78 ผลลัพธ์ สำหรับ *กรกฎาคม*
ภาษา
หรือค้นหา: กรกฎาคม, -กรกฎาคม-Longdo Unapproved KO - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
동방신기 | [ทงบังชินกิ] (n, uniq) เป็นบอยแบนด์จากเกาหลีใต้ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 2003 ในสังกัดเอสเอ็มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ชื่อวงแปลว่า "เหล่าเทวาผู้เจิดจรัสแห่งบุรพทิศ" แรกก่อตั้ง วงประกอบด้วยสมาชิก 5 คน คือ ยูโน ยุนโฮ หัวหน้าวง, ชเวคัง ชางมิน, ยองอุง แจจุง, มิกกี ยูชอน และซีอา จุนซู กระทั่งเดือนกรกฎาคม 2009 แจจุง ยูชอน และจุนซู ฟ้องร้องตันสังกัด กิจกรรมต่าง ๆ ของวงจึงหยุดเป็นเวลา 2 ปี 3 เดือน ภายหลัง สมาชิกทั้งสามลาออกไปตั้งวงใหม่ชื่อ เจวายเจ (JYJ) สังกัดซีเจสเอนเตอร์เทนเมนต์ (C-JeS Entertainment) ทงบังชินกีจึงกลายเป็นกลุ่มนักร้องคู่โดยเหลือสมาชิกคือ ยุนโฮ และ ชางมิน |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
กรกฎาคม | (n) July, Syn. เดือนกรกฎาคม, Example: โรงเรียนมีโปรแกรมจัดทัศนศึกษานอกสถานที่ในวันที่ 20 เดือนกรกฎาคมนี้, Thai Definition: ชื่อเดือนที่ 7 ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี 31 วัน |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กรกฎาคม | (กะระกะ-, กะรักกะ-) น. ชื่อเดือนที่ ๗ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๔ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. |
เดือนสุริยคติ | (-สุริยะคะติ) น. ช่วงเวลาประมาณ ๑ ใน ๑๒ ของปีสุริยคติ ได้แก่เดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม เดือนที่ลงท้ายด้วยอายนมี ๓๐ วัน เดือนที่ลงท้ายด้วยอาคมมี ๓๑ วัน และเดือนที่ลงท้ายด้วยอาพันธ์มี ๒๘ หรือ ๒๙ วัน. |
แปด ๑ | ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่าเดือน ๘ ตกในราวเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม, ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน เรียกว่า เดือน ๘ แรก และ ๘ หลัง. |
พสุสงกรานต์ | น. พระอาทิตย์โคจรมาถึงจุดใกล้สุดกับโลกในราววันที่ ๔ มกราคม เรียกว่า พสุสงกรานต์เหนือ (perihelion) กับโคจรไปถึงจุดไกลสุดจากโลกในราววันที่ ๓ กรกฎาคม เรียกว่า พสุสงกรานต์ใต้. |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
ASEAN Ministerial Meeting | การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน " เป็นการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน โดยประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นประธานคณะกรรมการประจำอาเซียนจะเป็น เจ้าภาพ ส่วนใหญ่จะจัดการประชุมในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี " [การทูต] |
ASEAN Regional Forum | การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต] |
Convention on Elimination of All Forms of Discrimination Against Women | อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2522 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2527 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบและเพื่อความ เสมอภาคระหว่างสตรีและบุรุษในทุกด้าน ขณะนี้มีประเทศต่าง ๆ เป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว 167 ประเทศ (ข้อมูลถึงกรกฎาคม 2543) ไทยยังคงมีข้อสงวนอีก 2 ข้อ ในอนุสัญญาฯ คือ ข้อ 16 เรื่องความเสมอภาคในด้านครอบครัวและการสมรส และ ข้อ 29 เรื่องการระงับการตีความ การระงับข้อพิพาท โดยรับอนุญาโตตุลาการ [การทูต] |
Drug-Free ASEAN | อาเซียนที่ปลอดจากยาเสพติด เป็นคำประกาศของอาเซียนในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 31 ที่กรุงมะนิลา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยการตั้งเป้าหมาย ที่จะทำให้ภูมิภาคนี้ปลอดจากยาเสพติดในปี พ.ศ. 2563 และต่อมา ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 33 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 ได้ประกาศร่นกำหนดเวลาดังกล่าวให้เร็วขึ้น 5 ปี จากเดิมในปี พ.ศ. 2563 เป็นปี พ.ศ. 2558 [การทูต] |
Flexible Engagement | ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่น " ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่นเป็นข้อเสนอของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยที่เสนอในการประชุมรัฐมนตรีต่าง ประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting : AMM) ครั้งที่ 31 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการหารือและแลก เปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ เปิดกว้างและเป็นกันเองในเรื่องหรือประเด็นต่าง ๆ ที่เห็นว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกันหรือที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์และความ มั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันสืบเนื่องจากการที่อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศ และอยู่ในภาวะที่เผชิญปัญหาท้าทายต่าง ๆ ซึ่งมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกัน " [การทูต] |
Ganga-Suwanabhumi-Mekong Cooperation | ความร่วมมือลุ่มน้ำคงคา-สุวรรณภูมิ-ลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย ไทย-ลาว-พม่า-เวียดนาม-กัมพูชา และอินเดีย เป็นกรอบความร่วมมือที่เสนอในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับ รัฐมนตรีต่างประเทศประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 33 เมื่อ 28 กรกฎาคม 2543 โดยมีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2543 [การทูต] |
Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-China | การประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต] |
International Finance Corporation | คือบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1956 และเริ่มมีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษที่มีสัมพันธ์กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957 แม้บรรษัทจะดำเนินงานใกล้ชิดกับธนาคารโลก แต่ก็มีฐานะเป็นสิ่งที่มีตัวตนทางกฎหมายแยกต่างหาก และมีกองทุนที่แตกต่างจากกองทุนของธนาคารโลกด้วยวัตถุประสงค์ของบรรษัทคือ ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนให้การผลิตของวิสาหกิจของเอกชนในประเทศสมาชิกเจริญเติบโตยิ่ง ขึ้น การที่จะกระทำตามวัตถุประสงค์นี้ได้ บรรษัทจะนำเงินไปลงทุนในวิสาหกิจด้านการผลิตฝ่ายเอกชน โดยดำเนินงานร่วมกับเอกชนผู้ลงทุน ทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) คล้ายกับเป็นแหล่งรวมโอกาสต่าง ๆ ของการลงทุนฝ่ายเอกชนทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ รวมทั้งฝ่ายจัดการที่มีประสบการณ์ชำนาญ นอกจากนั้น ยังช่วยกระตุ้นการลงทุนด้านการผลิตของเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศด้วย บรรษัทยังได้รับอนุญาตให้ทำการกู้ยืมเงินโดยใช้วิธีขายพันธบัตรของตนเอง รวมทั้งตั๋วสัญญาการใช้เงินบรรษัทการเงินระหว่างประเทศดำเนินงานโดยองค์กร ต่าง ๆ ของตน คืออำนาจทั้งหมดของบรรษัทจะขึ้นอยู่กับคณะผู้ว่าการ (Board of Govemors) ประกอบด้วยผู้ว่าการและผู้ว่าการสำรอง (Altemates) จากธนาคารโลกซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศต่าง ๆ อันเป็นสมาชิกของบรรษัทด้วย คณะผู้ว่าการจะคอยควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของบรรษัทให้ถูกต้อง ตัวประธานธนาคารโลก จะทำหน้าที่เป็นประธานคณะผู้ว่าการของบรรษัทโดยตำแหน่งด้วย บรรษัทมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] |
Joint Declaration for a Socially Cohesive and Caring ASEAN | ปฏิญญาร่วมว่าด้วยสังคมที่เป็นปึกแผ่นและเอื้ออาทรในอาเซียน เป็นคำประกาศของอาเซียนซึ่งมีการลงนามที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้มีการดำเนินโครงการด้านโครงข่ายรองรับทาง สังคมในภูมิภาคนี้ร่วมกันอย่างจริงจัง ในอันที่จะเป็นการนำอาเซียนไปสู่การเป็นสังคมที่มีความเป็นปึกแผ่นและเอื้อ อาทรตามวิสัยทัศน์อาเซียนปี พ.ศ. 2563 [การทูต] |
Mekong - Ganga Cooperation | ความร่วมมือแม่นำโขง - คงคา ริเริ่มขึ้นเมื่อกรกฎาคม พ.ศ.2543 ที่กรุงเทพฯ มีสมาชิก 6 ประเทศ คือกัมพูชา อินเดีย ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมโยง ระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกับประเทศในลุ่มแม่น้ำคงคาในด้านการ ท่องเที่ยว การศึกษาวัฒนธรรม และคมนาคมขนส่งโดยอาศัยปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เกื้อกูลกันและความสัมพันธ์ที่ ดีระหว่างกัน และเป็นยุทธศาสตร์เชื่อมโยง GMS (จีน) ไปสู่อินเดีย [การทูต] |
The New Partnership for Africa?s Development | หุ้นส่วนใหม่เพื่อการพัฒนาแอฟริกา เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแอฟริกา มีวัตถุประสงค์ในการ ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศแอฟริกา การขจัดความยากจนและการขจัดความเสียเปรียบของประเทศแอฟริกาในยุคโลกาภิวัตน์ NEPAD พัฒนามาจากการประชุม สุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ G8 ที่ญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งในการประชุมนี้ ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ ประธานาธิบดีไนจีเรีย และประธานาธิบดี แอลจีเรียได้เสนอต่อที่ประชุม ขอให้กลุ่มประเทศเหนือและประเทศใต้ร่วมกันแก้ปัญหาที่ทั้งสองกลุ่มประเทศ เผชิญอยู่ บนพื้นฐานของ ผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเน้นการพัฒนาประเทศที่ยากจน เช่น ประเทศ ในภูมิภาคแอฟริกา ต่อมาบรรดาผู้นำของกลุ่มประเทศแอฟริกาได้ร่วมกันกำหนดแผนพัฒนาแอฟริกาสำหรับ ใช้ขอรับการสนับสนุนจากประเทศพัฒนาแล้วในเวทีการประชุมระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เรียกว่า New Africa Initiative (NAI) ที่ประชุมองค์การเอกภาพแอฟริกา หรือ OAU (ซึ่งต่อมากลายเป็น African Union ? AU) ได้เห็นชอบต่อแผน NAI ดังกล่าวในเดือนกรกฎาคม 2544 ผู้นำของประเทศแอฟริกาได้นำเสนอ NAI ต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ G8 เมื่อปี พ.ศ. 2544 และได้รับการปรับปรุงแก้ไขจนเป็น NEPAD ในปัจจุบัน [การทูต] |
New Zealand's International Aid & Development Agencies | หน่วยงานความช่วยเหลือด้านการพัฒนาของนิวซีแลนด์ เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่แทน NZODA (New Zealand?s Official Development Assistance Program) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2545 โดยเป็นหน่วยงานด้านนโนยายและปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือด้าน การพัฒนา ลักษณะการดำเนินงานเป็นอิสระ แต่ยังขึ้นตรงต่อกระทรวงการต่างประเทศและการค้า นิวซีแลนด์ มีวัตถุประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา โดยมีเป้าหมายหลัก เพื่อขจัดความยากจน การพัฒนาการศึกษาขั้นมูลฐาน และเน้นการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในภูมิภาคแปซิฟิกเป็นลำดับแรก [การทูต] |
PA | Palestinian Authority หรือ Palestinian National Authority (PNA) เป็นองค์การบริหารดินแดนยึดครอง (Occupied Territories) ในเขต Gazza และเขต West Bank ได้รับการจัดตั้งเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2537 ซึ่งเป็นผลจากความตกลงออสโล (Oslo Accords) ระหว่างอิสราเอลกับ Palestinian Liberation Organization (PLO) เพื่อเป็นองค์กรบริหารดินแดนยึดครองก่อนที่การเจรจา Final Statua จะประสบความสำเร็จ [การทูต] |
Potsdam Proclamation | คือคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม ออกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 โดยหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน ลงนามโดยประธานาธิบดีของรัฐบาลจีนคณะชาติ เป็นคำประกาศเมื่อตอนใกล้จะเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฝ่ายสัมพันธมิตรดังกล่าวกำลังทำสงครามขับเคี่ยวอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่น พึงสังเกตว่า สหภาพโซเวียต ในตอนนั้นมิได้มีส่วนร่วมในการออกคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดมแต่อย่างใดโดยแท้จริงแล้ว คำประกาศนี้เท่ากับเป็นการยื่นคำขาดให้ฝ่ายญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกเอาว่าจะทำ การสู้รบต่อไป หรือจะยอมจำนนเพื่อยุติสงคราม คำประกาศได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า หากญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะสู้รบต่อไป แสนยานุภาพอันมหาศาลของสัมพันธมิตรก็จะมุ่งหน้าโจมตีบดขยี้กองทัพและประเทศ ญี่ปุ่นให้แหลกลาญ แต่หากว่าญี่ปุ่นยอมโดยคำนึงถึงเหตุผล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ตั้งเงื่อนไขไว้หลายข้อ สรุปแล้วก็คือ ลัทธิถืออำนาจทหารเป็นใหญ่จะต้องถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปจากโลกอำนาจและอิทธิพล ของบรรดาผู้ที่ชักนำให้พลเมืองญี่ปุ่นหลงผิด โดยกระโจนเข้าสู่สงครามเพื่อครองโลกนั้น จะต้องถูกทำลายให้สิ้นซาก รวมทั้งพลังอำนาจในการก่อสงครามของญี่ปุ่นด้วยจุดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด จะต้องถูกยึดครองไว้จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของสัมพันธมิตรเป็นผล สำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นให้จำกัดอยู่เฉพาะภายในเกาะฮอนซู ฮ็อกไกโด กิวชู ชิโกกุ และเกาะเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด อาชญากรสงครามทุกคนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาล รวมทั้งที่ทำทารุณโหดร้ายต่อเชลยศึกของสัมพันธมิตร รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องกำจัดสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่เป็นอุปสรรคต่อการรื้อฟื้น และเสริมสร้างความเชื่อถือในหลักประชาธิปไตยในระหว่างพลเมืองญี่ปุ่น และจัดให้มีเสรีภาพในการพูด การนับถือศาสนา และในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมที่จะเกื้อกูลต่อภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถที่จะชำระค่าปฏิกรรมสงคราม แต่จะไม่ยอมให้คงไว้ซึ่งกิจการอุตสาหกรรมชนิดที่จะช่วยให้ญี่ปุ่นสร้างสม อาวุธเพื่อทำสงครามขึ้นมาอีก ในทีสุด กำลังทหารสัมพันธมิตรจะถอนตัวออกจากประเทศญี่ปุ่นในทันทีที่จุดประสงค์ต่าง ๆ ได้บรรลุผลเรียบร้อยแล้ว ในตอนท้ายของเงื่อนไข สัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เสียโดยไว [การทูต] |
Skylab | สกายแลบ, ห้องปฏิบัติการอวกาศของสหรัฐอเมริกา ขึ้นไปโคจรอยู่ในอวกาศรอบโลกเมื่อวันที่14 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และตกลมาสู่โลกบริเวณมหาสมุทรอินเดียและที่ว่างภาคเหนือของประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
เดือนกรกฎาคม | [deūoen karakadākhom] (n, exp) EN: July FR: mois de juillet [ m ] ; juillet [ m ] |
กรกฎาคม | [karakadākhom] (n) EN: July FR: juillet [ m ] |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
July | (n) กรกฎาคม |
July | (n) เดือนกรกฎาคม |
Hope Dictionary
bastille | (เบสทีล') n. คุกและป้อมปราการที่ขังนักโทษการเมืองในกรุงปารีส และถูกพวกกบฏยึดได้เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789, คุก, ป้อมปราการ, Syn. bastile |
july | (จูไล') n. กรกฎาคม |
Nontri Dictionary
July | (n) เดือนกรกฎาคม |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.1991 seconds, cache age: 29.779 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม