152 ผลลัพธ์ สำหรับ *พระพุทธ*
ภาษา
หรือค้นหา: พระพุทธ, -พระพุทธ-Longdo Unapproved TH - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ฌาณ | (n) ฌาณ หรือ อธิจิต(supraconscious) เป็นจิตที่เป็นที่สุดของปัญญา คือความรู้ชัดธรรมชาติของมนุษย์ว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(คือความรู้มรรค 8 การคิดปฏิบัติเพื่อดับทุกข์) เป็นจิตที่อยู่เหนือและสามารถ ควบคุมหรือข่ม ได้ทั้งจิตสำนึก(consious) และจิตใต้สำนึก(subconsious) ซึ่งเป็นความรู้ที่สูดของวิญญาณคือความรู้แจ้งของธรรมชาติของมนุษย์ว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข อธิจิตใช้สำหรับดับกิเลส ซึ่งสามารถทำให้เกิดนิมิตขึ้นมาได้ เพื่อดับกิเลสในเวลาที่เกิดกิเลสขึ้น พระผู้มีพระภาค(พระพุทธเจ้า)ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์๑๐. วิตักกสัณฐานสูตรว่าด้วย อาการแห่งวิตก การเรียกอธิจิตของตนเอง ถ้าไม่มีพรสวรรค์หรือบารมีที่สะสมมาแต่ปางก่อน จะเรียกไม่ได้ เพราะจิตยังไม่มั่นคงพอ จะต้องเรียนรู้และทำความเพียรที่ทนได้ยาก ฝึกฝน จนเกิดความชำนาญ ซึ่งข้าพเจ้ามีความสามารถที่จะให้คนทั่วไปเรียกอธิจิตของตนเองได้ เช่นให้ผู้ป่วยเรียกอธิจิตของเขาออกมารักษาโรคภัยไข้เจ็บทั้งทางกายและใจของเขาที่เป็นอยู่ โดยสั่งให้จิตของเขาตกอยู่ในภาวะภวังค์ ด้วยการสั่งระงับจิตหยาบที่ทำให้เขาเกิดโรคทั้งทางกายและทางใจ เพื่อเขาจะได้มีจิตที่มั่นคงถึงอธิจิตแล้วสั่งยาหรือภูมิต้านทานในตัวของเขาออกมารักษาโรค ซึ่งได้ผลดีกว่าแพทย์แผนปัจจุบัน และแพทย์ทางเลือกวิธีอื่น นี่คือประโยชน์จากการเรียกหรือฝึกเรียกอธิจิตของตนเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าสามารถเรียก Stem cell ในพระวรกายของพระองค์ออกมารักษาโรคได้นานมาแล้วหรือมากกว่า 2554 ปี ส่วนนักวิทยาศาสตร์พึ่งจะมาค้นพบวิธีใช้ Stem cell รักษาบางโรคเมื่อ 50 ปีมานี้เอง การรักษายังมีข้อบ่กพร่องและเงื่อนไขในการรักษาเพื่อจะได้ผลลัพท์จนเป็นที่น่าพอใจของแพทย์อยู่อีกมาก แต่วิธีของพระพุทธองค์ไม่มีเงื่อนไข ถ้าคนป่วยสามารถเรียกอธิจิตของตนเองได้ ข้าพเจ้าได้ใช้อธิจิตรักษา โรคปวดตามอวัยวะและโรคหวัดป่วยของข้าพเจ้าเอง และรักษาโรคปวดและอัมพาลให้กับคนป่วยแล้วหลายราย ซึ่งได้รับผลเป็นที่น่าพอใจของข้าพเจ้าและของคนป่วย |
Longdo Unapproved TH-DHAMMA - EN
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ | (n) National Office of Buddhism |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
พระพุทธ | (n) Buddha, See also: Lord Buddha, image of Buddha, Example: พระรัตนตรัยประกอบด้วย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์, Count Unit: องค์, Thai Definition: พระผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว (ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้า) |
พระพุทธคุณ | (n) virtues of the Buddha, Example: ข้าพเจ้าขอน้อมกายก้มกราบพระพุทธคุณอันประเสริฐสุดในไตรโลกด้วยเศียรเกล้า, Thai Definition: คุณของพระพุทธเจ้าอย่างย่อที่สุดมี 3 ประการ คือ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณ |
พระพุทธบาท | (n) Buddha's footprint, See also: footprint of the Buddha, Syn. รอยพระบาท, รอยเท้า, Example: รอยพระพุทธบาทที่จังหวัดขอนแก่นเป็นรอยพระพุทธบาทสลักลงบนพื้นหินทรายธรรมชาติ เป็นร่องรอยชัดเจนสลักปลายพระบาทไปทางทิศตะวันออก, Count Unit: องค์, รอย, Thai Definition: รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า อันเป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชน |
พระพุทธรูป | (n) image of Buddha, See also: Statue of Buddha, Buddha image, Syn. พุทธรูป, Example: เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญต่างๆ แบบท่าทางของพระพุทธรูปจึงมีลักษณะเป็นปางต่างๆ ตามพุทธประวัติ, Count Unit: องค์, Thai Definition: รูปหล่อจำลองพระพุทธเจ้า, รูปปั้นพระพุทธเจ้า |
พระพุทธมนต์ | (n) Buddha's mantra, See also: Buddha's stanza chant of the Buddha, Example: พ่อนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ เนื่องในงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่, Thai Definition: คำสำหรับสวดบูชาพระพุทธ |
พระพุทธองค์ | (n) Lord Buddha, See also: Buddha, Syn. พระพุทธเจ้า, Example: พระพุทธองค์ทรงสอนสั่งไม่ให้เราตกอยู่ในความประมาท, Count Unit: องค์, พระองค์, Thai Definition: คำเรียกพระพุทธเจ้า เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3, Notes: (สันสกฤต), (ราชา) |
พระพุทธเจ้า | (n) Buddha, Example: งานปั้นหรืองานแกะสลักในพุทธศาสนามักมีรูปดอกบัวเป็นเครื่องหมายของการประสูติของพระพุทธเจ้า, Count Unit: พระองค์, Thai Definition: คำเรียกศาสดาในพระพุทธศาสนา |
พระพุทธภาษิต | (n) Buddha's proverbs, See also: saying of the Buddha, Example: พระพุทธภาษิตเป็นถ้อยคำที่เราสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ทุกยุคทุกสมัย, Thai Definition: ถ้อยคำอันเป็นคำกล่าวของพระพุทธเจ้า |
พระพุทธศาสนา | (n) Buddhism, Syn. พุทธศาสนา, ศาสนาพุทธ, Example: หลวงตาจันทร์ได้ทำประโยชน์ให้พระพุทธศาสนาและสังคมมาเป็นเวลานาน, Thai Definition: ศาสนาของพระพุทธ |
ข้าพระพุทธเจ้า | (pron) I, Example: ด้วยบารมีพระปกเกล้าฯ ขอให้ข้าพระพุทธเจ้ารอดอันตรายทุกอย่าง, Thai Definition: เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 ใช้แทนตัวผู้พูดกราบทูลเจ้านายชั้นสูงหรือพระเจ้าแผ่นดิน |
น้ำพระพุทธมนต์ | (n) holy water, Syn. น้ำมนต์, Example: พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์บ่าวสาวจะเริ่ม ณ บัดนี้, Thai Definition: น้ำที่เสกเพื่ออาบ กิน หรือ ประพรม เป็นต้น ถือกันว่าเป็นมงคล |
พระพุทธประวัติ | (n) life of the Buddha, See also: history of the Buddha, Example: ภาพเหล่านั้นแสดงถึงเหตุการณ์ในพระพุทธประวัติ ครั้งพระพุทธเจ้ายังทรงดำรงพระชนย์ชีพอยู่, Thai Definition: ประวัติของพระพุทธเจ้า |
พระพุทธเจ้าหลวง | (n) late King, See also: dead king, Example: กิจกรรมในเส้นทางล่องเรือ, udkiตามเส้นทางเสด็จประพาสต้น พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5, Count Unit: พระองค์, Thai Definition: คำเรียกพระเจ้าแผ่นดินที่เสด็จสวรรคตแล้ว, Notes: (ราชา) |
หลักพระพุทธศาสนา | (n) Buddhist principles, Example: การบูชาปูชนียบุคคลนับว่าเป็นมงคลอันสูงสุดประการหนึ่งตามหลักพระพุทธศาสนา, Thai Definition: สาระสำคัญของศาสนาพุทธ |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้าพระพุทธเจ้า | (ข้าพฺระพุดทะเจ้า) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ หรือกราบบังคมทูล กราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
น้ำพระพุทธมนต์ | น. นํ้าที่เข้าพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อให้อาบ กิน หรือ ประพรมเป็นต้น ถือกันว่าเป็นมงคล, น้ำมนต์ ก็เรียก. |
พระพุทธเจ้า | น. คำเรียกพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา, ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อพระเจ้าแผ่นดิน เช่น พระพุทธเจ้าเสือ. |
พระพุทธเจ้าข้า, พระพุทธเจ้าข้าขอรับ, พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม | น. คำขานรับพระมหากษัตริย์. |
พระพุทธเจ้าหลวง | น. คำเรียกพระมหากษัตริย์ที่เสด็จสวรรคตแล้ว, คำเต็มว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง. |
พระพุทธเจ้าอยู่หัว | น. คำเรียกพระมหากษัตริย์. |
พระพุทธองค์ | ส. คำเรียกพระพุทธเจ้า, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. |
กฎหมายตราสามดวง | น. ประมวลกฎหมายโบราณของไทยซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชำระและปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อทำเสร็จแล้วได้ประทับดวงตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง. |
กฐิน, กฐิน- | (กะถิน, กะถินนะ-) น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร |
กมัณฑลุ | (กะมันทะ-) น. กะโหลกนํ้าเต้า, เต้านํ้า, หม้อนํ้า, ภาชนะใส่นํ้าเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจำของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ทำด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ ว่า ภาชนะใส่น้ำ คือ เต้านํ้า (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง (เสือโค). |
กรรแสง ๓ | (กัน-) ก. ร้องไห้ เช่น สมเด็จพระบรม-บพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทราบแล้วทรงพระกรรแสง (ประชุมพงศ. ๖๔). |
กรุ ๑ | (กฺรุ) น. ห้องที่ทำไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งมีค่าอื่น ๆ, โดยปริยายหมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการในสังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำ โดยมิได้มีตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. |
กลดกำมะลอ | น. กลดชนิดหนึ่ง ทำด้วยผ้าขาวหรือแพรขาวเขียนลายทอง สำหรับใช้กับเจ้านายหรือพระพุทธรูป. |
กันแสง ๑ | ก. ร้องไห้, ใช้ว่า ทรงพระกันแสง หรือ ทรงกันแสง, โบราณเขียนเป็น กรรแสง ก็มี เช่น สมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทราบแล้วทรงพระกรรแสง (ประชุมพงศ. ๖๔). |
กำมะลอ | เรียกกลดที่ทำด้วยผ้าขาวหรือแพรขาวเขียนลายทอง สำหรับใช้กับเจ้านายหรือพระพุทธรูป ว่า กลดกำมะลอ, เรียกลายที่เขียนที่เครื่องกำมะลอเป็นลายสี ลายทอง หรือลายทองแทรกสี หรือเขียนบนผ้าขาวหรือแพรขาว ว่า ลายกำมะลอ |
กำลังภายใน | น. กำลังที่เร้นอยู่ภายใน, กำลังที่เกิดจากการฝึกจิต โดยเฉพาะในลัทธิเต๋าและพระพุทธศาสนาบางนิกาย เพื่อให้จิตใจกล้าแข็งจนสามารถทำสิ่งที่คนทั่วไปทำไม่ได้. |
เกตุมาลา | น. พระรัศมีซึ่งเปล่งอยู่เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า. |
เกศธาตุ | น. ผม (มักใช้ทางศาสนา) เช่น พระเกศธาตุ หมายถึง พระเกศาของพระพุทธเจ้า. |
เกียรติมุข | (เกียดมุก) น. อมนุษย์บริวารพระศิวะ ทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์ ตากลมถลน ไม่มีคาง ปากแสยะ ไม่มีขากรรไกรล่าง ไม่มีร่างกาย ไม่มีแขนขา เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้ารักษาธรณีประตู เป็นเครื่องป้องกันบ้านเรือน ขับไล่เสนียดจัญไร และคอยคุ้มครอง นับถือพระศิวะ มักทำเป็นลวดลายแกะสลักหรือปูนปั้น เช่นที่ทับหลังปราสาทหินบางแห่ง ตามซุ้มปรางค์หรือเจดีย์ และที่ฐานพระพุทธรูป, กาฬมุข หรือ หน้ากาฬ ก็เรียก. |
แกนทราย | น. แกนที่ใช้ในการหล่อพระพุทธรูปหรืองานประติมากรรมไทยด้วยวิธีสูญขี้ผึ้ง ทำด้วยทรายผสมดินเหนียว หมักให้ชุ่มและเหยียบให้เข้ากันจนเหนียว จึงปั้นขึ้นเป็นรูปเลา ๆ เรียกว่า โกลน แล้วผึ่งให้แห้ง จากนั้นเอาขี้ผึ้งพอกและปั้นส่วนผิวจนเป็นรูปตามที่ต้องการ. |
ขัดสมาธิ | (ขัดสะหฺมาด) ว. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, ถ้าเอาขาซ้อนทับกัน เรียกว่า ขัดสมาธิสองชั้น, ถ้าเอาขาขวาทับขาซ้าย เรียกว่า ขัดสมาธิราบ, ถ้าเอาฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้างขึ้นข้างบน เรียกว่า ขัดสมาธิเพชร, ขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชรนั้น เป็นท่าพระพุทธรูปนั่ง. |
ขัดสมาธิ | (ขัดสะหฺมาด) น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย. |
ข้าวพระ | น. อาหารคาวหวานที่จัดใส่สำรับสำหรับถวายพระพุทธ. |
เขี้ยวแก้ว | น. เขี้ยวของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเขี้ยวแก้ว |
เขี้ยวตะขาบ | ชายผ้าสังฆาฏิของพระพุทธรูปในสมัยเชียงแสนและสุโขทัย มีลักษณะปลายผ้าย้อยต่ำแหลมลงมา ๒ ด้าน ปลายขมวดเข้าหากันคล้ายเขี้ยวของตะขาบ มีช่องตอนกลางยกสูง. |
ครบสามสิบสอง | ว. มีอวัยวะครบบริบูรณ์ ตามคติทางพระพุทธศาสนา. |
ครรภธาตุมณฑล | น. ภาวะอันแท้จริงของพระพุทธเจ้าซึ่งอยู่ในสรรพสัตว์ แต่ยังไม่ได้สำแดงให้ปรากฏ. |
ครรภมณฑล | น. ห้องประดิษฐานพระพุทธรูปหรือรูปพระโพธิสัตว์. |
ครอบ ๑ | (คฺรอบ) ก. เอาของที่มีลักษณะคลุ่ม ๆ คล้ายขันควํ่าเป็นต้นปิดงำไว้ เช่น เอาฝาชีครอบ เอากะลาครอบ. น. แก้วรูปลูกฟักตัดสำหรับครอบพระพุทธรูปหรือเครื่องบูชาเป็นต้น |
คันดาลฉัตร | น. คันฉัตรที่มีรูปเป็นมุมฉาก ๒ ทบอย่างลูกดาล เพื่อปักให้ฉัตรอยู่ตรงเศียรพระพุทธรูปเป็นต้น. |
คันธกุฎี | น. ชื่อกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระคันธกุฎี. |
คันธารราษฎร์ | ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง สำหรับตั้งในพิธีขอฝนและแรกนาเป็นต้น. |
คาถา ๑ | ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เป็น ๑ ใน ๙ ส่วนของคัมภีร์นวังคสัตถุศาสน์. (ป.). (ดู นวังคสัตถุศาสน์ ประกอบ). |
คู่บ้านคู่เมือง | ว. ที่เป็นของประจำบ้านเมืองหรือที่มีมาพร้อมกับบ้านเมือง ถือว่าเป็นของที่มีค่ามาก เช่น พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง. |
เคยยะ | น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เป็น ๑ ใน ๙ ส่วนของคัมภีร์นวังคสัตถุศาสน์. (ป.). (ดู นวังคสัตถุศาสน์ ประกอบ). |
เครื่องต้น | น. เครื่องทรงสำหรับพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีบรม-ราชาภิเษก, เรียกเต็มว่า ฉลองพระองค์เครื่องต้น, เครื่องทรงสำหรับพระพุทธรูป ซึ่งมีลักษณะอย่างเครื่องทรงพระเจ้าจักรพรรดิ เช่น พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม |
โคมเวียน | น. โคมชนิดที่มีที่ครอบหมุนได้ บนที่ครอบเขียนรูปภาพลำดับเรื่องในพระพุทธศาสนาเช่นมหาเวสสันดรชาดก เมื่อจุดไฟแล้วที่ครอบจะหมุนไปช้า ๆ ทำให้รูปภาพบนที่ครอบหมุนเวียนตามไปด้วย ใช้เป็นเครื่องตั้งดูเล่นตามงานในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานเทศน์มหาชาติ งานออกเมรุ |
งั่ง ๑ | น. รูปหล่อด้วยโลหะเหมือนพระพุทธรูป แต่ไม่มีผ้าพาด, เรียกพระพุทธรูปที่ยังไม่ได้ทำพิธีเบิกพระเนตร. |
จงกรมแก้ว | น. พระพุทธรูปปางหนึ่งยืนย่างพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสานพระเพลา มีเรือนแก้ว. |
จตุปัจจัย | (-ปัดไจ) น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา). |
จรณะ | (จะระ-) น. ความประพฤติ, ในพระพุทธศาสนาหมายความว่า ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องบรรลุวิชชา. |
จระนำ | (จะระ-) น. ซุ้มคูหาท้ายวิหารหรือท้ายโบสถ์มักเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เรียกว่า ซุ้มจระนำ. |
จริยาปิฎก | น. ชื่อคัมภีร์ที่ว่าด้วยการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าในชาติที่ล่วงแล้ว รวมอยู่ในขุทกนิกายแห่งสุตตันตปิฎก. |
จอมไตร | น. ผู้เป็นใหญ่ในโลกสาม, โดยมากหมายถึงพระพุทธเจ้า หรือ พระอิศวร (ตัดมาจาก จอมไตรโลก หรือ จอมไตรภพ). |
จาตุรงคสันนิบาต | น. การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันนั้นดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อมฆา) ๒. พระสงฆ์ ๑, ๒๕๐ รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา, คำสามัญว่า มาฆบูชา. |
จำลอง ๑ | ว. แทน เช่น พระพุทธชินราชจำลอง, ที่ทำให้เหมือนของจริง เช่น ท้องฟ้าจำลอง. |
จีวร, จีวร- | (จีวอน, จีวอนระ-) น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสำหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคำว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้าทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว ]. |
จุฑามณี | มวยผมของพระพุทธเจ้า |
จุฑามณี | ชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์ เรียกว่า จุฑามณีเจดีย์, จุฬามณี ก็ว่า. |
จุฬามณี | มวยผมของพระพุทธเจ้า |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
เครื่องทองน้อย | พานพุ่มดอกไม้ ธูป เทียน ที่ใช้บูชาพระพุทธรูปในพระราชพิธี [ศัพท์พระราชพิธี] |
จตุปัจจัย | เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) [ศัพท์พระราชพิธี] |
พระธรรมเทศนา | คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า [ศัพท์พระราชพิธี] |
บุษบก | ที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธี หรือประดิษฐานปูชนียวัตถุเช่นพระพุทธรูป เป็นต้น มณฑปขนาดเล็กแต่ด้านข้างโปร่ง [ศัพท์พระราชพิธี] |
ประดิษฐาน | [ ปฺระดิดสะถาน ] ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นําพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ในตําแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตําแหน่งอัครมเหสี [ศัพท์พระราชพิธี] |
พระนาภี | น. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ; ศูนย์กลาง [ศัพท์พระราชพิธี] |
Emerald buddha (Statue) | พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร [TU Subject Heading] |
Gautama Buddha | พระพุทธเจ้า [TU Subject Heading] |
Gautama Buddha--Footprints | พระพุทธบาท [TU Subject Heading] |
Little buddha (Motion picture) | พระพุทธเจ้ามหาศาสดา--โลกลืมไม่ได้ (ภาพยนตร์) [TU Subject Heading] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
แบบหล่อพระพุทธรูป | [baēp lø Phraphuttharūp] (n, prop) EN: mold for casting images of Buddha |
เจริญพระพุทธมนต์ | [jaroēn Phraphuthamon] (v, exp) EN: chant prayers FR: chanter des prières |
กราบพระพุทธเจ้า | [krāp Phra Phuttha Jao] (v, exp) EN: prostrate oneself to worship Buddha FR: se prosterner devant le Bouddha |
พระพุทธ | [Phra Phut] (n, prop) EN: Lord Buddha FR: le Bouddha |
พระพุทธเจ้า | [Phraphutthajao] (n, prop) EN: Lord Buddha FR: le Bouddha |
พระพุทธมนต์ | [Phraphuthamon] (n) EN: Buddha's mantra ; Buddha's stanza chant |
พระพุทธรูป | [Phraphuttharūp] (n, exp) EN: image of Buddha ; Statue of Buddha ; Buddha image FR: image du Bouddha [ f ] ; représentation du Bouddha [ f ] |
พระพุทธรูปแห่งบามิยัน | [Phraphuttharūp Haeng Bāmiyan] (n, prop) EN: Buddhas of Bamyan |
พระพุทธรูปสำริดสมัยศรีวิชัย | [Phraphuttharūp samrit samai] (xp) EN: bronze Buddha image of the Srivichai period |
พระพุทธศาสนา | [Phraphutthasātsanā] (n, prop) EN: Buddhism FR: bouddhisme [ m ] |
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า | [Somdēt Phra Phuttha Yøtfā] (n, prop) EN: His Majesty King Phra Buddha Yodfa |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
Buddha | (n) พระพุทธเจ้า, See also: พระพุทธ, ผู้ตรัสรู้, พระพุทธองค์, พระโพธิสัตว์, พระพุทธคุณ, ธรรมาทิตย์, พระศาสดา, ภควันต์ |
Buddha image | (n) พระพุทธรูป, See also: ปฏิมา, ปฏิมากร |
Buddhism | (n) พุทธศาสนา, See also: ศาสนาพุทธ, พระพุทธศาสนา |
gold leaf | (n) แผ่นทองบางมาก สำหรับปิดทองพระพุทธรูป, See also: ทองแผ่น |
Hinayana | (n) นิกายหินยานของพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา พม่า ไทยและกัมพูชา, See also: ชื่อนิกายในพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่นับถือกันในศรีลังกา พม่า ไทยและกัมพูชาและกัมพูชา, ชื่ |
image of Buddha | (n) พระพุทธรูป |
Hope Dictionary
buddha | (บูด'ดะ) พระพุทธเจ้า. |
butsu | (บุท'ชุ) n. พระพุทธเจ้า |
gautama | n. พระพุทธเจ้า, Syn. Buddha |
gautama buddha | n. พระพุทธเจ้า, Syn. Buddha |
gotama | n. พระพุทธเจ้า, Syn. Buddha |
joss | (จอส) n. พระพุทธรูปของจีน, รูปปั้นบูชาจีน |
Nontri Dictionary
Buddha | (n) พระพุทธเจ้า, สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระพุทธองค์ |
Longdo Approved JP-TH
仏教 | [ぶっきょう, bukkyou] (n) พระพุทธศาสนา |
Longdo Approved DE-TH
Buddha | (n) |der, nur Sg.| พระพุทธเจ้า |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.5131 seconds
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม