428 ผลลัพธ์ สำหรับ *ผูก*
ภาษา
หรือค้นหา: ผูก, -ผูก-Longdo Unapproved TH - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ประดิพัทธ์ | ความรักใคร่ผูกพัน |
สก๊อย | [สะ-ก๊อย] (n, slang) วัยรุ่นหญิงที่มักนั่งท้ายมอเตอร์ไซค์ของเด็กแว้น มักใส่เสื้อยืดรัดติ้ว หรือไม่ก็สายเดี่ยว เสื้อกล้าม เกาะอก ชอบใส่กางเกงขาสั้นเอวต่ำ มักผัดหน้าให้ขาววอก และจะผูกผมเป็น 2 ข้าง ส่วนริมฝีปากจะแดงระเรื่อ เครื่องประดับชิ้นสำคัญ คือ หวี และการใช้โทรศัพท์มือถือและน้ำยาอุทัยทิพย์ที่ใช้ทาปากให้แดงอยู่เสมอ ส่วนใหญ่บริเวณน่องขาของสก๊อยมักมีรอยท่อไอเสียดาด และรอยแผลเป็นประปรายตามแข้งขาเนื่องจากอุบัติเหตุ |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
การผูก | (n) tying, See also: binding, fastening, attachment, affix, tethering, Syn. การพัน, การรัด, การมัด, การผูกยึด, Example: เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์อธิบายการผูกเชือกกล่องพัสดุ, Thai Definition: การเอาเชือกเป็นต้นสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน เพื่อทําให้มั่นหรือติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่น, การติดต่อหรือติดพันกันแน่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง |
ผูกจิต | (v) have one's heart, See also: tie with affection, form ties of affection, Syn. ผูกใจ, Example: เราได้แต่ผูกจิตในรักเฝ้าคะนึงหานางอยู่ทุกเวลา, Thai Definition: เอาใจใส่ผูกพันด้วยความรักหรือปรารถนาดี |
ผูกเวร | (v) hold grudge against, See also: seek revenge, bear someone a grudge, start a feud with, enter into a feud, engage in endl, Syn. จองเวร, Example: ผู้ใดผูกเวรต่อกัน ผู้นั้นจะได้รับความทุกข์ไปตลอดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้, Thai Definition: เอาใจไปติดพันแน่นกับความพยาบาทหรือความปองร้ายต่อผู้อื่น |
ท้องผูก | (v) be constipated, See also: suffer from constipation, Ant. ท้องเดิน, ท้องร่วง, ท้องเสีย, Example: ยาหลายอย่างมีผลข้างเคียงทำให้ท้องผูก, Thai Definition: อาการที่อุจจาระแข็งถ่ายออกลำบาก |
ท้องผูก | (n) constipation, See also: suffer from constipation, Syn. โรคท้องผูก, อาการท้องผูก, Ant. ท้องเดิน, ท้องร่วง, ท้องเสีย, Example: เขาไม่ค่อยทานผักและผลไม้ จึงเป็นโรคท้องผูกบ่อยๆ, Thai Definition: อาการที่อุจจาระแข็งถ่ายออกลำบาก |
ผูกไมตรี | (v) befriend, See also: make friends, form / make an alliance, Syn. ผูกสัมพันธ์, Example: เธอเห็นเขาเริ่มจะรวยก็รีบผูกไมตรีอย่างออกนอกหน้าทีเดียว, Thai Definition: ติดต่อหรือสร้างความสัมพันธ์ต่อกันหรือเป็นเพื่อนกัน เป็นต้น |
ข้อผูกพัน | (n) commitment, See also: obligation, pledge, Syn. ข้อผูกมัด, ข้อสัญญา, พันธะ, สัญญาผูกมัด, Example: ข้อผูกพันเรื่องการส่งออกข้าวระหว่างไทยกับญี่ปุ่นกำลังจะสิ้นสุดลง, Count Unit: ข้อ, ประการ |
ข้อผูกมัด | (n) obligation, See also: binding condition, Syn. ข้อสัญญา, ข้อผูกพัน, พันธะ, Example: อเมริกาไม่มีข้อผูกมัดใดๆ กับคูเวตอีกต่อไป, Count Unit: ข้อ, Thai Definition: สิ่งที่เป็นสัญญาต่อกันหรือข้อตกลงที่ผูกพันระหว่างกัน |
ผู้ผูกขาด | (n) monopolist, See also: monopoly, Example: บริษัทจะไม่ได้กำไรได้อย่างไรในเมื่อเป็นผู้ผูกขาดการจำหน่ายยางพาราไว้แต่เพียงผู้เดียว, Thai Definition: ผู้สงวนสิทธิ์การเป็นผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายไว้แต่ผู้เดียว |
ความผูกพัน | (n) relationship, See also: connection, Syn. ความสัมพันธ์, Example: เพื่อนสองคนนี้มีความผูกพันกันมานาน |
ภาระผูกพัน | (n) obligation, See also: charge, Example: ในปีนี้ฐานะเงินคงคลังของประเทศเหลือเพียง 103, 635 ล้านบาท และในจำนวนนี้มีภาระผูกพันที่จะต้องใช้อีกประมาณ 6 หมื่นกว่าล้านบาท, Thai Definition: เรื่องที่ต้องรับผิดชอบต่อเนื่องไป |
ราคาผูกขาด | (n) monopoly price |
เครื่องผูก | (n) a house composing parts tied together with rattan, Example: เรือนพื้นบ้านแบบชั่วคราวชนิดเรือนเครื่องผูกจะใช้วัสดุท้องถิ่นที่หามาได้ง่ายๆ ในบริเวณใกล้เคียง, Thai Definition: เรียกเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีผูกด้วยหวายเป็นต้นว่า เรือนเครื่องผูก, คู่กับ เรือนเครื่องสับ |
การค้าผูกขาด | (n) monopoly, Syn. การค้าแบบผูกขาด, Ant. การค้าเสรี, Example: เขาไม่เห็นด้วยกับการค้าผูกขาดในตลาดของบริษัทไมโครซอฟต์, Thai Definition: การค้าที่ภาวะตลาดมีผู้ขายเพียงผู้เดียว |
อาการท้องผูก | (n) constipation, See also: irregularity, Syn. ท้องผูก, Example: วัณโรคที่ลำไส้อาจทำให้มีอาการท้องผูกสลับท้องเดิน และอาจคลำพบก้อนในท้อง |
เชือกผูกรองเท้า | (n) shoelace, See also: shoestring, Example: เชือกผูกรองเท้าของเขาหลุด, Count Unit: เส้น |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
เครื่องผูก | น. เรียกเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีผูกด้วยหวายเป็นต้น ว่า เรือนเครื่องผูก, คู่กับ เรือนเครื่องสับ. |
ท้องผูก | ว. อาการที่อุจจาระแข็งถ่ายออกลำบาก. |
ผูก | ก. เอาเชือกเป็นต้นสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน เพื่อทำให้มั่นหรือติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่น เช่น ผูกเชือก ผูกลวด ผูกโบ, ติดต่อหรือติดพันกันแน่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ผูกใจ ผูกโกรธ ผูกมิตร, ประกอบเข้า เช่น ผูกประโยค ผูกปริศนา ผูกลาย, ติดพันกันด้วยเรื่องสิทธิและหน้าที่ตามที่ตกลงกัน เช่น ผูกตลาด ผูกท่า |
ผูก | คุ้มครอง (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น เอาม้าผูกโคน เอาเรือผูกม้า |
ผูก | ขมวด เช่น ผูกคิ้วนิ่วหน้าไม่พาที (นิ. นรินทร์) |
ผูก | จอง เช่น ผูกเวร |
ผูก | ตรงข้ามกับ แก้. |
ผูก | น. ลักษณนามเรียกหนังสือใบลานที่ร้อยหูไว้มัดหนึ่ง ๆ ว่า คัมภีร์เทศนาผูกหนึ่ง. |
ผูกกระได | ก. ทอดสะพานเข้าไปสืบข่าว เช่น ก็ให้ผูกกระไดข่าวคอย (ลอ). |
ผูกขวัญ | ก. เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า “ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว” แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามสมควร. |
ผูกขาด | ก. สงวนสิทธิไว้แต่ผู้เดียว. |
ผูกดวง | ก. นำเครื่องหมายแทนพระเคราะห์มีอาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ศุกร์ เป็นต้น บรรจุลงในดวงตามช่องจักรราศีทั้ง ๑๒ ที่โคจรมาสถิตตามวัน เดือน ปี และเวลาตกฟากของเจ้าของชะตานั้น ดูว่าอาทิตย์ตกอยู่ในราศีใด แล้วเอาองศาอาทิตย์ของวันเกิดเจ้าของชะตามาคำนวณว่า เมื่อเวลา ๖.๐๐ นาฬิกา อาทิตย์อยู่ในราศีดังกล่าวมาแล้วนานเท่าใด เรียกว่า อดีตอุทัย และเวลาเหลืออีกนานเท่าใดจึงจะพ้นไปจากราศีนั้น เรียกว่า อนาคตอุทัย แล้วเอาเวลาตกฟากตั้งลบด้วย ๖.๐๐ นาฬิกา และอนาคตอุทัย ต่อไปเอาอันโตนาทีของราศีถัด ๆ ไปลบทีละราศี ถ้าเวลาหรือเลขที่เหลือไม่พอให้อันโตนาทีของราศีใดลบได้ ลัคนาก็อยู่ที่ราศีนั้น การผูกดวงนี้เพื่อทำนายโชคชะตาเป็นต้น. |
ผูกดอก | ก. ทำหนังสือสัญญาเป็นลูกจ้างรับเงินล่วงหน้าแล้วให้ดอกเบี้ยแทนรับใช้การงาน. |
ผูกปิ่นโต | ก. ว่าจ้างให้ทำอาหารใส่ปิ่นโตส่งให้ตามที่ตกลงกัน, (ปาก) ว่าปิ่นโต, กินปิ่นโต ก็ว่า. |
ผูกพัทธสีมา | น. เรียกพิธีสังฆกรรมที่สงฆ์กำหนดเขตแดนขึ้น โดยมีหินเป็นต้นเป็นเครื่องหมาย ว่า พิธีผูกพัทธสีมา. |
ผูกพัน | ก. มีความเป็นห่วงกังวลเพราะรักใคร่เป็นต้น |
ผูกพัน | ก่อให้เกิดพันธะที่จะต้องปฏิบัติตาม |
ผูกพัน | ก่อหนี้สินผูกมัดรัฐบาลให้ต้องจ่ายในงบประมาณแผ่นดินต่อ ๆ ไป เช่น หนี้ผูกพัน งบประมาณผูกพัน รายจ่ายผูกพัน. |
ผูกภาษี | ก. ว่าเหมาการเก็บภาษีไปทำเองแล้วให้เงินแก่หลวงตามสัญญา. |
ผูกมัด | ก. ผูกพันไว้แน่น. |
ผูกเวร | ก. จองเวร. |
ผูกหู | ก. ทำเครื่องหมายกำหนดไว้เพื่อกรรมสิทธิ์หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง, กำหนดไว้, จองไว้. |
เรียนผูกต้องเรียนแก้ | ก. รู้วิธีทำก็ต้องรู้วิธีแก้ไข, รู้กลอุบายทุกทาง ทั้งทางก่อและทางแก้. |
เรือนเครื่องผูก | น. เรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีผูกด้วยหวายเป็นต้น, คู่กับ เรือนเครื่องสับ. |
กรรภิรมย์ | (กัน-) น. ฉัตร ๕ ชั้นและ ๗ ชั้น สำรับหนึ่งมี ๓ องค์ คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ ทำด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นเขียนทอง เป็นเครื่องสูงอันเป็นสิริมงคลยิ่งสำหรับพระมหากษัตริย์ ใช้กางเชิญนำพระราชยานเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราใหญ่ และใช้เข้าพิธีคชกรรมนำช้างสำคัญขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี. |
กระแจะ ๓ | น. ชื่อรูปปลอกเหล็กสำหรับจับช้างดุ ทางปลายสัณฐานปากเปิดอย่างคีมคีบเบ้าทองเหลือง มีกำลังหดตัวให้ปลายจดเข้าหากันได้ ที่ริมปากมีงาแซงทำด้วยเหล็กปลายแหลมข้างละอัน ที่โคนปลอกมีที่สำหรับสวมคันไม้ไผ่ที่ทะลวงให้กลวง ร้อยเชือกซึ่งผูกจากปลอกลอดออกมาจากคันไม้ ใช้สำหรับพุ่งเข้าไปเกาะขาช้างข้างใดข้างหนึ่งไว้ เมื่อเกาะได้แล้ว โรยปลายไปผูกกับขอนไม้ไว้เพื่อช้างจะได้ลาก ช้างกำลังดุก็ลากไป งาแซงก็จะฝังลึกเข้าไปทุกทีจนไม่สามารถจะก้าวขาได้ ก็เป็นอันจับได้ |
กระโจม ๑ | น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกำบังแดดลมเป็นต้น, โจม ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นลอม เช่น กระโจมปืน หรือสิ่งที่ผูกรวบยอดให้รวมกัน เช่น ปากผูกกระโจม หรือผ้าที่ทำเป็นลอมเพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อออก เช่น เข้ากระโจม. |
กระชัง ๒ | น. เครื่องสำหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะเป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบเพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกรํ่า เมื่อจับปลาหรือกุ้งได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่ากระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สำหรับจับปลาขนาดใหญ่มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยนํ้าไว้. |
กระแชง ๒ | น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียว, หุ้มผ้าแดง ปลายสายทั้ง ๒ ข้าง ผูกกับสายสำอางคร่อมอยู่ทางท้ายสันหลังช้าง สำหรับควาญช้างจับเมื่อเวลาคับขัน, กระแซง กระแอก หรือ ปะแอด ก็เรียก. |
กระเบน | บริเวณปลายกระดูกสันหลังช้าง เหนือโคนหาง เช่น ผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง (กฐินพยุห). |
กระพรวน | (-พฺรวน) น. โลหะทำเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็ก ๆ อยู่ข้างในเพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกข้อเท้าเด็กหรือคอสัตว์เป็นต้น, พรวน ลูกพรวน หรือ ลูกกระพรวน ก็ว่า, (ถิ่น–พายัพ, อีสาน) หมากหิ่ง หรือ มะหิ่ง. |
กระพัด | น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้นที่ชัน, เขียนเป็น กระพัตร ก็มี เช่น และกระพัตรรัตคนควร (ดุษฎีสังเวย). |
กระพัด | ก. ผูก, คาด, ล้อม, เช่น เหตุกระพัดรัดตาด้วยไฟราค (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กระสัน | ก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึงไก่ในไพรพฤกษ์ (ลอ) |
กระสัน | ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสองกระสันเข้าให้มั่นกับมือ (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน |
กระหนก ๑ | น. ชื่อลายไทยประเภทหนึ่ง ใช้ผูกเขียนเป็นลวดลาย มีทั้งระบายสี ปิดทองรดนํ้า ปั้น หรือแกะสลักเป็นต้น มีหลายแบบ เช่น กระหนกเปลว กระหนกก้านขด กระหนกเครือ, เขียนเป็น กนก ก็มี. |
กระแอม ๒ | น. ลายที่ผูกเป็นตัวลอย ๆ อยู่ในรูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน คล้ายลายกระหนกหางโต ใช้สำหรับอุดหรือปิดช่องไฟระหว่างปลายกระหนกเครือวัลย์ เรียกว่า ลูกกระแอม หรือ ตัวกระแอม. |
กลอนสด | น. กลอนที่ผูกและกล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยไม่ได้คิดมาก่อน, โดยปริยายหมายความว่า ข้อความที่กล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยมิได้เตรียมตัวมาก่อน เช่น พูดกลอนสด. |
กลิ่น ๒ | (กฺลิ่น) น. ชื่อพวงดอกไม้ร้อยมีรูปแบนประกอบด้วยอุบะ, ถ้าทำให้ผูกแขวนควํ่าลงมา เรียกว่า กลิ่นควํ่า, ถ้าทำให้ผูกแขวนตะแคง เรียกว่า กลิ่นตะแคง. |
กะ ๔ | น. ชื่อเงื่อนชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับผูกเรือเพื่อคล้องกับที่ยึดหรือเสายึดเรือ เป็นเงื่อนที่แน่นแต่แก้ออกง่าย, ถ้าผูกเงื่อนชนิดทำห่วงไว้ก่อน เรียกว่า กะห่วง. |
กะต้ำ | น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าตามริมฝั่งชนิดหนึ่ง ใช้เฝือกกั้นด้านข้าง ๒ ด้านเป็นคอก ด้านหน้ามีประตูผูกเชือกชักขึ้นลงได้ ด้านหลังชิดตลิ่ง ใช้ตลิ่งเป็นที่กั้น ในคอกสะด้วยกิ่งไม้และโปรยเหยื่อเพื่อล่อให้ปลาเข้าไป, ต้อน ก็เรียก. |
การคลัง | ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือให้สัตยาบัน รวมทั้งการคํ้าประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ. |
กำปั่น ๑ | น. เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง หัวเรือเรียวแหลม ท้ายเรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่นออกไปสำหรับผูกสายใบ มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า กำปั่นใบ, ถ้าเสากระโดงตรงกลางไม่มี มีปล่องไฟโดยใช้เดินด้วยกำลังเครื่องจักรไอนํ้า เรียกว่า กำปั่นไฟ. |
กินปิ่นโต | ก. ว่าจ้างให้ทำอาหารใส่ปิ่นโตส่งให้ตามที่ตกลงกัน, ผูกปิ่นโต ก็ว่า, (ปาก) ว่าปิ่นโต. |
เกณฑ์ตะพัด | น. เครื่องผูกสำหรับหัดช้างให้เดินฝีเท้าเรียบ. |
เกริ่น ๒ | (เกฺริ่น) น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าเป็นซีก ๆ ผูกด้วยหวายให้ติดกันเป็นแผง, ปัจจุบันเรียกว่า เฝือก. |
เกียด ๑ | น. เรียกไม้ที่ปักขึ้นกลางลานสำหรับผูกควายหรือวัวให้ย่ำนวดข้าวไปรอบ ๆ ว่า เสาเกียด. |
เกี่ยว | ก. อาการที่สิ่งงอเป็นขอเกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น ทอดสมอให้เกี่ยวแง่หินไว้, เอาของที่มีลักษณะเช่นนั้นเกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น เอาขอเกี่ยว, ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เช่น เรื่องนี้อันตรายมากอย่าเอาตัวเข้าไปเกี่ยวเลย, เกี่ยวข้อง ก็ว่า |
เกี่ยวข้อง | ก. ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เกี่ยว ก็ว่า. |
แกว ๒ | น. เรียกไม้ยาว ๆ ที่ผูกเบ็ดที่ปลายสำหรับชักกบในรู ว่า ขอแกว. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
post-obit bond | ข้อผูกพันที่จะชำระหนี้เมื่อบุคคลที่ระบุไว้ถึงแก่ความตาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
polyopsony | การผูกขาดการซื้อ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
polypoly | การผูกขาดการขาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
ligate | ผูก [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
ligature | วัสดุใช้ผูก [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
loan, tied | เงินกู้ที่มีข้อผูกมัด [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
laws, anti-trust | กฎหมายป้องกันการผูกขาด [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
strap | ๑. สายรัด, แถบ๒. ผูกรัด [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
self-adjoint | ผูกพันในตัว [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] |
sponsion | ข้อตกลงที่ยังไม่ผูกพัน (เว้นแต่จะได้รับสัตยาบัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
onerous | มีภาระผูกพันเกินควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
onerous contract | สัญญาที่มีภาระผูกพันเกินควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
obstipation | อาการท้องผูกดื้อด้าน [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
oligopoly | การผูกขาดโดยผู้ขาย (เพียงน้อยราย) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
oligopoly | การผูกขาดโดยผู้ขายเพียงน้อยราย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
onerous term | ข้อกำหนดที่มีภาระผูกพันเกินควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
obligation | ๑. พันธกรณี, ข้อผูกพัน๒. หนี้ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
obligation | พันธะ, ข้อผูกพัน [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
obligation | ๑. หนี้, ข้อผูกพัน (ก. แพ่ง)๒. พันธกรณี (ก. ระหว่างประเทศ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
obligation of a contract | หนี้ตามสัญญา, ข้อผูกพันตามสัญญา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
obligatory reinsurance | การประกันภัยต่อโดยผูกพัน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
obligor | ผู้มีภาระผูกพัน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
anti-trust laws | กฎหมายป้องกันการผูกขาด [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
adjoint | ผูกพัน [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] |
adjoint equation | สมการผูกพัน [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] |
adjoint matrix | เมทริกซ์ผูกพัน [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] |
adjoint operator | ตัวดำเนินการผูกพัน [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] |
binding agreement | สัญญาที่จะมีผลผูกมัดต่อเมื่อคู่สัญญาสนองรับ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
binding receipt | ใบรับผูกพัน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
bilateral contract | สัญญาผูกพันสองฝ่าย [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
bilateral discharge | การพ้นจากความผูกพันตามสัญญา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
belly, bound | ท้องผูก [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
bound belly | ท้องผูก [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
monopoly | การผูกขาด [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
monopoly | การผูกขาด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
monopsony | การผูกขาดการซื้อ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
mutuality | ความผูกพันซึ่งกันและกัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
cartel | ๑. ข้อตกลงแลกเปลี่ยนเชลยศึก๒. การรวมกลุ่มเพื่อผูกขาดทางธุรกิจ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
clean cut basis | หลักการตัดภาระผูกพัน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
cease to be binding | สิ้นความผูกพัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
complication | การผูกปม [วรรณกรรม ๖ มี.ค. ๒๕๔๕] |
commitment | ๑. การส่งร่างกฎหมายให้คณะกรรมาธิการพิจารณา๒. ข้อผูกมัด, พันธกรณี๓. หมายจำคุก [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
commitment | ข้อผูกมัด, การผูกมัด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
domestic agreement | ข้อตกลงระหว่างคนในครอบครัว (ที่ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
facultative obligatory treaty | สัญญาประกันภัยต่อผูกพันแบบเฉพาะราย [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
engrossment | ๑. การร่างมติ (เพื่อเสนอให้ลงมติ) (ก. ปกครอง)๒. การกว้านซื้อสินค้า (เพื่อผูกขาด) (ก. พาณิชย์) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
engagement | ข้อผูกพัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
imperfect obligation | หนี้ที่ไม่ผูกพัน (ตามกฎหมาย), หนี้ทางศีลธรรม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
tied loan | เงินกู้ที่มีข้อผูกมัด [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
tubal ligation | การผูกท่อรังไข่ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Take or Pay | ข้อผูกพันในการซื้อขายก๊าซ, Example: ข้อผูกพันในการซื้อขายก๊าซซึ่งผู้ซื้อได้ตกลงกับผู้ขายที่จะซื้อและรับก๊าซในปริมาณที่ตกลงไว้ ถ้าผู้ซื้อไม่สามารถรับก๊าซในปริมาณและระยะเวลาที่ตกลงไว้ จะต้องจ่ายมูลค่าก๊าซที่ยังไม่ได้รับไปก่อนแล้วไปรับก๊าซคืนในปีถัดไป (Make-up) (ดูคำ Make-up Gas) [ปิโตรเลี่ยม] |
Make-up Gas | ก๊าซส่วนที่รับคืนมาจากการจ่ายเงินค่าก๊าซไปแล้วในปีก่อนตามข้อผูกพัน Take or Pay, ก๊าซส่วนที่รับคืนมาจากการจ่ายเงินค่าก๊าซไปแล้วในปีก่อนตามข้อผูกพัน Take or Pay (ดูคำ Take or Pay) [ปิโตรเลี่ยม] |
Antitrust law | กฎหมายป้องกันการผูกขาด [เศรษฐศาสตร์] |
Antitrust legislation | การตรากฎหมายป้องกันการผูกขาด [เศรษฐศาสตร์] |
Industrial trust | การรวมกันผูกขาดทางอุตสาหกรรม [เศรษฐศาสตร์] |
Investment commitment | ภาระผูกพันในการลงทุน [เศรษฐศาสตร์] |
Oligopoly | การผูกขาดโดยผู้ขายน้อยราย [เศรษฐศาสตร์] |
Acute intake | การรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีเฉียบพลัน, การรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายภายในระยะเวลาสั้น ซึ่งสามารถนำไปคำนวณเป็นปริมาณรังสีผูกพันที่ได้รับในคราวเดียว [นิวเคลียร์] |
Annual Limit on Intake | เอแอลไอ, ขีดจำกัดการรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีรอบปี, ปริมาณสูงสุดของนิวไคลด์กัมมันตรังสีแต่ละชนิด ที่ร่างกายได้รับโดยการหายใจ การกิน หรือ ผ่านทางผิวหนังในเวลา 1 ปี ได้จากการคำนวณปริมาณรังสีผูกพันโดยใช้แบบจำลองมนุษย์อ้างอิง (Reference Man) จะเท่ากับขีดจำกัดปริมาณรังสี [นิวเคลียร์] |
Chronic intake | การรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีต่อเนื่อง, การรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ การกิน หรือ การซึมผ่านผิวหนังหรือบาดแผล อย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลานาน ดังนั้น ปริมาณรังสีผูกพันจึงเป็นผลรวมของปริมาณรังสีผูกพันที่ได้รับในคราวเดียวของแต่ละช่วง [นิวเคลียร์] |
Committed dose | ปริมาณ (รังสี) ผูกพัน, ปริมาณรังสียังผลจากสารกัมมันตรังสีที่เข้าสู่ร่างกาย บางชนิดจะกระจายไปทั่วร่างกาย บางชนิดจะไปสะสมอยู่ในอวัยวะเฉพาะที่ เรียกว่า อวัยวะวิกฤติ (critical organ) เช่น ไอโอดีนจะสะสมอยู่ที่ต่อมไทรอยด์ รังสีจะมีผลต่อร่างกายจนกว่าสารกัมมันตรังสีนั้นสลายหมดไปหรือถูกขับถ่ายออกจนหมด ปกติจะคำนวณระยะเวลาการรับรังสี 50 ปีสำหรับผู้ใหญ่ และ 70 ปีสำหรับเด็ก มีหน่วยเป็น ซีเวิร์ต [นิวเคลียร์] |
Constipation | ท้องผูก [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
ผูกพัน | Example: คำที่มักเขียนผิด คือ ผูกพันธ์ [คำที่มักเขียนผิด] |
Antitrust law | กฎหมายป้องกันการผูกขาด [TU Subject Heading] |
Constipation | ท้องผูก [TU Subject Heading] |
Knots and splices | การผูกเงื่อน [TU Subject Heading] |
Monopolies | การค้าผูกขาด [TU Subject Heading] |
Oligopolies | การค้าผูกขาดโดยผู้ขายน้อยราย [TU Subject Heading] |
Organizational commitment | ความผูกพันต่อองค์การ [TU Subject Heading] |
Sterilization, Tubal | การทำหมันโดยผูกท่อรังไข่ [TU Subject Heading] |
Monopoly | การผูกขาด, Example: อุตสาหกรรมใดที่มีหน่วยธุรกิจเพียงหน่วยเดียว ในท้องตลาดเป็นผู้จัดหาสินค้าและบริการในท้องตลาด เรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีการผูกขาด การผูกขาดอาจยืนยงอยู่ได้ ในช่วงเวลาที่ห้ามหน่วยธุรกิจอื่นเข้ามาดำเนินการ โดยรัฐอาจสงวนสิทธิ การผลิตไว้เองหรือมอบหมายให้หน [สิ่งแวดล้อม] |
accession | ภาคยานุวัติ หมายถึง การให้ความยินยอมที่จะผูกพันตามสนธิสัญญาภายหลังจากที่มีการลงนามในสนธิ สัญญาไปแล้ว [การทูต] |
agreement (accord) | ความตกลง ความตกลงระหว่างประเทศมี 2 ลักษณะ คือ ความตกลงที่มีลักษณะเป็นข้อผูกพันตามกฎหมาย และความตกลงที่ไม่มีลักษณะเป็นข้อผูกพันตามกฎหมาย [การทูต] |
aide-mémoire | บันทึกช่วยจำ " 1. เป็นเอกสารที่สร้างข้อผูกพัน ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของสัญญา 2. ในทางการเมืองระหว่างประเทศ เป็นเอกสารที่ช่วยย้ำประเด็นที่ได้มาพบและพูดไว้ " [การทูต] |
Bangkok Declaration : Global Dialogue and Dynamic Engagement | ปฏิญญากรุงเทพ : การหารือและการมีส่วนร่วมอย่างมีพลวัตของประชาคมโลก " หนึ่งในสองของเอกสารผลการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่แสดงฉันทามติของประเทศสมาชิกอังค์ถัด 190 ประเทศ เกี่ยวกับผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ร่วมทางการเมืองของประเทศสมาชิกอังค์ถัดที่จะร่วมมือ กันดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อทำให้สมาชิกทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ได้รับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ในด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อีกทั้งเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบของกระบวนการโลกาภิวัตน์ได้ แม้ปฏิญญากรุงเทพจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมือง เป็นสัญญาประชาคมที่ทุกประเทศสมาชิกอังค์ถัดมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามแนว นโยบายที่ได้ร่วมกันแถลงไว้ในเอกสารดังกล่าว และเอกสารนี้สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการเจรจาหารือระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเรื่องของการเงิน การค้า การลงทุน และการพัฒนาได้ " [การทูต] |
Bangkok Plan of Action | แผนปฏิบัติการกรุงเทพ (ในการประชุมอังค์ถัด) เป็นเอกสารที่ระบุรายละเอียดของแนวนโยบาย วิธีการ และมาตรการในการดำเนินนโยบายด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการพัฒนาที่ประเทศสมาชิกอังค์ถัดได้ตกลงโดยฉันทามติเมื่อการประชุมอัง ค์ถัด ครั้งที่ 10 เพื่อให้ประเทศสมาชิกอังค์ถัดและสำนักเลขาธิการอังค์ถัดดำเนินการให้บรรลุ วัตถุประสงค์ตามที่แถลงไว้ในแถลงการณ์กรุงเทพ และเป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมืองเช่นเดียวกัน แผนปฏิบัติการกรุงเทพแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้ (1) การประเมินผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบของโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีต่อการ พัฒนา (2) การประมวลพัฒนาการของข้อริเริ่มระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ (3) มาตรการและข้อริเริ่มต่าง ๆ ที่นำมาใช้โดยประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศกำลังพัฒนารวมตัวเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้ และ (4) บทบาทในอนาคตของอังค์ถัด [การทูต] |
black tie | ชุดราตรีสโมสร เสื้อสูทสีดำ ปกหุ้มต่วนแพรหรือไหมสีดำ หรือเสื้อสูทสีขาว ปกไม่หุ้มต่วนแพร เสื้อเชิ้ตสีขาว อกตีเกล็ดหรือมีระบายลูกไม้ที่สาบอก ผ้าผูกคอหูกระต่าย (bow-tie) สีดำ กางเกงสีดำมีแถบดิ้นไหมสีดำ มีผ้าคาดเอวสีดำ ใช้สำหรับงานเลี้ยงอาหารค่ำหรืองานกลางคืนที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ ทั้งงานของราชการและงานสังคมของบุคคลธรรมดาที่จัดอย่างหรู black tie เรียกชื่ออื่นได้อีก เช่น tuxedo หรือ smoking jacket หรือ dinner jacket [การทูต] |
casual | ชุดลำลอง ชุดสุภาพไม่ผูกผ้าผูกคอ (necktie) [การทูต] |
charter | กฎบัตร หนังสือสัญญาก่อตั้ง เป็นหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ มีข้อผูกพันแน่นอน เช่น กฎบัตร สหประชาชาติ [การทูต] |
Commonwealth of Nations | การรวมตัวของชาติต่าง ๆ เข้าเป็นสมาคมทางการเมือง ประกอบด้วยประเทศสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ลังกา ไซปรัส แกมเบีย กาน่า อินเดีย จาไมก้า คีเนีย มาเลเซีย มาลาวี มอลต้า นิวซีเแลนด์ ไนจีเรีย ปากีสถาน ซิเอร่าเลโอน แทนเซียเนีย ทรินิแดด-โทเบโก ยูแกนดา และแซมเบียตามทรรศนะของ Oppenheim ศาสตราจารย์นักกฎหมายระหว่างประเทศในระดับโลก สมาคมทางการเมืองแห่งนี้ก็คือกลุ่มของรัฐที่รวมกันโดยไม่มีพื้นฐานการรวมตัว ทางกฎหมายที่เคร่งครัดแต่อย่างใด หากแต่มีความผูกพันร่วมกันในด้านประวัติศาสตร์ จารีตประเพณี กฎหมาย และมีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างแน่นแฟ้นมากกว่า [การทูต] |
declaration | ปฏิญญา มีความหมาย 3 อย่าง คือ (1) ความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะผูกพัน (2) ปฏิญญาฝ่ายเดียว ซึ่งก่อสิทธิและหน้าที่ให้แก่ประเทศอื่น และ (3) ปฏิญญาซึ่งรัฐหนึ่งแถลงให้รัฐอื่นทราบความเห็นและเจตนาของตนในเรื่องบาง เรื่อง [การทูต] |
Exemption from Taxation of Diplomatic Agent | การยกเว้นภาษีอากรให้แก่ตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ข้อ 34 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ให้ตัวแทนทางการทูตได้รับยกเว้นจากภาระผูกพันและภาษีทั้ง ปวงของชาติท้องถิ่นหรือเทศบาล ในส่วนบุคคลหรือในทรัพย์สิน เว้นแต่ก. ภาษีทางอ้อม ชนิดที่ตามปกติรวมอยู่ในราคาของสินค้าหรือบริการแล้วข. ภาระผูกพันและภาษีจากอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ซึ่งตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับ นอกจากว่า ตัวแทนทางการทูตครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นไว้ในนามของรัฐผู้ส่ง เพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนค. อากรกองมรดก การสืบมรดก หรือการรับมรดก ซึ่งรัฐผู้รับเรียกเก็บภายในบังคับแห่งบทของวรรค 4 ข้อ 39 ง. ภาระผูกพันและภาษีจากเงินได้ส่วนตัว ซึ่งมีแหล่งกำเนิดในรัฐผู้รับ และภาษีเก็บจากเงินทุนซึ่งได้ลงทุนในการประกอบการพาณิชย์ในรัฐผู้รับจ. ค่าภาระซึ่งเรียกเก็บสำหรับบริการจำเพาะที่ได้ให้ฉ. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ค่าธรรมเนียมศาล หรือสำนวนความ ภาระผูกพันในการจำนอง และอากรแสตมป์ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ภายในบังคับแห่งบทของข้อ 23?นอกจากนี้ ข้อ 35 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติไว้ด้วยว่า ?ให้รัฐผู้รับให้ตัวแทนทางการทูตได้รับการยกเว้นจากการบริการส่วนบุคคลทั้ง มวล จากบริการส่วนสาธารณะทั้งมวล และจากข้อผูกพันทางทหาร เช่น ส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกเกณฑ์ ส่วนบำรุง หรือเรียกคืนที่พักอาศัยเพื่อปฏิบัติการทางทหาร? [การทูต] |
Goodwill Representative | ผู้แทนสันถวไมตรี " หมายถึง การแต่งตั้งบุคคลที่มีพื้นฐานความรู้ ความประพฤติ และ บุคลิกที่เหมาะสมในการเป็นผู้แทนของประเทศ ให้ไปเยือนต่างประเทศ เพื่ออัธยาศัยไมตรี หรือผูกมิตรกับอีกประเทศหนึ่ง โดยสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ " [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
International Covenant on Civil and Political Rights | กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน 1 ใน 2 ฉบับ ซึ่งแปรข้อบทในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 มีผลใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2519 ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540 [การทูต] |
International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights | กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม " เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน 1 ใน 2 ฉบับ ซึ่งแปรข้อบทในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 มีผลใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2519 ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2542 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 " [การทูต] |
instrument of acceptance | ตราสารรับรอง " เป็นหนังสือรับรองว่ายินยอมที่จะผูกพันทางสนธิสัญญาหลังจาก ลงนามในสนธิสัญญาแล้ว " [การทูต] |
instrument of ratification | สัตยาบันสาร " เป็นหนังสือแสดงความยินยอมที่จะผูกพันทางสนธิสัญญาหลังจาก ลงนามในสนธิสัญญาแล้ว " [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
morning coat | ชุดพิธีการกลางวัน " ที่มีลักษณะเป็นเสื้อสูทกางยาวสีดำ กางเกงลาย เสื้อเชิ้ตสีขาว ผ้าผูกคอ (necktie) สีเทาเงิน สีขาว หรือลายดำ-ขาว มีหมวกและถุงมือ ใช้สำหรับงานที่เป็นพิธีทางการสำคัญ เช่น การ เข้าเฝ้าฯ ถวายสาส์น พิธีศพ หรือพิธีสมรสในตอนเที่ยงหรือบ่าย " [การทูต] |
Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] |
obligation | พันธภาพ ข้อผูกพัน พันธกรณี [การทูต] |
Parliamentary Diplomacy | การทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต] |
Persona non grata | เป็นศัพท์ที่ใช้กับนักการทูตหรือผู้แทนทางการทูต ที่ประจำอยู่ในประเทศซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ปรารถนาให้อยู่ต่อไปอีกแล้ว หลังจากที่ได้ไปประจำทำงานในตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้น หรือก่อนหน้าที่นักการทูตผู้นั้นจะเดินทางไปถึงดินแดนของประเทศผู้รับ (Receiving State) นักการทูตที่ถูกประกาศเป็น persona non grata หรือ บุคคลที่ไม่พึงปรารถนานั้น เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ กล่าวคำดูหมิ่นรัฐบาลของประเทศที่ตนไปประจำอยู่ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองนั้น แทรกแซงในการเมืองภายในของเขา เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของเขา ใช้ถ้อยคำก้าวร้าวต่อประเทศนั้น วิพากษ์ประมุขแห่งประเทศของเขากระทำการอันเป็นที่เสียหายต่อประโยชน์หรือต่อ ความมั่นคงของประเทศ และกระทำการอื่น ๆ ในทำนองนั้นตามปกติรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพที่เป็นฝ่ายเสียหายจะขอร้องให้ รัฐบาลผู้ส่ง (Sending government) เรียกตัวนักการทูตผู้กระทำผิดกลับประเทศ ซึ่งตามปกติรัฐบาลผู้ส่งมักจะปฏิบัติตาม รัฐบาลของประเทศผู้เสียหายจะแจ้งให้นักการทูตผู้นั้นทราบว่า รัฐบาลจะไม่ทำการติดต่อเกี่ยวข้องเป็นทางการกับเขาอีกต่อไป หรืออาจจะบอกให้นักการทูตผู้นั้นออกไปจากประเทศโดยไม่เกรงใจแต่อย่างใดก็ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 9 ดังต่อไปนี้ ?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ และโดยมิต้องชี้แจงถึงการวินิจฉัยของตนว่า หัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่พึงโปรด หรือว่าบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีใดเช่นว่านี้ ให้รัฐผู้ส่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นกับคณะผู้แทนเสียก็ได้ตามที่เหมาะสมบุคคลอาจจะ ถูกประกาศให้เป็นผู้ไม่พึงโปรด หรือไม่พึงยอกรับได้ก่อนที่จะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธ หรือไม่นำพาภายในระยะเวลาอันสมควร ที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันของคนภายใต้วรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับสามารถปฏิเสธที่จะยอมรับนับถือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็นบุคคล ในคณะผู้แทนก็ได้? [การทูต] |
Persons Entitled to Diplomatic Privileges and Immunities | บุคคลทีมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้ม ครองกันทางการทูต มาตรา 37 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ว่า ?1. คนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ระบุไวในข้อ 29 ถึง 36 2. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการของคณะผู้แทน รวมทั้งคนในครอบครัวของตน ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตน ตามลำดับ ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ระบุไว้ในข้อ 29 ถึง 35 เว้นแต่ว่าความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่งและทางปกครองของรัฐผู้รับ ที่ได้ระบุไว้ในวรรค 1 ของข้อ 31 นั้น ไม่ให้ขยายไปถึงการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปเกินภารกิจหน้าที่ของตน ให้บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการได้อุปโภคเอกสิทธิ์ ที่ได้ระบุไว้ในข้อ 36 วรรค 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งของที่ได้นำเข้าเมื่อเข้ารับหน้าที่ครั้งแรกด้วย 3. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการของคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้ รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับให้ได้อุปโภคความคุ้มกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติตามภารกิจหน้าที่ตน การยกเว้นจากค่าภาระผูกพันรวมทั้งภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่ตนได้รับโดยเหตุผล จากการรับจ้างของตน และการยกเว้นที่ได้บรรจุไว้ในข้อ 33 4. คนรับใช้ส่วนตัวของบุคคลในคณะผู้แทน ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ประจำในรัฐผู้รับ ให้ได้รับการยกเว้นจากค่าภาระผูกพัน หรือภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่เขาได้รับโดยเหตุผลจากการรับจ้างของตนในส่วน อื่น คนรับใช้ส่วนตัวเช่นว่านี้ อาจได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเท่าที่รัฐผู้รับยอมให้เท่านั้น อย่างไรก็ดี รัฐผู้รับต้องใช้อำนาจของตนเหนือบุคคลเช่นว่านี้ ในการที่จะไม่แทรกสอดโดยไม่สมควรในการปฏิบัติการหน้าที่ของคณะผู้แทน [การทูต] |
Presentation of Credentials | หมายถึง การยื่นสารตราตั้ง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศใดประเทศหนึ่ง ก่อนที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ จะต้องนำสารตราตั้ง (Credentials) ไปยื่นต่อประมุขของรัฐนั้น ๆ พิธียื่นสารตราตั้งจะกระทำไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ แล้วแต่จะพิจารณาเห็นความเหมาะสม และความเคร่งต่อธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นสำคัญ เช่น อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่พิธียื่นสารตราตั้งของเอกอัครราชทูตต่อองค์ประมุข ของประเทศค่อนข้างวิจิตรพิสดารมาก ส่วนบางประเทศมีพิธียื่นสารอย่างง่าย ๆ แทบจะไม่มีพิธีรีตองอย่างใดในสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตันดีซี พิธียื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดีของสหรัฐฯ กระทำอย่างเรียบง่าย กล่าวคือ พอถึงเวลาที่กำหนดในวันยื่นสารตราตั้ง อธิบดีกรมพิธีการทูตหรือผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะนำรถยนต์ลีมูซีนสีดำไปยังทำเนียบของเอกอัครราชทูต เพื่อรับเอกอัครราชทูตและครอบครัวไปยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ณ ตึกทำเนียบขาว ( White House)มีข้อน่าสนใจอันหนึ่งคือ ทางฝ่ายสหรัฐฯ จะสนับสนุนให้เอกอัครราชทูตพาภรรยาและบุตรทั้งชายหญิงไปร่วมในการยื่นสารตรา ตั้งนั้นด้วย การแต่งกายของเอกอัครราชทูตก็สวมชุดสากลผูกเน็คไทตามธรรมดา ระหว่างที่ยื่นสารมีการปฏิสันถารกันพอสมควรระหว่างเอกอัครราชทูตกับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีช่างภาพของทางราชการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และมอบภาพถ่ายให้แก่เอกอัครราชทูตในวันหลัง (ต่างกับพิธีของอังกฤษมาก) เอกอัครราชทูตไม่ต้องพาคณะเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย หลังจากพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว อธิบดีกรมพิธีการทูตจะนำเอกอัครราชทูตและครอบครัวกลับไปยังทำเนียบที่พักโดย รถยนต์คันเดิม เป็นอันเสร็จพิธียื่นสารตราตั้ง โดยที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างมีสถานเอกอัครราชทูตของตนตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี ดังนั้น ในวันไหนที่มีการยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ทางการทำเนียบขาวมักจะกำหนดให้เอกอัครราชทูตใหม่จากประเทศต่าง ๆ เข้ายื่นสารในวันนั้นราว 4-5 ประเทศติดต่อกัน มิใช่วันละคนอย่างที่ปฏิบัติในบางประเทศทันทีที่เอกอัครราชทูตยื่นสารตรา ตั้งต่อประธานาธิบดีเรียบร้อยแล้ว เอกอัครราชทูตจะมีหนังสือเวียนไปยังหัวหน้าคณะทูตทุกแห่งในกรุงวอชิงตันดีซี แจ้งให้ทราบว่าในวันนั้น ๆ เขาได้ยื่นสารตราตั้งต่อประมุขของรัฐ ในฐานะเอกอัครราชทูตเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับแสดงความหวังในหนังสือว่าความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างคณะผู้ แทนทางการทูตทั้งสอง ทั้งในทางราชการและทางส่วนตัว จะมั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้นอีก จากนั้น เอกอัครราชทูตใหม่ก็จะหาเวลาไปเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซีทีละราย กว่าจะเยี่ยมหมดทุกคนก็กินเวลานานอยู่หลายเดือนทีเดียว [การทูต] |
ratification | การให้สัตยาบันของรัฐซึ่งเป็นการให้ความยินยอมของรัฐ เพื่อผูกพันตามสนธิสัญญา [การทูต] |
shirt and tie | ชุดเสื้อเชิ้ต ผูกไท [การทูต] |
South-South Cooperation | ความร่วมมือใต้-ใต้ หรือ ความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา " เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการที่ประเทศกำลังพัฒนา/ ด้อยพัฒนา ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายหลังจากที่ความ ช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการที่ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ให้แก่ประเทศกำลัง พัฒนา/ด้อยพัฒนามีแนวโน้มลดลงและมีการนำเงื่อนไขอื่น ๆ มาผูกกับการให้ความช่วยเหลือมากขึ้น อาทิ ประเด็นสิ่งแวดล้อม โดยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา/ด้อยพัฒนานี้ จะเป็นทั้งในลักษณะของการให้ (อาทิ ทุนการศึกษา/ทุนฝึกอบรม/ทุนดูงาน/ผู้เชี่ยวชาญ/วัสดุอุปกรณ์) ของประเทศใดประเทศหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว อาทิ การให้ความร่วมมือด้านทุนฝึกอบรมระยะสั้นในสาขาการเกษตรของไทยแก่ประเทศใน แอฟริกา และในลักษณะของการแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน " [การทูต] |
World Food Summit | การประชุมสุดยอดอาหารโลก " จัดโดย FAO ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 13-17 พฤศจิกายน 2539 เป็นการประชุมระดับผู้นำรัฐบาล เพื่อสร้างเจตนารมณ์ด้าน การเมือง และข้อผูกพันระหว่างประเทศให้เกิดความมั่นคงด้านอาหาร และการขจัดปัญหาความหิวโหยสำหรับประชากรโลก " [การทูต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
อำนาจผูกพัน | [amnāt phūkphan] (n, exp) FR: compétence liée [ f ] |
อาชญาบัตรผูกขาด | [ātyābat phūkkhāt] (n, exp) EN: exclusive prospecting license for minerals |
เชือกผูกรองเท้า | [cheūak phūk røngthāo] (n) EN: shoelace FR: lacet (de chaussure) [ m ] |
แก้เชือกผูกรองเท้า | [kaē cheūak phūk røngthāo] (v, exp) FR: défaire les lacets ; délacer ses chaussures |
การไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพัน | [kān mai patibattām khøphūkphan] (n, exp) EN: non-performance |
การผูกขาด | [kān phūkkhāt] (n) EN: monopolization ; monopoly FR: monopole [ m ] |
ข้อผูกมัด | [khøphūkmat] (n) EN: obligation ; binding condition ; duty ; condition ; commitment ; clause ; stipulation FR: obligation [ f ] |
ข้อผูกพัน | [khøphūkphan] (n) EN: commitment ; obligation ; pledge FR: obligation [ f ] ; engagement [ m ] |
ความผูกพัน | [khwām phūkphan] (n) EN: relationship ; connection ; ties |
มีผลผูกพัน | [mī phon phūkphan] (adj) EN: conditional |
ผ้าผูกคอ | [phāphūkkhø] (n) EN: necktie FR: cravate [ f ] |
ภาระผูกพัน | [phāra phūkphan] (n, exp) EN: obligation |
ผูก | [phūk] (v) EN: tie ; fasten ; bind ; knot FR: attacher ; nouer ; lier ; amarrer |
ผูกดวง | [phūk dūang] (v, exp) EN: cast a horoscope FR: faire l'horoscope |
ผูกห่อ | [phūk hø] (v, exp) EN: tie up a parcel |
ผูกหู | [phūkhū] (v) EN: reserve ; earmark ; stake out one's claim |
ผูกใจเจ็บ | [phūk jai jep] (v, exp) FR: garder rancune |
ผูกแขน | [phūk khaēn] (v, exp) EN: tie the arm FR: nouer autour du bras |
ผูกจิต | [phūk jit] (v, exp) EN: have one's heart ; tie with affection ; form ties of affection |
ผูกขาด | [phūkkhāt] (v) EN: monopolize ; have a monopoly FR: accaparer ; monopoliser ; avoir le monopole |
ผูกขาดการค้า | [phūkkhāt kānkhā] (v, exp) EN: monopolize trade FR: monopoliser le commerce |
ผูกขาดตลาด | [phūkkhāt talāt] (v, exp) EN: control the market FR: contrôler le marché |
ผูกคอตาย | [phūk khø tāi] (v, exp) FR: se pendre ; se suicider |
ผูกไมตรี | [phūkmaitrī] (v, exp) EN: befriend ; make friends ; form an alliance ; make an alliance |
ผูกมัด | [phūkmat] (v) EN: commit (oneself) ; be bound |
ผูกมัดด้วยสัญญา | [phūkmat dūay sanyā] (v, exp) EN: bind by a contract |
ผูกมัดตัวเอง | [phūkmat tūa-ēng] (v) EN: bind oneself ; commit oneself |
ผูกมัด | [phūkmat] (v) EN: be bound ; restrain FR: ficeller ; ligoter ; attacher ; lier |
ผูกมิตร | [phūkmit] (v) EN: befriend ; make friends FR: se lier d'amitié |
ผูกเงื่อน | [phūk ngeūan] (v, exp) EN: tie a knot FR: faire un noeud |
ผูกพัน | [phūkphan] (v) EN: commit ; be bound |
ผูกพัน | [phūkphan] (adj) EN: bound FR: attaché à ; engagé ; lié |
ผูกเวร | [phūk wēn] (v) EN: hold grudge against ; seek revenge ; bear someone a grudge ; start a feud with ; enter into a feud ; engage in endless retributions |
สิทธิผูกขาด | [sitthi phūkkhāt] (n, exp) EN: sole rights |
ทำตามข้อผูกมัด | [tham tām khøphūkmat] (v, exp) EN: act as stipulated in the contract ; act according to the contract |
ท้องผูก | [thøngphūk] (n) EN: constipation FR: constipation [ f ] |
ท้องผูก | [thøngphūk] (x) EN: be constipated ; suffer from constipation FR: être constipé |
ทุนผูกขาด | [thun phūkkhāt] (n, exp) EN: monopoly capital |
ตราผ้าผูกคอลูกเสือประจำจังหวัด | [trā phā phūk khø lūkseūa prajamchangat] (n, exp) FR: blason scout provincial [ m ] |
ยาแก้ท้องผูก | [yā kaē thøngphūk] (n, exp) EN: laxative FR: laxatif [ m ] |
Longdo Approved EN-TH
loafer | (n) รองเท้าส้นเตี้ยไม่มีเชือกผูก ส่วนใหญ่ทำจากหนัง Image: |
drawstring | (n) เชือกผูกปากถุง, เชือกที่เป็นหูรูดของเสื้อผ้า เช่น Keep your jewelry together in a drawstring bag that proudly proclaims your pink ribbon pride! |
collectivism | (n) ความรู้สึกผูกพันกับกลุ่ม เช่น Collectivism is an answer to the first question. It says value to the collective, whether that's society, your tribe, your family, your nation and your race. |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
acquit | (vt) ทำให้ปราศจากข้อผูกพัน, See also: ทำให้ปราศจากภาระ |
affix | (vt) ผูก, See also: ติด, ประทับ, Syn. attach, fasten |
affix | (n) สิ่งที่เติม, See also: สิ่งที่เพิ่ม, สิ่งที่ผูกติดกัน |
antitrust | (adj) ที่ต่อต้านการผูกขาด |
article | (vt) ทำสัญญา, See also: ทำข้อตกลงกัน, ผูกมัดด้วยข้อตกลง |
attach | (vt) มีความสัมพันธ์กับ, See also: มีความผูกพันกับ |
attachment | (n) การผูกติด, See also: การเชื่อมต่อ, การยึดติด |
attachment | (n) ความผูกพันทางอารมณ์, Syn. affection, fondness |
attach to | (phrv) ผูกมัด, See also: เป็นส่วนหนึ่งของ |
band | (vt) ผูก, See also: ประดับด้วยสายหรือแถบ, รัดด้วยสายรัด, Syn. bond |
band | (vt) คาดด้วยผ้าแถบ, See also: ผูกด้วยผ้าแถบ, Syn. tap |
band | (n) พันธะ, See also: ข้อผูกพัน, ข้อผูกมัด, Syn. bond |
befriend | (vt) ผูกมิตร, See also: เป็นมิตร, ตีสนิท, ทำตัวเป็นเพื่อนกับ, ตีสนิท, เข้ากับ |
belt | (vt) คาดเข็มขัด, See also: ใช้สายคาดผูก, Syn. fasten |
bib | (n) ผ้าผืนเล็กๆ ใช้ผูกใต้คางเด็กเพื่อกันเปื้อน |
bind | (vt) มัด, See also: รัด, ผูก, Syn. adhere, cleave, bond, Ant. loosen |
binder | (n) สิ่งที่ใช้ผูกหรือมัด |
blindfold | (vt) เอาผ้าปิดตา, See also: เอาผ้าผูกตา |
bollard | (n) เสาที่ใช้ผูกเชือกเรือ |
bolotie | (n) เน็กไทผูกรอบคอที่มีเข็มกลัดติดด้านหน้า |
bond | (vt) ผูกมัด |
bond | (n) ข้อผูกมัด, See also: พันธนาการ, Syn. obligation |
boom | (n) ไม้ขวางที่ผูกข้างเรือ |
bootlace | (n) สายผูกเชือกรองเท้า |
bound | (adj) ผูกพัน, See also: สนิทสนม |
bound | (adj) ผูก, See also: ถ่ายไม่ออก |
bound | (adj) มีสัญญาผูกมัด, See also: มีการผูกมัด, Syn. obliged, compelled, Ant. voluntary |
batten down | (phrv) ผูกไว้กับกระดาน, See also: ตรึงไว้ให้แน่น กับกระดาน |
bind down | (phrv) ผูก, See also: มัด, พัน, Syn. tie down |
bind fast | (phrv) ผูกให้แน่น, See also: มัดให้แน่น |
bind off | (phrv) ผูก, See also: มัด, พัน, Syn. cast off |
bind to | (phrv) มัดกับ, See also: ผูกไว้กับ, Syn. tie to |
bind together | (phrv) มัดไว้ด้วยกัน, See also: ผูกไว้ด้วยกัน, Syn. tie together |
bind up with | (phrv) ผูกมัดกับ, See also: ผูกพันกับ, เกี่ยวข้องกับ, Syn. tie in with, tie up with |
buckle up | (phrv) ผูกเชือก |
cement | (n) สิ่งทำให้ผูกพันกัน |
chain | (n) เครื่องผูกมัด, Syn. bond |
colligate | (vt) ผูกไว้ด้วยกัน, See also: ผูกติดกัน, ทำให้เชื่อมกัน, Syn. connect, link |
constipate | (vt) ทำให้ท้องผูก |
constipated | (adj) ท้องผูก |
constipation | (n) อาการท้องผูก |
construct | (vt) ผูกเรื่อง, See also: ผูกประโยค, สร้างประโยค |
construction | (n) คำหรือวลีที่ผูกขึ้น, Syn. expression, grammatical construction |
cord | (vt) ผูกด้วยเชือก |
corner | (n) การผูกขาด |
corner | (vt) ผูกขาด, See also: ควบคุม |
cowbell | (n) กระดิ่งที่ผูกวัว |
catch in | (phrv) ผูกให้แน่น (เพื่อให้เล็กลง), Syn. catch up |
catch up | (phrv) เกี่ยวไว้กับ, See also: ผูกไว้กับ, แขวนไว้กับ |
chain to | (phrv) ล่ามโซ่ไว้กับ, See also: ล่ามไว้กับ, ผูกไว้กับ, Syn. fasten |
Hope Dictionary
affiliate | (อะฟิล' ลิเอท) vt., vi. ผูกพัน, เข้าร่วม, รับเป็นสมาชิก, สืบสาวเรื่องราว, เป็นพี่น้องกัน, ยกให้เป็นพี่น้อง, รับเป็นบุตร. -n. สาขา (กิจการธุรกิจ) , ผู้ที่เป็นสมาชิกหรือผูกพัน. -affiliable adj. -affiliation n., Syn. branch, associate |
ally | (vt, vi. อะไล', -n. แอล' ไล, อะไล') ผูกพัน, เข้าข้าง, เป็นพันธมิตร, พันธมิตร, ประเทศพันธมิตร, พรรคพวก, ผู้ช่วย, สิ่งที่เกี่ยวดองกัน. -alliable adj., Syn. confederate, partner-A. enemy |
antitrust | (แอนทีทรัส'ทฺ) adj. ต่อต้านการผูกขาด (ธุรกิจการค้า) (opposed to monopolies) |
aristocracy | (แอริสทอค'คระซี) n. พวกคนชั้นสูง, พวกขุนนาง, คณาธิปไตย, การปกครองที่ผูกขาดโดยหมู่คณะ, การปกครองของขุนนาง, Syn. gentry, nobility, Ant. proletariat |
aristocratic | (อะริสโทแครท'ทิค, -เคิล) adj. เกี่ยวกับการปกครองที่ผูกขาดโดยหมู่คณะ (คณาธิปไตย) , มีลักษณะของคนชั้นสูง |
aristocratical | (อะริสโทแครท'ทิค, -เคิล) adj. เกี่ยวกับการปกครองที่ผูกขาดโดยหมู่คณะ (คณาธิปไตย) , มีลักษณะของคนชั้นสูง |
article | (อาร์'ทิเคิล) n. สิ่งของ, ชิ้น, สินค้า, บทความ, มาตรา, ข้อ, ข้อบังคับ, รายการ, คำนำหน้านาม. -vt. กล่าวหา, ฟ้อง, ทำให้ข้อบังคับผูกมัด, Syn. item, object, piece, essay |
astrict | (แอสทริคท') vt. ผูกมัด, จำกัด, ผูกพัน (ทางใจหรือนิตินัย) . -astriction n. |
attach | (อะแทชฺ') vt. ผูกมัด, ผูกติด, ติด, แนบ, ปิด, ประกอบ, มีพร้อม, วางอยู่ใน, ส่งไปประจำ, อายัด, จับกุม. -vi. ผูกมัด, ติด, เป็นของ, Syn. fasten, join, secure, Ant. detach, quit |
attachment | (อะแทช'เมินทฺ) n. การติด, การผูกติด, ภาวะที่ผูกติด, ความรู้สึกผูกพัน, การอุทิศ, สิ่งยึดติด, สิ่งที่ผูกพัน, อุปกรณ์ติดตั้ง, การยึดทรัพย์, Syn. connection, device, affinity |
band | (แบนดฺ) { banded, banding, bands } n. สายคาด, สายรัด, แถบ, ปลอก, หมู่, พวก, คณะ, วงดนตรี, คณะตนตรี, ช่วงความถี่ของคลื่นวิทยุ, สิ่งผูกมัดคน, โซ่ตรวน, ปลอกรัด, พันธะ, ข้อผูกพัน vt., vi. ใช้สายผูกรัด, รวมกลุ่ม, ประดับด้วยสายหรือแถบ, See also: bander n. |
bandage | (แบน'ดิจฺ) { bandaged, bandaging, bandages } n. แถบผ้าพันแผล, ผ้าพันแผล, สิ่งผูกมัด vt., vi. พันหรือติดด้วยผ้าหรือแถบพันแผล, See also: bandager n., Syn. strip |
begird | (บิเกิร์ด') { begirded, begirding, begirds } vt. มัด, ผูก, ล้อม, โอบ |
belay | (บิเล') vt. belayed, belaying, belays } มัดกับหลัก, หยุด, ผูกมัด, เอาเชือกผูกกับตัว vi. เอาเชือกผูก |
bib | (บิบ) n. ผ้าผูกใต้คางเด็กเพื่อกันเปื้อน |
bight | (ไบทฺ) n. ส่วนเวิ้ง, อ่าวเล็ก ๆ , ห่วงเชือก vt. เอาเชือกมาผูกเป็นห่วง, ใช้ห่วงเชือกผูกมัดไว้ |
bind | (ไบดฺ) { bound, bound, binding, binds } vt., vi., n. (การ) ผูก, มัด, พัน, เข้าปก, เย็บเล่ม, เชื่อมผนึก, ทำให้ท้องผูก, ผูกพัน, ยับยั้ง, ยึดแน่น, แข็งตัว, See also: bindable adj. ดูbind, Syn. tie |
binder | (ไบ'เดอะ) n. สิ่งที่ผูกมัด, ผู้ผูก, ผู้มัด, การเย็บปก, ยาเกาะติด, เชือก, สายมัด, แผ่นปะหน้าหนังสือ, เงินมัดจำ, เครื่องเย็บเล่ม, เครื่องเข้าปก, แฟ้ม |
binding | (ไบน์'ดิง) n. การผูก, การมัด, สิ่งผูกมัด, การเข้าปกหนังสือ, การเย็บเล่มหนังสือ, การทำให้ท้องผูก, สายมัด, สายพัน, ยาเชื่อมติด adj. จำเป็น, ผูกพัน, Syn. compelling |
bond | (บอนดฺ) { bonded, bonding, bonds } n. ข้อผูกมัด, ข้อตกลงในสัญญา, สิ่งผูกมัด, พันธนาการ, สลัก, ตรวน, โซ่, การคุมขัง, การติดคุก, พันธบัตร, ใบกู้ยืม, ใบหุ้นกู้, พันธุกรรม, พันธะระหว่างอะตอมในโมเลกุล vi., vt. (ทำให้) ผูกมัดเข้าด้วยกัน, เชื่อมติด, ผนึกเข้าด้วยกัน adj. เกี่ยวกับควา |
bondage | (บอน'ดิจฺ) n. ความเป็นทาส, ภาวะที่เป็นทาส, การผูกมัด, Syn. servitude, Ant. freedom |
bonnet | (บอน'นิท) { bonnetted, bonnetting, bonnets } n. หมวกสตรีรูปฝาชีมักมีริบบิ้นผูกใต้คาง, หมวกเด็ก, ฝาครอบเครื่องจักร, ฝาครอบเครื่องจักร, ฝาครอบปล่องไฟ, หน้าม้าในวงพนัน, ผู้ร่วมมือ vt. ใส่หมวก, ใส่ฝาครอบ, สมคบหลอกลวง, Syn. hat |
bootlace | (บูท'เลส) n. เชือกผูกรองเท้าบู๊ท, เชือกผูกรองเท้า |
bootstrap | n. รูเชือกผูกรองเท้า ปลุกเครื่องเรียกย่อ ๆ ว่า boot1. หมายถึงการเปิดเครื่องด้วยการบรรจุซอฟต์แวร์ระบบ (systems software) เข้าไปในหน่วยความจำหลัก (main memory) 2. อาจหมายถึงเทคนิควิธีในการบรรจุโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง (program) ทั้งปวงที่มีอยู่ ลงไปในหน่วยความจำหลัก |
bound | (เบาดฺ) { bounded, bounding, bounds } adj. ถูกผูกมัด, เหนียวแน่น, แน่นอน, จักต้อง, ตัดสินใจ, เข้าเล่ม, ท้องผูก vi. กระโดด, เด้งกลับ, จดกับ, ประชิดกับ vt. จำกัด, กลายเป็นขอบเขต, พูดถึงขอบเขต -n. การกระโดด, การเด้งกลับ, ขอบเขต, ชายแดน adj. กำลังจะ, ไปทาง, พร้อมที่จะ |
bow tie | n. ผ้าผูกคอชนิดหูกระต่าย, หูกระต่าย |
breastpin | (เบรสท'พิน) n. เข็มเสียบที่หน้าอกหรือผ้าผูกคอส่วนที่ทาบอก |
bridle | (ไบร'เดิล) n. บังเหียนม้า, สายบังเหียน, สิ่งควบคุม, สิ่งรั้ง, สายรั้ง, สิ่งบังคับการหมุน, เชือกหรือโซ่ผูกเรือ, การเชิดหน้า (เช่นแสดงอาการหยิ่ง) vt. บังเหียน, ควบคุม, เชิดหน้า (เช่น แสดงอาการหยิ่ง), See also: bridler n., Syn. curb, ch |
cable | (เค'เบิล) { cabled, cabling, cables } n. เชือกขนาดใหญ่, สายเคเบิล, สายโซ่สมอเรือ, สายโทรเลขใต้น้ำ, โทรเลข. -v. ส่งโทรเลข, มัดหรือผูกด้วยเชือกขนาดใหญ่ |
captivity | (แคพทิฟ'วิที) n. ภาวะที่เป็นเชลย, ภาวะที่หลงไหล, การคุมขัง, การผูกมัด |
cartel | (คาร์'เทิล) n. ระบบผูกขาดทางการค้าชนิดหนึ่ง, Syn. monopoly |
chain | (เชน) n. โซ่, ลูกโซ่, โซ่ตรวน, สายสร้อย, อนุกรม, เทือกเขา, ทิว, แนว -vt. ผูกมัดด้วยโซ่, ผูกมัด, จำกัด, Syn. series |
cleat | (คลีท) { cleated, cleating, cleats } n. เสาหลัก, หลักผูกเชือก vt. ใช้หลักยึด, ผูกกับหลัก |
colligate | (คอล'ละเกท) { colligated, colligating, colligates } vt. ผูกเข้าด้วยกัน, มัดรวมกัน, สรุป., See also: colligation n. ดูcolligate colligative adj. ดูcolligate |
conciliate | (คันซิล'ลีเอท) { conciliated, conciliating, conciliates } vt. ไกล่เกลี่ย, ทำให้ปรองดองกัน, ผูกไมตรี, ชนะใจ, ประนีประนอม., See also: conciliation n. ดูconciliate, Syn. appease, placate |
constipate | vt. ทำให้ท้องผูก, ทำให้หดตัว |
constipated | adj. ท้องผูก |
constipation | n. อาการท้องผูก |
construct | (คันสทรัคทฺ') { constructed, constructing, constructs } vt. สร้าง, ผูกเรื่อง. n. (คอน'สทรัคทฺ) สิ่งปลูกสร้าง, ความนึกคิดที่ก่อขึ้น., See also: constructor, constructer n. constructible adj., Syn. build, Ant. destroy |
construction | (คันสทรัค'เชิน) n. การก่อสร้าง, สิ่งปลูกสร้าง, การผูกประโยคหรือคำ, คำหรือวลีที่ผูกขึ้น, Syn. formation, Ant. destruciton |
construe | (คันสทรู') { construed, construing, construes } v., n. (การ) อธิบาย, ชี้แจง, ตีความอนุมาน, แปล, วิเคราะห์, ผูกประโยค. |
contractual | adj. ซึ่งเกี่ยวกับสัญญา, ซึ่งผูกพันโดยสัญญา |
cord | (คอร์ด) n. เชือก, ด้าย, สายเคเบิล, ริ้วบนผิวหน้าผ้า, หน่วยปริมาตรที่เท่ากับ 128ลูกบาศก์ฟุตหรือขนาดยาว8ฟุต กว้าง4ฟุตและสูง4ฟุต vt. ผูกด้วยเชือก, มัดด้วยเชือก, Syn. bind, tie |
corner | (คอร์'เนอะ) { cornered, cornering, corners } n. มุม, หัวเลี้ยว, หัวต่อ, หัวโค้ง, หัวถนน, ลูกมุม (ฟุตบอล) vt., vi. ต้อนเข้ามุม, ทำให้จนตรอก, ผูกขาด, กักตุน., Syn. trap |
cosmopolitan | (คอซมะพอล'ลิเทิน) adj. เกี่ยวกับโลกทั้งหมด, เกี่ยวกับสากลนิยม, ซึ่งมีอยู่ทั่วโลกหรือทุกหนทุกแห่ง, ซึ่งประกอบด้วยหลายชาติหลายภาษา, ซึ่งไม่มีชาติหรือภาษาเป็นเครื่องผูกมัด, เกี่ยวกับพลเมืองโลก n. ผู้ที่ไม่มีชาติหรือภาษาเป็นเครื่องผูกมัด, See also: cosmopo |
costive | (คอส'ทิฟว) adj. ท้องผูก, ช้า, พูดช้า |
couple | (คัพ'เพิล) { coupled, coupling, couples } n. คู่, สอง, คู่สามีภรรยา vt. ผูกมัด, เชื่อมติด, ติดต่อ, พ่วง, ทำให้เป็นสามีภรรยากัน vi. ร่วมเป็นคู่, ร่วมประเวณี, See also: couplement n. -Conf. pair, Syn. link, join |
cravat | (คระแวท') n. ผ้าผูกคอ, เน็คไทแบบเก่าชนิดหนึ่ง |
driftblot | (ดริฟท'โบลท) n. แหลอย, สลักผูก, |
enchain | vt. ผูกมัดด้วยโซ่, จำตรวน, จับไว้, เหนี่ยวรั้งไว้., See also: enchainment n. ดูenchain |
Nontri Dictionary
affiliate | (vt) ติดต่อ, ผูกพัน, เข้าร่วม, เกี่ยวข้อง |
affiliation | (n) การติดต่อ, การเข้าร่วม, การผูกพัน, การเกี่ยวเนื่อง |
affined | (adj) ที่เกี่ยวข้องกัน, ที่เกี่ยวดองกัน, ที่ผูกพันกัน |
alliance | (n) พันธมิตร, การเกี่ยวดอง, การผูกพัน, การเกี่ยวพัน |
ally | (vt) ผูกพัน, เกี่ยวเนื่องกัน, เกี่ยวดอง |
attach | (vt) ติด, ผูกติด, เกี่ยวพัน, ผูกพัน |
attachment | (n) การผูกติด, สิ่งที่แนบมาด้วย, ความรักใคร่, ความผูกพัน |
band | (vt) มัด, ผูก, รัด, รวมกลุ่ม |
begird | (vt) โอบ, ล้อมรอบ, ผูก, มัด |
belay | (vt) ผูก, มัด |
bind | (vt) ผูก, มัด, พัน, ติด, เย็บ, หุ้มปก, เย็บเล่ม |
binder | (n) ผู้มัด, เครื่องผูก, ผู้หุ้มปก, แฟ้ม |
binding | (adj) ผูกพัน, จำเป็น |
binding | (n) การมัด, การผูก, สายมัด, การเข้าปก, การหุ้มปก |
bond | (n) เครื่องผูกมัด, ข้อผูกมัด, ข้อตกลง, พันธะ, พันธนาการ, พันธบัตร |
bond | (vt) ผูกมัด, ผูกพัน, เชื่อมติด |
bondage | (n) ความเป็นทาส, การผูกมัด |
bonded | (adj) ถูกผูกมัด |
boundary | (adj) ซึ่งเกี่ยวพันกัน, ซึ่งผูกพันกัน, มีพันธะ, พร้อมที่จะ, ไปทาง, กำลังจะ |
buckle | (vt) งอ, โค้ง, คาด(พุง), ผูก(อาน), ติด(กระดุม), รัด(เข็มขัด) |
chain | (vt) ตีตรวน, ล่ามโซ่, ผูกมัด, ผูกพัน |
cleat | (n) ราวเกาะ, ตอม่อ, เสาหลัก, พุก, หลักผูกเชือก |
conciliatory | (adj) ซึ่งประนีประนอมกัน, ซึ่งผูกไมตรี |
constipation | (n) ท้องผูก |
construct | (vt) สร้าง, ตั้ง, ทำ, ก่อ, ก่อสร้าง, ผูกเรื่อง |
cord | (vt) ผูกเชือก, มัดด้วยเชือก |
couple | (vt) ผูกมัด, เชื่อมติด, ติดต่อ, รวมเป็นคู่, ผูกเข้าคู่กัน, พ่วง |
cowbell | (n) กระดึงผูกคอวัว, โปง |
cravat | (n) เน็คไท, ผ้าผูกคอ |
engage | (vi, vt) ไม่ว่าง, มีธุระ, สัญญา, หมั้น, ผูกมัด, จ้าง, ว่าจ้าง, สู้รบ |
enslave | (vt) ทำให้เป็นทาส, จับไปเป็นทาส, ผูกมัด, กดขี่ |
exclusive | (adj) พิเศษ, เฉพาะตัว, แต่ผู้เดียว, ซึ่งผูกขาด, เว้นไว้แต่ |
fasten | (vt) ผูก, ตรึง, ทำให้แน่น, รัด, มัด, ยึด, กลัด, ให้ความสนใจ |
fetter | (n) โซ่ตรวน, พันธนาการ, เครื่องผูกมัด, เครื่องจองจำ |
fetter | (vt) ผูกมัด, ล่ามโซ่, พันธนาการ, จองจำ |
fillet | (n) สันหนังสือ, ปลาแผ่น, มงคลสวมหัว, ริบบิ้น, โบผูกผม |
forgiveness | (n) การให้อภัย, ความไม่อาฆาต, ความไม่ผูกพยาบาท, การยกโทษ |
gird | (vt) คาดเข็มขัด, เคียนพุง, ล้อมรอบ, พัน, ถก(เขมร), ผูก, มัด, รัด |
girth | (vt) คาดเข็มขัด, ผูก, วัดขนาด, รัด, โอบรอบ |
gripe | (vt) ดึง, ผูก, ทำให้จุก, ทำให้เจ็บปวด, กดขี่, รบกวน, ยึด, จับ, กุม |
hitch | (n) เงื่อน, ปม, การผูก, ความขลุกขลัก, ความยาก, การสะดุด, อุปสรรค |
hitch | (vt) ลาก, ผูก, พ่วง, เทียม, เลื่อน |
hobble | (vt) ผูก, มัด, ขัดขวาง, เป็นอุปสรรค |
horoscope | (n) การผูกดวงทางโหราศาสตร์ |
indenture | (n) สัญญาจ้าง, ข้อตกลง, ข้อผูกมัด, เอกสารสิทธิ์ |
interlock | (vt) ร้อยต่อกัน, ผูกเข้าด้วยกัน, ประสาน |
knit | (vt) ถัก, ปะชุน, สาน, ผูก, ร้อย, ต่อ, ขมวดคิ้ว |
knot | (vt) ผูกเงื่อน, ขมวดปม, ผูกโบ, ทำจุก, มวยผม |
lace | (n) ลูกไม้ถัก, เชือกผูกรองเท้า, ดิ้นเงินดิ้นทอง, สิ่งทอลายฉลุ |
leash | (vt) รั้งไว้, ผูกเชือก, ควบคุม, บังคับ, ขับ |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
anti-trust laws | (n) กฎหมายการป้องกันการผูกขาดทางการค้า |
community enterprise | กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน |
encumbrance | ภาระผูกพัน |
Engagement Order | ใบสั่งที่เป็นข้อผูกพัน |
exclusivity | (n) การผูกขาด |
financial distress | (n) (การเงิน) ภาวะที่ประสบความยากลำบาก, หรือไม่สามารถทำตามภาระผูกพันได้ เช่น ไม่สามารถชำระหนี้ที่กู้ไปได้, ความตกต่ำทางการเงิน (จากการมีเงินไม่เพียงพอ), ปัญหาทางการเงิน, ปัญหาที่อาจนำไปสู่การล้มละลาย (กรณีบริษัท) e.g. Member countries face acute financial distress., See also: bankruptcy, recession, depression |
footrope | ส่วนของเชือกที่ผูกอยู่บริเวณเสาหัวเรือขนาดใหญ่เพื่อให้ลูกเรือเดินไปกางใบเรือขึ้นและนำใบเรือลง, ส่วนของคร่าวปากอวนล่าง |
hang himself to death | ผูกคอตาย |
material obligation | ข้อผูกพันเป็นสำคัญ |
organizational commitment | (n) ความผูกพันต่อองค์กร |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
便秘 | [べんぴ, benpi] (n) ท้องผูก |
法的拘束力 | [ほうてきこうそくりょく, houtekikousokuryoku] ข้อผูกมัดทางกฎหมาย |
Saikam JP-TH-EN Dictionary
縛る | [しばる, shibaru] TH: ผูก EN: to tie |
繋ぐ | [つなぐ, tsunagu] TH: ผูก EN: to tie |
結ぶ | [むすぶ, musubu] TH: ผูก EN: to tie |
Longdo Approved DE-TH
fest | (adj, adv) แน่น, แข็งแกร่ง เช่น eine feste Beziehung ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น, ein Knoten fest verbinden ผูกปมให้แน่นหนา, See also: A. locker |
Bindung | (n) |die, pl. Bindungen| การผูกมัด, พันธะ, ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน, พันธะเคมี |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0458 seconds, cache age: 0.363 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม