220 ผลลัพธ์ สำหรับ *ผูกพัน*
ภาษา
หรือค้นหา: ผูกพัน, -ผูกพัน-Longdo Unapproved TH - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ประดิพัทธ์ | ความรักใคร่ผูกพัน |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ข้อผูกพัน | (n) commitment, See also: obligation, pledge, Syn. ข้อผูกมัด, ข้อสัญญา, พันธะ, สัญญาผูกมัด, Example: ข้อผูกพันเรื่องการส่งออกข้าวระหว่างไทยกับญี่ปุ่นกำลังจะสิ้นสุดลง, Count Unit: ข้อ, ประการ |
ความผูกพัน | (n) relationship, See also: connection, Syn. ความสัมพันธ์, Example: เพื่อนสองคนนี้มีความผูกพันกันมานาน |
ภาระผูกพัน | (n) obligation, See also: charge, Example: ในปีนี้ฐานะเงินคงคลังของประเทศเหลือเพียง 103, 635 ล้านบาท และในจำนวนนี้มีภาระผูกพันที่จะต้องใช้อีกประมาณ 6 หมื่นกว่าล้านบาท, Thai Definition: เรื่องที่ต้องรับผิดชอบต่อเนื่องไป |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ผูกพัน | ก. มีความเป็นห่วงกังวลเพราะรักใคร่เป็นต้น |
ผูกพัน | ก่อให้เกิดพันธะที่จะต้องปฏิบัติตาม |
ผูกพัน | ก่อหนี้สินผูกมัดรัฐบาลให้ต้องจ่ายในงบประมาณแผ่นดินต่อ ๆ ไป เช่น หนี้ผูกพัน งบประมาณผูกพัน รายจ่ายผูกพัน. |
กระสัน | ก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึงไก่ในไพรพฤกษ์ (ลอ) |
กระสัน | ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสองกระสันเข้าให้มั่นกับมือ (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน |
การคลัง | ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือให้สัตยาบัน รวมทั้งการคํ้าประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ. |
เกี่ยว | ก. อาการที่สิ่งงอเป็นขอเกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น ทอดสมอให้เกี่ยวแง่หินไว้, เอาของที่มีลักษณะเช่นนั้นเกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น เอาขอเกี่ยว, ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เช่น เรื่องนี้อันตรายมากอย่าเอาตัวเข้าไปเกี่ยวเลย, เกี่ยวข้อง ก็ว่า |
เกี่ยวข้อง | ก. ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เกี่ยว ก็ว่า. |
แขย่ง | (ขะแหฺย่ง) ว. แขย็ก ๆ, อาการที่ปีนขยับขึ้นไปทีละน้อย ๆ ขึ้นไปได้ไม่สะดวก, เช่น ผ้าคาดพุงผูกพันขยันตะแบง แขย่งเข่นฆ่าพร้าขัดเอว (ม. ร่ายยาว ชูชก), มักใช้พูดเข้าคู่กับคำ เขย้อ เป็น เขย้อแขย่ง. |
คำสนอง | น. การแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งตกลงรับคำเสนอของบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง อันเป็นผลให้เกิดมีความผูกพันเป็นสัญญาขึ้นตามกฎหมาย. (ดู คำเสนอ ประกอบ). |
ค้ำประกัน | น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้คํ้าประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น. |
คิดถึง | ก. นึกถึง, นึกถึงด้วยใจผูกพัน. |
จดจ่อ | ก. มีใจฝักใฝ่ผูกพันอยู่. |
ชาติพันธุ์ | (ชาดติพัน) น. กลุ่มที่มีพันธะเกี่ยวข้องกัน และที่แสดงเอกลักษณ์ออกมา โดยการผูกพันลักษณาการของเชื้อชาติและสัญชาติเข้าด้วยกัน. |
ติด ๑ | ชอบอย่างขาดไม่ได้ เช่น ติดบุหรี่ ติดฝิ่น ติดละครโทรทัศน์, ผูกพันอยู่อย่างไม่ยอมห่าง เช่น ลูกติดแม่ หมาติดเจ้าของ ติดผู้หญิง |
ถลำใจ | ก. ปล่อยใจให้ผูกพันจนยากที่จะถอนออกได้ เช่น ถลำใจไปรักเขาแล้ว. |
ทอดอาลัย | ก. ปล่อยไปตามบุญตามกรรมทั้ง ๆ ที่ยังมีใจผูกพันหรือมีความเสียดายอยู่. |
ปฏิพัทธ์ | ก. ผูกพัน, รักใคร่, เช่น มีจิตปฏิพัทธ์. |
ประพัทธ์ | ก. เนื่อง, ผูกพัน. |
ปลด | โดยปริยายหมายความว่า ทำให้พ้นจากข้อผูกพันหรือพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ เช่น ปลดหนี้ ปลดออกจากราชการ. |
ปล่อยนกปล่อยกา | ก. ปล่อยให้เป็นอิสระ, ไม่เอาผิด, ปล่อยให้พ้นจากความผูกพัน, ปล่อยลูกนกลูกกา ก็ว่า. |
ปล่อยลูกนกลูกกา | ก. ปล่อยให้เป็นอิสระ, ไม่เอาผิด, ปล่อยให้พ้นจากความผูกพัน, ปล่อยนกปล่อยกา ก็ว่า. |
เปล่า | ไม่มีข้อผูกพัน เช่น ให้เปล่า ได้เปล่า. |
ผู้ค้ำประกัน | ผู้ที่ทำสัญญาผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น. |
ผูกมัด | ก. ผูกพันไว้แน่น. |
ฝักใฝ่ | ก. เอาใจใส่, ผูกพัน. |
ใฝ่ | ก. มุ่ง, หวัง, ใคร่, ผูกพัน. |
ใฝ่ใจ | ก. เอาใจผูกพันอยู่. |
พลัดพราก | (-พฺราก) ก. แยกออกจากบุคคลหรือสถานที่ที่เคยผูกพัน. |
พันพัว | ว. เกี่ยวเนื่องกัน, ผูกพันกัน, เกี่ยวโยงพาดพิงถึงกัน, เช่น พันพัวกับคดีทุจริต, พัวพัน ก็ว่า. |
พันธ-, พันธ์, พันธะ | (พันทะ-) น. ข้อผูกมัด, ข้อผูกพัน. |
พัวพัน | ว. เกี่ยวเนื่องกัน, ผูกพันกัน, เกี่ยวโยงพาดพิงถึงกัน, เช่น พัวพันกับคดีทุจริต, พันพัว ก็ว่า. |
ภาระจำยอม | น. ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น ทางภาระจำยอม. |
ภาระติดพัน | น. ความผูกพันที่จะต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง. |
ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ | น. ข้อผูกพันที่ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับการชำระหนี้เป็นคราว ๆ จากอสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ในภาระติดพัน หรือได้ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้. |
โมฆ-, โมฆะ | เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย. |
โมฆกรรม | น. นิติกรรมที่เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย, กฎหมายเขียนเป็น โมฆะกรรม. |
เยื่อใย | น. ความเกี่ยวพันแม้จะขาดกันไปแล้ว แต่ก็ยังมีอาลัยเหลืออยู่, ความผูกพันที่ยังตัดไม่ขาด, เช่น เขาทิ้งไปอย่างไม่มีเยื่อใย. |
รัก ๒ | ก. มีใจผูกพันด้วยความห่วงใย เช่น พ่อแม่รักลูก รักชาติ รักชื่อเสียง, มีใจผูกพันด้วยความเสน่หา, มีใจผูกพันฉันชู้สาว, เช่น ชายรักหญิง, ชอบ เช่น รักสนุก รักสงบ. |
ลอยตัว | พ้นข้อผูกพัน เช่น ค่าเงินบาทลอยตัว ราคาน้ำมันลอยตัว. |
ว่าง | ไม่มีภาระผูกพัน เช่น วันนี้ว่างทั้งวัน เย็นนี้หมอว่างไม่มีคนไข้. |
ไว้อาลัย | ว. อาการที่แสดงความระลึกถึงเพราะมีใจผูกพันกับผู้ที่จากไป เช่น ยืนไว้อาลัย กล่าวคำไว้อาลัย. |
สมาน ๒ | เชื่อม, ผูกพัน, เช่น สมานไมตรี. |
สันทาน | น. สายป่าน, เชือก, เครื่องผูกพัน. |
สัมพันธ-, สัมพันธ์, สัมพันธน์ | (สำพันทะ-, สำพัน) ก. ผูกพัน, เกี่ยวข้อง, เช่น เขากับฉันสัมพันธ์กันฉันญาติ ข้อความข้างหลังไม่สัมพันธ์กับข้อความข้างหน้า. |
สัมพันธภาพ | น. ความผูกพัน, ความเกี่ยวข้อง, เช่น สัมพันธภาพระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตดีขึ้นตามลำดับ. |
สัมพันธไมตรี | น. ความเกี่ยวข้องผูกพันกันฉันมิตร เช่น ประเทศไทยมีสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน. |
สายใจ | น. กระแสแห่งความรักและความผูกพัน, เรียกผู้ที่เป็นที่รักดังดวงใจ. |
สายใย | น. โลหะเส้นเล็ก ๆ ขดเป็นวงในเครื่องนาฬิกาชนิดที่ไม่มีลูกตุ้ม ทำให้เกิดแรงเหวี่ยง บังคับให้นาฬิกาเดินเที่ยงตรง, โดยปริยายหมายถึงความผูกพัน เช่น สายใยแห่งความรักระหว่างแม่กับลูก. |
สายสัมพันธ์ | น. ความผูกพันกันมาช้านาน, ความเกี่ยวข้องเป็นมิตรไมตรีกันมานาน, เช่น ไทยกับจีนมีสายสัมพันธ์อันดีมาหลายร้อยปีแล้ว. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
post-obit bond | ข้อผูกพันที่จะชำระหนี้เมื่อบุคคลที่ระบุไว้ถึงแก่ความตาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
self-adjoint | ผูกพันในตัว [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] |
sponsion | ข้อตกลงที่ยังไม่ผูกพัน (เว้นแต่จะได้รับสัตยาบัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
onerous | มีภาระผูกพันเกินควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
onerous contract | สัญญาที่มีภาระผูกพันเกินควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
onerous term | ข้อกำหนดที่มีภาระผูกพันเกินควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
obligation | ๑. พันธกรณี, ข้อผูกพัน๒. หนี้ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
obligation | พันธะ, ข้อผูกพัน [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
obligation | ๑. หนี้, ข้อผูกพัน (ก. แพ่ง)๒. พันธกรณี (ก. ระหว่างประเทศ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
obligation of a contract | หนี้ตามสัญญา, ข้อผูกพันตามสัญญา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
obligatory reinsurance | การประกันภัยต่อโดยผูกพัน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
obligor | ผู้มีภาระผูกพัน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
adjoint | ผูกพัน [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] |
adjoint equation | สมการผูกพัน [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] |
adjoint matrix | เมทริกซ์ผูกพัน [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] |
adjoint operator | ตัวดำเนินการผูกพัน [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] |
binding receipt | ใบรับผูกพัน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
bilateral contract | สัญญาผูกพันสองฝ่าย [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
bilateral discharge | การพ้นจากความผูกพันตามสัญญา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
mutuality | ความผูกพันซึ่งกันและกัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
clean cut basis | หลักการตัดภาระผูกพัน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
cease to be binding | สิ้นความผูกพัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
domestic agreement | ข้อตกลงระหว่างคนในครอบครัว (ที่ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
facultative obligatory treaty | สัญญาประกันภัยต่อผูกพันแบบเฉพาะราย [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
engagement | ข้อผูกพัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
imperfect obligation | หนี้ที่ไม่ผูกพัน (ตามกฎหมาย), หนี้ทางศีลธรรม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
non-performance | ๑. การไม่ชำระหนี้๒. การไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
unilateral contract | สัญญาผูกพันฝ่ายเดียว [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
unilateral contract | สัญญาผูกพันฝ่ายเดียว [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
wedlock | ความผูกพันทางสมรส [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Take or Pay | ข้อผูกพันในการซื้อขายก๊าซ, Example: ข้อผูกพันในการซื้อขายก๊าซซึ่งผู้ซื้อได้ตกลงกับผู้ขายที่จะซื้อและรับก๊าซในปริมาณที่ตกลงไว้ ถ้าผู้ซื้อไม่สามารถรับก๊าซในปริมาณและระยะเวลาที่ตกลงไว้ จะต้องจ่ายมูลค่าก๊าซที่ยังไม่ได้รับไปก่อนแล้วไปรับก๊าซคืนในปีถัดไป (Make-up) (ดูคำ Make-up Gas) [ปิโตรเลี่ยม] |
Make-up Gas | ก๊าซส่วนที่รับคืนมาจากการจ่ายเงินค่าก๊าซไปแล้วในปีก่อนตามข้อผูกพัน Take or Pay, ก๊าซส่วนที่รับคืนมาจากการจ่ายเงินค่าก๊าซไปแล้วในปีก่อนตามข้อผูกพัน Take or Pay (ดูคำ Take or Pay) [ปิโตรเลี่ยม] |
Investment commitment | ภาระผูกพันในการลงทุน [เศรษฐศาสตร์] |
Acute intake | การรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีเฉียบพลัน, การรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายภายในระยะเวลาสั้น ซึ่งสามารถนำไปคำนวณเป็นปริมาณรังสีผูกพันที่ได้รับในคราวเดียว [นิวเคลียร์] |
Annual Limit on Intake | เอแอลไอ, ขีดจำกัดการรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีรอบปี, ปริมาณสูงสุดของนิวไคลด์กัมมันตรังสีแต่ละชนิด ที่ร่างกายได้รับโดยการหายใจ การกิน หรือ ผ่านทางผิวหนังในเวลา 1 ปี ได้จากการคำนวณปริมาณรังสีผูกพันโดยใช้แบบจำลองมนุษย์อ้างอิง (Reference Man) จะเท่ากับขีดจำกัดปริมาณรังสี [นิวเคลียร์] |
Chronic intake | การรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีต่อเนื่อง, การรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ การกิน หรือ การซึมผ่านผิวหนังหรือบาดแผล อย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลานาน ดังนั้น ปริมาณรังสีผูกพันจึงเป็นผลรวมของปริมาณรังสีผูกพันที่ได้รับในคราวเดียวของแต่ละช่วง [นิวเคลียร์] |
Committed dose | ปริมาณ (รังสี) ผูกพัน, ปริมาณรังสียังผลจากสารกัมมันตรังสีที่เข้าสู่ร่างกาย บางชนิดจะกระจายไปทั่วร่างกาย บางชนิดจะไปสะสมอยู่ในอวัยวะเฉพาะที่ เรียกว่า อวัยวะวิกฤติ (critical organ) เช่น ไอโอดีนจะสะสมอยู่ที่ต่อมไทรอยด์ รังสีจะมีผลต่อร่างกายจนกว่าสารกัมมันตรังสีนั้นสลายหมดไปหรือถูกขับถ่ายออกจนหมด ปกติจะคำนวณระยะเวลาการรับรังสี 50 ปีสำหรับผู้ใหญ่ และ 70 ปีสำหรับเด็ก มีหน่วยเป็น ซีเวิร์ต [นิวเคลียร์] |
ผูกพัน | Example: คำที่มักเขียนผิด คือ ผูกพันธ์ [คำที่มักเขียนผิด] |
Organizational commitment | ความผูกพันต่อองค์การ [TU Subject Heading] |
accession | ภาคยานุวัติ หมายถึง การให้ความยินยอมที่จะผูกพันตามสนธิสัญญาภายหลังจากที่มีการลงนามในสนธิ สัญญาไปแล้ว [การทูต] |
agreement (accord) | ความตกลง ความตกลงระหว่างประเทศมี 2 ลักษณะ คือ ความตกลงที่มีลักษณะเป็นข้อผูกพันตามกฎหมาย และความตกลงที่ไม่มีลักษณะเป็นข้อผูกพันตามกฎหมาย [การทูต] |
aide-mémoire | บันทึกช่วยจำ " 1. เป็นเอกสารที่สร้างข้อผูกพัน ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของสัญญา 2. ในทางการเมืองระหว่างประเทศ เป็นเอกสารที่ช่วยย้ำประเด็นที่ได้มาพบและพูดไว้ " [การทูต] |
Bangkok Declaration : Global Dialogue and Dynamic Engagement | ปฏิญญากรุงเทพ : การหารือและการมีส่วนร่วมอย่างมีพลวัตของประชาคมโลก " หนึ่งในสองของเอกสารผลการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่แสดงฉันทามติของประเทศสมาชิกอังค์ถัด 190 ประเทศ เกี่ยวกับผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ร่วมทางการเมืองของประเทศสมาชิกอังค์ถัดที่จะร่วมมือ กันดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อทำให้สมาชิกทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ได้รับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ในด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อีกทั้งเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบของกระบวนการโลกาภิวัตน์ได้ แม้ปฏิญญากรุงเทพจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมือง เป็นสัญญาประชาคมที่ทุกประเทศสมาชิกอังค์ถัดมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามแนว นโยบายที่ได้ร่วมกันแถลงไว้ในเอกสารดังกล่าว และเอกสารนี้สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการเจรจาหารือระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเรื่องของการเงิน การค้า การลงทุน และการพัฒนาได้ " [การทูต] |
Bangkok Plan of Action | แผนปฏิบัติการกรุงเทพ (ในการประชุมอังค์ถัด) เป็นเอกสารที่ระบุรายละเอียดของแนวนโยบาย วิธีการ และมาตรการในการดำเนินนโยบายด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการพัฒนาที่ประเทศสมาชิกอังค์ถัดได้ตกลงโดยฉันทามติเมื่อการประชุมอัง ค์ถัด ครั้งที่ 10 เพื่อให้ประเทศสมาชิกอังค์ถัดและสำนักเลขาธิการอังค์ถัดดำเนินการให้บรรลุ วัตถุประสงค์ตามที่แถลงไว้ในแถลงการณ์กรุงเทพ และเป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมืองเช่นเดียวกัน แผนปฏิบัติการกรุงเทพแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้ (1) การประเมินผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบของโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีต่อการ พัฒนา (2) การประมวลพัฒนาการของข้อริเริ่มระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ (3) มาตรการและข้อริเริ่มต่าง ๆ ที่นำมาใช้โดยประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศกำลังพัฒนารวมตัวเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้ และ (4) บทบาทในอนาคตของอังค์ถัด [การทูต] |
charter | กฎบัตร หนังสือสัญญาก่อตั้ง เป็นหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ มีข้อผูกพันแน่นอน เช่น กฎบัตร สหประชาชาติ [การทูต] |
Commonwealth of Nations | การรวมตัวของชาติต่าง ๆ เข้าเป็นสมาคมทางการเมือง ประกอบด้วยประเทศสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ลังกา ไซปรัส แกมเบีย กาน่า อินเดีย จาไมก้า คีเนีย มาเลเซีย มาลาวี มอลต้า นิวซีเแลนด์ ไนจีเรีย ปากีสถาน ซิเอร่าเลโอน แทนเซียเนีย ทรินิแดด-โทเบโก ยูแกนดา และแซมเบียตามทรรศนะของ Oppenheim ศาสตราจารย์นักกฎหมายระหว่างประเทศในระดับโลก สมาคมทางการเมืองแห่งนี้ก็คือกลุ่มของรัฐที่รวมกันโดยไม่มีพื้นฐานการรวมตัว ทางกฎหมายที่เคร่งครัดแต่อย่างใด หากแต่มีความผูกพันร่วมกันในด้านประวัติศาสตร์ จารีตประเพณี กฎหมาย และมีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างแน่นแฟ้นมากกว่า [การทูต] |
declaration | ปฏิญญา มีความหมาย 3 อย่าง คือ (1) ความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะผูกพัน (2) ปฏิญญาฝ่ายเดียว ซึ่งก่อสิทธิและหน้าที่ให้แก่ประเทศอื่น และ (3) ปฏิญญาซึ่งรัฐหนึ่งแถลงให้รัฐอื่นทราบความเห็นและเจตนาของตนในเรื่องบาง เรื่อง [การทูต] |
Exemption from Taxation of Diplomatic Agent | การยกเว้นภาษีอากรให้แก่ตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ข้อ 34 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ให้ตัวแทนทางการทูตได้รับยกเว้นจากภาระผูกพันและภาษีทั้ง ปวงของชาติท้องถิ่นหรือเทศบาล ในส่วนบุคคลหรือในทรัพย์สิน เว้นแต่ก. ภาษีทางอ้อม ชนิดที่ตามปกติรวมอยู่ในราคาของสินค้าหรือบริการแล้วข. ภาระผูกพันและภาษีจากอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ซึ่งตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับ นอกจากว่า ตัวแทนทางการทูตครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นไว้ในนามของรัฐผู้ส่ง เพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนค. อากรกองมรดก การสืบมรดก หรือการรับมรดก ซึ่งรัฐผู้รับเรียกเก็บภายในบังคับแห่งบทของวรรค 4 ข้อ 39 ง. ภาระผูกพันและภาษีจากเงินได้ส่วนตัว ซึ่งมีแหล่งกำเนิดในรัฐผู้รับ และภาษีเก็บจากเงินทุนซึ่งได้ลงทุนในการประกอบการพาณิชย์ในรัฐผู้รับจ. ค่าภาระซึ่งเรียกเก็บสำหรับบริการจำเพาะที่ได้ให้ฉ. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ค่าธรรมเนียมศาล หรือสำนวนความ ภาระผูกพันในการจำนอง และอากรแสตมป์ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ภายในบังคับแห่งบทของข้อ 23?นอกจากนี้ ข้อ 35 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติไว้ด้วยว่า ?ให้รัฐผู้รับให้ตัวแทนทางการทูตได้รับการยกเว้นจากการบริการส่วนบุคคลทั้ง มวล จากบริการส่วนสาธารณะทั้งมวล และจากข้อผูกพันทางทหาร เช่น ส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกเกณฑ์ ส่วนบำรุง หรือเรียกคืนที่พักอาศัยเพื่อปฏิบัติการทางทหาร? [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
International Covenant on Civil and Political Rights | กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน 1 ใน 2 ฉบับ ซึ่งแปรข้อบทในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 มีผลใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2519 ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540 [การทูต] |
International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights | กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม " เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน 1 ใน 2 ฉบับ ซึ่งแปรข้อบทในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 มีผลใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2519 ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2542 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 " [การทูต] |
instrument of acceptance | ตราสารรับรอง " เป็นหนังสือรับรองว่ายินยอมที่จะผูกพันทางสนธิสัญญาหลังจาก ลงนามในสนธิสัญญาแล้ว " [การทูต] |
instrument of ratification | สัตยาบันสาร " เป็นหนังสือแสดงความยินยอมที่จะผูกพันทางสนธิสัญญาหลังจาก ลงนามในสนธิสัญญาแล้ว " [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
obligation | พันธภาพ ข้อผูกพัน พันธกรณี [การทูต] |
Parliamentary Diplomacy | การทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต] |
Persona non grata | เป็นศัพท์ที่ใช้กับนักการทูตหรือผู้แทนทางการทูต ที่ประจำอยู่ในประเทศซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ปรารถนาให้อยู่ต่อไปอีกแล้ว หลังจากที่ได้ไปประจำทำงานในตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้น หรือก่อนหน้าที่นักการทูตผู้นั้นจะเดินทางไปถึงดินแดนของประเทศผู้รับ (Receiving State) นักการทูตที่ถูกประกาศเป็น persona non grata หรือ บุคคลที่ไม่พึงปรารถนานั้น เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ กล่าวคำดูหมิ่นรัฐบาลของประเทศที่ตนไปประจำอยู่ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองนั้น แทรกแซงในการเมืองภายในของเขา เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของเขา ใช้ถ้อยคำก้าวร้าวต่อประเทศนั้น วิพากษ์ประมุขแห่งประเทศของเขากระทำการอันเป็นที่เสียหายต่อประโยชน์หรือต่อ ความมั่นคงของประเทศ และกระทำการอื่น ๆ ในทำนองนั้นตามปกติรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพที่เป็นฝ่ายเสียหายจะขอร้องให้ รัฐบาลผู้ส่ง (Sending government) เรียกตัวนักการทูตผู้กระทำผิดกลับประเทศ ซึ่งตามปกติรัฐบาลผู้ส่งมักจะปฏิบัติตาม รัฐบาลของประเทศผู้เสียหายจะแจ้งให้นักการทูตผู้นั้นทราบว่า รัฐบาลจะไม่ทำการติดต่อเกี่ยวข้องเป็นทางการกับเขาอีกต่อไป หรืออาจจะบอกให้นักการทูตผู้นั้นออกไปจากประเทศโดยไม่เกรงใจแต่อย่างใดก็ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 9 ดังต่อไปนี้ ?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ และโดยมิต้องชี้แจงถึงการวินิจฉัยของตนว่า หัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่พึงโปรด หรือว่าบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีใดเช่นว่านี้ ให้รัฐผู้ส่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นกับคณะผู้แทนเสียก็ได้ตามที่เหมาะสมบุคคลอาจจะ ถูกประกาศให้เป็นผู้ไม่พึงโปรด หรือไม่พึงยอกรับได้ก่อนที่จะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธ หรือไม่นำพาภายในระยะเวลาอันสมควร ที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันของคนภายใต้วรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับสามารถปฏิเสธที่จะยอมรับนับถือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็นบุคคล ในคณะผู้แทนก็ได้? [การทูต] |
Persons Entitled to Diplomatic Privileges and Immunities | บุคคลทีมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้ม ครองกันทางการทูต มาตรา 37 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ว่า ?1. คนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ระบุไวในข้อ 29 ถึง 36 2. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการของคณะผู้แทน รวมทั้งคนในครอบครัวของตน ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตน ตามลำดับ ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ระบุไว้ในข้อ 29 ถึง 35 เว้นแต่ว่าความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่งและทางปกครองของรัฐผู้รับ ที่ได้ระบุไว้ในวรรค 1 ของข้อ 31 นั้น ไม่ให้ขยายไปถึงการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปเกินภารกิจหน้าที่ของตน ให้บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการได้อุปโภคเอกสิทธิ์ ที่ได้ระบุไว้ในข้อ 36 วรรค 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งของที่ได้นำเข้าเมื่อเข้ารับหน้าที่ครั้งแรกด้วย 3. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการของคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้ รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับให้ได้อุปโภคความคุ้มกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติตามภารกิจหน้าที่ตน การยกเว้นจากค่าภาระผูกพันรวมทั้งภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่ตนได้รับโดยเหตุผล จากการรับจ้างของตน และการยกเว้นที่ได้บรรจุไว้ในข้อ 33 4. คนรับใช้ส่วนตัวของบุคคลในคณะผู้แทน ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ประจำในรัฐผู้รับ ให้ได้รับการยกเว้นจากค่าภาระผูกพัน หรือภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่เขาได้รับโดยเหตุผลจากการรับจ้างของตนในส่วน อื่น คนรับใช้ส่วนตัวเช่นว่านี้ อาจได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเท่าที่รัฐผู้รับยอมให้เท่านั้น อย่างไรก็ดี รัฐผู้รับต้องใช้อำนาจของตนเหนือบุคคลเช่นว่านี้ ในการที่จะไม่แทรกสอดโดยไม่สมควรในการปฏิบัติการหน้าที่ของคณะผู้แทน [การทูต] |
ratification | การให้สัตยาบันของรัฐซึ่งเป็นการให้ความยินยอมของรัฐ เพื่อผูกพันตามสนธิสัญญา [การทูต] |
World Food Summit | การประชุมสุดยอดอาหารโลก " จัดโดย FAO ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 13-17 พฤศจิกายน 2539 เป็นการประชุมระดับผู้นำรัฐบาล เพื่อสร้างเจตนารมณ์ด้าน การเมือง และข้อผูกพันระหว่างประเทศให้เกิดความมั่นคงด้านอาหาร และการขจัดปัญหาความหิวโหยสำหรับประชากรโลก " [การทูต] |
Affiliation | ความต้องการผูกพันกับคนอื่น [การแพทย์] |
Attachment | การเกาะ, ความผูกพัน, การติดผิว, ประกบติด [การแพทย์] |
Concept, Attachment | ความรู้รวบยอดของความผูกพันใกล้ชิด [การแพทย์] |
Emotionally Dependent | ความผูกพันยึดถือทางอารมณ์ [การแพทย์] |
Linkage | ความผูกพัน, การเชื่อมต่อ [การแพทย์] |
Linkage Disequilibrium | ความผูกพัน [การแพทย์] |
Maternal Attachment Bond | การสร้างความผูกพันของแม่ต่อลูก [การแพทย์] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
อำนาจผูกพัน | [amnāt phūkphan] (n, exp) FR: compétence liée [ f ] |
การไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพัน | [kān mai patibattām khøphūkphan] (n, exp) EN: non-performance |
ข้อผูกพัน | [khøphūkphan] (n) EN: commitment ; obligation ; pledge FR: obligation [ f ] ; engagement [ m ] |
ความผูกพัน | [khwām phūkphan] (n) EN: relationship ; connection ; ties |
มีผลผูกพัน | [mī phon phūkphan] (adj) EN: conditional |
ภาระผูกพัน | [phāra phūkphan] (n, exp) EN: obligation |
ผูกพัน | [phūkphan] (v) EN: commit ; be bound |
ผูกพัน | [phūkphan] (adj) EN: bound FR: attaché à ; engagé ; lié |
Longdo Approved EN-TH
collectivism | (n) ความรู้สึกผูกพันกับกลุ่ม เช่น Collectivism is an answer to the first question. It says value to the collective, whether that's society, your tribe, your family, your nation and your race. |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
acquit | (vt) ทำให้ปราศจากข้อผูกพัน, See also: ทำให้ปราศจากภาระ |
attach | (vt) มีความสัมพันธ์กับ, See also: มีความผูกพันกับ |
attachment | (n) ความผูกพันทางอารมณ์, Syn. affection, fondness |
band | (n) พันธะ, See also: ข้อผูกพัน, ข้อผูกมัด, Syn. bond |
bound | (adj) ผูกพัน, See also: สนิทสนม |
bind up with | (phrv) ผูกมัดกับ, See also: ผูกพันกับ, เกี่ยวข้องกับ, Syn. tie in with, tie up with |
cement | (n) สิ่งทำให้ผูกพันกัน |
undertaking | (n) ข้อผูกพัน, See also: สัญญา, Syn. promise, pledge |
Hope Dictionary
affiliate | (อะฟิล' ลิเอท) vt., vi. ผูกพัน, เข้าร่วม, รับเป็นสมาชิก, สืบสาวเรื่องราว, เป็นพี่น้องกัน, ยกให้เป็นพี่น้อง, รับเป็นบุตร. -n. สาขา (กิจการธุรกิจ) , ผู้ที่เป็นสมาชิกหรือผูกพัน. -affiliable adj. -affiliation n., Syn. branch, associate |
ally | (vt, vi. อะไล', -n. แอล' ไล, อะไล') ผูกพัน, เข้าข้าง, เป็นพันธมิตร, พันธมิตร, ประเทศพันธมิตร, พรรคพวก, ผู้ช่วย, สิ่งที่เกี่ยวดองกัน. -alliable adj., Syn. confederate, partner-A. enemy |
astrict | (แอสทริคท') vt. ผูกมัด, จำกัด, ผูกพัน (ทางใจหรือนิตินัย) . -astriction n. |
attachment | (อะแทช'เมินทฺ) n. การติด, การผูกติด, ภาวะที่ผูกติด, ความรู้สึกผูกพัน, การอุทิศ, สิ่งยึดติด, สิ่งที่ผูกพัน, อุปกรณ์ติดตั้ง, การยึดทรัพย์, Syn. connection, device, affinity |
band | (แบนดฺ) { banded, banding, bands } n. สายคาด, สายรัด, แถบ, ปลอก, หมู่, พวก, คณะ, วงดนตรี, คณะตนตรี, ช่วงความถี่ของคลื่นวิทยุ, สิ่งผูกมัดคน, โซ่ตรวน, ปลอกรัด, พันธะ, ข้อผูกพัน vt., vi. ใช้สายผูกรัด, รวมกลุ่ม, ประดับด้วยสายหรือแถบ, See also: bander n. |
bind | (ไบดฺ) { bound, bound, binding, binds } vt., vi., n. (การ) ผูก, มัด, พัน, เข้าปก, เย็บเล่ม, เชื่อมผนึก, ทำให้ท้องผูก, ผูกพัน, ยับยั้ง, ยึดแน่น, แข็งตัว, See also: bindable adj. ดูbind, Syn. tie |
binding | (ไบน์'ดิง) n. การผูก, การมัด, สิ่งผูกมัด, การเข้าปกหนังสือ, การเย็บเล่มหนังสือ, การทำให้ท้องผูก, สายมัด, สายพัน, ยาเชื่อมติด adj. จำเป็น, ผูกพัน, Syn. compelling |
contractual | adj. ซึ่งเกี่ยวกับสัญญา, ซึ่งผูกพันโดยสัญญา |
knot | (นอท) n. ปม, เงื่อน, โบว์, ปัญหา, เงื่อนงำ, ความผูกพัน, กลุ่มเล็ก, กระจุก, ตาไม้, หน่วยความเร็วหนึ่งไมล์ทะเลหรือ6080ฟุตต่อชั่วโมง, ไมล์ทะเล (6080ฟุต) vt., vi. ผูกปม, ผูกเงื่อน, ทำให้เกี่ยวดองกัน, ทำให้เป็นทองแผ่น, เดียวกัน, Syn. tie, bond, tangle |
object linking and embedd | การเชื่อมโยงและการฝังตัวของวัตถุใช้ตัวย่อว่า OLE (อ่านว่า โอเล) เท่ากับการแทรกเอกสาร หรือ ภาพ หรือบางส่วนของเอกสาร ที่ได้สร้างขึ้นไว้ในโปรแกรมหนึ่ง (เรียกว่า วัตถุ) เข้าไปในแฟ้มเอกสาร หรือส่วนของเอกสารที่สร้างขึ้นมาจากอีกโปรแกรมหนึ่ง แถมด้วยการที่สามารถยึดโยงหรือเชื่อมโยงความผูกพันระหว่างเอกสารทั้งสองไว้ให้อีกด้วย การยึดโยงดังกล่าวมีความหมายว่า การแก้ใขแฟ้มหนึ่งจะทำให้อีกแฟ้มหนึ่งถูกแก้ไปด้วยโดยอัตโนมัติ วิธีการนี้นิยมใช้มากในระบบวินโดว์ |
obligation | (ออบละเก'เชิน) n. พันธะ, ความจำเป็น, ภาวะหน้าที่, หน้าที่, ข้อผูกพัน, เกณฑ์, หนี้, การบังคับ, บุญคุณ, ความรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณ, สัญญา, พันธบัตร, ตั๋วเงิน, เงินชำระหนี้., See also: obligative adj., Syn. duty, debt |
obligatory | (อะบลิก'กะโทรี, -ทอ'รี, ออบ'ละกะโทรี) adj. เป็นพันธะ, เป็นภาระหน้าที่, จำเป็น, จำต้อง, เป็นข้อผูกพัน., See also: obligatorily adv. |
ole | (โอเล') n. การตะโกน, เปล่งเสียงที่แสดงถึงการเห็นด้วย โอเล <คำอ่าน>ย่อมาจาก object linking and embedding (แปลว่า การเชื่อมโยงและการฝังตัวของวัตถุ) เท่ากับการแทรกเอกสาร หรือภาพหรือบางส่วนของเอกสาร ที่ได้สร้างขึ้นไว้ในโปรแกรมหนึ่ง (เรียกว่า วัตถุ) เข้าไปในแฟ้มเอกสาร หรือส่วนของเอกสาร ที่สร้างขึ้นมาจากอีกโปรแกรมหนึ่ง แถมด้วยการที่สามารถเชื่อมโยงหรือยึดโยงความผูกพันระหว่างเอกสารทั้งสองไว้ให้อีกด้วย การยึดโยงดังกล่าวมีความหมายว่า การแก้ใขแฟ้มหนึ่งจะทำให้อีกแฟ้มหนึ่งถูกแก้ไปด้วยโดยอัตโนมัติ วิธีการนี้นิยมใช้มากในระบบวินโดว์ |
tie | (ไท) vt. (ใช้เชือกหรือสายอื่น ๆ) ผูก, มัด, ต่อ, รัด, โยง, จำกัด, ทำคะแนนเท่ากัน, ผูกพันเป็นสามีภรรยา vi. ผูก, มัด, ต่อ, รัด, โยง, ทำคะแนนเท่ากัน, -Phr. (tie down ทำให้ลดน้อยลง, จำกัด) , -Phr. (tie up มัดแน่น ผูกแน่น ขัดขวาง สกัด หยุดยั้ง จอดเรือ ยุ่งมาก) n. สิ่งที่ใช้ผูก |
unencumbered | (อัน'เอนคัม'เบิด) adj. ไม่มีภาระผูกพัน, ไม่มีภาระ, ไม่มีหนี้สิน, ไม่มีบุตร |
Nontri Dictionary
affiliate | (vt) ติดต่อ, ผูกพัน, เข้าร่วม, เกี่ยวข้อง |
affiliation | (n) การติดต่อ, การเข้าร่วม, การผูกพัน, การเกี่ยวเนื่อง |
affined | (adj) ที่เกี่ยวข้องกัน, ที่เกี่ยวดองกัน, ที่ผูกพันกัน |
alliance | (n) พันธมิตร, การเกี่ยวดอง, การผูกพัน, การเกี่ยวพัน |
ally | (vt) ผูกพัน, เกี่ยวเนื่องกัน, เกี่ยวดอง |
attach | (vt) ติด, ผูกติด, เกี่ยวพัน, ผูกพัน |
attachment | (n) การผูกติด, สิ่งที่แนบมาด้วย, ความรักใคร่, ความผูกพัน |
binding | (adj) ผูกพัน, จำเป็น |
bond | (vt) ผูกมัด, ผูกพัน, เชื่อมติด |
boundary | (adj) ซึ่งเกี่ยวพันกัน, ซึ่งผูกพันกัน, มีพันธะ, พร้อมที่จะ, ไปทาง, กำลังจะ |
chain | (vt) ตีตรวน, ล่ามโซ่, ผูกมัด, ผูกพัน |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
community enterprise | กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน |
encumbrance | ภาระผูกพัน |
Engagement Order | ใบสั่งที่เป็นข้อผูกพัน |
financial distress | (n) (การเงิน) ภาวะที่ประสบความยากลำบาก, หรือไม่สามารถทำตามภาระผูกพันได้ เช่น ไม่สามารถชำระหนี้ที่กู้ไปได้, ความตกต่ำทางการเงิน (จากการมีเงินไม่เพียงพอ), ปัญหาทางการเงิน, ปัญหาที่อาจนำไปสู่การล้มละลาย (กรณีบริษัท) e.g. Member countries face acute financial distress., See also: bankruptcy, recession, depression |
material obligation | ข้อผูกพันเป็นสำคัญ |
organizational commitment | (n) ความผูกพันต่อองค์กร |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.7892 seconds
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม