117 ผลลัพธ์ สำหรับ *นอกจากนั้น*
ภาษา
หรือค้นหา: นอกจากนั้น, -นอกจากนั้น-NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
นอกจากนั้น | (conj) then, See also: moreover, besides, Syn. นอกจาก, ยิ่งไปกว่านั้น, Example: ยามถูกตัดเงินเดือนนอกจากนั้นเขายังจะถูกภาคทัณฑ์ไว้ด้วย |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ชั้ว ๒ | น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงชั้วไว้ ๑ ประตู และขาย ๑ ประตู โปออกประตูที่ลูกค้าแทงชั้วไว้ เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าออกประตูที่ลูกค้าขาย เจ้ามือกิน ถ้าออกประตูอื่นนอกจากนั้น ไม่ได้ไม่เสีย. |
ติด ๒ | ก. แทงโปโดยวิธีเลี่ยม ลูกค้าติดประตูข้างเคียงได้ ๑ ประตู โปออกประตูที่ลูกค้าแทงเลี่ยมไว้ เจ้ามือจ่าย ๒ ต่อ ถ้าออกประตูที่ลูกค้าแทงติดไว้ ไม่ได้ไม่เสีย ถ้าออกประตูอื่นนอกจากนั้น เจ้ามือกิน เช่น ลูกค้าแทงเลี่ยม ๒ ติด ๓ โปออก ๒ เจ้ามือจ่าย ๒ ต่อ ถ้าออก ๓ ไม่ได้ไม่เสีย ถ้าออกหน่วยหรือครบ เจ้ามือกิน. |
วงเล็บ | น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บนั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ (ความอยากได้) โทสะ (ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Braille Typewriter | เครื่องพิมพ์ดีดอักษรเบรลล์, เครื่องพิมพ์ที่ผลิตจุดนูนที่เป็นอักษรเบรลล์เพื่อคนตาบอด มีแป้นพิมพ์จำนวน ๖ แป้นเพื่อสร้างรหัสอักษรเบรลล์ โดยการกดแป้นคีย์พร้อมกัน ๑ ถึง ๖ แป้น ก็จะสามารถสร้างรหัสอักษรเบรลล์ได้ครั้งละ ๖ จุด นอกจากนั้นก็มีแป้นเว้นวรรค, แป้นลบถอยหลัง และแป้นขึ้นบรรทัดใหม่, Example: ความหมายเดียวกับ Perkins Brailler [Assistive Technology] |
Perkins Brailler | เครื่องพิมพ์ดีดอักษรเบรลล์, เครื่องพิมพ์ที่ผลิตจุดนูนที่เป็นอักษรเบรลล์เพื่อคนตาบอด มีแป้นพิมพ์จำนวน ๖ แป้นเพื่อสร้างรหัสอักษรเบรลล์ โดยการกดแป้นคีย์พร้อมกัน ๑ ถึง ๖ แป้น ก็จะสามารถสร้างรหัสอักษรเบรลล์ได้ครั้งละ ๖ จุด นอกจากนั้นก็มีแป้นเว้นวรรค, แป้นลบถอยหลัง และแป้นขึ้นบรรทัดใหม่, Example: ความหมายเดียวกับ Braille Typewriter [Assistive Technology] |
Excellency | เป็นคำแสดงตำแหน่งที่ใช้เรียกตัวเอกอัครราชทูต ทั้งโดยวาจาและโดยลายลักษณ์อักษร เป็นคำที่เริ่มใช้กันตั้งแต่สมัยทำสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) เมื่อ ค.ศ. 1648 และได้นำมาใช้ทั่วทวีปยุโรปหลังจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนา (ค.ศ. 1815) แต่ถ้าบังเอิญเอกอัครราชทูตของประเทศหนึ่งใดเป็นบุคคลเชื้อพระวงศ์ แทนที่จะเรียกเอกอัครราชทูตผู้นั้นด้วยคำว่า Excellency ก็ให้เรียกด้วยคำว่า ?Royal Highness? แทนแต่เดิมคำ ?Excellency? ซึ่งเป็นคำเติมหน้าชื่อแสดงตำแหน่งนี้ใช้เรียกเฉพาะตัวเอกอัครราชทูตเท่า นั้น แต่ในทางปฏิบัติ ทุกวันนี้ได้นิยมใช้เรียกตัวอัครราชทูต (Ministers) เช่นกัน ส่วนภริยาของเอกอัครราชทูตนั้นก็ได้รับการยกย่องโดยใช้คำ Excellency ด้วย แต่สำหรับเอกอัครราชทูตที่เป็นสตรี สามีของเธอจะไม่ได้รับเรียกเช่นนั้น นอกจากนั้น คำแสดงตำแหน่งนี้ยังใช้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีหลายประเทศได้นำไปใช้เรียกประมุขของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีด้วย แต่การปฏิบัติดังนี้ย่อมแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ส่วนเลขาธิการสหประชาชาตินั้น ใช้เรียกกันเป็นทางการว่า Excellency และสำหรับกรณีที่ไม่เป็นทางการก็เรียกว่า Mr. Secretary-General [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
International Finance Corporation | คือบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1956 และเริ่มมีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษที่มีสัมพันธ์กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957 แม้บรรษัทจะดำเนินงานใกล้ชิดกับธนาคารโลก แต่ก็มีฐานะเป็นสิ่งที่มีตัวตนทางกฎหมายแยกต่างหาก และมีกองทุนที่แตกต่างจากกองทุนของธนาคารโลกด้วยวัตถุประสงค์ของบรรษัทคือ ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนให้การผลิตของวิสาหกิจของเอกชนในประเทศสมาชิกเจริญเติบโตยิ่ง ขึ้น การที่จะกระทำตามวัตถุประสงค์นี้ได้ บรรษัทจะนำเงินไปลงทุนในวิสาหกิจด้านการผลิตฝ่ายเอกชน โดยดำเนินงานร่วมกับเอกชนผู้ลงทุน ทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) คล้ายกับเป็นแหล่งรวมโอกาสต่าง ๆ ของการลงทุนฝ่ายเอกชนทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ รวมทั้งฝ่ายจัดการที่มีประสบการณ์ชำนาญ นอกจากนั้น ยังช่วยกระตุ้นการลงทุนด้านการผลิตของเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศด้วย บรรษัทยังได้รับอนุญาตให้ทำการกู้ยืมเงินโดยใช้วิธีขายพันธบัตรของตนเอง รวมทั้งตั๋วสัญญาการใช้เงินบรรษัทการเงินระหว่างประเทศดำเนินงานโดยองค์กร ต่าง ๆ ของตน คืออำนาจทั้งหมดของบรรษัทจะขึ้นอยู่กับคณะผู้ว่าการ (Board of Govemors) ประกอบด้วยผู้ว่าการและผู้ว่าการสำรอง (Altemates) จากธนาคารโลกซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศต่าง ๆ อันเป็นสมาชิกของบรรษัทด้วย คณะผู้ว่าการจะคอยควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของบรรษัทให้ถูกต้อง ตัวประธานธนาคารโลก จะทำหน้าที่เป็นประธานคณะผู้ว่าการของบรรษัทโดยตำแหน่งด้วย บรรษัทมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] |
International Labor Organization | คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน ปีค.ศ.1919 วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ การมีส่วนเกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ด้วยการส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม โดยต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นการที่จะให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมเป็นประจำ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแรงงาน และฝ่ายจัดการ เพื่อเสนอแนะและจัดให้มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดร่างสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าแรง ชั่วโมงทำงาน อายุการทำงาน เงื่อนไขการทำงานสำหรับคนงานในระดับต่าง ๆ ค่าชดเชยสำหรับคนงาน การประกันสังคม การหยุดพักร้อนโดยให้รับเงินเดือน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม บริการต่าง ๆ ในหน้าที่การงาน การตรวจแรงงาน เสรีภาพในการคบหาสมาคมกัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น องค์การยังได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างกว้างขวางแก่รัฐบาลของประเทศ สมาชิก รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือเอกสารรายคาบ เรื่องค้นคว้าและรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสังคม อุตสาหกรรม และแรงงานILO ปฏิบัติงานผ่านองค์กรต่าง ๆ โดยองค์กรสำคัญที่สุดภายในองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ซึ่งประชุมกันเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยคณะผู้แทนแห่งชาติ ในจำนวนนี้มีผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาล 2 คน ผู้แทนฝ่ายจัดการ 1 คน และผู้แทนฝ่ายแรงงานอีก 1 คน หน้าที่สำคัญคือจัดวางมาตรฐานทางสังคมระหว่างประเทศขึ้นในรูปของอนุสัญญา องค์กรภายในองค์การอีกส่วนหนึ่งคือคณะผู้ว่าการ (Governing Body) จะประกอบด้วย สมาชิก 40 คน ในจำนวนนี้ 20 คน จะเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 คน จากจำนวนนี้จะได้แก่ ตัวแทนจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ส่วนตัวแทนของฝ่ายจัดการ (หรือนายจ้าง) จะมีจำนวน 10 คน และอีก 10 คนเป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงาน คณะผู้ว่าการนี้จะทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการขององค์การ คือสำนักแรงงานระหว่างประเทศจะมีหน้าที่รวบรวมเผยแพร่ข้อสนเทศ ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่ขอร้องให้ช่วยร่างกฎหมายตามที่ได้มีมติ ตกลงในที่ประชุมใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับดำเนินการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ เป็นพิเศษ รวมทั้งออกสิ่งพิมพ์เผยแพร่องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสำนักงานใหญ่ตั้ง อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
Joint Commission | คณะกรรมาธิการร่วม " เป็นกลไกความร่วมมือในระดับทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก JC มีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน วัฒนธรรม และสังคม โดยแต่ละฝ่ายจะสลับกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม ซึ่งอาจมีขึ้นปีละครั้งหรือ 2-3 ปีต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสะดวกของทั้งสองฝ่าย JC อาจมีกลไกย่อยหรือคณะกรรมการภายใต้ JC เพื่อกำกับดูแลเฉพาะเรื่องหรือมีคณะกรรมการในระดับส่วน ภูมิภาค เช่น ไทยกับมาเลเซียมีคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee - GBC) มีบทบาทในการดูแลความร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคงบริเวณชายแดน และมีคณะกรรมการจัดทำหลักเขตแดนทางบก (Land Boundary Committee - LBC) เพื่อดูแลการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างประเทศทั้งสอง นอกจากนั้น ยังมีคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee - JTC) ระหว่างไทยกับบางประเทศ เป็นกลไกเพื่อส่งเสริมการค้าและขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน " [การทูต] |
Palestine Question | ปัญหาปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1947 ประเทศอังกฤษได้ขอให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทำการประชุมสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหาปาเลสไตน์ สมัชชาได้ประชุมกันระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และที่ประชุมได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับปาเลสไตน์ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกรวม 11 ประเทศ ซึ่งหลังจากที่เดินทางไปตรวจสถานการณ์ในภาคตะวันออกกลาง ก็ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รายงานนี้ได้ตั้งข้อเสนอแนะรวม 12 ข้อ รวมทั้งโครงการฝ่ายข้างมาก (Majority Plan) และโครงการฝ่ายข้างน้อย (Minority Plan) ตามโครงการข้างมาก กำหนดให้มีการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐอาหรับแห่งหนึ่ง รัฐยิวแห่งหนึ่ง และให้นครเยรูซาเล็มอยู่ภายใต้ระบบการปกครองระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ดินแดนทั้งสามแห่งนี้มีความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปสหภาพเศรษฐกิจ ส่วนโครงการฝ่ายข้างน้อย ได้เสนอให้ตั้งรัฐสหพันธ์ที่เป็นเอกราชขึ้น ประกอบด้วยรัฐอาหรับและรัฐยิว อันมีนครเยรูซาเล็มเป็นนครหลวงต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติได้ประชุมลงมติรับรองข้อเสนอของโครงการฝ่ายข้างมาก ซึ่งฝ่ายยิวได้รับรองเห็นชอบด้วย แต่ได้ถูกคณะกรรมาธิการฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่รับรอง โดยต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐอาหรับแต่เพียงแห่งเดียว และทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของคนยิวที่เป็นชนกุล่มน้อย อนึ่ง ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้อำนาจอาณัติเหนือดินแดนปาเลสไตน์ สิ้นสุดลงและให้กองทหารอังกฤษถอนตัวออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1948 นอกจากนั้นยังให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีของสหประชาชาติจัดทำธรรมนูญการปกครองโดย ละเอียดสำหรับนครเยรูซาเล็มจากนั้น สมัชชาสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติขึ้น ประกอบด้วยประเทศโบลิเวีย เช็คโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก ปานามา และฟิลิปปินส์ ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงก็ได้รับการขอร้องให้วางมาตรการที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่า สถานการณ์ในปาเลสไตน์จักถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพหรือไม่ และถ้าหากมีการพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงความตกลงตามข้อมติของ สมัชชาเมื่อใด ให้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ โดยอาศัยข้อ 39 ของกฎบัติสหประชาชาติเป็นบรรทัดฐาน [การทูต] |
The Foreign Office | ในสมัยก่อน เมื่อสังคมนานาชาติมีสมาชิกประเทศอยู่เพียงไม่กี่แห่ง และการเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน ดังนั้น ประมุขของรัฐหรือหัวหน้าของรัฐบาลจะเป็นผู้บริหารกิจการต่างประเทศด้วยตนเอง แต่มาในปัจจุบันเป็นไปไม่ได้ที่จะกระทำเช่นนี้ ดังนั้นทุกวันนี้ รัฐบาลของประเทศเกือบจะทุกแห่งจะมีสำนักงานในระดับกระทรวงแยกออกต่างหาก เพื่อดำเนินกิจการต่างประเทศโดยเฉพาะสำนักงานนี้จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันใน แต่ละประเทศ เช่นเรียกว่า The Ministry of (หรือ for) Foreign Affairs, The Ministry of External Affairs, The Department of State หรือ The Department of Foreign Affairs หรือ Gaimusho เป็นต้น ส่วนหัวหน้าสำนักงานหรือเจ้ากระทรวงนั้น จะเป็นบุคคลในคณะรัฐมนตรี และเรียกชื่อตำแหน่งต่างๆ กัน เช่น The Secretary of Foreign Affairs, The Minister of External Affairs, The Secretary of State หรือ Foreign Minister หรือ Foreign Secretary ตัวรัฐมนตรีนี้จะมีผู้ช่วย ซึ่งบางตำแหน่งเรียกว่า ปลัดกระทรวง (Under-Secretaries), ผู้ช่วยปลัดกระทรวง (Assistant Under-Secretaries) พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการที่ได้ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วงาน ของกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปมักจะแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเรียกว่าฝ่ายธุรการ (Home Service) ทำหน้าที่บริหารกิจการต่าง ๆ ภายในประเทศ ซึ่งเกี่ยวกันกับกิจการต่างประเทศ รวมทั้งการติดต่อเกี่ยวข้องกับคณะทูตานุทูต และฝ่ายที่สองเรียกว่า Foreign Service เป็นฝ่ายดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในต่างแดน อันมีสถานทูต สถานกงสุล และสำนักงานอื่น ๆ เป็นตัวแทน ประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายการทูตและฝ่ายวิชาการ ซึ่งประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลและสำนักงานระหว่างประเทศอื่น ๆ แต่ประเทศไทยเรายังมิได้แบ่งออกเป็นสองฝ่ายดังกล่าวตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศเป็นตัวกลาง ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างประเทศ ส่วนหัวหน้าคณะทูตภายในนครหลวงของแต่ละประเทศจะทำการติดต่อใด ๆ ทั้งหมดกับกระทวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับงานภายในกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นกรม กอง โดยถือตามเขตภูมิศาสตร์ต่าง ๆ เช่น กรมหรือกองการเอเชีย กรมการแอฟริกา กรมการอเมริกัน กรมการยุโรป และอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีกรมกองอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่ด้านธุรการ และด้านการสื่อสารติดต่อ การประชุม การประสานงานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การคลัง การบริการในต่างประเทศ การสารนิเทศ การกฎหมาย การห้องสมุด การหนังสือเดินทาง การบุคลากร การพิธีการทูต การวิจัย การสนธิสัญญา การตรวจลงตรา (Visa) และการสหประชาชาติในปัจจุบันในหลาย ๆ ประเทศ ผู้ที่สมัครขอรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศจะต้องมีคุณวุฒิตามที่กระทรวง กำหนด เช่น จะต้องผ่านการสอบไล่ ทั้งในภาคปากเปล่า และข้อเขียน ตลอดจนจะต้องปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการสอบไล่ (Board) ซึ่งจะเป็นฝ่ายให้คะแนนบุคลิกและคุณภาพส่วนตัว แล้วนำคะแนนไปบวกกับคะแนนสอบข้อเขียน ในบางแห่งต้องการให้ผู้สมัครสอบเข้ารับการฝึกอบรม และให้อยู่ในระหว่างการทดลองดูความประพฤติ (Probationary period) อีกด้วย [การทูต] |
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] |
Block rubber | ยางแท่งเป็นยางธรรมชาติที่ผลิตโดยมีการควบคุมคุณภาพให้ได้ตรงตาม มาตรฐานที่กำหนด โดยในการผลิตจะนำยางมาทำให้เป็นก้อนเล็กๆ (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร) เพื่อให้ง่ายต่อการชำระล้างสิ่งสกปรกและง่ายต่อการทำให้แห้งด้วยการอบ และหลังจากอบยางให้แห้งด้วยอากาศร้อนแล้วก็จะนำยางแห้งที่เป็นก้อนเล็กๆ เหล่านี้ไปอัดให้เป็นแท่งมาตรฐาน 330x670x170 มิลลิเมตร มีน้ำหนักประมาณ 33.33 กิโลกรัม การจัดชั้นของยางแท่งจะพิจารณาจากปริมาณสิ่งสกปรกที่มีอยู่ในยางเป็นสำคัญ นอกจากนั้นก็อาจพิจารณาตัวแปรอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปริมาณเถ้า ดัชนีความอ่อนตัว ฯลฯ ปัจจุบันประเทศไทยมีมาตรฐานยางแท่ง เรียกว่า Standard Thai Rubber (STR) [เทคโนโลยียาง] |
melatonin | เมลาโทนิน, ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไพเนียล มีหน้าที่ควบคุมความเข้มของ เมลานินในสัตว์เลือดเย็น นอกจากนั้นยังพบว่าฮอร์โมนนี้มีส่วนในการยับยั้งอวัยวะที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของสัตว์ชั้นสูงไม่ให้เจริญเร็วกว่าที่ควร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
progesterone | โพรเจสเทอโรน, ฮอร์โมนเพศหญิงที่สร้างจากกลุ่มเซลล์ของคอร์ปัสลูเทียม ฮอร์โมนนี้ทำหน้าที่ร่วมกับเอสโทรเจนช่วยให้เยื่อชั้นในของมดลูกเตรียมตัวรับไข่ที่ปฏิสนธิแล้วเข้าฝังตัว และเติบโตจนถึงคลอด นอกจากนั้นฮอร์โมนนี้ยังช่วยกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมเจริญเติบโต [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
atmosphere | บรรยากาศ, 1.อากาศที่ห่อหุ้มโลก ประกอบด้วยออกซิเจน 1 ใน 5 ส่วน ไนโตรเจน 4 ใน 5 ส่วนนอกจากนั้นยังมีแก๊สอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนเล็กน้อย เช่น คาร์บอนไดออกไซด์อาร์กอน ซีนอน เป็นต้น บรรยากาศมีอยู่สูงขึ้นไปประมาณ 1, 500 กิโลเมตร ซึ่งจะมีความหนาแน่นของอากาศลดลง ตามลำดับ และมีอุ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
นอกจากนั้น | [nok jāk nan] (x) EN: then ; moreover ; besides FR: de plus ; en outre ; outre cela ; en dehors de cela |
Longdo Approved EN-TH
Amyotrophic Lateral Sclerosis (ALS) | (n, name) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ พยาธิสภาพของโรคเอแอลเอสอยู่ที่บริเวณแกนสมอง และไขสันหลัง ทำให้ผู้ป่วยมีกล้ามเนื้อแขนขา และลำตัวอ่อนแรง กลืนลำบาก และพูดไม่ชัด คำว่า “Amyotrophic” หมายถึง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ฝ่อลีบและเต้นพลิ้ว (fasciculation) ส่วนคำว่า “Lateral sclerosis” หมายถึงรอยโรคในทางเดินของกระแสประสาทซึ่งควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อในไขสันหลัง โรคเอแอลเอสพบน้อยมาก โดยพบได้เพียง 4 ถึง 6 ต่อประชากร 100, 000 คน และโอกาสที่จะพบผู้ป่วยรายใหม่มีเพียง 1.5 ถึง 2.5 ต่อประชากร 100, 000 คนต่อปี โรคนี้เป็นกับผู้ใหญ่วัยใดก็ได้ แต่จะพบบ่อยขึ้นตามอายุ อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 65 ปี โดยมักเป็นในเพศชายมากกว่าเพศหญิง จนถึงปัจจุบัน ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าโรคเอแอลเอสเกิดขึ้นได้อย่างไร ผู้ป่วยราวร้อยละ 5 (โดยเฉพาะผู้ป่วยอายุน้อย) อาจมีประวัติโรคนี้ในครอบครัว สิ่งแวดล้อมหรือสารพิษบางชนิด อาจมีผลกับการเกิดโรคนี้ เนื่องจากพบว่าในบางพื้นที่ของโลก เช่นที่เกาะกวม พบโรคนี้มากกว่าที่อื่น นอกจากนั้นการศึกษาทางระบาดวิทยายังพบว่า นักกีฬาบางประเภท โดยเฉพาะนักฟุตบอลอาชีพมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงกว่าประชากรทั่วไป ปัจจุบันเชื่อว่าสาเหตุของโรคนี้อาจเกิดจาก กลไกภูมิคุ้มกันต่อตนเองผิดปกติ (Autoimmune attack) หรือเกิดจากกลไกอนุมูลอิสระ (Free radicals) ทำลายเซลล์ประสาทของตนเอง ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่า การเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทในสมองและไขสันหลังเกิดจากสารสื่อนำกระแสประสาท (neurotransmitter) ที่เรียกว่ากลูตาเมต (glutamate) กระตุ้นให้เกิดการทำลายเซลล์ (ข้อมูลจาก ผศ.นพ.รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ปัจฉิมวัย : http://www.thonburihospital.com/th/tip_detail.asp?id=22 , http://www.inf.ku.ac.th/article/diag/520506/alsmnd.html) |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
anyway | (adv) นอกจากนั้น, See also: ถึงอย่างไร, อย่างไรก็ตาม, Syn. nevertheless, anyhow |
in addition | (adv) ยิ่งไปกว่านั้น, See also: นอกจากนั้น, Syn. additionally, furthermore, moreover |
likewise | (adv) นอกจากนั้น, See also: ยิ่งกว่านั้น, ด้วย, Syn. moreover, also, too, in addition |
withal | (adv) นอกจากนี้ (คำโบราณ), See also: ยิ่งกว่านั้น, นอกจากนั้น, Syn. besides, furthermore, moreover |
Hope Dictionary
character string | หมายถึง ตัวอักขระหลาย ๆ ตัวที่เมื่อนำมาต่อกันแล้ว สื่อความหมายบางอย่าง และสามารถนำไปเก็บในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสื่อ (media) ชนิดต่าง ๆ ได้ นอกจากนั้น จะต้องทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแยกออกว่าไม่ใช่คำสั่งในภาษามีความหมายเหมือน alphabetic string หรือ string |
compuserve | คอมพิวเซิร์ฟเป็นบริการที่นำคอมพิวเตอร์ของเราไปต่อสายเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ที่สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก ๆ เพื่อจะได้ขอใช้ข้อมูลบางอย่างได้ โดยปกติ การทำเช่นนี้จะต้องจ่ายค่าบริการค่อนข้างแพง นอกจากนั้น บริการ CompuServe ยังมีโปรแกรมเก่า ๆ ที่ยอมให้มีการคัดลอกมาใช้ได้โดยไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อีก มีเกมให้เรียกมาเล่นได้ พร้อมทั้งให้บริการอย่างอื่นอีกมาก เช่น จะจองตั๋วเครื่องบินเองก็ได้ นอกจากนั้น ผู้ใช้จะขอดูข้อมูลต่าง ๆ ได้ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งกีฬา ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ ฯ |
computer program | โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์หมายถึง คำสั่งคอมพิวเตอร์ชุดหนึ่ง ๆ ที่เขียนขึ้นเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น ภาษาซี (C) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาเบสิก (BASIC) หรือ ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ฯ คำ "โปรแกรม" นี้ อาจจะเรียกเป็นชื่ออื่นก็ได้ เช่น ซอฟต์แวร์ (software) หรือ แอพพลิเคชัน (application) โปรแกรมนั้น แบ่งได้เป็นหลายประเภท ประเภทแรกคือประเภทที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเองเพื่อให้ตรงกับความต้องการ กับอีกประเภทหนึ่งมีคนทำสำเร็จรูปไว้ขาย เช่น โปรแกรมสำหรับวาดภาพ (graphics) โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) โปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) นอกจากนั้น ยังมีโปรแกรมระบบ (systems software) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีบางส่วนติดตั้งมาจากโรงงานที่ผลิตเลย และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ (operating system) ที่จะทำหน้าที่เหมือนแม่บ้านคอยดูแลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานให้ประสานกัน สรุปว่า คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทุกอย่าง แต่คนเขียนคำสั่งต้องเข้าใจขั้นตอน วิธี (algorithm) และภาษาที่จะใช้เป็นอย่างดี จึงจะสามารถเขียนสั่งเครื่องให้ทำงานได้ |
copy disk | คัดลอกทั้งแผ่นเป็นคำสั่งในระบบวินโดว์ ที่สั่งให้คัดลอกแฟ้มข้อมูลทั้งหมดในแผ่นต้นแบบ ไปลงในอีกแผ่นหนึ่งซึ่งต้องมีขนาดเท่าแผ่นต้นแบบทุกประการ การคัดลอกด้วยคำสั่งนี้ จะเลือกเฉพาะบางแฟ้มข้อมูลไม่ได้ นอกจากนั้น เมื่อคัดลอกมาแล้ว จะลบแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่เดิมทิ้งไปให้ด้วย (เฉพาะแผ่นที่เก็บข้อมูลที่คัดลอกมาเท่านั้น) |
dde | (ดีดีอี) ย่อมาจาก dynamic data exchange คำนี้ใช้ในระบบไมโครซอฟต์วินโดว์และโอเอส/ทู หมายถึงการทำให้สองโปรแกรมบนวินโดว์ สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เป็นต้นว่า การนำตัวเลขที่อยู่ในโปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) มาใช้ในโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์ตัวเลขเหล่านั้นใหม่ นอกจากนั้น หากมีการแก้ไขตัวเลขในตารางจัดการ ตัวเลขในโปรแกรมประมวลผลคำ ก็จะได้รับการแก้ไขไปด้วยโดยอัตโนมัติ |
diskette | แผ่นบันทึกหมายถึง จานบันทึกขนาดเล็ก เฉพาะที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีลักษณะอ่อน จึงเรียกว่า แผ่นบันทึก บรรจุไว้ในซองกระดาษ ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล เช่นเดียวกับจานบันทึกแม่เหล็ก ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน มีขนาด 5.25x5.25 นิ้ว มีความจุประมาณ 360 เคไบต์ (K byte) หรือ 360, 000 ตัวอักษร และ 1.2 เมกะไบต์ หรือ หนึ่งล้านสองแสนตัวอักษร บางทีเรียกกันว่า floppy disk นอกจากนั้น มีขนาด 3.5x3.5 นิ้ว บรรจุอยู่ในซองที่แข็งกว่า มีความจุประมาณ 720 เคไบต์ และ 1.44 เมกะไบต์ หรือ หนึ่งล้านสี่แสนตัวอักษร ในปัจจุบัน อาจใช้เก็บข้อมูลได้ทั้งสองหน้า ทำให้บรรจุข้อมูลได้มาก (เดิมบรรจุข้อมูลได้หน้าเดียว) หรือบางทีอาจทำให้ข้อมูลเบียดอัดมากขึ้น เรียกว่า double density (DD) ชนิดธรรมดาเรียกว่า single density (เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว) และหากเก็บข้อมูลได้หน้าเดียว เรียกว่า single sided (SS) ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว หากเก็บข้อมูลได้ทั้งสองหน้า เรียกว่า double sided (DS) แผ่นบันทึกชนิดที่มีความจุพิเศษ คือจุได้ถึง 1.2 ล้านตัวอักษรสำหรับแผ่น 5.25 นิ้ว และจุได้ 1.44ล้านตัวอักษรสำหรับแผ่น 3.5 นิ้ว เรียกว่า high density (HD) ดู disk ประกอบ |
display | (ดิสเพล') vt. แสดง, เปิดเผย, โอ้อวด, แผ่ออก, เรียงพิมพ์ให้เด่นชัด n. การแสดง, การโอ้อวด, สิ่งที่แสดงให้เห็นชัด, นิทรรศการ, Syn. exhibit แสดงผลหน่วยแสดงผลหมายถึงการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว หน่วยแสดงผลก็คือจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นเอง นอกจากนั้น การแสดงผลอาจแสดงได้ทางเครื่องพิมพ์ printer, พล็อตเตอร์ plotter ฯ |
dotard | (โด'ทิจ) n. ความชรา, ภาวะสติปัญญาอ่อนในวัยชรา, ภาวะสติเลอะเลือน, ความหลงรักอย่างโง่ ๆ , การโอ๋จนเกินไปจุดเล็ก ๆ บนจอภาพจุดเล็กที่สุดที่สามารถแสดงบนจอภาพได้ วัดขนาดกันเป็นมิลลิเมตร โดยปกติ จะมีขนาด .41 มม. .31 ม.ม. และ .28 ม.ม. ยิ่งจุดเล็กมากเท่าใด ภาพที่ปรากฏบนจอภาพก็จะยิ่งคมชัดและละเอียดขึ้นเท่านั้น นอกจากนั้น ยังใช้วัดระยะห่างระหว่างจุดสองจุดที่เป็นคนละสีในสีเดียวกันด้วย (สีบางสีที่เห็นบนจอภาพเกิดจากการผสมกันระหว่างจุดที่มีสีต่างกัน เช่น สีเทา เกิดจากการผสมกันของสีดำ และขาว) |
dynamic data exchange | การสับเปลี่ยนข้อมูลแบบพลวัตใช้ตัวย่อว่า DDE (อ่านว่า ดีดีอี) คำนี้ใช้ในระบบไมโครซอฟต์วินโดว์และโอเอส/ทู หมายถึงการทำให้สองโปรแกรมบนวินโดว์ สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เป็นต้นว่า การนำตัวเลขที่อยู่ในโปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) มาใช้ในโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์ตัวเลขเหล่านั้นใหม่ นอกจากนั้น หากมีการแก้ไขตัวเลขในตารางจัดการ ตัวเลขในโปรแกรมประมวลผลคำ ก็จะได้รับการแก้ไขไปด้วยโดยอัตโนมัติ |
exe | อีเอกซ์อีย่อมาจากคำว่า executable file ใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มข้อมูลในระบบดอสและ โอเอส/ทู แฟ้มที่มีนามสกุลดังกล่าวนี้ จะเป็นแฟ้มข้อมูลที่เป็นตัวโปรแกรมแท้ ๆ และจะเป็นตัวปฏิบัติการ แฟ้มข้อมูลอื่น ๆ นอกจากนั้นจะเป็นเพียงแฟ้มประกอบ เช่น โปรแกรมสำเร็จ Microsoft Excel จะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลายสิบแฟ้ม แต่แฟ้มที่เป็นตัวปฏิบัติการคือแฟ้ม Excel.exe ถ้ากดเมาส์ที่ชื่อแฟ้มข้อมูลนี้ก็จะเท่ากับเป็นการสั่งเรียกโปรแกรมนั้นให้เริ่มทำงาน มีลักษณะคล้ายแฟ้มข้อมูลที่นามสกุล .COM |
executable file | แฟ้มกระทำการในระบบดอสและ โอเอส/ทู แฟ้มประเภทนี้เป็นแฟ้มข้อมูลที่เป็นตัวโปรแกรมแท้ ๆ และจะเป็นตัวกระทำการ แฟ้มข้อมูลอื่น ๆ นอกจากนั้นจะเป็นเพียงแฟ้มประกอบ เช่น โปรแกรมสำเร็จ Microsoft Excel จะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลายสิบแฟ้ม แต่แฟ้มที่เป็นตัวกระทำการคือแฟ้ม Excel.exe ถ้ากดเมาส์สองทีที่แฟ้มข้อมูลนี้ก็จะเท่ากับเป็นการสั่งให้โปรแกรมนั้นเริ่มทำงาน แฟ้มประเภทนี้จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .exe มีลักษณะคล้ายแฟ้มข้อมูลที่นามสกุล .COM |
file name | ชื่อแฟ้ม (ข้อมูล) แฟ้มข้อมูลก็ดี โปรแกรมหรือชุดคำสั่งก็ดี จะต้องมีชื่อที่ ไม่ซ้ำกัน เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ได้เมื่อ ต้องการ เรียกใช้ระบบปฏิบัติการแต่ละระบบ จะมีข้อกำหนด กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลไว้ เป็นต้นว่า ระบบดอสและวินโดว์ มีข้อกำหนดว่า ชื่อของแฟ้ม ข้อมูล จะต้องยาวไม่เกิน 8 ตัวอักขระ (ตัวอักษรหรือตัวเลข) ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ต้องไม่มีช่องว่าง ฯ และที่สำคัญที่สุด คือตั้งชื่อเป็นภาษาไทยไม่ได้โดยเด็ดขาด นอกจากนั้น อาจจะต้องมีนามสกุล (filetype) ซึ่งต้องประกอบด้วย 3 ตัวอักษร ส่วนระบบของแมคอินทอช มีข้อจำกัดน้อยกว่านั้น มาก เช่น จะใช้ภาษาไทยก็ได้ |
filter | (ฟิล'เทอะ) n. ที่กรอง, กระดาษกรอง, สารที่ใช้กรอง, บุหรี่ก้นกรอง. vt. กรองออก, กรอง vi. กรอง. adj. เกี่ยวกับบุหรี่ก้นกรอง., See also: filterer n., Syn. strainer, sieve, sift ตัวกรองหมายถึง โปรแกรมที่ใช้ในการเปลี่ยนรูปแบบ format การเก็บข้อมูลหรือภาพให้ เป็นรูปแบบที่ต้องการใช้ ส่วนมากโปรแกรมนี้จะมีแทรกอยู่ในโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ หรือโปรแกมการจัดพิมพ์ ฯ ที่มักจะมีการโอนแฟ้มข้อมูล ประเภทอื่น เช่น จากโปรแกรม dBASE หรือ Lotus เข้ามา ถ้าไม่มีตัวกรองเตรียมไว้ ก็จะโอนเข้ามา ไม่ได้ นอกจากนั้น ยังเป็นคำสั่งในระบบปฏิบัติการ คำสั่งหนึ่งที่สั่งให้ประมวลผล ข้อมูลเสียก่อนที่จะทำอย่างอื่นต่อไป ตัวกรองของระบบดอส จะประกอบด้วยคำสั่ง More, Find, และ Sort คำสั่ง More เป็นคำสั่งให้แสดงผลไปเรื่อย ๆ จอภาพ ก็จะเลื่อนไปเรื่อย ๆ เพื่อแสดงผลต่อไปจนกว่าจะหมด find เป็นคำสั่งให้หาแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ และ sort ก็เป็น คำสั่งให้เรียงลำดับแฟ้มข้อมูลที่ใช้รหัสแอสกี ASCII |
hardware | n. เครื่องโลหะ. , เครื่องกลไกที่ใช้ปฏิบัติการ, อาวุธ, ยุทโธปกรณ์, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องกลไกของคอมพิวเตอร์, หมายถึง ส่วนกายภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 1. หน่วยรับข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์ หน่วยบันทึก 2. หน่วยความจำ เช่น ชิป (chip) หรือหน่วยความจำรอง เช่น จานบันทึก 3. หน่วยแสดงผล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ ฯลฯ นอกจากนั้นยังรวมถึงอุปกรณ์ ประกอบอื่น ๆ เช่น โมเด็ม ดู software เปรียบ เทียบ |
likewise | (ไลคฺ'ไวซ) adv. นอกจากนั้น, อนึ่ง, ด้วย, ในทำนองเดียวกัน, Syn. moreover, also |
moreover | adv. นอกจากนั้น, อนึ่ง., Syn. besides |
non executable statement | ข้อความสั่งไม่ทำการหมายถึง คำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่ทำการใด ๆ แต่เป็นการแจ้งให้ตัวแปลชุดคำสั่ง (compiler) รับรู้ข้อความบางอย่างที่ต้องการแจ้งให้ทราบเท่านั้น เช่น คำสั่ง END เป็นต้น คำสั่งนี้เป็นเพียงต้องการแจ้งให้ทราบว่า จบโปรแกรมนั้น ๆ แล้วเท่านั้น นอกจากนั้น ก็อาจเป็นคำสั่งให้เตรียมที่ในหน่วยความจำบ้าง เตรียมจัดรูปแบบข้อมูลบ้าง ถ้าสั่งให้อ่านข้อมูลโดยใช้คำสั่ง Read คำสั่งนี้เป็นข้อความสั่งทำการ (excutable statement) เครื่องจะทำการทันทีที่พบคำสั่งนี้ แต่อ่านข้อมูลแล้วนำไปจัดเก็บในรูปแบบตามคำสั่ง FORMAT (ในภาษาฟอร์แทรน) คำสั่ง FORMAT ถือว่าเป็นข้อความสั่งไม่ทำการดู excutable statement เปรียบเทียบ |
printer | (พริน'เทอะ) n. ผู้พิมพ์, เจ้าของโรงพิมพ์, ช่างพิมพ์, เครื่องพิมพ์หมายถึง อุปกรณ์เครื่องพิมพ์ที่รับสัญญาณตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อพิมพ์งานออกมาเป็น ข้อความ ภาพ ลงบนกระดาษ หรือวัตถุอื่นในประเภทเดียวกัน เครื่องพิมพ์ที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท เช่น แบบกระทบ (impact printer) ซึ่งจะรวม ถึงแบบจุด (dot matrix) และแบบจาน (daisy wheel) นอกจากนั้น ก็ยังมีแบบไม่กระทบ (non impact printer) ซึ่งแบ่งเป็นแบบฉีดหมึก (ink jet) และเครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) ดู chain printer, character printer, daisy wheel printer, dot matrix printer, dot printer, drum printer, electrothermal printer, high speed printer, impact printer, ink jet printer, laser printer, line printer, nonimpact printer, page printer, stylus printer, thermal printer, wire printer, wheel printer ประกอบ |
punched card | บัตรเจาะรูหมายถึง บัตรที่นำมาเจาะเป็นรู เพื่อเป็นข้อมูลที่จะส่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม การเจาะบัตรให้เป็นรูนี้ต้องเจาะด้วยเครื่องเจาะบัตร (keypunch) ซึ่งมีลักษณะคล้ายพิมพ์ดีด เช่น ถ้าเจาะตัวอักษร A ก็จะมีรูที่คอลัมน์ 1 และ 12 รูต่าง ๆ เหล่านี้ จะเป็นรหัสที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ (โดยใช้แปรงไฟฟ้าปัดผ่าน) แล้วนำไปเก็บในหน่วยความจำ วิธีส่งข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์แบบนี้ เกือบจะเป็นแบบแรกที่ใช้กัน เดี๋ยวนี้ถือว่าล้าสมัยไปเสียแล้วเพราะไม่สะดวกในการเก็บรักษา กับทั้งสิ้นเปลืองมาก จุข้อมูลน้อยถ้าเทียบกับจานบันทึก นอกจากนั้น ใช้แล้วนำมาใช้อีกไม่ได้ เจาะผิดก็แก้ไขไม่ได้ ต้องทิ้งไป แล้วทำใหม่ ทำให้สิ้นเปลืองดู card ประกอบ |
random access storage | หน่วยเก็บเข้าถึงโดยสุ่มเป็นหน่วยความจำประเภทหนึ่งที่เราสามารถเข้าถึงได้โดยวิธีการสุ่ม การเข้าถึงโดยสุ่มหมายถึง การเข้าถึงหน่วยความจำทุกจุดได้ โดยใช้เวลาในการเข้าถึงเท่ากันหมด ไม่ต้องตั้งต้นใหม่ทุกครั้งแล้วรอไปตามลำดับ (อย่างแถบบันทึกหรือเทป) หน่วยเก็บในที่นี้หมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ วัดขนาดกันเป็นกิโลไบต์ หรือเมกะไบต์ ทำงานได้รวดเร็วมาก แต่เมื่อปิดไฟ ข้อมูลในนี้ก็จะหายไปหมด นอกจากนั้นยังหมายถึงจานบันทึก ซึ่งใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลเท่ากันหมดเช่นกัน |
shift key | (แป้นพิมพ์) แป้นเปลี่ยน (ชุดอักษร) แป้นยกเป็นแป้นหนึ่งที่มีใช้ทั้งในแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีด และแป้นพิมพ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ (แป้นนี้ มักจะมีเครื่องหมายลูกศรบนแป้น) โดยปกติแผงแป้นอักขระจะมีไว้ให้ 2 แป้น ทั้งทางด้านซ้ายและขวา การกดแป้นนี้เพียงลำพังแป้นเดียว จะไม่ทำให้เกิดอะไรขึ้น แต่ถ้ากดพร้อมกับแป้นตัวอักษรใดในภาษาอังกฤษ จะทำให้พิมพ์ตัวอักษรนั้นออกมาเป็นตัวใหญ่ (capital letter) ถ้าเป็นภาษาไทย ก็จะเป็นตัวที่อยู่ข้างบน เช่น ฤ ฆ ฏ ฑ ฒ นอกจากนั้น ในบางโปรแกรม เช่น โปร แกรมวาดภาพ การกดแป้นนี้พร้อมกับ ลากเส้น จะทำให้ลากได้เป็นเส้นตรง ถ้ากดพร้อมกับลากรูปสี่เหลี่ยม ก็จะทำให้รูปที่วาด เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นต้น |
special character | อักขระพิเศษแต่เดิมใช้หมายถึงอักขระที่เป็นเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น + - * / $ = , " " ฯลฯ รวมทั้งสระ วรรณยุกต์ ในภาษาไทย บางทีเรียกรวม ๆ ว่า เครื่องหมายวรรคตอนก็ได้ นอกจากนั้น ยังหมายรวมถึงตัวอักขระที่ไม่สามารถกดได้จากแป้นพิมพ์ แต่อาจใช้เทคนิคบางอย่างทำให้พิมพ์ออกมาได้ เช่น ถ้าเป็นเครื่องแมคอินทอช การกดแป้น Shift+ALT+K จะได้ภาพลูกแอปเปิลแหว่ง (สัญลักษณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแอปเปิล) ถ้าใช้แบบอักษรชื่อ Symbol |
tab key | (แป้นพิมพ์) แป้นตั้งระยะหมายถึง แป้นพิมพ์แป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ โดยปกติจะอยู่ริมด้านซ้ายสุดของแถวที่สองจากข้างบน อาจมีคำ tab บนแป้น บางทีมีเครื่องหมายลูกศรแทน การกดแป้นนี้ จะทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) เลื่อนไประยะหนึ่ง (แล้วแต่จะมีการกำหนดไว้) อาจเป็น 5- 10 ช่องว่าง มักใช้เมื่อต้องการย่อหน้าหรือต้องการจัดคอลัมน์ให้ตรงกัน (ไม่ควรกดคานเคาะ) นอกจากนั้น ในกรอบสนทนา การกดแป้นนี้หมายความว่า ให้กระโดดจากช่อง (ที่จะให้เติมข้อความ) ที่ 1 ไปช่องที่ 2 ไปช่องที่ 3....ต่อไป |
then | (เธน) adv. ดังนั้น, ในเวลานั้น, ถ้าเป็นเช่นนั้น, อีกประการหนึ่ง, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง, นอกจากนั้น, ในกรณีนั้น, เพราะฉะนั้น, then and there ในขณะนั้นทันที. adj. เช่นนั้น, ดังนั้น. n. เวลานั้น |
thereto | (แธร์ทู') adv. ไปยังสิ่งนั้น, ไปที่นั่น, ไปยังเรื่องนั้น, นอกจากนั้น., Syn. thereunto |
therewith | (แธร์'วิธ) adv. กับสิ่งนั้น, นอกจากนั้น, ครั้นแล้ว, ดังนั้น, Syn. thereupon |
video mode | ภาวะภาพหมายถึง ภาวะที่แสดงผลเป็นภาพ มาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับจำนวนสีที่ตัวปรับภาพใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันมีด้วยกันทั้งหมด 20 แบบ เรียงกันไปตั้งแต่ 0 - 19 ถ้าเป็นการแสดงผลเฉพาะตัวอักขระอย่างเดียว ก็จะใช้อีกภาวะหนึ่งต่างไปจากการแสดงผลเป็นภาพ นอกจากนั้น การแสดงผลเป็นภาพ ก็ยังแบ่งเป็น การแสดงสีเดียว แสดงหลายสี กับทั้งยังมีการแบ่งแยกในเรื่องของความคมชัด (resolution) ที่แตกต่างกันออกไปอีก |
windows | ย่อจากคำเต็มว่า Microsoft Windows เป็นชื่อของโปรแกรมระบบวินโดว์สของบริษัทไมโครซอฟต์ ซึ่งทำงานภายใต้ระบบไมโครซอฟต์ดอส (Microsoft DOS) ที่เขียนโดยบริษัทเดียวกัน ถือว่าเป็นโปรแกรมระบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิป 80286 ขึ้นไป สามารถใช้ระบบวินโดว์สได้ ระบบวินโดว์ได้พัฒนาตลอดมา ปัจจุบัน กำลังอยู่ระหว่างหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะเปลี่ยนจากวินโดว์ส 3.1 เป็นวินโดว์ส 95 วินโดว์ส 97 และวินโดว์ส 2000 ต่อไป ระบบวินโดว์นี้จะรวมเอาโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) ต่าง ๆ ไว้ให้อย่างพร้อมมูล นอกจากนั้น หลายบริษัทยังสร้างโปรแกรมสำเร็จต่าง ๆ ให้ทำงานบนระบบวินโดว์สนี้ เช่น Aldus PageMaker, Freelance ทุกโปรแกรมจะมีวิธีการใช้พื้นฐานคล้ายคลึงกัน ทำให้ง่ายในการเรียนรู้ เพราะเรียนรู้โปรแกรมหนึ่ง ก็ทำให้มีแนวที่จะเรียนโปรแกรมอื่นง่ายขึ้น ระบบวินโดว์สนี้ จะเน้นในเรื่องการใช้ภาพเป็นสื่อ มีการใช้เมาส์ ใช้เมนู มีรายการเลือกต่าง ๆ ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสะดวกขึ้นมาก |
word processing | การประมวลผลคำการประมวลคำหมายถึงการนำข้อมูลต่าง ๆ มาพิมพ์ใส่เข้าไปในคอมพิวเตอร์ แล้วใช้คำสั่งจัดให้แสดงผลในรูปแบบที่ต้องการ เช่น กำหนดขนาดของหน้า กำหนดให้ให้หน้าหนึ่งมีกี่บรรทัด แต่ละบรรทัดมีกี่ตัวอักษร นอกจากนั้น ยังสามารถแก้ไขง่าย กับทั้งเก็บไว้ใช้ในโอกาสหลังได้ ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จช่วย ปัจจุบัน ได้รับการพัฒนาให้ทำเพิ่มขึ้นได้อีกหลายอย่าง เป็นต้นว่า แทรกภาพได้ ทำตารางประกอบได้ ตรวจแก้ตัวสะกดให้ได้ แม้แต่เสนอศัพท์ต่าง ๆ ให้เลือกใช้ ก็ได้ ฯ |
xmodem | เอ็กซ์โมเด็มหมายถึง เกณฑ์วิธี (protocol) ในการถ่ายโอนข้อมูลผ่านโมเด็มที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่จะผ่านทางสายโทรศัพท์ อันที่จริงแล้ว เอกซ์โมเด็มนั้น เป็นชื่อ โปรแกรมที่ใช้ในการส่งข้อมูล แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปมักจะเรียกแฟ้มข้อมูลที่ส่งด้วยวิธีนี้ว่า เอ็กซ์โมเด็ม ซึ่งสามารถรับ/ส่งข้อมูลได้ทั้งแฟ้มข้อมูลที่เป็นโปรแกรม และแฟ้ม เอกสารธรรมดา นอกจากนั้น ในระหว่างการส่งจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อนด้วย การถ่ายโอนข้อมูลแบบที่เรียกว่า YMODEM และ ZMODEM ก็ได้รับการพัฒนามาจาก XMODEM นี้ แต่ทำได้เร็วกว่า และถ่ายโอนข้อมูลได้ทีละมากกว่า |
yet | (เยท) adv. ยัง, ยังคง, กระนั้น, เช่นเดิม, ซ้ำ, เดี๋ยวนี้, ไม่ชักช้า, แล้ว, เรียบร้อย, นอกจากนั้น, นอกไปกว่านี้, อย่างก็ตาม conj. แม้กระนั้น, กระนั้น |
Nontri Dictionary
again | (adv) ใหม่, อีกครั้ง, นอกจากนั้น, อนึ่ง |
besides | (con) นอกจากนั้น, นอกเหนือจากนั้น, อีกด้วย |
moreover | (adv) ยิ่งกว่านั้น, นอกจากนั้น, อนึ่ง, นอกเหนือจากนั้น |
then | (adv) เวลานั้น, ถัดมา, อีกประการหนึ่ง, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง, นอกจากนั้น |
then | (con) นอกจากนั้น, ดังนั้น, ต่อมา |
thereto | (adv) ไปยังที่นั้น, นอกจากนั้น, แก่สิ่งนั้น |
therewith | (adv) กับสิ่งนั้น, ถัดจากนั้น, ครั้นแล้ว, ดังนั้น, นอกจากนั้น |
therewithal | (adv) กับสิ่งนั้น, นอกจากนั้น, ครั้นแล้ว, ดังนั้น |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
constructionism | [คันสทรัค'เชินนิซึม] (n) ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอ "ความรู้ไม่ ใช่มาจากการสอนของครูหรือผู้สอนเพียงอย่างเดียว แต่ความรู้จะเกิดขึ้นและสร้างขึ้นโดยผู้เรียนเอง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by doing) นอกจากนั้นมองลึกลงไปถึงการพัฒนาการของผู้เรียนในการเรียนรู้ซึ่งจะมี มากกว่าการได้ลงมือปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น " |
tracking system | (n) ระบบติดตาม ใช้สำหรับติดตามกระบวนการทำงาน ทำให้สามารถทราบได้ว่าผลลัพธ์ในขั้นต่างๆ เป็นอย่างไร มีการดำเนินไปถึงส่วนใด รวมถึงสามารถดูรายละเอียดลำดับในการดำเนินการ นอกจากนั้นข้อมูลที่ได้ยังสามารถนำไปใช้ประเมินระยะเวลาที่จะดำเนินการต่อไป รวมถึงผลลัพธ์ที่จะเป็นไปได้ในขั้นต่อๆ ไปอีกด้วย |
Longdo Approved JP-TH
又は | [または, mataha] นอกจากนั้น ยิ่งกว่านั้น |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
更に | [さらに, sarani] อีกครั้ง , อีก , เพิ่มขึ้น , ไม่...เลย , ยิ่งไปกว่านั้น , นอกจากนั้น |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 1.3755 seconds
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม