธารณสมบัติ, ของสาธารณะหมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นแล้วผู้สร้างหรือเจ้าของยินยอมให้ใคร ๆ มาคัดลอกนำไปใช้ได้ โดยไม่ผิดพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ เช่น โปรแกรม Cuwriter ในระบบเครือข่าย จะมีกลุ่มโปรแกรมกลุ่มหนึ่งเรียกว่า PDS ย่อมาจาก public domain software เป็นที่รวมของโปรแกรมฟรีต่าง ๆ ที่ใคร ๆ ก็สามารถคัดลอกไปใช้ได้ |
software package | ส่วนชุดคำสั่งสำเร็จซอฟต์แวร์สำเร็จในทางคอมพิวเตอร์ บางทีใช้สั้น ๆ ว่าpackage ซึ่งก็คือ โปรแกรมสำเร็จที่มีผู้เขียนไว้จำหน่าย มีการจดลิขสิทธิ์ (ห้ามการคัดลอก) ปัจจุบันได้รับความนิยมมาก ราคาถูกกว่าการจ้างเขียน การใช้ก็ไม่ยาก ผู้ที่ซื้อไปใช้เพียงแต่อ่านคู่มือเอาเอง หรือเรียนรู้วิธีใช้คำสั่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ผู้ผลิตจะแข่งขันกันในการทำให้โปรแกรมเหล่านี้ใช้ง่าย มีทั้งโปรแกรมระบบ เช่น MS DOS และ Windows โปรแกรมตารางจัดการเช่น Excel, Lotus โปรแกรมประมวลผลคำ เช่น Word Perfect, MS Word, CU Writer ฯลฯมีความหมายเหมือน packaged program |
Nontri Dictionary
copyright | (n) ลิขสิทธิ์ |
copyright | (vt) สงวนลิขสิทธิ์ |
piracy | (n) การปล้นสะดมทางทะเล, การโจรกรรม, การละเมิดลิขสิทธิ์ |
pirate | (n) โจรสลัด, ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
authorship | (n) ผู้มีลิขสิทธิ์ตัวจริง (ศัพท์กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา) |
deferred royalty | (n) ค่าลิขสิทธิ์รอตัดบัญชี |
Shrink Wrap License | สัญญาอนุญาตให้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาตัวอย่าง (Model Contract) เพื่อให้ผู้ที่ประสงค์จะขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวใช้เป็นแบบในการทำสัญญา |
Longdo Approved JP-TH
著作権費用 | [ちょさくけんひよう, chosakukenhiyou] (n) ค่าลิขสิทธิ์ |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
著作権 | [ちょさくけん, chosakuken] (n) ลิขสิทธิ์ |
著作権 | [ちょさくけん, chosakuken] (n) ลิขสิทธิ์ |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0319 seconds, cache age: 2.334 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม