157 ผลลัพธ์ สำหรับ *ความไม่พอใจ*
ภาษา
หรือค้นหา: ความไม่พอใจ, -ความไม่พอใจ-NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ความไม่พอใจ | (n) dissatisfaction, See also: displeasure, discontent, Ant. ความพอใจ, Example: การสร้างเขื่อนของรัฐบาลสร้างความไม่พอใจให้กับชาวบ้าน |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กระแทกแดกดัน | ว. อาการที่กล่าวกระทบกระแทกหรือประชดเพราะความไม่พอใจ. |
กระโวยกระวาย | ว. อาการที่ส่งเสียงร้องเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่พอใจเป็นต้น, โวยวาย ก็ว่า. |
ค้อน ๒ | ก. แสดงความไม่พอใจด้วยการตวัดสายตา. |
ซอยเท้า | ก. ย่ำถี่ ๆ เช่น ทหารซอยเท้าอยู่กับที่ เด็กซอยเท้าแสดงความไม่พอใจเมื่อไม่ได้ของเล่น |
ดีละ, ดีแล้ว | คำแสดงความไม่พอใจเป็นเชิงประชดหรือแดกดัน. |
ดูรึ | อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจ เช่น ดูรึเห็นคนอื่นดีกว่าลูกเมีย. |
ดูหรือ | อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจ เช่น ดูหรือมาเป็นไปได้. |
ทุด | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจ ติเตียน หรือดูถูก. |
น้อยหรือ | คำเปล่งแสดงความไม่พอใจ เช่น น้อยหรือทำได้, ตัดพ้อต่อว่าด้วยความเอ็นดู เช่น น้อยหรือช่างว่า. |
นิ่ว ๒ | ก. ทำหน้าย่นขมวดคิ้วแสดงความไม่พอใจหรือรู้สึกเจ็บเป็นต้น. |
บ๊ะ | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือประหลาดใจเป็นต้น, อุบ๊ะ ก็ว่า. |
ประชด | ก. แกล้งทำให้เกินควรหรือพูดแดกดันเพราะความไม่พอใจ เช่น หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว พูดประชด, ประชดประชัน ก็ว่า, ในกลอนใช้ว่า ประทยด หรือ ประเทียด ก็มี. |
ลงส้น | ก. อาการที่เดินกระแทกส้นเท้าแสดงความไม่พอใจเป็นต้น. |
แล้วกัน | ว. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือผิดหวังเป็นต้น เช่น แล้วกันกินขนมหมดไม่เหลือไว้ให้เลย แล้วกัน ไปเมื่อไรก็ไม่บอก |
แล้วไป | ก. เสร็จสิ้นไป, ช่างปะไร, (มักพูดแสดงความไม่พอใจ) เช่น ไม่ทำก็แล้วไป ให้กินแล้วไม่กินก็แล้วไป. |
โวย | ก. ส่งเสียงแสดงความไม่พอใจเกินกว่าเหตุ เช่น เรื่องเล็กนิดเดียวก็โวยเสียเป็นเรื่องใหญ่โต, ประท้วงด้วยการส่งเสียงเอะอะ เช่น เขาโวยว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม |
โวยวาย | ก. ส่งเสียงร้องเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่พอใจ เป็นต้น เช่น พอประกาศเงินเดือนขึ้นอีกกลุ่มก็โวยวาย. |
โวยวาย | ว. อาการที่ส่งเสียงเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่พอใจเป็นต้น เช่น เขาไม่ได้เงินเดือนขึ้นก็ส่งเสียงโวยวาย, กระโวยกระวาย ก็ว่า. |
สยิ้ว | (สะยิ่ว) ก. ทำหน้านิ่วคิ้วขมวดแสดงความไม่พอใจหรือเบื่อหน่าย ในคำว่า สยิ้วหน้า สยิ้วพระพักตร์. |
สะกด | ก. กลั้นไว้, ข่มไว้, เช่น เมื่อเกิดความไม่พอใจ ก็รู้จักสะกดอารมณ์ไว้บ้าง |
สะบัด ๆ | ว. อาการที่พูดห้วน ๆ ไม่มีหางเสียง แสดงความไม่พอใจ เช่น แม่ค้าไม่พอใจที่ลูกค้าต่อราคามากไป จึงพูดสะบัด ๆ. |
สะบัดก้น | ก. อาการที่ลุกผละไปทันทีด้วยความไม่พอใจเป็นต้น เช่น กินแล้วก็สะบัดก้นไป พูดยังไม่ทันรู้เรื่องก็โกรธสะบัดก้นไปแล้ว. |
หงอด, หงอด ๆ | อาการบ่นด้วยความไม่พอใจ. |
อรดี, อรติ | (อะระ-) น. ความไม่ยินดี, ความไม่พอใจ, อราดี หรือ อราติ ก็ใช้. |
อราดี, อราติ | น. ความไม่ยินดี, ความไม่พอใจ. (ป. อรติ). (ดู อรดี). |
อุบ๊ะ | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือประหลาดใจเป็นต้น, บ๊ะ ก็ว่า. |
ฮาป่า | ก. ส่งเสียงดังพร้อม ๆ กันแสดงความไม่พอใจหรือขับไล่. |
ฮึ | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือแปลกใจ. |
ฮึ่ม | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจ |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
representation | ๑. การเป็นผู้แทน๒. หนังสือแสดงความไม่พอใจ (เบากว่าประท้วง)๓. การแถลงในนามของรัฐ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Agreement for the Application of the Bolivarian Alternative for the Peoples of our America and the People’s Trade Agreements | ความตกลงอัลบา เกิดขึ้นจากแนวความคิดของประธานาธิบดี Hugo Cha'vez แห่งเวเนซุเอลาหลังประกาศถอนตัวจากการเป็นสมาชิกประชาคมแอนเดียนเพื่อแสดง ความไม่พอใจที่โคลัมเบียและเปรูจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ ข้อตกลง ALBA จึงเป็นทางเลือกในการจัดทำความตกลงทางการค้าตามแนวสังคมนิยมแทนการจัดทำเขต การค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา (FTAA) ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 3 ประเทศ ได้แก่ เวเนซุเอลา คิวบา และโบลิเวีย [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
New Diplomacy | การทูตแบบใหม่ ภายหลังสงครามโลกครั้งแรก หรือตั้งแต่ ค.ศ. 1918 เป็นต้นมา ได้เกิดการทูตแบบใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจาการทูตแบบเก่า อันได้ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี นักวิชาการบางท่านมีความเอนเอียงที่จะตำหนิว่า การที่เกิดสงครามโลกขึ้นนั้น เป็นเพราะการทูตประสบความล้มเหลวมากกว่าอย่างไรก็ดี บางท่านเห็นว่าแม้ส่วนประกอบของการทูตจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา แต่เนื้อหาหรือสาระสำคัญของการทูตยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เป็นการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่างการทูตแบบเก่ากับการทูตแบบใหม่อาจกล่าวได้ ว่า มีปัจจัยสำคัญ ๆ อยู่สามประการ ที่มีอิทธิพลหรือบังเกิดผลโดยเฉพาะต่อวิธีการหรือทฤษฎีของการเจรจาระหว่าง ประเทศ กล่าวคือ ข้อแรก ชุมชนนานาชาติทั้งหลายเกิดการตื่นตัวมากขึ้น ข้อที่สอง ได้มีการเล็งเห็นความสำคัญของมติสาธารณะ ( Public Opinion) มากขึ้น และประการสุดท้าย เป็นเพราะการสื่อสารคมนาคมได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วอดีตนักการทูตผู้มี ชื่อเสียงคนหนึ่งของอินเดีย ได้แสดงความไม่พอใจและรังเกียจความหยาบอย่างปราศจากหน่วยก้านของการดำเนิน การทูตแบบใหม่ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อเข้าใส่กัน การใช้ถ้อยคำในเชิงผรุสวาทต่อกัน การเรียกร้องกันอย่างดื้อ ๆ ขาดความละมุนละไมและประณีต อาทิเช่น การเรียกร้องข้ามหัวรัฐบาลไปยังประชาชนโดยตรงในค่ายของฝ่ายตรงกันข้ามการ กระทำต่าง ๆ ที่จะให้รัฐบาลต้องเสียชื่อหรือขาดความน่าเชื่อถือ ตลอดจนการใส่ร้ายป้ายสีกันด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา ห้ามไม่ให้ประชาชนติดต่อกันทางสังคม และอื่น ๆ เป็นต้น [การทูต] |
Recall of Diplomats | การเรียกตัวนักการทูตกลับประเทศของตน คือ ผู้แทนทางการทูตอาจถูกรัฐบาลของตนริเริ่มเรียกตัวกลับประเทศได้ด้วยเหตุผล ต่าง ๆ เช่น ผู้แทนทางการทูตนั้นขอลาออก หรือลาออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ หรือถูกโยกย้ายไปประจำอีกแห่งหนึ่ง หรือเกิดความไม่พอใจอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ถ้าหากรัฐบาลปรารถนาจะเรียกหัว หน้าคณะผู้แทนทางการทูตกลับโดยถาวรเนื่องจากไม่พอใจในตัวเขา โดยมากเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกัน คือ รัฐบาลจะเปิดโอกาสให้หัวหน้าคณะทูตผู้นั้นทำหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งเสีย มากกว่าที่จะใช้วิธีสั่งปลด อันเป็นการกระทำที่รุนแรงกว่ามากนอกจากนี้ หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตหรือเอกอัครราชทูตอาจถูกรัฐบาลเรียกตัวกลับตามคำ ขอร้องของรัฐบาลประเทศผู้รับ เนื่องจากกระทำตนไม่เป็นที่พึงปราถนาของประเทศผู้รับ (Persona non grata) ก็ได้ ตามปกติ คำขอร้องจากรัฐผู้รับขอให้เรียกตัวกลับนั้น มักได้รับการตอบสนองโดยดีในทันทีจากรัฐผู้ส่ง แต่ถ้าหากรัฐผู้ส่งปฏิเสธคำขอร้องดังกล่าวนั้น รัฐผู้รับอาจขับให้ออก (Dismiss) จากประเทศก็ได้ [การทูต] |
Dissatisfaction | ความไม่พอใจ [การแพทย์] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
ความไม่พอใจ | [khwām mai phøjai] (n) EN: discontent ; dissatisfaction ; unhappiness ; discontentment ; frustration FR: mécontement [ m ] |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
allergy | (n) ความไม่พอใจ, See also: ความไม่ชอบ, ความเกลียด |
bad blood | (n) ความเกลียดชัง, See also: ความไม่พอใจ, ความรู้สึกไม่ดีต่อกัน, Syn. hatred, Ant. affection |
bad feeling | (n) ความเกลียดชัง, See also: ความไม่พอใจ, ความรู้สึกไม่ดีต่อกัน, Syn. bad blood |
complaint | (n) ความไม่พอใจ |
complain to | (phrv) ตำหนิ, See also: แสดงความไม่พอใจ |
discontent | (n) ความไม่พอใจ, Syn. dissatisfaction, unhappiness |
discontentedly | (adv) ด้วยความไม่พอใจ |
discontentment | (n) ความไม่พอใจ, Syn. dissatisfaction, unhappiness |
disgruntlement | (n) ความไม่พอใจ, See also: ความหงุดหงิด, ความขุ่นเคือง, Syn. discontentment, disgruntlement |
displeasure | (n) ความไม่พอใจ, See also: ความโกรธ |
dissatisfaction | (n) ความไม่พอใจ, See also: ความขุ่นเคือง, Syn. grievance, gripe, grumble, Ant. compliment |
fiddiesticks | (int) คำอุทานแสดงความไม่พอใจหรือหมดความอดทน |
fie | (int) คำอุทานแสดงความไม่พอใจ |
frustration | (n) ความไม่พอใจ, See also: ความผิดหวัง, Syn. disappointment, discontentment, dissatisfaction, Ant. fulfillment, satisfaction |
grudge | (n) ความไม่พอใจ, See also: ความคับข้องใจ, ความขุ่นแค้น, Syn. enmity, rancor, Ant. affection, amity |
grumble | (n) การบ่น, See also: การแสดงความไม่พอใจ, Syn. complaint |
hate | (n) ความเกลียด, See also: ความชัง, ความไม่พอใจ, ความเกลียดชัง |
heck | (int) คำอุทานแสดงความไม่พอใจ ความรำคาญหรืออื่นๆ (คำไม่เป็นทางการ) |
hiss | (vi) เปล่งเสียงแสดงความไม่พอใจ |
hiss | (vt) เปล่งเสียงแสดงความไม่พอใจ |
malaise | (n) ความกังวลใจ, See also: ความไม่พอใจ, Syn. anxiety, unease, depression |
oi | (int) คำอุทานแสดงความไม่พอใจ |
passion | (n) ความโกรธ, See also: ความไม่พอใจ, ความโมโห, Syn. anger |
pout | (vi) ทำริมฝีปากล่างยื่น (แสดงความไม่พอใจ), Syn. sulk, lower, brood |
pout | (vt) ทำริมฝีปากล่างยื่น (แสดงความไม่พอใจ), Syn. sulk, lower, brood |
purse | (vt) ทำปากจู๋ (แสดงความไม่พอใจ) |
resentment | (n) ความไม่พอใจ, See also: ความขุ่นเคือง, Syn. bitterness, offense, displeasure |
snit | (sl) ความไม่พอใจ, See also: อาการขุ่นเคือง |
scene | (n) การแสดงความไม่พอใจ, See also: การแสดงความโกรธ, อาการโกรธ, Syn. fuss, commotion |
tut | (int) คำอุทานแสดงความไม่พอใจ |
tut | (n) การอุทานแสดงความไม่พอใจ |
tut | (vi) กล่าวคำอุทานแสดงความไม่พอใจ |
ugh | (int) คำอุทานแสดงความรังเกียจหรือความไม่พอใจ |
Hope Dictionary
allergy | (แอล' เลอจี) n. โรคภูมิแพ้ (เช่น ไข้ละ-อองฟาง, หอบ, หืด, ภาวะผิวหนังเป็นผื่น) , ความไม่พอใจ -allergic adj. (hypersensitivity) |
antipathy | (แอนทิพ' พะธี) n. ความไม่ลงรอย, ความไม่พอใจ, ความเกลียด, สิ่งที่ไม่ลงรอย, สิ่งที่ไม่ชอบ, Syn. hostility, hatred, enmity |
chide | (ไชดฺ) { chided, chiding, chides } vt. ติเตียน, ตำหนิ, ด่า, ดุ, ตะเพิด, พัดเสียงดัง (ลม) , คำราม, แสดงความไม่พอใจ, Syn. rebuke |
disaffection | (ดิสอะเฟค'เชิน) n. ความไม่พอใจ, ความไม่ซื่อสัตย์, ความบาดหมาง, ความเหินห่าง |
disapproval | (ดิสอะพรู'เวิล) n. ความไม่เห็นด้วย, การไม่อนุญาต, ความไม่พอใจ, ความรังเกียจ, สีหน้าความรู้สึกหรือคำพูดที่ไม่เห็นด้วย, Syn. blame |
discommend | (ดิสคะเมนดฺ') vt. แสดงความไม่พอใจ, ไม่เห็นด้วย |
discontent | (ดิสคันเทนทฺ') adj. ไม่พอใจ. n. ความไม่พอใจ vt. ทำให้ไม่พอใจ |
displeasure | n. ความไม่พอใจ, ความไม่เห็นด้วย, ความไม่สบายใจ, สิ่งที่ทำให้ไม่พอใจ vt. ไม่พอใจ, ทำให้ไม่พอใจ |
dissatisfaction | n. ความไม่พอใจ, ความไม่อิ่ม, Syn. discontent |
distaste | (ดิสเทส') n. ความไม่ชอบ, ความไม่พอใจ. vt. ไม่ชอบ, ไม่พอใจ, รังเกียจ, Syn. aversion, dislike, Ant. liking, taste |
fie | (ไฟ) interj. คำอุทานที่แสดงความไม่พอใจ |
frown | (เฟราน) vi. คิ้วขมวด, ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด, บึ้ง, แสดงความไม่พอใจ, ถมึงตึง. vt. ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด. n. หน้านิ่วคิ้วขมวด., See also: frowner n. frowningly adv., Syn. sulk, scowl |
glower | (โกล'เออะ) vi. จ้องเขม็งอย่างถมึง n. หน้าตาที่แสดงความไม่พอใจหรือความโกรธ., See also: gloweringly adv., Syn. scowl, frown, lower |
grievance | (กรี'เวินซฺ) n. ความไม่พอใจ, ความข้องใจ, ข้อข้องใจ, Syn. affliction, injury |
groan | (โกรน) n., v. (ส่ง) เสียงครวญคราง, เสียงพึมพำแสดงความไม่พอใจหรืออื่น ๆ , ปรารถนา, ถูกบีบคั้น, รับน้ำหนักมากเกินไป, See also: groaner n. groaningly adv., Syn. lament, moan |
grouch | (เกราชฺ) vi. บ่น, แสดงความไม่พอใจ n. คนขี้บ่น, คนที่มีอารมณ์บูดบึ้ง, Syn. complain |
grunt | (กรันทฺ) vi., vt. ทำเสียงทางจมูกแสดงความไม่พอใจ, ทำเสียงฮึดฮัด, บ่น. n. เสียงฮึดฮัดแสดงความไม่พอใจ, ทหารราบ., See also: gruntingly adv., Syn. grumble |
grunter | (กรัน'เทอะ) n. หมู, สัตว์ที่ทำเสียงทางจมูก, คนที่ทำเสียง ทางจมูกแสดงความไม่พอใจ |
hoot | (ฮูท) v., n. (เสียง) ร้องเสียงอย่างนกเค้าแมว, ตะโกนออกอย่างไม่เห็นด้วยหรือเย้ยหยัน, ขับออก, ไล่. interj. คำอุทานแสดงความไม่พอใจ, See also: hooter n., Syn. jeer |
indignation | (อินดิกเน' เชิน) n. ความเดือดดาล, ความไม่พอใจมาก, ความขุ่นเคือง, Syn. wrath |
indisposition | (อินดิสพะซิซ'เชิน) n. ความป่วย, ความไม่สบาย, ความไม่พอใจ, ความไม่เต็มใจ |
oops | (อูพซฺ) interj. คำอุทานแสดงความไม่พอใจ, ความผิดหวัง, ความประหลาดใจและอื่น ๆ |
resentment | (รีเซนทฺ'เมินทฺ) n. ความขุ่นเคืองใจ, ความไม่พอใจ, ความแค้นใจ, Syn. dudgeon |
tut n. | interj. คำอุทานแสดงความไม่พอใจ ดูหมิ่นหรืออื่น ๆ |
yowl | (เยาลฺ) vi. ร้องเสียงยาวแสดงความไม่พอใจหรือผิดหวัง, ว้าย!. n. เสียงร้องดังกล่าว, See also: yowler n., Syn. howl, yowling cry |
Nontri Dictionary
disaffection | (n) ความไม่เป็นมิตร, ความไม่ซื่อสัตย์, ความไม่พอใจ, ความเหินห่าง, ความบาดหมาง |
discontent | (n) ความไม่พอใจ, ความไม่ถูกใจ, ความไม่สบอารมณ์ |
disfavour | (n) ความไม่ชอบ, ความไม่พอใจ, ความไม่ถูกใจ, ความไม่เห็นด้วย |
displeasure | (n) ความไม่พอใจ, ความไม่ชอบ, ความไม่ถูกใจ, ความไม่สบายใจ |
dissatisfaction | (n) ความไม่พอใจ, ความไม่จุใจ, ความไม่อิ่ม, ความไม่ถูกใจ |
distaste | (n) ความไม่ถูกใจ, ความไม่พอใจ, ความรังเกียจ |
frown | (n) การขมวดคิ้ว, ความถมึงทึง, การถลึงตา, ความบึ้งตึง, ความไม่พอใจ |
grievance | (n) ความเศร้าโศก, ข้อข้องใจ, ความไม่พอใจ |
indignation | (n) ความไม่พอใจ, ความขุ่นเคือง, ความเดือดดาล |
indisposition | (n) ความไม่เต็มใจ, อาการป่วย, ความไม่ชอบ, ความไม่พอใจ |
reproach | (n) ความไม่พอใจ, คำติเตียน, การต่อว่า, การตำหนิ, การประณาม |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
tut! | (n, vi) คำอุทานแสดงความไม่พอใจ ดูหมิ่นหรืออื่นๆ n.คำอุทาน "tut".-vi.คำอุทานคำว่า "tut", See also: shucks!; phew!; pshaw!; fie, Syn. shucks!; phew!; pshaw!; fie!; tsk!; hang it all! |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0369 seconds, cache age: 3.25 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม