486 ผลลัพธ์ สำหรับ *ฝ่าย*
ภาษา
หรือค้นหา: ฝ่าย, -ฝ่าย-Longdo Unapproved TH - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
sweetheart contract | [สวีทฮ็าร์ต คอนแทร์คท์] (phrase) หากแปลกันตรงๆ คือ "สัญญารัก" ในเนื้อหาชองสิทธิการจ้างงาน สามารถอธิบายว่าป็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับเจ้าพนักงานสหภาพแรงงานที่ซึ่งอำนวยผลประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายบนค่าใช้จ่ายของพนักงาน In the context of employment rights, a sweetheart contract can describe a deal between an employer and trade union officials which benefits them both at the expense of employees. |
Longdo Unapproved CN - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
你 | [你] (pron) ใช้เรียกฝ่ายตรงข้ามหรือคู่สนทนา(คนเดียว), คุณ |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ฝ่าย | (clas) group, See also: side, party, faction, Syn. ข้าง, พวก, ส่วน, Example: การทำให้เครื่องใหม่ครอบคลุมรุ่นเก่านั้น มีประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย, Count Unit: ฝ่าย |
ฝ่าย | (n) side, See also: party, sector, faction, Syn. ข้าง, พวก, ส่วน, Example: เวลาเกิดสงคราม จะมีการจับลูกเมียของฝ่ายตรงข้ามไปทรมาน เพื่อให้สามีบอกความลับ, Count Unit: ฝ่าย |
ฝ่ายใน | (n) ladies of the court, See also: palace women officials, Ant. ฝ่ายนอก, Example: ในสมัยก่อนข้าราชบริพารฝ่ายในเป็นผู้ประดิษฐ์ผลไม้แกะสลักเพื่อใช้ในพระราชพิธีต่างๆ เท่านั้น, Count Unit: ฝ่าย, Thai Definition: เจ้านายและข้าราชการเป็นต้น ที่เป็นสตรีสังกัดอยู่ภายในพระราชฐานชั้นใน |
ทุกฝ่าย | (n) every side, See also: all sides, all parties, every group, Example: งานจะสัมฤทธิผลได้ก็ต่อเมื่อได้มีการประสานงานระหว่างทุกหน่วยงานและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง |
ฝักฝ่าย | (n) group, See also: side, company, Syn. พวก, ข้าง, Example: นักเรียนในห้องแยกกันเป็นฝักฝ่ายเพราะความเห็นไม่ตรงกัน, Count Unit: ฝ่าย, Thai Definition: คนที่รวมกันเข้าเป็นกลุ่มเป็นหมู่ตามความคิด |
ฝักฝ่าย | (v) be inclined to, See also: be attracted toward, be a supporter of, side with, Syn. เข้าพวก, เข้าข้าง, Example: เขาฝักฝ่ายอยู่กับพวกฝ่ายซ้ายที่มีอุดมคติเช่นเดียวกัน, Thai Definition: เข้าเป็นพวกของกลุ่มที่มีความคิดเช่นเดียวกัน |
ฝักฝ่าย | (v) be inclined to, See also: be a supporter (of), side with, Syn. เข้าพวก, เข้าข้าง, Example: เขาฝักฝ่ายอยู่กับพวกฝ่ายซ้าย, Thai Definition: เข้าร่วมกับกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นตรงกัน |
ฝักฝ่าย | (n) group, See also: company, party, school, faction, section, side, Syn. กลุ่ม, พวก, ข้าง, ฝักฝ่าย, Example: นักเรียนในห้องแยกกันเป็นฝักฝ่ายเพราะความเห็นไม่ตรงกัน, Thai Definition: กลุ่มคนที่มีความคิดเห็นตรงกัน |
ฝ่ายขวา | (n) right, See also: rightist, Ant. ฝ่ายซ้าย, Example: ฝ่ายขวาในญี่ปุ่นอยากเห็นพระจักรพรรดิกลับมีฐานันดรเดิม เป็นเทพสูงสุดดังแต่ก่อน, Count Unit: ฝ่าย, Thai Definition: กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมือง การเศรษฐกิจโน้มไปทางอนุรักษ์นิยม, Notes: (การเมือง) |
ฝ่ายรับ | (n) defense, See also: defensive, Syn. ฝ่ายตั้งรับ, Ant. ฝ่ายรุก, ฝ่ายบุก, Example: ในสงครามอ่าวเปอร์เซีย อิรักเป็นฝ่ายรับต่อการทำสงครามทางอากาศการทิ้งระเบิดของฝ่ายพันธมิตร, Count Unit: ฝ่าย, Thai Definition: ฝ่ายที่ตั้งรับการโจมตีจากอีกฝ่ายหนึ่ง |
ฝ่ายค้าน | (n) opposition, Ant. ฝ่ายรัฐบาล, ฝ่ายเสนอ, Example: พรรคฝ่ายค้านหารือกันเรื่องการตั้งกระทู้ถามรัฐบาล, Count Unit: ฝ่าย, Thai Definition: ฝ่ายที่แสดงความเห็นโต้แย้งความเห็นของฝ่ายเสนอในการโต้วาที, (การเมือง) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคที่ไม่ได้ร่วมเป็นรัฐบาล ซึ่งทำหน้าที่ค้านรัฐบาลในสภา, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความเห็นโต้แย้งกับผู้อื่น |
ฝ่ายซ้าย | (n) Left, See also: Leftist, left wing, Ant. ฝ่ายขวา, Example: นายทหารฝ่ายซ้ายในกองทัพบกและกองทัพอากาศได้ร่วมมือกันทำรัฐประหารอีกครั้ง, Count Unit: พวก, กลุ่ม, Thai Definition: กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจเป็นต้น นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง, โดยทั่วไปใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์, Notes: (การเมือง) |
ฝ่ายบิดา | (n) paternal, Syn. ข้างบิดา, Example: ผู้ที่มียีนลักษณะด้อย 2 ยีน โดยได้รับจากฝ่ายบิดา และฝ่ายมารดาซึ่งเป็นผู้พาโรคก็จะเป็นโรคได้ |
ฝ่ายหน้า | (n) officials of the king, See also: governmental employers in the palace but outside the inner quarter, Example: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เรียกเจ้านายฝ่ายหน้าว่าสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ, Count Unit: ท่าน, Thai Definition: เจ้านายและข้าราชการซึ่งไม่ใช่ฝ่ายใน |
ฝ่ายเสนอ | (n) proposer, Ant. ฝ่ายค้าน, Example: ฝ่ายเสนอชนะฝ่ายค้านในการโต้วาที, Count Unit: ฝ่าย, Thai Definition: ฝ่ายที่แสดงความเห็นให้ฝ่ายค้านโต้แย้งตามญัตติในการโต้วาที |
ฝ่ายมารดา | (n) maternal, Syn. ข้างมารดา |
ฝ่ายอักษะ | (n) axis, See also: axis powers, the Axis, Ant. ฝ่ายพันธมิตร, ฝ่ายสัมพันธมิตร, Example: ในระยะก่อนที่เพริล ฮาร์เบอร์จะถูกโจมตี ฝ่ายอักษะได้มีอิทธิพลครอบงำทรัพย์สินทางการเงินของสหรัฐอเมริกา, Thai Definition: กลุ่มประเทศอันประกอบด้วย เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่นที่ร่วมเป็นแกนร่วมรบกับกลุ่มประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 |
ฝ่ายจัดการ | (n) management division, Example: เราไม่สามารถจะสร้างระบบข้อมูลระดับสูงเพื่อนำมาใช้ในกลวิธีของฝ่ายจัดการได้ในเวลาสั้นๆ, Count Unit: ฝ่าย |
ฝ่ายบริหาร | (n) administrative section, See also: executive, administration, Example: ฝ่ายบุคคลจะต้องแนะนำบุคคลที่เข้ามาใหม่ให้กับฝ่ายบริหารได้รับทราบก่อนที่จะเริ่มทำงาน, Count Unit: ฝ่าย, Thai Definition: กลุ่มผู้ปฏิบัติหน้าที่ในระดับนโยบายของหน่วยงาน |
ฝ่ายปกครอง | (n) administration, Example: เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครองได้รับรายงานว่า จะมีคนร้ายลักลอบข้ามชายแดนไทยเข้ามาก่อความไม่สงบในประเทศ, Thai Definition: ส่วนที่ทำหน้าที่บริหาร |
ฝ่ายรัฐบาล | (n) government party, See also: government sector, Example: ในช่วงหลายสิบปีมานี้มีแรงผลักดันจากฝ่ายรัฐบาลที่จะลดอิทธิพลส่วนตัวของพ่อค้านักธุรกิจลง, Count Unit: ฝ่าย, Thai Definition: สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคที่ได้ร่วมเป็นรัฐบาล |
ฝ่ายรุกราน | (n) aggressor, Syn. ฝ่ายบุก, ฝ่ายรุก, Ant. ฝ่ายรับ, Example: ฝ่ายรุกรานไม่ทันตั้งตัวจึงตกเป็นฝ่ายรับอย่างตั้งตัวไม่ติด, Count Unit: ฝ่าย, Thai Definition: ฝ่ายที่เข้าไประรานผู้อื่น |
ทั้งสองฝ่าย | (pron) both sides, See also: both, Ant. ฝ่ายเดียว, Example: ในเมื่อทั้งสองฝ่ายไม่มีใครยอมรับผิด ผมก็จะลงโทษทั้งหมดเลย |
ฝ่ายข้างมาก | (n) majority, Syn. เสียงข้างมาก, Example: ขณะนี้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะมีเสียงสนับสนุนฝ่ายข้างมากในสภา, Count Unit: ฝ่าย |
ฝ่ายตรงข้าม | (n) antagonist, See also: opponent, Syn. ปรปักษ์, ศัตรู, คู่อริ, Ant. ฝ่ายเดียวกัน, พวกเดียวกัน, Example: การสร้างข่าวหลอกลวงโจมตีฝ่ายตรงข้ามทำให้เราเข้าใจเรื่องราวของสงครามที่ผิดไปจากความเป็นจริง, Count Unit: ฝ่าย, Thai Definition: ศัตรู, ปรปักษ์ |
ฝ่ายวิชาการ | (n) academic section, See also: technical side, academic administration, technical office, Example: ท่านเข้ามาทำงานวิจัยในฝ่ายวิชาการของกองอนุรักษ์สัตว์ป่าในปีพ.ศ.2526, Count Unit: ฝ่าย, Thai Definition: กลุ่มที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับวิชาความรู้โดยเฉพาะ |
ฝ่ายพันธมิตร | (n) Allied, See also: alliance, Aliies, Syn. กลุ่มพันธมิตร, ฝ่ายสัมพันธมิตร, Ant. ฝ่ายอักษะ, Example: เพราะกองทัพญี่ปุ่นแพ้สงคราม จึงต้องเสียค่าปรับปฏิกรณ์สงครามให้แก่ฝ่ายพันธมิตร |
ฝ่ายสนับสนุน | (n) supporter, See also: supporting group, Example: ภาครัฐจะต้องเป็นฝ่ายสนับสนุนและมีความจริงใจในการสนับสนุนการทำงานของภาคเอกชน, Count Unit: ฝ่าย, Thai Definition: กลุ่มที่ส่งเสริม, ช่วยเหลือ, อุปการะ |
ฝ่ายเป็นกลาง | (n) neutral, Example: ประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดถือว่าเป็นฝ่ายเป็นกลาง, Count Unit: ฝ่าย, Thai Definition: กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจเป็นต้น ไม่ฝักใฝ่หนักไปทางฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา, Notes: (การเมือง) |
พรรคฝ่ายค้าน | (n) opposition party, Ant. พรรครัฐบาล, Example: พรรคฝ่ายค้านเคลื่อนไหววิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างรุนแรงในเรื่องของความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ, Count Unit: พรรค, Thai Definition: พรรคการเมืองที่ไม่ได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลและไม่ได้เป็นพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาล |
อำนาจฝ่ายต่ำ | (n) evil power, See also: power of darkness, Example: อย่าปล่อยให้อำนาจฝ่ายต่ำเข้ามาครอบครองจิตใจ, Thai Definition: ความเหนี่ยวรั้งในทางชั่ว |
สองฝักสองฝ่าย | (n) two separate groups, See also: two divided groups, Syn. สองฝ่าย, Ant. ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด, ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง, Example: ความคิดเห็นของประชาชนแตกเป็นสองฝักสองฝ่าย, Thai Definition: การทำตัวเข้าด้วยกันทั้ง 2 ข้าง ซึ่งมักไม่เป็นมิตรกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน, Notes: (สำนวน) |
สองฝักสองฝ่าย | (adj) be allied, See also: dependent on two countries, Syn. สองฝ่าย, Ant. ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด, ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง, Example: ประเทศเล็กที่ช่วยตัวเองไม่ได้ มักต้องทำตัวสองฝักสองฝ่ายกับประเทศใหญ่เพื่อความอยู่รอดของตน, Thai Definition: ที่ทำตัวเข้าด้วยกันทั้ง 2 ข้าง ซึ่งมักไม่เป็นมิตรกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน, Notes: (สำนวน) |
ผู้แสดงฝ่ายชาย | (n) actor, Syn. นักแสดงฝ่ายชาย |
ผู้แสดงฝ่ายหญิง | (n) actress, Syn. นักแสดงฝ่ายหญิง |
ฝ่ายสัมพันธมิตร | (n) the Allies, See also: Allied side, Ant. ฝ่ายอักษะ, Example: ขบวนการเสรีไทยหันไปให้การสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตรร่วมขับไล่กองทหารญี่ปุ่นออกจากประเทศไทย, Count Unit: ฝ่าย, Thai Definition: กลุ่มประเทศ 26 ประเทศ ที่ร่วมกันต่อสู้กับฝ่ายอักษะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 |
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง | (n) any side, See also: any party, Example: เขามีใจเป็นกลาง ไม่โอนเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง |
ผู้จัดการฝ่ายขาย | (n) sales manager |
ผู้แสดงนำฝ่ายชาย | (n) leading man, See also: film actor, film star, star |
ผู้จัดการฝ่ายผลิต | (n) manufacturing manager |
ผู้แสดงนำฝ่ายหญิง | (n) leading lady, See also: film actress, film star, star |
ผู้จัดการฝ่ายบัญชี | (n) accounting manager |
ผู้จัดการฝ่ายบุคคล | (n) personnel manager, Example: ทุกคนมักเอาใจผู้จัดการฝ่ายบุคคลเป็นพิเศษเพราะมีผลต่อการประเมิน |
ผู้จัดการฝ่ายส่งออก | (n) export manager, Example: ผู้จัดการฝ่ายส่งออกจะคอยอำนวยความสะดวกให้ท่านในการสั่งซื้อสินค้า |
ผู้จัดการฝ่ายโรงงาน | (n) plant manager, Example: พ่อของเขาเป็นผู้จัดการฝ่ายโรงงานมากว่า 10 ปี แต่เงินเดือนน้อยมาก |
ผู้จัดการฝ่ายการตลาด | (n) marketing manager, Example: เขามีผู้จัดการฝ่ายการตลาดฝีมือดีที่ไม่ยอมเสียให้ใครไปง่ายๆ แน่ |
ผู้จัดการฝ่ายการเงิน | (n) finance manager, Example: คณะกรรมการมีมติให้เอาผิดกับผู้จัดการฝ่ายการเงินของบริษัท |
ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ | (n) purchasing manager, Example: การพิจารณาการซื้อขายอยู่ที่ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ |
ผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพ | (n) quality control manager, Example: โรงงานต้องการรับสมัครผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพที่มีความรู้และมีความรับผิดชอบสูง |
ผู้จัดการฝ่ายควบคุมการผลิต | (n) production control manager, Example: ทางบริษัทต้องการผู้จัดการฝ่ายควบคุมการผลิตที่มีความสามารถอย่างเร่งด่วน |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
เข็นฝ้าย | ก. ปั่นฝ้าย. |
ดีดฝ้าย | ก. ดึงสายกงดีดฝ้ายในกระชุให้กระทบฝ้ายเพื่อให้ฝ้ายแตกเป็นปุย. |
ปอเลียงฝ้าย | ดู เลียงฝ้าย. |
ปั่นฝ้าย | ก. เอาใยฝ้ายเข้าติดกับไนแล้วหมุนเพื่อทำเป็นเส้นด้าย, ถ้าเป็นวัตถุอย่างอื่นเช่นไหมและปอ เรียกตามวัตถุนั้น ๆ ว่า ปั่นไหม ปั่นปอ, อีสานเรียกว่า เข็นฝ้าย. |
ปุยฝ้าย | น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุษยะ มี ๕ ดวง, ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสำเภา ดาวสิธยะ ดาวบุษย์ ดาวปุษยะ หรือ ดาวปุสสะ ก็เรียก |
ปุยฝ้าย | ชื่อขนมชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายขนมถ้วยฟู แต่เนื้อละเอียดและนุ่มกว่า |
ปุยฝ้าย | ชื่อกะท้อนพันธุ์หนึ่ง. |
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร | น. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกในสังกัดของพรรคตนมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ. |
ฝักฝ่าย | น. พวก, ข้าง. |
ฝักฝ่าย | ก. เข้าพวก, เข้าข้าง. |
ฝ่าย | น. ข้าง, พวก, ส่วน. |
ฝ่ายขวา | น. กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจเป็นต้นโน้มไปทางอนุรักษนิยม. |
ฝ่ายค้าน | น. ฝ่ายที่แสดงความเห็นโต้แย้งความเห็นของฝ่ายเสนอในการโต้วาที, ตรงข้ามกับ ฝ่ายเสนอ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคที่ไม่ได้ร่วมเป็นรัฐบาล ซึ่งทำหน้าที่ค้านรัฐบาลในรัฐสภา, โดยปริยายหมายถึง ผู้ที่มีความเห็นโต้แย้งกับผู้อื่น เช่น เรื่องนี้แม้ใครจะเห็นด้วยก็ตาม แต่ฉันขอเป็นฝ่ายค้าน. |
ฝ่ายซ้าย | น. กลุ่มที่มีอุดมคติเพื่อลดช่องว่างระหว่างชนชั้นในด้านเศรษฐกิจและการเมืองเป็นต้น มักใช้วิธีการที่รุนแรงและรวดเร็ว, โดยทั่วไปใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์. |
ฝ่ายใน | น. สตรีผู้มีตำแหน่งเฝ้า. |
ฝ่ายเป็นกลาง | น. กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจเป็นต้นไม่ฝักใฝ่หนักไปทางฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา. |
ฝ่ายเสนอ | น. ฝ่ายที่แสดงความเห็นให้ฝ่ายค้านโต้แย้งตามญัตติในการโต้วาที, ตรงข้ามกับ ฝ่ายค้าน. |
ฝ่ายหน้า | น. บุรุษผู้มีตำแหน่งเฝ้า. |
ฝ้าย | น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Gossypium วงศ์ Malvaceae เมล็ดให้นํ้ามัน ปุยหุ้มเมล็ดใช้ทอผ้า เปลือกรากใช้ทำยาได้ ที่ปลูกกันมากคือ ชนิด G. hirsutumL., ฝ้ายขน ก็เรียก. |
ฝ้ายขน | ดู ฝ้าย. |
ฝ้ายสำลี | ดู สำลี ๑. |
ฝ้ายคำ | ดู สุพรรณิการ์. |
ฝ้ายผี | ดู ชะมดต้น. |
เฝ้ายาม | ก. เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา. |
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ | น. เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งรวมถึงพัศดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมือง และเจ้าพนักงานอื่น ๆ ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม. |
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ | น. ข้าราชการฝ่ายปกครองซึ่งดำรงตำแหน่งระดับสูงในกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่นายอำเภอหรือปลัดอำเภอซึ่งเป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอขึ้นไปถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย และข้าราชการตำรวจที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากิ่งสถานีตำรวจที่มียศตั้งแต่ชั้นร้อยตำรวจตรีขึ้นไปจนถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. |
เลียงฝ้าย | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Eriolaena candollei Wall. ในวงศ์ Sterculiaceae ใบรูปไข่ป้อม ปลายมี ๓ แฉก ดอกสีเหลือง ผลมีพูตามยาว ๗-๑๐ พู, ปอเลียงฝ้าย หรือ เลียงขาว ก็เรียก. |
สองฝักสองฝ่าย | ว. ที่ทำตัวเข้าด้วยทั้ง ๒ ข้าง ซึ่งมักไม่เป็นมิตรกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน เช่น ประเทศเล็กที่ช่วยตัวเองไม่ได้ มักต้องทำตัวสองฝักสองฝ่ายกับประเทศใหญ่เพื่อความอยู่รอดของตน. |
หีบฝ้าย | ก. บีบเมล็ดออกจากปุยฝ้าย. |
หีบฝ้าย | น. เรียกเครื่องมือบีบเมล็ดออกจากปุยฝ้าย ว่า เครื่องหีบฝ้าย, อีสานเรียกว่า อิ้ว. |
กง ๓ | ไม้สำหรับดีดฝ้าย มีรูปเหมือนคันธนู เรียกว่า ไม้กง หรือ ไม้กงดีดฝ้าย (เทียบอะหม ไม้กงดีดฝ้าย และ คันกระสุน ว่า กง; พายัพ ว่า โก๋ง ได้แก่ คันกระสุน), เสลี่ยงที่มีพนักโค้งเหมือนกงเรือ เรียกว่า เสลี่ยงกง. |
กฎหมู่ | น. การกดดันที่บุคคลจำนวนมากนำมาใช้บีบบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำหรือเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง (มักไม่เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย). |
กฎอัยการศึก | น. กฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารลิดรอนสิทธิเสรีภาพบางประการของประชาชนได้ตามความจำเป็น ทั้งให้มีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปรามหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน การใช้กฎอัยการศึกจะกระทำได้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล โดยจะให้มีผลบังคับทุกท้องที่หรือบางท้องที่ก็ได้ตามความจำเป็น. |
กฎหมายปกครอง | น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชนที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบในทางปกครองของรัฐ และการดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ รวมทั้งวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชน. |
กติกา | (กะ-) น. กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่บุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไปกำหนดขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เช่น กติกาชกมวย กติกาฟุตบอล |
กถามรรคเทศนา | (-มักคะเทดสะหฺนา) น. เทศนาฝ่ายกถามรรค, คู่กับ สุตตันตเทศนา. |
กรมศักดิ์ | (กฺรมมะสัก) น. ชื่อกฎหมายลักษณะหนึ่ง ซึ่งกำหนดระวางโทษปรับตามศักดินา อายุของฝ่ายที่ชนะคดีหรือฝ่ายที่แพ้คดี และความร้ายแรงหนักเบาของความผิดที่กระทำ. (สามดวง), พรมศักดิ หรือ พรหมศักดิ ก็ว่า. |
กรม ๓ | แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็นกระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็นกระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์). |
กรม ๓ | หน่วยงานของฝ่ายทหาร. |
กรรบาสิก, กรรบาสิก-, กรรปาสิก | (กับบา-, กันบา-, กับบาสิกะ-, กันบาสิกะ-, กับปา-, กันปา-) ว. อันทอด้วยฝ้าย. |
กรรบาสิกพัสตร์ | (-สิกะพัด) น. ผ้าอันทอด้วยฝ้าย คือ ผ้าฝ้าย. (ใน ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์ ว่า มาแต่แคว้นกาสี). |
กรรปาสิก | (กับปา-, กันปา-) ว. อันทอด้วยฝ้าย, กรรบาสิก ก็ว่า. (ส. การฺปาสิก; ป. กปฺปาสิก) |
กระจัด ๒ | ว. กระจะ, จะจะ, ชัดเจน, เช่น ฝ่ายล่ามบอกออกอรรถกระจัดแจ้ง (อภัย). |
กระทรวง ๒ | ส่วนราชการที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็นกระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไปแพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า (สามดวง). |
กระทู้ถาม | น. คำถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายที่สมาชิกสภาที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติตั้งถามฝ่ายบริหารให้ตอบในที่ประชุมแห่งสภานั้น ๆ หรือตอบเป็นหนังสือ. |
กฤษฎีกา | (กฺริดสะ-) น. กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่บุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไปกำหนดขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากำหนดแห่งพระดาบสว่าสาธุแล (ม. คำหลวง วนปเวสน์) |
กลฉ้อฉล | (กน-) น. การใช้อุบายหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือการจงใจปิดบังซ่อนเร้นข้อความจริงเพื่อให้ผู้อื่นหลงผิดจนเข้าทำนิติกรรม หรือจนคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกำหนดอันเป็นภาระอันหนักขึ้นกว่าที่คู่กรณีฝ่ายนั้นจะยอมรับโดยปรกติ. |
กลาบาต ๒ | (กะลาบาด) น. การตามไฟในเวลากลางคืน รายล้อมค่ายหลวงที่พระเจ้าอยู่หัวประทับแรมคืน เพื่อรักษาความปลอดภัย เป็นหน้าที่เจ้าพนักงานฝ่ายกลาโหม ในกำกับของพันทนายคบหอก เช่น เกณฑ์นั่งริ้วกลาบาต ใส่เสื้อ หมวก ถือปืนคาบศิลา ตั้งอยู่หน้าพระที่นั่งเย็น (หมายรับสั่งเรื่องต้อนรับแขกเมืองโปรตุเกส พ.ศ. ๒๓๒๙) |
กลาบาต ๒ | เจ้าพนักงานถือคบนั่งรายทางรักษาการณ์ เช่น ฝ่ายทหารเกณฑ์ พันทนาย ตำรวจเลวและไพร่เลกหลวง ไพร่สมกำลัง ยืนรักษาประตู ริมถนน และนั่งริ้วกลาบาต (หมายรับสั่งเรื่องต้อนรับแขกเมืองโปรตุเกส พ.ศ. ๒๓๒๙). |
กลาโหม | (กะลาโหมฺ) น. ชื่อกรมฝ่ายทหารในสมัยโบราณ คือ กรมพระกลาโหม, ชื่อมหาเสนาบดีฝ่ายทหารในสมัยโบราณ ดำรงฐานะเป็นสมุหพระกลาโหม |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
patriarchal society | สังคมอำนาจฝ่ายบิดา, สังคมแบบพ่อบ้าน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
proponent | ฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
parliamentary counsel | ที่ปรึกษาฝ่ายรัฐสภา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
parliamentary official | ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Parliamentary Officials Commission | คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.) (ไทย) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
pharmacy, dispensing | เภสัชกรรมฝ่ายปรุงยา [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
pars (L.) | คู่กรณี, ผู้เป็นฝ่าย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
paternal | ฝ่ายบิดา, เกี่ยวกับบิดา [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
paternal | ฝ่ายบิดา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
paternal generation | เชื้อสายฝ่ายบิดา [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
paternal line | เชื้อสายฝ่ายบิดา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
patrimony | ทรัพย์มรดกจากฝ่ายบิดา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
pro-choice | ฝ่ายปกป้องสตรีในการทำแท้ง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
pro-life | ฝ่ายปกป้องชีวิตทารก [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
privilege, breach of | การละเมิดเอกสิทธิ์ (ของฝ่ายนิติบัญญัติ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
privilege, executive | เอกสิทธิ์ของฝ่ายบริหาร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
party aggrieved | คู่กรณีฝ่ายที่เสียหาย [ ดู aggrieved party ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
public document | เอกสารมหาชน, เอกสารฝ่ายเมือง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
public authorities | เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
public authority | เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง, เจ้าหน้าที่ของรัฐ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Leader of the House | ผู้นำฝ่ายรัฐบาลในสภา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
legitimate component | ส่วนประกอบฝ่ายที่ชอบด้วยกฎหมาย [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
legislative supremacy | อำนาจสูงสุดของฝ่ายนิติบัญญัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
legislative veto | การยับยั้งของฝ่ายนิติบัญญัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Legislative, the | ฝ่ายนิติบัญญัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Left; left wing; leftism | ฝ่ายซ้าย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
left wing; Left; leftism | ฝ่ายซ้าย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
leftism; Left; left wing | ฝ่ายซ้าย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
legislative council | คณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายนิติบัญญัติ (อเมริกัน) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legislative counsel | ที่ปรึกษาฝ่ายนิติบัญญัติ (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
legislative court | ศาลฝ่ายนิติบัญญัติ (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
legislative court | ศาลฝ่ายนิติบัญญัติ (อเมริกัน) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legislative immunity | ความคุ้มกันฝ่ายนิติบัญญัติ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legislative jurisdiction | เขตอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Lord Chancellor; Lord High Chancellor | ประธานฝ่ายตุลาการอังกฤษ (เป็นประธานสภาขุนนางด้วย) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
legislative budget | งบประมาณที่ฝ่ายนิติบัญญัติเสนอ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
legislative council | คณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายนิติบัญญัติ (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Leader of the House | ผู้นำฝ่ายรัฐบาลในสภาผู้แทนราษฎร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Leader of the Opposition | ผู้นำฝ่ายค้านในสภา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Leader of the Opposition | ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Right; right wing | ฝ่ายขวา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
ranking minority member | สมาชิกคนสำคัญของพรรคฝ่ายข้างน้อย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
representative bureaucracy | ระบบข้าราชการประจำที่มีผู้แทน (จากเจ้าหน้าที่ฝ่ายประจำบางส่วน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
representation, minority | ๑. การให้มีผู้แทนของฝ่ายข้างน้อย๒. การเป็นตัวแทนของฝ่ายข้างน้อย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
report, minority | บันทึกความเห็นแย้งของฝ่ายข้างน้อย (เช่น ในสภา ในศาล) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
role of opposition | บทบาทของฝ่ายค้าน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
right, minority | สิทธิของฝ่ายข้างน้อย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
superior administrative or police official | พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
study, doubled blind cross-over | การศึกษาข้ามกลุ่มแบบอำพรางสองฝ่าย [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
supremacy, legislative | อำนาจสูงสุดของฝ่ายนิติบัญญัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Acquisition department | แผนกจัดหา, ฝ่ายจัดหา [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
พลับพลายก | มี ๓ หลัง ตั้งที่ท้องสนามหลวง นอกรั้วราชวัติ ด้านทิศเหนือ ๑ หลัง ใช้สำหรับเสร็จรับพระศพลงจากราชรถ ที่หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ๑ หลัง ใช้สำหรับเจ้านายฝ่ายในและประทับทอดพระเนตรกระบวนและถวายบังคมพระศพ และที่หน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีก ๑ หลัง ใช้สำหรับเสด็จส่งพระศพขึ้นราชรถ [ศัพท์พระราชพิธี] |
พระวอสีวิกากาญจน์ | เป็นพระราชยานประทับราบสำหรับเจ้านายฝ่ายในและพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ นอกจากใช้เสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชพิธีแล้ว ยังใช้ในงานพระบรมศพสมเด็จพระบรมราชินีด้วย คือ เชิญพระราชสรีรางคารจากพระเมรุมาศท้องสนามหลวงกลับเ้ข้าพระบรมมหาราชวัง [ศัพท์พระราชพิธี] |
clinical professor | ศาสตราจารย์คลินิก, ตำแหน่งทางวิชาการที่สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งบุคลากรฝ่ายเวชกรรมที่มีความรู้ ความชำนาญในด้านการสอน การวิจัย การค้นคว้าทดลอง และวิธีบำบัดรักษาในภาคเวชปฏิบัติ ซึ่งมีคุณค่าทางวิชาการ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
management | การจัดการ, การบริหาร, ฝ่ายจัดการ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Audi alteram partem | หลักการรับฟังคู่กรณีทุกฝ่าย [TU Subject Heading] |
Nonalignment | การไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด [TU Subject Heading] |
Uruguay Round (1987-1994) | การเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัย (ค.ศ.1987-1994) [TU Subject Heading] |
ASEAN Free Trade Area - Mercado Común del Sur (Southern Common Market) | ความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีอาเซียนกับตลาดร่วมอเมริกาใต้ ประกอบด้วยประเทศอาร์เจนตินา บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย โดยความร่วมมือในชั้นนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการ รวมตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละฝ่าย [การทูต] |
ASEAN Free Trade Area - North America Free Trade Area | ความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีอาเซียนกับเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก โดยเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการจัดตั้ง เขตการค้าเสรีของแต่ละฝ่าย [การทูต] |
ASEAN-Japan Forum | การประชุมอาเซียน-ญี่ปุ่น " เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงฯ เดิมจัดขึ้นเป็นประจำทุก ๆ 18-24 เดือน ต่อมาได้ตกลงกันที่จะจัดขึ้นปีละครั้ง เพื่อหารือเกี่ยวกับ ความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายในทุกด้าน " [การทูต] |
Amnesty International | องค์การนิรโทษกรรมสากล องค์การนี้เริ่มต้นจากเป็นขบวนการเล็ก ๆ ก่อน เพื่อทำหน้าที่ประท้วง (Protest) แต่ภายในเวลาไม่นานนัก ได้ขยายตัวออกเป็นองค์การ เพื่อให้สมกับเป้าหมายและภารกิจที่ต้องปฏิบัติเพิ่มขึ้นมากมาย คติดั้งเดิมของการรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนบรรดาบุคคลที่ต้องถูกคุม ขังอยู่ทั่วโลก ด้วยข้อหาเกี่ยวกับความเชื่อถือทางการเมืองและการศาสนานั้น ได้บังเกิดจากความคิดของบุคคลหนึ่งชื่อปีเตอร์ เบเนนสันปีเตอร์ เบเนนสัน ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ประจำวันอาทิตย์ของอังกฤษชื่อ Sunday Observer เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1961 โดยให้หัวเรื่องบทความว่า ?นักโทษที่ถูกลืม? (The Forgotten Prisoners) บทความนี้ได้ประทับใจมติมหาชนทั่วโลกทันที และภายในปีเดียว องค์การได้รับเรื่องร้องเรียนในนามของนักโทษกว่า 200 รายองค์การนิรโทษกรรมสากลมีเป้าหมายนโยบายกว้างๆ อยู่ 3 ข้อ คือ ต้องการให้ปล่อยนักโทษผู้มีนโนธรรม (Prisoners of Conscience) ทั้งหมด ให้มีการยุติการทรมานนักโทษไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ รวมทั้งการลงโทษประหารชีวิตและให้มีการพิจารณาพิพากษาคดีนักโทษการเมืองทั้ง หมดอย่างเป็นธรรมและไม่รอช้า องค์การนี้นอกจากจะมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้ดำรงความเป็นกลางไม่เข้ากับฝ่ายใด และเป็นที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้อย่างแท้จริงแล้ว ยังเป็นเสมือนศูนย์ข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญ ซึ่งบรรดาบุคคลสำคัญๆ ทางการเมืองทั่วโลกได้ใช้อ้างอิงอีกด้วยในปัจจุบัน องค์การนิรโทษกรรมมีสมาชิกและผู้สนับสนุนเป็นจำนวนกว่า 1 ล้านคน จากประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศ องค์การอยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการบริหารจำนวน 9 คน รวมทั้งตัวเลขาธิการอีกผู้หนึ่ง ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อมติเกี่ยวกับนโยบาย และเป็นหัวหน้าของสำนักเลขาธิการขององค์การด้วย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ องค์การมีผู้แทนของตนประจำอยู่กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1978 ได้รับรางวัลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และในปี ค.ศ. 1977 ก็ได้รับรางวัลสันติภาพโนเบลมาแล้ว [การทูต] |
Australia New Zealand Army Corps Day | วันที่ระลึกทหารผ่านศึกออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2458 หน่วยปฏิบัติการร่วมของกองทัพบกออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ยกพลขึ้นบกบนคาบ สมุทรกาลิโปลี (Gallipoli) ช่องแคบดาร์ดาแนล (Dardanelles) ประเทศตุรกีเพื่อเปิดเส้นทางเดินเรือให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรไปสู่ทะเลดำใน สงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ทหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทั้งสองประเทศจึงถือเอาวันที่ 25 เมษายนของทุก ๆ ปี เป็นวันที่ระลึกและจัดพิธีไว้อาลัยแก่ทหารผ่านศึกในสมรภูมิครั้งนั้นและทหาร ผ่านศึกที่เสียชีวิตในสมรภูมิอื่น ๆ ด้วย [การทูต] |
ARF Security Policy Conference | เวทีการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายทหารในกรอบ การประชุม อาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก [การทูต] |
ASEAN Special Senior Officials Meeting | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนสมัยพิเศษ เป็นการประชุมในลักษณะเดียวกับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน แต่มีผู้แทนฝ่ายทหารของประเทศสมาชิกเข้าร่วมการประชุมด้วย เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2535 [การทูต] |
ASEAN-European Community Joint Cooperation Committee | คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน-ประชาคมยุโรป " จัดตั้งขึ้นตามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประชาคมยุโรป (ASEAN-EC Cooperation Agreement) ที่ลงนามกันเมื่อปี พ.ศ. 2523 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างสองฝ่าย โดยมีคณะอนุกรรมการ 6 คณะ ได้แก่ ด้าน การค้า เศรษฐกิจอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และยาเสพติด " [การทูต] |
Break of Diplomatic Relations | การตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต] |
Confidence Building Measures | มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ เป็นมาตรการเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างรัฐ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง และการทหาร เพื่อลดความหวาดระแวง ลดความขัดแย้ง และสร้างความมั่นใจระหว่างสองฝ่ายหรือหลาย ๆ ฝ่าย อันจะเป็นการส่งเสริมการทูตเชิงป้องกัน ทั้งนี้ CBMs เป็นกระบวนการที่สำคัญในกรอบการประชุม ARF [การทูต] |
Classes of Consuls | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ กงสุลอาชีพ (Consules de Carriere) กับกงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consuls) กงสุลอาชีพเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง และจะประจำทำงานเต็มเวลาในที่ทำการทางกงสุล ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์นั้นไม่มีฐานะเป็นกงสุลอาชีพ โดยมากเป็นนักธุรกิจในต่างประเทศ ซึ่งจะประจำทำงานเพียงส่วนหนึ่งของวัน (ไม่ใช่เต็มวัน) ในสถานที่ทำการทางกงสุลของตน และอาจจะเป็นคนชาติของรัฐที่เขาเป็นตัวแทนอยู่ หรือไม่เป็นคนชาติของรัฐนั้นก็ได้ ความแตกต่างอื่นๆ ระหว่างกงสุลอาชีพกับกงสุลกิตติมศักดิ์ มีดังนี้1. กงสุลอาชีพจะได้รับเงินเดือนประจำ แต่กงสุลกิตติมศักดิ์ไม่มีเงินเดือน2. กงสุลอาชีพมีตำแหน่งหน้าที่ถาวร ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์มีตำแหน่งว่าจ้างเพียงชั่วคราว 3. ส่วนมากกงสุลอาชีพจะต้องเป็นผู้ได้รับการฝึกอบรมหรือมีประสบการณ์มาก่อน ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์ไม่ต้องเป็นเช่นนั้น4. กงสุลอาชีพมีสิทธิได้รับความคุ้มกัน (immunities) และการยกเว้นต่าง ๆ มากกว่ากงสุลกิตติมศักดิ์สำหรับบุคคลที่เป็นหัวหน้าในที่ทำการทางกงสุลนั้น มีตำแหน่งตามลำดับชั้น คือ1) กงสุลใหญ่ (Consuls-general)2) กงสุล (Consuls)3) รองกงสุล (Vice-consuls) [การทูต] |
consensus | ฉันทามติ หมายถึง แนวปฏิบัติในการตัดสินใจที่จะมีมติดำเนินการหรือไม่ดำเนินการในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง โดยแม้ทุกฝ่ายจะมิได้เห็นพ้องร่วมกัน แต่ก็ไม่มีผู้ใดคัดค้าน [การทูต] |
Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] |
Consular Office | บุคคลรวมทั้งหัวหน้าของที่ทำการทางกงสุล ซี่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในฐานะกงสุลโดยได้รับ ภาระหน้าที่ทางกงสุล เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลมีอยู่ 2 ประเภทคือ 1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลอาชีพ (Career Consular Office)2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consular Office) [การทูต] |
Consular office Declared ?Non grata? | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น [การทูต] |
Corps Diplomatique หรือ Diplomatic Corps | คณะทูตานุทูตที่ประจำอยู่ในนครหลวง (Capital) ของประเทศ ซึ่งจะมีหัวหน้าคณะทูตพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทางการทูตใน คณะทูต เจ้าหน้าที่ทางการทูตในคณะทูตนั้นจะประกอบไปด้วย อัครราชทูต (Minister) อัครราชทูตที่ปรึกษา (Minister Counselor) และที่ปรึกษา (Counselor) ซึ่งอาจจะมีคนเดียวหรือหลายคน นอกจากนี้ มีเลขานุการทางการทูตอีกหลายคน คือ เลขานุการเอก โท ตรี และตามปกติยังมีผู้ช่วยทูต (Attaché) อีกหลายคนซึ่งมีฐานะทางการทูต (Diplomatic status) คือผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร (บก เรือ และอากาศ) ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์ (Commercial Attaché) ผู้ช่วยทูตฝ่ายการแถลงข่าว (Press Attaché) และผู้ช่วยฝ่ายอื่น ๆ ซึ่งกระทรวงทบวงกรมของรัฐบาล (นอกจากกระทรวงการต่างประเทศ) เป็นฝ่ายแต่งตั้งข้าราชการของตนไปประจำในคณะทูต รวมทั้งเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ซึ่งมีฐานะทางการทูตด้วยในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูต (Head หรือ Dean of the Diplomatic Corps) จะได้แก่ผู้แทนทางการทูตอาวุโสที่ได้ประจำการอยู่ในประเทศนั้นเป็นเวลานาน ที่สุด ยกเว้นแต่ในบางประเทศ จะถือเอกอัครราชทูตผู้แทนองค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncio) เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูตตลอดไป โดยไม่คำนึงถึงเรื่องอาวุโสแต่อย่างใด เช่น ฟิลิปปินส์ [การทูต] |
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] |
declaration | ปฏิญญา มีความหมาย 3 อย่าง คือ (1) ความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะผูกพัน (2) ปฏิญญาฝ่ายเดียว ซึ่งก่อสิทธิและหน้าที่ให้แก่ประเทศอื่น และ (3) ปฏิญญาซึ่งรัฐหนึ่งแถลงให้รัฐอื่นทราบความเห็นและเจตนาของตนในเรื่องบาง เรื่อง [การทูต] |
Declaration | คำประกาศ หรือ ปฏิญญา ตามความเห็นของผู้ทรงคุณความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนมากได้ให้ความเห็นว่า คำนี้มีความหมายต่างกันอยู่สามประการ คือประการแรก ใช้เป็นชื่อเรียกข้อกำหนดต่าง ๆ ของสนธิสัญญา กล่าวคือ ตามสนธิสัญญานี้ ภาคีคู่สัญญารับที่จะปฏิบัติตามแนวทางบางประการในอนาคตประการที่สอง เป็นคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่รัฐอื่นๆ เช่น คำประกาศสงครามประการสุดท้าย หมายถึง การกระทำซึ่งรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐได้ติดต่อแจ้งไปยังรัฐอื่น ๆ ซึ่งเป็นการอธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนพฤติกรรมของฝ่ายตนในอดีต หรืออธิบายทรรศนะและเจตจำนงเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่อง คำประกาศสำหรับความหมายสองประการหลังไม่ถือว่ามีลักษณะเป็นสนธิสัญญาอนึ่ง ในกรณีคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) นั้น บางทีรัฐหนึ่งต้องการเสนอนโยบายหรือหนทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งของตน โดยประกาศนโยบายหรือหนทางปฏิบัตินั้นไปให้รัฐอื่นๆ ทราบกันไว้ อาทิเช่น ลัทธิมอนโร (Monroe Doctrine) ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศออกไปในรูปคำประกาศถ่ายเดียว เป็นต้น [การทูต] |
Defence Attaché | ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร " (แทนทั้งสามเหล่าทัพ : นายทหารยศ พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก) บางประเทศใช้ Military Attaché สำหรับตำแหน่งเฉพาะเหล่าของไทย เรียกดังนี้ Army Attaché ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบก Navel Attaché ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ Air Attaché ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารอากาศ " [การทูต] |
diplomatic agent | ตัวแทนทางทูต คือ หัวหน้าของคณะผู้แทน หรือบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตของคณะผู้แทน [การทูต] |
embassy | สถานเอกอัครราชทูต " ที่ทำการที่มีหัวหน้าสำนักงานในระดับเอกอัครราชทูตหรืออุปทูต ตำแหน่งต่าง ๆ ประจำสถานเอกอัครราชทูต มีดังนี้ Ambassador เอกอัครราชทูต Minister อัครราชทูต Minister Counsellor อัครราชทูตที่ปรึกษา Counsellor ที่ปรึกษา First Secretary เลขานุการเอก Second Secretary เลขานุการโท Third Secretary เลขานุการตรี Attaché ผู้ช่วยเลขานุการ นอกจากนี้ บางสถานเอกอัครราชทูต มีข้าราชการจากกระทรวงอื่น ๆ นอกเหนือจากกระทรวงการต่างประเทศไปปฏิบัติหน้าที่ด้วย เช่น ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์ ที่ปรึกษาฝ่ายแรงงาน เป็นต้น " [การทูต] |
Exercise of Consular Functions in a Third State | การปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐที่สาม (A Third State) ในเรื่องนี้ข้อ 7 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้ระบุว่า?เมื่อได้บอกกล่าวให้รัฐที่เกี่ยวข้องทราบ แล้ว รัฐูผู้ส่งอาจมอบหมายให้สถานีที่ทำการทางกงสุลที่ได้ตั้งอยู่ในรัฐหนึ่งโดย เฉพาะปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในอีกรัฐหนึ่งได้ นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดเจนโดยรัฐหนึ่งในบรรดารัฐที่เกี่ยวข้อง?นอกจาก นี้ สถานที่ทำการทางกงสุลยังอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลแทนรัฐที่สามได้ เรื่องนี้ข้อ 8 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้กำหนดว่า เมื่อบอกกล่าวอย่างเหมาะสมแก่รัฐผู้รับแล้ว สถานที่ทำการทางกงสุลของรัฐผู้ส่งอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐผู้รับ แทนรัฐที่สามได้ นอกจากรัฐผู้รับนั้นจะคัดค้าน และพนักงานฝ่ายกงสุลอาจปฏิบัติการหน้าที่ของตนนอกเขตกงสุลได้ในพฤติการณ์ พิเศษ และด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อ 6 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา อย่างไรก็ดี ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่จะให้พนักงานฝ่ายกงสุลปฏิบัติการหน้าที่ทาง กงสุลนอกเขตกงสุล ฝ่ายที่เห็นด้วยว่าควรปฏิบัติการนอกเขตกงสุลได้ อ้างว่า การใช้เอกสิทธิ์เช่นนั้นเป็นการชอบแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า อาจจะมีภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้นในสถานที่นอกเขตกงสุล ซึ่งเป็นความจำเป็นที่พนักงานฝ่ายกงสุลจะได้ให้บริการในทันที่ที่มีการแจ้ง โดยกะทันหัน [การทูต] |
Forum for East Asia - Latin America Cooperation | เวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเม ริกา สมาชิก 32 ประเทศ จากภูมิภาคเอเชียและลาตินอเมริกา โดยมีสมาชิก จากฝ่ายเอเชีย 15 ประเทศ คือ กลุ่ม ASEAN (10 ประเทศ) จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และจากฝ่ายลาตินอเมริกา 17 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ คอสตาริกา นิการากัว คิวบา ปานามา เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา บราซิล โบลิเวีย เอกวาดอร์ ปารากวัย อุรุกวัย อาร์เจนตินา และชิลี วัตถุประสงค์ จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีการประชุมระดับรัฐมนตรีต่าง -ประเทศทุก 2 ปี ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ปีละ 2 ครั้ง และคณะทำงาน 3 คณะ ปีละ 2 ครั้ง (คณะทำงานด้านการเมือง วัฒนธรรม และการศึกษา / ด้านเศรษฐกิจและสังคม / และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเวทีปรึกษาหารือและร่วมมือกันอย่างไม่เป็นทางการระหว่างประเทศเอเชียและ ลาตินอเมริกา โดยมีเป้าหมายไปที่การดำเนินโครงการความร่วมมือในทุกสาขาที่ประเทศสมาชิกมี ความสนใจร่วมกัน [การทูต] |
Foreign Policy | นโยบายต่างประเทศ คือแผนการดำเนินการในกิจการระหว่างประเทศ ซึ่งผู้กำหนดนโยบายในคณะรัฐบาลเป็นผู้จัดขึ้น ในประเทศที่มีรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปรัฐสภา ผู้ที่จะชี้ขาดเรื่องนโยบายต่างประเทศได้แก่คณะรัฐมนตรี อันมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะ และจะได้รับความเห็นชอบจากผู้แทนของประชาชนที่ได้รับการเลือกตั้ง ส่วนรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปประธานาธิบดี ตัวประธานาธิบดีเองซึ่งโดยปกติแล้วจะได้รับคำแนะนำจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ และบุคคลชั้นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติ จะเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศ [การทูต] |
Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-China | การประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต] |
Good Offices และ Mediation | วิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยฉันมิตร คำว่า Good Offices หมายถึง การช่วยเป็นสื่อกลาง ส่วน Mediation หมายถึง การไกล่เกลี่ยศัพท์ทั้งสองนี้หมายถึงวิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ โดยฉันมิตร กล่าวคือ ในกรณีข้อพิพาทซึ่งการเจรจากันทางการทูตไม่สามารถตกลงกันได้ง่าย ๆ ดังนั้น รัฐที่สามอาจยื่นมือเข้าช่วยเป็นสื่อกลาง หน้าที่ในการนี้มิใช่ออกความเห็นหรือวินิจฉัยชี้ขาดว่าใครถูกใครผิดในกรณี ข้อพิพาท หากเป็นแต่เพียงแสวงหาลู่ทางที่จะระงับข้อพิพาทจะต้องมีให้น้อยที่สุดเท่า ที่จะทำได้ และถือว่าเป็นกาดรกระทำฉันมิตร (Friendly act) คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธข้อเสนอได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดทางการ เมือง หรือคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจขอร้องให้ช่วยเป็นสื่อกลาง หรือให้ช่วยไกล่เกลี่ย ตามธรรมดาการช่วยเป็นสื่อกลางนั้นเป็นเพียงการเข้าช่วยงานพื้นฐาน หรือให้มีการเริ่มต้นการเจรจาเท่านั้น ส่วนงานเจรจาที่จะกระทำโดยตรงกว่าจะมีลักษณะเป็นการไกล่เกลี่ย แต่ในทางปฏิบัติไม่ค่อยมีการคำนึงกันนักถึงความแตกต่างจริงๆ ระหว่างวิธีทั้งสอง คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธไม่ยอมรับการไกล่เกลี่ยไม่ว่าเวลาใดก็ได้ จะเห็นได้ว่า การช่วยเป็นสื่อกลางกับการไกล่เกลี่ยนั้นแตกต่างกัน คือ ในกรณีการช่วยเป็นสื่อกลาง ฝ่ายที่สามจะกระทำแต่เพียงช่วยให้มีการหันหน้าเข้าเจรจากันระหว่างคู่พิพาท ส่วนในกรณีการไกล่เกลี่ย ฝ่ายที่สามพยายามจัดให้มีการเจรจากันจริง ๆ ตามมูลฐานข้อเสนอของตน ฝ่ายที่เสนอช่วยเป็นสื่อกลางหรือช่วยไกล่เกลี่ยนั้น อาจจะมาจากประเทศที่สาม หรือจากองค์การระหว่างประเทศ หรือจากบุคคลธรรมดาคนหนึ่งก็ได้ [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Government in Exile | รัฐบาลพลัดถิ่น คือระหว่างที่สงครามยังดำเนินอยู่ ประเทศคู่สงครามหนึ่งอาจถูกกองทัพของประเทศฝ่ายศัตรูเข้ายึดครอง ในสถานการณ์เช่นนั้น ตัวหัวหน้าของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีของประเทศที่ถูกยึดครองอำนาจอาจไปตั้ง รรัฐบาลขึ้นชั่วคราวในดินแดนของประเทศพันธมิตรหนึ่ง ซึ่งยินยอมให้ทำเช่นนั้น รัฐบาลที่ตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวดังกล่าวเรียกว่า รัฐบาลพลัดถิ่น ตราบใดที่รัฐบาลพลัดถิ่นได้รับการรับรองฐานะเป็นตัวแทนของประเทศตน ย่อมดำเนินกิจการหน้าที่ของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ ได้ รัฐบาลพลัดถิ่นจะยังคงสถานภาพของตนไว้ตราบเท่าที่ยังไม่มีความพยายามต่อไป ที่จะยึดเอาดินแดนของตนที่ข้าศึกครองอยู่กลับคืนมาให้ได้ ตัวอย่างของรัฐบาลพลัดถิ่นที่เคยมีมาแล้วคือ รัฐบาลของประเทศโปแลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ กรีซ และยูโกสลาเวีย ซึ่งได้ไปตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ เมื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนที่ดินแดนของประเทศเหล่านี้ได้ถูกกองทัพของเยอรมนีเข้ายึดครอง [การทูต] |
High Seas | ทะเลหลวง คือทุกส่วนของทะเลที่มิได้อยู่ในทะเลอาณาเขต (Territorial Sea) ของประเทศใด โดยที่ถือว่าทะเลหลวงเป็นทรัพย์สินร่วมกันของทุกชาติ รัฐจะยึดเอาไปทำประโยชน์ของตนเองฝ่ายเดียวไม่ได้ และจะถือว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของทะเลหลวงอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของตนไม่ได้เช่นกัน [การทูต] |
Honorary Consul | กงสุลกิตติมศักดิ์ " ได้แก่ บุคคลในท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งและมอบหมายให้ดูแล ส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศและคนชาติในพื้นที่ในเขตอาณา และดำเนินการตรวจลงตราหนังสือเดินทางแก่บุคคลที่จะเดินทางเข้าประเทศที่ กงสุลกิตติมศักดิ์เป็นผู้แทน การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ และต้องยื่นสัญญาบัตร และได้รับอนุมัติบัตรเช่นเดียวกับผู้แทนฝ่ายกงสุลอาชีพ (career consular officer) ทั้งนี้ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์จะได้รับมอบหมายให้ดูแลเขตอาณาที่ครอบคลุมพื้นที่ กว้างกว่าและสำคัญกว่า ในส่วนของไทย กงสุลกิตติมศักดิ์แตกต่างจากกงสุลอาชีพใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) กงสุลกิตติมศักดิ์ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม หรือเป็นผู้นำที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับไทย (2) กงสุลกิตติมศักดิ์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสำนักงาน ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์หรือสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ทั้งหมด (3) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุลน้อยกว่ากงสุลอาชีพ ในการปฏิบัติงานของกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยจะมีคู่มือกงสุลกิตติมศักดิ์ เป็นระเบียบกฎเกณฑ์และข้อมูลสำหรับการปฏิบัติงาน " [การทูต] |
host | เจ้าภาพฝ่ายชาย [การทูต] |
hostess | เจ้าภาพฝ่ายหญิง [การทูต] |
India-Brazil-South Africa | เวทีเจรจาสามฝ่าย ระหว่างอินเดีย บราซิล และแอฟริกาใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสิมความร่วมมือในกรอบใต้-ใต้ใน วงกว้าง เป้าหมายหลัก IBSA คือการส่งเสริมและขยายโอกาส ด้านการค้า การลงทุน การพัฒนาสังคม และการเลแกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน [การทูต] |
Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle | โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย " จัดตั้งในสมัยรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน เมื่อกลางปี พ.ศ. 2535 โดยมีพื้นที่โครงการครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ คือ ไทย ได้แก่ สงขลา ยะลา ปัตตานี สตูล และนราธิวาส มาเลเซีย ได้แก่ 4 รัฐทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย (เคดาห์ เปอร์ลิส เปรัก และปีนัง) อินโดนีเซีย ได้แก่ 4 จังหวัดบนเกาะสุมาตรา (เขตปกครองพิเศษอาเจ่ห์) สุมาตราเหนือ สุมาตราตะวันตก และจังหวัดเรียว (Riau) " [การทูต] |
Intelligence | เรื่องสืบราชการลับ กล่าวอย่างกว้าง ๆ คือ เรื่องลับไม่ว่าชนิดใด โดยเฉพาะที่จะมีประโยชน์แก่ผู้กำหนดนโยบาย หรือฝ่ายทหารที่มีหน้าที่ว่างนโยบายหรือวางแผนยุทธศาสตร์ ถือว่าเป็น Intelligence ทั้งสิ้น เช่น ในสหรัฐอเมริกามีองค์กรสืบราชการลับอยู่หลายแห่ง เช่น CIA (สำนักงานสืบราชการลับกลาง) The NSA (National Security Agency หรือองค์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติ) G-2 (ฝ่ายสืบราชการลับของกองทัพบก) FBI (Federal Bureau of Investigation หรือหน่วยสืบสวนของรัฐบาลกลาง) Bureau of Intelligence and Research of the State Department หรือหน่วยสืบราชการลับและวิจัยของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ รวมทั้งฝ่ายสืบราชการลับของกองทัพเรือและกองทัพอากาศ ส่วนในโซเวียตรัสเซีย (ปัจจุบันเรียกชื่อใหม่ว่ารัสเซีย) แต่เดิมมีองค์การสืบราชการลับอยู่จำนวนหนึ่ง ที่สำคัญๆ ได้แก่ ฝ่ายสืบราชการลับทางทหารของกระทรวงกลาโหม หรือที่เรียกว่า YRU (Ylavnoe Razdevyvatelnoe Uptavlenie) และ KGB (Kommissariat Gosudatstvennoie Bezopastnotsi หรือ Commisariat of State Security) ในประเทศอังกฤษ มีฝ่ายสืบราชการลับเรียกว่า M15 (British Counter Intelligence) M16 เป็นหน่วยสาขาซึ่งทำงานด้านจารกรรมในต่างประเทศ และ M18 เป็นฝ่ายสืบราชการฝ่ายทหาร (Cryptographic Bureau of Military Intelligence) [การทูต] |
International Atomic Energy Agency | สำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต] |
International Civil Aviation Organization | เรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
International Development Association | เป็นองค์การให้กู้เงิน ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ.1960 อยู่ภายใต้การบริหารควบคุมของธนาคารระหว่างประเทศ ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกของธนาคารระหว่างประเทศหรือธนาคารโลก ย่อมสามารถสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมพัฒนาระหว่างประเทศนี้ได้วัตถุประสงค์ สำคัญของไอดีเอ คือ ให้ประเทศที่ด้อยพัฒนาทำการกู้ยืมเงินเพื่อนำไปพัฒนาประเทศของตน โดยกำหนดเงื่อนไขการกู้ยืมที่ยืดหยุ่นมากกว่าเงื่อนไขของการกู้ยืมทั่ว ๆ ไป ช่วยให้มีผลกระทบต่อดุลแห่งการชำระเงินของประเทศนั้น ๆ ไม่มากนัก ซึ่งเป็นไปตามแนววัตถุประสงค์การให้กู้ยืมของธนาคารโลก อันเท่ากับเสริมการดำเนินงานของธนาคารโลก ที่มีต่อประเทศเหล่านั้นอีกด้วยไอดีเอมีโครงสร้างการดำเนินงานที่คล้ายคลึง กับของธนาคารโลก คณะผู้ว่าการและผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทั้งหมดเป็นคนคนเดียวกับที่มีตำแหน่ง หน้าที่อยู่ในธนาคารโลก จึงเท่ากับเข้าไปทำงานมีหน้าที่ในไอดีเอโดยตำแหน่ง (Ex officio) นั่นเอง ไอดีเอมีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] |
International Finance Corporation | คือบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1956 และเริ่มมีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษที่มีสัมพันธ์กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957 แม้บรรษัทจะดำเนินงานใกล้ชิดกับธนาคารโลก แต่ก็มีฐานะเป็นสิ่งที่มีตัวตนทางกฎหมายแยกต่างหาก และมีกองทุนที่แตกต่างจากกองทุนของธนาคารโลกด้วยวัตถุประสงค์ของบรรษัทคือ ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนให้การผลิตของวิสาหกิจของเอกชนในประเทศสมาชิกเจริญเติบโตยิ่ง ขึ้น การที่จะกระทำตามวัตถุประสงค์นี้ได้ บรรษัทจะนำเงินไปลงทุนในวิสาหกิจด้านการผลิตฝ่ายเอกชน โดยดำเนินงานร่วมกับเอกชนผู้ลงทุน ทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) คล้ายกับเป็นแหล่งรวมโอกาสต่าง ๆ ของการลงทุนฝ่ายเอกชนทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ รวมทั้งฝ่ายจัดการที่มีประสบการณ์ชำนาญ นอกจากนั้น ยังช่วยกระตุ้นการลงทุนด้านการผลิตของเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศด้วย บรรษัทยังได้รับอนุญาตให้ทำการกู้ยืมเงินโดยใช้วิธีขายพันธบัตรของตนเอง รวมทั้งตั๋วสัญญาการใช้เงินบรรษัทการเงินระหว่างประเทศดำเนินงานโดยองค์กร ต่าง ๆ ของตน คืออำนาจทั้งหมดของบรรษัทจะขึ้นอยู่กับคณะผู้ว่าการ (Board of Govemors) ประกอบด้วยผู้ว่าการและผู้ว่าการสำรอง (Altemates) จากธนาคารโลกซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศต่าง ๆ อันเป็นสมาชิกของบรรษัทด้วย คณะผู้ว่าการจะคอยควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของบรรษัทให้ถูกต้อง ตัวประธานธนาคารโลก จะทำหน้าที่เป็นประธานคณะผู้ว่าการของบรรษัทโดยตำแหน่งด้วย บรรษัทมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
อำนาจฝ่ายต่ำ | [amnāt fāi tam] (n, exp) EN: evil power ; power of darkness |
เด็ดฝ้าย | [det fāi] (v, exp) EN: pick cotton ; pluck cotton |
โดยฝ่ายเดียว | [dōi fāi dīo] (adv) EN: ex parte |
ฝ่าย | [fāi] (n) EN: side ; group ; part ; party ; faction ; sector FR: côté [ m ] ; camp [ m ] ; partie [ f ] ; faction [ f ] |
ฝ่าย | [fāi] (n) EN: department ; service FR: division [ f ] |
ฝ้าย | [fāi] (n) EN: cotton FR: coton [ m ] |
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง | [fai dai fai neung] (xp) EN: any side ; any party FR: ni pour l'un ni pour l'autre |
ฝ้ายดิบ | [fāi dip] (n, exp) EN: raw cotton |
ฝ่ายจำเลย | [fāi jamloēi] (n, exp) EN: defendant |
ฝ่ายการเงิน | [fāi kānngoen] (n, exp) EN: finance department |
ฝ่ายการตลาด | [fāi kāntalāt] (n, exp) EN: marketing |
ฝ่ายขาย | [fāi khāi] (n) EN: sales ; sales department FR: ventes [ fpl ] |
ฝ่ายค้าน | [fāikhān] (n) EN: opposition FR: opposition [ f ] ; côté négatif [ m ] |
ฝ่ายข้างมาก | [fāi khāngmāk] (n, exp) EN: majority |
ฝ่ายพันธมิตร | [fāi phanthamit] (n) EN: ally ; alliance ; allies |
ฝ่ายปกครอง | [fāi pokkhrøng] (n, exp) EN: administration |
ฝ่ายตุลาการ | [fāi tulākān] (n, exp) EN: judiciary |
ฝักฝ่าย | [fakfāi] (n) EN: group |
ฝักฝ่าย | [fakfāi] (v) EN: be inclined to |
เฝ้ายาม | [faoyām] (v) EN: be on sentry ; keep watch ; keep vigil over FR: garder ; surveiller |
เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล | [jaonāthī fāi bukkhon] (n, exp) EN: human ressources officer |
เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย | [jaonāthī fāi khāi] (n, exp) FR: personnel de vente [ m ] |
เจ้าหน้าที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ | [jaonāthī fāi lūkkhā samphan] (n, exp) EN: customer service |
เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ | [jaonāthī fāi wichākān] (n, exp) EN: technical service |
การเจรจาหกฝ่าย | [kān jēnrajā hok fāi] (x) EN: six-party talks |
การหย่าโดยความยินยอม(ของ)ทั้งสองฝ่าย | [kān yā dōi khwām yinyøm (khøng) thang søng fāi] (n, exp) FR: divorce par consentement mutuel [ m ] |
ขนมปุยฝ้าย | [khanom pūifāi] (n, exp) EN: cotton ball cakes |
คนเฝ้ายาม | [khon faoyām] (n) FR: gardien de nuit [ m ] |
ไม่เข้าข้างฝ่ายใด | [mai khaokhāng fai dai] (v, exp) EN: be impartial |
เมล็ดฝ้าย | [malet fāi] (n, exp) EN: cotton seeds |
นิติกรรมฝ่ายเดียว | [nitikam fāi dīo] (n, exp) EN: unilateral juristic act ; unilateral act |
นิติกรรมสองฝ่าย | [nitikam søng fāi] (n, exp) EN: bilateral juristic act ; bilateral act |
ผ้าฝ้าย | [phā fāi] (n, exp) FR: coton [ m ] |
พันธมิตรฝ่ายเหนือ | [Phanthamit Fāi Neūa] (org) EN: Northern Alliance |
ผู้จัดการฝ่ายบัญชี | [phūjatkān fāi banchī] (n, exp) EN: accounting manager FR: directeur de la comptabilité [ m ] |
ผู้จัดการฝ่ายบุคคล | [phūjatkān fāi bukkhon] (n, exp) EN: personnel manager FR: directeur du personnel [ m ] ; directeur des ressources humaines [ m ] |
ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ | [phūjatkān fāi jatseū] (n, exp) EN: purchasing manager FR: directeur des achats [ m ] |
ผู้จัดการฝ่ายขาย | [phūjatkān fāi khāi] (n, exp) EN: sales manager FR: directeur des ventes [ m ] |
ผู้จัดการฝ่ายการเงิน | [phūjatkān fāi kān-ngoen] (n, exp) EN: finance manager FR: directeur financier [ m ] |
ผู้จัดการฝ่ายการตลาด | [phūjatkān fāi kāntalāt] (n, exp) EN: marketing manager |
ผู้จัดการฝ่ายควบคุมการผลิต | [phūjatkān fāi khūapkhum kān phalit] (n, exp) EN: production control manager FR: directeur du contrôle de la production [ m ] |
ผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพ | [phūjatkān fāi khūapkhum khunnaphāp] (n, exp) EN: quality control manager FR: directeur du contrôle de la qualité [ m ] |
ผู้จัดการฝ่ายผลิต | [phūjatkān fāi phalit] (n, exp) EN: manufacturing manager FR: directeur de production [ m ] |
ผู้จัดการฝ่ายโรงงาน | [phūjatkān fāi rōng-ngān] (n, exp) EN: plant manager FR: directeur d'entreprise [ m ] |
ผู้จัดการฝ่ายส่งออก | [phūjatkān fāi song-øk] (n, exp) EN: export manager FR: directeur des exportations [ m ] |
ผู้นำฝ่ายค้าน | [phūnam fāikhān] (n, exp) EN: leader of the opposition FR: chef de l'opposition [ m ] |
ผู้เป็นฝ่ายในสัญญา | [phū pen fāi nai sanyā] (n, exp) EN: party to the contract |
ปลิดฝ้าย | [plit fāi] (v, exp) EN: pick cotton |
ปุยฝ้าย | [puifāi] (n) EN: cotton wool ; tuft of cotton woo FR: cotton [ m ] |
Longdo Approved EN-TH
collaborative | (adj) ทำด้วยความร่วมมือกันจากหลายคน หรือ หลายฝ่าย มีการช่วยเหลือกัน เพื่อให้งานเสร็จสิ้น |
enemy | (n) |pl. enemies| ศัตรู, ข้าศึก, ฝ่ายตรงข้าม, ปรปักษ์ |
no man's land | (n) เขตฉนวนระหว่างกองทัพสองฝ่าย เช่น No Man's Land on the western front in Europe, during the First World War. |
my two cents | (phrase) เป็นสำนวน ย่อมาจาก "to put my two cents in" ใช้กล่าวก่อนจะแสดงความเห็นของตน โดยเป็นการถ่อมตัวว่า ความเห็นของตนอาจจะไม่ได้มีค่าอะไรมาก (เงิน 2 cents เป็นจำนวนที่น้อยมาก) ก่อนจะให้ความเห็นที่อาจจะแย้งกับความเห็นของอีกฝ่าย เช่น "If I may put my two cents in, that hat doesn't do you any favors." แปลว่า หมวกใบนั้นไม่สวย ไม่เหมาะกับคุณ หรือ "My two cents is that you should sell that stock now." คุณควรจะขายหุ้นนั้นทิ้งซะตอนนี้ (ที่มา http://en.m.wikipedia.org/wiki/My_two_cents) |
mansplaining | (n, slang) การกระทำที่ผู้พูด (มักเป็นผู้ชาย) อธิบายหรือแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งต่างๆ ให้แก่ผู้ฟัง (มักเป็นผู้หญิง) ในลักษณะที่ทำตัวเหนือกว่า, คิดว่าฝ่ายผู้ฟังไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ หรือ ใช้คำอธิบายในลักษณะที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายจนเกินสมควรเช่นเหมือนอธิบายเด็ก ดูคำอธิบายเพิ่มเติม https://dict.longdo.com/blog/word-of-the-day-mansplaining/ |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
aggressor | (n) ฝ่ายรุกราน, See also: ผู้รุกราน, Syn. assailant, invader, offender, attacker |
agnate | (n) ญาติฝ่ายพ่อ |
authority | (n) ฝ่ายบริหาร, See also: สำนักงาน, เจ้าหน้าที่บริหาร |
basketball | (n) บาสเกตบอล, See also: กีฬาชนิดหนึ่งทำคะแนนได้โดยการโยนลูกบอลลงในตะกร้าของฝ่ายตรงข้าม |
be on | (phrv) (พนัน) เข้าข้าง, See also: เดิมพันเข้าข้างหรือฝ่าย, Syn. bet on |
be upon | (phrv) (พนัน) เข้าข้าง, See also: เดิมพันเข้าข้างหรือฝ่าย, Syn. bet on |
be with | (phrv) สนับสนุน, See also: ช่วยเหลือ, เข้าข้างฝ่าย |
break back | (phrv) ชนะคู่ต่อสู้ (ที่เป็นฝ่ายเริ่มเกม) (กีฬาเทนนิส) |
casting vote | (n) การลงคะแนนตัดสินโดยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการประชุมเนื่องจากแต่ละฝ่ายมีคะแนนเท่ากัน |
commander | (n) นาวิกโยธิน, See also: ทหารเรือฝ่ายบก, Syn. officer |
cross over | (phrv) เปลี่ยนฝ่าย, See also: แปรเปลี่ยนไป, ย้ายพรรค, ย้ายไปเข้าข้าง |
cut both ways | (idm) มีผลต่อทั้งสองฝ่าย |
fight to | (phrv) ต่อสู้กันจนกว่าจะรู้ผล, See also: ต่อสู้จนกว่าอีกฝ่ายจะแพ้หรือตาย |
defense | (n) ทนายฝ่ายจำเลย |
defense | (n) ฝ่ายรับ (ทางกีฬา), See also: ฝ่ายตั้งรับ |
desk | (n) แผนก, See also: ฝ่าย, กอง, Syn. bureau, agency, branch, department |
dowry | (n) สินเดิมของฝ่ายหญิง, See also: สินเดิมก่อนสมรส ของผู้หญิง, Syn. bribe's share, tocher |
escalade | (n) การปีนข้ามกำแพงด้วยบันไดเพื่อไปโจมตีฝ่ายตรงข้าม |
escalade | (vt) ปีนข้ามกำแพงด้วยบันไดเพื่อไปโจมตีฝ่ายตรงข้าม |
faction | (n) ฝ่ายหรือกลุ่มที่มีเสียงส่วนน้อย |
factional | (adj) เกี่ยวข้องกับฝ่ายหรือพรรคการเมือง |
field | (n) วงการ, See also: แวดวง, สาขา, แผนก, ฝ่าย, Syn. branch, subject |
go across to | (phrv) เปลี่ยน (ฝ่าย, ข้าง, ความคิด) ไปเข้าข้าง, Syn. go over to |
hack down | (phrv) จู่โจม (ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามในกีฬาฟุตบอล) |
give-and-take | (n) การให้และรับอย่างยุติธรรม (คำไม่เป็นทางการ), See also: การให้และรับอย่างสมยอมทั้งสองฝ่าย, Syn. compromise, balance |
government | (n) รัฐบาล, See also: คณะผู้ปกครอง, ฝ่ายปกครอง, ฝ่ายบริหาร |
group | (n) กลุ่ม, See also: คณะ, พวก, ฝ่าย, หมู่, เหล่า, Syn. band, division, gang, party, type |
hack | (vt) แตะแขนฝ่ายตรงข้ามในกีฬาบาสเกตบอล, See also: แตะแขนคู่ต่อสู้ในกีฬาบาสเกตบอล |
hand | (n) ขาไพ่, See also: ฝ่าย |
Hinayana | (n) นิกายหินยานของพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา พม่า ไทยและกัมพูชา, See also: ชื่อนิกายในพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่นับถือกันในศรีลังกา พม่า ไทยและกัมพูชาและกัมพูชา, ชื่ |
game at which two can play | (idm) กลวิธีที่ทั้งสองฝ่ายใช้ในการแข่งขัน |
have a foot in both camps | (idm) ให้การสนับสนุนหรือช่วยเหลือทั้งสองฝ่าย |
take sides | (idm) เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง |
turn one's coat | (idm) เปลี่ยนความคิด, See also: เปลี่ยนไปเชื่อฝ่ายตรงข้าม |
two-time someone | (idm) หลอกลวง (คู่รักหรือคู่แต่งงานอีกฝ่าย), See also: ไม่ซื่อสัตย์ต่อ คู่รักหรือคู่แต่งงานอีกฝ่าย |
imperium | (n) อำนาจสูงสุด (คำทางการ), See also: อำนาจการควบคุมฝ่ายบริหาร, Syn. supremacy |
indifferent | (adj) ซึ่งเป็นกลาง, See also: ซึ่งไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง, ซึ่งไม่ลำเอียง, Syn. detached, impartial, neutral, Ant. biased, partial |
intendancy | (n) บทบาทหน้าที่ของฝ่ายควบคุมด้านการบริหาร |
intercepter | (n) เครื่องบินประจัญบาน (ทางกองทัพอากาศ), See also: เครื่องบินความเร็วสูงที่ใช้สกัดกั้นเครื่องบินฝ่ายตรงข้าม |
jump ball | (n) ีการโยนลูกบาสเกตบอลขึ้นกลางอากาศให้ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายแย่งกันครองะ |
left wing | (n) สมาชิกพรรคฝ่ายซ้าย, Syn. leftist, left-of-center, Ant. rightist |
leftist | (adj) นิยมฝ่ายซ้าย |
leftist | (n) สมาชิกของพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย, See also: พวกนิยมฝ่ายซ้าย, Syn. collectivist, left-winger |
left-wing | (adj) ฝ่ายซ้าย (กลุ่มหรือพรรคการเมือง) |
magistrate | (n) เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง, See also: พนักงานปกครอง, Syn. jurist, justice, officer |
majority | (n) เสียงข้างมาก, See also: เสียงส่วนมาก, ส่วนรวม, ฝ่ายข้างมาก, Syn. absolute majority |
malfeasance | (n) การทุจริต (เช่น การเมืองหรือฝ่ายพลเรือน), See also: การกระทำผิดหรือการประพฤติผิดกฎหมาย, Syn. malpractice, misprision, misfeasance |
match point | (n) คะแนนสุดท้ายที่ผู้แข่งขันฝ่ายที่เหนือกว่าต้องการเพื่อได้ชัยชนะ, See also: โดยเฉพาะกีฬาเทนนิสหรือกีฬาต้องใช้ racket ตี |
maternal | (adj) เกี่ยวกับมารดา, See also: ทางแม่, ด้านมารดา, ฝ่ายมารดา, Syn. parental |
maverick | (n) ผู้เป็นอิสระ, See also: ผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, ผู้แยกตัว, Syn. nonconformist, loner |
Hope Dictionary
absolute majority | จำนวนสมาชิกที่มีมากกว่าฝ่ายตรงข้ามรวมทั้งหมด |
adjutant general | (pl. adjutants general) เสนาธิการผู้ช่วยฝ่ายบริหาร |
agnate | (แอก' เนท) n., adj. ญาติฝ่ายผู้ชาย, ญาติผู้ชายฝ่ายของพ่อ. -agnatic adj. -agnation n. (allied or akin) |
armorer | n. ผู้สร้างและซ่อมแซมอาวุธ, ทหารฝ่ายสรรพาวุธ, ผู้ผลิตอาวุธ |
armourer | n. ผู้สร้างและซ่อมแซมอาวุธ, ทหารฝ่ายสรรพาวุธ, ผู้ผลิตอาวุธ |
bank switching | การสลับชิปไปมาหมายถึง การสลับไปมาของการใช้ชิปในหน่วยความจำเดิมที่ติดมากับเครื่อง กับหน่วยความจำที่เพิ่มภายหลัง ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งทำให้รู้สึกเสมือนว่า หน่วยความจำทั้งสองนั้นเป็นหน่วยความจำเดียวกัน เช่น บริษัทไอบีเอ็มผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกมาขายในตลาดโดยมีหน่วยความจำติดมาภายในตัวเครื่องเพียง 640 เคไบต์ แต่เรานำไปเพิ่มหน่วยความจำเป็นถึง 16 เมกกะไบต์ การที่จะทำให้หน่วยความจำเดิมกับหน่วยความจำที่เพิ่มมาใหม่ทำงานสลับกันไปมาได้ ก็จะต้องอาศัยการสลับชิปไปมานี้ อย่างไรก็ตาม หากเราเป็นเพียงผู้ใช้เครื่อง (user) ก็ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องนี้เท่าไรนัก เป็นหน้าที่ของช่างฝ่ายเทคนิคที่จะต้องติดตั้งหรือจัดการทำให้ |
belligerent | (บะลิจ'เจอเรินทฺ) adj. ชอบสงคราม, ทำสงคราม, มุ่งร้าย, ก่อสงคราม n. ภาวะสงคราม, ฝ่ายที่เข้าทำสงคราม, Syn. pugnacious, Ant. pacific |
bursary | (เบอร์'ซะรี) n. ทุนการศึกษา, ฝ่ายคลังของโบสถ์ |
cadre | (คา'ดระ, แคด'รี) n. ฝ่ายบริหาร, นายทหารฝ่ายเสนาธิการ, โครงงาน, ขอบข่ายของงาน |
caliph | (แคล'ลิฟ) n. กาหลีบ, ผู้นำฝ่ายปกครองและศาสนาในประเทศอิสลาม, See also: caliphal adj. ดูcaliph, Syn. calif, kalif, khalif |
chief information officer | ประธานฝ่ายสารสนเทศใช้ตัวย่อว่า CIO (อ่านว่า ซีไอโอ) งานสารสนเทศเป็นงานที่สำคัญที่สุดงานหนึ่ง เพราะหน่วยงานนี้ก็คือหน่วยงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักนั่นเอง เป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และวิเคราะห์ แล้วส่งผล (สารสนเทศ) ให้ผู้ที่มีอำนาจ ใช้ในการตัดสินใจ หรือเพื่อไม่ให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจผิดพลาดเพราะขาดข้อมูล (บางทีใช้ในความหมายเดียวกันกับหัวหน้าฝ่ายคอมพิวเตอร์) |
church | (เชิร์ชฺ) { churched, churching, churchs } n. โบสถ์, วัด, ศาสนจักร, ฝ่ายศาสนจักร, การไปโบสถ์, การบวชเป็นพระ vt. นำเข้าประกอบพิธีศาสนาในโบสถ์. |
cio | (ซีไอโอ) ย่อมาจาก chief information officer หรือประธานฝ่ายสารสนเทศ งานสารสนเทศเป็นงานที่สำคัญที่สุดงานหนึ่ง เพราะหน่วยงานนี้ก็คือหน่วยงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักนั่นเอง เป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และวิเคราะห์ แล้วส่งผล (สารสนเทศ) ให้ผู้ที่มีอำนาจ ใช้ในการตัดสินใจ หรือเพื่อไม่ให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจผิดพลาดเพราะขาดข้อมูล (บางทีใช้ในความหมายเดียวกันกับหัวหน้าฝ่ายคอมพิวเตอร์) |
circuit switching | การสลับวงจรในด้านการสื่อสารข้อมูล (data communications) หมายถึงเทคนิคในการสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เมื่อมีการเชื่อมต่อกันแล้วจะติดต่อกันได้ตลอดเวลา ผู้อื่นจะแทรกเข้ามาไม่ได้เลย จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปลดวงจรออก ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น การติดต่อทางสายโทรศัพท์ เมื่อเริ่มพูดกันได้แล้ว คนอื่นจะต่อสายแทรกเข้ามาไม่ได้ จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะวางหูลง (ปลดวงจร) ดู packet switching เปรียบเทียบ |
commissar | (คอม'มิซาร์) n. หัวหน้าหน่วยงานของรัสเซีย, ผู้ตรวจการในรัสเซีย, ผู้บังคับการตำรวจ, นายทหารฝ่ายเกียกกาย |
consensual | (คันเซน'?วล) adj. เกี่ยวกับการเห็นชอบด้วยทั้งสองฝ่าย, เกี่ยวกับการกระทำที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจร่วมกัน |
cross-examine | (ครอส'อิกแซม'มิน) vi. ตรวจสอบโดยคำถาม, ตรวจสอบอย่างละเอียด, ซักถามพยานฝ่ายตรงข้าม, See also: cross-examination n. ดูcross-examine cross-examiner n. ดูcross-examine |
crossover | (ครอส'โอเวอะ) n. สะพาน, การข้าม, ทางรถไฟที่เปลี่ยนสาย, การสวามิภักดิ์กับฝ่ายตรงข้าม, Syn. connecting track |
decentralized data proces | การประมวลผลข้อมูลแบบแยกจากศูนย์หมายถึงการประมวลผลข้อมูลที่มีการเก็บข้อมูลไว้ที่หน่วยงานแต่ละหน่วย ต่างฝ่ายต่างประมวลผลไปได้เองโดยไม่ต้องอาศัยข้อมูลจากกัน |
denominationalize | vt. แบ่งแยกออกเป็นนิกายสำนักหรือฝ่าย |
desk | (เดสคฺ) โต๊ะทำงาน, แท่นอ่าน , กอง ฝ่ายหรือแผนก, ที่ตั้งโน๊ตดนตรี, กองบรรณาธิการ adj. เกี่ยวกับโต๊ะ |
distaff | (ดิส'ทาฟ) n. ไม้พันหรือปั่นด้ายเวลากรอ, เพศหญิง, งานของผู้หญิง. -adj. เกี่ยวกับผู้หญิง, ซึ่งมีเชื้อสายทางฝ่ายแม่ |
division | (ดิวิส'เชิน) n. การแบ่งแยก, การแบ่งสรร, การปันส่วน, ความแตกแยก, สิ่งที่แบ่งแยก, เส้นแบ่งเขต, การหาร, แผนก, ฝ่าย, ส่วน, หน่วย, See also: divisional adj. ดูdivision divisionary adj. ดูdivision, Syn. seperation, part, section, discord |
double agent | n. จากบุรุษที่ทำงานให้กับทั้ง 2 ฝ่ายที่เป็นคู่กรณี |
enate | (อี'เนท) ญาติทางฝ่ายมารดา., See also: enatic adj. ดูenate |
enemy | (เอน'นะมี) n., adj. ศัตรู, ข้าศึก, คู่อริ, ฝ่ายศัตรู, -Phr. (the Enemy ซาตานปีศาจ) ., Syn. rival |
faction | (แฟค'เชิน) n. หมู่, เหล่า, ก๊ก, พวก, ฝ่าย, การต่อสู้ภายในหมู่ (เหล่า, ก๊ก, พวก, ฝ่าย) |
factional | (แฟค'เชินเนิล) adj. เกี่ยวกับหมู่ (เหล่า, ก๊ก, พวก, ฝ่าย) , เห็นแก่ตัว, ซึ่งถือพวกถือพ้อง |
factionary | (แฟค'เชินนะรี) n. สมาชิกของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง. adj. เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง |
factious | (แฟค'เชิส) adj. ซึ่งเล่นพรรคเล่นพวก, ซึ่งแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย., See also: factiousness n. |
fence | (เฟนซฺ) { fenced, fencing, fences } n. รั้ว, เครื่องกั้น, คอกล้อม, พะเนียด, ศิลปะหรือกีฬาฟันดาบ, ความชำนาญในการโต้แย้ง, บุคคลผู้รับและจำหน่ายของโจร, สถานที่รับและจำหน่ายของโจร. -Phr. (sit on the fence เป็นกลาง, ไม่เข้าข้างฝ่ายใด) . vi. เล่นหรือฝึกฝนการฟันดาบ, ล้อมรั้ว, |
gamesmanship | (เกมซฺ'มันชิพ) n. วิธีการเอาชนะคู่ต่อสู้ หรือฝ่ายตรงข้ามโดยไม่ผิดกติกา |
impeachment | (อิมพีช' เมินทฺ) n. การกล่าวโทษ, การฟ้องร้อง, การกล่าวโทษเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารชั้นสูงของรัฐบาลโดยสภาผู้แทนราษฎรต่อสภาสูง (senate) ของสหรัฐอเมริกา, การไม่เชื่อถือ, ภาวะที่ถูกกล่าวโทษดังกล่าว |
imperium | (อิมเพีย' เรียม) n., (pl. -peria) การควบคุม, อำนาจสูงสุด, การปกครอง, เขตการปกครอง, เขตอำนาจ, อาณาจักร, อำนาจการควบคุมฝ่ายบริหาร (command, empire) |
junto | (จัน'โท) n. คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเอง (โดยเฉพาะที่มีจุดประสงค์ทางการเมือง) , กลุ่มอิทธิพลทางการเมือง, ฝ่าย, พรรค, Syn. cabal |
labor | (เล'เบอะ) { labo (u) red, labo (u) ring, labo (u) rs } n. แรงงาน, ใช้แรงงาน, งาน, อาชีพ, ความอุตสาหะ, ความเจ็บปวดและความพยายามในการคลอดลูก, ระยะเวลาในการคลอดลูกดังกล่าว, กรรมกร, ฝ่ายกรรมกร. v. ทำงาน, พยายาม, กระทำด้วยความลำบาก, คลอดลูก, ไปข้างหน้าด้วยความลำบาก, พากเพียร. adj. เ |
labour | (เล'เบอะ) { labo (u) red, labo (u) ring, labo (u) rs } n. แรงงาน, ใช้แรงงาน, งาน, อาชีพ, ความอุตสาหะ, ความเจ็บปวดและความพยายามในการคลอดลูก, ระยะเวลาในการคลอดลูกดังกล่าว, กรรมกร, ฝ่ายกรรมกร. v. ทำงาน, พยายาม, กระทำด้วยความลำบาก, คลอดลูก, ไปข้างหน้าด้วยความลำบาก, พากเพียร. adj. เ |
lefitst | (เลฟ'ทิสทฺ) n. ผู้นิยมฝ่ายซ้าย, สมาชิกฝ่ายซ้าย (ผู้นิยมลัทธิสังคมนิยมหรือการปฏิรูประบบสังคม การเมืองหรือเศรษฐกิจ) ., See also: leftism n. |
left | (เลฟทฺ) adj. ซ้าย, ข้างซ้าย, ด้านซ้าย, มือซ้าย, ทางซ้าย, ปีกซ้าย, ฝ่ายซ้าย (นิยมลัทธิสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์) n. ด้านซ้าย, สิ่งที่อยู่ทางซ้ายมือ, การหันซ้าย, การเลี้ยวซ้าย adv. ไปทางซ้าย v. กริยาช่อง 2 และช่อง 3 ของ leave (จากไป, ลาจาก) -Phr. (the Left ผู้นิยมการปฏิรูประบบการเมืองสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ, หมัดซ้าย |
leftist | (เลฟ'ทิสทฺ) n. ผู้นิยมฝ่ายซ้าย, สมาชิกฝ่ายซ้าย (ผู้นิยมลัทธิสังคมนิยมหรือการปฏิรูประบบสังคม การเมืองหรือเศรษฐกิจ) ., See also: leftism n. |
leftwing | ปีกซ้าย, ฝ่ายซ้าย, ฝ่ายเอียงซ้าย (ของพรรคการเมือง), See also: leftwing adj. ดูleftwing leftwinger n. ดูleftwing, Syn. liberal |
multilateral | (มัลทิแลท'เทอเริล) adj. หลายด้าน, หลายฝ่าย |
mutual | (มิว'ชวล) adj. ซึ่งกันและกัน, ทั้งสองฝ่าย, ร่วมกัน |
mutuality | (มิวชุแอล'ลิที) n. ความร่วมกัน, ความมีทั้งสองฝ่าย, การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์, Syn. reciprocality |
offence | (อะเฟนซฺ') n. การกระทำผิด, การกระทำผิดกฎหมาย, การรุก, การโจมตี, การทำให้ขุ่นเคือง, การก้าวร้าว, สิ่งที่ทำให้ขุ่นเคือง, สิ่งที่ละเมิด, ความรู้สึกขุ่นเคือง, ฝ่ายรุก, ฝ่ายโจมตี |
offense | (อะเฟนซฺ') n. การกระทำผิด, การกระทำผิดกฎหมาย, การรุก, การโจมตี, การทำให้ขุ่นเคือง, การก้าวร้าว, สิ่งที่ทำให้ขุ่นเคือง, สิ่งที่ละเมิด, ความรู้สึกขุ่นเคือง, ฝ่ายรุก, ฝ่ายโจมตี |
old school | n. ฝ่ายอนุรักษ์นิยม, See also: oldschool adj. |
opponent | (อะโพ'เนินทฺ) n. ผู้ขัดขวาง, คู่ปรปักษ์, คู่แข่ง, ฝ่ายตรงกันข้าม. adj. ขัดขวาง, เป็นปรปักษ์, เป็นฝ่ายตรงข้าม, Syn. antagonist |
opposition | (ออพพะซิซ'เชิน) n. การคัดค้าน, การต่อต้าน, การเป็นปรปักษ์, ผู้เป็นปรปักษ์, พรรคฝ่ายค้าน, การวางให้อยู่ตรงกันข้าม, ตำแหน่งที่อยู่ตรงกันข้าม (เป็นมุม180องศา) ., See also: oppositional adj., Syn. antagonism |
oppositionist | (ออพพะซิซ'ชันนิสทฺ) n. สมาชิกพรรคฝ่ายค้าน, ผู้เสนอนโยบายที่คัดค้าน |
Nontri Dictionary
adversary | (n) ศัตรู, คู่ต่อสู้, ฝ่ายตรงข้าม |
CIVIL civil service | (n) ราชการฝ่ายพลเรือน |
commissary | (n) ผู้แทน, นายทหารฝ่ายพลาธิการ, ที่จ่ายเสบียง |
defensive | (n) ฝ่ายรับ, การตั้งรับ, การป้องกัน |
desk | (n) โต๊ะ, โต๊ะทำงาน, กองบรรณาธิการ, แท่นอ่านคัมภีร์, ฝ่าย, แผนก |
division | (n) การหาร, การแบ่ง, การแบ่งแยก, การปันส่วน, ฝ่าย, แผนก, หน่วย |
enemy | (n) ข้าศึก, ศัตรู, ฝ่ายตรงข้าม, คู่อริ, ปรปักษ์ |
executive | (adj) ฝ่ายบริหาร, เกี่ยวกับการปฏิบัติ, เกี่ยวกับการบริหาร |
faction | (n) หมู่คณะ, ก๊ก, พวก, ฝ่าย, เหล่า |
filibuster | (n) สมาชิกสภาฝ่ายค้าน, โจรสลัด |
foe | (n) ศัตรู, คู่อริ, คู่อาฆาต, ข้าศึก, ปรปักษ์, ฝ่ายตรงข้าม, คู่ต่อสู้ |
foeman | (n) ข้าศึก, ศัตรู, ฝ่ายตรงข้าม, คู่ต่อสู้ |
independence | (n) เอกราช, ผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, อิสรภาพ, พรรคการเมืองอิสระ |
independent | (adj) เป็นเอกราช, เป็นกลาง, ไม่เข้าฝ่ายใด, อิสระ, ไม่ขึ้นกับใคร |
left | (n) ด้านซ้าย, ทางซ้าย, ปีกซ้าย, ซีกซ้าย, ฝ่ายซ้าย |
magistrate | (n) เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร, ผู้พิพากษา, นักปกครอง |
multiple | (adj) หลายอย่าง, หลายเท่า, ควบ, หลายฝ่าย, ซ้อน |
mutual | (adj) ซึ่งกันและกัน, ร่วมกัน, ทั้งสองฝ่าย, สัมพันธ์กัน |
north | (n) ทิศเหนือ, ภาคเหนือ, ตอนเหนือ, ฝ่ายเหนือ |
opponent | (n) ฝ่ายตรงข้าม, คู่แข่ง, ปรปักษ์, คู่ต่อสู้ |
opposition | (n) การคัดค้าน, การต่อต้าน, ฝ่ายค้าน |
part | (n) ส่วน, ฝ่าย, ข้าง, หน้าที่, บทบาท, ตอน, บริเวณ |
party | (n) พรรค, พวก, ฝ่าย, งานเลี้ยง, คู่ความ |
paternal | (adj) เหมือนบิดา, ฝ่ายบิดา, ทางสายพ่อ |
plurality | (n) ความมากมาย, เสียงข้างมาก, จำนวนมาก, หลายฝ่าย |
quartermaster | (n) นายทหารฝ่ายพลาธิการ |
right | (n) ความยุติธรรม, สิทธิ, ความถูกต้อง, ข้อเท็จจริง, ฝ่ายขวา |
side | (n) ด้าน, ข้าง, หน้า, ฝ่าย, แง่, แขนง, กรณี |
wing | (n) ปีก, กองบินน้อย, บังโคลนรถ, ฉากข้างเวที, ฝ่าย, ซีก |
yeoman | (n) ชาวนาเจ้าของที่ดิน, ทหารฝ่ายพลาธิการ, องค์รักษ์, บริพาร, เสรีชน |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Act of war | เหตุแห่งสงคราม คือการกระทำหรือเหตุการณ์ใดๆที่ทำให้อีกฝ่ายมีความชอบธรรมในการประกาศสงคราม, Syn. Casus belli |
adversarial | ปรปักษ์ ฝ่ายตรงข้าม |
arm's length transaction | ธุรกรรมระหว่างคู่สัญญาสองฝ่ายที่มีความสัมพันธ์หรือเป็นเครือเดียวกัน แต่ดำเนินธุรกรรมเสมือนไม่ได้มีความเกี่ยวพันกัน ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน หรือบางครั้งอาจหมายถึงธุรกรรมระหว่างคู่สัญญาที่ต่างไม่มีความสัมพันธ์หรือไม่อยู่ในเครือเดียวกัน |
blowjob | (n) (คำหยาบ) การที่ผู้หญิงสำเร็จความใคร่ให้ฝ่ายชายโดยใช้เพียงปากเท่านั้น, See also: Thumbnail gallery post |
Chief Secretary | (n) เสนาเอก เป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนฝ่ายปกครองในอาณานิคมของสหราชอาณาจักร |
consular associate | (n, phrase) ผู้ช่วยฝ่ายกงสุล, กงสุลสมทบ (U.S.A.) |
coopetition | (n, jargon) การร่วมมือกันของธุรกิจที่แข่งขันกัน โดยมากมักจะเป็นเรื่องที่ร่วมมือกันทำแล้วจะเกิดประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย เป็นการรวมคำ 2 คำเข้าด้วยกัน คือ cooperation (การร่วมมือกัน) และ competition (การแข่งขันกัน) |
crossfire | (n) ยืนอยู่ตรงกลางของการต่อสู้ 2 ฝ่าย |
Deputy Governor | รองข้าหลวง เป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนฝ่ายปกครองในดินแดนของสหราชอาณาจักร ตำแหน่งนี้ปรากฎเฉพาะอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ เทียบได้ตำแหน่งผู้ช่วยข้าหลวง (Lieutenant-Governor) ในอาณานิคมอื่นๆ |
Dhamma Studies Department | ฝ่ายการศึกษาพระปริยัติธรรม |
entire agreement | ข้อตกลงที่กำหนดหน้าที่ที่เหมือนกันทั้งสองฝ่าย |
identification, friend or foe | (n) ระบบพิสูจน์ฝ่ายว่าเป็นมิตรหรือศัตรู |
Imperial Household Agency | (org) สำนักพระราชวังหลวง เป็นฝ่ายบริหารจัดการส่วนราชวงศ์ญี่ปุ่น |
land damages | (n) ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าชดเชยที่ฝ่ายรัฐจ่ายให้ในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ |
LANNA | (n) ล้านนา คือดินแดนที่มีจำนวนที่นานับล้าน เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ พะเยา น่าน ลำพูน และ ลำปาง โดยมีเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานี มีภาษาที่เรียกว่า คำเมือง หรือภาษาเหนือ ตัวหนังสือ ตัวเมือง วัฒนธรรม และ ประเพณี เป็นของตนเอง ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง เป็นระบอบมณฑลเทศาภิบาล ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมี พระเจ้าอินทวิชยานนท์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 เป็นพระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ในฐานะราชอาณาจักรพระองค์สุดท้าย และ เจ้าแก้วนวรัฐ, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 เป็นเจ้าผู้ปกครองนครองค์สุดท้าย ปัจจุบันเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสาย "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)" อยู่ในราชตระกูล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง และ ณ น่าน |
leaseback | [ลิซแบ็ค] (n) นิติกรรมซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งขายทรัพย์สินแก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อได้นำทรัพย์สินออกให้ผู้ขายเช่าทันที นิติกรรมเช่นนี้ทำให้ผู้ซื้อมีกรรมสิทธิ์เต็มที่ในทรัพย์สิน แต่ไม่ต้องมีภาระทางการเงิน ส่วนใหญ่มักทำนิติกรรมนี้กันเพื่อผลประโยชน์ทางภาษี บางทีก็เรียกว่า sale and leaseback |
Lieutenant-Governor | ผู้แทนข้าหลวง เป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนฝ่ายปกครองในดินแดนของสหราชอาณาจักร |
mansplaining | การกระทำที่ผู้พูด อธิบายหรือแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งต่างๆ ให้แก่ผู้ฟังในลักษณะที่ทำตัวเหนือกว่า, คิดว่าฝ่ายผู้ฟังไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ หรือ ใช้คำอธิบายในลักษณะที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายจนเกินสมควรเช่นเหมือนอธิบายเด็ก ดูคำอธิบายเพิ่มเติม |
much obliged | (phrase) (ภาษาอังกฤษโบราณ แต่ก็ยังมีใช้กันอยู่) ขอบคุณ, เป็นคำแสดงความระลึกถึงบุญคุณของอีกฝ่าย |
pluralistic | (adj) มีหลายฝ่าย, มีจำนวนมาก, มีคะแนนเหนือ |
pragmatic | ข้อตกลงในการใช้ภาษา เช่นการเว้นช่องไฟระหว่างคำ และควรพูดนานแค่ไหน แล้วจึงเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามพูดบ้าง |
scrum | (n) สกรัม, สถานการณ์ที่กลุ่มคนแต่ละฝ่ายผลักดันอีกฝ่ายเพื่อยึดครองพื้นที่หรือให้ได้มาซึ่งบางสิ่งบางอย่าง |
secured party | ฝ่ายที่มีหลักประกัน |
senior consular program assistant | (n, phrase) ผู้ช่วยกงสุลอาวุโสฝ่ายแผนงาน |
unaccompany | [อันอะคัม\'พะนีด์] (adj) ตามลำพัง, ไม่มีเพื่อน, (ดนตรีบรรเลง)เดี่ยว ที่มา: ฝ่ายวิชาการภาษาอังกฤษ บ.ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด(มหาชน), See also: lonely, alone |
union | (n) ทหารฝ่ายเหนือของสงครามกลางเมือง, Syn. yankee |
weng | [เหวง] (n, modal, verb) พูดไม่รู้เรื่อง, มึนงง, พูดนอกเรื่อง บอกเป็นนัย ๆ ว่าข้าพเจ้าเป็นฝ่ายถูก มักจะถูกนำมาใช้เมื่อกำลังไม่ได้สิ่งที่ตนเองต้องการ (เริ่มใช้ครั้งแรกบนโต๊ะเจรจา), Syn. confuse |
weng | [เหวง] (vt) พูดไม่รู้เรื่อง, มึนงง, พูดนอกเรื่อง บอกเป็นนัย ๆ ว่าข้าพเจ้าเป็นฝ่ายถูก มักจะถูกนำมาใช้เมื่อกำลังไม่ได้สิ่งที่ตนเองต้องการ (เริ่มใช้ครั้งแรกบนโต๊ะเจรจา), See also: wenger, Syn. confuse |
win-win | (adj) ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย |
ตกเบ็ด | การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองของฝ่ายหญิง |
ตุ๋ย | (vt, slang) กิริยาอย่างหนึึ่งหมายถึงการกระทำจากข้างหลัง เช่นกิจกรรมทางเพศของพวกเกย์ หรือกรณีในเกมเช่น DotA หมายถึงการซุ่มโจมตีโดยอีกฝ่ายไม่ทันระวังตัว, See also: Tui, DotA, Noob, Grean, Syn. Backdoor |
Longdo Approved JP-TH
両方 | [りょうほう, ryouhou] (n) ทั้งคู่, ทั้งสองฝ่าย |
人事部 | [じんじぶ, jinjibu] (n) ฝ่ายบุคคล |
各位 | [かくい, kakui] (n) ทุกๆ คน ทุกๆ ฝ่าย มักใช้ในจดหมาย หรือคำสั่ง |
営業部 | [えいぎょうぶ, eigyoubu] (n) ฝ่ายขาย |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
双方 | [そうほう, souhou] (n, pron) ทั้งสองฝ่าย |
賛否両論 | [さんぴりょうろん, sanpiryouron] (n) การวิพากวิจารณ์ที่แยกสองฝ่ายทั้งดีและไม่ดี |
所長 | [しょちょう, shochou] (n) หัวหน้าแผนก, หัวหน้าฝ่าย |
幕僚 | [ばくりょう, bakuryou] (n) นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผบ. |
Saikam JP-TH-EN Dictionary
構いません | [かまいません, kamaimasen] TH: คำพูดที่ใช้บอกฝ่ายตรงข้ามให้สบายใจว่าผู้พูดไม่ถือสา แปลว่า ไม่เป็นไร EN: it doesn't matter |
勝利 | [しょうり, shouri] TH: มีชัยชนะเหนือฝ่ายตรงข้าม EN: conquest |
向こう | [むこう, mukou] TH: ฝ่ายตรงข้าม EN: opposite side |
父方 | [ちちかた, chichikata] TH: ญาติฝ่ายพ่อ EN: father's side of family |
仰る | [おっしゃる, ossharu] TH: พูด(เป็นคำยกย่องฝ่ายตรงข้าม) EN: to say (hon) |
お前 | [おまえ, omae] TH: คำสรรพนามเรียกฝ่ายตรงข้าม ไม่สุภาพ EN: you (sing, fam) |
責める | [せめる, semeru] TH: ตำหนิว่าฝ่ายตรงข้ามทำไม่ถูกต้อง EN: to condemn |
Longdo Approved DE-TH
versöhnen | (vt) |versöhnte, hat versöhnt| คนสองคนหรือฝ่ายสองฝ่ายกลับมาปรองดองกันได้อีกครั้ง, See also: die Versöhnung |
Prüfungsamt | (n) |das| ฝ่ายวิชาการในมหาวิทยาลัย ซึ่งรับผิดชอบเรื่องที่เกี่ยวกับการสอบโดยตรง |
Longdo Unapproved DE-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
*ualitätsmanagement-Beauftragte { m, f }; Qualitätsm* | (n) ผู้แทนฝ่ายบริหารด้านคุณภาพ |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0488 seconds, cache age: 44.921 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม