binary search | การค้นหาแบบทวิภาคหมายถึง วิธีการค้นหาโดยใช้ระบบแบ่งครึ่งข้อมูลทั้งหมดออกเป็นสองส่วน การค้นหาตัวที่ต้องการจะต้องเลือกหาจากข้อมูลทีละส่วน โดยใช้วิธีเดิมคือแบ่งเป็นสองส่วนย่อย หากพบในส่วนที่หนึ่ง ก็ไม่ต้องเสียเวลาหาในอีกส่วนหนึ่งอีกต่อไป |
disk drive | หน่วยจานบันทึกหน่วยขับจานบันทึกหน่วยขับแผ่นบันทึกหมายถึง กลไกส่วนที่ใช้หมุนจานบันทึกให้ผ่านหัวอ่านหรือหัวบันทึก (read/write head) ทำให้ สามารถนำข้อมูลที่บันทึกอยู่ในจานบันทึกมาประมวลผลได้ หากต้องการจะบันทึกข้อมูลใหม่ลงไป ก็ สามารถบันทึกได้เช่นเดียวกัน |
fatbits | แฟตบิตส์เมื่อต้องการจะนำภาพมาขยายบนจอภาพเพื่อให้มองเห็น ส่วนละเอียดได้ดียิ่งขึ้น วิธีทำก็คือ ขยายขนาดของจุดซึ่งเป็น องค์ประกอบ สำคัญของภาพให้ใหญ่หรือให้อ้วน ขึ้นตามชื่อ ที่ใช้เรียกเพื่อจะได้แก้ไขได้ง่าย จุดที่นำมาขยายขนาดนี้ ที่ เรียกว่า "แฟตบิตส์" |
file conversion | การแปลงสภาพแฟ้มหมายถึง การแปลงรูปแบบ (format) การเก็บข้อมูลจาก แบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่ง เพื่อให้นำไปใช้กับโปรแกรม ต่างชนิดกันได้ เช่น ถ้าต้องการจะใช้โปรแกรม Word Perfect เรียกแฟ้มข้อมูลที่พิมพ์เก็บไว้โดยใช้โปรแกรม WordStar มาดูบนจอภาพ ก็จะต้องมีการแปลงสภาพแฟ้มจากแฟ้ม ข้อมูลของ Word Perfect เป็น WordStar ก่อน ดู import ประกอบ |
insertion pointer | ตัวชี้การแทรกหมายถึง ตัวชี้ตำแหน่งที่มีลักษณะคล้าย I (เรียกว่า I Beam) ถ้าต้องการจะพิมพ์แทรกลงไปที่ตรงไหน ให้นำตัวนี้ไปวางไว้ตรงนั้น อักขระที่พิมพ์ใหม่ก็จะแทรกลงไปตรงนั้น |
memory unit | หน่วยความจำหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว เครื่องอ่านก็จะนำข้อมูลที่อ่านได้ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ แล้วจะเรียกมาใช้ในเวลาที่ต้องการ ข้อความหรือข้อมูลที่นำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำแล้วไม่ว่าจะนำมาใช้สักกี่ครั้งกี่หน ก็จะยังคงเป็นอยู่อย่างเดิม แต่ถ้าข้อมูลอื่นถูกอ่านทับเข้าไป ข้อมูลเก่าจะถูกลบไปทันที หรือถ้าไฟดับ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในหน่วยความจำก็จะหายไปหมดเช่นกัน คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดี หรือมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับหน่วยความจำนี้มากกว่าอย่างอื่น สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ เราเรียกหน่วยความจำนี้ว่า ชิป (chip) ซึ่งใช้เป็นที่เก็บข้อมูล แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ ประเภทอ่านได้อย่างเดียว เรียกว่า "รอม" (ROM หรือที่ย่อมาจาก read-only memory) ซึ่งเก็บคำสั่งประเภทที่เครื่องต้องปฏิบัติตามทันที เช่น ไบออส (BIOS) ข้อมูลในนั้นจะไม่มีวันลบหายแม้ว่าจะปิดเครื่อง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า "แรม" (RAM หรือที่ย่อมาจาก random access memory) หน่วยความจำแรมนี้ใช้เก็บโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่กำลังจะใช้งาน เมื่อปิดไฟที่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะหายไปหมด และหากเริ่มต้นเปิดเครื่องใหม่ ต้องการจะใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลใด ก็จะต้องบรรจุ (load) โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลนั้นมาเก็บไว้ในแรมก่อน จึงจะทำงานต่อไปได้ สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว ยิ่งแรมมีขนาดใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีประสิทธิภาพเท่านั้นอย่างไรก็ตาม หน่วยความจำที่กล่าวถึงนั้นเป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เรายังมีหน่วยเก็บข้อมูลที่อยู่นอกเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย หน่วยความจำนอกเครื่องนี้ เราเรียกว่า หน่วยความจำช่วย (auxiliary memory) ซึ่งหมายถึงสื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง เป็นต้นว่า จานบันทึก แถบบันทึก หน่วยความจำเหล่านี้ ไฟดับข้อมูลก็ยังอยู่ |
program window | หมายถึง วินโดว์ที่มองเห็นบนจอภาพหลังจากที่กดเมาส์สั่งเริ่มโปรแกรม ถ้าหากต้องการจะใช้โปรแกรมนั้น ต้องใช้คำสั่ง FILE...new หรือ open จะทำให้เห็นวินโดว์ใหม่เรียกว่า วินโดว์เอกสาร (document window) แล้วจึงจะเริ่มทำงานได้มีความหมายเหมือน application windowดู document window เปรียบเทียบ |
rem | ย่อมาจากคำว่า remark เป็นคำสั่งหนึ่งในโปรแกรมที่ทำให้สามารถเพิ่มข้อความเข้าไปในโปรแกรมได้อีกบรรทัดหนึ่ง โดยที่จะไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อโปรแกรมเลย (คอมพิวเตอร์ไม่นำไปประมวลผล) ส่วนมากจะใช้ในการบันทึก หรือทำหมายเหตุ หรือใช้บรรยายความที่ต้องการจะให้มีเก็บไว้ในโปรแกรมด้วย เพื่อกันลืม หรือเพื่อให้ผู้ใช้อื่นเข้าใจ) |
shift+drag | กดแป้น Shift พร้อมกับลากเมาส์หมายถึงการกดแป้นShift แช่ไว้ แล้วใช้เมาส์ดึงจุดที่มุมของภาพเข้าหรืออก ใช้เมื่อต้องการจะหดหรือขยายภาพ จะทำให้ภาพหดหรือขยายอย่างได้สัดส่วน |