108 ผลลัพธ์ สำหรับ *นอกประเทศ*
ภาษา
หรือค้นหา: นอกประเทศ, -นอกประเทศ-พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ดุลการค้า | (ดุน-) น. ความต่างกันระหว่างมูลค่าของสินค้าที่ส่งออกนอกประเทศกับสินค้าที่นำเข้ามาในประเทศ, ถ้ามูลค่าของสินค้าที่ส่งออกสูงกว่ามูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามาในประเทศ เรียกว่า ดุลการค้าได้เปรียบ, ถ้ามูลค่าของสินค้าที่นำเข้าสูงกว่ามูลค่าของสินค้าที่ส่งออก เรียกว่า ดุลการค้าเสียเปรียบ. |
ดุลการชำระเงิน | (ดุน-) น. ความต่างกันระหว่างปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศกับปริมาณเงินที่นำเข้ามาในประเทศ, ถ้าปริมาณเงินที่นำเข้ามาในประเทศสูงกว่าปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศ เรียกว่า ดุลการชำระเงินเกินดุล, ถ้าปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศสูงกว่าปริมาณเงินที่นำเข้าในประเทศ เรียกว่า ดุลการชำระเงินขาดดุล. |
ดุลชำระหนี้ | (ดุน-) น. ความต่างกันระหว่างปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศกับปริมาณเงินที่นำเข้ามาในประเทศ. |
นอก | ว. พ้นออกไปจากภายในหรือร่วมใน เช่น นอกเรือน นอกประเทศ นอกกาย นอกตำแหน่ง, ต่างประเทศ เช่น ของนอก ไปนอก, เรียกเขตที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป ว่า บ้านนอก, เรียกประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกา ว่า เมืองนอก, เรียกผลไม้ที่เอามาจากนอกกรุงหรือเขตปริมณฑล เช่น เงาะนอก ทุเรียนนอก, คู่กับ ผลไม้ในกรุงหรือเขตปริมณฑล เช่น เงาะสวน ทุเรียนสวน. |
เบ็ดเสร็จ | เรียกภาษีสิ่งของต่าง ๆ นอกจากข้าวที่ส่งออกไปนอกประเทศ ว่า ภาษีเบ็ดเสร็จ. |
ใบขนสินค้า | น. เอกสารแสดงรายการสินค้า อันได้แก่ ชนิด คุณภาพ ปริมาณ นํ้าหนัก ราคาศุลกากร ซึ่งผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกต้องยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อนำของใด ๆ เข้ามาในประเทศ หรือส่งของใด ๆ ออกนอกประเทศ. |
พลัดถิ่น | ว. อยู่ไกลจากถิ่นที่อยู่ของตน เช่น เรียกรัฐบาลที่ตั้งศูนย์บัญชาการอยู่นอกประเทศของตน ว่า รัฐบาลพลัดถิ่น. |
โพ้นทะเล | ว. ห่างไกลจากประเทศบ้านเกิดเมืองนอนโดยมีทะเลกั้น, เรียกชาวจีน ที่อยู่นอกประเทศออกไปโดยมีทะเลกั้น ว่า จีนโพ้นทะเล. |
ไพรัช, ไพรัช- | (ไพรัดชะ-) ว. นอกประเทศ, ต่างประเทศ, เช่น ไพรัชพากย์. |
ศัตรู | (สัดตฺรู) น. ข้าศึก, ปรปักษ์, เช่น ศัตรูจากภายนอกประเทศ เพลี้ยเป็นศัตรูพืช, ผู้จองเวร เช่น ๒ ตระกูลนี้เป็นศัตรูกันมาหลายชั่วคนแล้ว. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
force, expeditionary | กำลังรบนอกประเทศ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
expedition | ๑. คณะสำรวจ๒. กองทหารที่ส่งไปปฏิบัติการนอกประเทศ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
expeditionary force | กำลังรบนอกประเทศ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
expatriation | ๑. การถูกขับออกจากบ้านเมือง๒. การถูกถอนสัญชาติ๓. การสละสัญชาติ๔. การออกไปอยู่นอกประเทศ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
emigrant | ผู้ย้ายถิ่นออก, ผู้ย้ายถิ่นออกนอกประเทศ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
emigrate | ย้ายถิ่นออกนอกประเทศ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
emigration | การย้ายถิ่นออกนอกประเทศ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
net emigration | การย้ายถิ่นออกนอกประเทศสุทธิ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Eurobond market | ตลาดพันธบัตรนอกประเทศ [เศรษฐศาสตร์] |
Euro Canadian dollars | เงินดอลลาร์แคนาดานอกประเทศ [เศรษฐศาสตร์] |
Eurocurrency credit | สินเชื่อเงินตรานอกประเทศ, สินเชื่อเงินตรานอกประเทศ [เศรษฐศาสตร์] |
Eurodollar market | ตลาดเงินดอลลาร์สหรัฐนอกประเทศ [เศรษฐศาสตร์] |
Eurodollars | เงินดอลลาร์สหรัฐนอกประเทศ [เศรษฐศาสตร์] |
Eurosterling | เงินสเตอร์ลิงนอกประเทศ [เศรษฐศาสตร์] |
Euroyen | เงินเยนนอกประเทศ [เศรษฐศาสตร์] |
Offshore banking | การธนาคารนอกประเทศ [เศรษฐศาสตร์] |
Offshore processing | การแปรรูปนอกประเทศ [เศรษฐศาสตร์] |
Eurobond | พันธบัตรนอกประเทศ [เศรษฐศาสตร์] |
Emigrant | ผู้ย้ายถิ่นออกนอกประเทศ หรือผู้ย้ายถิ่นออก (out-migrant), Example: บุคคลที่ถิ่นที่อยู่เมื่อตอนเริ่มต้นและตอนสุด ท้าย ของช่วงเวลาที่ทำการศึกษาแตกต่างกัน โดยพิจารณาในแง่ของถิ่นเดิม [สิ่งแวดล้อม] |
disguised extradition | การส่งผู้ร้ายข้ามแดนแฝง (หรือการผลักดันออกนอกประเทศ) [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
National Missile Defence | โครงการต่อต้านขีปนาวุธพิสัยกลางและไกล " เป็นโครงการพัฒนาขีปนาวุธต่อต้านขีปนาวุธพิสัยกลางและไกล เพื่อป้องกันขีปนาวุธจากภายนอกประเทศของสหรัฐอเมริกา NMD จัดตั้งภายในประเทศ ส่วน Theatre Missile Defence (TMD) เป็นระบบขีปนาวุธในยุทธบริเวณนอกประเทศ อาทิ พื้นที่ที่สหรัฐอเมริกามีฐานทัพ อยู่ เป็นต้น " [การทูต] |
persona non grata | บุคคลทางการทูตที่รัฐผู้รับไม่ยอมรับ เช่น กรณีนักการทูตทำผิดกฎหมายหรือข้อบังคับทางศาสนาในประเทศที่พำนักอยู่ จนทางรัฐบาลของประเทศนั้นไม่อาจยอมรับได้และต้องให้เดินทางกลับออกนอกประเทศ นั้น อย่างไรก็ตาม นักการทูตอาจถูกรัฐบาลของรัฐผู้รับให้ออกนอกประเทศเป็น persona non grata ด้วยเหตุผลของการดำเนินการโต้ตอบทางการเมืองระหว่างรัฐผู้รับและรัฐผู้ส่งก็ เป็นได้ โดยที่นักการทูตผู้นั้นมิได้กระทำผิดกฎหมายของรัฐผู้รับหรือกระทำผิดทาง ศาสนาของรัฐผู้รับแต่อย่างใด [การทูต] |
Plural Representation | หมายถึง การที่รัฐหนึ่งแต่งตั้งผู้แทนทางการทูตถาวรของตนมากกว่าหนึ่งคนไปประจำรัฐ อีกแห่งหนึ่งนอกประเทศ ในกรณีเช่นนั้น ผู้แทนทางการทูตคนหนึ่งจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางทูต ส่วนผู้แทนทางการทูตที่เหลือจะเป็นตัวรองอยู่ใต้บังคับบัญชาของเขา เช่น ในสหประชาชาติมีคณะทูตถาวรประจำสหประชาชาติหลายแห่ง นิยมตั้งเอกอัครราชทูตของตนเป็นจำนวนมากถึง 3 หรือ 4 คนไปประจำอยู่ในคณะ ตัวหัวหน้าคณะทูตถาวรเช่นนั้น จะมีตำแหน่งเรียกว่า เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศของตนประจำสหประชาชาติ ส่วนเอกอัครราชทูตคนที่สองในคณะทูตถาวร มีตำแหน่งเรียกว่า รองผู้แทนถาวรการส่งเอกอัครราชทูตหลายคนไปประจำเป็นตัวแทนเช่นนี้ ไม่เป็นที่นิยมกระทำกันแพร่หลายเหมือนกับการส่งหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตคน เดียวไปประจำในหลายประเทศในเวลาเดียวกัน ดังที่กล่าวมาข้างต้น [การทูต] |
rule of origin | กฎแหล่งกำเนิดสินค้า เป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาว่า สินค้ามีแหล่งกำเนิดจากประเทศใด เนื่องจากการผลิตอาจมิได้ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศเท่านั้น แต่มีการนำเข้าวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจากนอกประเทศมาใช้ในการผลิต [การทูต] |
Sovereignty | อธิปไตย ประเทศที่มีอธิปไตยนั้นมีอิสระ ไม่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมจากภายนอกประเทศ ในการดำเนินกิจการของประเทศตนทั้งภายในและภายนอกประเทศ [การทูต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
นอกประเทศ | [nøk prathēt] (x) EN: abroad FR: à l'étranger |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
emigrate | (vi) อพยพย้ายถิ่นฐาน, See also: อพยพออกนอกประเทศหรือย้ายไปต่างถิ่น, Syn. immigrate, migrate |
Eurodollar | (n) เงินดอลล่าร์สของสหรัฐอเมริกาที่ฝากไว้ที่ธนาคารนอกประเทศ โดยเฉพาะธนาคารในยุโรป |
exile | (n) การเนรเทศ, See also: การขับไล่ออกนอกประเทศ, Syn. banishment, expatriation, ostracism |
exile | (vt) เนรเทศ, See also: ไล่ออกนอกประเทศ, Syn. banish, expatriate, ostracize |
immigrate | (vt) ส่งออกไปอยู่ที่อื่น, See also: ส่งออกนอกประเทศ, จัดการให้ย้ายไปอยู่ที่อื่น |
Hope Dictionary
defect | (ดิเฟคทฺ') { defected, defecting, defects } n. ข้อบกพร่อง, ปมด้อย, ข้อเสียหาย, สิ่งที่ขาดตกบกพร่อง. vi. ละทิ้ง, เอาใจออกห่าง, หนีงาน, หลบหนีออกนอกประเทศ, Syn. flaw-A. strength |
defection | (ดีเฟค'เชิน) n. การละทิ้ง, การเอาใจออกห่าง, การไม่ปฏิบัติตาม, การหลบหนีออกนอกประเทศ, Syn. desertion |
defector | (ดิเฟค'เทอะ) n. ผู้ละทิ้ง, ผู้เอาใจออกห่าง, ผู้หลบหนีออกนอกประเทศ, Syn. traitor |
emigrate | (เอม'มะเกรท) vi. อพยพไปอยู่นอกประเทศ หรือถิ่น, See also: emigrative adj. ดูemigrate |
emigration | (เอมมะเกร'เชิน) n. การอพยพไปอยู่นอกประเทศหรือถิ่น, กลุ่มผู้อพยพ, การย้ายถิ่น |
exile | (เอก'ไซลฺ) { exiled, exiling, exiles } n. การเนรเทศ, ผู้ถูกเนรเทศ vt. เนรเทศ, ไล่ออกนอกประเทศ, Syn. expatriation |
extraneous | (อิคซฺเทร'เนียส) adj. ภายนอก, นอกประเทศ, นอกประเด็น, ไม่เกี่ยวข้อง., See also: extraneousness n. |
foreign | (ฟอร์'ริน) adj. ต่างประเทศ, ต่างชาติ, นอกประเทศ, ต่างถิ่น, ต่างเขต, ไม่เกี่ยวข้อง, ไม่เหมาะสม, ต่างประเภท, แปลก, ไม่คุ้นเคย., See also: foreignly adv. foreignness n., Syn. alien |
Nontri Dictionary
abroad | (adv) ในต่างประเทศ, นอกประเทศ, นอกบ้าน, กว้างออกไป |
defection | (n) การปลีกตัวออกจาก, การเอาใจออกห่าง, การละทิ้ง, การหนีออกนอกประเทศ |
defector | (n) ผู้เอาใจออกห่าง, ผู้ละทิ้ง, ผู้หลบหนีออกนอกประเทศ |
external | (adj) ภายนอก, ด้านนอก, นอกประเทศ, นอกถิ่น, ผิวเผิน |
foreign | (adj) ต่างประเทศ, ต่างชาติ, ต่างเมือง, นอกประเทศ, ต่างถิ่น |
oversea | (adj, adv) นอกประเทศ, ข้ามน้ำข้ามทะเล, โพ้นทะเล, ต่างประเทศ |
transmigration | (n) การอพยพออกนอกประเทศ, การสิงร่าง, การย้ายถิ่นฐาน |
Saikam JP-TH-EN Dictionary
国外 | [こくがい, kokugai] TH: นอกประเทศ EN: outside the country |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.7063 seconds
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม