258 ผลลัพธ์ สำหรับ *ไปสู่*
ภาษา
หรือค้นหา: ไปสู่, -ไปสู่-NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
นำไปสู่ | (v) bring about to, See also: go to be, Example: ตำแหน่งนางงามของเธอนำไปสู่การมีชื่อเสียงบนถนนบันเทิง |
ไปสู่สุขคติ | (v) go to heaven, Syn. ไปสู่สวรรค์, Example: ขอให้วิญญาณตำรวจผู้กล้าจงไปสู่สุขคติ |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กระบวนการ | น. ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบ ไปสู่ผลอย่างหนึ่ง เช่น กระบวนการเจริญเติบโตของเด็ก, กรรมวิธีหรือลำดับการกระทำซึ่งดำเนินต่อเนื่องกันไปจนสำเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง เช่น กระบวนการเคมีเพื่อผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. |
กาลักน้ำ | น. เครื่องมืออย่างง่ายซึ่งอาศัยความดันของอากาศเพื่อใช้ถ่ายเทของเหลวออกจากภาชนะ โดยใช้หลอดหรือท่อที่ใช้ถ่ายเทของเหลวจากระดับหนึ่งไปสู่ระดับที่ตํ่ากว่า โดยไหลผ่านระดับที่สูงกว่าระดับทั้ง ๒ นั้น. |
กิน | ก. เคี้ยว เช่น กินหมาก, เคี้ยวกลืน เช่น กินข้าว, ดื่ม เช่น กินนํ้า, ทำให้ล่วงลำคอลงไปสู่กระเพาะ |
ขีปนาวุธ | (ขีปะ-) น. อาวุธซึ่งถูกส่งออกไปจากผิวพิภพเพื่อใช้ประหัตประหารหรือทำลายในการสงคราม โดยมีการบังคับวิถีในตัวเองเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย การบังคับวิถีนี้บังคับเฉพาะตอนขึ้นเท่านั้น มีหลายชนิด เช่น ขีปนาวุธข้ามทวีป. |
ขึ้น ๑ | ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือเบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับลง |
คลี | การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่งแต่ละฝ่ายใช้ไม้ตีลูกกลมซึ่งทำด้วยไม้ขนาดลูกมะนาวหรือโตกว่าเล็กน้อย ฝ่ายที่ตีลูกไปสู่ที่หมายทางฝ่ายของตนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ |
ชั้นฉาย | น. ชื่อหน่วยในมาตราวัดเวลาในสมัยโบราณ วัดโดยอาศัยการวัดเงาของตัวคนที่เกิดจากแสงแดดด้วยระยะความยาวของฝ่าเท้าของบุคคลนั้น ตอนเช้าหรือเย็นเงาจะทอดยาว และตอนเที่ยงเงาจะสั้นที่สุดหรืออาจไม่มีเลย เงาจะเปลี่ยนสั้นยาวได้จากเดือนหนึ่งไปสู่อีกเดือนหนึ่ง, เงายาว ๑ ฝ่าเท้า เรียกว่า ๑ ชั้นฉาย สามารถเทียบเวลาได้ ถ้าเป็นตอนเช้าเท่ากับ ๑๑.๔๕ นาฬิกา ถ้าเป็นตอนบ่ายเท่ากับ ๑๒.๑๕ นาฬิกา เช่น ปีขาลวันอังคารเดือนห้า ตกฟากเวลาสามชั้นฉาย (ขุนช้างขุนแผน). |
ซุ้ม ๔ | น. ส่วนประกอบของจะเข้ ทำหน้าที่เป็นหย่องใช้พาดสายไปสู่ลูกบิด. |
เดินทาง | ก. ไปสู่ที่ใดที่หนึ่งที่ไกลออกไป เช่น เขาใช้เวลาเดินทางจากบ้านไปที่ทำงานประมาณ ๒ ชั่วโมง. |
ทางสายกลาง | น. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางสายเดียวที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง |
ทิว- ๓, ทิวะ | สวรรค์, ชั้นฟ้า, เทวโลก, เช่น ทิวงคต คือ ไปสู่เทวโลก หมายถึง ตาย. |
ทิวงคต | (ทิวงคด) ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้แก่สมเด็จพระยุพราช หรือเจ้าฟ้าซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเฉลิมพระยศเป็นพิเศษ). |
นำทาง | ก. พาไปสู่ที่หมาย, นำไปให้ถูกทาง. |
บริโภค | (บอริโพก) ก. กิน (ใช้เฉพาะอาการที่ทำให้ล่วงลำคอลงไปสู่กระเพาะ) เช่น บริโภคอาหาร, เสพ เช่น บริโภคกาม |
บันได | น. สิ่งที่ทำเป็นขั้น ๆ สำหรับก้าวขึ้นลง, กระได ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึง บุคคลหรือสิ่งที่อาศัยใช้ไต่เต้าขึ้นไปสู่ฐานะหรือตำแหน่งที่สูงขึ้นไป. |
บ่ายหน้า | ก. เปลี่ยนไปสู่ทิศทางใดทิศทางหนึ่ง, หันหน้า, เช่น บ่ายหน้าไปทางทิศเหนือ, มุ่งหน้า เช่น ยามเย็นชาวนาบ่ายหน้ากลับบ้าน. |
บุญทาย | ว. ควรเป็นเนื้อคู่กัน เช่น ไปสู่ขอลูกสาวหลานสาวท่าน บุญทายต้องกัน. |
ประสาท ๑, ประสาท- ๑ | (ปฺระสาทะ-) น. ส่วนของร่างกาย มีลักษณะคล้ายเส้นใย มีหน้าที่นำคำสั่งและความรู้สึกไปสู่หรือออกจากสมองหรืออวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย, โดยปริยายหมายความว่า จิตใจ, ความรู้สึก. |
พรหมบถ | น. ทางไปสู่พระพรหม, ทางไปสู่ความดีสูงสุด. |
พรหมยาน | น. ยานที่นำไปสู่ความเป็นพรหม คือการบริจาคอันยิ่งใหญ่ เช่นบุตรทารทาน. |
พลศึกษา | (พะละ-) น. การศึกษาที่จะนำไปสู่ความเจริญงอกงามและพัฒนาการทางร่างกาย. |
พุทธาภิเษก | น. ชื่อพิธีในการปลุกเสกพระพุทธรูปหรือวัตถุมงคล โดยมีพระเถระผู้เชี่ยวชาญในการทำสมาธิจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า คณะปรก นั่งภาวนาส่งกระแสจิตเพ่งคุณพระรัตนตรัยเข้าไปสู่องค์พระหรือวัตถุมงคลนั้น ๆ. |
มรรค, มรรค-, มรรคา | ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ–ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ–ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา–การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ–การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ–การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ–ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ–ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ–ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. |
มาตรการ | วิธีการที่จะปรับเข้าไปสู่ผลสำเร็จ เช่น วางมาตรการในการดำเนินงาน. |
มุ่งหน้า | ก. ตรงไปสู่จุดหมาย เช่น เขามุ่งหน้าไปโรงเรียน. |
มุทธชะ | (มุดทะ-) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากการม้วนลิ้นไปสู่เพดานแข็งตอนหลัง ได้แก่พยัญชนะวรรค ฏ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ และอักษร ร รวมทั้งอักษร ฬ ในภาษาบาลี และ ษ กับ ฤ ฤๅ ในภาษาสันสกฤต. |
เม็ดเลือด, เม็ดโลหิต | น. เซลล์ซึ่งอยู่ในกระแสเลือด มี ๒ ชนิด คือ ชนิดที่มีหน้าที่นำออกซิเจนไปสู่เซลล์ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เรียกว่า เม็ดเลือดแดง และชนิดที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและทำลายเชื้อโรคในร่างกาย เรียกว่า เม็ดเลือดขาว. |
ย่างเหยียบ | ก. เข้าไปสู่, เดินเข้าไป, ย่างเข้าสู่, เหยียบย่าง ก็ว่า. |
ย้าย | ก. ทำให้เคลื่อนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น ย้ายเก้าอี้ไปไว้มุมห้อง เขาโดนย้ายไปอยู่ชายแดน, เปลี่ยนไปสู่อีกที่หนึ่ง เช่น ย้ายบ้าน ย้ายห้องประชุม ย้ายสำมะโนครัว. |
ระนาบเอียง | น. สิ่งที่มีพื้นแบนเรียบเอียงทำมุมแหลมกับพื้นระดับ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องกลอย่างง่ายสำหรับเลื่อนเทหวัตถุหนักไปสู่ระดับที่ต้องการโดยที่สามารถพักเทหวัตถุนั้นได้เป็นระยะ ๆ. |
รับ | ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้ เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉันไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่างประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร |
เร่ | ก. เที่ยวไปหลายแห่งไม่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ (ใช้แก่การค้าย่อย หรือรับจ้างขนส่งซึ่งไม่ประจำที่) เช่น เร่ขายของ, เตร่, เดินไปมาไม่เป็นตำแหน่งแห่งที่, เช่น เร่ไปคุยที่โต๊ะโน้นบ้างโต๊ะนี้บ้าง, อาการที่หันเหและเวียนเคลื่อนที่จากจุดเดิมไปสู่อีกที่หนึ่ง เช่น เดินกลับบ้านเห็นคนเล่นหมากรุกก็เลยเร่ไปเล่นด้วย. |
ลง | ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ |
ลง | ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง |
ลมบก | น. ลมที่พัดออกจากฝั่งไปสู่ทะเลในเวลากลางคืน เนื่องจากอุณหภูมิของนํ้าทะเลอุ่นกว่าอุณหภูมิของพื้นดินที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือผิวนํ้าจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงพัดเข้าไปแทนที่. |
ลาดทวีป | น. ที่ลาดสูงชันต่อจากขอบไหล่ทวีปลงไปสู่ทะเลลึก. |
ลาดเท | น. พื้นผิวที่เอียงลาดจากบริเวณที่สูงกว่าไปสู่บริเวณที่ตํ่ากว่า. |
ลิ้น ๒ | น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่งในเครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายใน ทำหน้าที่เป็นวาล์วปิดเปิดเป็นจังหวะ ชุดหนึ่งเรียกว่า ลิ้นไอดี สำหรับให้อากาศหรืออากาศผสมน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ อีกชุดหนึ่งเรียกว่า ลิ้นไอเสีย สำหรับให้แก๊สต่าง ๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้ออกจากห้องเผาไหม้ไปสู่ท่อไอเสีย, วาล์ว ก็เรียก. |
วาล์ว | น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่งในเครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายใน ทำหน้าที่เป็นลิ้นปิดเปิดเป็นจังหวะ ชุดหนึ่งเรียกว่า ลิ้นไอดี สำหรับให้อากาศหรืออากาศผสมนํ้ามันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ อีกชุดหนึ่งเรียกว่า ลิ้นไอเสีย สำหรับให้แก๊สต่าง ๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้ออกจากห้องเผาไหม้ไปสู่ท่อไอเสีย, ลิ้น ก็เรียก. |
วิวัฒนาการ | (วิวัดทะนากาน) น. กระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือคลี่คลายไปสู่ภาวะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น เช่น วิวัฒนาการแห่งมนุษยชาติ วิวัฒนาการแห่งศิลปวัฒนธรรม. |
ไวรัสคอมพิวเตอร์ | น. ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถแพร่ไปสู่โปรแกรมอื่น ๆ ด้วยการสำเนาตัวเองไปไว้ในโปรแกรมนั้น ๆ ซึ่งอาจทำความเสียหายแก่โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูล. |
สวรรคต, เสด็จสวรรคต | (สะหฺวันคด, สะเด็ด-) ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้แก่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี หรือผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเป็นการเฉพาะ เช่น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร). |
สื่อมวลชน | น. สื่อกลางที่นำข่าวสาร สาร และเนื้อหาสาระทุกประเภทไปสู่มวลชน เช่นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนตร์, (ปาก) นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ เป็นต้น. |
สุคติ | (สุคะติ, สุกคะติ) น. ภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความสุขความสบาย, สวรรค์, เช่น ขอให้วิญญาณไปสู่สุคติ. |
สู่ | บ. ยัง เช่น คืนสู่เหย้า ขอจงไปสู่สุคติ. |
สู่ขอ | ก. เจรจาขอหญิงจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองเพื่อการแต่งงาน เช่น เขาขอให้พ่อแม่ไปสู่ขอลูกสาวกำนัน. |
สู้รบตบมือ | ก. ต่อสู้, ทะเลาะวิวาท, เช่น เราจะเอากำลังที่ไหนไปสู้รบตบมือกับคนมีอำนาจอย่างเขา เขาไม่ยอมสู้รบตบมือด้วย. |
สูบ ๑ | น. เครื่องสำหรับดูดของเหลวเช่นนํ้าให้เคลื่อนจากระดับเดิมไปสู่ระดับใหม่, เครื่องสำหรับดูดหรืออัดลม. |
เสด็จสวรรคต, สวรรคต | (-สะหฺวันคด) ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้แก่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรม-ราชินี หรือผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเป็นการเฉพาะ เช่น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าบรม-วงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร). |
หลอดเลือด | น. ส่วนของร่างกายที่มีลักษณะเป็นหลอดสำหรับนำเลือดไปสู่หรือออกจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย, เส้นเลือด ก็เรียก. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
cerebripetal | ไปสู่สมอง [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
ventrodorsad | -จากท้องไปสู่หลัง [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Innovation | นวัตกรรม, นวัตกรรม หรือนวกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมา หรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่และเหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลองพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น โดย มีหลักการที่สำคัญอยู่ 3 ประการ ที่จัดเป็นหลักพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาหรือไม่ คือ <ul><li>สิ่งนั้นควรเป็นสิ่งที่ค้นพบ หรือประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ หรือการปรับปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมกับกาลสมัยมาใช้ในวงการศึกษา เพื่อให้ระบบการศึกษาก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ</li><li>ได้ผ่านการทดลอง การปรับปรุงพัฒนา จนเป็นที่ยอมรับกับอย่างแพร่หลาย</li><li>ได้มีการนำมาปฏิบัติจริงในวงการนั้น</li></ul> [เทคโนโลยีการศึกษา] |
สวรรคต | ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้ในราชาศัพท์สําหรับพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น). (ส. สฺวรฺค + คต ว่า ไปสู่สวรรค์) [ศัพท์พระราชพิธี] |
ทิวงคต | (ราชา) ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้แก่พระยุพราช หรือเจ้าฟ้าซึ่งได้รับการเฉลิมพระยศพิเศษ) [ศัพท์พระราชพิธี] |
Habit survey | การสำรวจลักษณะนิสัย, การสำรวจลักษณะนิสัยของกลุ่มประชากรในแต่ละพื้นที่ ที่อาจนำไปสู่การได้รับรังสี เช่น พฤติกรรมการบริโภคและอาชีพ เพื่อประเมินปริมาณรังสีที่คาดว่าจะได้รับ โดยมุ่งเน้นไปยังกลุ่มประชากรที่คาดว่าจะได้รับรังสีสูงสุด, Example: [นิวเคลียร์] |
integration | บูรณาการ, การรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, บูรณาการ มี ๒ ความหมาย <p>ความหมายที่ ๑ คือ ทำให้เป็นเนื้อเดียวกันโดยรวมหรือผสมผสานส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น การสอนภาษาแบบบูรณาการ หมายถึง การรวมทักษะการพูด ฟัง อ่าน เขียน ไว้ในวิชาเดียวกัน, หลักสูตรแบบบูรณาการสำหรับภิกษุสามเณร เป็นหลักสูตรที่รวมหลักสูตรธรรมศึกษา บาลีศึกษา และสามัญศึกษา ให้เป็นหลักสูตรเดียว <p>ความหมายที่ ๒ หมายถึงเชื่อมหรือประสานกับสิ่งอื่นหรือหน่วยงานอื่น เช่น โรงเรียนหลายแห่งบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ที่มีรากฐานจากความเป็นไทยและนำไปสู่การ พัฒนาประเทศที่ยั่งยืน [การจัดการความรู้] |
ASEAN Environment Year | ปีสิ่งแวดล้อมอาเซียน กำหนดให้มีขึ้นทุก 3 ปี เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับ ประชาชนทุกระดับในสังคม รวมทั้งส่งเสริมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม แก่สาธารณชนในการนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน [การทูต] |
Australia New Zealand Army Corps Day | วันที่ระลึกทหารผ่านศึกออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2458 หน่วยปฏิบัติการร่วมของกองทัพบกออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ยกพลขึ้นบกบนคาบ สมุทรกาลิโปลี (Gallipoli) ช่องแคบดาร์ดาแนล (Dardanelles) ประเทศตุรกีเพื่อเปิดเส้นทางเดินเรือให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรไปสู่ทะเลดำใน สงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ทหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทั้งสองประเทศจึงถือเอาวันที่ 25 เมษายนของทุก ๆ ปี เป็นวันที่ระลึกและจัดพิธีไว้อาลัยแก่ทหารผ่านศึกในสมรภูมิครั้งนั้นและทหาร ผ่านศึกที่เสียชีวิตในสมรภูมิอื่น ๆ ด้วย [การทูต] |
ASEAN Vision 2020 | วิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. 2563 เป็นเอกสารซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ได้ให้ความเห็นชอบ เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นและพันธกรณีของอาเซียนที่จะนำประชาชนในภูมิภาคนี้ ไปสู่ (1) การเป็นภูมิภาคที่มีสันติภาพและเสถียรภาพ (2) ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งด้วยการรวมตัวทางเศรษฐกิจ อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น (3) การเป็นสังคมที่เปิดกว้าง มีความเป็นปึกแผ่นและเอื้ออาทรต่อกัน และ (4) การกระชับความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและโลกภายนอก บนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกันและมีความเคารพซึ่งกันและกัน [การทูต] |
Cost, Insurance and Freight | มูลค่าสินค้าที่คำนวณ ณ แหล่งซื้อ เป็นมูลค่าสินค้าเข้าซึ่งรวมต้นทุนสินค้า ค่าประกันภัย และค่าระวาง ซึ่งคำนวณจากจุดส่งออก ณ ท่าเรือหรือท่าอากาศยาน ไปสู่ท่าเรือหรือท่าอากาศยานของประเทศผู้ซื้อ [การทูต] |
CSI | เป็นโครงการที่ริเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2545 โดยสำนักศุลกากรและป้องกันชายแดนสหรัฐอเมริกา ( US Bureau of Customs and Border Protection )ภายใต้กระทรวง Department of Homeland Security มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่สินค้าที่ขนส่งเข้าไปยังสหรัฐ อเมริกา ด้วยการติดตั้งระบบติดตามตู้บรรทุกสินค้าที่มีความเสี่ยงต่อการก่อการร้าย และมีระบบตรวจสอบตู้บรรทุกสินค้าก่อนออกจากประเทศต้นทางไปสู่สหรัฐอเมริกา [การทูต] |
Diplomatic Expressions | ถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในวงการทูต กล่าวคือ ในวงการทูตจะมีการนิยมใช้ถ้อยคำสำนวนการทูต ถือกันว่าเป็นภาษาที่สุภาพ ซึ่งจะมีความหมายลึกซื้งเพียงใดนั้น บรรดาเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะทราบกันดี อาทิเช่น?My Government views with concern หรือ with grave concern? จะแสดงถึงท่าทีที่ไม่เห็นด้วย หรือแสดงการประท้วง?My Government cannot remain indifferent to the matter? จะส่อถึงเจตนาที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปส่วนถ้อยคำสำนวนที่ว่า ?In such event my Government would feel bound to reconsider its position หรือ to consider its own interest??My Government will have to claim a free hand? หรือ ?feel obliged to formulate express reservations regarding?เหล่านี้เป็นถ้อยคำสำนวนที่เตือนให้ทราบว่า อาจเกิดการแตกร้าว หรือตัดขาดในพันธไมตรีที่มีต่อกันได้เมื่อรัฐบาลหนึ่งประกาศถือว่าการกระทำ ของอีกรัฐบาลหนึ่งเป็น ?an unfriendly act? หรือการกระทำที่ไม่เป็นมิตรเช่นนี้ ย่อมหมายถึงการเตือนให้ทราบว่า การกระทำเช่นนั้นอาจนำไปสู่สงครามได้ถ้าหากในตอนเสร็จสิ้นการประชุมกันมีการ แถลงการณ์หรือโฆษกของที่ประชุมแจ้งให้ทราบว่า ที่ประชุมได้ทำความตกลงกันโดยสมบูรณ์ (Full agreement) แต่ไม่มีการเปิดเผยให้ทราบว่ามีการตกลงอะไรกันบ้าง จะทำให้เป็นที่สงสัยกันว่าได้มีการตกลงกันโดยสมบูรณ์จริงละหรือ ถ้าหากคำประกาศนั้นใช้ถ้อยคำว่า มี ?substantial agreement? ก็พอจะอนุมานได้ว่าแท้ที่จริงยังมีเรื่องสำคัญ ๆ ที่ยังตกลงกันไม่ได้อีกบางเรื่อง อนึ่ง หากว่ามีการแถลงว่า ?there was a full exchange of views? ก็เท่ากับพูดว่า มิได้มีการตกลงกันแต่อย่างใดทั้งสิ้น [การทูต] |
European Union | สหภาพยุโรป สหภาพยุโรปได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ นับแต่การก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้า (European Coal and Steal Community) ในปี พ.ศ. 2494 ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการจัดทำสนธิสัญญากรุงโรม (Treaty of Rome) ได้มีการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community : EEC) และประชาคมพลังงานปรมาณู (Euratom) ในช่วงเวลานั้นจึงเรียกชื่อกันว่าประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ต่อมาได้มีการรวม 3 ประชาคมเข้าด้วยกันและได้มีกฎหมายยุโรปตลาดเดียว (Single European Act) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2530 เพื่อให้ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเข้าสู่ขั้นตอนการเป็นตลาดร่วมและตลาดเดียวที่ สมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2535 ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อเป็นประชาคมยุโรป (European Communities : EC) ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 ต่อมาเมื่อสนธิสัญญามาสทริชท์ (Maastricht Treaty) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายและขั้นตอนให้ประชาคมยุโรปพัฒนาไปสู่การเป็นสหภาพยุโรป จึงได้เปลี่ยนมาเรียกชื่อในทางปฏิบัติว่า สหภาพยุโรป (European Union : EU) ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Hanoi Plan of Action | แผนปฏิบัติการฮานอย เป็นแผนงานระยะ 6 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2547 ซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 2 ที่กรุงฮานอย เมื่อเดือนธันวาคม 2541 ได้ให้ความเห็นชอบเพื่อใช้เป็นแผนงานฉบับแรกของอาเซียนสำหรับการสร้างเสริม ความร่วมมือของอาเซียนในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่วิสัยทัศน์อาเซียนปี พ.ศ. 2563 [การทูต] |
International Trade Organization | องค์การการค้าระหว่างประเทศ มีหน้าที่ดำเนินงานเกี่ยวกับความตกลงทั้วไปว่าด้วยภาษี ศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ ต้องการขยายการค้าของโลกให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น ขจัดการกีดกันการค้า หรือพยายามลดให้เหลือน้อยที่สุด เช่น การตั้งข้อจำกัดโควต้า เป็นต้น ตัดทอนภาษีศุลกากรทั่วโลกให้ต่ำลง ดูแลตลาดวัตถุดิบให้เป็นไปอย่างยุติธรรม และพยายามควบคุมด้านการค้าของการร่วมมือกันทางธุรกิจ (Cartels) จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดคือ ป้องกันมิให้กลับไปสู่การดำเนินการทางการค้าที่ตัดราคากันอย่างหั่นแหลก เหมือนเมื่อระยะปี ค.ศ. 1930 ถึง 1939 นั่นเองอย่างไรก็ดี ตั้งแต่มีการปฏิบัติใช้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้ามาจนบัด นี้ ก็ได้รับผลสำเร็จตามแนววัตถุประสงค์อย่างมากมาย เช่น มีประเทศสมาชิกหลายสิบประเทศลดภาษีศุลกากรและรักษาระดับภาษีอย่างมีเสรีภาพ แต่ละปี ประเทศสมาชิกจะได้ยินได้ฟังเสียงร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการค้า ละเมิดกฎเกณฑ์ของความตกลงทั่วไป แล้วเสียงร้องเรียนดังกล่าวก็ได้รับการแก้ไขจนเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการปรับปรุงและดัดแปลงข้อกำหนดของความตกลงทั่วไป ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา [การทูต] |
Joint Declaration for a Socially Cohesive and Caring ASEAN | ปฏิญญาร่วมว่าด้วยสังคมที่เป็นปึกแผ่นและเอื้ออาทรในอาเซียน เป็นคำประกาศของอาเซียนซึ่งมีการลงนามที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้มีการดำเนินโครงการด้านโครงข่ายรองรับทาง สังคมในภูมิภาคนี้ร่วมกันอย่างจริงจัง ในอันที่จะเป็นการนำอาเซียนไปสู่การเป็นสังคมที่มีความเป็นปึกแผ่นและเอื้อ อาทรตามวิสัยทัศน์อาเซียนปี พ.ศ. 2563 [การทูต] |
Mekong - Ganga Cooperation | ความร่วมมือแม่นำโขง - คงคา ริเริ่มขึ้นเมื่อกรกฎาคม พ.ศ.2543 ที่กรุงเทพฯ มีสมาชิก 6 ประเทศ คือกัมพูชา อินเดีย ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมโยง ระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกับประเทศในลุ่มแม่น้ำคงคาในด้านการ ท่องเที่ยว การศึกษาวัฒนธรรม และคมนาคมขนส่งโดยอาศัยปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เกื้อกูลกันและความสัมพันธ์ที่ ดีระหว่างกัน และเป็นยุทธศาสตร์เชื่อมโยง GMS (จีน) ไปสู่อินเดีย [การทูต] |
New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] |
Security Council of the United Nations | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ [การทูต] |
Social Safety Nets | โครงข่ายรองรับทางสังคม หมายถึง มาตรการในการให้ความช่วยเหลือทางสังคมแก่ประชาชนเพื่อบรรเทาภาวะวิกฤตต่าง ๆ อาทิ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน และการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เป็นต้น ด้วยการดำเนินนโยบายระยะสั้นในการสร้างงาน การให้การฝึกอบรมวิชาชีพใหม่ และอื่น ๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องในระยะยาวและการพัฒนา สังคมอย่างรอบด้านในภาพรวม [การทูต] |
Unfriendly Act | การกระทำที่ไม่เป็นมิตร กล่าวคือ เมื่อรัฐหนึ่งประกาศว่า จะถือว่าการปฏิบัติบางอย่างของอีกประเทศหนึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เป็นมิตร นั่นหมายความว่า เป็นการเตือนว่าการกระทำเช่นนั้นอาจนำไปสู่สงครามได้ [การทูต] |
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] |
Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] |
Reclaimed rubber | ยางรีเคลมได้มาจากการนำเอาผลิตภัณฑ์ยางเก่าที่ใช้แล้ว เช่น ยางล้อรถยนต์ ยางในรถยนต์ หรือยางคงรูปที่เป็นของเสียซึ่งเกิดระหว่างกระบวนการผลิต มาผ่านกรรมวิธีโดยความร้อนและเคมี ยางจะเกิดการดีพอลิเมอไรซ์ (depolymerize) เปลี่ยนจากสภาพคงรูป (vulcanized) และมีความยืดหยุ่น (elasticity ) กลับคืนไปสู่สถานะแรกเริ่ม คือ ไม่มีความคงรูป (unvulcanised) และไม่มีความยืดหยุ่น (plasticity )* ได้เป็นยางรีเคลมที่มีลักษณะกึ่งของแข็งและของเหลว (paste-like ) ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ปกติจะใช้ยางรีเคลมผสมกับยางธรรมชาติสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่คำนึงถึงความ แข็งแรงและความ ทนทานมากนัก *Plasticity คือ ความโน้มเอียงของวัสดุที่จะเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปอย่างถาวรเมื่อได้รับ แรงกระทำ [เทคโนโลยียาง] |
Arterioles, Afferent | หลอดเลือดที่นำเข้าไปสู่ไต, หลอดเลือดแดงเข้าโกลเมอรูลัส, หลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่เข้าอาฟเฟอเรนอาร์เธอริโอล [การแพทย์] |
Arterioles, Afferent | อาฟเฟอเรนอาร์เธอริโอล, หลอดเลือดที่นำเข้าไปสู่ไต, หลอดโลหิตแดงขนาดเล็กที่เข้า, หลอดเลือดแดงเข้าโกลเมอรูลัส [การแพทย์] |
Behavior, Goal-Directed | พฤติกรรมที่ดำเนินไปสู่เป้าประสงค์ [การแพทย์] |
Carry Over | น้ำยาไหลไปสู่แผ่นทดสอบอื่นๆใกล้ๆกัน [การแพทย์] |
Cephalocaudal Direction | การเติบโตของศีรษะไปสู่เท้า, จากส่วนศีรษะลงสู่ร่างกายส่วนล่าง, จากศีรษะไปสู่ปลายเท้า [การแพทย์] |
Cognitive Triad | การรู้สามแบบที่นำไปสู่อาการซึมเศร้า [การแพทย์] |
blind spot | จุดบอด, บริเวณหนึ่งบนจอตา เป็นบริเวณที่ไม่ไวต่อแสงอยู่กึ่งกลางขั้วมัดประสาทตาซึ่งโยงไปสู่สมอง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 มิลลิเมตร ถ้าภาพของวัตถุตกที่บริเวณนี้ สมองจะไม่รายงานในการเห็นวัตถุ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
synapse | ไซแนปส์, บริเวณที่ปลายของแอกซอนของประสาทเซลล์หนึ่งซึ่งใกล้ชิดกับปลายของเดนไดรต์ของใยประสาทอีกเซลล์หนึ่ง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปสู่อีกเซลล์ประสาทหนึ่ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
endocrine gland | ต่อมไร้ท่อ, กลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน ฮอร์โมนนี้จะถูกลำเลียงไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยกระแสโลหิต [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
artery | หลอดเลือดอาร์เตอรี่, หลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจไปสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ มีผนังเหนียวและยืดหยุ่นได้ มีกล้ามเนี้อเรียบ ทำให้หดตัวหรือขยายตัวได้ดี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
acetylcholine | แอซิติลโคลีน, สารซึ่งหลั่งออกมาจากปลายของใยประสาทบริเวณไซแนปส์ สารนี้ช่วยให้กระแสประสาทผ่านจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปสู่อีกเซลล์หนึ่งได้ สารนี้บางครั้งเรียกว่า สารสื่อประสาท [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
active transport | การลำเลียงแบบใช้พลังงาน, การเคลื่อนที่ของโมเลกุลหรือไอออนของสาร จากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่งโดยใช้พลังงานจากเซลล์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
osmosis | ออสโมซิส, การแพร่ของโมเลกุลของตัวทำละลายที่เป็นของเหลวจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายต่ำผ่านเยื่อบาง ๆ ไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายสูง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
expansion valve | ลิ้นขยาย, ลิ้นที่ควบคุมการไหลของของเหลว เมื่อลิ้นนี้เปิดของเหลวที่มีความดันสูงจากท่อเล็กจะไหลไปสู่ท่อใหญ่ ของเหลวจึงมีความดันลดลง และปริมาตรเพิ่มขึ้น ทำให้เปลี่ยนสถานะเป็นแก๊สและมีอุณหภูมิลดลง เช่น ลิ้นที่ใช้ควบคุมการไหลของน้ำยาเครื่องทำความเย็น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
sheet rubber | ยางแผ่น, แผ่นยางที่ได้จากการผสมน้ำยางกับกรดแอซีติกหรือกรดฟอร์มิกอย่างอ่อนให้ยางสดจับตัวเป็นก้อน แล้วนำมารีดเป็นแผ่นบาง ๆ ด้วยลูกกลิ้ง หลังจากนั้นก็นำไปรมควันและผึ่งให้แห้งประมาณ 7-11 วัน แผ่นยางจะกลายเป็นสีน้ำตาลและพร้อมที่จะส่งไปสู่ผู้ผลิตสินค้ายางต่อไป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
optic nerve | เส้นประสาทสมองคู่ที่ 2, เส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็นจากนัยน์ตาไปสู่ออปติกโลบ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
passive transport | แพสสีฟทรานสปอร์ต, การเคลื่อนที่ของโมเลกุลหรือไอออนของสารจากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่งโดยไม่ใช้พลังงานจากภายนอกระบบ เช่น การออสโมซิส [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
deductive reasoning | การให้เหตุผลแบบนิรนัย, การให้เหตุผลโดยการนำความรู้พื้นฐานซึ่งอาจเป็นความเชื่อ ข้อตกลง กฎ หรือบทนิยาม ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อนและยอมรับว่าเป็นจริงมาประกอบเพื่อนำไปสู่ข้อสรุป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
exploration | การสำรวจ, กระบวนการหนึ่งที่นำไปสู่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
design [ technological design ] | การออกแบบ(ทางเทคโนโลยี), การลำดับความคิดหรือจินตนาการเป็นขั้นตอน นำไปสู่การวางแผนการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
creativity | ความคิดสร้างสรรค์, ความสามารถทางสมองของมนุษย์ที่คิดได้กว้างไกล หลายแง่มุม หลายทิศทาง นำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งของ และแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ โดยอาศัยข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ ความคิดสร้างสรรค์ มี 4 ลักษณะ ประกอบด้วย ความคิดริเริ่ม ความคิดคล่อง ความคิดยืดหยุ่น ความคิดละเอีย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Gastric Emptying Time | เวลาที่ยาผ่านจากกระเพาะอาหารไปสู่ลำไส้, [การแพทย์] |
Interest, Externalization of | การหักเหความสนใจไปสู่ภายนอก [การแพทย์] |
Isocolic | ลำไส้กลืนไปสู่ส่วนปลายทาง [การแพทย์] |
Lymphnode Metastasis | การแพร่กระจายของมะเร็งไปสู่ต่อมน้ำเหลือง [การแพทย์] |
Metastasis | เนื้องอกส่วนที่กระจายออกมา, การแพร่กระจาย, การลามเข้าไปในเนื้อเยื่อใกล้ๆ, เนื้องอกกระจายไปที่อื่น, การกระจายไปตามเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ, การลุกลามไปสู่ส่วนอื่น, เนื้องอกที่ลามไปที่กะโหลกศีรษะ [การแพทย์] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
เหไปสู่ | [hē pai sū] (v, exp) EN: gravitate |
การกระจายกิจการของรัฐไปสู่ภาคเอกชน | [kān krajāi kitjakān khøng rat pai sū phāk ēkkachon] (xp) EN: privatization |
นำไปสู่ | [nam pai sū] (v, exp) EN: bring about to ; go to be |
Longdo Approved EN-TH
effluent | (n) ของเสียที่ปล่อยออกมา เช่นจากโรงงาน ออกไปสู่สิ่งแวดล้อม |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
a posteriori | (adj) จากผลไปสู่เหตุ |
afferent | (adj) ที่นำไปสู่อวัยวะในร่างกาย |
afflux | (n) สิ่งที่ไหลไปยังจุด ๆ หนึ่ง, See also: การไหลไปสู่จุดใดจุดหนึ่ง เช่น การไหลคั่งของเลือดไปยังอวัยวะหนึ่ง |
anteroom | (n) ห้องเล็กที่อยู่ด้านหน้าห้องใหญ่, See also: ห้องที่นำไปสู่ห้องที่ใหญ่กว่า มักใช้สำหรับนั่งรอ |
alternate between | (phrv) เปลี่ยนจากบางสิ่ง (การกระทำ) ไปสู่บางสิ่ง (การกระทำ), See also: เปลี่ยนกันระหว่าง |
bring | (vt) นำไปสู่, See also: พาไปสู่, Syn. cause, result in |
bring up | (phrv) นำขึ้นไปสู่ที่สูงกว่า, See also: นำหรือพาขึ้นบันไดไป, Syn. come up, go up, send up, take up |
carry | (vt) ขยายไปสู่, Syn. extend |
conduce | (vi) นำไปสู่, Syn. lead, tend, contribute |
conducive | (adj) ที่นำไปสู่, See also: ที่ทำให้เกิดขึ้น, Syn. accessory, contributory |
cast back | (phrv) หันกลับไปยัง, See also: กลับไปสู่, Syn. throw back |
conduce to | (phrv) นำไปสู่, See also: ทำให้เกิด, Syn. contribute to |
conduce towards | (phrv) นำไปสู่, See also: ทำให้เกิด, Syn. contribute to |
drag into | (phrv) ชักนำไปสู่, See also: นำไปสู่ |
draw down | (phrv) ชักนำไปสู่ (สิ่งไม่ดี) |
debauchee | (n) คนที่ล่อลวงคนอื่นไปสู่สิ่งที่ไม่ดี (คำเป็นทางการ) |
devolution | (n) การกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาค, Syn. decentralization |
disseminate | (vi) เผยแพร่, See also: แผ่ขยาย, แพร่กระจาย, กระจายไปสู่, Syn. spread, circulate, diffuse |
disseminate | (vt) เผยแพร่, See also: แผ่ขยาย, แพร่กระจาย, กระจายไปสู่, Syn. spread, circulate, diffuse |
fallopian tube | (n) ท่อนำไข่, See also: ท่อทางเดินของไข่จากรังไข่ไปสู่มดลูก |
get back | (phrv) กลับคืนไปสู่อำนาจ |
get back | (phrv) หวนกลับไปสู่ (ชีวิตเดิม, งาน ฯลฯ) |
give on | (phrv) ทำให้มองเห็น, See also: นำไปสู่, Syn. give onto, give upon |
give onto | (phrv) ทำให้มองเห็น, See also: นำไปสู่, Syn. give on, give upon |
give upon | (phrv) ทำให้มองเห็น, See also: นำไปสู่, Syn. give on, give onto |
go to | (phrv) นำไปถึง (สถานที่), See also: พาไปสู่, Syn. lead to, reach to |
hallway | (n) ห้องที่อยู่ด้านหน้าบ้านหรือตึกซึ่งมีประตูนำไปสู่ห้องอื่น, Syn. foyer, hall, lobby |
rift in the lute | (idm) ความผิดเล็กน้อยที่จะนำไปสู่ความผิดที่ใหญ่ได้ |
run in the family | (idm) ถ่ายทอดไปสู่ครอบครัว, See also: ถ่ายทอดไปให้ลูกหลาน |
thin end of the wedge | (idm) สิ่งเล็กๆ น้อยที่จะนำไปสู่ปัญหาใหญ่ขึ้นได้ |
lead back to | (phrv) นำกลับไปสู่, See also: พากลับไปยัง |
lead down | (phrv) พาลงไปสู่, See also: นำลงไปสู่ |
lead down to | (phrv) นำลงไปสู่, See also: พาลงไปสู่ |
lead to | (phrv) ทำให้เกิด, See also: เป็นสาเหตุของ, ชักนำไปสู่ |
lead up to | (phrv) นำขึ้นไปสู่ |
let through | (phrv) ยอมรับเข้าสู่, See also: ปล่อยให้ผ่านไปสู่ |
level at | (phrv) นำไปสู่ |
lead | (vi) นำทางไป, See also: นำ, พาไป, นำทาง, ทางนำไปสู่, Syn. guide |
make for | (phrv) ทำให้เกิด, See also: นำไปสู่, มีผลให้เกิด, ส่งผลให้เกิด |
a | (prf) ไปยัง, See also: ไปสู่ |
pollinate | (vt) นำละอองไปสู่เกสรตัวเมีย |
pass on | (phrv) ตกทอดไปสู่, See also: สืบทอดจาก...ไปสู่... |
play over | (phrv) ทำให้ปรากฏ, See also: นำไปสู่, Syn. play along, play on |
proceed to | (phrv) เลื่อนขึ้นสู่, See also: พัฒนาไปสู่, Syn. progress to |
put the clock back | (idm) หวนกลับไปสู่อดีต, See also: มีความคิดแบบเก่า, Syn. set back, turn back |
redound | (vi) นำไปสู่ |
regress | (vi) เสื่อมถอย, See also: กลับไปสู่ภาวะเดิม, Syn. ebb, degenerate, relapse, Ant. progress |
resume | (vt) กลับไปสู่ตำแหน่งเดิม, Syn. reassume, repossess |
revert | (vi) กลับไปสู่นิสัยเดิม |
RIP | (abbr) ขอให้ไปสู่สุคติ (คำย่อของ rest in peace), See also: ขอให้ไปที่สงบ, Syn. R.I.P |
Hope Dictionary
aam | abbr. air-to-air missile (ขีปนาวุธจากฐานบนอากาศไปสู่เป้าหมายบนอากาศ) |
air-to-air | (แอร์' ทูแอร์) adj. จากเครื่องบินไปสู่เครื่องบิน (operating between airborne objects) |
anaplasty | (แอน' นะพลาสที) n. ศัยกรรมย้ายปะปลูกเนื้อเยื่อ, ภาวะการกลับไปสู่รูปแบบเดิมที่ด้อยกว่า, ภาวะที่เป็นมะเร็งมาก |
avulsion | (อะวัล' เชิน) n. การฉีกขาด, การเคลื่อนย้ายไปสู่ที่อื่นอย่างฉับพลัน, การดึงออกจากกัน (a tearing away) |
bus | (บัส) 1. { bussed, bussing, buses } n. รถโดยสารประจำทาง, รถเมล์, รถบัส, รถม้า, เครื่องบินโดยสาร, ตัวเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้าหลายวงจร, สายรวม, สายตัวนำใช้สำหรับการส่งสัญญาณ, หมายถึงวงจรหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อสำหรับส่งถ่ายขัอมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปสู่อีกอุปกรณ์หนึ่ง, สายตา 2. วงจรหรือทางเดินไฟฟ้าที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อสำหรับส่งอิเล็กตรอน ให้กระจายออกไปยังจุดต่าง ๆ คอมพิวเตอร์มีบัสไว้ เพื่อทำหน้าที่กระจายอิเล็กตรอน (ซึ่งแทรกรหัสข้อมูลไปตามจุดที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนดให้) |
carry | (แค'รี) { carries, carrying, carries } vt. ขนส่ง, แบก, ลำเลียง, หอบ, หาบ, อุ้ม, ยก, ถือติดตัว, นำติดตัว, นำไปสู่, สะพาย, บรรทุก, ส่ง, แพร่กระจาย, ออกข่าว, ประกอบด้วย, สนับสนุน, ค้ำจุน, ผลักดัน, ยืดได้, รับภาระ, วางตัว, ปฏิบัติ, ยกยอด, โอน, มีไว้ในร้าน. vi. ถือติดตัว, มีกำลังดัน, ดัน, ถู เลขทดตัวทดหมายถึง ค่าที่เกิดจากการบวกตัวเลขตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปในหลักเดียวกัน แล้วได้ผลมากกว่าหรือเท่ากับเลขฐาน ซึ่งจะนำไปบวกกับเลขในหลักถัดไป |
chyle | (ไคลฺ) n. ของเหลวคล้ายนมที่ย่อยแล้วในลำไส้เล็กซึ่งจะไหลไปสู่เส้นเลือดดำ |
conduce | (คันดิวซฺ') { conduced, conducing, conduces } vi. นำไปสู่, ทำให้เกิด, See also: conducible adj. ดูconduce conducibleness n. ดูconduce conducibility n.ดูconduce, Syn. lead to |
descend | (ดิเซนดฺ') vi. ตก, ตกลงมา, สืบสายโลหิต, ตกเป็นสมบัติของ, โจมตี, ถ่อมตัว, ลดเกียรติ. vi. เคลื่อนลง, นำไปสู่ |
download | (ดาวน์' โลด) n. การส่งข้อมูลหรือโปรแกรมจากระบบที่ใหญ่กว่าไปสู่ระบบที่เล็กกว่า, การถ่ายหรือบรรจุข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยเก็บของคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ ลงไปในหน่วยเก็บของไมโครคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์ที่เล็กกว่า) หรือในบางกรณี อาจหมายถึงบรรจุคำสั่งลงไปในเครื่อ |
exit | (เอค'ซิท, เอค'ซิท) n. ทางออก, ประตูฉุกเฉิน, การจากไป, การลงจากเวที, การตาย. vi. ออกไป, จากไป, ลงจากเวที, ตาย. -make one's exit ออกไป, จากไป, Syn. outlet, ออกทางออกหมายถึงคำสั่งที่ผู้ใช้โปรแกรมใช้ เมื่อต้องการหยุดหรือเลิกใช้โปรแกรมนั้นเพื่อกลับออกไปสู่ระบบปฏิบัติการ operating systems หลังจากที่ใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมต่าง ๆ ของแมคอินทอชมักจะใช้คำว่า Quit แทน ซึ่งก็มีความหมายเหมือนกัน ในระบบวินโดว์ของพีซี ทุกโปรแกรมจะมีคำสั่งนี้ไว้ให้เลือกใต้เมนู File ซึ่งเป็นคำสั่งกลับออกไปยังระบบวินโดว์นั้นเอง |
gray scale | สีเทาหมายถึง ความเข้ม/จางของสีเทาที่มีพิสัย (range) จากเข้มสุดไปสู่อ่อนสุด มักใช้ เมื่อไม่สามารถแสดงความแตกต่างของสีได้ |
hale | (เฮล) adj. ไร้โรค, แข็งแรง, มีกำลังวังชา, ไร้ข้อบกพร่อง., See also: haleness n. vt. ดึง, ลาก, ถอน, ถอนกำลัง, นำไปสู่, haler, Syn. haul, pull, drag |
heavenward | adv. ไปสู่สวรรค์. adj. ไปสู่สวรรค์ |
heavenwards | adv. ไปสู่สวรรค์ |
home key | แป้นกดกลับตำแหน่งต้นเป็นแป้นพิมพ์แป้นหนึ่งในแผงแป้นอักขระ มีคำว่า Home อยู่บนแป้น เมื่อกดแป้นนี้จะเป็นการบังคับให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) กลับไปสู่จุดเริ่มต้นของบรรทัดใหม่ หรือจุดเริ่มต้นบรรทัดบนสุดของเอกสารหน้าหนึ่ง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโปรแกรมแต่ละโปรแกรมด้วย |
homing | (โฮ'มิง) adj. กลับบ้าน, ไปบ้าน, ไปสู่จุดหมายปลายทาง., See also: homily ไปบ้าน adv. |
hypoglassal nerve | เส้นประสาทของcranial nerves คู่ที่ 12 ที่ไปสู่กล้ามเนื้อของลิ้น ควบคุมการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อลิ้นให้มีการเคลื่อนไหว |
joystick | ก้านควบคุม <คำแปล>หมายถึง อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่มีสายเสียบต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องปลายทาง (terminal) มีคันโยก ทำหน้าที่เหมือนเมาส์ หมุนได้เป็นวงรอบ ใช้ควบคุมการเคลื่อนตัวไปในทิศทางต่าง ๆ ของตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) ไปสู่จุดต่าง ๆ บนจอภาพ นำมาใช้กับการเล่นเกมเท่านั้น |
land | (แลนดฺ) { landed, landing, lands } n. ที่ดิน, พื้นดิน, แผ่นดิน, ประเทศ, เขต, ดินแดนของประเทศ vt. ตั้งรกราก, นำไปสู่, ยึด, จับ, จับจอง, นำขึ้นบก. vi. ขึ้นบก, ขึ้นฝั่ง, สู่ -Phr. (the land ที่ดินเกษตรชนบทอาชีพการเกษตรและการปศุสัตว์), Syn. soil, g |
lead | (ลีด) { led, led, leading, leads } vt. นำ, พา, จูง, ชักจูง, จูงให้, ทำให้เกิดขึ้น, ล่อให้เกิดขึ้น, นำหน้า, พูดนำ, สั่ง, บัญชา, เป็นหัวหน้า, เล็ง vi. เป็นตัวนำ, นำไปสู่, นำหน้า, นำทาง, โจมตี, เล่นก่อน n. ตำแหน่งนำ, การนำ, ผู้นำ, สิ่งนำ, สำคัญที่สุด, ชั้นนำ, ตะกั่ว:Pb; -S...conduct, guide |
on | (ออน) prep., adv. บน, ที่, ตาม, ณ, ในเวลาที่, ในขณะที่, ในวันที่, เกี่ยวกับ, อยู่ในสถานการณ์, ในเรื่อง, โดย, อาศัย, ทันทีหลังจาก, ไปสู่, ไปทาง, ติดกัน, ประชิด, ประจำ adj. เปิดอยู่, ใช้อยู่, ซึ่งกำลังเกิดขึ้น, ตามแผน, ตามกำหนด n. ความเป็นอยู่, สถานการณ์, ด้านข้าง -Phr. (on and off บางครั้งบางคราวเป็นช่วง ๆ) |
purgatory | (เพอ'กะทอรี) n. ที่ที่คนตายไปสู่เพื่อการล้างบาป ที่ที่มีการทำโทษ adj. เป็นการชำระล้าง, เป็นการชดเชยความผิด |
regain | (รีเกน') vt. เอากลับมา, ได้คืน, เอาคืน, กู้, มีสติอีก, กลับไปสู่, ฟื้นสติ, มาถึงอีก, See also: regainable adj. regainer n. |
to | (ทู) prep. ไปถึง, ถึง, ไปยัง, ไปสู่, ไปทาง, ไปถึง, มีความโน้มน้าว, จนถึง, จนกระทั่งถึง, บรรลุถึง, เข้ากับ, สนองตอบกัน, ตรงกัน, ให้, เพื่อ, เพื่อจะ, ในอันที่จะ, ตาม, ติดตาม, (คณิตศาสตร์) ยกกำลังถึง, ฟื้น, ฟื้นคืน, เฉพาะให้, เพราะ adv. ไปยัง, ไปถึง, ไปสู่, ฟื้น, ฟื้นคืน |
Nontri Dictionary
conduce | (vi) นำมาซึ่ง, นำไปสู่ |
heavenward | (adj, adv) ไปยังสวรรค์, ไปสู่สวรรค์ |
homing | (adj) กลับบ้าน, ไปยังบ้าน, ไปสู่จุดหมายปลายทาง |
involve | (vt) รวมอยู่ด้วย, พาดพิงถึง, นำไปสู่, ก่อให้เกิด, พัวพัน, มีผลต่อ |
redound | (vt) ส่งเสริม, ให้ผล, กลับไปสู่ |
shoreward | (adj, adv) เข้าหาฝั่ง, ไปสู่ฝั่ง |
to | (pre) ยัง, ต่อ, เพื่อจะ, แก่, กับ, จน, ถึง, ตาม, ไปสู่ |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Clostridium difficile | [คลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล] แบคทีเรียหนึ่งในสาเหตุที่พบมากที่สุดของการติดเชื้อของลำไส้ใหญ่ ในสหรัฐอเมริกามีผลต่อผู้คนนับล้านต่อปี ผู้ป่วยที่ใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ในความเสี่ยงของการกลายเป็นติดเชื้อกับการรักษาได้ยาก. ยาปฏิชีวนะจะรบกวนแบคทีเรียปกติของลำไส้, ช่วยให้ดื้อยาแบคทีเรียที่จะกลายเป็นตัวต้านที่อยู่ภายในลำไส้ใหญ่. หลายคนติดเชื้อแบคทีเรียรักษาลำบากเพราะไม่มีอาการ. คนเหล่านี้กลายเป็นผู้ให้บริการของเชื้อแบคทีเรียและสามารถติดเชื้อผู้อื่น ในคนอื่นๆ, สารพิษที่มีผลก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วง, อาการปวดท้อง, การอักเสบอย่างรุนแรงของลำไส้ใหญ่ (ไส้ใหญ่), ไข้, การตรวจนับเม็ดเลือดขาว, อาเจียนและการคายน้ำ. ในผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง, เยื่อบุภายในของลำไส้ใหญ่จะกลายเป็นที่รุนแรงอักเสบ (สภาพที่เรียกว่าเยื่อแผ่นบาง ๆ รอบเซลล์ผิดปกติ). ไม่ค่อยมีผนังและหลุมพัฒนา (ลำไส้ใหญ่จะไม่ค่อยมีผนังกั้นแต่จะเป็นรูพรุน) ซึ่งสามารถนำไปสู่การติดเชื้อที่คุกคามชีวิตของช่องท้อง |
Cystic fibrosis | โรคทางพันธุกรรมที่มีผลต่อต่อมขับออก(ภายนอก) มันทําให้เกิดการผลิตของเมือกหนาผิดปกติ, นําไปสู่การอุดตันของท่อตับอ่อน, ลําไส้, และหลอดลมและมักจะส่งผลให้ติดเชื้อทางเดินหายใจ. |
Duct Ectasia | เป็นสภาพเต้านมที่ไม่เป็นอันตราย (ไม่ใช่มะเร็ง) ที่เกิดขึ้นเมื่อท่อน้ำนมในขยายเต้านมและผนังข้น ซึ่งอาจทำให้ท่อที่จะกลายเป็นที่ถูกบล็อกและนำไปสู่การสร้างของเหลว |
exhortation | (n) ชักชวน นำไปสู่, Syn. persuade |
financial distress | (n) (การเงิน) ภาวะที่ประสบความยากลำบาก, หรือไม่สามารถทำตามภาระผูกพันได้ เช่น ไม่สามารถชำระหนี้ที่กู้ไปได้, ความตกต่ำทางการเงิน (จากการมีเงินไม่เพียงพอ), ปัญหาทางการเงิน, ปัญหาที่อาจนำไปสู่การล้มละลาย (กรณีบริษัท) e.g. Member countries face acute financial distress., See also: bankruptcy, recession, depression |
gene | (n) หน่วยที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่ ไปสู่ลูกหลาน ที่ปรากฏอยู่บนโครโมโซม |
Offset printing | (n) การพิมพ์ระบบออฟเซต เป็นการพิมพ์พื้นราบ ที่มีความนิยมมากสุด มีหลักในการพิมพ์ที่ไม่สัมผัสวัสดุโดยตรง โดยใช้การพิมพ์ผ่านผ้ายางก่อนที่จะลงไปสู่วัสดุพิมพ์ |
Papanicolaou (Pap) | ขั้นตอนที่แปรงขนาดเล็กหรือไม้พายที่ใช้ในการกำจัดเซลล์จากปากมดลูกอย่างเบาๆเพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์สำหรับมะเร็งปากมดลูกหรือการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่อาจนำไปสู่มะเร็งปากมดลูก |
Rhabdomyolysis | ความผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อม, อาจนำไปสู่สภาวะร้ายแรง การสลายตัวของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อโครงร่างเป็นผลมาจากการเกิดไฟฟ้าหรือการสัมผัสเป็นเวลานานกับสารพิษ (ลักษณะการขับถ่ายของ ปัสสาวะออกมาสีดำเหมือนน้ำโคคาโคล่า ในปัสสาวะ) |
Switch Blade | (jargon) รางลิ้น คือรางส่วนที่เคลื่อนที่ได้ในประแจทางรถไฟ เพื่อใช้นำล้อไปสู่ทางรถไฟที่ต้องการ |
Trabeculation | ของกระเพาะปัสสาวะเกิดจากสิ่งกีดขวางซ้ำในท่อปัสสาวะ เมื่อเกิดการอุดตัน, ผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะจะต้องทำงานยากเกินไปที่จะย้ายปัสสาวะที่ผ่านการกีดขวาง. นี้นำไปสู่ความหนาของผนังกล้ามเนื้อและการสูญเสียความยืดหยุ่น. |
Saikam JP-TH-EN Dictionary
導く | [みちびく, michibiku] TH: นำไปสู่ EN: to lead to |
Longdo Approved DE-TH
zu | ไปสู่, เพื่อ |
zum | ไปสู่, เพื่อ, See also: zu |
Es kommt zu etw. | นำไปสู่, เกิดขึ้น (ทางไม่ดี), See also: geschehen |
etw. führen zu etw. | นำไปสู่, ก่อให้เกิด เช่น Starker Regen können zur Überschwemmung führen. ฝนที่ตกหนักสามารถนำไปสู่น้ำท่วมได้, Syn. verursachen |
zu | (prep) |+ D| ไปสู่, ยังที่, ไปยัง (ใช้บอกเป้าหมายของการเดินทางหรือการเคลื่อนที่) เช่น zur Post gehen, zur Arbeit fahren, zu einem Konzert |
verleiten | (vt) |verleitete, hat verleitet| ทำให้เข้าใจผิด, นำไปสู่ทางที่ไม่ดี เช่น Fernsehwerbung verleitet Kinder zu viel Süßem.; Unser Steuersystem verleitet Unternehmen zur Flucht. |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.8436 seconds
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม