104 ผลลัพธ์ สำหรับ *ประจุไฟฟ้า*
ภาษา
หรือค้นหา: ประจุไฟฟ้า, -ประจุไฟฟ้า-NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ประจุไฟฟ้า | (n) electric charge, Example: ไอออนคืออนุภาคอิสระซึ่งมีประจุไฟฟ้าบวกหรือลบ, Thai Definition: อนุภาคที่แสดงอำนาจไฟฟ้าซึ่งได้แก่ โปรตอน และอิเล็กตรอน วัตถุใดที่มีจำนวนโปรตอนมากกว่าจำนวนอิเล็กตรอน ก็กำหนดว่าวัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้าบวก แต่ถ้ามีจำนวนอิเล็กตรอนมากกว่าจำนวนโปรตอน ก็กำหนดว่าวัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้าลบ |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ประจุไฟฟ้า | น. อนุภาคที่แสดงอำนาจไฟฟ้าซึ่งได้แก่ โปรตอน และอิเล็กตรอน วัตถุใดที่มีจำนวนโปรตอนมากกว่าจำนวนอิเล็กตรอน ก็กำหนดว่าวัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้าบวก แต่ถ้ามีจำนวนอิเล็กตรอนมากกว่าจำนวนโปรตอน ก็กำหนดว่าวัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้าลบ. |
คอนเดนเซอร์ | น. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้สำหรับเก็บประจุไฟฟ้าไว้ได้เป็นปริมาณมากกว่าแผ่นตัวนำธรรมดาที่มีขนาดเท่ากัน. |
เครื่องควบแน่น | เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้สำหรับเก็บประจุไฟฟ้าไว้ได้เป็นปริมาณมากกว่าแผ่นตัวนำธรรมดาที่มีขนาดเท่ากัน, มักเรียกทับศัพท์ว่า คอนเดนเซอร์. |
นิวตรอน | น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสของอะตอมของธาตุทุกชนิด ยกเว้นไฮโดรเจนธรรมดา อนุภาคนี้ไม่มีประจุไฟฟ้าและมีมวล ๑.๖๗๔๘๒ x ๑๐-๒๗ กิโลกรัม. |
โปรตอน | (โปฺร-) น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสแห่งอะตอมของธาตุทุกชนิด อนุภาคนี้มีประจุไฟฟ้าบวก มีมวล ๑.๖๗๒๕๒ x ๑๐-๒๗ กิโลกรัม. |
โพซิตรอน | (-ตฺรอน) น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง มีมวลเท่ากับอิเล็กตรอน มีประจุไฟฟ้าเท่ากับประจุไฟฟ้าของอิเล็กตรอน แต่เป็นประจุไฟฟ้าบวก เมื่อโพซิตรอนและอิเล็กตรอนอย่างละ ๑ อนุภาคมากระทบกัน ทั้งคู่จะทำลายล้างกันสูญหายไปด้วยกันทั้งสิ้น และให้พลังงานมากมายเกิดขึ้นในรูปของรังสีแกมมา, แอนติอิเล็กตรอน ก็เรียก. |
อิเล็กตรอน | (-ตฺรอน) น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบของอะตอมของธาตุทุกชนิด อนุภาคนี้มีประจุไฟฟ้าลบ มีมวล ๙.๑๐๙๑ x ๑๐-๓๑ กิโลกรัม. |
ไอออน | น. อะตอมหรือหมู่ของอะตอมที่ไม่เป็นกลาง มี ๒ ชนิด คือ ชนิดที่แสดงอำนาจไฟฟ้าของประจุไฟฟ้าบวก เรียกว่า ไอออนบวกหรือแคตไอออน (cation) ชนิดที่แสดงอำนาจไฟฟ้าของประจุไฟฟ้าลบ เรียกว่า ไอออนลบหรือแอนไอออน (anion). |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Accelerator | เครื่องเร่งอนุภาค, เครื่องเพิ่มความเร็วและพลังงานจลน์ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น <em>โปรตอน</em>หรือ<em>อิเล็กตรอน</em> โดยใช้แรงแม่เหล็กและ/หรือไฟฟ้า ทำให้อนุภาคเหล่านั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง เครื่องเร่งอนุภาคมีหลายชนิด เช่น <em>ไซโคลทรอน</em> <em>ซิงโครทรอน เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น</em> และ<em>บีตาทรอน</em> [นิวเคลียร์] |
Antiparticle | ปฏิยานุภาค, อนุภาคที่มีมวล ประจุไฟฟ้า และเลขสปิน เท่ากับอนุภาคนิวเคลียร์ชนิดเดียวกัน แต่มีประจุไฟฟ้าและหรือโมเมนต์แม่เหล็กตรงข้ามกัน ตัวอย่างโปรตอนมีประจุไฟฟ้า +1 ส่วนแอนติโปรตอนมีประจุไฟฟ้า [นิวเคลียร์] |
Particle accelerator | เครื่องเร่งอนุภาค, เครื่องเพิ่มความเร็วและพลังงานจลน์ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น โปรตอนหรืออิเล็กตรอน โดยใช้แรงแม่เหล็กและ/หรือไฟฟ้า ทำให้อนุภาคเหล่านั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง เครื่องเร่งอนุภาคมีหลายชนิด เช่น ไซโคลทรอน ซิงโครทรอน เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น และบีตาทรอน [นิวเคลียร์] |
Electron | อิเล็กตรอน, อนุภาคมูลฐานที่เป็นส่วนประกอบของอะตอม มีประจุไฟฟ้าลบ และมีมวล 1 ใน 1873 ส่วนของมวลโปรตอน โดยแต่ละอะตอมจะมีอิเล็กตรอนจำนวนหนึ่งอยู่ล้อมรอบนิวเคลียสที่มีประจุบวก สำหรับอะตอมที่เป็นกลางจำนวนอิเล็กตรอนจะเท่ากับจำนวนโปรตอนและเป็นตัวกำหนดสมบัติทางเคมีของอะตอม [นิวเคลียร์] |
Van de Graaff generator | เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแวนเดอแกรฟฟ์, เครื่องผลิตประจุไฟฟ้าสถิตศักย์สูง โดยประจุไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดประจุถูกส่งผ่านโลหะปลายแหลมไปยังสายพานซึ่งทำหน้าที่พาประจุขึ้นไปสะสมไว้ที่ผิวทรงกลมจนได้ศักย์ไฟฟ้าสูง เครื่องนี้สามารถสะสมประจุจนกระทั่งมีศักย์ไฟฟ้าสูงถึง 20 ล้านโวลต์ เครื่องนี้สามารถใช้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุ มักใช้เร่งอนุภาคก่อนยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแบบอื่นที่ให้พลังงานสูงขึ้น รอเบิร์ต แวน เดอ แกรฟฟ์ (Robert Van de Graaff) เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องมือนี้ในปี พ.ศ. 2474, Example: [นิวเคลียร์] |
Van de Graaff accelerator | เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแวนเดอแกรฟฟ์, เครื่องผลิตประจุไฟฟ้าสถิตศักย์สูง โดยประจุไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดประจุถูกส่งผ่านโลหะปลายแหลมไปยังสายพานซึ่งทำหน้าที่พาประจุขึ้นไปสะสมไว้ที่ผิวทรงกลมจนได้ศักย์ไฟฟ้าสูง เครื่องนี้สามารถสะสมประจุจนกระทั่งมีศักย์ไฟฟ้าสูงถึง 20 ล้านโวลต์ เครื่องนี้สามารถใช้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุ มักใช้เร่งอนุภาคก่อนยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแบบอื่นที่ให้พลังงานสูงขึ้น รอเบิร์ต แวน เดอ แกรฟฟ์ (Robert Van de Graaff) เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องมือนี้ในปี พ.ศ. 2474 [นิวเคลียร์] |
Radiolytic product | ผลผลิตการแยกสลายด้วยรังสี, สารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีสารใดๆ เช่น การฉายรังสีอาหาร รังสีจะถ่ายเทพลังงานให้โมเลกุลต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร เช่น น้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้า และ เกิดการแยกสลาย ได้อนุมูลอิสระซึ่งไม่เสถียรและทำปฏิกิริยากับสารที่เป็นองค์ประกอบของอาหารได้สารประกอบต่างๆ ที่มีโมเลกุลเล็กลง [นิวเคลียร์] |
Proton | โปรตอน, อนุภาคมูลฐานที่มีประจุไฟฟ้าบวกหนึ่งหน่วย มีมวลประมาณ 1837 เท่าของอิเล็กตรอน โปรตอนเป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสทุกชนิด เลขเชิงอะตอม ของอะตอมใด ๆ จะเท่ากับจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอมนั้น [นิวเคลียร์] |
Photon | โฟตอน, กลุ่มหนึ่งๆ ของพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีโมเมนตัมซึ่งเป็นลักษณะของอนุภาค แต่ไม่มีมวลหรือประจุไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น รังสีแกมมา และรังสีเอกซ์ [นิวเคลียร์] |
Neutrino | นิวทริโน, อนุภาคมูลฐานที่มีมวลน้อยมาก ไม่มีประจุไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูง และมีปฏิสัมพันธ์กับสสารน้อย ทำให้ตรวจหาได้ยาก พบได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์หลายชนิด เช่น การสลายแบบให้อนุภาคบีตา รวมทั้งอนุภาคจากดวงอาทิตย์ที่ผ่านมายังโลก, Example: [นิวเคลียร์] |
Capacitor | ตัวเก็บประจุไฟฟ้า [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Ion | ไอออน, อะตอมหรือโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้าจากการสูญเสียหรือได้รับอิเล็กตรอนหนึ่งอนุภาคหรือมากกว่า อะตอมหรือโมเลกุลที่สูญเสียอิเล็กตรอนจะเป็นไอออนบวก ถ้าได้รับอิเล็กตรอนเข้ามาจะเป็นไอออนลบ [นิวเคลียร์] |
accelerator (particle accelerator) | เครื่องเร่งอนุภาค, เป็นเครื่องเพิ่มความเร็วและพลังงานจลน์ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น โปรตรอน หรืออิเล็กตรอน โดยใช้แรงแม่เหล็ก หรือแรงไฟฟ้า ทำให้อนุภาคเหล่านั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง เครื่องเร่งอนุภาคมีหลายชนิด เช่น ไซโคลตรอน ซินโครตรอน เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น และบีตาตรอน [พลังงาน] |
cyclotron | เครื่องไซโคลตรอน , เป็นเครื่องสำหรับเร่งอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า ผู้ประดิษฐ์คือ Earnest O. Lawrence ชาวอเมริกัน ซึ่งได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2482 ในเครื่องเร่งอนุภาคชนิดนี้ อนุภาคถูกเร่งด้วยสนามไฟฟ้า ในขณะเดียวกันก็ถูกควบคุมด้วยสนามแม่เหล็ก ให้วิ่งวนเป็นวงออกไป เมื่อได้ความเร็วที่เหมาะสม ก็จะถูกปล่อยให้ไปชนกับเป้าที่ต้องการ เครื่องเร่งนี้ใช้ในการวิจัยทางฟิสิกส์พื้นฐาน และการผลิตสารไอโซโทปรังสี [พลังงาน] |
neutron generato | เครื่องกำเนิดนิวตรอน, เป็นเครื่องผลิตนิวตรอนพลังงานสูง โดยการเร่งอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น ดิวเทอรอน (deuteron) ให้มีพลังงานจลน์ในช่วง 150-500 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ แล้วให้ชนกับเป้าบางๆ โดยทั่วไปปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ใช้ในการผลิตนิวตรอน ได้จากการเร่งดิวเทอรอนให้ชนกับตริเตรียม(tritium) ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ ดังสมการ [พลังงาน] |
radiolytic products | เรดิโอไลติกโปรดักส์, คือ สารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีอาหาร เมื่อรังสีทะลุผ่านอาหาร รังสีจะถ่ายเทพลังงานให้โมเลกุลต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร เช่น น้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้า และเกิดปฏิกิริยาเรดิโอไลซิส ได้อนุมูลอิสระซึ่งไม่เสถียร และไปทำปฏิกิริยากับสารที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร ได้สารประกอบต่างๆ ที่มีโมเลกุลเล็กลง ซึ่งเรียกโดยรวมว่า เรดิโอไลติก โปรดักส์ การเกิดอนุมูลอิสระนอกจากจะเกิดจากการใช้รังสีแล้ว ยังเกิดจากการใช้ความร้อน เช่น การต้ม การทอด การอบ การย่าง และการปิ้ง และอนุมูลอิสระที่เกิดจากการใช้ความร้อนนี้ทำให้เกิดสารประกอบต่างๆ ที่มี โมเลกุลเล็กลงได้เช่นกัน แต่เรียกโดยรวมว่าเทอร์โมไลติกโปรดักส์ และเมื่อเปรียบเทียบกับเรดิโอไลติกโปรดักส์ พบว่า สารประกอบส่วนใหญ่เป็นชนิดเดียวกัน และเป็นสารประกอบที่ตรวจพบได้ในอาหารที่ไม่ได้ฉายรังสี [พลังงาน] |
Van de Graaff Generator (accelerator) | เครื่องแวนเดอกราฟ, เป็นเครื่องผลิตประจุไฟฟ้าสถิตย์ศักดาสูง ซึ่งประจุไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดถูกส่งผ่านโลหะปลายแหลมไปยังสายพาน ซึ่งทำหน้าที่พาประจุขึ้นไปสะสมไว้ที่ผิวทรงกลมจนได้ศักดาไฟฟ้าสูง ระบบทั้งหมดนี้อยู่ในถังความดันที่บรรจุแก๊สเฉื่อยทางไฟฟ้า เช่น ฟรีออนความดันสูงไม่น้อยกว่า 15 บรรยากาศ จะสามารถเก็บประจุซึ่งมีศักดาไฟฟ้าสูงถึงประมาณ 20 ล้านโวลต์ เครื่องนี้นำมาใช้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าได้ และมักใช้เร่งอนุภาคก่อนยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแบบอื่นที่ให้พลังงานสูงขึ้น เรียกชื่อตาม Robert Van de Graaff ชาวเนเธอร์แลนด์ ซึ่งประดิษฐ์เครื่องมิอนี้ ในปี พ.ศ. 2474 [พลังงาน] |
Antistatic agent | สารเคมีที่เติมลงไปในยางเพื่อช่วยลดการสะสมของประจุไฟฟ้าบนผิวยาง เช่น เขม่าดำเกรดที่นำไฟฟ้าได้ดี (Conductive black) เกลือของแอมโมเนียม เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Anionic | ประจุลบ, มีประจุลบ, มีประจุไฟฟ้าลบ [การแพทย์] |
Antistatic | ต้านการเกิดประจุไฟฟ้าสถิต, ต้านไฟฟ้าสถิตย์ [การแพทย์] |
Cationic | มีประจุไฟฟ้าบวก, มีประจุบวก, สารที่มีประจุ [การแพทย์] |
Charge | ประจุ, อัดแบตเตอรี่, เก็บประจุไฟฟ้าไว้ [การแพทย์] |
Charge, Negative | ประจุไฟฟ้าลบ [การแพทย์] |
Charging | ประจุไฟฟ้าที่กระจายออกมา [การแพทย์] |
Discharge | ตาแฉะ, ขี้ตา, ออกจากโรงพยาบาล, สิ่งไหลออก, การลดประจุไฟฟ้า, สิ่งปลดปล่อย, น้ำเหลือง, มีของไหล, ปล่อยประจุไฟฟ้าออกไป, ถูกขับออกมา [การแพทย์] |
Electric Charge | ประจุไฟฟ้า [การแพทย์] |
Electric Dipole | ประจุไฟฟ้าซึ่งมีจำนวนเท่ากันและมีขั้วตรงกันข้าม [การแพทย์] |
Electrical Charge | ประจุไฟฟ้า [การแพทย์] |
Electrical Charge Theory | ทฤษฏีเกี่ยวกับประจุไฟฟ้า [การแพทย์] |
Electrical Neutrality | สมดุลของประจุไฟฟ้า [การแพทย์] |
Electrochemical Gradient | ประจุไฟฟ้า, เกรเดียนต์ของไฟฟ้าเคมี [การแพทย์] |
Electrostatic | แรงที่เกิดจากประจุไฟฟ้าต่างชนิดกัน [การแพทย์] |
carrier | พาหะ, 1. สิ่งมีชีวิตที่นำเอาลักษณะทางพันธุกรรมหรือเชื้อโรคไปถ่ายทอดให้แก่สิ่งมีชีวิตอื่น 2. อิเล็กตรอนซึ่งเป็นตัวพาประจุไฟฟ้าในตัวนำหรือสารกึ่งตัวนำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
secondary cell | เซลล์ทุติยภูมิ, เซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดหนึ่งที่เมื่อความต่างศักย์ของเซลล์ลดลงแล้วสามารถจะประจุไฟฟ้าเข้าไปใหม่ได้อีก เช่น แบตเตอรี่ ที่ใช้ในรถยนต์ทั่ว ๆ ไป เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
primary cell | เซลล์ปฐมภูมิ, เซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดหนึ่งซึ่งปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าโดยตรง เมื่อความต่างศักย์ของเซลล์ลดลงหรือหมดไป ไม่สามารถประจุไฟฟ้าใหม่ได้ เช่น ถ่านไฟฉายที่ใช้กันอยู่ทั่ว ๆ ไป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
anion [ negative ion ] | แอนไอออน, อะตอมหรือกลุ่มอะตอมที่แสดงอำนาจประจุไฟฟ้าลบ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hydronium ion | ไฮโดรเนียมไอออน, ไอออนที่เกิดจากการรวมกันระหว่างโปรตอนกับโมเลกุลของน้ำ (H+ + H2O ® H3O+) ไฮโดรเนียมไอออนนี้มีประจุไฟฟ้าบวกและ เป็นส่วนที่ทำให้สารละลายมีสมบัติเป็นกรด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hydroxide ion | ไฮดรอกไซด์ไอออน, ไอออนที่เกิดจากการแตกตัวของน้ำหรือสารที่มีสมบัติเป็นเบส มีประจุไฟฟ้าลบและเป็นส่วนที่ทำให้สารละลายมีสมบัติเป็นเบส ดังตัวอย่าง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cation [ positive ion ] | ไอออนบวก, แคตไอออน, อะตอมหรือกลุ่มอะตอมที่แสดงอำนาจประจุไฟฟ้าบวก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ion | ไอออน, อะตอมหรือกลุ่มอะตอมที่มีประจุไฟฟ้าบวกหรือลบ เช่น H+, OH- เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electric current | กระแสไฟฟ้า, ปริมาณประจุไฟฟ้าที่ผ่านตัวนำไฟฟ้าใน 1 หน่วยเวลา ใช้สัญลักษณ์ I มีหน่วยเป็นแอมแปร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electrostatic induction | การเหนี่ยวนำไฟฟ้าสถิต, การทำให้เกิดประจุไฟฟ้าบนผิวของตัวนำโดยการนำวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าเข้ามาใกล้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electromagnetic wave | คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, คลื่นซึ่งเกิดจากการสั่นของประจุไฟฟ้าหรือเกิดจากประจุไฟฟ้าที่มีความเร่ง คลื่นนี้ประกอบด้วยสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าที่เปลี่ยนค่าตลอดเวลาและตั้งฉากซึ่งกันและกัน แผ่กระจายออกจากแหล่งกำเนิดคลื่นด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วแสง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
capacitance | ความจุ, สมบัติในการเก็บประจุไฟฟ้าของตัวนำหรือตัวเก็บประจุ มีค่าเท่ากับอัตราส่วนระหว่างจำนวนประจุไฟฟ้าบนตัวนำหรือตัวเก็บประจุกับความต่างศักย์ไฟฟ้าของตัวนำหรือตัวเก็บประจุนั้น ใช้สัญลักษณ์ C [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
C | คูลอมบ์, สัญลักษณ์ของหน่วยประจุไฟฟ้า ดู coulomb [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
coulomb | คูลอมบ์, หน่วยประจุไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ C โดยกำหนดว่า ประจุไฟฟ้า 1 คูลอมบ์ คือ จำนวนประจุที่ผ่านตัวนำใน 1 วินาที เมื่อมีกระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
lead storage cell | เซลล์สะสมไฟฟ้าแบบตะกั่ว, เซลล์ไฟฟ้าทุติยภูมิชนิดหนึ่ง ใช้แผ่นตะกั่วไดออกไซด์เป็นขั้วบวก แผ่นตะกั่วเป็นขั้วลบ และสารละลายกรดซัลฟิวริกเป็นอิเล็กโทรไลต์ เมื่อประกอบเข้าเป็นเซลล์ไฟฟ้าแล้ว ต้องนำไปประจุไฟฟ้าก่อนจึงจะมีพลังงานไฟฟ้าจ่ายออกมาจากเซลล์ไฟฟ้า และเมื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าหมดแล้วก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
capacitor | ตัวเก็บประจุ, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งมีสมบัติในการเก็บประจุไฟฟ้า ตัวเก็บประจุอย่างง่าย ๆ ประกอบด้วยแผ่น ตัวนำคู่เดียวหรือหลายคู่ซึ่งมีฉนวนคั่นระหว่าง แผ่นตัวนำ มีสมบัติสำคัญ อีกประการหนึ่ง คือให้ไฟฟ้ากระแสสลับผ่านได้แต่ไม่ยอมให้ไฟฟ้า กระแสตรงผ่าน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
conductor | ตัวนำ, สารที่มีสมบัติยอมให้ประจุไฟฟ้าผ่านไปได้ เช่น ทองแดง เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electric conductor | ตัวนำไฟฟ้า, สารที่มีสมบัติยอมให้ประจุไฟฟ้าผ่าน หรือสารที่ถ่ายโอนประจุไฟฟ้าได้ดี เช่น โลหะต่าง ๆ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
ประจุไฟฟ้า | [praju faifā] (n, exp) EN: electric charge ; charge FR: charge électrique [ f ] ; charge [ f ] |
ประจุไฟฟ้าบวก | [praju faifā būak] (n, exp) EN: positive charge FR: charge positive [ f ] |
ประจุไฟฟ้าลบ | [praju faifā lop] (n, exp) EN: negative charge FR: charge négative [ f ] |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
charge | (n) ประจุไฟฟ้า, See also: ขั้วไฟฟ้า |
electric charge | (n) ประจุไฟฟ้า |
electricity | (n) กระแสไฟฟ้า, See also: ไฟฟ้า, ประจุไฟฟ้า, พลังงานไฟฟ้า, Syn. current, power |
electrify | (vt) ทำให้เกิดประจุไฟฟ้า, Syn. charge, power, wire |
electronegative | (adj) ซึ่งประกอบด้วยประจุไฟฟ้าลบ, See also: ที่เป็นขั้วลบ |
electropositive | (adj) ซึ่งมีประจุไฟฟ้าบวก, See also: ซึ่งมีแนวโน้มจะให้อิเล็กตรอน |
uncharged | (adj) ไม่มีประจุไฟฟ้า, See also: ไฟฟ้า เป็นกลาง |
Hope Dictionary
antimatter | (แอนทีแมท' เทอะ) n. lสารที่ประกอบด้วยอนุภาคที่เหมือนกันแต่มีประจุไฟฟ้าตรงกันข้าม (anti-+mater) |
ccd memory | หน่วยความจำแบบซีซีดีย่อมาจาก charge coupled device memory (หน่วยความจำแบบอุปกรณ์ถ่ายเทประจุ) หมาย ถึงหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่ทำจากซิลิคอนชิป (silicon chip) ซึ่งสามารถเปลี่ยนสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไปเป็นประจุไฟฟ้า และสามารถบันทึกข้อมูลลงในจานแม่เหล็ก (disk) ได้ เหมาะสำหรับงานที่เรียกใช้ข้อมูลในหน่วยความจำตามลำดับ (sequential) หน่วยความจำชนิดนี้ทำงานช้ากว่าแรม (RAM) แต่เร็วกว่าแบบแม่เหล็ก |
charge | (ชาร์ดจฺ) vt. บรรจุ, ประจุ, อัดไฟ, ทำให้เต็ม, วางเงื่อนไข, สั่ง, ตักเตือน, แนะนำ, กล่าวหา, ฟ้องร้อง, เรียกเก็บเงิน, โจมตี, เป็นภาระ บันทึกเป็นหนี้ -vi. พุ่งเข้าไป, พุ่งไปข้างหน้า, โจมตี, เรียกเก็บ, หมอบลง (ตามคำสั่ง) -n. การอัดประจุไฟฟ้า, กระแสไฟที่อัด, ปริมาณดินระเบิด, ภาระ |
condenser | (คันเดน'เซอะ) n. เครื่องทำให้ไอน้ำหรือแก๊สจับตัวกันเป็นของเหลว หรือของแข็ง, คนย่อ, คนเดี่ยว, เลนส์รวมแสง, เครื่องสะสมประจุไฟฟ้า |
coulomb | (คู'ลอมบ์) n. หน่วยประจุไฟฟ้า (เมตร-กิโลกรัม-วินาที) |
electricity | (อีเลคทริส'ซิที) n. ไฟฟ้า, กระแสไฟฟ้า, วิชาไฟฟ้า, การไฟฟ้า, ประจุไฟฟ้า, ไฟฟ้าสถิต, อารมณ์หรือความรู้สึกที่ตื่นเต้น, เร่าร้อนตึงเครียด |
electropositive | adj. ซึ่งมีประจุไฟฟ้าบวก |
isotope | (ไอ'โซโทพฺ) n. ธาตุที่มีคุณสมบัติทางเคมีเหมือนกันแต่ต่างกันที่น้ำหนักอะตอมและประจุไฟฟ้าisotopeหลายชนิดที่มีกัมมันตภาพรังสี |
uncharged | (อันชาร์จดฺ') adj. ไม่มีประจุไฟฟ้า, (ไฟฟ้า) เป็นกลาง |
xerographic printer | xerographic printer เครื่องพิมพ์แบบถ่ายสำเนาหมายถึง เครื่องพิมพ์ชนิดหนึ่งซึ่งใช้วิธีการพิมพ์ด้วยประจุไฟฟ้าลงบนแผ่นกระดาษเป็นตัวอักษรก่อน แล้วจึงปัดด้วยผ้าหมึกแห้งให้ขึ้นเป็นสีทีหลัง เป็นการใช้ทั้งความร้อน และแรงอัด ทำให้เกิดเป็นภาพหรือตัวอักษรที่คมชัดมาก ความเร็วในการพิมพ์จะอยู่ในราว 400 บรรทัดต่อนาที |
Nontri Dictionary
electricity | (n) ไฟฟ้า, กระแสไฟฟ้า, ประจุไฟฟ้า, วิชาไฟฟ้า |
electrification | (n) การเกิดประจุไฟฟ้า, การเกิดกระแสไฟฟ้า, การปล่อยกระแสไฟฟ้า |
electrify | (vt) ทำให้เกิดประจุไฟฟ้า, วัดไฟฟ้า, ต่อไฟฟ้า, ปล่อยกระแสไฟฟ้า |
electron | (n) อิเล็กตรอน, หน่วยของประจุไฟฟ้า |
Longdo Approved DE-TH
Ladung | (n) |die, pl. Ladungen| ประจุไฟฟ้า |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0682 seconds, cache age: 6.351 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม