Librarian | บรรณารักษ์ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Reference librarian | บรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า, Example: Reference librarian หมายถึง บรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า มีหน้าที่ให้บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าหาคำตอบที่ผู้ใช้ห้องสมุดต้องการ และช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากหนังสือและวัสดุต่าง ๆ ของห้องสมุด <p> คุณสมบัติของบรรณารักษ์บริการตอบคำถามฯ <p> ศาสตราจารย์คุณหญิงแม้นมาศ ชวลิต ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับคุณสมบัติที่ดีของบรรณารักษ์บริการตอบคำถามฯ ไว้ดังนี้ <p> - มีความรู้เกี่ยวกับหนังสืออ้างอิงเป็นอย่างดี มีความเข้าใจและคุ้นเคยกับแหล่งความรู้ที่มีอยู่ในห้องสมุด <p> - มีมนุษยสัมพันธ์อันดี <p> - มีความสนใจในวิชาการต่างๆ หมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ <p> - มีความอดทน พากเพียร <p> - มีไหวพริบดีในการรวบรวม วิเคราะห์ปัญหาว่าอยู่ในแนวใด ควรหาคำตอบจากแหล่งใด <p> - มีความจำดี <p> - มีจินตนาการดี รู้จักการยืดหยุ่น ไม่ฝังความคิดไว้ในด้านเดียว <p> - ช่างสังเกต รอบคอบ <p> - ตัดสินใจดี รู้จักเลือกแหล่งคำตอบที่เหมาะสม <p> - รู้จักวิธีการพูดคุย ซักถามอย่างเป็นกันเองกับผู้ใช้ <p> - กระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือผู้ใช้อยู่เสมอ <p> การให้บริการของบรรณารักษ์บริการตอบคำถามฯ นอกจากการให้บริการที่โต๊ะให้บริการตอบคำถามแล้ว ยังสามารถให้บริการโดยทางโทรศัพท์ โดยทางอี-เมล์ หรือโดยผ่านการสนทนาทางออนไลน์ อย่างไรก็ตาม บทบาทของบริการตอบคำถามในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้ห้องสมุดสามารถใช้ Google และเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทางออนไลน์ได้มากขึ้น ดังนั้น บรรณารักษ์บริการตอบคำถามอาจไม่ต้องตอบคำถามหรือเก็บข้อมูลมากเหมือนในอดีต แต่ควรเน้นที่การให้คำแนะนำผู้ใช้ให้รู้จักวิธีค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ หรือช่วยแนะนำแหล่งความรู้ที่เป็นประโยชน์เพื่อใช้ในการค้นคว้าวิจัยต่อไป [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
School librarian | บรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Cataloger | บรรณารักษ์ผู้ทำบัตรรายการ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
College librarian | บรรณารักษ์หัองสมุดสถาบันอุดมศึกษา [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Professional librarian | บรรณารักษ์วิชาชีพ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Public librarian | บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Special librarian | บรรณารักษ์ห้องสมุดเฉพาะ, Example: <p>ห้องสมุดเฉพาะ เป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา ให้บริการแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือบางกลุ่มซึ่งเป็นผู้ที่ทำงานหรือศึกษาในสาขาวิชานั้น ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานราชการ องค์กรวิจัย องค์การ บริษัทเอกชน หรือธนาคาร เป็นต้น ทำหน้าที่จัดหาหนังสือ และให้บริการความรู้ ข้อมูล และข่าวสารเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหน่วยงานนั้น ๆ ดำเนินงานโดย บรรณารักษ์ห้องสมุดเฉพาะ ซึ่งเป็นบุคลากรวิชาชีพที่มีคุณสมบัติการศึกษาด้านบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ และโดยทั่วไป บรรณารักษ์ห้องสมุดเฉพาะ ควรมีความรู้ทั้งในด้านห้องสมุด และสาขาวิชาในหน่วยงานนั้นด้วย เพื่อการให้บริการที่ดีและมีประสิทธิภาพ <P>เกณฑ์กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมทั้งสมรรถนะด้านวิชาชีพ และ สมรรถนะเฉพาะบุคคล ของบรรณารักษ์ห้องสมุดเฉพาะ สรุปจากผู้ที่ได้รวบรวมไว้ดังนี้ <p>หน้าที่ความรับผิดชอบ <p>1. งานเทคนิค <p>2. บริการสืบค้นสารสนเทศ <p>3. บริการสารสนเทศ <p>4. บริการรวบรวมบรรณานุกรมเฉพาะเรื่อง <p>5. งานวิเคราะห์และจัดทำสารสนเทศ <p>6. งานที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ <p>สมรรถนะของบรรณารักษ์ห้องสมุดเฉพาะ มี 2 เรื่อง คือ สมรรถนะด้านวิชาชีพ และสมรรถนะเฉพาะบุคคล <p>สมรรถนะด้านวิชาชีพ (Professional competency) <p>1. มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศ <p>2. มีความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาเฉพาะด้านที่สอดคล้องกับองค์กร <p>3. มีความสามารถในการพัฒนา และการจัดการบริการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ <p>4. มีความสามารถในการสอนผู้ใช้ให้เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ <p>5. มีความสามารถในการประเมินความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้ <p>6. มีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดหา จัดการ และเผยแพร่สารสนเทศ <p>7. มีความสามารถในการจัดการ และดำเนินงานห้องสมุดที่เหมาะสมโดยสอดคล้องกับการบริหารงานขององค์กร <p>8. มีความสามารถในการพัฒนาเครื่องมือช่วยค้น และเข้าถึงสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา <p>9. มีความสามารถในการประเมินผลลัพธ์ของการใช้สารสนเทศ <p>สมรรถนะเฉพาะบุคคล (Personal competency) <P>1. คำนึงถึงการได้รับมอบหมายหน้าที่ในการให้บริการที่ดีที่สุด <p>2. มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคล และองค์กรที่เกี่ยวข้อง <p>3. สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน และมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน <p>4. มีทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ <p>5. การทำงานเป็นทีม <p>6. มีความเป็นผู้นำ <p>7. ให้ความสำคัญกับการวางแผนการทำงาน <p>8. ตระหนักว่าการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ และให้ความสำคัญต่อเครือข่ายวิชาชีพและการพึ่งพาอาศัยกัน <p>9. มีทักษะในการทำงาน และสร้างโอกาสในการทำงาน <p>บรรณานุกรม <p>บุคลากรในห้องสมุดเฉพาะและศูนย์สารสนเทศ. Available at : http://jutatipc.files.wordpress.com/2007/11/06professional.ppt. Accessed September 5, 2012. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Academic librarians | บรรณารักษ์ห้องสมุดระดับอุดมศึกษา [TU Subject Heading] |
Librarians | บรรณารักษ์ [TU Subject Heading] |