Covalent Bond, Polar | พันธะโคเวเลนต์มีขั้ว [การแพทย์] |
Covalent Bonding | การเกิดพันธะโคเวเลนต์ [การแพทย์] |
dipole | ขั้วของพันธะ, ไดโพล, ขั้วของพันธะโคเวเลนต์ที่แสดงอำนาจไฟฟ้าเป็น 2 ขั้ว คือ ขั้วหนึ่งแสดงอำนาจไฟฟ้าบวกและอีกขั้วหนึ่งแสดงอำนาจไฟฟ้าลบ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
polar covalent bond | พันธะโคเวเลนต์มีขั้ว, พันธะโคเวเลนต์ระหว่างอะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดอำนาจไฟฟ้าลบปรากฏอยู่ด้านอะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงกว่า และอำนาจไฟฟ้าบวกปรากฏอยู่ด้านอะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำกว่า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
organic compound [ carbon compound ] | สารประกอบอินทรีย์, สารประกอบที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่อยู่รวมกับธาตุไฮโดรเจนและธาตุอื่น ๆ ธาตุใดธาตุหนึ่ง หรือหลายธาตุ คือ O, N, S, และเฮโลเจน โดยสร้างพันธะกับคาร์บอนด้วยพันธะโคเวเลนต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
covalent compound | สารประกอบโคเวเลนต์, สารประกอบที่อะตอมในโมเลกุลยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ เช่น CO2 , N2 เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
shared pair electron | อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ, อิเล็กตรอนคู่หนึ่งซึ่งดึงดูดนิวเคลียสของอะตอมคู่หนึ่งไว้ และเป็นผลให้อะตอมคู่นั้นยึดกันไว้ด้วยพันธะโคเวเลนต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electronegativity | อิเล็กโทรเนกาติวิตี, ความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนของธาตุต่าง ๆ ในโมเลกุลของสารประกอบที่ยึดกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
complex ion | ไอออนเชิงซ้อน, องค์ประกอบส่วนหนึ่งของสารประกอบเชิงซ้อนมีส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ อะตอมกลางกับส่วนที่มาล้อมรอบซึ่งสร้างพันธะโคเวเลนต์ต่อกันโดยอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะมาจากส่วนใดส่วนหนึ่งเช่น [ Fe(CN)6 ]4 -, [ Cu(NH3)4 ]2+ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
bond length | ความยาวพันธะ, ระยะเฉลี่ยระหว่างนิวเคลียสของอะตอมคู่ที่สร้างพันธะโคเวเลนต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
chemical bond [ bond ] | พันธะเคมี, แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมหรือไอออนเข้าไว้ด้วยกันเป็นโมเลกุลหรือเป็นกลุ่มอะตอม ตัวอย่างเช่น พันธะไอออนิก พันธะโคเวเลนต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |