55 ผลลัพธ์ สำหรับ *ประกอบคำ*
ภาษา
หรือค้นหา: ประกอบคำ, -ประกอบคำ-พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กริยาวิเศษณ์ | น. คำวิเศษณ์ใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ด้วยกันให้มีความแปลกออกไป. |
กริยาวิเศษณานุประโยค | (-วิเสสะนานุปฺระโหฺยก) น. อนุประโยคที่ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ในสังกรประโยค, ประโยควิเศษณ์ ก็ว่า. |
แก้ว ๑ | โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่เคารพนับถือยิ่ง ในคำว่า แก้วทั้ง ๓ อันหมายถึง พระรัตนตรัย, หรือใช้ประกอบคำนามให้หมายความว่าสิ่งนั้นมีค่ามาก เป็นที่รัก หรือดีเยี่ยม เช่น นางแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ลูกแก้ว, หรือใช้เรียกของใสบางชนิด เช่น กระดาษแก้ว ผ้าแก้ว ข้าวเหนียวแก้ว. |
ขี้ขึ้นขมอง, ขี้ขึ้นสมอง | น. ความรู้สึกตกใจกลัวจนไม่คิดหน้าคิดหลัง เช่น พอได้ยินเสียงตวาดก็ขี้ขึ้นสมองแล้ว, มักใช้ประกอบคำ กลัว ว่า กลัวจนขี้ขึ้นขมอง หรือ กลัวจนขี้ขึ้นสมอง. |
ขี้หดตดหาย | น. ใช้เป็นสำนวนประกอบคำ กลัว ว่า กลัวจนขี้หดตดหาย หมายความว่า กลัวมาก. |
ขึ้น ๒ | ว. ใช้ประกอบคำอื่นเพื่อเน้นความให้เด่นหรือให้ชัดแจ้งกว่าเดิม เช่น เกิดขึ้น เป็นขึ้น สวยขึ้น สูงขึ้น |
เข้า ๑ | ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายเร่งรัด เช่น เร็วเข้า คิดเข้า, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายมากขึ้น เช่น หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงสภาพหรือความรู้สึกที่เกิดมีขึ้น เช่น พอสวยเข้าก็มีหนุ่ม ๆ มารุมจีบ พอเหนื่อยเข้าก็อยากจะเลิกทำ, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายว่าหนุนให้ทำ (มักใช้ในความประชดประชัน) เช่น เอาเข้าไป ว่าแล้วยังไม่ยอมหยุด. |
คดี | (คะดี) น. เรื่อง, มักใช้ประกอบคำศัพท์ เช่น โบราณคดี คดีโลก คดีธรรม วรรณคดี สารคดี |
ครัน | (คฺรัน) ว. ใช้ประกอบคำอื่นมีความหมายไปในทำนองว่า นัก, แท้, ยิ่ง, จริง, เช่น ครบครัน เสนาะครัน ดีครัน. |
แคลน | (แคฺลน) ว. ขัดสน, อัตคัด, มักใช้ประกอบคำอื่น เช่น ขาดแคลน = ทั้งขาดทั้งแคลน หมายความว่า อัตคัด, ขัดสน ดูแคลน = ดูหมิ่นเพราะเห็นเขาขัดสน ดูหมิ่นถิ่นแคลน = ดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อย. |
จ๋ะ ๑ | ว. เสียงประกอบคำถาม. |
จ๋ะ ๒ | ว. เสียงประกอบคำเรียก เช่น แม่จ๋ะ (เป็นเสียงสั้นจากคำ จ๋า). |
เฉิบ, เฉิบ ๆ | ว. คำร้องบอกจังหวะในการเต้นหรือรำ, มีท่าทางเนิบ ๆ เป็นจังหวะ เช่น รำเฉิบ ๆ เดินเฉิบ ๆ พายเรือเฉิบ ๆ, ใช้ประกอบคำอื่นมีความหมายไปในทางที่มีอาการประหนึ่งว่าเป็นเช่นนั้น เช่น นั่งสบายใจเฉิบ. |
เชื่อม ๑ | ใช้ประกอบคำ หวาน หมายความว่า หวานมาก เช่น ตาหวานเชื่อม |
ดวง | ใช้ประกอบคำอื่นเป็นคำเปรียบเทียบ เช่น ดวงใจ ดวงตา ดวงสมร หมายความถึงสิ่งที่เป็นที่รักยิ่ง หญิงที่รัก หรือลูกที่รัก |
ดิ่ว | ว. แน่ว, แหน็ว, ใช้ประกอบคำ ตรง ว่า ตรงดิ่ว เช่น ถนนสายนี้ตรงดิ่วสุดลูกหูลูกตา. |
ดึ๋ง | ว. ขึ้นอย่างเร็ว, ใช้ประกอบคำ กระโดด หรือ เด้ง เป็น กระโดดดึ๋ง เด้งดึ๋ง. |
เด่ | ว. ใช้ประกอบคำกริยาบางคำเพื่อเน้นความหมายว่า ตรงตั้งขึ้น เช่น ชี้เด่ ตั้งเด่. |
โด่ | ว. ใช้ประกอบคำกริยาบางคำเพื่อเน้นความหมายว่า ตรงขึ้นไป หรือเด่นเห็นได้ชัดเจน เช่น นั่งหัวโด่ ตั้งโด่. |
ใด | ว. ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความไม่เจาะจงหรือเป็นคำถาม เช่น คนใด เมื่อใด. |
ตะเหลนเป๋น | ว. ใช้ประกอบคำ สูง หรือ ยาว หมายความว่า สูงผิดส่วน ยาวผิดส่วน. |
ตะแหมะแขะ | (-แหฺมะ-) ว. ใช้ประกอบคำ เตี้ย หมายความว่า เตี้ยผิดส่วน. |
ตะแหลนแป๋น | (-แหฺลน-) ว. ใช้ประกอบคำ แบน หมายความว่า แบนผิดส่วน. |
ตุ๊กตา | ตัวอย่างที่สมมุติขึ้นมาประกอบคำอธิบายหรือวินิจฉัยเป็นต้น เช่น ตั้งตุ๊กตามาดู. |
ทอดหุ่ย | ว. อาการที่ไม่เอาธุระปล่อยให้เป็นไปตามเรื่องตามราว, อาการที่ปล่อยอารมณ์ตามสบาย, มักใช้ประกอบคำ นอน ว่า นอนทอดหุ่ย. |
นอบ | ก. น้อม, หมอบย่อลง, มักใช้ประกอบคำอื่น เช่น นบนอบ นอบน้อม. |
นั่นเอง | คำประกอบคำอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เขานั่นเอง. |
นั้น | ว. ใช้ประกอบนามหรือข้อความที่กล่าวอ้างมาแล้ว เช่น ในจดหมายฉบับนั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น, ใช้ประกอบนามที่หมายถึงบุคคล หรือสิ่งที่อยู่ห่างออกไป เช่น คนนั้น สิ่งนั้น, ใช้ประกอบคำอื่นคู่กับคำ ใด แสดงความแน่นอน เช่น คนใด…คนนั้น เมื่อใด…เมื่อนั้น. |
นี่ | ว. คำใช้ประกอบคำนามหรือกริยาให้รู้ว่าอยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น หนังสือนี่แต่งดี ขนมนี่อร่อย อยู่นี่ มานี่ |
นี่เอง | คำประกอบคำอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เธอนี่เอง เด็กคนนี้นี่เอง. |
แน่ะ | ใช้ประกอบคำลงท้ายเพื่อเน้นความ เช่น ราคาตั้ง ๕๐ บาทแน่ะ. |
บรรลัยจักร | (บันไลยะจัก, บันไลจัก) ว. วายวอด, มักใช้เป็นคำด่าประกอบคำ ฉิบหาย เป็น ฉิบหายบรรลัยจักร. |
บ้าง | ว. ใช้ประกอบคำอื่นหมายความว่า บางจำนวนหรือบางส่วนของสิ่งที่กล่าวถึงโดยเฉพาะ เช่น อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ขอบ้าง, บางส่วนของจำนวนรวมที่แบ่งเป็น ๒ เช่น เรื่องที่เล่าจริงบ้าง เท็จบ้าง, มีส่วนร่วม มีความหมายคล้ายคำว่า ด้วย เช่น ขอเล่นบ้าง ขอขี่จักรยานบ้าง, เอาอย่าง เช่น เห็นเขาทำก็ทำบ้าง. |
เบะ ๒ | ว. มาก, มักใช้ประกอบคำ เหลือ เป็น เหลือเบะ คือ เหลือมาก เช่นในกรณีที่เตรียมของไว้มาก แต่คนมาน้อย. |
ปศุ | (ปะ-) น. สัตว์เลี้ยงสำหรับใช้แรงงาน เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย บางทีก็รวมถึงสัตว์เลี้ยงที่ใช้เป็นอาหารด้วย เช่น แพะ แกะ หมู, มักใช้ประกอบคำ สัตว์ เป็น ปศุสัตว์. |
ปิ๋ว ๒ | ว. มักใช้ประกอบคำ เล็ก หมายความว่า เล็กมาก. |
ปี๋ ๒ | ว. มักใช้ประกอบคำอื่น หมายความว่า ยิ่งกว่าปรกติ เช่น ดำปี๋ เค็มปี๋ แน่นปี๋. |
ปึ้ด | ว. ใช้ประกอบคำ ดำ ว่า ดำปึ้ด หมายความว่า ดำมาก. |
ปื้อ | ว. ดำมืด, มักใช้ประกอบคำ ปึ้ด เป็น ปึ้ดปื้อ. |
เป๊ก ๓ | ว. ใช้ประกอบคำ แข็ง ว่า แข็งเป๊ก หมายความว่า แข็งมาก. |
เป๋ง | ว. ใช้ประกอบคำอื่นหมายความว่า ยิ่งกว่าปรกติ เช่น ตรงเป๋ง ตึงเป๋ง |
ไปยาล | น. เครื่องหมายละคำ รูปดังนี้ ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย สำหรับละคำที่ประกอบคำหน้า เช่น กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ, รูปดังนี้ ฯลฯ หรือ ฯเปฯ เรียกว่า ไปยาลใหญ่ สำหรับละข้อความข้างท้าย เช่น ในป่ามีช้าง เสือ ลิง ค่าง ฯลฯ อ่านว่า “ละ”, หรือละข้อความในระหว่าง เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมีว่า ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย ชโย อ่านว่า “ละถึง”, เปยยาล ก็เรียก. |
ผึง | ใช้ประกอบคำ แห้ง ว่า แห้งผึง หมายความว่า แห้งสนิท เช่น ปลักควายแห้งผึง. |
ผึ่ง ๒ | แสดงท่าทางว่าเป็นคนสำคัญหรือใหญ่โต, มักใช้ประกอบคำอื่น เช่น ทำผึ่ง นั่งผึ่ง วางผึ่ง. |
ผู้ | คำใช้ประกอบคำกริยาหรือประกอบคำวิเศษณ์ให้เป็นนามขึ้น เช่น ผู้กิน ผู้ดี. |
พล, พล- | (พน, พนละ-, พะละ-) น. กำลัง, มักใช้ประกอบคำอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็นกำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ฐานะเป็นต้น |
ฟ้อนแพน | น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือมากกว่า แต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนลาวแพน หรือ รำลาวแพน ก็เรียก. |
ฟ้อนลาวแพน | น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือมากกว่า แต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ รำลาวแพน ก็เรียก. |
มะเหงก | (-เหฺงก) น. ด้านหลังของข้อนิ้วมือที่งอเข้าด้วยกัน ใช้สำหรับเขกหรือชูให้ประกอบคำกล่าวแสดงความโกรธเป็นต้น เช่น ใช้มะเหงกเขกหัว ให้มะเหงก. |
มังค่า | ว. คำประกอบคำ ฝรั่ง ว่า ฝรั่งมังค่า เพี้ยนมาจาก พังคะ ซึ่งเป็นชื่อแคว้นเบงกอล. |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
I would like to conduct a crime scene inspection. | เราอยากให้ทำแผนประกอบคำให้การ ที่เกิดเหตุครับ The Case of Itaewon Homicide (2009) |
Longdo Approved EN-TH
planned re-enactment | (n, phrase) แผนประกอบคำรับสารภาพ |
planned re-enactment | (n, phrase) แผนประกอบคำรับสารภาพ เช่น One year a planned re-enactment was canceled because a student died in a car crash a few days before the event was to happen. |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
modify | (vt) ประกอบคำกริยา (ทางไวยากรณ์), See also: ขยายความ |
Hope Dictionary
powerpoint | (พาวเวอร์พอยนต์) เป็นชื่อโปรแกรมหนึ่งที่อยู่ในชุดของ Microsoft Office โปรแกรมนี้เน้นในเรื่องการแสดงภาพประกอบคำอธิบาย ใช้เพื่อการนำเสนองาน (presentation) โดยทำเป็นหน้า ๆ อาจทำให้มีเสียงบรรยายประกอบด้วยก็ได้ หรือจะสั่งพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อแจกผู้ฟังก็ได้ |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0273 seconds, cache age: 6 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม