153 ผลลัพธ์ สำหรับ *การเปลี่ยนแปลง*
ภาษา
หรือค้นหา: การเปลี่ยนแปลง, -การเปลี่ยนแปลง-Longdo Unapproved IT - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
pentimento | [เพ็นติเม้นโต] (n) พหูพจน์ pentimenti - การเปลี่ยนแปลงงานจิตรกรรมที่ทำโดยจิตรกรที่ทิ้งร่องรอยให้เห็นว่าจิตรกรเปลี่ยนใจในการวางรูปแบบระหว่างการเขียนภาพ (wikipedia.org) |
Longdo Unapproved MED - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
PET Scan | (n, vt) PET Scan ย่อมาจาก Positron Emmision Tomography เป็นเครื่องมือใหม่ที่ใช้เพื่อ ตรวจหาการกระจายและปริมาณความผิดปกติของสารเภสัชรังสีโพสิตรอน ทำให้ข้อมูลที่ได้จาก PET มีความแตกต่างจากเครื่องมืออื่นๆ ซึ่งเรารู้จักกันดี เช่น การตรวจด้วย ultrasound, CT และ MRI ที่ส่วนใหญ่จะแสดงเพียงลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาค การตรวจด้วย PET เป็นการถ่ายภาพการกระจายตัวของสารเภสัชรังสีที่สลายตัวให้โพสิตรอน (positron) สารเภสัชรังสีเหล่านี้จะสัมพันธ์และแสดงถึงขบวนการชีววิทยาต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เราสามารถตรวจขบวนการเผาผลาญ (metabolism) ของเซลล์ได้ หลักการของเครื่องตรวจนี้คือ ใช้้ในการตรวจหาเซลล์ที่มีเมตะบอลลิสม์ผิดปกติ เป็นการตรวจหาการทำงานของเซลล์และผ่านกลวิธีทำให้ออกมาเป็นรูปให้เราเห็น ในการตรวจมะเร็งปอดเราใช้น้ำตาล เมื่อเราทำให้น้ำตาลนั้นจับกับสารกัมมันตภาพ (Glucose 2-fluoro-2-deoxy-D-glucose หรือ FDG) ฉีดเข้าไปในเลือด เซลล์ไหนที่มีเมตะบอลลิสม์สูงจะใช้น้ำตาลมาก เช่น เซลล์ของมะเร็ง เซลล์ไหนที่ตายหรือมีเมตะบอลลิสม์ต่ำจะใช้น้ำตาลน้อย เมื่อใช้ Radiotracer จับปริมาณกัมมันตภาพ เราจะพบว่าก้อนมะเร็งนั้นมีกัมมันตภาพสูงกว่าเนื้อธรรมดาและใช้ตรวจทั้งตัว ก็ได้ |
Longdo Unapproved TH - MED
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
สรีระวิทยา | (n) การเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโต, การขยายพันธุ์, See also: S. transcription, translation |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
การกลั่นทำลาย | น. กรรมวิธีที่ให้ความร้อนสูงแก่สารอินทรีย์โดยไม่ให้อากาศเข้า เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีขึ้นแก่สารนั้น ให้ผลเป็นสารที่ระเหยได้และแยกตัวออกมา เช่น การกลั่นทำลายขี้เลื่อย ให้ผลเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ กรดนํ้าส้ม และสารอื่นอีก, การกลั่นทำลายถ่านหิน ให้ผลเป็นแก๊สถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ นํ้ามันเบนซิน ลูกเหม็นกันแมลงสาบ และสารอื่นที่มีประโยชน์อีกมาก กากที่เหลือเรียกว่า ถ่านโค้ก. |
ไข้ผื่น | น. ไข้ที่มีผื่นและการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นทางผิวหนัง มีลักษณะอาการและความรุนแรงต่าง ๆ กัน ตั้งแต่เป็นเม็ดเล็ก ๆ เหมือนหัวเข็มหมุด จนถึงปื้นใหญ่ ๆ ในรายที่รุนแรงมากอาจมีเลือดออกใต้ผิวหนังบริเวณผื่นหรือปื้น และผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ, ไข้กาฬ หรือ ไข้ส่า ก็เรียก. |
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า | น. คลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของสนามแม่เหล็กและไฟฟ้าที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ได้แก่ คลื่นวิทยุ อินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ อัลตราไวโอเลต เอกซเรย์ รังสีแกมมา และ รังสีคอสมิก. |
ควบแน่น | น. กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในลักษณะซึ่งโมเลกุลของสารตั้งแต่ ๒ โมเลกุลขึ้นไปเข้ารวมตัวกันเป็นโมเลกุลใหญ่ขึ้นของสารใหม่ โดยวิธีขจัดโมเลกุลของนํ้าหรือโมเลกุลของสารอื่นออกไป |
ควบแน่น | กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของไอเป็นของเหลวโดยวิธีลดอุณหภูมิลง. |
เคมี | น. วิทยาศาสตร์กายภาพแขนงหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวและสมบัติของสารต่าง ๆ ว่าประกอบกันขึ้นเป็นสารนั้น ๆ ได้อย่างไร และเมื่อสารนั้น ๆ แปรเปลี่ยนไปเป็นสารอื่นได้ปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ เป็นอย่างไร ทั้งกล่าวถึงการที่จะสังเคราะห์สารนั้น ๆ ขึ้นได้อย่างไรด้วย แบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ อีกหลายสาขา เช่น เคมีอินทรีย์ เคมีอนินทรีย์ ชีวเคมี เคมีกายภาพ เคมีวิเคราะห์. |
ชีวเคมี | น. วิชาเคมีสาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของสิ่งที่มีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับองค์ประกอบเหล่านั้น ตลอดจนกระบวนการต่าง ๆ ที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ. |
ไซเกิล | น. ชุดของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภาวะหนึ่งจนกระทั่งกลับคืนมาสู่ภาวะแท้จริงเดิมอีก เช่น การเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนที่ของไฟฟ้ากระแสสลับเริ่มจากภาวะที่ไม่มีกระแสจนกระทั่งกระแสทวีค่าสูงสุดในทิศทางหนึ่ง แล้วลดลงจนไม่มีกระแส จากนี้กระแสทวีค่าขึ้นอีก จนสูงสุดในทิศทางตรงข้าม แล้วจึงกลับลดลงจนสู่ภาวะไม่มีกระแสอีก ดังนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ครบ ๑ ไซเกิล จึงใช้จำนวนไซเกิลต่อวินาทีเป็นหน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับและความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, ปัจจุบันใช้ เฮิรตซ์ แทน ไซเกิล. |
ปฏิกิริยา | การเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร. |
ปฏิวัติ | การเปลี่ยนแปลงระบบ เช่น ปฏิวัติอุตสาหกรรม, การเปลี่ยนแปลงระบอบการบริหารบ้านเมือง เช่น ปฏิวัติการปกครอง. |
ปริณาม | (ปะ-) น. การผันแปร, การเปลี่ยนแปลง, การย่อยไป. |
ผิวหนัง | ชื่อโรคชนิดหนึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นที่ส่วนต่าง ๆ ของผิวหนัง. |
พัฒนาการ | น. การทำความเจริญ, การเปลี่ยนแปลงในทางเจริญขึ้น, การคลี่คลายไปในทางดี. |
ภาษาคำโดด | น. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่องกับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำสองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. |
ภูมิศาสตร์กายภาพ | น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่องลักษณะและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่แวดล้อมตัวมนุษย์. |
ภูมิศาสตร์ประวัติ | น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาถึงประวัติการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ของดินแดนใดดินแดนหนึ่งตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน, ภูมิศาสตร์เชิงประวัติ ก็เรียก. |
รหัส | (-หัด) น. เครื่องหมายหรือสัญญาณลับซึ่งรู้เฉพาะผู้ที่ตกลงกันไว้, ข้อความที่เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตำแหน่งอักษรของข้อความนั้น หรือใช้สัญลักษณ์แทน เป็นต้น ซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ, ระบบสัญลักษณ์ที่ใช้ในเครื่องมือเครื่องใช้อย่างกุญแจหรือตู้นิรภัยเป็นต้น เช่น เลขรหัสบัตรเครดิต. |
รัว ๒ | น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงในลักษณะต่าง ๆ กันคือ รัวธรรมดาหรือรัวลาเดียว ใช้บรรเลงเมื่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในการแสดงโขนละครเป็นต้น และใช้บรรเลงต่อท้ายเพลงหน้าพาทย์ที่แสดงผลสำเร็จของพิธีการหรือพิธีกรรมนั้น ๆ, รัวเฉพาะ ใช้บรรเลงต่อท้ายเพลงหน้าพาทย์บางเพลง เช่น รัวท้ายเพลงบาทสกุณี รัวท้ายเพลงปลูกต้นไม้ รัวสามลา เป็นเพลงในชุดโหมโรงเย็นมีความหมายแทนการกราบไหว้บูชา ในการแสดงโขนละคร ใช้บรรเลงประกอบกิริยาแสดงอิทธิฤทธิ์ของตัวละครสูงศักดิ์ ในการเทศน์มหาชาติใช้เป็นเพลงประจำกัณฑ์จุลพน. |
แรง ๒ | น. อิทธิพลภายนอกใด ๆ ที่เปลี่ยนแปลงหรือพยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะอยู่นิ่งหรือสถานะการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอในแนวเส้นตรง. |
วิวัฒนาการ | (วิวัดทะนากาน) น. กระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือคลี่คลายไปสู่ภาวะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น เช่น วิวัฒนาการแห่งมนุษยชาติ วิวัฒนาการแห่งศิลปวัฒนธรรม. |
สนธิ | การเปลี่ยนแปลงเสียงซึ่งเกิดจากการเชื่อมเสียง ๒ เสียง ที่อยู่ชิดกันให้กลมกลืนกัน ในภาษาบาลีและสันสกฤตมีพยัญชนะสนธิ เช่น ทุส + ชน เป็น ทุรชน สระสนธิ เช่น พจน + อนุกรม เป็น พจนานุกรม และนิคหิตฺสนธิ เช่น เอวํ + เม เป็น เอวมฺเม ในภาษาอื่น ๆ ที่มีวรรณยุกต์เช่นภาษาจีนมีวรรณยุกต์สนธิ เช่น เกี๊ยม + ฉ่าย เป็น เกี่ยมฉ่าย. |
หัวรุนแรง | ว. ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็น การปฏิบัติ หรือนโยบายเป็นต้น อย่างหักหาญโดยไม่ยอมประนีประนอมใด ๆ. |
อนุรักษนิยม | (อะนุรักสะนิยม, อะนุรักนิยม) น. อุดมคติทางการเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่มีแนวโน้มไปในทางต้านทานการเปลี่ยนแปลง โดยยึดถือสนับสนุนระเบียบที่ตั้งมั่นอยู่แล้ว. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
pneumatolysis | การเปลี่ยนแปลงทางเคมีเพราะไอร้อน [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖] |
population change | การเปลี่ยนแปลงของประชากร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
political change | การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
loss lag | การเปลี่ยนแปลงการประมาณค่าสินไหมทดแทน มีความหมายเหมือนกับ loss development [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
loss development | การเปลี่ยนแปลงการประมาณค่าสินไหมทดแทน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
law of faunal succession | กฎการเปลี่ยนแปลงทดแทนสัตวชาติ [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖] |
radicalism | คติมูลวิวัติ, คตินิยมการเปลี่ยนถึงรากฐาน, ลัทธิสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่ต้นตอ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
rate of change | อัตราการเปลี่ยนแปลง [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] |
statistics of population change | สถิติการเปลี่ยนแปลงทางประชากร [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
standpatter | ผู้ยืนกราน (ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
alteration | การแปลง, การเปลี่ยนแปลงแก้ไข [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
alteration | การแปลง, การเปลี่ยนแปลงแก้ไข [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
alteration of share capital | การเปลี่ยนแปลงเงินทุนเรือนหุ้น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
affine | การเปลี่ยนแปลงเชิงสัมพันธ์ [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖] |
avulsion | การเปลี่ยนแปลงของที่ดินโดยกระแสน้ำ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
change of voyage clause | ข้อกำหนดการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
commutation | ๑. การเปลี่ยนแปลงวิธีรับชำระหนี้ (ก. แพ่ง)๒. การลดโทษ, การเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา (ก. อาญา) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
change, political | การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
change, population | การเปลี่ยนแปลงของประชากร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
faunal succession | การเปลี่ยนแปลงทดแทนสัตวชาติ [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖] |
transaction data | ข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลง [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
transaction file | แฟ้มรายการเปลี่ยนแปลง [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
transaction file | แฟ้มรายการเปลี่ยนแปลง [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
transaction processing | การประมวลผลด้วยรายการเปลี่ยนแปลง [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
transaction record | ระเบียนรายการเปลี่ยนแปลง [ มีความหมายเหมือนกับ change record ] [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
transaction tape | แถบรายการเปลี่ยนแปลง [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
kainotophobia | อาการกลัวการเปลี่ยนแปลง [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Transaction system (Computer system) | ระบบประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Climate exchange | การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Global environmental change | การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมโลก [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Global temperature changes | การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Structural unemployment | การว่างงานเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง [เศรษฐศาสตร์] |
Climatic changes | การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Knowledge conversion | การเปลี่ยนแปลงความรู้, การเปลี่ยนแปลงความรู้ [การจัดการความรู้] |
Betatron | บีตาทรอน, เครื่องเร่งอิเล็กตรอน ที่มีลักษณะเป็นรูปโดนัต อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นวงกลมรัศมีคงที่โดยการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็ก เครื่องที่มีรัศมีประมาณ 0.75-1.00 เมตร สามารถเร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงานสูงถึง 340 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ บีตาทรอนเครื่องแรกสร้างโดย Donald W. Kerst ในปี พ.ศ. 2483 ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถเร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงาน 2.5 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ [นิวเคลียร์] |
Chromosome mutation | การกลายของโครโมโซม, การเปลี่ยนแปลงที่โครงสร้างหรือจำนวนโครโมโซม [นิวเคลียร์] |
Treatment, waste | การบำบัดกากกัมมันตรังสี, การดำเนินการเปลี่ยนแปลงลักษณะของกากกัมมันตรังสีให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษาและการขจัด โดยมีหลักพื้นฐาน 3 ประการ คือ 1. ลดปริมาตร เช่น การกดอัด 2. แยกสารกัมมันตรังสีออกจากกาก เช่น การตกตะกอน การแลกเปลี่ยนไอออน 3. เปลี่ยนองค์ประกอบ เช่น การเผา การระเหย [นิวเคลียร์] |
Spontaneous mutations | การกลายพันธุ์เกิดเอง, การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) ของเซลล์สิ่งมีชีวิต ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น แสงแดด อุณหภูมิ หรือเกิดจากความผิดพลาดในกระบวนการสร้างและซ่อมแซมดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตนั้น [นิวเคลียร์] |
Change management | การบริหารการเปลี่ยนแปลง [การจัดการความรู้] |
Radioecology | นิเวศวิทยารังสี, การศึกษาผลกระทบของสารกัมมันตรังสีที่มีในธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นต่อระบบนิเวศ สารกัมมันตรังสีอาจมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและสมบัติทางเคมีของตัวมันเอง และมีวัฏจักรการเคลื่อนย้ายในระบบนิเวศภายในกลุ่มหรือระหว่างกลุ่มของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต (หิน ดิน น้ำ และอากาศ) ในสภาวะแวดล้อมต่างๆ กัน เข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิต ส่งผลกระทบทางชีววิทยาและการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ [นิวเคลียร์] |
Nuclear transformation | การแปลงนิวเคลียส, การเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของธาตุด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ เช่น การแปรธาตุยูเรเนียม-238 เป็นพลูโทเนียม-239 โดยการก่อกัมมันตภาพรังสีด้วยนิวตรอน <br>(ดู transmutation ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Nuclear reactions | ปฏิกิริยานิวเคลียร์, ปฏิกิริยาที่เกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของอะตอม เช่น ฟิชชัน ฟิวชัน การจับยึดนิวตรอน หรือ การสลายกัมมันตรังสี ซึ่งแตกต่างกับปฏิกิริยาเคมี ที่จำกัดอยู่เพียงการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของอิเล็กตรอนที่อยู่รอบๆ นิวเคลียส [นิวเคลียร์] |
Mutation | การกลายพันธุ์, การกลาย, การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ(DNA) ของเซลล์สิ่งมีชีวิตซึ่งสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้, Example: [นิวเคลียร์] |
Mutagenesis | กระบวนการกลายพันธุ์, กระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อสารพันธุกรรม หรือ ดีเอ็นเอ ของเซลล์สิ่งมีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เซลล์นั้นหรือเซลล์ที่เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ดังกล่าวมีรูปร่างลักษณะหรือพฤติกรรมต่างไปจากเดิม กระบวนการนี้อาจเกิดขึ้นเอง หรือเกิดจากการเหนี่ยวนำโดยสิ่งก่อกลายพันธุ์ ถ้าเกิดที่เซลล์สืบพันธุ์ จะมีการส่งผ่านหรือถ่ายทอดลักษณะผิดปกติไปยังรุ่นถัดไป แต่ถ้าเกิดที่เซลล์ร่างกาย การกลายจะจำกัดเฉพาะที่เนื้อเยื่อส่วนนั้น [นิวเคลียร์] |
Lethal mutation | การกลายถึงตาย, การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอของเซลล์สิ่งมีชีวิตส่วนที่ควบคุมกระบวนการทำงานที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนา แล้วมีผลกระทบทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ หรือเกิดการตายในรุ่นถัดไป [นิวเคลียร์] |
transaction | รายการเปลี่ยนแปลง, รายการค้า, Example: ข้อมูลที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และจะต้องจดบันทึกไว้เพื่อนำไปปรับปรุงแฟ้มข้อมูลหลัก เช่น นักเรียนสอบปลายภาคได้คะแนนแต่ละวิชาเป็นเท่าใด ก็จะทำให้มีการบันทึกระดับคะแนนนั้นเป็นรายการเปลี่ยนแปลง เมื่อบันทึกเสร็จแล้ว ก้จะนำรายการเปลี่ยนแปลงนี้ไปแก้ไขปรับปรุงแฟ้มข้อมูลนักเรียนให้มีระดับคะแนนใหม่ต่อไป [คอมพิวเตอร์] |
Induced mutation | การกลายพันธุ์จากการเหนี่ยวนำ, การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ ของเซลล์สิ่งมีชีวิต โดยการใช้รังสีแกมมา หรือสารเคมีบางชนิด เหนี่ยวนำให้เกิดการกลาย [นิวเคลียร์] |
direct action | การกระทำโดยตรง, รังสีถ่ายเทพลังงานโดยตรงให้กับชีวโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น ดีเอ็นเอ และโปรตีน แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโมเลกุลนั้น [นิวเคลียร์] |
Change of management’s securities holdling : Form 59-2 | รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ของผู้บริหาร (แบบ 59-2), Example: รายงานการถือหลักทรัพย์ของผู้บริหารและผู้สอบบัญชี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของการถือหลักทรัพย์ของผู้บริหารและผู้สอบบัญชี เนื่องจากผู้บริหารและผู้สอบบัญชีเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับข้อมูลภายในบริษัท โดยจะต้องรายงานภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีการซื้อ ขาย โอน หรือโอนหลักทรัพย์นั้น [ตลาดทุน] |
Attitude change | การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ [TU Subject Heading] |
Coast changes | การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเล [TU Subject Heading] |
Indirect action | การกระทำโดยอ้อม, การที่รังสีถ่ายเทพลังงานให้กับโมเลกุนของน้ำ มีผลให้เกิดอนุมูลเสรี ซึ่งมีความไวในการทำปฏิกิริยาทางเคมีกับชีวโมเลกุล แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโมเลกุลนั้น [นิวเคลียร์] |
Landscape changes | การเปลี่ยนแปลงทางภูมิภาพ [TU Subject Heading] |
Linguistic change | การเปลี่ยนแปลงทางภาษา [TU Subject Heading] |
Peaceful change (International relations) | การเปลี่ยนแปลงเพื่อสันติภาพ (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) [TU Subject Heading] |
Personality change | การเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ [TU Subject Heading] |
Plant morphogenesis | การเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาของพืช [TU Subject Heading] |
Rebus sic stantibus clause | การเปลี่ยนแปลงไปซึ่งมูลเหตุในสัญญา [TU Subject Heading] |
Social change | การเปลี่ยนแปลงทางสังคม [TU Subject Heading] |
Directed Differentiation | การควบคุมการเปลี่ยนแปลงเซลล์ต้นตอให้เป็นเซลล์ชนิดจำเพาะที่ต้องการภายใต้สภาวะควบคุมในห้องทดลอง [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Transdifferentiation | กระบวนการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ต้นตอจากเนื้อเยื่อชนิดหนึ่งไปเป็นเซลล์ชนิดจำเพาะของเนื้อเยื่อชนิดอื่น [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
United Nations Framework Convention on Climate Change (1992) | ข้อตกลงว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกขององค์การสหประชาชาติ (ค.ศ. 1992) [TU Subject Heading] |
United Nations Framework Convention on Climate Change (1992). Protocols, etc., 1997 Dec. 11. | อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ค.ศ.1992). พิธีสาร (11 ธ.ค. ค.ศ. 1997) [TU Subject Heading] |
Plasticity | ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ต้นตอจากเนื้อเยื่อชนิดหนึ่งไปเป็นเซลล์ชนิดจำเพาะของเนื้อเยื่อชนิดอื่น [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Pluripotent | คุณสมบัติของเซลล์ต้นตอในการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของเซลล์ต้นตอในการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์จำเพาะของเนื้อเยื่อชนิดอื่น ๆ ได้หลายชนิด, Example: แต่เซลล์ต้นตอชนิดพลูริโพเทนท์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุดของตัวอ่อน (Extraembryonic Tissues) ได้ ซึ่งเนื้อเยื่อนี้ได้แก่ ถุงน้ำคร่ำ (Amnion) เยื่อหุ้มตัวอ่อน (Chorion) และองค์ประกอบของรก (Placenta) [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Multipotent | คุณสมบัติของเซลล์ต้นตอในการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์จำเพาะชนิดอื่นได้หนึ่งชนิดหรือมากกว่า [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Structural Change | การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ, Example: การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะยาว ในองค์ประกอบสำคัญของระบบเศรษฐกิจ ภายในประเทศและระหว่างประเทศ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในระบบเศรษฐกิจเป็นการชั่วคราว หรือเกิดขึ้นในระยะสั้นไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ที่มีการปฏิวัติอุสาหกรรมเกิดขึ้น ในประเทศส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของตน ให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมมากขึ้น เนื่องจากได้รับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น การเกษตรก็ได้เปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิมที่เป็นเพียงเกษตรพอยังชีพ มาเป็นเกษตรเชิงพาณิชย์ อัตราส่วนของแรงงานที่อยู่ในภาคการเกษตรลดลง ความสำคัญของอุตสาหกรรมมีมากขึ้นและในท้ายที่สุดก็จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง เข้าสู่อุตสาหกรรมบริการ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่สำคัญอื่นๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงในลำดับความสำคัญของอุตสาหกรรมต่างๆ การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบสินค้าเข้าและสินค้าออก [สิ่งแวดล้อม] |
Inter-Diurnal Temperature Variation | การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในช่วงวันหนึ่ง ๆ, Example: คือค่าตัวเลขที่แตกต่างระหว่างอุณหภูมิเฉลี่ย แต่ละวันของ 2 วันติดต่อกัน (two consecutive days) [สิ่งแวดล้อม] |
Biotransformation | การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ, Example: การเปลี่ยนแปลงทาง metabolic ที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต มีความหมาย เหมือน metabolic conversion หรือ metabolic transformation ขบวนการดังกล่าวจะเปลี่ยนสารแปลกปลอมในร่างกายไปอยู่ในรูปอื่น ปกติจะก่อให้เกิดสารที่มีลักษณะเป็น polar มากขึ้น และละลายน้ำได้ดี ซึ่งจะขับถ่ายออกจากร่างกายได้อย่างรวดเร็ว และมักจะเปลี่ยนไปเป็นสารที่มีพฺษน้อยลง แต่อย่างไรก็ตามมีบางกรณีที่การเมตาบอไลท์จะเปลี่ยนไปเป็นสารที่มีพิษสูงว่า [สิ่งแวดล้อม] |
Demographic Transition | การเปลี่ยนแปลงประชากร, Example: เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะ ที่ทั้งภาวะเจริญพันธ์และภาวะการตาย ลดจากระดับสูงมาสู่ระดับต่ำ ซึ่งระหว่างนั้น อาจทำให้ประชากรเพิ่มขึ้นในช่วงการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากภาวะการตายลดลงอย่างเร็วขณะที่ภาวะเจริญพันธ์ยังคงสูงอยู่ หรือลดลงช้ากว่า การเปลี่ยนแปลงประชากรบางทีก็เรียกว่าการปฏิวัติชีพ (vital revolution) [สิ่งแวดล้อม] |
Population Transition | การเปลี่ยนแปลงประชากร, Example: Demographic transition หมายถึง เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะ ที่ทั้งภาวะเจริญพันธ์และภาวะการตาย ลดจากระดับสูงมาสู่ระดับต่ำ ซึ่งระหว่างนั้น อาจทำให้ประชากรเพิ่มขึ้นในช่วงการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากภาวะการตายลดลงอย่างเร็วขณะที่ภาวะเจริญพันธ์ยังคงสูงอยู่ หรือลดลงช้ากว่า การเปลี่ยนแปลงประชากรบางทีก็เรียกว่าการปฏิวัติชีพ (vital revolution) [สิ่งแวดล้อม] |
climate change | การเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ [การทูต] |
emerging markets | ตลาดเกิดใหม่ มี 2 ความหมาย ความหมายที่ 1 คือ ตลาดที่อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เริ่มเติบโตขึ้นและซับซ้อน มากขึ้น ส่วนความหมายที่ 2 คือ ตลาดในประเทศกำลังพัฒนาที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อไปได้ [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Great Powers | ประเทศมหาอำนาจ รัฐที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นประเทศมหาอำนาจ คือรัฐที่มีอำนาจอิทธิพลครอบงำในกิจการระหว่างประเทศ ไม่มีกฎหมายใดๆ ที่จะกำหนดว่าประเทศนั้น ประเทศนี้มีสถานภาพเป็นมหาอำนาจ หากเป็นเพียงเพราะรัฐนั้นๆ มีขนาด พละกำลัง และอำนาจอิทธิพลทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐาน และจะสังเกตได้ว่า สถานะของกลุ่มประเทศมหาอำนาจเช่นนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงได้บ่อยๆ เช่น ในสมัยการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาในปี ค.ศ. 1815 ประเทศมหาอำนาจในสมัยนั้นได้แก่ อังกฤษ ออสเตรีย ฝรั่งเศส ปอร์ตุเกส ปรัสเซีย สเปน สวีเดน และรัสเซีย หลังจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่เกี่ยวกับพละกำลังของประเทศมหาอำนาจ คือก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ หนึ่ง ประเทศที่จัดว่าเป็นมหาอำนาจในตอนนั้นคือ อังกฤษ ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปยุโรป รวมทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่นอกยุโรป เมื่อตอนสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศที่เป็นมหาอำนาจได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ โซเวียตรัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน พึงสังเกตด้วยว่า องค์การสหประชาชาติได้ถือว่า ประเทศทั้ง 5 นี้มีอำนาจและมีความสำคัญมากที่สุดในขณะนั้น ทั้ง 5 ประเทศนี้ต่างเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ซึ่งมีอำนาจใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในที่ประชุม ซึ่งในปัจจุบันก็ยังปฏิบัติเช่นนั้นอยู่ [การทูต] |
High Level Panel on Threats, Challenges and Change | คณะผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงว่าด้วยภัยคุกคาม ความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง แต่งตั้งโดยนาย Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 16 คน มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายก - รัฐมนตรีเป็นประธาน [การทูต] |
Look West Policy | นโยบายมองตะวันตก (ของไทย) เป็นแนวความคิดที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในทางการ เมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของยุคหลังสงครามเย็น ประเทศเป้าหมาย ได้แก่ ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา [การทูต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0401 seconds, cache age: 3.008 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม