Key-Word-out-of-Context Index | ดรรชนีควอก, Example: ดรรชนีควอก (KWOC - Key-Word-out-of-Context Index) เป็นการจัดทำดรรชนีที่อาศัยคำสำคัญจากชื่อเรื่องเช่นเดียวกับการทำดรรชนีควิก ต่างกันเพียงการจัดรูปแบบการพิมพ์ กล่าวคือ แทนที่คำสำคัญที่เป็นดรรชนีจะอยู่ตรงคอลัมน์กลางเหมือนการทำดรรชนีควิก ก็จะปรากฏอยู่ที่คอลัมน์ริมหน้ากระดาษหรือคอลัมน์ซ้ายมือ ตามด้วยชื่อเรื่องทั้งหมดของเอกสาร และเมื่อคำสำคัญมิได้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นชื่อเรื่องแต่กลับปรากฏที่คอลัมน์ริมสุด จึงเรียกดรรชนีประเภทนี้ว่า Key-Word-out-of-Context <p>ตัวอย่าง: จากรายชื่อของเอกสารดังต่อไปนี้ <p> Blue-eyed Cats in Texas <p> The Cat and the Fiddle <p> Dogs and Cats and Their Diseases <p> The Cat and the Economy <p>เมื่อเป็นดรรชนีควอก คำสำคัญจากชื่อเรื่องอยู่คอลัมน์ซ้ายมือ คอลัมน์กลาง เป็นชื่อเรื่อง และขวาสุดเป็นแหล่งที่มาของเอกสาร ดังภาพ <p><img src="http://www.thaiglossary.org/sites/default/files/20120710-KWOC-Example.jpg" width="640" higth="200" alt="ดรรชนีควอก"> <p> รูปแบบการจัดทำดรรชนีแบบควิกและควอก เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งที่คนไม่นิยมใช้ ดรรชนีประเภทนี้นัก ด้วยเหตุผลของการไม่สะดวกในการค้นหา กล่าวคือ ชื่อเรื่องมีความคลุมเครือ ไม่มีระบบควบคุมคำศัพท์ ผู้ใช้จะต้องนึกถึงคำศัพท์ที่จะใช้ค้นหาเอง เนื่องจากไม่มีระบบการเชื่อมโยงหัวเรื่องที่ไม่ใช้ไปยังหัวเรื่องที่ใช้ ผู้ใช้จะต้องเป็นผู้ที่รู้เรื่องที่จะค้นอย่างแท้จริง แล้ว การที่ต้องพิมพ์ซ้ำชื่อเรื่องหนึ่งๆ ตามจำนวนคำสำคัญที่ปรากฎในชื่อเรื่อง ทำให้ต้องพิมพ์ตัวขนาดเล็ก เพื่อประหยัดกระดาษ ผู้ใช้ต้องใช้สายตามากในการใช้ดรรชนีควิกและควอก แต่ดรรชนีควิกและควอก เหมาะกับงานประเภท Current notification เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงรายชื่อหนังสือใหม่ในสาขาวิชาต่างๆ โดยรวดเร็ว เพราะหนังสือที่รวบรวมนั้น มีจำนวนไม่มาก ไม่ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบนาน คำสำคัญในชื่อเรื่องมักเป็นคำที่เฉพาะเจาะจงที่ผู้ใช้มักให้ความสนใจเป็นพิเศษ และสามารถติดตามความเคลื่อนไหวในวงการได้อย่างรวดเร็ว <p>รายการอ้างอิง: <p>สุนทรี รสสุธาธรรม. “ดรรชนีแบบ KWIC และ KWOC : การทำดรรชนีแบบไม่ควบคุมคำศัพท์”. บรรณสาร สพบ. ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 (พ.ค.-มิ.ย. 23) : 154-159. <p>Cleveland, Donald B. and Cleveland, Ana D. Introduction to Indexing and Abstracting. 2nd ed. Englewood, Colo. : Libraries Unlimited, 1990. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |