*ภาคี* แปลว่าอะไร ดูความหมาย ตัวอย่างประโยค หมายความว่า พจนานุกรม Longdo Dictionary แปลภาษา คำศัพท์
×
Dictionaries languages







English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


142 ผลลัพธ์ สำหรับ *ภาคี*
ภาษา
หรือค้นหา: ภาคี, -ภาคี-

มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ภาคี(n) member, See also: participant, party, adherent, Syn. กลุ่ม, พรรค, ฝ่าย, แนวร่วม, พวก, Example: ประเทศไทยมิได้เป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์, Thai Definition: ผู้มีส่วน, ผู้เป็นฝ่าย
ภาคี(adj) associate, Syn. กลุ่ม, พรรค, ฝ่าย, แนวร่วม, พวก, Example: องค์การสหประชาชาติได้จัดให้มีวันสิทธิมนุษยชนขึ้น และชักชวนประเทศภาคีสมาชิกให้เฉลิมฉลองวันนี้เป็นพิเศษ, Thai Definition: ผู้มีส่วน, ผู้เป็นฝ่าย
ทวิภาคี(n) bilateralness, Syn. สองฝ่าย, Example: ไทยสามารถคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งในระดับทวิภาคี กับมาเลเซีย ได้หลายประการ
ทวิภาคี(n) bilateral contract made by 2 nations, Syn. สัญญาทวิภาคี, Example: โดยทั่วไปแล้ว สัญญาทวิภาคีที่ทำขึ้นในช่วงแรกนี้ เป็นไปตามสัญญาพหุภาคีที่ทำไว้, Count Unit: ฉบับ, Thai Definition: สัญญาระหว่างประเทศที่มีคู่สัญญา 2 ฝ่าย
พหุภาคี(adj) multilateral, Example: ในปี 1948 สหรัฐอเมริกาได้ทำการเจรจาพหุภาคีกับประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันตก ภายใต้แผนการมาร์แชลล์, Thai Definition: สนธิสัญญาที่มีคู่สัญญาหลายฝ่าย
เอกภาคี(n) unilateral country, See also: single country, Thai Definition: ฝ่ายเดียว หมายถึงประเทศที่ปลีกตัวปฏิบัติการทางการเมืองเป็นต้นโดยลำพัง ไม่มีประเทศอื่นร่วม หรือรับรู้ด้วย
ไตรภาคี(n) tripartite, Syn. สนธิสัญญาไตรภาคี, Thai Definition: สนธิสัญญาที่มีคู่สัญญา 3 ฝ่าย
ไตรภาคี(n) tripartite, Syn. 3 ฝ่าย, Example: การลงนามร่วมกันระหว่างไตรภาคีสำเร็จลุล่วงไปแล้ว

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ไตรภาคีน. ๓ ฝ่าย
ไตรภาคีเรียกสนธิสัญญาที่มีคู่สัญญา ๓ ฝ่าย ว่า สนธิสัญญาไตรภาคี.
ทวิภาคีว. ๒ ฝ่าย.
ทวิภาคีน. เรียกสัญญาระหว่างประเทศที่มีคู่สัญญา ๒ ฝ่าย ว่า สัญญาทวิภาคี.
พหุภาคีว. หลายฝ่าย.
พหุภาคีน. เรียกสนธิสัญญาที่มีคู่สัญญาหลายฝ่ายว่า สนธิสัญญาพหุภาคี.
ภาคีน. ผู้มีส่วน, ผู้เป็นฝ่าย.
ภาคียะว. ควรแบ่งเป็นส่วน, เป็นส่วน.
เอกภาคี(เอกะ-, เอกกะ-) น. ฝ่ายเดียว หมายถึงประเทศที่ปลีกตัวปฏิบัติการทางการเมืองเป็นต้นโดยลำพัง ไม่มีประเทศอื่นร่วมหรือรับรู้ด้วย.
ภาคยานุวัติ(พากคะยานุวัด) น. การเข้าเป็นภาคีในสัญญาหลายฝ่ายหรือพหุภาคี หรือในสนธิสัญญาระหว่างชาติ.

ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
party, high contractingอัครภาคีผู้ทำสัญญา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
party๑. พรรค (การเมือง)๒. ภาคี, คู่กรณี, คู่ความ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
signatory๑. ประเทศภาคีสนธิสัญญา (ก. ระหว่างประเทศ)๒. ผู้เป็นฝ่ายในสัญญา (ก. แพ่ง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
adhesionการเข้าร่วมเป็นภาคี (ในสนธิสัญญา) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
adhesion; adherenceการเข้าร่วมเป็นภาคี (ในความตกลง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
agreement, bilateralความตกลงทวิภาคี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
adherence; adhesionการเข้าร่วมเป็นภาคี (ในความตกลง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
bilateralทวิภาคี [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
bilateral agreementความตกลงทวิภาคี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
bilateral agreementความตกลงทวิภาคี [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
bipartiteสองฝ่าย, ทวิภาคี [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
multilateralพหุภาคี, หลายฝ่าย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
multilateral treatyสนธิสัญญาพหุภาคี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
multilateral treatyสนธิสัญญาพหุภาคี [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
four partiesจตุภาคี, จตุรภาคี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
treaty, multilateralสนธิสัญญาพหุภาคี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
trilateral commissionคณะมนตรีไตรภาคี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
trilateralismไตรภาคีนิยม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
tripartiteไตรภาคี [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
high contracting partyอัครภาคีผู้ทำสัญญา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Bilateral aidความช่วยเหลือแบบทวิภาคี [เศรษฐศาสตร์]
Bilateral payments arrangementการจัดการชำระเงินแบบทวิภาคี [เศรษฐศาสตร์]
Bilateral trade agreementความตกลงทางการค้าแบบทวิภาคี [เศรษฐศาสตร์]
Multilateral Investment Guarantee Agencyสำนักประกันการลงทุนพหุภาคี [เศรษฐศาสตร์]
Doha Development Agenda (2001-)การเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮา [TU Subject Heading]
Accessionการภาคยานุวัติ คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติ พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชา ชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก [การทูต]
Australia-New Zealand-USสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์-สหรัฐอเมริกา " โดยตกลงให้มีการช่วยเหลือประเทศสมาชิกเมื่อถูกคุกคามจากประเทศนอกภาคี ปัจจุบัน ANZUS ยังคงสถานะอยู่แต่ไม่มีการดำเนินการใด ๆ (non-operational) เนื่องจากความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับนิวซีแลนด์ยุติลง โดยนิวซีแลนด์ยังไม่ละทิ้งสนธิสัญญา ดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าอาจจะมีการรื้อฟื้นขึ้นอีก " [การทูต]
Approbationการที่รัฐหนึ่งใดมีทัศนคติในทางพึงพอใจและเห็น พ้องด้วยกับบทบัญญัติในสนธิสัญญาหนึ่งใด ซึ่งรัฐนั้นมิได้เป็นภาคีคู่สัญญานั้นแต่อย่างใด [การทูต]
ASEAN Regional Forumการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต]
ASEAN Senior Officials on the Environmentเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม " ประกอบด้วยผู้แทนระดับปลัดกระทรวง มีหน้าที่ดูแลความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และกับประเทศและองค์กรอื่น ๆ มีการประชุมปีละครั้ง แยกเป็น 1 คณะผู้เชี่ยวชาญและ 3 คณะทำงาน ซึ่งได้แก่ (1) คณะทำงานเฉพาะกิจทางเทคนิคด้านปัญหาหมอกควัน (2) คณะทำงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมชายฝั่งและทางทะเล (3) คณะทำงานอาเซียนเกี่ยวกับความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม และ (4) คณะทำงานอาเซียนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ " [การทูต]
bilateralismระบบทวิภาคี [การทูต]
Convention on Elimination of All Forms of Discrimination Against Womenอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2522 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2527 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบและเพื่อความ เสมอภาคระหว่างสตรีและบุรุษในทุกด้าน ขณะนี้มีประเทศต่าง ๆ เป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว 167 ประเทศ (ข้อมูลถึงกรกฎาคม 2543) ไทยยังคงมีข้อสงวนอีก 2 ข้อ ในอนุสัญญาฯ คือ ข้อ 16 เรื่องความเสมอภาคในด้านครอบครัวและการสมรส และ ข้อ 29 เรื่องการระงับการตีความ การระงับข้อพิพาท โดยรับอนุญาโตตุลาการ [การทูต]
Congress of Viennaเป็นการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญในยุโรป ได้จัดให้มีขึ้นหลังจากเสร็จสงครามนโปเลียน (กันยายน ค.ศ. 1814 ? มิถุนายน ค.ศ. 1815) ประเทศที่ร่วมการประชุมมี ออสเตรีย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัฐสันตะปาปา ปรัสเซีย และรัสเซีย ภาระหน้าที่สำคัญของการประชุม คือ การปักปันเขตแดนกันใหม่ และจัดให้ราชวงศ์เก่าแก่กลับฟื้นคืนมาใหม่ ทั้งในประเทศฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และเยอรมนี สหภาพแห่งนอร์เวย์ และสวีเดน สหภาพแห่งเบลเยี่ยม และฮอลแลนด์ พร้อมทั้งกำหนดให้สวิตเซอร์แลนด์ มีฐานะเป็นประเทศเป็นกลางถ้ามองในแง่การทูต ผลสำเร็จสำคัญที่สุดจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาคือ ข้อมติกำหนดลำดับอาวุโสของคณะผู้แทนทางการทูต โดยถือหลักอาวุโสไม่ว่าในตำแหน่งใด แทนที่จะถือตามสถานภาพและความสำคัญของกษัตริย์อย่างแต่ก่อน รวมทั้งจัดประเภทของนักการทูต ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (ตามระเบียบที่วางขึ้นใหม่ต่อมาในการประชุม ณ Aix-la-Chapelle ได้แก่1) เอกอัครราชทูต (Ambassadors) ตัวแทนขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal legates) และหัวหน้าคณะทูตของสมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncios)2) ผู้แทนทางการทูตผู้มีอำนาจพิเศษ (Envoys Extra-ordinary) และเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม (Ministers Plenipotentiary) อินเตอร์นันสิโอของสมเด็จพระสันตะปาปา3) อัครราชทูตผู้มีถิ่นประจำ (Ministers Resident)4) อุปทูต (Chargé d?affaires)คองเกรสแห่งเวียนนายังวางระเบียบเกี่ยวกับเรื่องการจัดลำดับ อาวุโสของบุคคลในคณะทูต ซึ่งชาติต่าง ๆ ได้ลงนามรับรองในสนธิสัญญาพาหุภาคีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว [การทูต]
Convention on the Rights of the Childอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ได้รับการรับรองจากสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2532 โดยอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2533 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อคุ้มครองสิทธิของเด็ก (บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี) เพื่อให้ได้รับการศึกษา การดูแล ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือกระทำทารุณกรรม ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่เป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว 191 ประเทศ คงเหลือโซมาเลียและสหรัฐอเมริกาที่ยังมิได้ให้สัตยาบัน ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กด้วยการภาคยานุวัติ อนุสัญญาฯ มีผลปังคับใช้กับประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2535 ขณะนี้ไทยยังคงมีข้อสงวน 2 ข้อ คือ ข้อ 7 เรื่องสัญชาติ และ ข้อ 22 เรื่องการให้สถานะเป็นผู้ลี้ภัย [การทูต]
Declarationคำประกาศ หรือ ปฏิญญา ตามความเห็นของผู้ทรงคุณความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนมากได้ให้ความเห็นว่า คำนี้มีความหมายต่างกันอยู่สามประการ คือประการแรก ใช้เป็นชื่อเรียกข้อกำหนดต่าง ๆ ของสนธิสัญญา กล่าวคือ ตามสนธิสัญญานี้ ภาคีคู่สัญญารับที่จะปฏิบัติตามแนวทางบางประการในอนาคตประการที่สอง เป็นคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่รัฐอื่นๆ เช่น คำประกาศสงครามประการสุดท้าย หมายถึง การกระทำซึ่งรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐได้ติดต่อแจ้งไปยังรัฐอื่น ๆ ซึ่งเป็นการอธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนพฤติกรรมของฝ่ายตนในอดีต หรืออธิบายทรรศนะและเจตจำนงเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่อง คำประกาศสำหรับความหมายสองประการหลังไม่ถือว่ามีลักษณะเป็นสนธิสัญญาอนึ่ง ในกรณีคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) นั้น บางทีรัฐหนึ่งต้องการเสนอนโยบายหรือหนทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งของตน โดยประกาศนโยบายหรือหนทางปฏิบัตินั้นไปให้รัฐอื่นๆ ทราบกันไว้ อาทิเช่น ลัทธิมอนโร (Monroe Doctrine) ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศออกไปในรูปคำประกาศถ่ายเดียว เป็นต้น [การทูต]
deposit the instrument of ratificationมอบสัตยาบันสารไว้กับตัวกลางหรือประเทศภาคีหนึ่งใดที่ตกลงกัน [การทูต]
Genocideการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต]
Gorbachev doctrineนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต]
high contracting partiesอัครภาคีผู้ทำสัญญา [การทูต]
International Covenant on Civil and Political Rightsกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน 1 ใน 2 ฉบับ ซึ่งแปรข้อบทในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 มีผลใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2519 ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540 [การทูต]
International Covenant on Economic, Social and Cultural Rightsกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม " เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน 1 ใน 2 ฉบับ ซึ่งแปรข้อบทในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 มีผลใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2519 ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2542 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 " [การทูต]
International Court of Justiceศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต]
intervention1. การเข้าแทรกแซง 2. การเข้าร่วมอภิปราย การเข้าร่วมกล่าวถ้อยแถลง (ใช้ในกรณีการประชุมพหุภาคี) [การทูต]
Joint Commissionคณะกรรมาธิการร่วม " เป็นกลไกความร่วมมือในระดับทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก JC มีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน วัฒนธรรม และสังคม โดยแต่ละฝ่ายจะสลับกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม ซึ่งอาจมีขึ้นปีละครั้งหรือ 2-3 ปีต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสะดวกของทั้งสองฝ่าย JC อาจมีกลไกย่อยหรือคณะกรรมการภายใต้ JC เพื่อกำกับดูแลเฉพาะเรื่องหรือมีคณะกรรมการในระดับส่วน ภูมิภาค เช่น ไทยกับมาเลเซียมีคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee - GBC) มีบทบาทในการดูแลความร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคงบริเวณชายแดน และมีคณะกรรมการจัดทำหลักเขตแดนทางบก (Land Boundary Committee - LBC) เพื่อดูแลการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างประเทศทั้งสอง นอกจากนั้น ยังมีคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee - JTC) ระหว่างไทยกับบางประเทศ เป็นกลไกเพื่อส่งเสริมการค้าและขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน " [การทูต]
multilateralismระบบพหุภาคี [การทูต]
North Atlanitc Treaty Organizationองค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต]
Nuclear Test Banหมายถึง สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งในบรรยากาศ ในอวกาศ และใต้น้ำ สนธิสัญญาฉบับนี้ได้มีผลบังคับเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1963 ประเทศที่ลงนามเริ่มแรกในสนธิสัญญาได้แก่ อังกฤษ สหภาพโซเวียต และ สหรัฐอเมริกา รวมสามประเทศจุดมุ่งหมายสำคัญของสนธิสัญญาคือ รัฐบาลของประเทศทั้งสาม ต้องการให้มีการทำความตกลงกันเป็นผลสำเร็จเกี่ยวกับการลดอาวุธ หรือปลดกำลังอาวุธทั้งหมดโดยสิ้นเชิง ภายใต้การควบคุมระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด ตามความมุ่งประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งต้องการให้ยุติหรือเลิกการแข่งขันกันสะสมอาวุธ และกำจัดมิให้มีเหตุจูงใจที่จะผลิตและทดสอบอาวุธไม่ว่าชนิดใดทั้งหมด รวมทั้งอาวุธนิวเคลียร์ด้วย นอกจากนี้ ยังเสาะแสวงหาที่จะให้หยุดการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ไปตลอดชั่วกาลนานสนธิ สัญญานี้มีข้อความอยู่ 5 มาตรา และไม่จำกัดอายุเวลา ทั้งยังเปิดโอกาสให้ประเทศอื่น ๆ ทั้งหลายเข้าร่วมลงนามเป็นภาคีได้ ในทางตรงกันข้าม ประเทศภาคีก็มีสิทธิใช้อธิปไตยแห่งชาติได้เพื่อถอนตัวจากสนธิสัญญา ถ้าหากประเทศนั้น ๆ เห็นว่า ประโยชน์อันสูงสุดของประเทศตนต้องตกอยู่ในอันตราย และแจ้งล่วงหน้าสามเดือนให้ประเทศภาคีอื่น ๆ ทั้งหมดทราบการตกลงใจนั้น [การทูต]
Open Diplomacyคือการทูตแบบเปิดเผย อดีตประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นบุคคลที่สนับสนุนและเผยแพร่วิธีการทูตแบบเปิดเผยอย่างเต็มที่ หวังจะให้ชุมชนนานาชาติพร้อมใจกันสนับสนุนการทูตนี้เช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1918 วูดโรว์ วิลสัน ได้ประกาศให้โลกทราบนโยบายของท่าน 14 ข้อ ข้อหนึ่งในจำนวนนั้นท่านปรารถนาว่า ในอนาคตประเทศต่าง ๆ ควรจะทำความตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องสันติภาพอย่างเปิดเผย และต่อไปไม่ควรจะมีการเจรจาทำความตกลงระหว่างประเทศแบบลับเฉพาะอย่างใดทั้ง สิ้นแม้ว่าโดยทั่วไปจะเห็นพ้องด้วยกับนโยบายข้อแรกของ วูดโรว์ วิลสัน คือ ความตกลงหรือสนธิสัญญาใด ๆ เมื่อตกลงเสร็จสิ้นแล้ว ให้ประกาศเปิดเผยให้โลกทราบ แต่สำหรับข้องสองคือการเจรจาในระหว่างทำสนธิสัญญาให้กระทำกันอย่างเปิดเผย นั้น ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะเห็นว่าลำพังการเจรจานั้น โดยสารัตถะสำคัญแล้วควรจะถือเป็นความลับไว้ก่อนจนกว่าจะเสร็จการเจรจา ทั้งนี้ เซอร์เดวิด เคลลี่ อดีตนักการทูตอังกฤษเคยให้ทรรศนะว่า การทูตแบบเปิดเผยนั้นเป็นถ้อยคำที่ขัดกันในตัว คือหากกระทำกันอย่างเปิดเผยเสียแล้วก็ไม่ใช่การทูตเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาตรา 102 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติว่า ?1. สนธิสัญญาทุกฉบับ และความตกลงระหว่างประเทศทุกฉบับ ซึ่งสมาชิกใด ๆ แห่งสหประชาชาติได้เข้าเป็นภาคี ภายหลังที่กฎบัตรปัจจุบันได้ใช้บังคับ จักต้องจดทะเบียนไว้กับสำนักเลขาธิการโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจักได้พิมพ์ขึ้นโดยสำนักงานนี้ 2. ภาคีแห่งสนธิสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่าใด ซึ่งมิได้จดทะเบียนไว้ตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งข้อนี้ ไม่อาจยกเอาสนธิสัญญาหรือความตกลงนั้น ๆ ขึ้นกล่าวอ้างต่อองค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติ? [การทูต]
Organization of European Economic Cooperationคือองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป สัญญาที่ก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1948 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี โดยแม่ทัพของฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาที่ประจำอยู่ในเขตยึดครองในเยอรมนี (หลังเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง)จุดประสงค์สำคัญที่สุดขององค์การนี้คือ ต้องการให้ทวีปยุโรปมีภาวะเศรษฐกิจกลับคืนมาใหม่อย่างมั่นคง ด้วยการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก สำนักงานใหญ่ขององค์การนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสอย่างไรก็ดี บัดนี้ได้มีองค์การตั้งขึ้นใหม่แทนองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป เรียกว่า องค์การร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Cooperation and Development ) หรือ OECD สำหรับสัญญาจัดตั้งองค์การโอดีซีดีนี้ ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1961จุดประสงค์สำคัญขององค์การโออีซีดี มีดังนี้1. เพื่อให้บรรดาประเทศสมาชิกได้มีความเติบโตทางเศรษฐกิจ มีแรงงาน อาชีพ และมาตรฐานการครองชีพให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาเสถียรภาพทางการคลังไว้เพื่อเป็นการเกื้อกูลต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจของโลก2. ระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ให้ประเทศสมาชิกมีโอกาสขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง รวมทั้งในประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกด้วย3. ต้องการมีส่วนเกื้อกูลต่อการขยายตัวทางการค้าในรูปพหุภาคี และปราศจากการกีดกันแต่อย่างใด ตามพันธกรณีระหว่างประเทศองค์การสำคัญในองค์การโออีซีดีคือคณะมนตรี ( Council ) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด มีคณะกรรมการบริหารรวมทั้งเลขาธิการ สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต]
Pacific Charterคือกฎบัตรแปซิฟิค ซึ่งประกาศ ณ กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ในโอกาสที่มีการตกลงกันทำสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Southeast Asia Defense Treaty-SEATO ) ประเทศที่ลงนามเป็นภาคีในสนธิสัญญา คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาสาระสำคัญในสนธิสัญญาดังกล่าว หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า SEATO (ซีโต้) นั้นคือ ทุกประเทศภาคีจะร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้พลเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมาตรฐานการครอง ชีพสูงขึ้น มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และมีสวัสดิภาพสังคมที่ดี แต่จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดคามสนธิสัญญาคือ บรรดาประเทศภาคีตกลงที่จะป้องกันหรือตอบโต้ความพยายามใด ๆ ที่จะล้มล้างเสรีภาพที่มีอยู่ในเขตสนธิสัญญา หรือทำลายอธิปไตยหรือบูรณภาพแห่งเขตแดนของประเทศภาคี พูดอย่างสั้น ๆ ก็คือฝ่ายโลกเสรีอันมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ต้องการกีดกันมิให้ประเทศฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้าไปมีอำนาจครอบงำดินแดนเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างสงครามเย็น (Cold War ) โดยวิธีรุกรานหรือวิธีอื่นใดก็ตาม [การทูต]
Southeast Asia Collective Defense Treaty (Mahila Pact)สนธิสัญญาซีโต้ สนธิสัญญานี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญามีประเทศออสเตรเลีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ประเทศไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สนธิสัญญาได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955ในภาคอารัมภบทของสัญญานี้ บรรดาประเทศสมาชิกต่างแสดงความปรารถนาที่จะประสานความพยายามของตนที่จะ ป้องกันร่วมกัน เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง โดยเฉพาะข้อ 4 ของสนธิสัญญาเป็นข้อสำคัญที่สุด คือ แต่ละประเทศภาคีคู่สัญญาตกลงเห็นพ้องกันว่า หากดินแดนของประเทศใดถูกรุกรานจาการโจมตีด้วยกำลังอาวุธ ประเทศภาคีทั้งหมดที่เหลือจะถือว่าเป็นอันตรายร่วมกัน และจะปฏิบัติการเพื่อเผชิญหน้ากับอันตรายร่วมกัน หรือถ้าหากพื้นที่ภายในเขตครอบคลุมของสนธิสัญญาถูกคุกคามด้วยประการใด ๆ ประเทศภาคีทั้งหมดจะปรึกษากันในทันที เพื่อตกลงในมาตรการเพื่อการป้องกันร่วมกันสำนักงานใหญ่ขององค์การซีโต้ตั้ง อยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยที่สถานการณ์ทางการเมืองของโลกได้เปลี่ยนไปมากทำให้องค์การซีโต้หมดความ จำเป็น และได้ยุบเลิกไปนานแล้ว [การทูต]
Security Council of the United Nationsคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ [การทูต]
sponsoring state partiesรัฐภาคีผู้อุปถัมภ์ [การทูต]
Treaty of Amity and Cooperationสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ " เป็นสนธิสัญญาที่จัดทำขึ้นโดยอาเซียนเมี่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อกำหนด หลักการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาค โดยมีหลักการที่สำคัญได้แก่ การเคารพในอำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียมกัน บูรณภาพแห่งดินแดน การไม่แทรกแซงกิจการภายใน การแก้ไขปัญหาโดยสันติ การไม่ใช้หรือขู่ว่าจะใช้กำลัง และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน รวมทั้งมีมาตราเกี่ยวกับแนวทางยุติความขัดแย้งโดยสันติวิธี โดยอาศัยกลไกคณะอัครมนตรี (High Council) ปัจจุบันประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ เป็นภาคีสนธิสัญญาฯ " [การทูต]
to be a party to a conventionเป็นภาคีแห่งอนุสัญญา [การทูต]
Vienna Convention on Consular Relationsอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1961 สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ตกลงให้จัดการประชุมระหว่างผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม จากประเทศสมาชิก เพื่อทำหน้าที่พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล และได้ประชุมกัน ณ กรุงเวียนนา เมื่อต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 1963 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ถึงวันที่ 22 เมษายน มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม เป็นจำนวน 92 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ส่วนประเทศโบลิเวีย กัวเตมาลา ปละปารากวัย ได้เข้าร่วมประชุมด้วยในฐานะผู้สังเกตการณ์ (Observers)มีข้อน่าสังเกตว่า ในข้อ 73 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอนุสัญญานี้ว่า จะไม่มีผลกระทบต่อความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้บังคับระหว่างรัฐภาคีแห่งความตกลงดังกล่าว และไม่มีข้อความใดในอนุสัญญานี้ที่จะตัดหนทางของรัฐในการทำความตกลงระหว่าง ประเทศ เพื่อยืนยันหรือเติมต่อหรือยืดขยายบทแห่งอนุสัญญานี้ออกไปอีก [การทูต]
Ad hoc Group on Article 13(คณะกรรมการ) ที่จัดตั้งโดยที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ สมัยแรก, (คณะกรรมการ) ที่จัดตั้งโดยที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ สมัยแรก เพื่อหาทางช่วยเหลือรัฐบาลที่เกี่ยวข้องในการขจัดอุปสรรคที่อาจประสบในการดำเนินการตามพันธกรณี [Climate Change]

ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
...these schools for a series of manticore contests การประลองเวทต์ไตรภาคี Harry Potter and the Goblet of Fire (2005)
...Wizzard champion. การแข่งขันเวทไตรภาคี Harry Potter and the Goblet of Fire (2005)
But his rules if we're truly discover the meaning of the Triwizard... แต่กฎของเขา... ถ้าเราค้นหาความหมายที่แท้จริงของการแข่งเวทไตรภาคีนี้ Harry Potter and the Goblet of Fire (2005)
'Harry Potter, H12, suspect entrance for the Triwizard Tournament.' แฮรี่ พอตเตอร์, อายุ12, ได้รับเลือกให้เข้าแข่งกันการประลองเวทไตรภาคี Harry Potter and the Goblet of Fire (2005)
The U Ball has been a tradition of the Triwizaed Tournament.. งานเต้นรำเป็นธรรมเนียมของการประลองเวทไตรภาคี Harry Potter and the Goblet of Fire (2005)
The Order of The Phoenix. ภาคีนกฟินิกส์ Harry Potter and the Order of the Phoenix (2007)
You say much more, you might as well inducting him to the Order. -ถ้าคุณพูดมากกว่านี้, คุณอาจจะ.. -ต้องรวมแฮรี่เข้ากับภาคีด้วยเลย ดีเลย ! Harry Potter and the Order of the Phoenix (2007)
Orginal Order of the Phoenix. ภาคีนกฟีนิกซ์รุ่นก่อน Harry Potter and the Order of the Phoenix (2007)
Things aren't going all well, the order ทุกอย่างในภาคีไม่ค่อยจะดีนักหรอก Harry Potter and the Order of the Phoenix (2007)
Warn the Order can เตือนภาคีด้วยถ้าทำได้ Harry Potter and the Order of the Phoenix (2007)
Most likely the home of someone in the Order. ซึ่งน่าจะเป็นบ้าน ของภาคีคนใดคนหนึ่ง Harry Potter and the Deathly Hallows: Part 1 (2010)
The Order uses it now as a safe house. ตอนนี้พวกภาคีใช้มันเป็นที่ซ่อน Harry Potter and the Deathly Hallows: Part 2 (2011)
From the Order? จากพวกภาคี? Harry Potter and the Deathly Hallows: Part 2 (2011)
The Order's finished. ภาคีล่มไปแล้ว Harry Potter and the Deathly Hallows: Part 2 (2011)
Determined to neutralize this threat at any cost, the Templar's methods become more brutal and their suspicions rise, even extending to the loyal Circle of Magi... ความมุ่งมั่นในการกำจัดภัยคุกคามนี้ ถูกดำเนินการในทุกทาง, วิธีการของเหล่าเทมพล่า ทวีความโหดร้ายมากขึ้น มีผู้ถูกสงสัยมากมาย, แม้กระทั่งใน ภาคีมนตรา ก็ตกเป็นผู้ต้องสงสัยด้วย... Dragon Age: Dawn of the Seeker (2012)
She was taken from the Circle of Magi. นางถูกลักพาตัวไปจากภาคีมนตรา. Dragon Age: Dawn of the Seeker (2012)
She went missing from the Circle a few weeks ago. นางหายไปจากภาคีเมื่ออาทิตย์ก่อน. Dragon Age: Dawn of the Seeker (2012)
One of the Circle of Magi dogs was able to sniff out our ritual. สุนัขรับใช้ของภาคีมนตรา มันได้กลิ่นเกี่ยวกับพิธีกรรมของเรา. Dragon Age: Dawn of the Seeker (2012)
And because the High Seeker refused to return her to the Circle, you think that means...? และท่านไฮท์ซีคเกอร์ก็ได้ปฏิเสธ การส่งตัวนางคืนให้กับภาคีมนตรา, ท่านคิดว่ามันมีหมายความ... ? Dragon Age: Dawn of the Seeker (2012)
A Circle safe house. ที่ซ่อนที่ปลอดภัยของภาคีมนตรา. Dragon Age: Dawn of the Seeker (2012)
No, I'm a Circle Mage, not a Blood Mage! ไม่ใช่, ข้าคือจอมเวทย์จากภาคี, ไม่ใช่ผู้ใช้มนตราโลหิต! Dragon Age: Dawn of the Seeker (2012)
Circle Mages have pledged their allegiance to the Chantry. ภาคีมนตราได้ให้คำมั่น ว่าจะจงรักภักดีต่อวิหาร. Dragon Age: Dawn of the Seeker (2012)
However, the plan fell apart when the High Seeker did not return her to the Circle. แต่, แผนการก็ผิดพลาด เพราะท่านไฮท์ซีคเกอร์ไม่ได้ส่งตัวนางคืนกลับภาคี Dragon Age: Dawn of the Seeker (2012)
You work close to the edge of Chantry law, but still claim you are loyal to the Circle? งานที่เจ้าทำ มันอาจขัดกับกฏของวิหาร, แต่อย่าลืมว่าเจ้า ยังภักดีกับภาคี? Dragon Age: Dawn of the Seeker (2012)
Those of us within the Circle seek only to be treated with equal dignity and respect. พวกเราที่อยู่ภายในภาคีเพียงต้องการ ความเท่าเทียมในการปฏิบัติอย่างเคารพและให้เกียรติ์. Dragon Age: Dawn of the Seeker (2012)
I'd think it would benefit the Circle to have Mages in power. ข้าคิดว่ามันภาคีจะได้ประโยชน์ ในการที่มีจอมเวทย์ที่แข็งแกร่ง Dragon Age: Dawn of the Seeker (2012)
Blood or Circle Mages... ไม่ว่าผู้ใช้มนตราโลหิต หรือ ภาคีมนตรา... Dragon Age: Dawn of the Seeker (2012)
It is true that both Circle and Blood Mages are Mages... มันเป็นความจริงที่ว่า ทั้งภาคีและผู้ใช้มนตราโลหิต ต่างก็เป็นจอมเวทย์... Dragon Age: Dawn of the Seeker (2012)
Cassandra, protecting the Circle and Chantry is more important than revenge. คาสเซนดร้า, การปกป้องภาคี และวิหาร สำคัญกว่าการแก้แค้นนะ Dragon Age: Dawn of the Seeker (2012)
I sent a message with a bird to the Circle of Magi... ข้าส่งข้อความไปกับนก ไปยังภาคีมนตรา... Dragon Age: Dawn of the Seeker (2012)
No more Order of the Dragon. ไม่มีภาคีมังกรอีกต่อไป The Blood Is the Life (2013)
That's always been the way with the Order of the Dragon. มันยังคงเป็นแบบนั้นเสมอกับภาคีมังกร The Blood Is the Life (2013)
That is the stock-in-trade of the Order of the Dragon, and has been for over 500 years. นั่นคือสิ่งที่ภาคีมังกรจะต้องชดใช้ และอยู่มายาวนานกว่า 500 ปี The Blood Is the Life (2013)
The Order Draco is like the Hydra. ภาคีมังกรมันก็เหมือนกับไฮดร้า The Blood Is the Life (2013)
- Rape, torture, wholesale slaughter, that is the stock-in-trade of the order of the dragon. กระทำชำเรา ทรมาน สังหารหมู่ เป็นสิ่งที่พวกภาคีมังกรจะต้องชดใช้ A Whiff of Sulfur (2013)
- I will destroy your order and everything it stands for. ฉันจะทำลายภาคีของแก และทุกๆอย่างที่ยึดถือ A Whiff of Sulfur (2013)
- For with your death, so too will pass my last chance to obliterate the order of the Dragon. สำหรับการตายของท่าน เช่นนั้นโอกาสสุดท้ายของผม ที่จะได้กำจัดพวกภาคีมังกรก็จะตายไปด้วย A Whiff of Sulfur (2013)
- What is the Ordo Draco to you? ภาคีมังกรมันทำอะไรกับเจ้า A Whiff of Sulfur (2013)
Our sole purpose in London is to make geomagnetic power a practical reality and wipe out the order's investments in oil. ความมุ่งหมายอย่างเดียวของเราในลอนดอน คือสร้างพลังงานคลื่นแม่เหล็ก ปรับตัวเข้ากับโลกความจริง และกำจัดการลงทุนในน้ำมัน ของพวกภาคีมังกร A Whiff of Sulfur (2013)
My name is Leonore, High Queen of the Gargoyle Order. ชื่อของข้าคือ ลีโอน พระราชินีของภาคีแห่งการ์กอยล์ I, Frankenstein (2014)
The Gargoyle Order was commanded into being by the great arch-angel Michael. ภาคีแห่งการ์กอยล์ถูกสร้างขึ้นจากผู้ยิ่งใหญ่ อาร์คแองเจิล ไมเคิล I, Frankenstein (2014)
Any object can sacramental, by marking them with the blessed symbol of the Gargoyle Order. ทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งศักสิทธิ์ สร้างขึ้นจากสัญลักษณ์ที่ศักสิทธิ์ของภาคีแห่งการ์กอยล์ I, Frankenstein (2014)
How do you descend a Gargoyle? แล้วพวกภาคีแห่งการ์กอยล์ที่ตายไปล่ะ? I, Frankenstein (2014)
But Leonore is the spiritual leader of the entire Order. แน่นอน ข้าต้องรู้สิ ราชินีลีโอนคือศูนย์รวมจิตใจของภาคีนี้ I, Frankenstein (2014)
You grew up in the Nameless Order. เจ้าเติบโตมาในภาคีไร้นาม The Great Wall (2016)
General Shao welcomes you as honored guests of the Nameless Order, and thanks you for your skill and courage. ท่านแม่ทัพใหญ่เฉายินดีต้อนรับพวกเจ้า ในฐานะแขกผู้มีเกียรติ แห่งภาคีไร้นาม และขอบคุณ สำหรับฝีมือและความกล้าหาญของเจ้า The Great Wall (2016)
The soldiers of the Nameless Order will stand firm. เหล่าทหารแห่งภาคีไร้นาม... จะยีนหยัดต่อสู้ The Great Wall (2016)
The Nameless Order... ภาคีไร้นาม The Great Wall (2016)
I swear on my vow to the Nameless Order! ข้าขอสาบานต่อคำปฏิญาณที่ให้ไว้กับภาคีไร้นาม The Great Wall (2016)
General Lin Mae from Nameless Order. แม่ทัพใหญ่หลินเหม่ยแห่งภาคีไร้นาม The Great Wall (2016)

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
ข้อตกลงทวิภาคี[khøtoklong thawiphākhī] (n, exp) EN: bilateral agreement  FR: accord bilatéral [ m ]
พหุภาคี[phahuphākhī] (adj) EN: multilateral
ภาคี[phākhī] (n) EN: participant ; party ; adherent ; associate member  FR: membre [ m ] ; partenaire [ m ]
ภาคี[phākhī] (adj) EN: associate  FR: associé
ภาคีสมาชิก[phākhīsamāchik] (n) EN: associate member ; associate fellow  FR: membre associé [ m ]
ภาคีสัญญา[phākhīsanyā] (n, exp) EN: party to a treaty ; contracting parties ; parties to the agreement ; signatory  FR: signataire [ m ]
ประเทศภาคี[prathēt phākhī] (n, exp) EN: member State  FR: pays membre [ m ] ; État membre [ m ]
สนธิสัญญาทวิภาคี[sonthisanyā thawiphākhī] (n, exp) EN: bilateral agreement  FR: accord bilatéral [ m ]
ทวิภาคี[thawiphākhī] (adj) EN: bilateral   FR: bilatéral
ไตรภาคี[traiphākhī] (n) EN: tripartite

Longdo Approved EN-TH
multilateral(adj) พหุภาคี เช่น The Multilateral Initiative on Malaria (MIM) is an international collaboration and co-operation in scientific research against malaria.

NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
tripartite(adj) ไตรภาคี

Hope Dictionary
adhesion(แอดฮี' เชิน) n. ภาวะการเกาะติด, ความศรัทธา, การติดตาม, การร่วมเป็นภาคี (assent, coherence, Ant. separation

Nontri Dictionary
adherent(n) ผู้ติดตาม, พรรคพวก, ภาคี, สาวก, ผู้สนับสนุน
associate(n) มิตรสหาย, เพื่อนฝูง, พรรคพวก, ผู้ร่วมงาน, ภาคี
fellow(n) มิตรสหาย, เพื่อน, ภาคีสมาชิก, มนุษย์, นักวิจัยในมหาวิทยาลัย

Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Tripartite Pact(name) สนธิสัญญาไตรภาคี

ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ

Time: 0.0312 seconds, cache age: 0.369 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม