assemble | (อะเซม'เบิล) vt. รวบรวม, ประชุม, รวมเข้า. -assembler n., Syn. combine, collect, Ant. disperse, separate แปล ภาษาแอสเซมบลี หมายถึงแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง machine language เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ๆ ได้ |
base number | เลขฐานหมายถึง จำนวนสัญลักษณ์ที่ ใช้บอกว่าเลขในระบบนั้น ๆ ว่ามีสัญลักษณ์โดด ๆ กี่ตัว เช่น ระบบฐานสิบมีสัญลักษณ์ 10 ตัว ระบบฐานสิบหกมีสัญลักษณ์ 16 ตัว เป็นต้น ในการเขียน มักจะต้องบอกฐานกำกับไว้ด้วยเสมอ |
cad | 1. abbr. coronary artery disease 2. (แคด) ย่อมาจาก computer aided design แปลตรง ๆ ได้ว่า การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย หมายถึงการสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการสร้างภาพ แบบจำลอง (model) ฯ แล้วจะบันทึกแบบเก็บไว้ในสื่อ สามารถเรียกแบบที่ออกไว้นั้นมาแสดงบนจอภาพเมื่อใดก็ได้ หรือจะสั่งให้พิมพ์ออกมาดูบนกระดาษก็ได้ โดยสามารถสั่งขยาย ย่อ หมุนพลิกภาพนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ภาพหรือแบบที่ออกไว้จะปรับเปลี่ยนไปตามสูตรที่กำหนดเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง เช่น การออกแบบชิ้นส่วนของรถยนต์หรือโครงสร้างอาคาร ผู้ออกแบบจะสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยปกติ คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้เพื่องานประเภทนี้ จะต้องมีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่มีความจุสูงมาก มีจอภาพที่มีความละเอียดสูง และมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็ว ส่วนการแสดงผล มักจะใช้เครื่องวาด (plotter) แทนเครื่องพิมพ์ดู CAM ประกอบ เพราะมักใช้คู่กันเป็น CAD/CAM |
character reader | เครื่องอ่านอักขระหมายถึง เครื่องอ่านอักขระจากตัวพิมพ์ซึ่งจะต้องมีลักษณะพิเศษที่เป็นมาตรฐาน การอ่านใช้วิธีให้แสงผ่านช่องว่างของตัวอักขระนั้น ๆ แล้วแปลเป็นรหัสบันทึกลงไว้ในแถบบันทึก (tape) หรือจานบันทึก (disk) |
computer aided design | การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CAD (อ่านว่า แคด) หมายถึงการสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการสร้างภาพ แบบจำลอง (model) ฯ แล้วจะบันทึกแบบเก็บไว้ในสื่อ สามารถเรียกแบบที่ออกไว้นั้นมาแสดงบนจอภาพเมื่อใดก็ได้ หรือจะสั่งให้พิมพ์ออกมาดูบนกระดาษก็ได้ โดยสามารถสั่งขยาย ย่อ หมุนพลิกภาพนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ภาพหรือแบบที่ออกไว้จะปรับเปลี่ยนไปตามสูตรที่กำหนดเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง เช่น การออกแบบชิ้นส่วนของรถยนต์หรือโครงสร้างอาคาร ผู้ออกแบบจะสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยปกติ คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้เพื่องานประเภทนี้ จะต้องมีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่มีความจุสูงมาก ๆ มีจอภาพที่มีความละเอียดสูง และมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็ว ส่วนการแสดงผล มักจะใช้เครื่องวาด (plotter) แทนเครื่องพิมพ์ |
computer language | ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เพื่อสื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ โดยปกติเราแบ่งภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ชนิด คือ1. ภาษาเครื่อง (machine language) คำสั่งที่เขียนด้วยภาษานี้เครื่องจะรับรู้และปฏิบัติตามได้ทันที ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์แต่ละแบบก็จะคิดแบบของภาษาที่ใช้กับเครื่องนั้น ๆ ขึ้นเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องลักษณะของภาษาประเภทนี้จะเป็นตัวเลขฐานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ฉะนั้นจึงเป็นการยากสำหรับผู้เขียนโปรแกรม ซึ่งต้องเรียนรู้รายละเอียดของเครื่องนั้น ๆ ก่อน จึงจะใช้ภาษาได้2. ภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) หมายถึงภาษาที่มนุษย์เข้าใจ (แต่เครื่องไม่เข้าใจ) เนื่องจากภาษาเครื่องยุ่งยากและสับสน จึงมีการคิดภาษาหนังสือซึ่งมนุษย์เราเคยชินกันอยู่แล้วขึ้น แล้วใช้ตัวแปล (translator) แปลเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง เครื่องจึงจะดำเนินการได้ ภาษาแนวมนุษย์นี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ระดับ คือ2.1 ภาษาระดับต่ำ (low - level language) เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) 2.2 ภาษาระดับสูง (high - level language) เช่นภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) ลักษณะของภาษาระดับสูงนี้ ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นให้เหมาะสมกับงานเฉพาะอย่าง เช่น ภาษาฟอร์แทรน เหมาะกับงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และงานวิจัย ภาษาโคบอลและอาร์พีจี (RPG) เหมาะกับงานด้านธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีภาษาอื่นที่เป็นที่นิยมอีกมาก ภาษาเหล่านี้จะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมาก เพราะในคอมพิวเตอร์ จะมีตัวแปล (translator) ซึ่งมีหน้าที่คอยแปลภาษาแนวมนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง การใช้ภาษาแนวมนุษย์นี้มีข้อดีคือ ใช้ง่ายกว่า มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่ายกว่า และเขียนได้สั้นกว่า เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลาย ๆ คำสั่งของภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดี ตรงที่ใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการแปล |
data fork | ส่วนข้อมูลแฟ้มข้อมูลที่ใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชทุก ๆ แฟ้มจะประกอบด้วยสองส่วน ส่วนที่หนึ่งนั้น เรียกว่า ส่วนข้อมูล (data fork) หมายถึงส่วนที่เป็นข้อมูลจริง ๆ ที่โปรแกรมนั้น ๆ จะต้องใช้ ส่วนที่สองเรียกว่า ส่วนทรัพยากร (resource fork) หมายถึงส่วนที่เป็นข้อคำสั่งต่าง ๆ ที่เรียกว่าโปรแกรม ซึ่งจะเป็นตัวทำงานให้ หรือไม่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีไว้ เพื่อให้ใช้โปรแกรมนั้น ๆ ได้ครบถ้วน เช่น การกำหนดแบบอักษร (font) สัญรูป (icon) รายการเลือก (menu) เป็นต้น |
em dash | (เอ็มแดช) เป็นอักษรพิเศษตัวหนึ่งที่ใช้ในการพิมพ์ มีลักษณะเป็นขีดยาวเท่า ๆ กับอักษร M หรือเครื่องหมาย hyphen 2 ตัวพิมพ์ติด ๆ กัน (--) โดยปกติ จะใช้เพื่อแสดงว่าต้องการเน้นข้อความนั้น ๆ เช่น " การ เล่นกอล์ฟเป็นการพนันอย่างหนึ่ง -- การพนันที่เป็นที่นิยมมากเสียด้วย " ดู en dash เปรียบเทียบ |
eoj | (อีโอเจ) ย่อมาจาก end of job (แปลว่า สิ้นสุดงาน) หมายถึง จุดสิ้นสุดของแฟ้มหรือของข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ทำไว้ท้ายแฟ้มข้อมูลที่บันทึกลงในแถบบันทึกหรือเทป (tape) เพื่อบอกว่าสิ้นสุดแฟ้มข้อมูลหรือสิ้นสุดงานนั้น ๆ มีความหมายเหมือน end of file |
error code | รหัสระบุความผิดพลาดหมายถึง รหัสที่มีกำหนดไว้ เพื่อบ่งบอกข้อผิดพลาดต่าง ๆ ว่าเป็นข้อผิดพลาดจากสาเหตุใด เช่น ศัพท์ที่ใช้ในชุดคำสั่งภาษานั้น ๆ ตัวแปลภาษาไม่รู้จัก (bad command) หรือไวยากรณ์ผิด (syntax error) เป็นต้น |