Book number | เลขหนังสือ, Example: <p> Book number หมายถึง เลขหนังสือ หรือเลขผู้แต่งหนังสือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเลขเรียกหนังสือ (Call number) ประกอบด้วยเลขหมู่หนังสือ (Class number) และเลขหนังสือ โดยเลขหนังสือจะเป็นส่วนท้ายของเลขเรียกหนังสือ เลขหนังสือนี้ประกอบด้วยตัวอักษรจากชื่อผู้แต่งกับตัวเลขจำนวนหนึ่ง และบางครั้งรวมทั้งตัวอักษรซึ่งได้มาจากชื่อหนังสือด้วย เลขหนังสือมีประโยชน์ คือ ทำให้เลขเรียกหนังสือของหนังสือแต่ละเล่มมีความแตกต่างกัน และสามารถจัดเรียงตามลำดับบนชั้นได้ไม่ซ้ำกัน <p> ในต่างประเทศได้จัดทำเลขผู้แต่งหนังสือมานานแล้ว โดยเริ่มจาก ชาร์ล เอ คัตเตอร์ (Charle A Cutter) ได้จัดทำ Cutter’s Two Figure Author Table ขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19 ต่อมาเคท อี. แซนบอร์น (Kate E. Sanborn) ได้จัดทำ Three Figure Table ขึ้นจากคำแนะนำของคัตเตอร์ โดยใช้ชื่อว่า Cutter-Sanborn Three Figure Author Table ดังนั้น จึงนิยมเรียกตารางเลขผู้แต่งที่แซนบอร์น คิดขึ้นนี้ว่า Cutter-Sanborn Table และใช้เป็นพื้นฐานสำหรับเลขผู้แต่งสมัยปัจจุบัน <p> ในประเทศไทยหอสมุดแห่งชาติได้นำแนวคิดจากตารางเลขผู้แต่ง Cutter-Sanborn Three Figure Author Table มาพัฒนาตารางเลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยสำเร็จรูปของหอสมุดแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และเผยแพร่ไปยังห้องสมุดต่างๆ อย่างแพร่หลาย จนในปี พ.ศ. 2528 หอสมุดแห่งชาติ จึงได้จัดพิมพ์เผยแพร่อย่างเป็นทางการใช้ชื่อว่า ตารางเลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยสำเร็จรูป (Thai Author Table) จากนั้นได้จัดพิมพ์เผยแพร่อีก 3 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2531, 2538 และ 2547 ตารางเลขผู้แต่งของหอสมุดแห่งชาติ ได้รับความนิยมแพร่หลาย เนื่องจากเป็นคู่มือที่มีการกำหนดเลขไว้แน่นอน เรียงชื่อผู้แต่งตามพจนานุกรม โดยกำหนดเลข 3 หลักควบคู่กับชื่อผู้แต่ง นับเป็นคู่มือที่ให้ความสะดวกและรวดเร็วในการปฏิบัติงานมาก เมื่อเทียบกับการกำหนดเลขผู้แต่งโดยการบวกตัวเลขระหว่างตัวอักษรและสระประจำตัวผู้แต่ง <p> นอกจากนี้ยังมีเลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยอื่น ๆ ที่ห้องสมุดหลายแห่งได้พัฒนาขึ้นใช้เอง ได้แก่ <p> 1) เลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยแบบของหอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย <p> 2) เลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยแบบของ หอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ <p> 3) เลขผู้แต่งภาษาไทยของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม <p> เลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยที่ห้องสมุดต่างๆ ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือ เลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยของหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันจัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 5 แล้ว <p> โดยทั่วไปเลขหนังสือประกอบด้วย เลขผู้แต่ง In general, book number = author number + title (or work) mark + edition mark + date of publication + volume number + copy number + anything else library policy dictates ตัวอย่างการให้เลขหนังสือ <p> หนังสือเล่มหนึ่ง เมื่อจัดหมวดหมู่ในระบบ LC (ระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน) ได้เลขเรียกหนังสือ ดังนี้ <p> BF 408 เลขหมู่หนังสือ (Class Number) <p> ว716 เลขหนังสือ (Book number) <p> เมื่อหนังสือมีเลขหมู่หนังสือซ้ำกัน เลขหนังสือจะช่วยจัดลำดับหนังสือที่มีเลขหมู่หนังสือซ้ำกันบนชั้นได้โดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น มีหนังสือที่มีเลขหมู่เดียวกันบนชั้น 5 เล่ม แต่มีผู้แต่งต่างกัน เมื่อจัดวางหนังสือบนชั้น จะนำมาจัดเรียงได้ ดังนี้ <p> BF 408 BF 408 BF 408 BF 408 BF <p> ว 716 ว 447 ส 282 อ 113 อ 459 <p>ในกรณีที่ห้องสมุดมีหนังสือของผู้แต่งคนเดียวกันที่มีเลขหมู่หนังสือซ้ำกันและมีอยู่บนชั้นหลายเล่ม เกิดปัญหาในการจัดวางหนังสือบนชั้น จะใช้วิธีเพิ่มตัวอักษรตัวแรกของชื่อเรื่องต่อท้ายเลขหนังสือ เช่น <p> BF 408 BF 408 ดังนั้น จึงทำให้หนังสือสองเล่มนี้มีตำแหน่งที่วางโดยเฉพาะบนชั้นหนังสือ <p> อ 968 ค อ 968 จ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |