95 ผลลัพธ์ สำหรับ *คืนดี*
ภาษา
หรือค้นหา: คืนดี, -คืนดี-NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
คืนดี | (v) reconcile, See also: conciliate, restore good relation, get back on good terms, patch up, become reconciled, Syn. ดีกัน, ปรองดอง, หายโกรธ, Ant. โกรธกัน, Example: ผู้พิพากษาพยายามที่จะไกล่เกลี่ยให้คู่หย่าร้างคืนดีกัน, Thai Definition: โกรธกันแล้วกลับดีกัน |
คืนดีกัน | (v) reconcile, See also: bring about a reconciliation, make peace, restore good relations, patch up a quarrel, Syn. ญาติดีกัน, คืนดี, ดีกัน, Ant. โกรธกัน, ไม่ถูกกัน, Example: พี่น้องคืนดีกันตั้งแต่เมื่อวานแล้ว, Thai Definition: โกรธกันแล้วกลับมามีมิตรไมตรีต่อกัน |
วันดีคืนดี | (adv) propitious day, See also: auspicious time, one fine day, Example: วันดีคืนดีก็มีข่าวว่า ประชา ขอย้ายตัวเองไปอยู่ต่างจังหวัด, Count Unit: วัน, Thai Definition: วันที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
คืนดี | ก. โกรธกันแล้วกลับดีกัน. |
วันดีคืนดี | น. โอกาสเหมาะ, มักใช้พูดแสดงเวลาที่ไม่แน่นอน เช่น หายหน้าไปนาน วันดีคืนดีก็มา. |
กาวใจ | น.ผู้ประสานรอยร้าวให้ผู้ที่โกรธกัน ทะเลาะกัน หรือกินแหนงแคลงใจกัน ได้กลับคืนดีกัน เช่น เขาเป็นกาวใจให้ ๒ คนนี้คืนดีกัน. |
กู้ ๑ | ก. ทำให้กลับคืนดีอย่างเดิม เช่น กู้เรือ กู้ชาติ กู้ชื่อ |
แก้ ๒ | ทำให้ดีขึ้น, ทำให้ใช้การได้, ทำส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น, เช่น แก้นาฬิกา แก้เครื่องจักร, แก้ไข ก็ว่า |
แก้ไข | ก. ทำส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น, แก้ ก็ว่า. |
ของ้อ | ก. อ่อนเข้าหาเพื่อขอคืนดีด้วย, อ่อนเข้าหาเพื่อให้ยอมหรือช่วยเหลือ. |
ง้อ | ก. ขอคืนดีด้วย, ขอพึ่งพาอาศัย. |
ง้องอน | ก. อ้อนวอนขอคืนดีด้วย, อ่อนเข้าหาเพื่อให้ยอมหรือช่วยเหลือ, งอนง้อ ก็ว่า. |
งอนง้อ | ก. อ้อนวอนขอคืนดีด้วย, อ่อนเข้าหาเพื่อให้ยอมหรือช่วยเหลือ, ง้องอน ก็ว่า. |
ซ่อม ๑ | ก. ทำสิ่งที่ชำรุดให้คืนดี |
ซ่อมแปลง | ก. แก้ไขดัดแปลงของที่ชำรุดให้คืนดี. |
บุรณะ | (บุระ-) ก. บูรณะ, ซ่อมแซมทำให้กลับคืนดีเหมือนเดิม เช่น บุรณะวัด, มักใช้เข้าคู่กับ ปฏิสังขรณ์ เป็น บุรณปฏิสังขรณ์. |
บูรณะ | ก. ซ่อมแซมทำให้กลับคืนดีเหมือนเดิม เช่น บูรณะวัด, มักใช้เข้าคู่กับ ปฏิสังขรณ์ เป็น บูรณปฏิสังขรณ์. |
ปฏิสังขรณ์ | ก. ซ่อมแซมทำให้กลับคืนดีเหมือนเดิม (มักใช้เฉพาะวัดวาอาราม) เช่น ปฏิสังขรณ์วัด. |
หันกลับ | ก. เปลี่ยนไปสู่สภาพเดิม เช่น เขาทั้งสองหันกลับไปคืนดีกัน. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
rehabilitation | การทำให้กลับคืนดี, การฟื้นฟูสภาพ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
irretrievable breakdown of marriage | การขาดจากการสมรสที่ไม่อาจคืนดีกันได้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
คืนดี | [kheūndī] (v) EN: reconcile ; conciliate ; restore good relation ; get back on good terms ; patch up ; become reconciled FR: se réconcilier ; |
วันดีคืนดี | [wan dī kheūn dī] (n, exp) EN: fine day ; propitious day FR: jour propice [ m ] ; jour placé sous d'heureux auspices [ m ] |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
have back | (phrv) ยอมกลับมาคืนดีกับ, See also: หวนกลับไปหา สามีหรือภรรยา, Syn. send back, take back |
irreconcilable | (adj) ไม่สามารถปรองดองกันได้, See also: ไม่สามารถคืนดีกันได้ |
reconcile with | (phrv) ทำให้คืนดีกับ |
Hope Dictionary
atonement | (อะโทน'เมินทฺ) n. การชดเชย, การไถ่คืน, การคืนดีของพระเจ้าและมนุษย์โดยพระเยซูคริสต์, การตกลง, การคืนดี, Syn. amends, reparation |
heal | (ฮีล) vt. รักษา, ทำให้คืนดีกัน. vi. หายดี, หาย., See also: healable adj. healer n. |
reconcilable | (เรค'เคินไซละเบิล) adj. ประนีประนอมกันได้, ปรองดองกันได้, คืนดีกันได้, ไกล่-เกลี่ยได้, See also: reconcilability n reconcilably adv. |
reconcile | (เรค'เคินไซลฺ) vt. ประนีประนอม, ไกล่เกลี่ย, ทำให้ปรองดองกัน, ทำให้คืนดีกัน, ทำให้ลงรอยกัน, ทำให้เชื่อมกัน, , See also: reconciler n. reconcilingly adv., Syn. conciliate |
reconciliation | (เรคเคินซิลลิเอ'เชิน) n. การประนีประนอม, การไกล่เกลี่ย, การทำให้คืนดีกัน, การทำให้ลงรอยกัน, Syn. rapprochment |
restoration | (เรสทะเร'เชิน) n. การซ่อมแซม, การปฏิสังขรณ์, การทำให้คืนสู่สภาพหรือรูปเดิม, การทำให้คืนชีพ, การทำให้กลับคืนดี, การส่งคืน, การสร้างขึ้นใหม่, Syn. renewal, replacement |
Nontri Dictionary
convalesce | (vi) ฟื้นไข้, พักฟื้น, กลับคืนดี |
convalescence | (n) การพักฟื้น, การฟื้นไข้, การกลับคืนดี |
fix | (vt) กำหนด, เจาะจง, ซ่อมแซม, ทำให้คืนดี, ทำให้ติดแน่น, ตรึงตรา, จัดการ |
heal | (vi) หาย, คืนดี |
irrecoverable | (adj) กลับคืนดีไม่ได้, รักษาไม่ได้ |
irreparable | (adj) ไม่สามารถจะคืนดีได้, ไม่สามารถแก้ไขได้, ซ่อมแซมไม่ได้ |
mend | (vi) กลับคืนดี, ดีขึ้น, ปรับปรุง |
reclaim | (vt) ทำให้คืนดี, เรียกคืน, บุกเบิก, ปรับปรุง |
reclamation | (n) การทำให้คืนดี, การเรียกคืน, การบุกเบิก, การปรับปรุง |
reconcile | (vt) ทำให้ปรองดอง, ทำให้คืนดี, ไกล่เกลี่ย |
reconciliation | (n) การประนีประนอม, การคืนดี, การไกล่เกลี่ย |
rehabilitate | (vt) กู้ฐานะ, ทำให้กลับคืนดี, กู้(ชื่อเสียง), พักฟื้น |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0431 seconds, cache age: 0.902 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม