220 ผลลัพธ์ สำหรับ *กำหนดให้*
ภาษา
หรือค้นหา: กำหนดให้, -กำหนดให้-พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กระทำ ๑ | ทำการใด ๆ ที่เกิดผลในทางกฎหมาย แต่การงดเว้นการกระทำใด ๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องกระทำ ก็ถือว่าเป็นการกระทำด้วย เช่น บิดามารดามีหน้าที่ดูแลบุตรซึ่งยังเล็กอยู่ การที่บิดามารดาอยู่เฉยไม่หาอาหารให้ ก็อาจถือว่าเป็นการกระทำได้. | ||
กัน ๓ | ก. กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น กันฝน กันสนิม กันภัย, แยกไว้ เช่น กันเงินไว้ ๕๐๐ บาทเพื่อจ่ายในสิ่งที่จำเป็น กันเอาไว้เป็นพยาน. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ป้องกันและล้อมทัพ, เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง ทำหน้าที่ถวายอารักขา ว่า เรือกัน. | ||
การบ้าน | น. งานที่ครูกำหนดให้นักเรียนไปทำที่บ้าน, งานที่เกี่ยวกับบ้าน, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น การบ้านการเมือง การบ้านการเรือน. | ||
กาลิก | น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ตามเวลาที่กำหนดให้ มี ๓ อย่าง คือ ๑. ยาวกาลิก–ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ ข้าวปลาอาหาร ๒. ยามกาลิก–ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่ นํ้าอัฐบาน ๓. สัตตาหกาลิก–ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕. | ||
ข้อบังคับ | น. กฎเกณฑ์หรือรายละเอียดที่กำหนดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติ. | ||
คลังสินค้าทัณฑ์บน | น. สถานที่ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรอนุมัติและกำหนดให้เป็นสถานที่ตรวจและเก็บของซึ่งมีผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยยังไม่ต้องชำระอากรขาเข้า. | ||
ความผิดต่อส่วนตัว | น. ความผิดที่มีผลต่อผู้เสียหายเป็นการเฉพาะตัวโดยตรง และมีกฎหมายกำหนดให้เป็นความผิดต่อส่วนตัว ในปัจจุบันประมวลกฎหมายอาญาเรียกว่า ความผิดอันยอมความได้. | ||
ความผิดอันยอมความได้ | น. ความผิดที่มีผลต่อผู้เสียหายเป็นการเฉพาะตัวโดยตรง และมีกฎหมายกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ในการดำเนินคดีอาญาในความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายต้องฟ้องหรือร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดและเมื่อฟ้องแล้วจะถอนฟ้อง หรือยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้. | ||
ค่าทดแทน | น. เงินหรือสิ่งอื่นที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระ หรือชดใช้เพื่อทดแทนความเสียหายจากการผิดสัญญา การละเมิดสิทธิหรือการล่วงล้ำสิทธิของบุคคล หรือการอื่น เช่นในกรณีลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงาน. | ||
ค่าภาคหลวง | น. ค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชำระให้แก่รัฐ เช่น ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงไม้หวงห้าม. | ||
เครื่องแบบ | น. เครื่องแต่งกายที่กำหนดให้แต่งเหมือน ๆ กันเฉพาะหมู่หนึ่งคณะหนึ่ง. | ||
เงิน | วัตถุที่กำหนดให้ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนหรือชำระหนี้. | ||
เงินเดือน | น. เงินค่าตอบแทนการทำงานที่กำหนดให้เป็นรายเดือน. | ||
ชุด ๓ | เครื่องแต่งกายที่กำหนดให้ใช้ในโอกาสต่าง ๆ เช่น ชุดเจ้าสาว ชุดสากล ชุดว่ายน้ำ | ||
ดั้ง ๑ | เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค จัดเป็น ๒ สายขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือไชยและเรือพระที่นั่งลำทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้ ว่า เรือดั้ง. ก. ป้องกัน. | ||
ดุริยางค์จำเรียง | น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดให้วรรคหนึ่งมี ๙ คำ ในแต่ละวรรคให้มีคำซ้ำ ๓ คู่ ในแต่ละคู่มีคำอื่นมาคั่นตำแหน่งละ ๑ คำ เช่น หวั่นหวั่นจิตรคิดคิดไปใจใจหวล อ่อนอ่อนท้อรอรอรวนนวลนวลสมร ท้าวท้าวแนบแอบแอบน้องย่องย่องจร เหนื่อยเหนื่อยนอนขอนขอนไม้ใต้ใต้ไทร (กลบลศิริวิบุลกิตติ์). | ||
ตราจอง | น. ใบอนุญาตให้จับจองที่ดิน ซึ่งกำหนดให้ผู้รับอนุญาตต้องทำประโยชน์ในที่ดินให้แล้วภายในเวลาที่กำหนด. | ||
ตราภูมิคุ้มห้าม | น. หนังสือราชการประจำตัวไพร่หลวงสำหรับบางหมู่บางพวก เดิมเพื่อได้รับการลดหย่อนภาษีอากรต่าง ๆ หรือได้รับยกเว้นการเกณฑ์แรงงานตามที่กำหนดให้ ต่อมาเหลือเพียงการลดหย่อนภาษีอากร. | ||
ตรีประดับ | น. ชื่อกลอนกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดให้แต่ละวรรคมีคำเดียวกัน ผันวรรณยุกต์รูปสามัญ เอก และโท เรียงกัน หรือโท เอก สามัญ ก็ได้ เช่น อมรแมนแม่นแม้นเจ้างามโฉม ชฬอฬ่อฬ้อโลกย์ให้โศกโทรม แต่เลาเล่าเล้าโลมฤดีแด (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน). | ||
ตรีพิธพรรณ | (ตฺรีพิดทะพัน) น. ชื่อกลอนกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดให้มีคำเดียวกันซ้ำ ๓ ครั้งภายในวรรคเดียวกัน จะเป็นตำแหน่งใดก็ได้ เช่น สังเวชจิตร์เอ๋ยจิตร์จิตร์เราหนอ ไม่เจียมกายกายแก่ทำกายตะกอ ดีแต่ก้ออวดก้อก้อเกินนัก (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน) | ||
ตรีเพชรพวง | น. ชื่อกลอนกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดให้แต่ละวรรคมีคำเดียวกัน ผันวรรณยุกต์รูปสามัญ เอก โท ตรี และจัตวา สลับกันก็ได้ เช่น มโหรีรี่รี้ดีดสีเสียง จับปี่หริงหริ่งหริ้งพริ้งเพราะเพรียง ฆ้องสำเนียงเต๋งเต่งเต้ง ติงเหน่งโยน (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน). | ||
ตะเข็บไต่ขอน | น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้แต่ละวรรคใช้คำลหุคำครุสลับกันไปตลอดการแต่ง เช่น ระทวยระทดสลดสละขนิษฐ์ขนาง ระเหระหนกระวนกระวายระคายระคาง จะแรมจะร้างอนงค์อนาถนิราสนิรา (จารึกวัดโพธิ์). | ||
ตัวยืน | น. นักกีฬาหรือทีมกีฬาที่ถูกกำหนดให้เป็นตัวหลัก สำหรับให้คนอื่นหรือทีมอื่นมาเป็นคู่ชิงตำแหน่ง | ||
ตัวแปร | น. จำนวนจริงหรือจำนวนเชิงซ้อนที่มีค่าได้หลาย ๆ ค่าในช่วงหรือเซตที่กำหนดให้. | ||
เต้นรำ | ก. เคลื่อนไปโดยมีระยะก้าวตามกำหนดให้เข้าจังหวะกับดนตรี ซึ่งเรียกว่า ลีลาศ โดยปรกติเต้นเป็นคู่ชายหญิง. | ||
ทวาตรึงประดับ | น. ชื่อโคลงกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้คำแรกกับคำสุดท้ายของแต่ละบาทใช้คำซ้ำกัน เช่น
| ||
ทวารประดับ | (ทะวาน-) น. ชื่อโคลงกลบท กำหนดให้ ๒ คำแรกกับ ๒ คำสุดท้ายของแต่ละบาทใช้คำซ้ำกัน โดยให้ ๒ คำสุดท้ายกลับคำกัน เช่น
สกัดแคร่ ก็เรียก. | ||
นักษัตร ๒ | (นักสัด) น. ชื่อรอบเวลา กำหนด ๑๒ ปี เป็น ๑ รอบ เรียกว่า ๑๒ นักษัตร โดยกำหนดให้สัตว์เป็นเครื่องหมายในปีนั้น ๆ คือ ชวด–หนู ฉลู–วัว ขาล–เสือ เถาะ–กระต่าย มะโรง–งูใหญ่ มะเส็ง–งูเล็ก มะเมีย–ม้า มะแม–แพะ วอก–ลิง ระกา–ไก่ จอ–หมา กุน–หมู. | ||
นาคเกี้ยวกระหวัด, นาคบริพันธ์ ๑ | (นากบอริพัน) น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้ ๒ คำต้นของวรรคต่อไปซ้ำกับ ๒ คำสุดท้ายของวรรคหน้า โดยให้สลับคำกัน เช่น พระปิตุรงค์ฟังบุตรเห็นสุดห้าม ห้ามสุดความคิดบุตรเห็นสุดหาญ หาญสุดไม่หยุดยั้งจะรั้งราญ ราญรั้งนานแน่วเนตรสังเวชบุตร (ศิริวิบุลกิตติ์). | ||
นาคพันธ์ | (นากคะ-) น. ชื่อโคลงกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้ ๒ คำต้นของบาทถัดไป ซ้ำกับ ๒ คำท้ายของบาทหน้า โดยให้สลับคำกัน เช่น
สนธิอลงกต ก็ว่า. | ||
นาคราชแผลงฤทธิ์ ๑ | น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้วรรคหนึ่งมี ๘ คำ บังคับซ้ำเสียงพยัญชนะ ๓ คำ คือ คำท้ายวรรค (คำที่ ๖, ๗ และ ๘) กับ ๓ คำต้นวรรคถัดไป (คำที่ ๑, ๒ และ ๓) และซ้ำเสียงสระวรรคละ ๓ คู่ ในคำที่ ๓ กับ ๔ คำที่ ๕ กับ ๗ และคำที่ ๘ กับคำที่ ๑ ในวรรคถัดไป เช่น กรุงกระษัตริย์ตรัสฟังแค้นคั่งจิตร คิดแค้นใจไหวหวิดในจิตรฉงน จนฉงายกายไฉงใจร้อนรน จนร้าวราญการกระมลจิตรวนเวียน (ศิริวิบุลกิตติ์). | ||
น่านน้ำไทย | น. บรรดาน่านน้ำที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย และในบางกรณีกฎหมายกำหนดให้หมายความรวมถึงน่านน้ำที่อยู่ในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยด้วย. | ||
นิรโทษกรรม | ในทางกฎหมายอาญา หมายถึง การลบล้างการกระทำความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทำมาแล้ว โดยมีกฎหมายกำหนดให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด. | ||
โนตารีปับลิก | น. ผู้มีอำนาจรับรองลายมือชื่อ เอกสาร วัตถุ หรือบุคคล ในบางประเทศโนตารีปับลิก หรือแมยิสเตร็ดมีหน้าที่จัดทำเอกสารสำคัญบางชนิดให้แก่ประชาชนด้วย ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของประเทศไทย กำหนดให้ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลไทย ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าไม่มีกงสุลไทย ต้องให้เจ้าพนักงานโนตารีปับลิกหรือแมยิสเตร็ด เป็นพยาน.(อ. notary public).(ดู แมยิสเตร็ด ประกอบ). | ||
บทเรียน | น. คำสอนที่กำหนดให้เรียน, ข้อที่เป็นคติเตือนใจ เช่น บทเรียนในชีวิต. | ||
บรรลุนิติภาวะ | ก. มีอายุถึงกำหนดที่กฎหมายให้พ้นจากภาวะความเป็นผู้เยาว์และให้มีความสามารถใช้สิทธิตามกฎหมายทั้งปวงได้โดยสมบูรณ์ด้วยตนเอง โดยกฎหมายกำหนดให้บุคคลพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อผู้เยาว์ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย. | ||
บวรโตฎก | (บอวอระโตดก) น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้ ๓ พยางค์ต้นวรรคแต่ละวรรคเป็นสะคณะคือพยางค์เบา ๒ พยางค์ พยางค์หนัก ๑ พยางค์ เช่น ชลเนตรไหลนองร้องร่ำรัก ชลไนยไหลหนักอาวรณ์หวาม ชนนีห้ามบุตรสุดไม่ตาม ชลนานองน้ำพระเนตรนอง (สารานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย ภาคฉันทลักษณ์). | ||
บัญญัติไตรยางศ์ | น. วิธีเลขอย่างหนึ่ง ซึ่งกำหนดส่วนสัมพันธ์ของเลข ๓ จำนวนเพื่อหาจำนวนที่ ๔ โดยวิธีเทียบหา ๑ ก่อน แล้วจึงไปหาส่วนที่ต้องการ ด้วยการนำเลขทั้ง ๓ จำนวนที่กำหนดให้และที่ให้หามาคูณหารกันเป็น ๓ ขั้น. | ||
แบบ | น. สิ่งที่กำหนดให้ถือเป็นหลักหรือเป็นแนวดำเนิน, ตัวอย่าง เช่น ลอกแบบ เลียนแบบ | ||
ใบเหยียบย่ำ | น. ใบอนุญาตให้จับจองที่ดินที่ทางราชการออกให้แก่ผู้จับจองที่ดินโดยกำหนดให้ผู้รับอนุญาตต้องทำประโยชน์ในที่ดินให้แล้วภายใน ๒ ปี. | ||
ประจำ | ที่กำหนดให้มีเป็นปรกติ เช่น งานประจำปี, เรียกรถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งเป็นปรกติ ว่า รถประจำทาง, เรียกครูหรืออาจารย์ที่สอนและดูแลรับผิดชอบนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นปรกติ ว่า ครูหรืออาจารย์ประจำชั้น, เรียกบัตรที่ออกให้ไว้เฉพาะบุคคลและจะต้องเก็บไว้กับตัวเป็นปรกติ ว่า บัตรประจำตัว, เรียกลูกจ้างที่จ้างไว้เป็นปรกติ ไม่ใช่ชั่วคราว ว่า ลูกจ้างประจำ, เรียกผู้ที่มาติดต่อหรือไปมาหาสู่กันเสมอเป็นปรกติ เช่น ลูกค้าประจำ ขาประจำ, ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝากครบตามเวลาที่กำหนดไว้ เรียกว่า ฝากประจำ. | ||
ปริศนาอักษรไขว้ | น. ปริศนาที่จะต้องตอบโดยการเติมคำลงในตารางสี่เหลี่ยมที่กำหนดให้ช่องละ ๑ อักษร แล้วให้อ่านได้ใจความทั้งในแนวยืนและแนวนอน. | ||
ป่าสงวนแห่งชาติ | น. ป่าที่ทางราชการกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อรักษาสภาพป่า ไม้ ของป่า หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น. | ||
เปรียบเทียบ | น. การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดค่าปรับผู้กระทำผิดในคดีอาญาที่กฎหมายกำหนดให้เปรียบเทียบปรับได้ เมื่อผู้กระทำผิดยินยอมเสียค่าปรับแล้ว คดีอาญาเป็นอันเลิกกัน. | ||
พระพิธีธรรม | น. พระสงฆ์จำนวน ๔ รูปที่กำหนดให้สวดอาฏานาฏิสูตรในงานพระราชพิธีตรุษ หรือสวดพระอภิธรรมในการศพของหลวง. | ||
พระราชกำหนด | น. รูปแบบของกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นให้มีผลใช้บังคับไปพลางก่อนตามคำแนะนำของฝ่ายบริหาร เนื่องจากเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ ตามเงื่อนไขที่กำหนดให้รัฐธรรมนูญ พระราชกำหนดเมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้วมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติ. | ||
ภาษี | น. เงินที่มีกฎหมายกำหนดให้รัฐหรือท้องถิ่นเรียกเก็บจากบุคคลในเหตุต่าง ๆ เช่น การมีรายได้ การมีทรัพย์สิน การประกอบกิจการ การบริโภค เพื่อใช้จ่ายในการบริหารประเทศหรือท้องถิ่น เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม | ||
ภาษีบำรุงท้องที่ | น. ภาษีที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บจากผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือผู้ครอบครองที่ดินที่ไม่ใช่ของเอกชน โดยคำนวณตามจำนวนเนื้อที่ดินที่มีหรือครอบครองตามราคาปานกลางที่ทางราชการประกาศกำหนด. | ||
มหาชัย | น. ชื่อเพลงไทยโบราณ อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน อยู่ในเรื่องทำขวัญ ต่อมาแปลงเป็นทางฝรั่งใช้เป็นเพลงคำนับเมื่อบุคคลสำคัญมาถึงมณฑลพิธี, สำนักพระราชวังและข้อบังคับกระทรวงกลาโหมกำหนดให้ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาชัยรับและส่งเสด็จในพิธีการที่พระบรมวงศ์เสด็จพระราชดำเนินหรือเสด็จไปทรงเป็นประธาน และบรรเลงรับและส่งประธานในพิธีการที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และบรรเลงเป็นเพลงเคารพธงราชวงศ์เวลาผ่านหรือขึ้นลง นายทหารที่มียศจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ. | ||
มอบหมาย | ก. กำชับสั่งเสีย เช่น มอบหมายการงาน, กะให้, กำหนดให้, เช่น มอบหมายหน้าที่ให้แต่ละคนรับผิดชอบ. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
place of destination | สถานที่รับตราส่ง, ตำบลที่กำหนดให้ส่ง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
provision, financial | ข้อกำหนดให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
reconsignment | ๑. การเปลี่ยนข้อกำหนดในใบตราส่งสินค้า๒. การเปลี่ยนตำบลที่กำหนดให้ส่งสินค้า [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
reasonable financial provision | ข้อกำหนดให้ได้รับเงินค่าเลี้ยงชีพตามสมควร (จากกองมรดก) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
recapture clause | ๑. ข้อกำหนดให้คืนการครอบครอง๒. ข้อกำหนดให้เพิ่มอัตราได้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
suspending clause | ข้อกำหนดให้รอการบังคับใช้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
overreaching clause | ข้อกำหนดให้ใช้สิทธิได้ตามเดิม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
assign | ๑. โอนสิทธิ์๒. กำหนดให้๓. มอบหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
assignment | ๑. การกำหนดให้, การมอบหมาย (หน้าที่)๒. การโอนสิทธิ์ให้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
address for service | สถานที่ที่กำหนดให้ส่งหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
clause potestative | ข้อกำหนดให้สิทธิเลิกสัญญาได้ฝ่ายเดียว [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
cancellation clause | ข้อกำหนดให้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
financial provision | ข้อกำหนดให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
future advance clause | ข้อกำหนดให้เพิ่มวงเงินหนี้จำนองได้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
fluctuating clause | ข้อกำหนดให้อัตราขึ้นลงได้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
escalator clause | ข้อกำหนดให้ปรับราคา, ข้อกำหนดให้ปรับอัตรา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
escape clause | ๑. ข้อกำหนดให้พ้นความรับผิด (โดยการชำระหนี้ด้วยวิธีอื่นแทน) (ก. แพ่ง)๒. ข้อกำหนดให้มีทางปฏิบัติอย่างอื่นแทน (ก. ปกครอง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
equality clause | ข้อกำหนดให้ความเสมอภาค (ในค่าจ้างหญิงและชาย) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
impoundment | การไม่ใช้งบประมาณที่ฝ่ายนิติบัญญัติกำหนดให้ (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
incorporation by reference | การกำหนดให้เอกสารที่อ้างถึงเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารที่ทำขึ้น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
zone of employment | เขตที่กำหนดให้ลูกจ้างทำงาน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
name and arms clause | ข้อกำหนดให้ใช้ชื่อและตราประจำตระกูล [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
nominal damages | ค่าเสียหายที่กำหนดให้ (พอเป็นพิธี) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Unrestricted area | พื้นที่ไม่หวงห้าม, พื้นที่ใดๆ ของโรงงานนิวเคลียร์ที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมหรือพื้นที่หวงห้าม (ดู controlled area และ restricted area ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Supervised area | พื้นที่ตรวจตรา, บริเวณที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุม แต่จำเป็นต้องมีการสำรวจรังสีจากการทำงานโดยไม่ต้องมีมาตรการป้องกันและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยเป็นพิเศษ [นิวเคลียร์] |
Radioactive waste | กากกัมมันตรังสี, วัสดุที่อยู่ในสถานะของแข็ง ของเหลว หรือ แก๊ส ที่เป็น หรือประกอบด้วย หรือปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตรังสีที่มีค่ากัมมันตภาพรังสีสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งผู้ครอบครองวัสดุนั้นไม่ประสงค์จะใช้งานอีกต่อไป และให้หมายความรวมถึงวัสดุอื่นใดที่คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ กำหนดให้เป็นกากกัมมันตรังสีด้วย <br>(ดู clearance level ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Radiation worker | ผู้ปฏิบัติงานรังสี, ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีชนิดก่อไอออน เช่น ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีอาจรวมถึงผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเทคนิค แต่มีความจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณรังสีหรือรังสีดังกล่าวเป็นประจำ ทำให้มีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าประชาชนทั่วไป เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานขับรถขนส่งสารกัมมันตรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีจะกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติงานทางรังสีตามกฎระเบียบ หรือแล้วแต่กรณี</br> <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีโอกาสได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานเป็นปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี หรือผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี จะมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ</br> [นิวเคลียร์] |
IT Year | ปีที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย ตรงกับปี พ.ศ. 2538 [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
ASEAN Environment Year | ปีสิ่งแวดล้อมอาเซียน กำหนดให้มีขึ้นทุก 3 ปี เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับ ประชาชนทุกระดับในสังคม รวมทั้งส่งเสริมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม แก่สาธารณชนในการนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน [การทูต] |
Agrément | ความเห็นชอบ ในการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตไปประจำในประเทศใด กำหนดให้ประเทศผู้ส่งขอความเห็นชอบจากประเทศผู้รับก่อน [การทูต] |
Congress of Vienna | เป็นการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญในยุโรป ได้จัดให้มีขึ้นหลังจากเสร็จสงครามนโปเลียน (กันยายน ค.ศ. 1814 ? มิถุนายน ค.ศ. 1815) ประเทศที่ร่วมการประชุมมี ออสเตรีย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัฐสันตะปาปา ปรัสเซีย และรัสเซีย ภาระหน้าที่สำคัญของการประชุม คือ การปักปันเขตแดนกันใหม่ และจัดให้ราชวงศ์เก่าแก่กลับฟื้นคืนมาใหม่ ทั้งในประเทศฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และเยอรมนี สหภาพแห่งนอร์เวย์ และสวีเดน สหภาพแห่งเบลเยี่ยม และฮอลแลนด์ พร้อมทั้งกำหนดให้สวิตเซอร์แลนด์ มีฐานะเป็นประเทศเป็นกลางถ้ามองในแง่การทูต ผลสำเร็จสำคัญที่สุดจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาคือ ข้อมติกำหนดลำดับอาวุโสของคณะผู้แทนทางการทูต โดยถือหลักอาวุโสไม่ว่าในตำแหน่งใด แทนที่จะถือตามสถานภาพและความสำคัญของกษัตริย์อย่างแต่ก่อน รวมทั้งจัดประเภทของนักการทูต ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (ตามระเบียบที่วางขึ้นใหม่ต่อมาในการประชุม ณ Aix-la-Chapelle ได้แก่1) เอกอัครราชทูต (Ambassadors) ตัวแทนขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal legates) และหัวหน้าคณะทูตของสมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncios)2) ผู้แทนทางการทูตผู้มีอำนาจพิเศษ (Envoys Extra-ordinary) และเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม (Ministers Plenipotentiary) อินเตอร์นันสิโอของสมเด็จพระสันตะปาปา3) อัครราชทูตผู้มีถิ่นประจำ (Ministers Resident)4) อุปทูต (Chargé d?affaires)คองเกรสแห่งเวียนนายังวางระเบียบเกี่ยวกับเรื่องการจัดลำดับ อาวุโสของบุคคลในคณะทูต ซึ่งชาติต่าง ๆ ได้ลงนามรับรองในสนธิสัญญาพาหุภาคีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว [การทูต] |
Head of Diplomatic Mission | บุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐผู้ส่งให้ทำหน้าที่ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ในกรณีของสถานเอกอัครราชทูตผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ทางการทูต เรียกว่า เอกอัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม (Ambassador Extraordinary and plenipotentiary) หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะได้แก่ อัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม หรือเรียกว่าอุปทูต (Chargé d?Affaires entitre) คองเกรสแห่งเวียนนาและที่ประชุมแห่งเอกซ์ ลา ชา แปล (Congress of Aix-la-Chapelle) ได้จำแนกหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไว้ดังต่อไปนี้ คือ1. เอกอัครราชทูต (Ambassadors) หรือเอกอัครสมณทูต (Papal Nucios)2. อัครราชทูต (Envoys Extraordinary and Ministers Plenipotentiary)3. อัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนัก (Mission Resident)4. อุปทูต (Chargé d?Affaires)แต่อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในมาตร 14 ว่า?1. หัวหน้าคณะผู้แทนแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือก. ชั้นเอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐ และหัวหน้าคณะผู้แทนอื่นที่มีชั้นเท่ากันข. ชั้นรัฐทูต อัครราชทูต และอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐค. ชั้นอุปทูตซึ่งแต่งตั้งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 2. ข้อยกเว้นที่เกี่ยวกับลำดับอาวุโสและมารยาท ต้องไม่ให้มีความแตกต่างกันระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทน ในมาตรา 15 ก็ได้ระบุว่า ชั้นที่กำหนดให้แก่หัวหน้าคณะผู้แทนนั้น ต้องทำความตกลงกันระหว่างรัฐ? [การทูต] |
Indigent Nationals | คนในชาติที่ต้องประสบความยากจนข้นแค้นในต่างแดน ในเรื่องนี้ มีหลายประเทศได้อนุญาตให้ผู้แทนทางการทูตและทางกงสุลของตนอำนวยความช่วย เหลือเท่าที่จำเป็นแก่คนชาติของตนที่ประสบความยากจนข้นแค้นในต่างประเทศรวม ทั้งค่าส่งตัวกลับประเทศด้วย มีหลายรายที่กำหนดให้คนชาติที่ต้องทุกข์นั้น แจ้งถึงสาเหตุที่ต้องประสบความยากจนข้นแค้น และสัญญาว่าเงินที่ได้รับนี้จะต้องชดใช้คืนภายหลัง ตามปกติ ผู้แทนทางการทูตหรือกงสุลจะต้องปรึกษากับกระทรวงการต่างประเทศของตน ก่อนที่จะนำเงินให้คนชาติของตนกู้ยืมหรือไปรับรองบุคคลเหล่านั้น หรือไปรับผิดชอบทางการเงินใดๆ [การทูต] |
Pacific Settlement of International Disputes | หมายถึง การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี คงจะจำกันได้ว่า ในตอนเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศในโลกฝ่ายเสรีซึ่งเป็นผู้ชนะ ต่างมีเจตนาอันแน่วแน่ที่จะหาทางมิให้เกิดสงครามขึ้นอีกในโลก จึงตกลงร่วมกันก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ (Charter of the United Nations)ดังนั้น ข้อ 2 ของกฎบัตรสหประชาชาติจึงได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกมีพันธกรณีที่จะต้องหาทางระ งังกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี และข้อ 33 ของกฎบัตรก็ได้บัญญัติไว้ว่า ?1. ผู้เป็นคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีพิพาทใด ๆ ซึ่งหากดำเนินอยู่ต่อไป น่าจะเป็นอันตรายแก่การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ก่อนอื่นจักต้องแสวงหาการแก้ไขโดยการเจรจา ไต่สวน ไกล่เกลี่ย ประนีประนอม อนุญาโตตุลาการ การระงับโดยทางศาล การหันเข้าอาศัยทบวงการตัวแทน การตกลงส่วนภูมิภาค หรือสันติวิธีประการอื่นใดที่คู่กรณีจะพึงเลือก 2. เมื่อเห็นว่าจำเป็น คณะมนตรีความมั่นคงจักเรียกร้องให้คู่พิพาทระงับกรณีพิพาทของตนโดยวิธีเช่น ว่านั้น? [การทูต] |
Palestine Question | ปัญหาปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1947 ประเทศอังกฤษได้ขอให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทำการประชุมสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหาปาเลสไตน์ สมัชชาได้ประชุมกันระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และที่ประชุมได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับปาเลสไตน์ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกรวม 11 ประเทศ ซึ่งหลังจากที่เดินทางไปตรวจสถานการณ์ในภาคตะวันออกกลาง ก็ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รายงานนี้ได้ตั้งข้อเสนอแนะรวม 12 ข้อ รวมทั้งโครงการฝ่ายข้างมาก (Majority Plan) และโครงการฝ่ายข้างน้อย (Minority Plan) ตามโครงการข้างมาก กำหนดให้มีการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐอาหรับแห่งหนึ่ง รัฐยิวแห่งหนึ่ง และให้นครเยรูซาเล็มอยู่ภายใต้ระบบการปกครองระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ดินแดนทั้งสามแห่งนี้มีความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปสหภาพเศรษฐกิจ ส่วนโครงการฝ่ายข้างน้อย ได้เสนอให้ตั้งรัฐสหพันธ์ที่เป็นเอกราชขึ้น ประกอบด้วยรัฐอาหรับและรัฐยิว อันมีนครเยรูซาเล็มเป็นนครหลวงต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติได้ประชุมลงมติรับรองข้อเสนอของโครงการฝ่ายข้างมาก ซึ่งฝ่ายยิวได้รับรองเห็นชอบด้วย แต่ได้ถูกคณะกรรมาธิการฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่รับรอง โดยต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐอาหรับแต่เพียงแห่งเดียว และทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของคนยิวที่เป็นชนกุล่มน้อย อนึ่ง ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้อำนาจอาณัติเหนือดินแดนปาเลสไตน์ สิ้นสุดลงและให้กองทหารอังกฤษถอนตัวออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1948 นอกจากนั้นยังให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีของสหประชาชาติจัดทำธรรมนูญการปกครองโดย ละเอียดสำหรับนครเยรูซาเล็มจากนั้น สมัชชาสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติขึ้น ประกอบด้วยประเทศโบลิเวีย เช็คโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก ปานามา และฟิลิปปินส์ ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงก็ได้รับการขอร้องให้วางมาตรการที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่า สถานการณ์ในปาเลสไตน์จักถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพหรือไม่ และถ้าหากมีการพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงความตกลงตามข้อมติของ สมัชชาเมื่อใด ให้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ โดยอาศัยข้อ 39 ของกฎบัติสหประชาชาติเป็นบรรทัดฐาน [การทูต] |
Presentation of Credentials | หมายถึง การยื่นสารตราตั้ง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศใดประเทศหนึ่ง ก่อนที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ จะต้องนำสารตราตั้ง (Credentials) ไปยื่นต่อประมุขของรัฐนั้น ๆ พิธียื่นสารตราตั้งจะกระทำไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ แล้วแต่จะพิจารณาเห็นความเหมาะสม และความเคร่งต่อธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นสำคัญ เช่น อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่พิธียื่นสารตราตั้งของเอกอัครราชทูตต่อองค์ประมุข ของประเทศค่อนข้างวิจิตรพิสดารมาก ส่วนบางประเทศมีพิธียื่นสารอย่างง่าย ๆ แทบจะไม่มีพิธีรีตองอย่างใดในสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตันดีซี พิธียื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดีของสหรัฐฯ กระทำอย่างเรียบง่าย กล่าวคือ พอถึงเวลาที่กำหนดในวันยื่นสารตราตั้ง อธิบดีกรมพิธีการทูตหรือผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะนำรถยนต์ลีมูซีนสีดำไปยังทำเนียบของเอกอัครราชทูต เพื่อรับเอกอัครราชทูตและครอบครัวไปยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ณ ตึกทำเนียบขาว ( White House)มีข้อน่าสนใจอันหนึ่งคือ ทางฝ่ายสหรัฐฯ จะสนับสนุนให้เอกอัครราชทูตพาภรรยาและบุตรทั้งชายหญิงไปร่วมในการยื่นสารตรา ตั้งนั้นด้วย การแต่งกายของเอกอัครราชทูตก็สวมชุดสากลผูกเน็คไทตามธรรมดา ระหว่างที่ยื่นสารมีการปฏิสันถารกันพอสมควรระหว่างเอกอัครราชทูตกับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีช่างภาพของทางราชการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และมอบภาพถ่ายให้แก่เอกอัครราชทูตในวันหลัง (ต่างกับพิธีของอังกฤษมาก) เอกอัครราชทูตไม่ต้องพาคณะเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย หลังจากพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว อธิบดีกรมพิธีการทูตจะนำเอกอัครราชทูตและครอบครัวกลับไปยังทำเนียบที่พักโดย รถยนต์คันเดิม เป็นอันเสร็จพิธียื่นสารตราตั้ง โดยที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างมีสถานเอกอัครราชทูตของตนตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี ดังนั้น ในวันไหนที่มีการยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ทางการทำเนียบขาวมักจะกำหนดให้เอกอัครราชทูตใหม่จากประเทศต่าง ๆ เข้ายื่นสารในวันนั้นราว 4-5 ประเทศติดต่อกัน มิใช่วันละคนอย่างที่ปฏิบัติในบางประเทศทันทีที่เอกอัครราชทูตยื่นสารตรา ตั้งต่อประธานาธิบดีเรียบร้อยแล้ว เอกอัครราชทูตจะมีหนังสือเวียนไปยังหัวหน้าคณะทูตทุกแห่งในกรุงวอชิงตันดีซี แจ้งให้ทราบว่าในวันนั้น ๆ เขาได้ยื่นสารตราตั้งต่อประมุขของรัฐ ในฐานะเอกอัครราชทูตเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับแสดงความหวังในหนังสือว่าความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างคณะผู้ แทนทางการทูตทั้งสอง ทั้งในทางราชการและทางส่วนตัว จะมั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้นอีก จากนั้น เอกอัครราชทูตใหม่ก็จะหาเวลาไปเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซีทีละราย กว่าจะเยี่ยมหมดทุกคนก็กินเวลานานอยู่หลายเดือนทีเดียว [การทูต] |
presentation of the letter of credence | การยื่นสาส์นตราตั้ง เป็นการกำหนดให้เอกอัครราชทูตยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขของประเทศที่เข้าไป พำนักอยู่ ซึ่งรูปแบบพิธีการก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ [การทูต] |
Size of Consular Staff | ขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล ข้อ 20 ในอนุสัญญากรุงเวียนนาบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ไม่มีความตกลงอย่างชัดเจนในเรื่องขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล รัฐผู้รับอาจกำหนดให้รักษาขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ไว้ภายในขีดจำกัดที่ตน พิจารณาเห็นว่าปกติและสมควรได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงพฤติการณ์และสถานการณ์ในเขตกงสุลนั้น รวมทั้งความต้องการของสถานที่ทำการทางกงสุลแห่งนั้นโดยเฉพาะ [การทูต] |
Special and Differential Treatment (S and D) | การประติบัติแบบพิเศษและแตกต่าง " ในความตกลงต่าง ๆ ของ WTO จะมีข้อบทเกี่ยวกับการให้การปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่างแก่สมาชิกที่เป็น ประเทศกำลังพัฒนา ข้อบท ดังกล่าวอาจแบ่งกว้าง ๆ ได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (1) ข้อบทที่กำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องดำเนินมาตรการเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ทางการค้าแก่ประเทศเหล่านี้ (2) ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติตามพันธะกรณีในความตกลงต่าง ๆ อาทิ ระยะเวลาปรับตัวที่นานกว่าหรือระดับการเปิดตลาดที่น้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว (3) การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะแก่ประเทศเหล่านี้ " [การทูต] |
The Hague Peace Conferences | การประชุมสันติภาพ ณ กรุงเฮก ในประเทศเนเธอร์แลนด์ การประชุมนี้ได้กระทำกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1899 โดย พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่สอง ของประเทศรัสเซียเป็นผู้จัดให้มีขึ้น ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1899 ที่ประชุมได้รับรองอนุสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติ วิธี ได้ตกลงจัดตั้งศาลซึ่งตัดสินประเทศโดยสันติวิธี พร้อมทั้งได้ตกลงจัดตั้งศาลซึ่งตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการเป็นการถาวร และเสนอแนะให้วางประมวลพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ ทั้งยังได้ตกลงรับรองอนุสัญญาและปฏิญญาต่าง ๆ หลายฉบับ ในจำนวนนี้ ที่สำคัญที่สุดได้แก่ อนุสัญญาควบคุมกฎหมายและขนบประเพณีว่าด้วยการทำสงครามภาคพื้นดินการประชุม สันติภาพ ณ กรุงเฮกครั้งที่สอง หรือการประชุม ณ กรุงเฮกปี ค.ศ.1907 ตามคำขอร้องของรัฐบาลรัสเซีย ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.1907 วัตถุประสงค์สำคัญของการประชุมคือต้องการปรับปรุงและขยายข้อความในอนุสัญญา ต่าง ๆ ที่ทำไว้เมื่อปี ค.ศ. 1899 ว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี รวมทั้งกฎหมายและขนบประเพณีเกี่ยวกับสงครามภาคพื้นดิน ตลอดจนรับรองอนุสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายและขนมประเพณีของการทำสงครามทางทะเล การประชุม ณ กรุงเฮกครั้งที่สองนี้ยังได้เสนอแนะให้ที่ประชุมกำหนดให้ประเทศผู้ลงนาม รับรองและนำออกใช้ซึ่งร่างอนุสัญญาว่าด้วยการก่อตั้งศาลสถิตยุติธรรม เพื่อพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการอีกด้วย [การทูต] |
Wives of Diplomats | ภรรยาของนักการทูต ในประเทศที่มีกษัตริย์ และเอกอัครราชทูตจัดถวายพระราชสาส์นตราตั้งต่อกษัตริย์หรือราชินีในฐานะ ประมุขของรัฐนั้น มักจะให้ภรรยาเข้าเฝ้าด้วยต่างหาก แต่การเข้าเฝ้านั้นจะมีพิธีรีตองน้อยกว่าของเอกอัครราชทูตในอดีตกาล ภรรยาของเอกอัครราชทูตมักจะไม่ได้รับการพิจารณารับรองและยกย่องเหมือนกับที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาทิเช่น ที่กรุงเวนิส ตามกฎหมายปี ค.ศ. 1268 ไม่อนุญาตให้ภรรยาของเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย ไม่ว่าจะไปประจำแห่งไหน เพราะเกรงว่าภรรยาอาจจะปากโป้งเกี่ยวกับการงานของสามี แต่กฎหมายได้กำหนดให้เอกอัครราชทูตนำพ่อครัวของตนเองติดตามไปด้วย เพื่อกันมิให้เอกอัครราชทูตต้องถูกวางยาพิษในอาหารที่รับประทานกล่าวโดยทั่ว ไปแล้ว ทุกวันนี้ภรรยาของเอกอัครราชทูตได้อุปโภคเอกสิทธิ เกียรติ ลำดับอาวุโส และความคุ้มกันต่าง ๆ เหมือนกับสามี ถึงแม้ในบางกรณีเอกอัครราชทูตกับภรรยาอาจแยกกันอยู่ก็ตาม ภรรยาของเอกอัครราชทูตที่เพิ่งยื่นสารตราตั้ง มักจะหาโอกาสไปเยี่ยมคารวะภรรยาของเอกอัครราชทูตอื่น ๆ ด้วย แม้ว่าในทุกวันนี้ธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวอาจจะไม่เคร่งครัดเหมือนกับสมัย ก่อน อนึ่ง ในบางประเทศได้มีระเบียบข้อบังคับ ห้ามมิให้ผู้แทนทางการทูตและทางการกงสุลที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ แต่งงานกับคนต่างชาติโดยมิได้รับอนุมัติจากรัฐบาลของตนก่อน [การทูต] |
wetlands | พื้นที่ชุ่มน้ำ หมายถึง พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม มีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยอาจเป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายทะเล และพื้นที่ของทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ประเทศต่าง ๆ สามารถที่จะกำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ ระหว่างประเทศ เช่น ประเทศไทยได้ประกาศให้บริเวณเขตพรุควนขี้เสียน และบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ นอกจากนี้ พื้นที่ชุ่มน้ำบางแห่งอาจอยู่ตามพรมแดนระหว่างประเทศด้วย [การทูต] |
น้ำมันเชื้อเพลิง | น้ำมันเชื้อเพลิง, ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่นและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ หรือสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น และให้หมายความรวมถึงสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [พลังงาน] |
Diet | อาหาร, การกำหนด, อาหารที่กำหนดให้, อาหาร [การแพทย์] |
secant line [ secant ] | เส้นตัด, เส้นตรงซึ่งตัดเส้นโค้งที่กำหนดให้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
frequency | ความถี่, จำนวนครั้งที่เกิดขึ้นของเหตุการณ์ที่กำหนดให้ หรือจำนวนค่าจากการสังเกตของข้อมูลที่ตกอยู่ในอันตรภาคชั้นที่กล่าวถึง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Celcius | เซสเซียส, หน่วยของอุณหภูมิ ซึ่งเดิมใช้เป็นเซนติเกรด ใช้สัญลักษณ์ ํ C โดยกำหนดให้น้ำมีจุดเยือกแข็งที่ 0 ํ C จุดเดือดที่ 100 ํ C ที่ความดันปกติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
astronomical unit (AU) | หน่วยดาราศาสตร์, หน่วยวัดระยะทางที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์มีสัญลักษณ์ AU โดยกำหนดให้ระยะเฉลี่ยจากโลกถึงดวงอาทิตย์มีค่าเป็น 1 AU 1 AU = 1.49 x 1011 เมตร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
stratified sampling | การเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้น, การเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นเหมาะที่จะใช้กับการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มที่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ได้หลายขั้น โดยกำหนดให้เลือกตัวอย่างมาจากแต่ละขั้น ข้อดีของการเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นก็คือ ไม่จำเป็นต้องมีกรอบตัวอย่างที่สมบูรณ์ในทุก ๆ ขั้น ให้มีกรอบตัวอย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
metric system | ระบบเมตริก, ระบบหน่วยที่ใช้ในวิทยาศาสตร์ ตลอดจนใช้ในทางการค้า และทางวิศวกรรม ซึ่งใช้กันโดยทั่วไป ระบบเมตริกได้กำหนดให้ความยาว มีหน่วยเป็นเมตร มวล มีหน่วยเป็นกิโลกรัม เวลา มีหน่วยเป็นวินาที [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fluency | ความคิดคล่อง, การคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว และมีปริมาณมากในเวลาจำกัด เช่น การวาดภาพต่อเติมรูปที่กำหนดให้ได้มากที่สุด ภายในเวลา 10 นาที [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
กำหนดให้ | [kamnot hai] (v, exp) EN: assign ; prescribe ; stipulate ; allot FR: assigner ; proposer ; allouer |
ข้อกำหนดให้ปรับราคา | [khøkamnot hai prap rākhā] (n, exp) EN: escalator clause |
ข้อกำหนดให้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ | [khøkamnot hai sitthi bøk loēk sanyā dāi] (n, exp) EN: cancellation clause ; escape clause |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
allocate to | (phrv) จัดสรร (มักใช้ passive voice), See also: แบ่งปัน, กำหนดให้, Syn. allot to |
assign to | (phrv) มอบหมายให้ (มักใช้รูป passive voice), See also: กำหนดให้ |
designate as | (phrv) แต่งตั้งให้เป็น, See also: ถูกกำหนดให้เป็น |
doom to | (phrv) (ชะตา) กำหนดให้, See also: ตัดสินให้, พิพากษาให้, Syn. foredoom to, sentence to |
depute | (vt) แต่งตั้งให้ทำการแทน, See also: แต่งตั้งให้เป็นตัวแทน, เลือกให้เป็นตัวแทน, มอบหมาย, ให้อำนาจ, กำหนดให้, Syn. delegate |
enjoin | (vt) กำหนด, See also: กำหนดให้มี, Syn. enforce, impose |
give to | (phrv) ถูก (โชคชะตา) กำหนดให้กับ (บางคน) |
impose on | (phrv) กำหนด (ภาษีหรือความรับผิดชอบ) ให้กับ, See also: เรียกเก็บ, เก็บ, กำหนดให้มี, Syn. impose upon, place on, put on |
impose upon | (phrv) กำหนด (ภาษีหรือความรับผิดชอบ) ให้กับ, See also: เรียกเก็บ, เก็บ, กำหนดให้มี, Syn. impose on, place on, put on |
lot | (n) ส่วนแบ่ง, See also: ส่วนที่กำหนดให้, Syn. part, quota |
name as | (phrv) แต่งตั้งเป็น, See also: กำหนดให้เป็น |
put | (vt) กำหนดให้ไปทำ |
prescribe for | (phrv) สั่ง, See also: สั่งยาสำหรับ, กำหนดให้กับ |
secant | (n) อัตราส่วนของด้านตรงข้ามมุมฉากกับด้านที่ติดกับมุมที่กำหนดให้ในสามเหลี่ยมมุมฉาก (ทางตรีโกณมิติ) |
Hope Dictionary
a: | A: Drive A ไดรฟ์เอ หมายถึง ชื่อหน่วยบันทึกหน่วยแรกของเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็ม หรือเครื่องเลียนแบบ (compatibles) เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจะเข้าไปดูในหน่วยนี้ก่อน หากไม่พบสิ่งใด ๆ จึงจะย้ายไปดูหน่วยบันทึกอื่นต่อไป หน่วยที่สองจะนิยมเรียกกันว่า B: และหน่วยจานบันทึกแข็งหรือฮาร์ดดิสก์ มักจะถูกกำหนดให้เป็น C: (เวลาเขียน ต้องมีเครื่องหมาย : ตามหลังเสมอ จึงจะหมายถึงหน่วยบันทึก) |
algorithm | (แอล' กะริธธึม) n. ระบบกฏเกณฑ์ในการแก้ปัญหาของจำนวนที่แน่นอนทางคณิตศาสตร์เช่นในการหาค่าของตัวหารร่วมที่สุด., Syn. algorism, -algorithmic adj. ขั้นตอนวิธีอัลกอริทึมหมายถึง การวิเคราะห์แยกแยะวิธีการทำงานให้เป็นขั้นเป็นตอนโดยกำหนดให้เรียงกันไปตามลำดับ การเขียนโปรแกรมในยุคแรก ๆ นั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องมองเห็นขั้นตอนในการแก้ปัญหาอย่างแจ่มชัดเสียก่อน จึงจะเขียนโปรแกรมได้ |
antilogarithm | (แอนทีลอก' กะริธึม) n. ตัวเลขที่มีเลขที่กำหนดให้เป็น logarithm. -antilogarithmic adj. |
arithmetic statement | ข้อความสั่งคำนวณ <คำแปล>หมายถึง คำสั่งที่กำหนดให้คอมพิวเตอร์ นำค่าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหรือนำค่าเหล่านั้นไปทำการคำนวณ เมื่อได้ผลจากการคำนวณแล้วจึงนำไปเก็บในตำแหน่งที่ซี่งกำหนดไว้ เช่น score = A+B หมายความว่า ให้นำค่า A+B ได้ผลเท่าใด นำไปเก็บไว้ที่ score |
begin of tape | จุดเริ่มต้นเทป <คำแปล>ใช้ตัวย่อว่า BOT หมายถึง จุดบนแถบบันทึกหรือเทป (tape) ที่กำหนดให้เป็นจุดเริ่มต้นให้มีการบันทึกข้อมูลลงได้ ปกติจะทำเป็นจุดสะท้อนแสงบนแถบบันทึก ซึ่งจะทำให้เกิดสัญญาณ บังคับให้เริ่มมีการอ่านข้อมูลบนแถบบันทึกโดยเริ่มจากจุดนั้นเป็นต้นไป |
binary coded decimal | เลขฐานสิบเข้ารหัสฐานของ <คำแปล>ใช้ตัวย่อว่า BCD หมายถึงรหัสที่ใช้แทนเลขฐาน ซึ่งกำหนดให้เลขฐานสิบแต่ละตัวแทนด้วยเลขฐานสอง 4 บิต ตัวอย่าง เช่น เลข 17 ในฐานสิบ เขียนเป็นเลขฐานสองว่า 0001 0111 โดยที่เลขหลักของบิตจากซ้ายไปขวา เป็นลำดับเพิ่มตามสูตร 8-4-2-1 เลข 17 ที่เป็นฐานสิบ เมื่อแสดงในรูปเลขฐานสองธรรมดาจะเป็น 10001 |
binary file | แฟ้มข้อมูลฐานสองหมายถึง แฟ้มที่บรรจุข้อมูลที่เป็นฐานสองเท่านั้น ข้อมูลเหล่านี้ คอมพิวเตอร์จะเข้าใจและรับรู้ได้ โดยปกติ แฟ้มข้อมูลเหล่านี้จะถูกกำหนดให้ใช้นามสกุล (file type) ว่า BIN ดู BIN ประกอบ |
bus | (บัส) 1. { bussed, bussing, buses } n. รถโดยสารประจำทาง, รถเมล์, รถบัส, รถม้า, เครื่องบินโดยสาร, ตัวเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้าหลายวงจร, สายรวม, สายตัวนำใช้สำหรับการส่งสัญญาณ, หมายถึงวงจรหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อสำหรับส่งถ่ายขัอมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปสู่อีกอุปกรณ์หนึ่ง, สายตา 2. วงจรหรือทางเดินไฟฟ้าที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อสำหรับส่งอิเล็กตรอน ให้กระจายออกไปยังจุดต่าง ๆ คอมพิวเตอร์มีบัสไว้ เพื่อทำหน้าที่กระจายอิเล็กตรอน (ซึ่งแทรกรหัสข้อมูลไปตามจุดที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนดให้) |
carriage return | ปัดแคร่แป้นปัดแคร่ใช้ตัวย่อว่า CR ในทางคอมพิวเตอร์ ถือเป็นตัวอักขระตัวหนึ่งที่มองไม่เห็น ใช้เมื่อสิ้นสุดการพิมพ์แต่ละบรรทัด และทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) ลงไปอยู่เป็นตำแหน่งแรกของบรรทัดถัดลงมา โดยปกติ จะกำหนดให้กดแป้น <RETURN> หรือ <ENTER> |
chain printer | เครื่องพิมพ์สายโซ่เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้โซ่หรือแกนอักษรหมุนในแนวนอนรอบแกนตั้ง 2 แกน เมื่อตัวอักษรที่ต้องการมาอยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนดให้ เครื่องจะใช้ค้อนตีให้อักษรนั้น ปรากฏบนกระดาษ โดยผ่านลงบนผ้าหมึกพิมพ์ |
character code | รหัสอักขระหมายถึงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่กำหนดให้ใช้เป็นรหัสแทนอักขระ หรือมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่มีการตกลงกันไว้ เป็นต้นว่า ตารางรหัสแอสกี (ASCII table) และรหัสเอ็บซีดิก (EBCDIC) โปรแกรมสำเร็จบางโปรแกรมใช้รหัสเหล่านี้ผสมกับตัวอักขระบางตัวเป็นรหัสคำสั่งให้เป็นการขีดเส้นใต้ , ทำตัวเอน ฯ |
child process | โปรแกรมลูกหมายถึง การที่กำหนดให้โปรแกรมที่กำลังใช้อยู่สามารถ เรียกโปรแกรมอื่นมาทำงานได้ เช่น ในขณะที่กำลังใช้โปรแกรมประมวลผลคำพิมพ์เอกสารอยู่ เราสามารถสั่งให้โปรแกรมประมวลผลคำนั้นไปเรียกโปรแกรมตรวจเช็คตัวสะกดมาทำงานได้ โปรแกรม ประมวลผลคำนั้นจะเรียกว่าโปรแกรมแม่ (parent program) และโปรแกรมตรวจเช็คตัวสะกดเรียกว่าโปรแกรมลูก |
client server system | ระบบรับ-ให้บริการหมายถึง เครือข่ายการทำงานแบบที่กำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็นเป็นเครื่องบริการแฟ้ม (file server) หรือเป็นที่เก็บโปรแกรมและแฟ้มทั้งหมด คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะเรียกใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลจากกันไม่ได้ ต้องเรียกจากเครื่องบริการแฟ้มเท่านั้นดู file server ประกอบดู peer to peer เปรียบเทียบ |
clipboard viewer | ที่ดูคลิปบอร์ดเป็นชื่อโปรแกรมหนึ่งในระบบวินโดว์ เมื่อเรียกใช้ จะแสดงให้ดูทันทีว่า ในคลิปบอร์ดมีภาพหรือข้อความใดเก็บอยู่ เมื่อเราใช้คำสั่ง paste ที่อยู่ใต้เมนู EDIT ซึ่งจะมีอยู่ในทุกโปรแกรม ภาพหรือข้อความที่มองเห็นว่าอยู่ในคลิปบอร์ดจะไปปรากฏ ณ ตำแหน่งที่กำหนดให้ทันทีดู clipboard ประกอบ |
coding form | ใบลงรหัสคำสั่งแบบพิมพ์ลงรหัสเป็นแบบฟอร์มสำหรับเขียนโปรแกรมภาษาฟอร์แทรน หรือภาษาระดับสูง (high level language) อื่น ๆ แบบฟอร์มนี้จะมี 80 คอลัมน์อาจจะทำให้ดูเป็นสีต่าง ๆ หรืออาจจะเป็นสีเดียวแต่กำหนดให้มีระดับสีต่างกัน อ่อนบ้าง เข้มบ้าง เพื่อให้ดูง่าย เมื่อเวลานำมาเจาะข้อมูลจะได้กำหนดคอลัมน์ได้สะดวกขึ้น |
control code | รหัสควบคุมหมายถึง การกำหนดให้ใช้สัญลักษณ์พิเศษ ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องพิมพ์ เป็นต้นว่า กำหนดให้การกดแป้น <RETURN> เป็นการขึ้นย่อหน้าใหม่ เป็นต้น |
cosine | (โค'ไซน์) n. สัดส่วนของด้านชิดกับมุมที่กำหนดให้กับ ด้านตรงข้ามกับมุมฉากของสามเหลี่ยม |
disk partition | การแบ่งส่วนของจานบันทึกหมายถึง การแบ่งฮาร์ดดิสก์ออกเป็นส่วน ๆ ตั้งแต่สองส่วนขึ้นไป โดยอาจกำหนดให้ส่วนหนึ่งใช้ระบบดอส และวินโดว์ และอีกส่วนหนึ่งใช้ระบบ โอเอส/ทู |
drive a | A:ไดรฟ์เอหมายถึง ชื่อหน่วยบันทึกหน่วยแรกของเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็ม หรือเครื่องเลียนแบบ (compatibles) เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจะเข้าไปดูในหน่วยนี้ก่อน หากไม่พบสิ่งใด ๆ จึงจะย้ายไปดูหน่วยบันทึกอื่นต่อไป หน่วยที่สองจะนิยมเรียกกันว่า B: และหน่วยจานบันทึกแข็งหรือฮาร์ดดิสก์ มักจะถูกกำหนดให้เป็น C: (เวลาเขียน ต้องมีเครื่องหมาย : ตามหลังเสมอ จึงจะหมายถึงหน่วยบันทึก) |
e-mail address | หมายเลขไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หมายถึง หมายเลขประจำตัวหรือรหัสประจำตัวที่กำหนดให้แก่สมาชิก ผู้ใช้หมายเลขนี้จะใช้สำหรับส่งจดหมายหรือเรียกดูข้อความที่ส่งมาทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ตัวโปรแกรมที่ใช้ จะต้องทำหน้าที่เหมือนที่ทำการไปรษณีย์ โดยจะรับข่าวสารที่มีผู้ส่งมาแล้วเก็บรอไว้ จนกว่าผู้รับจะเรียกออกมาดู |
enter key | แป้นป้อนเข้าหมายถึง แป้นที่จะใช้กด เมื่อพิมพ์คำสั่งเสร็จแล้ว และต้องการให้คอมพิวเตอร์เริ่มทำงานตามคำสั่ง ถ้าเป็นโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) แป้นนี้เป็นแป้นสำหรับสั่งให้ขึ้นย่อหน้าใหม่ ในบางครั้งก็เรียกกันว่า Return key และมักเขียนย่อว่า <RET> ในบางโปรแกรม แป้นนี้อาจถูกกำหนดให้ทำอย่างอื่นก็ได้ แป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์ทุกชนิด ทุกยี่ห้อ จะต้องมีแป้นนี้ |
extended technology | เทคโนโลยีแบบขยายใช้ตัวย่อว่า XT (อ่านว่า เอกซ์ที) เป็นเทคโนโลยีใหม่แบบหนึ่งที่นำมาใช้ในการสร้างไมโครคอมพิวเตอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นนั้น จึงได้รับสมญานาม ว่า XT มีการเน้นในเรื่องการกำหนดให้มีช่องเสียบแผ่นวงจร (card) เพิ่ม เพื่อการปรับขยายในภายหลัง กับการใช้จานบันทึกที่มีความจุสูง ดู AT ประกอบ |
fibonacci numbers | เลขไฟโบนาชชี่หมายถึง แบบแผนทางคณิตศาสตร์แบบหนึ่งที่กำหนดให้ จำนวนเลขลำดับที่สาม เป็นผลบวกของเลขสองตัวที่อยู่ลำดับ ก่อนหน้า เช่น 4, 8, 12, 20, 32..... (12 เป็นผลบวกของ 4 กับ 8 และ 20 เป็นผลบวกของ 8 กับ 12 เป็นดังนี้ไปเรื่อย ๆ) ใช้ได้ดีในการเขียนโปรแกรมบางโปรแกรม เพราะทำให้สามารถเข้าสู่จุดตำแหน่งที่ต้องการได้รวดเร็วขึ้น (บางทีเรียก fibonacci series หรืออนุกรมไฟโบนาชชี) |
fixed pitch | ช่องไฟเท่ากันหมายถึง การพิมพ์ตัวอักษรแต่ละตัวโดยกำหนดให้มีช่องไฟ กว้างเท่า ๆ กัน บางทีใช้คำว่า monospaced โดยปกติ จอภาพคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดีด และเครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix) ชนิดราคาถูก ๆ จะพิมพ์หรือให้ภาพตัวอักษรที่มี ความกว้างเท่ากันหมด ตรงข้ามกับคำ fixed pitch นี้ เราจะใช้คำว่า proportional pitch เครื่องพิมพ์ดี ๆ จะต้องปรับ ขนาดของตัวอักษรไม่ให้เท่ากัน เช่น ตัว I, L, T ไม่ควร จะกว้างเท่ากับ O, W, M ILT OWM |
fixed point number | จำนวนเต็มหมายถึง เลขที่มีจุดทศนิยม (สมมติ) ตายตัว หรือที่เรียกว่า เลขจำนวนเต็ม (integer) ตรงข้ามกับ floating point number ซึ่งหมายถึงเลขทศนิยมที่จะกำหนดให้มีเลขตามหลังจุด ทศนิยมกี่หลักก็ได้ตามที่ต้องการ |
flowchart | ผังงานหมายถึง ผังที่ประกอบด้วยเส้นและสัญลักษณ์รูปต่าง ๆ ซึ่งนักเขียนโปรแกรมใช้ เพื่อให้มองเห็นขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม ก่อนจะลงมือเขียน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ผังงานกว้าง ๆ (general flowchart) และผังงานละเอียด (detailed flowchart) ผังงานจะช่วยทำให้เข้าใจการทำงาน ทำให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะทำงานเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเป็นผู้กำหนดให้ ผังงานจะช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรมมองเห็นขั้นตอนต่าง ๆ จากสัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ง่ายเข้า และไม่เกิดความสับสน โดยเฉพาะปัญหาที่ซับซ้อนมาก ๆ ดู general flowchart และ detailed flowchart ประกอบ |
footer | ข้อความท้ายหน้าหมายถึง ข้อความที่พิมพ์ไว้ส่วนล่างของหน้ากระดาษทุกหน้า (อาจเป็นเลขหน้า ก็ได้) โปรแกรมประมวลผลคำต่าง ๆ จะเตรียมจัดในเรื่องนี้ไว้ให้ทุกโปรแกรม แม้โปรแกรมตาราง จัดการ ก็สามารถกำหนดให้มีข้อความใด ๆ ที่หัวกระดาษ (header) และ ที่ท้ายหน้า (footer) ได้ดู header เปรียบเทียบ |
given | (กิฟ'เวิน) กริยาช่อง 3 ของ give. adj. ซึ่งมอบให้ไว้, ติดยา, เป็นของขวัญ, ที่กำหนดให้ |
half-life | n. ระยะเวลาที่อะตอมครึ่งหนึ่งของปริมาณสารกัมมันตรังสีที่กำหนดให้ที่จะสลายตัว -pl. half-lives, Syn. half-life period |
hard space | (ฮาร์ดสเปซ) หมายถึงที่ว่างที่ถือเสมือนไม่ใช่ที่ว่าง ใช้เฉพาะในโปรแกรมประมวลผลคำ ในกรณีที่พิมพ์คำบางคำที่มีที่ว่างระหว่างคำ เช่น World War II หรือ พิมพ์วันที่ เช่น May 7 เช่นนี้ ถ้าบังเอิญพิมพ์คำนี้มาถึงปลายบรรทัด แต่ไม่มีที่ว่างพอจะพิมพ์ทั้งคำ คอมพิวเตอร์จะแยกนำคำหลังช่องว่างมาขึ้นบรรทัดใหม่ ซึ่งจะเป็นการไม่ถูกต้อง เราจึงต้องกำหนดให้ที่ว่างที่เห็นนั้นเป็นฮาร์ดสเปซ เพื่อให้โปรแกรมไม่แยกเป็นคนละบรรทัด ถ้าที่ไม่พอในบรรทัดบน ก็จะนำลงมาบรรทัดใหม่ทั้งคำ |
hematocrit | (เฮม'มะโทคริท) n. เครื่องปั่นแยกเม็ดเลือดออกจากพลาสม่า, ค่าอัตราส่วนของปริมาตรของเม็ดเลือดต่ำกว่าปริมาตรที่กำหนดให้ของเลือดที่ถูกปั่น |
hot key | แป้นลัดหมายถึง การกดแป้นหนึ่งหรือหลาย ๆ แป้นรวมกัน ที่กำหนดไว้เป็นพิเศษให้เครื่องทำหน้าที่พิเศษบางอย่างได้ เช่น เครื่องแมคอินทอชกำหนดให้การกดแป้น Ctrl + Shift + C เป็นคำสั่งให้คอมพิวเตอร์นำภาพบนจอไปเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูลได้ |
imperative statement | หมายถึง คำสั่งในภาษาระดับสูง (high level language) ที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ลงมือทำการ คำสั่งเหล่านี้ ตัวแปลโปรแกรม จะแปลเป็นภาษาเครื่อง (machine language) ก่อน แล้วเครื่องจึงจะปฏิบัติตาม เช่น ข้อความสั่งทำการกำหนดให้ A = 2 ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์พบคำสั่งนี้ ก็จะลงมือทำหาร ด้วยการนำ 2 ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำช่องหนึ่งที่มีอยู่ (address) แล้วกำหนดชื่อที่เก็บนั้นว่า A เป็นต้นมีความหมายเหมือน excutable statement |
impose | (อิมโพซ') vt. จัดเก็บภาษี, กำหนด, กำหนดให้มี, กำหนดโทษ, บังคับเอา, นำไปใส่, ยัดเยียดให้, เรียกร้อง, รบกวน, หลอกลวง, เอาเปรียบ. -vi. ประทับใจ, รบกวน, ยัดเยียดให้., See also: imposer n., Syn. place, intrude |
imposition | (อิมพะซิซ' เชิน) n. การจัดเก็บภาษี, การกำหนดภาษี, การกำหนดโทษ, การกำหนดให้มี, การบังคับเอา, การนำไฟใส่, การยัดเยียด, การรบกวน, การหลอกลวง |
julian | (จูล'เยิน) adj. เกี่ยวกับหรือมีลักษณะของจูเลียส ซีซาร์ จูเลียน <คำอ่าน>เป็นวิธีคิดคำนวณวันที่อย่างง่าย ๆ วิธีหนึ่ง ระบบจูเลียนนี้กำหนดให้ทุก ๆ วันมีหมายเลขเฉพาะ เช่น วัน 1 แทนวันที่ 1 มกราคม เมื่อ 4713 ปีก่อนคริสตศักราช วัน 2448299 ก็แทนวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1991 เป็นต้น |
logarithm | (ลอ'กะริธเธิม) n. เลขกำลังของฐาน (base) ที่ทำให้ฐานมีค่าเท่ากับค่าที่กำหนดให้เช่นลอกของฐาน 10 ให้เป็น 100 คือ 323 ใช้อักษรย่อว่า"log" |
magnific | (แมกนิฟ'ฟิค) adj. งดงาม, สง่า, เรียกร้อง, กำหนดให้มี. |
monospacing | ห่างเท่ากันหมดหมายถึง การกำหนดให้อักษรแต่ละตัวมีช่องไฟเท่ากันหมดไม่ว่าจะเป็น i หรือ m ตรงข้ามกับ proportional spacing ซึ่งหมายถึง อักษรแต่ละตัวจะใช้เนื้อที่เท่าที่จำเป็น ดู proportional pitch ประกอบ |
peer-to-peer | เพียทูเพียหมายถึง วิธีการจัดเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง ที่กำหนดให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทุกเครื่องเหมือนกันหรือเท่าเทียมกัน หมายความว่า แต่ละเครื่องต่างมีโปรแกรมหรือมีแฟ้มข้อมูลเก็บไว้เอง การจัดแบบนี้ทำให้สามารถใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ แทนที่จะต้องใช้จากเครื่องบริการแฟ้ม (file server) เท่านั้น วิธีการจัดอีกลักษณะหนึ่ง ที่เรียกว่า client-server นั้น คือการกำหนดให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็นเครื่องบริการแฟ้ม หรือเป็นที่เก็บโปรแกรมและแฟ้มทั้งหมด คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะเรียกใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลจากกันไม่ได้ ต้องเรียกจากเครื่องบริการแฟ้มเท่านั้น ดู file server ประกอบ |
pipeline | การทำงานแบบสายท่อหมายถึง วิธีการเชื่อมโยงสองโปรแกรมหรือกว่านั้นเข้าด้วยกัน โดยกำหนดให้ผลที่เกิดจากการประมวลผลในโปรแกรมแรก เป็นตัวกำหนดเรียกโปรแกรมที่สอง (หมายความว่า โปรแกรมที่สองจะเป็นโปรแกรมใด ขึ้นกับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลในโปรแกรมแรก) การประมวลผลในโปรแกรมที่สองก็จะเรียกโปรแกรมต่อไป วิธีการนี้ใช้ในระบบยูนิกซ์ (UNIX) และ ดอส (DOS) |
poke | (โพค) v. แหย่, กระทุ้ง, กระแทก, ปัก, เสียบ, ดัน, กระตุ้น, ค้นหา., See also: poke fun at หัวเราะ. n. การผลัก, การดัน, Syn. prod, โพก <คำอ่าน>เป็นคำสั่งหนึ่งในภาษาเบสิก BASIC ที่สั่งกำหนดให้เก็บค่าใดค่าหนึ่งในเลขที่อยู่ address ที่แน่นอนในหน่วยความจำได้ |
primary key | กุญแจหลักในการสั่งให้เรียง (sort) ข้อความหรือตัวเลข จะต้องมีการกำหนดว่าจะเรียงตามอะไร เช่น ตามตัวอักษร ตามความมากน้อย ตามอายุ ฯ ตัวกำหนดนี้เรียกว่า กุญแจ (key) ตัวกำหนดที่สำคัญเป็นอันดับแรก เรียกว่า " กุญแจหลัก" ส่วนตัวสำคัญรองลงมา ก็เรียกว่า "กุญแจรอง" เช่นกำหนดให้เรียงตามตัวอักษร และอายุ ตัวอักษรจะเป็นกุญแจหลัก คือให้เรียงตามตัวอักษรก่อน เมื่อตัวอักษรซ้ำกัน จึงเรียงตามอายุ อายุก็เป็นกุญแจรอง ดู secondary key ประกอบ |
proportional pitch | ช่องไฟปรับสัดส่วนหมายถึง การที่เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์สามารถกำหนดให้ตัวอักขระแต่ละตัวใช้เนื้อที่ตามสัดส่วน เป็นต้นว่า ตัว i ย่อมจะไม่ใช้เนื้อที่มากเท่ากับตัว m หรือตัว w |
pseudo instruction | คำสั่งเทียมคำสั่งลำลองหมายถึง คำสั่งในภาษาแอสเซมบลี (assembly) ที่บอกข้อมูลให้แอสเซมเบลอร์ว่า จะแปลเป็นภาษาเครื่องอย่างไร คำสั่งเทียมนี้จะไม่แปลเป็นภาษาเครื่องก่อน แต่จะกำหนดให้แอสเซมเบลอร์แปลโปรแกรมโดยตรง ตัวอย่างของคำสั่งเทียมที่ใช้มาก เช่น END เป็นสัญญาณให้รู้ว่า สิ้นสุดคำสั่งที่จะต้องแปลแล้ว |
rapporteur | (แรพพอเทอ') n. ผู้ถูกกำหนดให้เขียนรายงานต่อที่ประชุมใหญ่ |
real variable | ตัวแปรทศนิยมหมายถึงตัวแปรที่กำหนดให้เก็บค่าทศนิยม (real constant) บางภาษากำหนดให้มีลักษณะพิเศษต่างกับตัวแปรที่จะใช้เก็บค่าจำนวนเต็ม (integer) |
reduced instruction set c | คอมพิวเตอร์ลดทอนคำสั่งใช้ตัวย่อว่า RISC อ่านว่า ริสก์ เป็นคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งซึ่งปฏิบัติการได้เร็วมาก ๆ เพราะกำหนดให้ไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) แต่ละตัวทำงานจำกัดเฉพาะบางอย่าง |
reserved word | คำสงวนหมายถึง คำหรือรหัสหนึ่งรหัสใดที่กำหนดให้ใช้เพื่อการใดโดยเฉพาะแล้ว ห้ามนำไปใช้เพื่อการอื่นอีกได้ เช่น คำ copy del หรือ ren ล้วนแต่เป็นคำสั่งที่ใช้ในระบบปฏิบัติการดอสแล้ว คำเหล่านี้เป็นคำสงวนทั้งหมด จะนำไปตั้งเป็นชื่อตัวแปร หรือชื่อแฟ้มข้อมูลไม่ได้ |
risc | ริสก์ <คำอ่าน>ย่อมาจาก reduced instruction set computer (แปลว่า คอมพิวเตอร์ลดทอนคำสั่ง) เป็นคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งซึ่งปฏิบัติการได้เร็วมาก ๆ เพราะกำหนดให้ตัวประมวลผลแบบจุลภาค (microprocessor) แต่ละตัวทำงานจำกัดเฉพาะบางอย่าง |
Nontri Dictionary
prescriptive | (adj) กำหนดให้, มีสิทธิ์เป็นเจ้าของตามกฎหมาย |
Longdo Approved DE-TH
Einheit | (n) |die, pl. Einheiten| หน่วยทางฟิสิกส์หรือวิทยาศาสตร์ เช่น Die Krafteinheit ist in Newton ( N ) angegeben. = หน่วยของแรง(ทางฟิสิกส์)ถูกกำหนดให้เป็นหน่วยนิวตัน |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.4081 seconds, cache age: 19.311 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม