5 ผลลัพธ์ สำหรับ -book number-
/บุ ขึ นั้ม เบ่อ (ร)/     /bˈʊk nˈʌmbɜːʴ/
หรือค้นหา: -book number-, *book number*

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Book numberเลขหนังสือ, Example: <p> Book number หมายถึง เลขหนังสือ หรือเลขผู้แต่งหนังสือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเลขเรียกหนังสือ (Call number) ประกอบด้วยเลขหมู่หนังสือ (Class number) และเลขหนังสือ โดยเลขหนังสือจะเป็นส่วนท้ายของเลขเรียกหนังสือ เลขหนังสือนี้ประกอบด้วยตัวอักษรจากชื่อผู้แต่งกับตัวเลขจำนวนหนึ่ง และบางครั้งรวมทั้งตัวอักษรซึ่งได้มาจากชื่อหนังสือด้วย เลขหนังสือมีประโยชน์ คือ ทำให้เลขเรียกหนังสือของหนังสือแต่ละเล่มมีความแตกต่างกัน และสามารถจัดเรียงตามลำดับบนชั้นได้ไม่ซ้ำกัน <p> ในต่างประเทศได้จัดทำเลขผู้แต่งหนังสือมานานแล้ว โดยเริ่มจาก ชาร์ล เอ คัตเตอร์ (Charle A Cutter) ได้จัดทำ Cutter’s Two Figure Author Table ขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19 ต่อมาเคท อี. แซนบอร์น (Kate E. Sanborn) ได้จัดทำ Three Figure Table ขึ้นจากคำแนะนำของคัตเตอร์ โดยใช้ชื่อว่า Cutter-Sanborn Three Figure Author Table ดังนั้น จึงนิยมเรียกตารางเลขผู้แต่งที่แซนบอร์น คิดขึ้นนี้ว่า Cutter-Sanborn Table และใช้เป็นพื้นฐานสำหรับเลขผู้แต่งสมัยปัจจุบัน <p> ในประเทศไทยหอสมุดแห่งชาติได้นำแนวคิดจากตารางเลขผู้แต่ง Cutter-Sanborn Three Figure Author Table มาพัฒนาตารางเลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยสำเร็จรูปของหอสมุดแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และเผยแพร่ไปยังห้องสมุดต่างๆ อย่างแพร่หลาย จนในปี พ.ศ. 2528 หอสมุดแห่งชาติ จึงได้จัดพิมพ์เผยแพร่อย่างเป็นทางการใช้ชื่อว่า ตารางเลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยสำเร็จรูป (Thai Author Table) จากนั้นได้จัดพิมพ์เผยแพร่อีก 3 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2531, 2538 และ 2547 ตารางเลขผู้แต่งของหอสมุดแห่งชาติ ได้รับความนิยมแพร่หลาย เนื่องจากเป็นคู่มือที่มีการกำหนดเลขไว้แน่นอน เรียงชื่อผู้แต่งตามพจนานุกรม โดยกำหนดเลข 3 หลักควบคู่กับชื่อผู้แต่ง นับเป็นคู่มือที่ให้ความสะดวกและรวดเร็วในการปฏิบัติงานมาก เมื่อเทียบกับการกำหนดเลขผู้แต่งโดยการบวกตัวเลขระหว่างตัวอักษรและสระประจำตัวผู้แต่ง <p> นอกจากนี้ยังมีเลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยอื่น ๆ ที่ห้องสมุดหลายแห่งได้พัฒนาขึ้นใช้เอง ได้แก่ <p> 1) เลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยแบบของหอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย <p> 2) เลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยแบบของ หอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ <p> 3) เลขผู้แต่งภาษาไทยของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม <p> เลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยที่ห้องสมุดต่างๆ ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือ เลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยของหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันจัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 5 แล้ว <p> โดยทั่วไปเลขหนังสือประกอบด้วย เลขผู้แต่ง In general, book number = author number + title (or work) mark + edition mark + date of publication + volume number + copy number + anything else library policy dictates ตัวอย่างการให้เลขหนังสือ <p> หนังสือเล่มหนึ่ง เมื่อจัดหมวดหมู่ในระบบ LC (ระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน) ได้เลขเรียกหนังสือ ดังนี้ <p> BF 408 เลขหมู่หนังสือ (Class Number) <p> ว716 เลขหนังสือ (Book number) <p> เมื่อหนังสือมีเลขหมู่หนังสือซ้ำกัน เลขหนังสือจะช่วยจัดลำดับหนังสือที่มีเลขหมู่หนังสือซ้ำกันบนชั้นได้โดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น มีหนังสือที่มีเลขหมู่เดียวกันบนชั้น 5 เล่ม แต่มีผู้แต่งต่างกัน เมื่อจัดวางหนังสือบนชั้น จะนำมาจัดเรียงได้ ดังนี้ <p> BF 408 BF 408 BF 408 BF 408 BF <p> ว 716 ว 447 ส 282 อ 113 อ 459 <p>ในกรณีที่ห้องสมุดมีหนังสือของผู้แต่งคนเดียวกันที่มีเลขหมู่หนังสือซ้ำกันและมีอยู่บนชั้นหลายเล่ม เกิดปัญหาในการจัดวางหนังสือบนชั้น จะใช้วิธีเพิ่มตัวอักษรตัวแรกของชื่อเรื่องต่อท้ายเลขหนังสือ เช่น <p> BF 408 BF 408 ดังนั้น จึงทำให้หนังสือสองเล่มนี้มีตำแหน่งที่วางโดยเฉพาะบนชั้นหนังสือ <p> อ 968 ค อ 968 จ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]

ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Magnus has the library book number. He could have beaten us here. แม็กนุสก็มีเลข เขาอาจตัดหน้าไปแล้วก็ได้ Chuck Versus the Alma Mater (2007)
The book number was just a way to mark the spot for the professor. รหัสหนังสือเป็นแค่ตัวชี้ตำแหน่ง Chuck Versus the Alma Mater (2007)
So, Dan, what are you thinking for book number two? แล้ว แดน เธอคิดจะทำยังไงกับ หนังสือเล่มที่สอง Father and the Bride (2012)

EDICT JP-EN Dictionary
国際標準図書番号[こくさいひょうじゅんとしょばんごう, kokusaihyoujuntoshobangou] (n) International Standard Book Number; ISBN [Add to Longdo]

Time: 0.081 seconds, cache age: 4.14 (clear)Longdo Dict -- https://dict.longdo.com/