กฐิน | (n) Kathin, See also: religious ceremony of presenting robes to the Buddhist monks, Example: โรงเรียนพาคณะนักเรียนไปร่วมงานทอดกฐินที่วัดใกล้โรงเรียน, Thai Definition: ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ ไม้แบบสำหรับตัดจีวร |
กฐินทาน | (n) the annual robe offered to the monks who dwelled in the monastery, See also: Kathin, Syn. การทอดกฐิน, Example: ปีนี้ครอบครัวทำบุญด้วยการทำกฐินทาน |
จุลกฐิน | (n) kind of a set of new robes, Example: ประเพณีทอดกฐินอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า จุลกฐิน นิยมกันมาตั้งแต่โบราณกาล, Thai Definition: พิธีทอดกฐินที่ต้องทำต้องแต่ปั่นฝ้าย ทอ เย็บ ย้อมผ้ากฐินและถวายสงฆ์ให้เสร็จในวันเดียว |
ทอดกฐิน | (v) present robes to monks at the end of Buddhist Lent, See also: hold a religious ceremony in which yellow robes are presented to the priests, Example: สมาชิกของสมาคมจะไปทอดกฐินที่วัดในจังหวัดอยุธยา, Thai Definition: ทำพิธีถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์ |
กรานกฐิน | (v) Kathina Khandhaka, See also: stretch out monk's robes in order to cut to a standard size, Example: ชาวบ้านกำลังกรานกฐิน, Thai Definition: เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา |
องค์กฐิน | (n) set of new robes offered to Buddhist monks, Syn. ผ้ากฐิน, Example: ชาวบ้านกำลังช่วยกันจัดองค์กฐินอยู่, Count Unit: องค์, Thai Definition: ผ้าผืนที่ถวายสงฆ์เพื่อกรานกฐิน |
การทอดกฐิน | (n) ceremony of presenting yellow to the Buddhist monks at the end of the Buddhist Lent, Example: เขาได้รับคัดเลือกให้เป็นประธานในการทอดกฐินปีนี้ |
กฐิน | (n) Kathin, See also: religious ceremony of presenting robes to the Buddhist monks, Example: โรงเรียนพาคณะนักเรียนไปร่วมงานทอดกฐินที่วัดใกล้โรงเรียน, Thai Definition: ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ ไม้แบบสำหรับตัดจีวร |
กฐินทาน | (n) the annual robe offered to the monks who dwelled in the monastery, See also: Kathin, Syn. การทอดกฐิน, Example: ปีนี้ครอบครัวทำบุญด้วยการทำกฐินทาน |
จุลกฐิน | (n) kind of a set of new robes, Example: ประเพณีทอดกฐินอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า จุลกฐิน นิยมกันมาตั้งแต่โบราณกาล, Thai Definition: พิธีทอดกฐินที่ต้องทำต้องแต่ปั่นฝ้าย ทอ เย็บ ย้อมผ้ากฐินและถวายสงฆ์ให้เสร็จในวันเดียว |
ทอดกฐิน | (v) present robes to monks at the end of Buddhist Lent, See also: hold a religious ceremony in which yellow robes are presented to the priests, Example: สมาชิกของสมาคมจะไปทอดกฐินที่วัดในจังหวัดอยุธยา, Thai Definition: ทำพิธีถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์ |
กรานกฐิน | (v) Kathina Khandhaka, See also: stretch out monk's robes in order to cut to a standard size, Example: ชาวบ้านกำลังกรานกฐิน, Thai Definition: เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา |
องค์กฐิน | (n) set of new robes offered to Buddhist monks, Syn. ผ้ากฐิน, Example: ชาวบ้านกำลังช่วยกันจัดองค์กฐินอยู่, Count Unit: องค์, Thai Definition: ผ้าผืนที่ถวายสงฆ์เพื่อกรานกฐิน |
การทอดกฐิน | (n) ceremony of presenting yellow to the Buddhist monks at the end of the Buddhist Lent, Example: เขาได้รับคัดเลือกให้เป็นประธานในการทอดกฐินปีนี้ |
กฐิน, กฐิน- | (กะถิน, กะถินนะ-) น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร |
กฐิน, กฐิน- | คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [ กะถินนะกาน ] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่าเทศกาลกฐิน [ เทดสะกานกะถิน ] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [ บอริวานกะถิน ] เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [ อะนุโมทะนากะถิน ] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน , ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน). |
กฐินทาน | (กะถินนะทาน) น. การทอดกฐิน. |
กฐินัตถารกรรม | (กะถินัดถาระกำ) น. การกรานกฐิน. |
กฐินัตถารกรรม | ดู กฐิน, กฐิน-. |
กรานกฐิน | (-กะถิน) ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทำตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่า . (อุปสมบทวิธี). (ดู กฐิน). |
จองกฐิน | ก. แจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้น ๆ ไว้เป็นการล่วงหน้า. |
จุลกฐิน | น. เรียกพิธีทอดกฐินที่ต้องทำตั้งแต่ปั่นฝ้าย ทอ เย็บ ย้อมผ้ากฐิน และถวายสงฆ์ให้เสร็จในวันเดียว, โดยปริยายหมายความว่า งานที่ต้องทำอย่างชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจำกัด. |
ชฎามหากฐิน | น. เครื่องราช-ศิราภรณ์อย่างหนึ่ง ลักษณะเป็นจอมรวบขึ้นไปตั้งแต่มาลัยรักร้อย ปลายยาวเรียวปัดไปทางด้านหลังเล็กน้อย ปักพระยี่ก่าข้างซ้าย เรียกว่า พระชฎามหากฐิน. |
ทอดกฐิน | ก. ทำพิธีถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์. |
ผ้ากฐิน | น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุเฉพาะกฐินกาล. |
เพ้อเจ้อกฐินบก | ว. ชักช้า, เรื่องมาก, ยืดเยื้อ, เยิ่นเย้อกฐินบก ก็ว่า. |
มหากฐิน | น. ชื่อพระชฎาเครื่องต้น เรียกว่า พระชฎามหากฐิน, ชื่อพระแสงหอกที่เชิญลงในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า พระแสงหอกมหากฐิน. |
เยิ่นเย้อกฐินบก | ว. ชักช้า, เรื่องมาก, ยืดเยื้อ, เพ้อเจ้อกฐินบก ก็ว่า. |
เยื้องพรายกฐิน | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือข้างหนึ่งตั้งวงสูง แขนตึง ระดับไหล่ มืออีกข้างหนึ่งหงายจีบระดับชายพก เอียงศีรษะข้างเดียวกับมือที่ตั้งวง. |
วุ่นเป็นจุลกฐิน | (-จุนละกะถิน) ก. อาการที่ต้องทำงานอย่างชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจำกัด. |
องค์กฐิน | น. ผ้ากฐิน, ผ้าผืนที่ถวายสงฆ์เพื่อกรานกฐิน. |
กระเบน | บริเวณปลายกระดูกสันหลังช้าง เหนือโคนหาง เช่น ผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง (กฐินพยุห). |
คู่สวด | น. พระ ๒ รูปที่ทำหน้าที่สวดญัตติในการอุปสมบทหรือการกรานกฐินเป็นต้น. |
จระเข้ | เรียกธงผืนผ้ามีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัดแสดงว่าทอดกฐินแล้ว ว่า ธงจระเข้. |
จอง | มั่นหมายไว้, ขอกำหนดไว้, เช่น จองกฐิน จองที่. |
จีวรกาลสมัย | น. คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร (งวดที่ ๑ ตั้งแต่วันมหาปวารณา คือ วันแรมคํ่าหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒, งวดที่ ๒ ตั้งแต่วันมหาปวารณาไปจนหมดฤดูหนาว, งวดที่ ๑ เป็นของพระที่มิได้กรานกฐิน, งวดที่ ๒ เป็นของพระที่กรานกฐินแล้ว). |
ต้น ๕ | ว. เนื่องในพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น. |
ทานาธิบดี | น. เจ้าของทาน, ผู้เป็นใหญ่ในการให้, เช่น ขอกุศลผลบุญจงบังเกิดแก่ทานาธิบดีในการทอดกฐินครั้งนี้. |
ทุส-, ทุสสะ | (ทุดสะ-) น. ผ้า เช่น กฐินทุสทาน ว่า ถวายผ้ากฐิน. |
ธงจระเข้ | น. ธงผืนผ้ามีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัด แสดงว่ารับกฐินแล้ว, คู่กับ ธงนางเงือก. |
ธงนางเงือก | น. ธงผืนผ้ามีรูปนางเงือกตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่าน้ำหน้าวัด แสดงว่ารับกฐินแล้ว, คู่กับ ธงจระเข้. |
บริวาร | (บอริวาน) น. ผู้แวดล้อมหรือผู้ติดตาม เช่น พระพุทธเจ้ามีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร, สิ่งที่เป็นส่วนประกอบหรือสมทบสิ่งอื่นที่เป็นประธาน เช่น บริวารกฐิน. |
บอกบุญ | ก. บอกชักชวนให้ทำบุญเช่นในการสร้างโบสถ์ทอดกฐิน. |
เบญจวรรค | น. วรรคทั้ง ๕ ได้แก่ พยัญชนะตั้งแต่วรรค ก ถึงวรรค ป คือพยัญชนะตั้งแต่ ก ถึง ม, พระสงฆ์ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์เบญจวรรคหรือสงฆ์ปัญจวรรค ซึ่งสามารถทำสังฆกรรมบางอย่างได้เช่นรับกฐินหรืออุปสมบทพระภิกษุในถิ่นที่หาภิกษุได้ยาก. |
ผ้าป่า | น. ผ้า (พร้อมทั้งเครื่องบริวาร ถ้ามี) ที่นำเอาไปวางทอดไว้เสมือนว่าเป็นผ้าที่ทิ้งอยู่ในป่า เพื่อให้พระชักเอาไป เป็นทำนองผ้าบังสุกุล มักทำเป็นปรกติต่อท้ายทอดกฐิน เรียกว่า ทอดผ้าป่า. |
ฤดู | (รึ-) น. ส่วนของปีซึ่งแบ่งโดยถือเอาภูมิอากาศเป็นหลัก มักแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน หรือเป็น ๔ ช่วง คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ที่แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ ฤดูแล้งกับฤดูฝน ก็มี, เวลาที่กำหนดสำหรับงานต่าง ๆ เช่น ฤดูเก็บเกี่ยว ฤดูทอดกฐิน ฤดูถือบวช, เวลาที่เหมาะ เช่น ฤดูสัตว์ผสมพันธุ์ |
ศาสนพิธี | น. พิธีกรรมทางศาสนา เช่น พิธีทอดกฐิน พิธีอุปสมบท เป็นศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา. |
สงฆ์ | ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปร่วมกันทำสังฆกรรม แต่จำนวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมแต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวดพิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวดอัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่าจำนวนที่กำหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจำนวนใช้ไม่ได้. |
สามัคคี | ว. ที่พร้อมเพรียงกันทำ, ที่ร่วมมือร่วมใจกันทำ, เช่น กฐินสามัคคี ผ้าป่าสามัคคี. |
อรัญญิก | น. ป่า, บริเวณป่า, โบราณเขียนเป็น อรญญิก หรือ อไรญิก ก็มี เช่น ในกลางอรญญิก, เมืองสุโขทัยนี้มีอไรญิก (จารึกสยาม), (โบ) วัดอรัญญิก เช่น ไปสูดญัดกฐินเถิงอไรญิกพู้น (จารึกสยาม). |
อานิสงส์ | ประโยชน์ เช่น อานิสงส์กฐิน. |