67 ผลลัพธ์ สำหรับ *ทักษิณ*
ภาษา
หรือค้นหา: ทักษิณ, -ทักษิณ-NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ทักษิณ | (adv) right hand side, Syn. ขวา, Ant. ซ้าย, Example: การแห่ศพใช้การเวียนทักษิณ, Notes: (บาลี/สันสกฤต) |
ทักษิณ | (n) south, Syn. ทิศใต้, ทางใต้, Ant. ทิศอุดร, ทิศเหนือ, Example: อาคารที่ประทับหลังนี้เป็นสถาปัตยกรรมไทยทักษิณประยุกต์, Notes: (บาลี/สันสกฤต) |
ทักษิณา | (n) gift, See also: alms given to Buddhist monks, Thai Definition: ของทำบุญ, Notes: (สันสกฤต) |
บุพทักษิณ | (n) southeast, Syn. ทิศตะวันออกเฉียงใต้, อาคเนย์ |
ประทักษิณ | (adv) clockwise, Syn. ปทักขิณ, เวียนขวา, Example: ในวันวิสาขบูชาชาวบ้านมาเวียนเทียนประทักษิณที่วัด, Thai Definition: การเวียนขวา โดยให้สิ่งที่เรานับถือหรือผู้ที่เรานับถือเป็นต้นอยู่ทางขวาของผู้เวียน, Notes: (สันสกฤต) |
ทักษิณาจาร | (n) name of Brahmin doctrine, See also: person of upright conduct, Thai Definition: ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่ง นับเนื่องในนิกายหนึ่งของศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบขวาหรือฝ่ายขวา มีพิธีกรรมเปิดเผย ไม่มีลามกอนาจาร, คู่กับ วามาจาร, ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักปฏิบัติทำนองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์ โดยถือพระไวโรจนพุทธะแทนพรหมัน, Notes: (สันสกฤต) |
ทักษิณาทาน | (n) giving alms to the dead, See also: alms-giving, Example: การประกอบทักษิณาทานก่อให้เกิดความสุขทางใจ, Thai Definition: การให้ของทำบุญทำทาน |
ทักษิณายัน | (n) southern direction, See also: southern way, Syn. ทางใต้, Example: พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปทางทักษิณายัน, Notes: (สันสกฤต) |
ทักษิณาวรรต | (n) clockwise, See also: turning to the right, Syn. เวียนขวา, ทักขิณาวัฏ, Ant. เวียนซ้าย, อุตราวัฏ, อุตราวรรต, Example: ขบวนแห่นาคต้องทำทักษิณาวรรต โดยเวียนจากซ้ายมาขวา |
ทักษิณานุประทาน | (n) the making of merits for the dead people, See also: offering alms as a spiritual act of merit for the benefit or the dead, Example: เขาไปทำพิธีทักษิณานุประทานให้ญาติผู้ล่วงลับ, Thai Definition: การทำบุญอุทิศส่วนกุศลเพิ่มให้แก่ผู้ตาย, Notes: (สันสกฤต) |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ทักษิณ | น. ทิศใต้ ใช้ว่า ทิศทักษิณ. |
ทักษิณ | ว. ใต้ |
ทักษิณ | ข้างขวา เช่น ฝ่ายทักษิณ. |
ทักษิณนิกาย | น. เถรวาท, หินยาน. |
ทักษิณา | น. ของทำบุญ |
ทักษิณา | ขวา, ทิศใต้. |
ทักษิณาจาร | น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่งนับเนื่องในนิกายหนึ่งของศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบขวาหรือฝ่ายขวา มีพิธีกรรมเปิดเผย ไม่มีลามกอนาจาร, คู่กับ วามาจาร, ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักปฏิบัติทำนองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์ โดยถือพระไวโรจนพุทธะแทนพรหมัน. |
ทักษิณาทาน | น. การให้ของทำบุญแก่ทักขิไณยบุคคล. |
ทักษิณานุปทาน, ทักษิณานุประทาน | น. การที่พระมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงพระราชอุทิศถวายเจ้านายที่มีศักดิ์สูงซึ่งเสด็จล่วงลับไปแล้ว. |
ทักษิณายัน | น. ทางใต้ |
ทักษิณายัน | จุดสุดทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราววันที่ ๒๒ ธันวาคม เป็นจุดในหน้าหนาว มีกลางคืนยาวที่สุด เรียกว่า ทักษิณายัน (winter solstice), คู่กับ อุตตรายัน, เหมายัน ก็เรียก. |
ทักษิณาวรรต | น. การเวียนขวาเพื่อความเป็นสิริมงคลอย่างเดินเวียนเทียน. |
ทักษิณาวรรต | ว. เวียนไปทางขวา คือเวียนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา, ทักขิณาวัฏ ก็ว่า, ตรงข้ามกับ อุตราวรรต หรือ อุตราวัฏ. |
ทักษิณา | ดู ทักษิณ. |
ทักษิณาจาร | ดู ทักษิณ. |
ทักษิณาทาน | ดู ทักษิณ. |
ทักษิณานุปทาน, ทักษิณานุประทาน | ดู ทักษิณ. |
ทักษิณายัน | ดู ทักษิณ. |
ทักษิณาวรรต | ดู ทักษิณ. |
บุพทักษิณ | น. ทิศตะวันออกเฉียงใต้. |
ประทักษิณ | น. การเวียนขวา โดยให้สิ่งที่เรานับถือหรือผู้ที่เรานับถือเป็นต้นอยู่ทางขวาของผู้เวียน. |
จตุโลกบาล | (-โลกกะบาน) น. ท้าวจาตุมหาราช, หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จัตุโลกบาล ก็ว่า. |
จัตุโลกบาล | (จัดตุโลกกะบาน) น. ท้าวจาตุมหาราช, หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท้าวจัตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จตุโลกบาล ก็ว่า. |
จาตุมหาราช | เรียกหัวหน้าเทวดาผู้มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ว่า ท้าวจาตุมหาราช คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จตุโลกบาล หรือ จัตุโลกบาล ก็ว่า. |
เจดีย์ทิศ | น. เจดีย์บริวารตั้งอยู่บนฐานไพทีหรือลานประทักษิณล้อมเจดีย์ประธาน มี ๔ องค์ เหมือนดังประจำทิศต่าง ๆ ตามคตินิยมทางจักรวาล. |
เดินเทียน | ก. อาการที่ถือดอกไม้ธูปเทียนเดินประทักษิณสิ่งที่เคารพบูชา, ปัจจุบันใช้ว่า เวียนเทียน. |
ใต้ | น. ทิศที่อยู่ตรงข้ามกับทิศเหนือ, ทิศที่อยู่ทางขวามือ เมื่อหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เรียกว่า ทิศใต้, ทิศทักษิณ ก็ว่า. |
เถรวาท | (เถระวาด) น. ลัทธิที่ถือตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระอรหันตเถระรวม ๕๐๐ รูป ได้รวบรวมไว้ในคราวปฐมสังคายนา, ชื่อนิกายพระพุทธ-ศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และไทยเป็นต้น, หินยาน หีนยาน หรือ ทักษิณนิกาย ก็ว่า. |
ทศทิศ | น. ทิศทั้ง ๑๐ คือ ทิศทั้ง ๘ คือ อุดร อีสาน บูรพา อาคเนย์ ทักษิณ หรดี ประจิม พายัพ รวมกับทิศเบื้องบน และทิศเบื้องล่าง. |
ทักขิณ | ว. ทักษิณ, ใต้ |
ทักขิณา | น. ทักษิณา, ของทำบุญ |
ทักขิณาวัฏ | ว. เวียนไปทางขวา คือเวียนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา, ทักษิณาวรรต ก็ว่า, ตรงข้ามกับ อุตราวัฏ หรือ อุตราวรรต. |
ทักขิไณยบุคคล | (-ไนยะ-) น. บุคคลผู้ควรรับทักษิณา ได้แก่ภิกษุ สามเณร และสมณพราหมณ์. |
ทักษา | น. เรียกดาวพระเคราะห์เฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจำทิศอีสาน ใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจำทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร (ประจำทิศอาคเนย์ ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจำทิศทักษิณ ใช้เลข ๔ แทน) เสาร์ (ประจำทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจำทิศประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจำทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน) และศุกร์ (ประจำทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็นแผนภูมิดังนี้ |
ทักษิโณทก | ดู ทักษิณ. |
ทิศ ๖ | น. ทิศที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคล มี ทิศเบื้องหน้าหรือบูรพทิศ ได้แก่ บิดามารดากับบุตร ทิศเบื้องขวาหรือทักษิณทิศ ได้แก่ ครูอาจารย์กับศิษย์ ทิศเบื้องหลังหรือปัจฉิมทิศ ได้แก่ สามีกับภรรยา ทิศเบื้องซ้ายหรืออุตรทิศ ได้แก่ มิตร ทิศเบื้องบนหรือปุริมทิศ ได้แก่ สมณพราหมณ์กับศาสนิกชน และทิศเบื้องล่างหรือเหฏฐิมทิศ ได้แก่ นายกับบ่าวหรือผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา. |
พาม | ว. ซ้าย, ข้างซ้าย, เช่น ดยรดาษหน้าหลังหลาม ทงงทักษิณพามพิพิธ (ม. คำหลวง). (ป., ส. วาม). |
โลกบาล | (โลกกะ-) น. หัวหน้าเทวดาในชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกเต็มว่า ท้าวจตุโลกบาลหรือท้าวจัตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ. |
วามาจาร | น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่ง นับเนื่องในนิกายหนึ่งของศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบซ้ายหรือฝ่ายซ้าย มีพิธีกรรมลี้ลับ อนาจาร, คู่กับ ทักษิณาจาร |
วิรุฬหก | (-รุนหก) น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจำทิศทักษิณ. |
เวียนเทียน | ก. นั่งหรือยืนเป็นวงกลมแล้วส่งแว่นที่จุดเทียนติดไว้ต่อ ๆ กันไป, อาการที่ถือดอกไม้ธูปเทียนเดินประทักษิณสิ่งที่เคารพบูชา เช่น เวียนเทียนรอบพระอุโบสถในวันวิสาขบูชา, เดิมเรียกว่า เดินเทียน |
เหมายัน | (เห–) น. จุดสุดทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราววันที่ ๒๒ ธันวาคม เป็นจุดในหน้าหนาว มีกลางคืนยาวที่สุด เรียกว่า เหมายัน (winter solstice), คู่กับ ครีษมายัน, ทักษิณายัน ก็เรียก. |
อัฐเคราะห์ | น. เรียกดาวเฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจําทิศอีสาน ใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจําทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร (ประจําทิศอาคเนย์ ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจําทิศทักษิณ ใช้เลข ๔ แทน) เสาร์ (ประจําทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจําทิศประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจําทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน) และศุกร์ (ประจําทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็นแผนภูมิดังนี้ ว่า ทักษา, ถ้าเกิดวันใด ก็ถือวันนั้นเป็นบริวาร แล้วนับเวียนขวาไปตามทิศทั้ง ๘ เช่น เกิดวันอาทิตย์ อาทิตย์เป็นบริวาร จันทร์เป็นอายุ อังคารเป็นเดช พุธเป็นศรี เสาร์เป็นมูละ พฤหัสบดีเป็นอุตสาหะ ราหูเป็นมนตรี และศุกร์เป็นกาลกรรณี. |
อุตราวรรต | (อุดตะรา-) ว. เวียนไปทางซ้าย คือเวียนเลี้ยวทางซ้ายอย่างทวนเข็มนาฬิกา, อุตราวัฏ ก็ว่า, ตรงข้ามกับ ทักษิณาวรรต หรือ ทักขิณาวัฏ. |
อุตราวัฏ | (อุดตะรา-) ว. เวียนไปทางซ้าย คือเวียนเลี้ยวทางซ้ายอย่างทวนเข็มนาฬิกา, อุตราวรรต ก็ว่า, ตรงข้ามกับ ทักขิณาวัฏ หรือ ทักษิณาวรรต. |
อุตตรายัน | (อุดตฺรา-) น. จุดสุดทางเหนือ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราววันที่ ๒๒ มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวันยาวที่สุด เรียกว่า อุตตรายัน (summer solstice), คู่กับ ทักษิณายัน, ครีษมายัน ก็เรียก. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
prataksina | ประทักษิณ [ศิลปะ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
ทักษิณานุประทาน | การทำบุญอุทิศส่วนกุศลเพิ่มให้แก่ผู้ตาย [ศัพท์พระราชพิธี] |
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy | ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
บุพทักษิณ | [bupphathaksin] (x) EN: southeast |
มหาวิทยาลัยทักษิณ | [Mahāwitthayālai Thaksin] (org) EN: Thaksin University FR: université Thaksin [ f ] |
ทักษิณ | [thaksin] (x) EN: south FR: sud |
ทักษิณ ชินวัตร | [Thaksin Chinnawat] (n, prop) EN: Thaksin Shinawatra FR: Thaksin Shinawatra |
Nontri Dictionary
south | (n) ภาคใต้, ทิศใต้, ปักษ์ใต้, ทักษิณ |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
puppet government | (n) รัรัฐบาลหุ่นเชิด รัฐบาลที่ทำงานโดยมีผู้อื่นบางการอยู่ข้างหลัง เช่น คุณสมัครดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยมีคุณทักษิณเป็นคนคอยสั่งการ แต่งตั้ง โยกย้ายตำแหน่งต่างๆและกำหนดนโยบายต่างๆเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ตนและญาติพี่น้อง แม้จะพักอาศัยอยู่ไกลถึงลอนดอนก็ตาม |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.6041 seconds
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม