51 ผลลัพธ์ สำหรับ *ตัวอักขระ*
ภาษา
หรือค้นหา: ตัวอักขระ, -ตัวอักขระ-คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
byte | ไบต์, หน่วยของข้อมูล ที่แทนด้วยตัวเลขฐานสองขนาด 8 บิต ใช้เก็บตัวอักขระ 1 ตัว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Hope Dictionary
_ | เครื่องหมาย underscore เป็นอักขระตัวหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีลักษณะดังนี้ (-) ถ้าเป็นแป้นในพิมพ์ดีดจะใช้สำหรับขีดเส้นใต้ (underline) แทน แต่ในคอมพิวเตอร์ การขีดเส้นใต้มักนิยมใช้เป็นคำสั่ง (underline) แทน แต่บนแผงแป้นพิมพ์ก็ยังมีแป้นนี้อยู่ เมื่อกดแป้นนี้ คอมพิวเตอร์จะถือเสมือนเป็นตัวอักขระตัวหนึ่ง แต่ไม่สามารถใช้เป็นการขีดเส้นใต้ได้ต่อไปอีก เช่น อาจตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลว่า A-B ก็ได้ |
alphabetic character | ตัวอักษรหมายถึงตัวอักขระที่เป็นตัวอักษร เช่น A-Z หรือ ก-ฮ (ไม่รวมตัวเลข หรือหรือสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายพิเศษต่าง ๆ) มีความหมายเหมือน alphabet |
alphabetic string | สายตัวอักษรหมายถึงตัวอักขระหลาย ๆ ตัวที่เมื่อนำมาต่อกันแล้วสื่อความหมายบางอย่างและสามารถนำไปเก็บในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสื่อชนิดต่าง ๆ ได้มีความหมายเหมือน character string |
american standard code fo | รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการสับเปลี่ยนสารสนเทศ <คำแปล>ใช้ตัวย่อว่า แอสกี (ASCII) เป็นรหัสมาตรฐานแบบหนึ่งที่ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ เรียกว่า "รหัส แอสกี " |
ansi character set | ชุดตัวอักขระของแอนซีหมายถึง การกำหนดตัวอักขระต่าง ๆ ที่คอมพิวเตอร์ใช้ ที่สถาบันแอนซี (ANSI) เป็นผู้กำหนดไว้ โดยปกติจะประกอบด้วยตัวอักษรธรรมดาซึ่งมีอยู่ 26 ตัว (A-Z) และตัวเลข 10 ตัว (0-9) และยังมีสัญลักษณ์พิเศษอื่น ๆ เช่น % |
ascii file | แฟ้มข้อมูลแอสกี <คำแปล>หมายถึงแฟ้มข้อมูลที่ไม่ใช่โปรแกรม มีตัวอักขระที่ใช้เป็นรหัสแอสกีทั้งหมด บางที เรียกว่า " text file " แฟ้มแอสกี (ASCII file) มีลักษณะเฉพาะคือเป็นแฟ้มที่ไม่มีรูปแบบในการจัดหน้า ข้อความจะยาวไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการขึ้นบรรทัดใหม่ นอกจาก จะเริ่มระเบียนใหม่ โปรแกรมเวิร์ด สตาร์ (WordStar) เป็นผู้นำคำนี้มาใช้ก่อน (ตรงข้ามกับ document file ซึ่งหมายถึง แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดรูปหน้าไว้แล้ว) ส่วนมากจะใช้ศัพท์นี้เมื่อต้องการเปลี่ยน (convert) แฟ้มข้อมูลของโปรแกรมหนึ่งเป็นอีกโปรแกรมหนึ่ง เช่นจาก Word Perfect เป็น Microsoft Word ในกรณีเช่นนี้ อาจจะมีเมนูให้เลือกได้ว่าจะเปลี่ยนเป็น text file หรือ ASCII file หรือไม่ ซึ่งก็หมายความว่าเปลี่ยนเป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้รหัสแอสกีทั้งหมด ทำให้สามารถใช้ร่วมกันได้ ภายใต้ระบบปฏิบัติการเดียวกัน นิยมใช้กันมากในระบบสื่อสารและถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล |
binary code | รหัสฐานสองหมายถึง การใช้รหัสเลขฐานสองแทนตัวอักษร ตัวเลข และตัวอักขระ พิเศษต่าง ๆ โดยใช้เพียงเลข 0 และ 1 รหัสที่นิยมใช้กันอยู่มีหลายรหัสเช่น เอ็บซีดิก (EBCDIC) , แอสกี (ASCII) , บีซีดี (BCD) คอมพิวเตอร์ของแต่ละบริษัทจะเลือกใช้รหัสหนึ่งในการแทนข้อมูล |
binary digit | เลขโดดฐานสองเรียกย่อ ๆ ว่า bit หมายถึง ตำแหน่งหนึ่งในเลขฐานสอง ซึ่งเป็นได้ 2 ค่า คือ 0 กับ 1 ใช้แทนค่าต่าง ๆ บิตเป็นหน่วยเล็กที่สุดของการเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ในการเก็บค่า เรานำบิตมาจัดเป็นกลุ่ม ๆ ละ 6-7-8 บิต เพื่อใช้เป็นรหัสแทนตัวอักขระต่าง ๆ ดู bit ประกอบ |
bits per inch | บิตต่อนิ้วใช้ตัวย่อว่า BPI เป็นหน่วยวัดความจุของแถบบันทึก โดยวัดว่า แถบบันทึก 1 นิ้วจะเก็บตัวอักขระได้กี่บิต |
bpi | (บีพีไอ) ย่อมาจาก bits per inch หรือบิตต่อนิ้ว เป็นหน่วยวัดความจุของแถบบันทึก โดยวัดว่า แถบบันทึก 1 นิ้วจะเก็บตัวอักขระได้กี่บิต |
bytes per inch | ไบต์ต่อนิ้วใช้ตัวย่อว่า BPI เป็นหน่วยวัดความจุของตัวอักขระในเทปหรือแถบบันทึก (tape) หมายความว่า ขนาดความยาวของแถบบันทึก 1 นิ้ว จะบรรจุตัวอักขระได้เท่าใดอาจต่างกันได้ตั้งแต่ 200 ถึง 1600 ไบต์ต่อนิ้ว และอาจมีการปรับให้มากหรือน้อยกว่านั้นก็ได้ (บางทีใช้กับความยาวของแทร็กของพื้นผิวของจานบันทึก (disk) ด้วย |
carriage return | ปัดแคร่แป้นปัดแคร่ใช้ตัวย่อว่า CR ในทางคอมพิวเตอร์ ถือเป็นตัวอักขระตัวหนึ่งที่มองไม่เห็น ใช้เมื่อสิ้นสุดการพิมพ์แต่ละบรรทัด และทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) ลงไปอยู่เป็นตำแหน่งแรกของบรรทัดถัดลงมา โดยปกติ จะกำหนดให้กดแป้น <RETURN> หรือ <ENTER> |
character code | รหัสอักขระหมายถึงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่กำหนดให้ใช้เป็นรหัสแทนอักขระ หรือมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่มีการตกลงกันไว้ เป็นต้นว่า ตารางรหัสแอสกี (ASCII table) และรหัสเอ็บซีดิก (EBCDIC) โปรแกรมสำเร็จบางโปรแกรมใช้รหัสเหล่านี้ผสมกับตัวอักขระบางตัวเป็นรหัสคำสั่งให้เป็นการขีดเส้นใต้ , ทำตัวเอน ฯ |
character graphics | อักขระภาพหมายถึง สัญลักษณ์หรือภาพต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นโดยการกดแป้นพิมพ์ ถือว่าเป็นแบบอักษร (font) แบบหนึ่ง (สำหรับเครื่องพีซี อาจใช้วิธีกดแป้น ALT+ เลขต่าง ๆ ตาม รหัสที่กำหนดไว้ก็ได้) เช่น แบบตัวอักขระภาพที่มากับระบบวินโดว์ของพีซี มีชื่อว่า Wingdings ส่วนของแมคอินทอช ชื่อ Zapf การขยายหรือลดขนาดภาพเหล่านี้ ใช้วิธีเดียวกับที่ทำกับแบบอักษรอื่น ๆ ไม่ใช่วิธีที่ทำกับภาพ |
character reader | เครื่องอ่านอักขระหมายถึง เครื่องอ่านอักขระจากตัวพิมพ์ซึ่งจะต้องมีลักษณะพิเศษที่เป็นมาตรฐาน การอ่านใช้วิธีให้แสงผ่านช่องว่างของตัวอักขระนั้น ๆ แล้วแปลเป็นรหัสบันทึกลงไว้ในแถบบันทึก (tape) หรือจานบันทึก (disk) |
character string | หมายถึง ตัวอักขระหลาย ๆ ตัวที่เมื่อนำมาต่อกันแล้ว สื่อความหมายบางอย่าง และสามารถนำไปเก็บในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสื่อ (media) ชนิดต่าง ๆ ได้ นอกจากนั้น จะต้องทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแยกออกว่าไม่ใช่คำสั่งในภาษามีความหมายเหมือน alphabetic string หรือ string |
characters per inch | จำนวนอักขระต่อนิ้วใช้ตัวย่อว่า CPI แปลตรง ๆ ได้ว่า อักขระต่อนิ้ว เป็นหน่วยวัดความจุของแถบบันทึกว่า เนื้อเทป 1 นิ้ว จะเก็บข้อมูลได้กี่ตัวอักขระ |
characters per second | จำนวนอักขระต่อวินาทีใช้ตัวย่อว่า CPS แปลตรง ๆ ได้ว่า อักขระต่อวินาที ใช้เป็น หน่วยวัดความเร็วในการพิมพ์ว่าเครื่องพิมพ์สามารถพิมพ์ได้กี่ตัวอักขระในเวลา 1 วินาที ใช้กับเครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix) และแบบฉีดหมึก (ink jet) เท่านั้น (เครื่องพิมพ์เลเซอร์จะพิมพ์ที่ละหน้า) ดู printer ประกอบ |
cps | (ซีพีเอส) ย่อมาจาก characters per second แปลตรง ๆ ได้ว่า อักขระต่อวินาที ใช้เป็น หน่วยวัดความเร็วในการพิมพ์ว่า เครื่องพิมพ์ สามารถพิมพ์ได้กี่ตัวอักขระในเวลา 1 วินาที ใช้กับเครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix) และแบบฉีดหมึก (ink jet) เท่านั้น |
daisey wheel printer | เครื่องพิมพ์แบบจานอักขระหมายถึงเครื่องพิมพ์แบบกระทบ (impact printer) ชนิดหนึ่ง ที่ใช้วิธีพิมพ์ด้วยการมีจานอักขระหรือจานกลม ๆ ที่มีลักษณะเหมือนวงล้อ มีตัวอักขระต่าง ๆ ติดอยู่ที่ปลายก้านแต่ละก้านที่กางออกไปจากศูนย์ตรงกลาง) เวลาพิมพ์ จานนี้ก็จะหมุนไปรอบ ๆ เมื่ออักษรตัวใดกระทบกับกระดาษ ก็จะเกิดเป็นอักษรตัวนั้นบนกระดาษดู daisy wheel ประกอบ |
daisy wheel | จานอักขระหมายถึง จานกลม ๆ มีลักษณะเหมือนวงล้อ มีตัวอักขระต่าง ๆ ติดอยู่ที่ปลายก้านแต่ละก้านที่กางออกไปจากศูนย์ตรงกลาง ใช้กับเครื่องพิมพ์แบบกระทบ (impact printer) เวลาพิมพ์ จานนี้ก็จะหมุนไปรอบ ๆ เมื่ออักษรตัวใดกระทบกับกระดาษ ก็จะเกิดเป็นอักษรตัวนั้นบนกระดาษ |
data card | บัตรข้อมูลหมายถึงบัตรคอมพิวเตอร์ที่ใช้ เจาะเป็นรหัสแสดงถึงตัวอักขระต่าง ๆ อาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรืออักขระพิเศษ เพื่อให้คอมพิวเตอร์อ่านเข้าไปเก็บในหน่วยความจำ บัตรข้อมูลนั้น เราสามารถใช้ได้ทั้ง 80 คอลัมน์ของบัตร (แต่บัตรที่เป็นบัตรชุดคำสั่ง ที่เรียกว่า program card นั้น ใช้ได้เฉพาะคอลัมน์ 7 ถึง 70) เมื่อส่งเข้าประมวลผลในคอมพิวเตอร์ บัตรข้อมูลจะต้องส่งตามหลังบัตรชุดคำสั่งเสมอดู card code ประกอบ |
delete | (ดิลีท') vt. ลบออก, เอาออก ลบทิ้งลบออกลบ1. หมายถึง แป้นสำหรับสั่งให้ลบทิ้ง การกดแป้นนี้ จะทำให้ลบตัวอักขระที่ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) นำอยู่ออก ตัวอักขระที่อยู่ถัดไปจะเลื่อนขึ้นมาทางซ้ายอีกตำแหน่งหนึ่งตามกันมาเป็นกระบวน2. ในความหมายทางคอมพิวเตอร์ที่แท้จริงนั้น หมายถึง การลบข้อความหรือข้อมูล หรือระเบียน ออกจากแฟ้มข้อมูล (file) หรือฐานข้อมูล (database) 3. ในระบบดอส ใช้เป็นคำสั่งลบชุดคำสั่ง (program) หรือแฟ้มข้อมูล (file) ที่เก็บไว้ในจานบันทึก (disk) เช่นเดียวกับคำสั่ง ERASE อาจใช้ตัวย่อว่า DEL ก็ได้ เช่น A>DEL* . BASมีความหมายเหมือน erase |
digit bit | บิตเลขเป็นกลุ่มของบิต ที่ทำให้รหัสของการแทนตัวเลข ตัวอักษร และตัวอักขระพิเศษต่าง ๆ ในภาษาคอมพิวเตอร์ สามารถแทนค่าต่าง ๆ ได้มากขึ้น เช่น รหัสเอ็บซีดิก (EBCDIC) ประกอบด้วย 8 บิต สี่บิตแรกเรียกบิตโซน (zone bit) สี่บิตหลังเรียกบิตเลข (digit bit) รหัสแอสกี (ASCII) ประกอบด้วย 7 บิต สามบิตแรกเรียกบิตโซน สี่บิตหลังเรียกบิตเลขมีความหมายเหมือน numeric bit |
dot matrix printer | เครื่องพิมพ์แบบจุดส่วนมากเรียกกันสั้น ๆ ว่า dot matrix หรือ dot printer หมายถึง เป็นเครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์แสดงผลของคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง ใช้เข็มตอกลงบนกระดาษ ทำให้ผลที่ออกมาดูเป็นจุดเรียงไปตามตารางรูปสี่เหลี่ยม จุดเหล่านี้จะรวมกันเป็นตัวอักขระที่เป็นรูปและขนาดที่ต้องการ สำหรับเส้นโค้งนั้นเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ทำไม่ได้ดีนัก แต่หากมีจุดเรียงกันได้ละเอียดเท่าใด เส้นโค้งก็จะดูดีขึ้นและตัวอักษรก็จะดูสวยงามขึ้น คุณภาพของเครื่องพิมพ์นั้น จึงวัดกันเป็นจำนวนจุดต่อนิ้ว ยิ่งเครื่องพิมพ์มีคุณภาพ ก็ต้องยิ่งมีจำนวนจุดต่อนิ้วมากมีความหมายเหมือน dot printer ดู printer ประกอบ |
dot printer | เป็นเครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์แสดงผลของคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง ใช้เข็มตอกลงบนกระดาษ ทำให้ผลที่ออกมาดูเป็นจุดเรียงไปตามตารางรูปสี่เหลี่ยม จุดเหล่านี้จะรวมกันเป็นตัวอักขระที่เป็นรูปและขนาดที่ต้องการ สำหรับเส้นโค้งนั้นเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ทำไม่ได้ดีนัก แต่หากมีจุดเรียงกันได้ละเอียดเท่าใด เส้นโค้งก็จะดูดีขึ้นและตัวอักษรก็จะดูสวยงามขึ้น คุณภาพของเครื่องพิมพ์นั้น จึงวัดกันเป็นจำนวนจุดต่อนิ้ว ยิ่งเครื่องพิมพ์มีคุณภาพ ก็ต้องยิ่งมีจำนวนจุดต่อนิ้วมากมีความหมายเหมือน dot matrix printerดู printer ประกอบ |
escape character | อักขระหลีกตัวอักขระบนแป้นพิมพ์ที่เมื่อกดแล้ว ทำให้ตัวอักขระอื่น ๆ ที่ตามมา ต้องแปลความต่างไป จากตัวอักขระที่ใช้มาก่อนหน้านี้ ตัวอย่าง เช่น จะใช้อักขระหลีก เพื่อกำหนดความหมายว่า ตัวอักขระที่จะใช้ต่อไปนั้น จะต้องใช้รหัสแปลความแตกต่างไปจากรหัสแปลความที่เคยใช้ก่อนหน้านี้ หรืออาจจะถือว่า อักขระเหล่านั้นไม่ใช่ข้อมูลอีกต่อไป แต่เป็นอักขระเพื่อการควบคุมเท่านั้น เป็นต้น |
extended ascii | รหัสแอสกีแบบขยายเดิมรหัสแอสกีจะมีสัญลักษณ์ 128 ตัวอักขระ แต่ต่อมาได้เพิ่มเป็น 255 ตัวอักขระ ชุดตัวอักขระ 255 ตัวนี้ที่เรียกว่ารหัสแอสกีขยาย ซึ่งจะเพิ่มรหัสสำหรับภาษาต่างประเทศ สัญลักษณ์คณิตศาสตร์ และภาพสัญลักษณ์ต่าง ๆ วิธีใช้ ก็เพียงแต่กดแป้น ALT พร้อมกับเลขตั้งแต่ 51-255 กำหนดแบบอักษร (font) ที่เป็นภาพ เช่น Wingdings ก็จะได้สัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ถ้ากดแป้น ALT กับรหัส 255 จะได้สัญลักษณ์เป็นภาพสัญลักษณ์วินโดว์ |
field length | ความยาวเขตข้อมูลหมายถึงขนาดความยาวของเขตข้อมูล (field) ที่สามารถกำหนดได้ เช่นเขตข้อมูล "ชื่อ" อาจใช้ความยาวถึงขนาด 30 ตัวอักขระ ส่วนเขตข้อมูล "อายุ" อาจใช้เพียง 2 ตัวอักขระ เป็นต้น แฟ้มข้อมูล (file) แต่ละแฟ้มจะต้องกำหนดเขตข้อมูลที่ใช้ชื่อเดียวกันให้ยาวเท่ากัน เช่น ถ้าเป็นเขตข้อมูล "ชื่อ" ไม่ว่าจะชื่อสั้นหรือยาวเพียงใด ก็ต้องใช้เนื้อที่ 30 ตัว อักขระหมดทั้งแฟ้ม |
file name | ชื่อแฟ้ม (ข้อมูล) แฟ้มข้อมูลก็ดี โปรแกรมหรือชุดคำสั่งก็ดี จะต้องมีชื่อที่ ไม่ซ้ำกัน เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ได้เมื่อ ต้องการ เรียกใช้ระบบปฏิบัติการแต่ละระบบ จะมีข้อกำหนด กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลไว้ เป็นต้นว่า ระบบดอสและวินโดว์ มีข้อกำหนดว่า ชื่อของแฟ้ม ข้อมูล จะต้องยาวไม่เกิน 8 ตัวอักขระ (ตัวอักษรหรือตัวเลข) ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ต้องไม่มีช่องว่าง ฯ และที่สำคัญที่สุด คือตั้งชื่อเป็นภาษาไทยไม่ได้โดยเด็ดขาด นอกจากนั้น อาจจะต้องมีนามสกุล (filetype) ซึ่งต้องประกอบด้วย 3 ตัวอักษร ส่วนระบบของแมคอินทอช มีข้อจำกัดน้อยกว่านั้น มาก เช่น จะใช้ภาษาไทยก็ได้ |
filetype | ชื่อประเภทแฟ้มข้อมูลหมายถึงส่วนหนึ่งของชื่อแฟ้มข้อมูล โดยปกติในระบบดอส จะเขียนมีขนาดความยาวไม่เกิน 3 ตัวอักขระ เช่น EXAM. BAS BAS จะบ่งบอกว่าเป็นแฟ้มข้อมูลที่เขียนด้วยภาษาเบสิก |
floppy disk | จานบันทึกอ่อนหมายถึง จานแบน ๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กไว้บนผิวหน้า ใช้สำหรับบันทึกข้อมูล ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบันนี้ มีอยู่สองขนาด คือขนาด 5.25 นิ้ว ซึ่งจะมีปลอก กระดาษหุ้ม กับขนาด 3.5 นิ้วซึ่งจะอยู่ในปลอกพลาสติก ทำให้แข็งและทนกว่า มีความจุในการบันทึกต่าง ๆ กัน ชนิดที่มีความหนาแน่นสองเท่า (double density) จะจุ 360 - 720 K (ประมาณ 360, 000 - 720, 000 ตัว อักขระ) ชนิดความหนาแน่นสูง (high density) จะจุ 1.2 - 1.44 เมกะไบต์ (ประมาณ 1.2 ล้าน - 1.4 ล้านตัวอักขระ) บางทีเรียก diskette เพื่อให้แตกต่างกับจานบันทึกที่ใช้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า disk มีความหมายเหมือน diskette |
font | (ฟอนทฺ) n. แท่นใส่น้ำมนต์, อ่างน้ำมนต์, โอ่งน้ำมนต์, ที่ใส่น้ำมันของตะเกียง, ชุดตัวพิมพ์ที่สมบูรณ์, รูปแบบอักขระ, แบบ ขนาด และรูปร่างของตัวอักขระ โดยทั่วไปจะหมายถึงตัวอักษรและตัวเลขเท่านั้น, ลักษณะหรือรูปแบบของตัวอักขระที่เขียนหรือประดิษฐ์ขึ้น เช่น ตัวอักขระ |
gb | (จีบี) ย่อมาจากคำว่า gigabyte (อ่านว่า กิกะไบต์) เป็นหน่วยวัดความจุข้อมูล 1 GB เท่ากับหนึ่งพันล้านไบต์ (หรือ 230) หรือ หนึ่งพันล้านตัวอักขระ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำ จานบันทึก หรือ ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ฯ |
gigabyte | (กิกะไบต์) ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดความจุข้อมูล 1 GB เท่ากับหนึ่งพันล้านไบต์ (หรือ 230 หรือ 10243 หรือ หนึ่งพันล้านตัวอักขระ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำ จานบันทึก หรือ ฮาร์ดดิสก์ ฯ |
high resolution | ความละเอียดสูงมีความคมชัดใช้บอกคุณสมบัติของจอภาพ และเครื่องพิมพ์ที่สามารถแสดงรูปภาพ และตัวอักขระต่าง ๆ ได้คมชัดมากดู low resolution เปรียบเทียบ |
i beam pointer | ตัวชี้ไอบีมเป็นตัวชี้ตำแหน่งในลักษณะหนึ่งมีรูปร่างเหมือนตัว I จะปรากฏขึ้นเมื่อจะพิมพ์ตัวอักขระ หรือตัวเลข ตัวชี้ตำแหน่งนั้นจะเปลี่ยนรูปลักษณะไปตามความหมายเฉพาะของคำสั่งหลัก ๆ เช่น อาจเป็นลูกศร เป็นกากบาท |
impact printer | เครื่องพิมพ์แบบกระทบเป็นเครื่องพิมพ์ชนิดหนึ่งที่พิมพ์ข้อความลงบนกระดาษ โดยใช้ฆ้อนตอกผ่านผ้าหมึกพิมพ์ลงบนกระดาษ ทำให้เกิดเป็นรูปตัวอักขระต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น เครื่องพิมพ์แบบจาน (daisy wheel) เครื่องพิมพ์แบบดรัม (drum printer) และเครื่องพิมพ์แบบสายโซ่ (chain printer) การพิมพ์แบบนี้ อาจทำได้ทีละหลายชุดพร้อม ๆ กัน โดยใช้กระดาษก๊อปปี้ (เครื่องพิมพ์เลเซอร์ทำไม่ได้) |
k | (เค) พยัญชนะอังกฤษตัวที่ 11, เสียง K ย่อมาจาก kilobyte (กิโลไบต์) มีค่าเท่ากับ 1, 024 ไบต์ (210) บางทีก็ใช้ตัวย่อ ว่า KB ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล เช่น หน่วยความจำ จานบันทึก ฯ 1 ไบต์จะเก็บได้ 1 ตัวอักขระ (หรือช่องว่าง) ถ้าพูดว่าจานบันทึกนี้มีความจุ 720 เคไบต์ ก็แปลว่า เก็บข้อมูลได้ไม่เกิน (720x1024) 737, 280 ตัวอักขระ หรือถ้าบอกว่าหน่วยความจำขนาด 64 เคไบต์ ก็แปลว่า มีความจุ (64x1024) 65, 536 ตัวอักขระ |
kb | ย่อมาจาก kilobyte มีค่าเท่ากับ 1, 024 ไบต์ (210) บางทีก็ใช้ตัวย่อ ว่า K เฉย ๆ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล เช่น หน่วยความจำ จานบันทึก 1 ไบต์จะเก็บได้ 1 ตัวอักขระ (หรือช่องว่าง) ถ้าพูดว่าจานบันทึกนี้มีความจุ 720 เคไบต์ ก็แปลว่า เก็บข้อมูลได้ไม่เกิน (720x1024) 737, 280 ตัวอักขระ หรือถ้าบอกว่าหน่วยความจำขนาด 64 เคไบต์ ก็แปลว่า มีความจุ (64x1024) 65, 536 ตัวอักขระ |
kiiobyte | ใช้ตัวย่อว่า K หรือ KB มีค่าเท่ากับ 1, 024 ไบต์ (210) บางทีก็ใช้ตัวย่อ ว่า KB ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล เช่น หน่วยความจำ จานบันทึก ฯ 1 ไบต์จะเก็บได้ 1 ตัวอักขระ (หรือช่องว่าง) ถ้าพูดว่าจานบันทึกนี้มีความจุ 720 เคไบต์ ก็แปลว่า เก็บข้อมูลได้ไม่เกิน (720x1024) 737, 280 ตัวอักขระ หรือถ้าบอกว่าหน่วยความจำขนาด 64 เคไบต์ ก็แปลว่า มีความจุ (64x1024) 65, 536 ตัวอักขระ |
kilobyte | (กิโลไบต์) ใช้ตัวย่อว่า KB มีค่าเท่ากับ 1, 024 (2 ยกกลง 10) ไบต์ เช่น ถ้าพูดว่าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำ 64 เคไบต์ หมายความว่า มีเนื้อที่ในหน่วยความจำ 65, 536 ไบต์ สามารถเก็บตัวอักขระได้ 65, 536 ตัวอักขระ |
line printer | เครื่องพิมพ์รายบรรทัดหมายถึง เครื่องพิมพ์ความเร็วสูงชนิดหนึ่ง อยู่ภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์ ในการพิมพ์นั้น จะจัดเรียงตัวอักขระตลอดทั้งบรรทัดให้เสร็จก่อน จึงจะพิมพ์ลงบนกระดาษ และพิมพ์ได้ทีละบรรทัด เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะพิมพ์ได้เร็ว แต่ไม่มีความประณีต เช่น เครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix) โดยปกติจะพิมพ์ได้ประมาณ 600-1200 บรรทัดต่อนาที แต่บางเครื่องอาจพิมพ์ได้เร็วถึง 2, 000 บรรทัดต่อนาทีก็มี ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องพิมพ์ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่หรือเมนเฟรม (mainframe) สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ มักใช้กับเครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix printer) ซึ่งพิมพ์ทีละตัวอักขระ หรือเครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) ซึ่งพิมพ์ครั้งละหนึ่งหน้า |
magnetic ink character re | เครื่องอ่านอักขระหมึกแม่เหล็กใช้ตัวย่อว่า MICR (อ่านว่า เอ็มไอซีอาร์) หมายถึง เครื่องอ่านตัวอักขระที่พิมพ์ด้วยหมึกแม่เหล็ก การอ่านหมึกแม่เหล็กที่ว่านี้ ใช้วิธีอ่านด้วยแสง ซึ่งจะทำให้คอมพิวเตอร์นำข้อมูลที่อ่านไปเก็บในหน่วยความจำแล้วประมวลผลให้ เหมือนกับการป้อนข้อมูลทางแป้น ส่วนมากใช้อ่านในกิจการของธนาคาร เช่น อ่านเลขที่บัญชีของลูกค้าในสมุดเช็ค เป็นต้น |
newline character | ขึ้นบรรทัดใหม่หมายถึง แป้น <RETURN> ซึ่งถือเป็นตัวอักขระตัวหนึ่งที่ทำให้มีการขึ้นบรรทัดใหม่ ถ้าลบ (delete) อักขระตัวนี้ บรรทัดล่างจะขึ้นไปต่อกับบรรทัดบน |
numeric character | ตัวเลขหมายถึงตัวอักขระที่เป็นตัวเลข โดยปกติกำหนดไว้ให้มี 10 ตัว คือ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 และ 9 เพื่อแยกให้เห็นต่างจากตัวอักขระที่เป็นตัวหนังสือมีความหมายเหมือน digit |
ocr | abbr. optical character recognition, optical character reader (แปลตรง ๆ ได้ว่า เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง) หมายถึง ความสามารถของคอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรมทำให้แสงผ่านตัวอักขระหรือภาพ แล้วสามารถรับรู้ นำเข้าไปเก็บในหน่วยความจำ และนำไปประมวลผลได้ ซึ่งจะทำให้ทุ่นเวลากว่าการส่งข้อมูลเข้าด้วยแป้นพิมพ์ได้มากทีเดียว ใช้ในการอ่านตัวเลขต่าง ๆ เช่น ธนาคารนำมาใช้อ่านเบอร์บัญชีของเช็ค เป็นต้น |
optical character reecogn | การรับรู้อักขระด้วยแสงใช้ตัวย่อว่า OCR (อ่านว่า โอซีอาร์) หมายถึง ความสามารถของคอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรมทำให้แสงผ่านตัวอักขระหรือภาพ แล้วสามารถรับรู้ นำเข้าไปเก็บในหน่วยความจำ และนำไปประมวลผลได้ ซึ่งจะทำให้ทุ่นเวลากว่าการส่งข้อมูลเข้าด้วยแป้นพิมพ์ได้มากทีเดียว ใช้ในการอ่านตัวเลขต่าง ๆ เช่น ธนาคารนำมาใช้อ่านเบอร์บัญชีของเช็ค เป็นต้น |
paper tape | แถบกระดาษเทปกระดาษเป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกของคอมพิวเตอร์เมนเฟรมในสมัยแรก ๆ โดยทั่วไป แถบกระดาษที่เคยนิยมใช้มีขนาดกว้าง 0.75 ถึง 1 นิ้ว แถบกระดาษม้วนหนึ่ง ๆ ยาว 30 - 1000 ฟุต ม้วนอยู่บนล้อวงกลม ลักษณะการบันทึก ใช้วิธีการเจาะเป็นรูกลม ๆ มีความจุประมาณ 10 ล้านตัวอักขระต่อเทป 1 นิ้ว ปัจจุบัน ไม่มีใครรู้จักแล้ว เพราะแก้ไขยาก ใช้ซ้ำไม่ได้เลย ทำให้สิ้นเปลืองมาก ในการอ่านข้อมูลบนแถบกระดาษ ใช้เครื่องอ่านแถบกระดาษ เรียกว่า paper tape reader ในการบันทึก ใช้เครื่องเจาะแถบกระดาษ ซึ่งเรียกว่า paper tape punch ซึ่งจะทำงานเมื่อได้รับสัญญาณจากหน่วยประมวลผลกลาง สามารถเจาะได้ประมาณ 10 - 150 แถวต่อวินาที |
parameter | พารามิเตอร์ตัวแปรเสริมหมายถึง ค่า ซึ่งอาจจะเป็นจำนวนเลข หรือตัวอักขระ ที่ใช้ในการสร้างสมการหรือคำสั่ง (statement) ข้อความที่จะเห็นบนจอภาพบ่อย ๆ เช่น "parameter missing" หมายความว่า ใส่ข้อความไม่ครบ เช่น ให้ย้ายแฟ้มข้อมูล A แต่ไม่บอกว่าย้ายไปที่หน่วยบันทึกใด (เช่น จะให้ไปที่ a : หรือ b:) |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 1.0985 seconds
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม