Adhesive Binding | การไสสันทากาว, การเข้าเล่มแบบไสกาว, Example: การเข้าเล่มแบบไสกาว (Adhesive binding) เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะเข้าเล่มได้เรียบร้อยสวยงามและราคาถูก เหมาะสำหรับหนังสือเล่มที่มีความหนาปานกลางประมาณ 70 หน้าขึ้นไป วิธีเข้าเล่มแบบไสกาวจะนำกระดาษที่เรียงหน้าเป็นเล่มแล้ว มาเข้าเครื่องไสด้านข้างให้เป็นขุยก่อนแล้วจึงทากาวที่ขอบสันที่ผ่านการไสด้วยการเลื่อยแล้ว จากนั้นจึงปิดสันด้วยผ้าก๊อชเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้สัน แล้วจึงหุ้มด้วยปกหนังสือ การที่ต้องไสขอบสันก่อนก็เพื่อให้กาวแทรกซึมเข้าไปง่าย การยึดติดก็จะดีขึ้น นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า “ไสกาว” การเข้าเล่มแบบนี้เป็นวิธีที่ทำได้เร็วและมีราคาไม่แพง ความทนทานก็พอใช้ได้ แต่กางหนังสือออกได้ไม่มาก โดยเฉพาะหนังสือที่หนามากๆ ถ้ากางหนังสือเต็มที่อาจจะหลุดได้ หนังสือที่นิยมเข้าเล่มแบบนี้ ได้แก่ หนังสือเรียน นิตยสาร และพ็อคเก็ตบุ๊ค นอกจากนี้การเข้าเล่มแบบไสกาวยังเหมาะกับการผลิตหนังสือจำนวนมากในระดับโรงพิมพ์ เนื่องจากมีราคาไม่แพง และมีเครื่องเข้าเล่มสันกาวร้อนช่วยในการเข้าเล่มด้วย [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Adhesive Binding | การไสสันทากาว, การเข้าเล่มแบบไสกาว, Example: การเข้าเล่มแบบไสกาว (Adhesive binding) เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะเข้าเล่มได้เรียบร้อยสวยงามและราคาถูก เหมาะสำหรับหนังสือเล่มที่มีความหนาปานกลางประมาณ 70 หน้าขึ้นไป วิธีเข้าเล่มแบบไสกาวจะนำกระดาษที่เรียงหน้าเป็นเล่มแล้ว มาเข้าเครื่องไสด้านข้างให้เป็นขุยก่อนแล้วจึงทากาวที่ขอบสันที่ผ่านการไสด้วยการเลื่อยแล้ว จากนั้นจึงปิดสันด้วยผ้าก๊อชเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้สัน แล้วจึงหุ้มด้วยปกหนังสือ การที่ต้องไสขอบสันก่อนก็เพื่อให้กาวแทรกซึมเข้าไปง่าย การยึดติดก็จะดีขึ้น นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า “ไสกาว” การเข้าเล่มแบบนี้เป็นวิธีที่ทำได้เร็วและมีราคาไม่แพง ความทนทานก็พอใช้ได้ แต่กางหนังสือออกได้ไม่มาก โดยเฉพาะหนังสือที่หนามากๆ ถ้ากางหนังสือเต็มที่อาจจะหลุดได้ หนังสือที่นิยมเข้าเล่มแบบนี้ ได้แก่ หนังสือเรียน นิตยสาร และพ็อคเก็ตบุ๊ค นอกจากนี้การเข้าเล่มแบบไสกาวยังเหมาะกับการผลิตหนังสือจำนวนมากในระดับโรงพิมพ์ เนื่องจากมีราคาไม่แพง และมีเครื่องเข้าเล่มสันกาวร้อนช่วยในการเข้าเล่มด้วย [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Klebebindung { f } | adhesive binding [Add to Longdo] |