372 ผลลัพธ์ สำหรับ *ลัทธิ*
ภาษา
หรือค้นหา: ลัทธิ, -ลัทธิ-NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ลัทธิ | (n) doctrine, See also: cult, creed, ideology, faith, belief, Syn. ความเชื่อ, หลักการ, แนวคิด, Example: ปราสาทนี้สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาในลัทธิศาสนา, Thai Definition: คติความเชื่อถือหรือความคิดเห็น |
ลัทธิฮินดู | (n) Hinduism |
ลัทธิขงจื้อ | (n) Confucianism |
ลัทธิทุนนิยม | (n) capitalism, Example: ขณะนี้เศรษฐกิจโลกถูกครอบงำด้วยลัทธิทุนนิยม ทำให้การแข่งขันกันมีระดับความรุนแรงมากขึ้น, Thai Definition: ลัทธินิยมที่แต่ละบุคคลมีสิทธิ์ที่จะถือครองทรัพย์สินและควบคุมกรรมวิธีการผลิตได้โดยตรง |
ลัทธิชาตินิยม | (n) nationalism |
ลัทธิอาณานิคม | (n) colonialism |
ลัทธิเผด็จการ | (n) dictatorship, See also: totalitarianism, Syn. ิเผด็จการ, Example: ผู้นำประเทศใช้ลัทธิเผด็จการบังคับให้คนในชาติคิดและปฏิบัติเหมือนกับตน, Thai Definition: การใช้อํานาจบริหารเด็ดขาด |
ลัทธิเสรีนิยม | (n) liberalism, Syn. ิเสรีนิยม, Example: ลัทธิเสรีนิยมนั้นอยู่กึ่งกลางระหว่างลัทธิจารีตนิยมกับลัทธิสังคมนิยม |
ลัทธิความเชื่อ | (n) creed, See also: faith, ideology, credo, belief, doctrine, Example: ศาสนิกชนของทุกศาสนา สามารถประกอบพิธีกรรมตามลัทธิความเชื่อของตนได้อย่างอิสระเสรี, Count Unit: ลัทธิ |
ลัทธิจารีตนิยม | (n) conservatism, Syn. จารีตนิยม, Example: ลัทธิเสรีนิยมนั้นอยู่กึ่งกลางระหว่างลัทธิจารีตนิยมกับลัทธิสังคมนิยม |
ลัทธิสังคมนิยม | (n) socialism |
ลัทธิคอมมิวนิสต์ | (n) communism, Syn. คอมมิวนิสต์, Example: ลัทธิคอมมิวนิสต์ครองอำนาจอยู่ในหลายประเทศในโลก, Thai Definition: ลัทธิเกี่ยวกับการจัดระเบียบสังคมที่ยึดหลักว่า การรวมกันของบรรดาทรัพย์สินทั้งหลายเป็นของกลางร่วมกันทั้งหมด เอกชนจะถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์มิได้, ผู้ที่นิยมในลัทธินั้น |
ลัทธิคอมมิวนิสต์ | (n) communism, Example: ทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนกันในการต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์, Thai Definition: ลัทธิเกี่ยวกับการจัดระเบียบสังคมที่ยึดหลักว่า การรวมกันของบรรดาทรัพย์สินทั้งหลายเป็นของกลางร่วมกันทั้งหมด เอกชนจะถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์มิได้ |
ลัทธิประชาธิปไตย | (n) democracy |
ลัทธิจักรพรรดินิยม | (n) imperialism, Syn. จักรพรรดินิยม, Example: กระแสของประชาชนกำลังต่อต้านระบบจักรพรรดินิยมมีมากขึ้น |
ลัทธิจักรวรรดินิยม | (n) imperialism, Syn. จักรวรรดินิยม, Example: ประเทศอังกฤษใช้เทคโนโลยีทั้งเรือรบและปืนไฟขยายลัทธิจักรวรรดินิยมไปทำลายประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก, Thai Definition: ลัทธิขยายอาณาเขตและอำนาจปกครองของรัฐ |
ลัทธิสมบูรณาญาสิทธิราชย์ | (n) absolutism, See also: despotism, Syn. สมบูรณาญาสิทธิราชย์, Example: คณะราษฎร์กระทำการปฏิวัติยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อพ.ศ.2475, Thai Definition: ระบอบการปกครองซึ่งพระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ลัทธิ | น. คติความเชื่อถือ ความคิดเห็น และหลักการ ที่มีผู้นิยมนับถือและปฏิบัติตามสืบเนื่องกันมา เช่น ลัทธิสังคมนิยม ลัทธิชาตินิยม ลัทธิทุนนิยม. |
กระพัง ๒ | น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สำหรับใส่นํ้าทำพิธีต่าง ๆ ตามลัทธิไสยศาสตร์ เรียกว่า “กระพังนํ้า” ซึ่งน่าจะมีรูปคล้ายกับหม้อนํ้ามนตร์ของเรา. |
กาลจักร | (กาละ-) น. ชื่อพิธีกรรมในลัทธิตันตระ ซึ่งมีข้อปฏิบัติเบื้องต้น ๕ อย่าง คือ ดื่มนํ้าเมา กินเนื้อสัตว์ พรํ่ามนตร์ แสดงท่ายั่วยวน และเสพเมถุน ซึ่งปฏิบัติในเวลากลางคืนหรือที่มืด, กาฬจักร ก็ว่า. |
กำบัง ๓ | น. ชื่อว่านต้นดั่งกระชาย หัวเล็ก ๆ ติดกันดั่งกล้วยไข่ ต้นและใบเขียว เนื้อในขาว ใช้สำหรับเป็นว่านกันภัยในทางลัทธิ และกันว่านร้ายต่าง ๆ, ว่านกั้นบัง ก็เรียก. |
กำลังภายใน | น. กำลังที่เร้นอยู่ภายใน, กำลังที่เกิดจากการฝึกจิต โดยเฉพาะในลัทธิเต๋าและพระพุทธศาสนาบางนิกาย เพื่อให้จิตใจกล้าแข็งจนสามารถทำสิ่งที่คนทั่วไปทำไม่ได้. |
กินบวช | ก. กินเครื่องกระยาบวชในลัทธิพิธี เช่นพิธีตรุษ, ใช้เข้าคู่กับคำ ถือศีล เป็น ถือศีลกินบวช, กินในเวลาตามกำหนดของการถือพรตในลัทธิศาสนา. |
ข้าวนก ๒ | น. ชื่อเรือชนิดหนึ่ง เช่น ถ้าทรงเรือแผงและเรือข้าวนกประพาสบัว (ลัทธิ). |
เข้าเงียบ | ก. ประพฤติสงบจิตใจอยู่ในที่สงัดตามลัทธิคริสต์ศาสนา. |
คติสุขารมณ์ | น. ลัทธิที่ถือว่าความสุขทางผัสสะหรือโลกียสุขในชีวิตปัจจุบัน เป็นสิ่งสูงสุดหรือเป็นความดีสูงสุดของชีวิต. |
คอมมิวนิสต์ | น. ระบบเศรษฐกิจการเมืองและสังคมแบบหนึ่งของลัทธิสังคมนิยมที่มีอุดมการณ์ให้รวมทรัพย์สินทั้งปวงเป็นสมบัติส่วนกลางของชุมชน ไม่ให้มีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และให้จัดสรรรายได้แก่บุคคลอย่างเสมอภาคกัน ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ยากของคนในสังคมอันเป็นผลจากความไม่เสมอภาคในทรัพย์สิน, ผู้ที่นิยมระบบคอมมิวนิสต์. |
จักรวรรดินิยม | (-หฺวัดนิยม) น. ลัทธิขยายอาณาเขตและอำนาจปกครองของรัฐ. |
จารวาก | (จาระ-) น. ลัทธิโลกายัต. <i> (ดู โลกายัต ที่ โลก, </i> <i> โลก-)</i>. |
จิตนิยม | (จิดตะ-, จิด-) น. ลัทธิที่เชื่อว่าจิตเท่านั้นเป็นความแท้จริงขั้นสูงสุด วัตถุทั้งหลายเป็นเพียงสิ่งที่จิตคิดขึ้น. |
เจตภูต | (เจดตะพูด) น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษาสันสกฤตว่า “อาตมัน” เรียกในภาษาบาลีว่า “อัตตา” ก็มี “ชีโว” ก็มี, มีอยู่ในลัทธิว่า “ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป”, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ. |
ชาตินิยม | (ชาดนิยม) น. ลัทธิที่ถือชาติเป็นใหญ่, ความรักชาติ. |
ซ้าย | เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติเพื่อลดช่องว่างระหว่างชนชั้นในด้านเศรษฐกิจและการเมือง เป็นต้น มักใช้วิธีการที่รุนแรงและรวดเร็ว ว่า ฝ่ายซ้าย, โดยทั่วไปใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์. |
ญาติธรรม | (ยาดติ-) น. ญาติในทางธรรม, ผู้มีความสัมพันธ์กันฉันญาติเพราะนับถือศาสนาหรือลัทธิของศาสนาร่วมกัน. |
ตีรถังกร | น. เจ้าลัทธิในศาสนาเชน. |
ถึงแก่มรณภาพ | ก. ตาย (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร หรือนักบวชในลัทธิศาสนาอื่น), ที่ใช้สั้น ๆ ว่า ถึงมรณภาพ หรือ มรณภาพ ก็มี. |
ถึงมรณภาพ | ก. ตาย (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร หรือนักบวชในลัทธิศาสนาอื่น), มรณภาพ ก็ว่า, ใช้เต็มว่า ถึงแก่มรณภาพ. |
ถือบวช | ก. ประพฤติพรตตามลัทธิศาสนาต่าง ๆ |
เถรวาท | (เถระวาด) น. ลัทธิที่ถือตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระอรหันตเถระรวม ๕๐๐ รูป ได้รวบรวมไว้ในคราวปฐมสังคายนา, ชื่อนิกายพระพุทธ-ศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และไทยเป็นต้น, หินยาน หีนยาน หรือ ทักษิณนิกาย ก็ว่า. |
ทรราช | น. ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ ทำความเดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองของตน. (อ. tyrant), เรียกลัทธิเช่นนั้น ว่า ทรราชย์ หรือ ระบบทรราชย์. |
ทัก ๑ | ก. กล่าวเป็นเชิงเตือน, พูดโอภาปราศรัยด้วยอัธยาศัยไมตรีเมื่อพบหน้ากัน, กล่าวหรือออกเสียงให้ระวังหรือสังเกตว่าจะเป็นภัยตามลัทธิที่ถือกัน เช่น จิ้งจกทัก. |
ทักษิณาจาร | น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่งนับเนื่องในนิกายหนึ่งของศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบขวาหรือฝ่ายขวา มีพิธีกรรมเปิดเผย ไม่มีลามกอนาจาร, คู่กับ วามาจาร, ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักปฏิบัติทำนองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์ โดยถือพระไวโรจนพุทธะแทนพรหมัน. |
เทพนิยม | (เทบ-) น. ลัทธิที่เชื่อว่ามีพระเจ้าจำนวนมากประจำอยู่ในสรรพสิ่ง แต่พระเจ้านั้นไม่มีอำนาจครอบครองโลก. |
เทวนิยม | น. ลัทธิที่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าผู้ทรงอำนาจยิ่งใหญ่ ทรงมีอำนาจครอบครองโลกและสามารถดลบันดาลความเป็นไปในโลก. |
แท่นมณฑล | น. แท่นยกพื้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าดาดเพดานด้วยผ้าขาวติดระบายรอบ ใช้ตั้งปูชนียวัตถุและเครื่องใช้เป็นต้นในการเข้าพิธีเฉลิมฉลองตามลัทธิประเพณี. |
นักบวช | น. ผู้ที่ได้เข้าพิธีบวชตามลัทธิศาสนาต่าง ๆ เช่น ภิกษุ สามเณร บาทหลวง. |
นิยม | ก. ชมชอบ, ยอมรับนับถือ, ชื่นชมยินดี, ใช้ประกอบท้ายคำสมาสบางคำใช้เป็นชื่อลัทธิ เช่น ลัทธิชาตินิยม ลัทธิสังคมนิยม. |
นิยัตินิยม | (นิยัดติ-) น. ลัทธิความเชื่อที่ว่า การกระทำทุกอย่างของมนุษย์หรือเหตุการณ์ทั้งหลายได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว. |
ประสบการณ์นิยม | (ปฺระสบกาน-) น. ลัทธิทางปรัชญาที่ถือว่าประสบการณ์เป็นบ่อเกิดของความรู้ทุกอย่าง |
เผด็จการ | น. การใช้อำนาจบริหารเด็ดขาด, เรียกลัทธิหรือแบบการปกครองที่ผู้นำคนเดียวหรือบุคคลกลุ่มเดียวใช้อำนาจอย่างเด็ดขาดในการบริหารประเทศ ว่า ลัทธิเผด็จการ, เรียกผู้ใช้อำนาจเช่นนั้น ว่า ผู้เผด็จการ. |
ฝ่ายซ้าย | น. กลุ่มที่มีอุดมคติเพื่อลดช่องว่างระหว่างชนชั้นในด้านเศรษฐกิจและการเมืองเป็นต้น มักใช้วิธีการที่รุนแรงและรวดเร็ว, โดยทั่วไปใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์. |
พรต | มรรยาท, เขตแห่งความประพฤติ, ธรรมเนียม, ประเพณี, การสมาทานหรือประพฤติตามลัทธิศาสนา, การจำศีล (เช่น การเว้นบริโภค เว้นเมถุนธรรม) |
พลากร ๒ | น. อากรที่เรียกเก็บจากจำนวนต้นของไม้ผลยืนต้น ๗ ชนิด คือ ขนุน สะท้อน (กระท้อน) เงาะ ส้มต่าง ๆ มะไฟ ฝรั่ง สาเก และไม้ล้มลุกคือสับปะรด (ลัทธิธรรมเนียม). |
พิธี | น. งานที่จัดขึ้นตามลัทธิหรือความเชื่อถือตามขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อความขลังหรือความเป็นสิริมงคลเป็นต้น เช่น พิธีพระราชทานปริญญาบัตร พิธีมงคลสมรส พิธีประสาทปริญญา |
พินทุ ๑ | น. หยาดเช่นหยาดนํ้า, จุด, จุดที่ใส่ไว้ใต้ตัวอักษร, จุดกลมแต้มที่หน้าผากระหว่างคิ้วของผู้หญิงตามลัทธิพราหมณ์, รูปวงเล็ก ๆ. |
ฟาสซิสต์ | น. ลัทธิการเมืองที่ผู้นำรวบอำนาจทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไว้หมด และมีนโยบายชาตินิยมอย่างรุนแรง แต่เคารพในกรรมสิทธิ์ของเอกชน, ผู้ที่นิยมลัทธินั้น. |
ฟาสซิสต์ | ว. เกี่ยวกับลัทธิฟาสซิสต์. |
มัชฌิมชนบท | น.ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุมของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ. |
โยค-, โยคะ | วิธีบำเพ็ญสมาธิตามลัทธิของอาจารย์ปตัญชลี |
โยคี | น. นักบวชผู้ปฏิบัติตามลัทธิโยคะ, ฤษีพวกหนึ่ง. |
ลอยบาป | ก. ปลดเปลื้องบาปให้ลอยไปในแม่น้ำคงคาตามลัทธิศาสนาพราหมณ์. |
ล้างสมอง | ก. ทำให้บุคคลเปลี่ยนความคิดเห็นหรือความเชื่อถือของตนโดยเฉพาะในลัทธิการเมือง สังคม หรือศาสนาไปอย่างสิ้นเชิง และยอมรับความคิดเห็นหรือความเชื่อใหม่โดยใช้วิธีการต่าง ๆ รวมทั้งอาจมีการทรมานจิตใจอย่างรุนแรง. |
โลกายัต | น. ชื่อหนึ่งของลัทธิปรัชญาฝ่ายวัตถุนิยมของอินเดีย ถือว่าโลกนี้เกิดจากการรวมตัวกันเองของวัตถุธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ชีพหรือชีวิตเป็นเพียงผลิตผลของวัตถุธาตุที่รวมตัวกันนั้น คนเราเกิดครั้งเดียว ตายแล้วขาดสูญ ไม่มีโลกหน้า จึงควรแสวงหากามสุขเสียแต่วันนี้ พรุ่งนี้เราอาจตาย, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นอุจเฉททิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าตายแล้วสูญ, จารวาก ก็เรียก. |
วัชรยาน | น. ชื่อหนึ่งของลัทธิพุทธตันตระ ซึ่งถือว่ามีหลักปรัชญาสูงเหนือธรรมชาติ มีความแข็งเหมือนเพชร ใสเหมือนอากาศ ไม่มีใครต้านทานได้เหมือนสายฟ้า จึงเรียกหลักปรัชญานั้นว่า วัชระ และเรียกลัทธิว่า วัชรยาน. |
วาท, วาท- | ลัทธิ, ความเห็น. |
วามาจาร | น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่ง นับเนื่องในนิกายหนึ่งของศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบซ้ายหรือฝ่ายซ้าย มีพิธีกรรมลี้ลับ อนาจาร, คู่กับ ทักษิณาจาร |
วามาจาร | ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักปฏิบัติทำนองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์, เรียกผู้ปฏิบัติในลัทธินี้ ว่า วามาจาริน. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
parallelism | ลัทธิขนาน [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
parallelism, psycho-physical | ลัทธิขนานระหว่างกายกับจิต [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
protectionism | ลัทธิคุ้มครอง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
pointillism | ลัทธิผสานจุดสี [ศิลปะ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
personality cult | ลัทธิบูชาบุคคล [ ดู cult of personality ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
paternalism | ระบบพ่อปกครองลูก, ลัทธิพ่อเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
psycho-physical parallelism | ลัทธิขนานระหว่างกายกับจิต [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
populism | ลัทธิอิงสามัญชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
post-impressionism | ลัทธิประทับใจยุคหลัง [ศิลปะ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Leninism | ลัทธิเลนิน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
radicalism | คติมูลวิวัติ, คตินิยมการเปลี่ยนถึงรากฐาน, ลัทธิสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่ต้นตอ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
revisionism | ลัทธิแก้ (ลัทธิที่แก้ไขลัทธิมากซ์) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
romanticism | จินตนิยม, ลัทธิโรแมนติก [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Stalinism | ลัทธิสตาลิน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Sexism | ลัทธิกีดกันทางเพศ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
surrealism | ลัทธิเหนือจริง [ศิลปะ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
stoicism | ลัทธิสโตอิก [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
sect | ลัทธิ, นิกาย [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
abstract expressionism | ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม [ศิลปะ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
anarchism | ลัทธิอนาธิปไตย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
anarchist | ผู้นิยมลัทธิอนาธิปไตย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
authoritarianism | ลัทธิอำนาจนิยม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
anti-clericalism | คตินิยมต่อต้านศาสนจักร, ลัทธิต่อต้านศาสนจักร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
anti-Semitism | ลัทธิต่อต้านยิว [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
alarmism | ลัทธิสร้างสถานการณ์ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Bolshevism | ลัทธิบอลเชวิก [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Monroe Doctrine | ลัทธิมอนโร (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Maoism | ลัทธิเหมาเจ๋อตง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
mysticism | รหัสยลัทธิ [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Menshevism | ลัทธิเมนเชวิก (ลัทธิสังคมนิยมสายกลางของรัสเซีย) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
mannerism | ลัทธิเกินพอดี, จริตนิยม [ศิลปะ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
millenarianism | ลัทธิสหัสวรรษ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Malthusianism | ลัทธิมัลทัส [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
mercantilism | ลัทธิพาณิชยนิยม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Marxism | ลัทธิมากซ์ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Marxism | ลัทธิมาร์กซิสต์ [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Marxism | ลัทธิมากซ์ [วรรณกรรม ๖ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Marxism-Leninism | ลัทธิมากซ์-เลนิน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
marxist | ผู้นิยมลัทธิมากซ์ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
constructivism | ลัทธิเค้าโครง [ศิลปะ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
capitalism | ลัทธินายทุน, ทุนนิยม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
chauvinism | ลัทธิคลั่งชาติ (ฝรั่งเศส) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
communism | ลัทธิคอมมิวนิสต์ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
communism | ลัทธิคอมมิวนิสต์ [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
chilling effect doctrine | ลัทธิที่ขัดขวางการใช้สิทธิของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ (ก. อเมริกัน) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
colonialism | ลัทธิอาณานิคม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
containment | การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
cult of personality; cult, personality | ลัทธิบูชาบุคคล [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
cult, personality; cult of personality | ลัทธิบูชาบุคคล [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
cynicism | ลัทธิซีนิก [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Economic doctrine | ลัทธิเศรษฐกิจ [เศรษฐศาสตร์] |
Political doctrine | ลัทธิการเมือง [เศรษฐศาสตร์] |
Art, Tantric-Buddhist | ศิลปะพุทธศาสนาลัทธิตันตระ [TU Subject Heading] |
Authoritarianism | ลัทธิอำนาจนิยม [TU Subject Heading] |
Communism | ลัทธิคอมมิวนิสต์ [TU Subject Heading] |
Communism and agriculture | ลัทธิคอมมิวนิสต์กับเกษตรกรรม [TU Subject Heading] |
Communism and Buddhism | ลัทธิคอมมิวนิสต์กับพุทธศาสนา [TU Subject Heading] |
Communism and culture | ลัทธิคอมมิวนิสต์กับวัฒนธรรม [TU Subject Heading] |
Communism and Islam | ลัทธิคอมมิวนิสต์กับศาสนาอิสลาม [TU Subject Heading] |
Communism and religion | ลัทธิคอมมิวนิสต์กับศาสนา [TU Subject Heading] |
Communism and society | ลัทธิคอมมิวนิสต์กับสังคม [TU Subject Heading] |
Communist revisionism | ลัทธิแก้ [TU Subject Heading] |
Confucianism | ลัทธิขงจื๊อ [TU Subject Heading] |
Confucianists | ผู้นับถือลัทธิขงจื๊อ [TU Subject Heading] |
Cults | ลัทธิพิธี [TU Subject Heading] |
History of doctrines | ประวัติของลัทธิ [TU Subject Heading] |
Holism | ลัทธิองค์รวม [TU Subject Heading] |
Hygiene, Taoist | อนามัยแบบลัทธิเต๋า [TU Subject Heading] |
Internationalism | ลัทธิสากลนิยม [TU Subject Heading] |
Liberalism | ลัทธิเสรีนิยม [TU Subject Heading] |
Mercantile system | ลัทธิพาณิชยนิยม [TU Subject Heading] |
Phallicism | ลัทธิบูชาลึงค์ [TU Subject Heading] |
Post-communism | แนวคิดหลังลัทธิคอมมิวนิสต์ [TU Subject Heading] |
Protectionism | ลัทธิปกป้อง [TU Subject Heading] |
Sexism | ลัทธิเพศนิยม [TU Subject Heading] |
Sexism in educational tests | ลัทธิเพศนิยมในการทดสอบทางการศึกษา [TU Subject Heading] |
Sexism in textbooks | ลัทธิเพศนิยมในแบบเรียน [TU Subject Heading] |
Shinto | ลัทธิชินโต [TU Subject Heading] |
Shinto and state | ลัทธิชินโตกับรัฐ [TU Subject Heading] |
Shinto shrines | ที่สถิตวิญญาณทางลัทธิชินโต [TU Subject Heading] |
Sufism | ลัทธิซูฟี [TU Subject Heading] |
Tantrism | ลัทธิตันตระ [TU Subject Heading] |
Taoism | ลัทธิเต๋า [TU Subject Heading] |
Protectionism | ลัทธิคุ้มครองการค้า, Example: นโยบายของรัฐบาลที่นำภาษี โควต้า และมาตรการจำกัดสินค้านำเข้า มาใช้เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมภายใน ประเทศสามารถอยู่รอดได้ ไม่ต้องแข่งขันกับสอนค้าชนิดเดียวกัน จากต่างประเทศ นักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายเสรีนิยมมักมองลัทธิคุ้มครองการค้าว่าก่อให้เกิดผลเสีย หายต่อประเทศโดยส่วนรวม เช่นรัฐบาลให้ความคุ้มครองอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศ โดยการตั้งภาษีสินค้านำเข้าในอัตราสูงมากหรือห้ามนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ ผลประโยชน์จะตกกับผู้ประกอบรถยนต์เพียงกลุ่มเดียว แต่ผู้บริโภคทั้งประเทศจะเสียผลประโยชน์โดยต้องซื้อสินค้าในราคาที่สูงขึ้น โดยไม่มีเหตุผล [สิ่งแวดล้อม] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] |
Declaration | คำประกาศ หรือ ปฏิญญา ตามความเห็นของผู้ทรงคุณความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนมากได้ให้ความเห็นว่า คำนี้มีความหมายต่างกันอยู่สามประการ คือประการแรก ใช้เป็นชื่อเรียกข้อกำหนดต่าง ๆ ของสนธิสัญญา กล่าวคือ ตามสนธิสัญญานี้ ภาคีคู่สัญญารับที่จะปฏิบัติตามแนวทางบางประการในอนาคตประการที่สอง เป็นคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่รัฐอื่นๆ เช่น คำประกาศสงครามประการสุดท้าย หมายถึง การกระทำซึ่งรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐได้ติดต่อแจ้งไปยังรัฐอื่น ๆ ซึ่งเป็นการอธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนพฤติกรรมของฝ่ายตนในอดีต หรืออธิบายทรรศนะและเจตจำนงเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่อง คำประกาศสำหรับความหมายสองประการหลังไม่ถือว่ามีลักษณะเป็นสนธิสัญญาอนึ่ง ในกรณีคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) นั้น บางทีรัฐหนึ่งต้องการเสนอนโยบายหรือหนทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งของตน โดยประกาศนโยบายหรือหนทางปฏิบัตินั้นไปให้รัฐอื่นๆ ทราบกันไว้ อาทิเช่น ลัทธิมอนโร (Monroe Doctrine) ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศออกไปในรูปคำประกาศถ่ายเดียว เป็นต้น [การทูต] |
Eisenhower Doctrine | ลัทธิไอเซนฮาวร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1957 ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความวิตกห่วงใยในสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่ออันตรายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้อ่านสารพิเศษต่อที่ประชุมร่วมระหว่างสภาผู้แทนกับวุฒิสภาขอร้องให้รัฐสภา สหรัฐฯ ลงมติรับรองโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางทหาร เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติของบรรดาประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการสนองตอบสารพิเศษดังกล่าว รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านข้อมติร่วมกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1957 มอบให้ประธานาธิบดีมีอำนาจให้ความร่วมมือและอำนวยความช่วยเหลือแก่ชาติหรือ กลุ่มชาติต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งต้องการความช่วยเหลือเช่นนั้น ในการที่จะพัฒนาพลังทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติตน และให้จัดโครงการช่วยเหลือทางทหารแก่ชาติต่างๆ ในภาคนั้นซึ่งต้องการความช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งได้มอบอำนาจให้ประธานาธิบดีสามารถใช้กองทัพสหรัฐฯ เข้าช่วยเหลือชาติเหล่านั้นที่แสดงเจตนาขอความช่วยเหลือ เพื่อต่อต้านการรุกรานจากประเทศใด ๆ ที่อยู่ใต้อำนาจควบคุมของคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศ [การทูต] |
Iron Curtain | ม่านเหล็ก เป็นศัพท์ที่อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ผู้ล่วงลับไปแล้ว คือ เซอร์วินสตัน เชอชิลล์ เป็นผู้บัญญัติขึ้นหมายถึงเครื่องกีดขวางปิดกั้นเขต ซึ่งโซเวียตรัสเซียและประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกไม่ยอมให้มีการ ติดต่อหรือเดินทางเข้าไปในอาณาเขตของประเทศดังกล่าว ที่เรียกกันว่า ประเทศหลังม่านเหล็ก เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองในระหว่างสงครามเย็น แต่ภายหลังที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ล่มสลาย ม่านเหล็กก็พลอยหมดสภาพไปในที่สุด [การทูต] |
Marshall Plan | แผนการมาร์แชล ในโอกาสวันประสาทปริญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1947 ยอร์ช ซี.มาร์แชล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สมัยนั้น ได้กล่าวอยู่ตอนหนึ่งในสุนทรพจน์ว่า?สหรัฐอเมริกาควรจะทำทุกอย่างเท่าที่จะ สามารถกระทำได้ เพื่อช่วยให้ดินแดนต่าง ๆ ในโลกได้กลับคืนสู่ภาวะปกติทางเศรษฐกิจ เพราะหากปราศจากภาวะดังกล่าว โลกก็จะไม่มีเสถียรภาพที่สถาพร นโยบายของสหรัฐฯ มิได้มุ่งจะเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศใดหรือลัทธิใด หากมุ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อความหิวโหย ความยากจน ความสิ้นหวัง และความยุ่งเหยิง การที่จะให้สหรัฐอเมริการับภาระในการจัดวางโครงการแต่ฝ่ายเดียว เพื่อช่วยให้ทวีปยุโรปสามารถช่วยตนเองทางเศรษฐกิจขึ้นใหม่ นับว่ายังไม่เหมาะสมและถูกต้องนัก ควรจะให้เป็นภาระหน้าที่ของชนชาวยุโรปทั้งหลายเอง บทบาทของสหรัฐฯ ควรจะเป็นเพียงผู้เสนอให้ความความช่วยเหลือฉันมิตร ในการร่างโครงการช่วยเหลือทวีปยุโรป และให้ความสนับสนุนแก่โครงการนั้น ตราบที่โอกาสจะเอื้ออำนวยต่อการกระทำเช่นนั้นได้?จากสุนทรพจน์ข้างต้น พอจะเข้าใจจุดประสงค์สำคัญของสหรัฐอเมริกาได้ไม่ยากว่า ไม่ต้องการให้ทวีปยุโรป ซึ่งกำลังอ่อนแอโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจหลังจากเสร็จสงครามใหม่ ๆ ต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจครอบงำของฝ่ายคอมมิวนิสต์นั่นเอง [การทูต] |
Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] |
New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] |
Potsdam Proclamation | คือคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม ออกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 โดยหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน ลงนามโดยประธานาธิบดีของรัฐบาลจีนคณะชาติ เป็นคำประกาศเมื่อตอนใกล้จะเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฝ่ายสัมพันธมิตรดังกล่าวกำลังทำสงครามขับเคี่ยวอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่น พึงสังเกตว่า สหภาพโซเวียต ในตอนนั้นมิได้มีส่วนร่วมในการออกคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดมแต่อย่างใดโดยแท้จริงแล้ว คำประกาศนี้เท่ากับเป็นการยื่นคำขาดให้ฝ่ายญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกเอาว่าจะทำ การสู้รบต่อไป หรือจะยอมจำนนเพื่อยุติสงคราม คำประกาศได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า หากญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะสู้รบต่อไป แสนยานุภาพอันมหาศาลของสัมพันธมิตรก็จะมุ่งหน้าโจมตีบดขยี้กองทัพและประเทศ ญี่ปุ่นให้แหลกลาญ แต่หากว่าญี่ปุ่นยอมโดยคำนึงถึงเหตุผล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ตั้งเงื่อนไขไว้หลายข้อ สรุปแล้วก็คือ ลัทธิถืออำนาจทหารเป็นใหญ่จะต้องถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปจากโลกอำนาจและอิทธิพล ของบรรดาผู้ที่ชักนำให้พลเมืองญี่ปุ่นหลงผิด โดยกระโจนเข้าสู่สงครามเพื่อครองโลกนั้น จะต้องถูกทำลายให้สิ้นซาก รวมทั้งพลังอำนาจในการก่อสงครามของญี่ปุ่นด้วยจุดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด จะต้องถูกยึดครองไว้จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของสัมพันธมิตรเป็นผล สำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นให้จำกัดอยู่เฉพาะภายในเกาะฮอนซู ฮ็อกไกโด กิวชู ชิโกกุ และเกาะเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด อาชญากรสงครามทุกคนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาล รวมทั้งที่ทำทารุณโหดร้ายต่อเชลยศึกของสัมพันธมิตร รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องกำจัดสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่เป็นอุปสรรคต่อการรื้อฟื้น และเสริมสร้างความเชื่อถือในหลักประชาธิปไตยในระหว่างพลเมืองญี่ปุ่น และจัดให้มีเสรีภาพในการพูด การนับถือศาสนา และในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมที่จะเกื้อกูลต่อภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถที่จะชำระค่าปฏิกรรมสงคราม แต่จะไม่ยอมให้คงไว้ซึ่งกิจการอุตสาหกรรมชนิดที่จะช่วยให้ญี่ปุ่นสร้างสม อาวุธเพื่อทำสงครามขึ้นมาอีก ในทีสุด กำลังทหารสัมพันธมิตรจะถอนตัวออกจากประเทศญี่ปุ่นในทันทีที่จุดประสงค์ต่าง ๆ ได้บรรลุผลเรียบร้อยแล้ว ในตอนท้ายของเงื่อนไข สัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เสียโดยไว [การทูต] |
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] |
protectionism | ลัทธิการคุ้มครองทางการค้า, Example: เป็นนโยบายที่มุ่งปกป้องสินค้าและบริการที่ผลิตภายในประเทศเพื่อมิให้ถูกแข่งขันจากสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศ รัฐบาลจะใช้มาตรการต่างๆ เพื่อกีดกันสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ตั้งกำแพงภาษี การกำหนดโควต้าการนำเข้า รวมทั้งการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ผู้ผลิตภายในประเทศ [เศรษฐศาสตร์] |
Existentialism | เอกซิสเทนเซียลิสม์, ลัทธิ, เอ็กซิสเทนเซียลิสม [การแพทย์] |
Indoctrination | การปลูกฝังลัทธิความเชื่อบางอย่าง [การแพทย์] |
Marx | ผู้นิยมลัทธิมาร์กซ์ [การแพทย์] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
ลัทธิ | [latthi] (n) EN: ideology ; faith ; doctrine FR: idéologie [ f ] ; doctrine [ f ] ; croyance [ f ] |
ลัทธิ- | [latthi-] (pref) EN: -ism (suff.) FR: -isme (suff.) |
ลัทธิชาฅินิยม | [latthi chāt niyom] (n, exp) EN: patriotism ; nationalism FR: patriotisme [ m ] ; nationalisme [ f ] |
ลัทธิชนชาติ | [latthi chon chāt] (n) EN: racism FR: racisme [ m ] |
ลัทธินายทุน | [latthi nāi thun] (n) EN: capitalism FR: capitalisme [ f ] |
ลัทธิปฏิรูป | [latthi patirūp] (n, exp) EN: reformism FR: réformisme [ m ] |
ลัทธิพฤติกรรม | [latthi phreuttikam] (n) EN: behaviourism FR: béhaviorisme [ m ] |
ลัทธิสังคมนิยม | [latthi sangkhomniyom] (n, exp) EN: socialism FR: socialisme [ m ] |
Longdo Approved EN-TH
civil disobedience | (n) ลัทธิดื้อแพ่ง/อารยะขัดขืน, เป็นการปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามกฎหมายบางมาตรา ด้วยเหตุผลที่ว่ากฎหมายนั้นๆ ไม่ชอบธรรม |
radicalism | (n) ลัทธิสุดโต่ง |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
activism | (n) ลัทธิที่ดำเนินการเพื่อให้บรรลุผลทางการเมือง |
anarchism | (n) ลัทธิที่เห็นว่าบ้านเมืองไม่ควรมีกฎหมายหรือรัฐบาล |
cult | (n) กลุ่มคนที่เชื่อในศาสนาหนึ่ง, See also: กลุ่มคนที่อยู่ในลัทธิ |
cult | (n) ศาสนา, See also: ลัทธิความเชื่อ, ลัทธิ |
deprogram | (vt) ทำให้หลุดพ้นจากอิทธิพลของคำสั่งสอนในลัทธิ, See also: ปลดเปลื้องให้พ้นจากคำสั่งสอนในลัทธิ, Syn. deprogramme |
fascism | (n) ลัทธิฟาสซิสต์, See also: ลัทธิชาตินิยมในอิตาลีก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง |
Hitler | (n) อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ จอมเผด็จการของเยอรมันและเป็น ผู้นำลัทธินาซี (ค.ศ.1889-1945) |
ideologic | (adj) เกี่ยวกับระบบความคิดอันเป็นรากฐานของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง, See also: เกี่ยวกับลัทธิ, เกี่ยวกับอุดมการณ์ |
ideological | (adj) เกี่ยวกับระบบความคิดอันเป็นรากฐานของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง, See also: เกี่ยวกับลัทธิ, เกี่ยวกับอุดมการณ์, Syn. theoretical, visionary |
imperialism | (n) ลัทธิจักรวรรดินิยม, See also: นโยบายล่าอาณานิคม, ลัทธิล่าอาณานิคม, Syn. colonialism |
irredentism | (n) ลัทธิสนับสนุนการเรียกร้องดินแดนคืน (ในอิตาลีปีค.ศ.1878) |
ism | (n) ลัทธิ |
isolationism | (n) ลัทธิการอยู่โดดเดี่ยว, See also: ลัทธิโดดเดี่ยว |
liberal | (adj) เกี่ยวกับลัทธิเสรีนิยม, See also: นิยมลัทธิเสรีนิยม |
liberalism | (n) ลัทธิเสรีนิยม, Syn. broad-mindedness |
Maoism | (n) ลัทธิเหมาเซตุง, See also: ลัทธิสังคมนิยมของเหมาเซตุงซึ่งยึดถือหลักการของมาร์กซิสและเลนิน, Syn. communism, Marxism-Leninism |
Marx | (n) คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) เป็นผู้ก่อตั้งลัทธิมาร์กซ์ |
marxian | (n) ผู้ยึดถือลัทธิมาร์กซ์ |
Marxism | (n) ลัทธิมาร์กซ์เป็นหลักเศรษฐกิจและการเมืองของคาร์ล มาร์กซ์ |
Marxist | (n) ผู้เลื่อมใสลัทธิมาร์กซ์, Syn. communist, socialist |
Marxist | (adj) เกี่ยวกับลัทธิมาร์กซ์ |
materialism | (n) วัตถุนิยม, See also: ลัทธิวัตถุนิยม, Syn. utilitarianism |
mechanist | (n) ผู้เชื่อในลัทธิวัตถุนิยม |
national socialism | (n) แนวความคิดของพรรคนาซี, See also: ลัทธินาซี, Syn. Nazism |
National Socialism | (n) แนวความคดของพรรคนาซี, See also: ลัทธินาซี, Syn. Nazism |
naturalism | (n) ธรรมชาตินิยม, See also: ลัทธิธรรมชาตินิยม, Syn. verisimilitude, realism |
Nazism | (n) ลัทธินาซี |
paganism | (n) ลัทธินอกศาสนา, Syn. heathenism |
perfectionism | (n) อุดมคตินิยม, See also: ลัทธิที่แสวงหาความสมบูรณ์แบบ, Syn. overniceness, fastidiousness |
pessimism | (n) ลัทธิมองโลกในแง่ร้าย |
polytheism | (n) ลัทธิหลายพระเจ้า, See also: การเชื่อในหลายพระเจ้า, Syn. paganism, pantheism, henotheism |
prayer wheel | (n) ธรรมจักรที่ใช้ในลัทธิมหายานในธิเบต |
purism | (n) ลัทธิบริสุทธิ์ |
radicalism | (n) ลัทธิที่ยึดหลักความรุนแรง, See also: ลัทธิหัวรุนแรง, นโยบาย, ความเชื่อที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสัง, Ant. conservatism |
Rastafarian | (n) ผู้นับถือลัทธิของศาสนาหนึ่งที่มีพฤติกรรมและการแต่งตัวเฉพาะตัว |
realism | (n) ลัทธินิยมความจริง |
religion | (n) ศาสนา, See also: ลัทธิความเชื่อ, Syn. mysticism, theism |
religiosity | (n) ความเลื่อมใสในลัทธิหรือศาสนา |
religiousness | (n) ความเลื่อมใสในลัทธิหรือศาสนา |
revisionism | (n) การปฏิรูปลัทธิของ Marx ใหม่ |
rightist | (adj) ซึ่งยึดถือลัทธิอนุรักษ์นิยม, Syn. right-wing |
rightist | (n) ผู้ถือลัทธิอนุรักษ์นิยม, Syn. conservative, right-winger |
sect | (n) นิกาย (ทางศาสนา), See also: กลุ่ม, พรรค, สำนัก, คณะ, ภาค, ลัทธิ, หมู่, เหล่า, Syn. group, division, party, branch, denomination |
sectarian | (adj) เกี่ยวกับนิกายย่อยๆ ในศาสนา, See also: เกี่ยวกับผู้ที่มีความเห็นทางศาสนาแตกต่างจากลัทธิหลัก, เกี่ยวกับนิกาย, Syn. denominational, sectional, factional |
surreal | (adj) เกี่ยวกับลัทธิศิลปะที่มุ่งแสดงสิ่งที่เหนือจริง, Syn. surrealistic |
surreal | (n) ลักษณะแบบลัทธิที่อยู่เหนือความจริง, Syn. surrealism |
asm | (suf) ภาวะ, See also: ระบบ, ลัทธิ |
ism | (suf) ภาวะ, See also: ระบบ, ลัทธิ |
Taoism | (n) ลัทธิเต๋า |
terrorism | (n) การใช้ความรุนแรงเพื่อข้อเรียกร้องทางการเมือง, See also: ลัทธิก่อการร้าย, Syn. disorder, lawlessness, nihilism |
Hope Dictionary
absolutism | (แอบ' โซทิส' ซึม) n . ลัทธิเบ็ดเสร็จหรือเผด็จการ. -absolutist n. |
acommodationism | (อะคิมโมเด' ชันนิสซึม) n. ลัทธิโอนอ่อนผ่อนตาม |
activism | (แอค' ทิฟวิซึม) n. ทฤษฎีที่ว่าความจริงคือการดำเนินการที่บริสุทธิ์โดยเฉพาะทางจิต, ทฤษฎีที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างจิตและวัตถุ การดำเนินการหรือขบวนการของจิต, ลัทธิดำเนินการเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง (essence of reality) |
adamite | (แอด' ดะไมทฺ) n. ผู้สืบเนื่องต่อมาจากอาดัม, มนุษย์, ผู้นิยมลัทธิเปลือยการหรืออาบแดด, นักอาบแดดเปลือยกาย. -adamitic, -adamitical adj. |
anarchism | (แอน' นะคิสซีม) n. ลัทธิที่เห็นว่าบ้านเมืองไม่ควรมีกฎหมายหรือรัฐบาล, ลัทธิไม่มีรัฐบาล, อนาธิปไตย |
antitheism | (แอนทีธี' อิสซีม) n. ลัทธิต่อต้านเทวนิยม |
associationism | (อะโซชีเอ'เชินนิสซึม) n. ลัทธิเชื่อมโยง -associationist adj., n. |
bill of rights | n. พระราชบัญญัติลัทธิและเสรีภาพของพลเมือง |
casualism | (แคซ'ซวลลิสซึม) n. ความเชื่อหรือลัทธิที่เชื่อว่าสิ่งต่าง ๆ เป็นไปโดยบังเอิญ, See also: casualist n. |
classicism | n. ลัทธิคลาสซิค, กฎเกณฑ์และลักษณะของคลาสซิค, Syn. classicalism |
collectivism | n. ลัทธิกรรมสิทธิร่วมกัน, ลัทธิส่วนรวม, , See also: collectivist n. collectivistic adj. |
commercialism | (คะเมอ'ชะลิสซึม) n. หลักการหรือวิธีการพานิชย์, ลัทธิการค้าเพื่อหวังผลกำไร, ลักษณะพ่อค้า, See also: commercialist n. ดูcommercialism commercialistic adj. ดูcommercialism |
communism | (คอม'มิวนิสซึม) n. ลัทธิคอมมิวนิสต์ |
communist | (คอม'มิวนิสทฺ) n. ผู้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์, สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์, สมาชิกของระบบคอมมูน commune) adj. เกี่ยวกับพรรคหรือลัทธิคอมมิวนิสต์, See also: communistic adj. |
confucianism | (คันฟิว'ชะนิสซึม) n. ลัทธิคำสอนของขงจื้อ -Confucianist n., adj. |
conservatism | (คันเซอ'วะทิสซึม) n. ลัทธิจารีตนิยม, ลัทธิอนุรักษ์นิยม |
conventionalism | (คันเวน'ช'?ะเนิลลิซึม) n. ลัทธิธรรมปฎิบัติ, การปฎิบัติตามจารีตประเพณีหรือประเพณีนิยม |
corporatism | (คอ'พะระทิศซึม) n. หลักการลัทธิหรือระบบการร่วมกันทางการเมือง |
credendum | (คริเดน'ดัม) n. ลัทธิที่ต้องการความเชื่อ, สิ่งที่เชื่อถือ -pl. credenda |
cult | (คัลทฺ) n. การบูชา, ลัทธิ, ศาสนา, ความคลั่งในศาสนา, พิธีปฎิบัติในศาสนาหรือลัทธิ, See also: cultism n. ดูcult cultist n. ดูcult, Syn. worship, devotion, clique |
cynic | (ซิน'นิค) n. ผู้ที่ชอบเยาะเย้ยถากถาง, See also: Cynic n. ลัทธิที่เชื่อว่าคุณความดีของมนุษย์นั้นอยู่ที่การควบคุมตัวเอง adj. ชอบเยาะเย้ยถากถางคนอื่น, Syn. pessimist |
cynicism | (ซิน'นิซิสซึม) ลัทธิเกลียดชังสังคมมนุษย์, See also: Cynicism ลัทธิของ Cynic, Syn. pessimism |
defeatism | (ดิฟีท'ทิสซึม) n. ลัทธิ , ยอมแพ้. |
dejure | (ดีจัว'รี) ตามกฎหมาย, ตามลัทธิ |
doctrinal | (ดอค'ทรินัล) adj. เกี่ยวกับทฤษฎี, เกี่ยวกับคำสั่งสอน, เกี่ยวกับลัทธิหรือศาสนา., See also: doctrinality n. ดูdoctrinal |
doctrine | (ดอค'ทริน) n. หลัก, ทฤษฎี, คำสั่งสอนศาสนา, ลัทธิ (tenet, dogma, precept) |
dogma | (ดอก'มะ) n. หลักเกณฑ์หรือกฎเกณฑ์ที่ไร้ข้อพิสูจน์, คำสอนของศาสนา, ลัทธิแบบศาสนา, คำสอนแบบกำปั้นทุบดิน, ความเชื่อ, สิทธันต์, Syn. tenet, doctrine |
dogmatism | (ดอก'มะทิสซึม) n. ลักษณะของคัมภีร์, การถือแต่หลักโดยไม่ดูความจริง, ความหยิ่งยโส, ลัทธิถือหลักเอง |
egoism | (เอก'โกอิสซึม, อี-) n. ลัทธิอัตตา, คตินิยมตน, ความเห็นแก่ตัว, ลัทธิเห็นแก่ตัว, See also: egoistic adj. ดูegoism egoistical adj. ดูegoism, Syn. egotism |
egress | (อี'เกรส) n. การออกไปข้างนอก, ลัทธิในการออก vi. (อิเกรส') ออก, ออกไป, See also: egression n. |
fascism | (แฟซ'ซิสซึม) n. ลัทธิชาตินิยมของรัฐบาลเผด็จการ มีลักษณะก้าวร้าวและแบ่งผิว |
fascist | (แฟช'ซิสทฺ) n. ผู้ยึดถือลัทธิfascism, ผู้เผด็จการ. adj. เกี่ยวกับลัทธิฟาสซิสท์., See also: fascistic adj. |
feudalism | (ฟิว'เดิลลิสซึม) n. ระบบศักดินา, วิธีการทางศักดินา, ลัทธิศักดินา. -feudalist n., See also: feudalistic adj. |
gandhi | (กาน'ดี) Magatma, มหาตมะคันธรัฐบุรุษของอินเดียผู้เป็นเจ้าของลัทธิอหิงสา (Gandhism) หรือลัทธิการขัดขวางโดยไม่ต่อสู้ |
gospel | (กอส'เพิล) n., adj. คำสั่งสอนหรือเรื่องราวของพระเยซูคริสต์, ลัทธิหรือความเชื่อที่มีความสำคัญมาก. |
humanism | (ฮิว'เมินนิสซึม) n. ลัทธิมนุษยธรรม, มานุษยวิทยา, นิสัยมนุษย์, ความรักเพื่อนมนุษย์ |
ideologic | (ไอดีอะลอจ'จิค, -เคิล) adj. เกี่ยวกับความนึกคิด, เกี่ยวกับลัทธิ, เกี่ยวกับมโนคติ. |
ideological | (ไอดีอะลอจ'จิค, -เคิล) adj. เกี่ยวกับความนึกคิด, เกี่ยวกับลัทธิ, เกี่ยวกับมโนคติ. |
ideologist | (ไอดีออล'ละจิสทฺ) n. นักคิด, ผู้เคร่งลัทธิ, นักลัทธิ, บุคคลที่ชอบคิดชอบฝัน |
imperialism | (อิมเพีย' เรียลลิสซึม) n. ลัทธิจักรวรรดินิยม, ลัทธิล่าอาณานิคม, การปกครองระบบจักรวรรดินิยม., See also: imperialist n. imperialistic adj. imperialistically adv. |
ism | (อิส'ซึม) n. ลัทธิ, ทฤษฎี, ระบบ, ความเชื่อ, วิชาการ, Syn. doctrine, theory, system |
lefitst | (เลฟ'ทิสทฺ) n. ผู้นิยมฝ่ายซ้าย, สมาชิกฝ่ายซ้าย (ผู้นิยมลัทธิสังคมนิยมหรือการปฏิรูประบบสังคม การเมืองหรือเศรษฐกิจ) ., See also: leftism n. |
left | (เลฟทฺ) adj. ซ้าย, ข้างซ้าย, ด้านซ้าย, มือซ้าย, ทางซ้าย, ปีกซ้าย, ฝ่ายซ้าย (นิยมลัทธิสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์) n. ด้านซ้าย, สิ่งที่อยู่ทางซ้ายมือ, การหันซ้าย, การเลี้ยวซ้าย adv. ไปทางซ้าย v. กริยาช่อง 2 และช่อง 3 ของ leave (จากไป, ลาจาก) -Phr. (the Left ผู้นิยมการปฏิรูประบบการเมืองสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ, หมัดซ้าย |
leftist | (เลฟ'ทิสทฺ) n. ผู้นิยมฝ่ายซ้าย, สมาชิกฝ่ายซ้าย (ผู้นิยมลัทธิสังคมนิยมหรือการปฏิรูประบบสังคม การเมืองหรือเศรษฐกิจ) ., See also: leftism n. |
macrobiotics | (แมคโรไบออท'ทิคซฺ) n. ศิลปหรือวิชาที่ทำให้มีชีวิตยืนนาน (โดยเฉพาะลัทธิการกินเจหรือกินแต่พืชผัก) |
maoism | (เมา'อิสซึม) n. ลัทธิเมาเซตุง |
marxism | (มาร์ค'ซิสซึม) n. ลัทธิของคาร์ลมาคซ์ที่เกี่ยวกับการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ เป็นลัทธิเจ้าตำรับของระบบคอมมิวนิสต์, See also: Marxist n., adj. |
materialism | (มะเทีย'เรียลลิสซึม) n. ลัทธิวัตถุนิยม, ลัทธิเห็นแก่เงินทอง, ลัทธิเห็นแก่เงินทอง, ลัทธิยึดถือความสุขทางกาย |
materialist | (มะเทีย'เรียลลิสทฺ) n. ผู้ยึดถือเอาวัตถุเป็นสำคัญ, ผู้ยึดถือลัทธิ'materialism, See also: marterialistic adj. maeterialistically adv. |
mechanism | (เมค'คะนิสซึม) n. ระบบเครื่องกลไก, เครื่องกลไก, กลวิธาน, วิธีการ, โครงสร้าง, ลัทธิวัตถุนิยม, กระบวนการและปฏิกิริยาของแรงจิต., See also: mechanismic adj. mechanist n. mechanistic adj. |
Nontri Dictionary
abolitionist | (n) ผู้นิยมลัทธิการล้มเลิก |
anarchy | (n) อนาธิปไตย, ลัทธิไม่มีรัฐบาล |
apostle | (n) สาวก, ผู้เผยแพร่ศาสนา, ผู้เผยแพร่ลัทธิ |
capitalism | (n) ลัทธินายทุน, ระบบทุนนิยม |
colonialism | (n) ลัทธิล่าอาณานิคม, ลัทธิล่าเมืองขึ้น |
communism | (n) ลัทธิคอมมิวนิสต์ |
communist | (n) ผู้นับถือลัทธิคอมมิวนิสต์ |
conservatism | (n) ลัทธิจารีตนิยม, ลัทธิอนุรักษ์นิยม |
creed | (n) ลัทธิ, หลักความเชื่อ, ข้อบัญญัติศาสนา |
despotism | (n) ลัทธิสมบูรณาญาสิทธิราช, อำนาจเผด็จการ, ระบอบเผด็จการ |
doctrine | (n) หลักคำสอน, วินัย, ลัทธิ, ศาสนา |
dogma | (n) กฎเกณฑ์, หลักเกฎท์, ความเชื่อ, คำสอน, ลัทธิศาสนา |
dogmatism | (n) ลัทธิถือหลักตนเอง, ความหยิ่งยโส, ความดื้อรั้น |
egoism | (n) ความเห็นแก่ตัว, ลัทธิอัตตานิยม, คตินิยมตนเอง |
ideology | (n) ลัทธิ, มโนคติวิทยา |
imperialism | (n) ลัทธิจักรวรรดินิยม |
individualism | (n) การปลีกตัวอยู่ลำพัง, การเชื่อถือในลัทธิปัจเจกชน |
individualist | (n) คนปลีกตัวอยู่ลำพัง, ผู้เชื่อถือในลัทธิปัจเจกชน |
Judaism | (n) ลัทธิยิว |
liberalism | (n) ลัทธิเสรีนิยม |
materialism | (n) ลัทธิวัตถุนิยม |
materialistic | (adj) เป็นรูปธรรม, มีตัวตน, ซึ่งถือลัทธิวัตถุนิยม |
militarism | (n) ลัทธิทหาร, ความชอบทางทหาร |
militarist | (n) ผู้นิยมลัทธิทหาร, นักการทหาร |
nationalism | (n) ลัทธิชาตินิยม, ความรักชาติ |
oligarchy | (n) การปกครองลัทธิคณาธิปไตย |
pacifism | (n) ลัทธิอหิงสา, ลัทธิต่อต้านความรุนแรง |
paganism | (n) ลัทธินอกศาสนา |
pantheism | (n) ลัทธิเชื่อว่ามีพระเจ้าอยู่ทุกแห่ง |
patriotism | (n) ลัทธิชาตินิยม, ความรักชาติ |
proselyte | (n) ผู้เปลี่ยนศาสนา, ผู้เปลี่ยนลัทธิ |
proselyte | (vt) ทำให้เปลี่ยนใจ, ทำให้เปลี่ยนศาสนา, ทำให้เปลี่ยนลัทธิ |
protestant | (n) ผู้นับถือลัทธิโปรเตสแตนต์, ผู้ประท้วง, ผู้คัดค้าน |
provincialism | (n) ลัทธิท้องถิ่น |
radicalism | (n) ลัทธินิยมความรุนแรง |
realism | (n) ลัทธินิยมความจริง, ความเป็นจริง, ลักษณะเหมือนจริง |
socialism | (n) ลัทธิสังคมนิยม |
spiritualism | (n) ลัทธิเชื่อผี |
terrorism | (n) การทำให้ตกใจกลัว, ลัทธิก่อการร้าย |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
antidisestablishmentarianism | [แอนตี้ดิสเอสตาบลิชเมนทาเรียนิซึ่ม] (n) กลุ่มต่อการการไม่สนับสรุนการก่อตั้งลัทธิ |
antitheism | (n) ลัทธิต่อต้านเทวนิยม |
antitheist | (n) ผู้ต่อต้านลัทธิเทวนิยม |
Dominican | (n) ลัทธิโดมินิกัน |
Goddism | (n) ศาสนาที่รักเทิดทูน, ศาสนาเเห่งความรักของพระเจ้ากับมนุษยชาติ, ลัทธิความเชื่อที่เกี่ยวกับความรักของพระเจ้า |
neoliberalism | (n) ลัทธิเสรีนิยมใหม่ |
Vaishnavism | (n) ไวษณพนิกาย, ลัทธิไวษณพ, นิกายในศาสนาฮินดูที่นับถือพระวิษณุเป็นพระเจ้าสูงสุด |
Vaishnavism | (n) ไวษณพนิกาย, ลัทธิไวษณพ, นิกายในศาสนาฮินดูที่นับถือพระวิษณุเป็นพระเจ้าสูงสุด |
Longdo Approved DE-TH
optimistisch | (adj, adv) ซึ่งมองในแง่ดี, ซึ่งมองโลกในแง่ดี, เกี่ยวกับลัทธิเบิกบานใจ, โดยคาดหวังสิ่งที่ดี, See also: A. pessimistisch |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.038 seconds, cache age: 6.927 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม