Film can | กระป๋องฟิล์มภาพยนตร์, Example: กระป๋องฟิล์มภาพยนตร์ (Film can) เป็นภาชนะที่มีรูปร่างเป็นแผ่นกลมแบนตื้นทำจากโลหะหรือพลาสติกแข็งที่มีฝาปิดแน่นหนามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต่าง ๆ สำหรับการจัดเก็บและการขนส่งฟิล์มภาพยนตร์ที่อยู่ในวงล้อหรือแกน แต่เดิมฟิล์มภาพยนตร์เก็บไว้ในกระป๋องฟิล์มภาพยนตร์ที่ทำจากเหล็ก (ทั้งเคลือบหรือไม่เคลือบผิว) อลูมิเนียมหรือพลาสติกบางประเภท จากมาตรฐาน ISO เสนอแนะว่าภาชนะ ที่บรรจุฟิล์มควรเป็นพอลิโพรไพลีน (Polypropylene) หรือโพลีเอทิลีน (Polyethylene) สำหรับกระป๋องฟิล์มพลาสติก ถ้าเป็นกระป๋องฟิล์มที่ทำจากโลหะ โลหะที่ใช้ไม่ควรถูกกัดกร่อนเป็นสนิมง่าย ความแข็งของกระป๋องฟิล์มภาพยนตร์สามารถป้องกันฟิล์มภาพยนตร์จากรอยขีดข่วน ฝุ่นและสัตว์หรือแมลงที่เป็นภัยต่าง ๆ กระป๋องฟิล์มยังสามารถป้องกันน้ำในระยะสั้น ๆ และอาจจะชะลออัตราการแพร่กระจายของสารมลพิษจากสภาพแวดล้อม กระป๋องฟิล์มเป็นตัวกั้นกลางผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอก โดยสามารถชะลอการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายในกระป๋องฟิล์มได้<br> <br>ในการเปิดกระป๋องฟิล์มภาพยนตร์ที่เป็นสนิมหรือมีรอยบุบ ให้ตีเบา ๆ ที่ด้านนอกของกระป๋องฟิล์มเพื่อทำให้ฝาหลวม ถ้าจำเป็นให้ใช้ไขควงหรืออุปกรณ์อื่นที่คล้ายกันเพื่อแงะฝาที่ปิดได้ แต่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้ฟิล์มภาพยนตร์เสียหาย กระป๋องฟิล์มที่ใส่ฟิล์มภาพยนตร์ให้ทำเครื่องหมายและติดป้ายชื่อบอกไว้ ทั้งนี้ควรติดป้ายไว้ด้านนอกของกล่องฟิล์ม ไม่ควรใส่วัสดุอื่น ๆ ไว้ภายในกล่องฟิล์มโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระดาษและโดยเฉพาะกระดาษที่พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์ เนื่องจากกระดาษอาจมีกรดและเป็นแหล่งที่มาของความชื้นและฝุ่นละออง นอกจากนั้นไม่ควรให้มีกาวและยางรัดภายในกล่องด้วยเช่นกันเนื่องจากวัสดุเหล่านี้เป็นแหล่งที่มาของตัวทำละลาย กำมะถันและตัวออกซิไดซ์ที่เป็นอันตราย และควรวางภาชนะที่บรรจุฟิล์มให้ซ้อนกันในแนวนอนเพื่อให้ม้วนฟิล์มวางในแนวราบ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Film can | กระป๋องฟิล์มภาพยนตร์, Example: กระป๋องฟิล์มภาพยนตร์ (Film can) เป็นภาชนะที่มีรูปร่างเป็นแผ่นกลมแบนตื้นทำจากโลหะหรือพลาสติกแข็งที่มีฝาปิดแน่นหนามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต่าง ๆ สำหรับการจัดเก็บและการขนส่งฟิล์มภาพยนตร์ที่อยู่ในวงล้อหรือแกน แต่เดิมฟิล์มภาพยนตร์เก็บไว้ในกระป๋องฟิล์มภาพยนตร์ที่ทำจากเหล็ก (ทั้งเคลือบหรือไม่เคลือบผิว) อลูมิเนียมหรือพลาสติกบางประเภท จากมาตรฐาน ISO เสนอแนะว่าภาชนะ ที่บรรจุฟิล์มควรเป็นพอลิโพรไพลีน (Polypropylene) หรือโพลีเอทิลีน (Polyethylene) สำหรับกระป๋องฟิล์มพลาสติก ถ้าเป็นกระป๋องฟิล์มที่ทำจากโลหะ โลหะที่ใช้ไม่ควรถูกกัดกร่อนเป็นสนิมง่าย ความแข็งของกระป๋องฟิล์มภาพยนตร์สามารถป้องกันฟิล์มภาพยนตร์จากรอยขีดข่วน ฝุ่นและสัตว์หรือแมลงที่เป็นภัยต่าง ๆ กระป๋องฟิล์มยังสามารถป้องกันน้ำในระยะสั้น ๆ และอาจจะชะลออัตราการแพร่กระจายของสารมลพิษจากสภาพแวดล้อม กระป๋องฟิล์มเป็นตัวกั้นกลางผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอก โดยสามารถชะลอการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายในกระป๋องฟิล์มได้<br> <br>ในการเปิดกระป๋องฟิล์มภาพยนตร์ที่เป็นสนิมหรือมีรอยบุบ ให้ตีเบา ๆ ที่ด้านนอกของกระป๋องฟิล์มเพื่อทำให้ฝาหลวม ถ้าจำเป็นให้ใช้ไขควงหรืออุปกรณ์อื่นที่คล้ายกันเพื่อแงะฝาที่ปิดได้ แต่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้ฟิล์มภาพยนตร์เสียหาย กระป๋องฟิล์มที่ใส่ฟิล์มภาพยนตร์ให้ทำเครื่องหมายและติดป้ายชื่อบอกไว้ ทั้งนี้ควรติดป้ายไว้ด้านนอกของกล่องฟิล์ม ไม่ควรใส่วัสดุอื่น ๆ ไว้ภายในกล่องฟิล์มโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระดาษและโดยเฉพาะกระดาษที่พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์ เนื่องจากกระดาษอาจมีกรดและเป็นแหล่งที่มาของความชื้นและฝุ่นละออง นอกจากนั้นไม่ควรให้มีกาวและยางรัดภายในกล่องด้วยเช่นกันเนื่องจากวัสดุเหล่านี้เป็นแหล่งที่มาของตัวทำละลาย กำมะถันและตัวออกซิไดซ์ที่เป็นอันตราย และควรวางภาชนะที่บรรจุฟิล์มให้ซ้อนกันในแนวนอนเพื่อให้ม้วนฟิล์มวางในแนวราบ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |