ฉกษัตริย์ | (ฉ้อกะสัด, ฉอกะสัด) น. กษัตริย์ ๖ พระองค์, ชื่อกัณฑ์ที่ ๑๒ ของมหาชาติ. |
กมเลศ | พระนารายณ์ เช่น ดุจองค์สมเด็จกมเลศอันลีลาศ ลงจากชั้นสุทธาวาสบวรวิมาน (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์). |
กรรเหิม | (กัน-) ก. เหิม เช่น กรรเหิมหายหว่นนหว่า (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กระเกรี้ยว | ว. เสียงขบฟันเกรี้ยว ๆ เช่น คุกคามขบฟันกระเกรี้ยว (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กริน | (กะ-) น. ช้าง, ช้างพลาย, เช่น กรินไกรอาสนอัศวาชี (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กฤษฎา ๒ | (กฺริดสะ-) กร่อนมาจาก กฤษฎาภินิหาร เช่น เชิญชมชื่นกฤษฎา (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กฤษฎาญ | (กฺริดสะดาน) กร่อนมาจาก กฤษฎาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญกฤษฎาการกราบเกล้า (ม. คำหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์). |
กษีณาศรพ | (กะสีนาสบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษิณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กัมปี | ก. ไหว เช่น อันว่ามหาปรัตพีผืนผไทแท่น แผ่นผเทศมณฑล สกลกัมปี ดุจครวีไหวหว่นนป่นนไปมาเมื่อน้นน (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กัลพุม | (กันพุม) น. กรรพุม, มือที่ประนม, เช่น ถวายกรกัลพุมบันสารโกสุม ศิโรจม์ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์) |
เกศินี | น. นางผู้มีผมงาม เช่น โฉมแก้วเกศินีนาฏ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
โกรม | (โกฺรม) ว. ใต้, ตํ่า, ล่าง, ใต้ฟ้า เช่น อนนสองดไนยหน่อเหน้าเหง้ากรุงโกรมกษัตริย (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
ขะข่ำ | ว. คลํ้า, มืดมัว, เขียนเป็น ขข่ำ ก็มี เช่น ฟ้าแมลบมล่นนร้อง ท้องฟ้าเขียวขขํ่า ยงงฝนพพร่ำพรอยพรำ อื้ออึงอัมพรระงม ด้วยกำลงงลมพายุพัดน้นน (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
เขดา | (ขะเดา) น. กำเดา, ความร้อน, เช่น ชลเขดาเดือดดาลพอง (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
ชำงือ | ก. คิดเป็นทุกข์, วิตก, ป่วย, เป็นไข้, เป็นโรค, เช่น ตาชุ่มชื่นชำงือใจ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
โชมโรม | น. โรงที่พักชั่วคราวของกลุ่มบุคคล เช่น ให้ยับย้งงต้งงโชมโรมราชีมีคูค่ายเขื่อนขันธ์ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์), เตรียบต้งงโชมโรมราชา ชุมทับพลับพลา แลร้งงยงงฝั่งสระสนาน (สรรพสิทธิ์), ชมรม ก็ว่า. |
ด้าม | ต้น, ทาง, เช่น รยกคันธมาทน์ โดยด้ามอาทิสวคนธ์ (ม. คำหลวง จุลพน), อันว่าพระสรรเพชญ์ ผู้เผด็จด้ามตัณหา ลุปรมาภิสมพุทธ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์), บพิตร ข้าอยู่ศุขเสวอยราช โดยด้ามอาทิทศธรรมสนท้าว (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), ดูกรเจ้าอำเภอใด แลราชผู้มีอยู่ในด้ามมารคธรรม ทำโทษน้นน (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
ได | น. มือ เช่น ยอไดพยงภักตรผม ประนมนักขชุลีการ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
ทวัย | (ทะไว) น. หมวด ๒, ทั้ง ๒ เช่น แม้อันว่าทวัยราชาคือองค์บิดุราธิราชมาดุรงค์ วิสญฺ หุตฺวา ทรงกรรแสงสาหศรทดรทาย (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
ทุรัศ | ว. ไกล เช่น อนนอาคฤดาโดยสวัสดี แต่ทุรัศทุราไลยลิ่วลี่ ถับถึงที่สถานศาลสถิตน้นน (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
บทเรศ | (บดทะ-) น. เท้า เช่น กราบบทเรศราชบิดา ท่านแล (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
บทวเรศ | (บดทะวะเรด) น. เท้า เช่น ถวายทศนัขประณตบทวเรศราชชนนี (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์). |
ฉกษัตริย์ | (ฉ้อกะสัด, ฉอกะสัด) น. กษัตริย์ ๖ พระองค์, ชื่อกัณฑ์ที่ ๑๒ ของมหาชาติ. |
กมเลศ | พระนารายณ์ เช่น ดุจองค์สมเด็จกมเลศอันลีลาศ ลงจากชั้นสุทธาวาสบวรวิมาน (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์). |
กรรเหิม | (กัน-) ก. เหิม เช่น กรรเหิมหายหว่นนหว่า (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กระเกรี้ยว | ว. เสียงขบฟันเกรี้ยว ๆ เช่น คุกคามขบฟันกระเกรี้ยว (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กริน | (กะ-) น. ช้าง, ช้างพลาย, เช่น กรินไกรอาสนอัศวาชี (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กฤษฎา ๒ | (กฺริดสะ-) กร่อนมาจาก กฤษฎาภินิหาร เช่น เชิญชมชื่นกฤษฎา (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กฤษฎาญ | (กฺริดสะดาน) กร่อนมาจาก กฤษฎาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญกฤษฎาการกราบเกล้า (ม. คำหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์). |
กษีณาศรพ | (กะสีนาสบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษิณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กัมปี | ก. ไหว เช่น อันว่ามหาปรัตพีผืนผไทแท่น แผ่นผเทศมณฑล สกลกัมปี ดุจครวีไหวหว่นนป่นนไปมาเมื่อน้นน (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กัลพุม | (กันพุม) น. กรรพุม, มือที่ประนม, เช่น ถวายกรกัลพุมบันสารโกสุม ศิโรจม์ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์) |
เกศินี | น. นางผู้มีผมงาม เช่น โฉมแก้วเกศินีนาฏ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
โกรม | (โกฺรม) ว. ใต้, ตํ่า, ล่าง, ใต้ฟ้า เช่น อนนสองดไนยหน่อเหน้าเหง้ากรุงโกรมกษัตริย (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
ขะข่ำ | ว. คลํ้า, มืดมัว, เขียนเป็น ขข่ำ ก็มี เช่น ฟ้าแมลบมล่นนร้อง ท้องฟ้าเขียวขขํ่า ยงงฝนพพร่ำพรอยพรำ อื้ออึงอัมพรระงม ด้วยกำลงงลมพายุพัดน้นน (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
เขดา | (ขะเดา) น. กำเดา, ความร้อน, เช่น ชลเขดาเดือดดาลพอง (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
ชำงือ | ก. คิดเป็นทุกข์, วิตก, ป่วย, เป็นไข้, เป็นโรค, เช่น ตาชุ่มชื่นชำงือใจ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
โชมโรม | น. โรงที่พักชั่วคราวของกลุ่มบุคคล เช่น ให้ยับย้งงต้งงโชมโรมราชีมีคูค่ายเขื่อนขันธ์ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์), เตรียบต้งงโชมโรมราชา ชุมทับพลับพลา แลร้งงยงงฝั่งสระสนาน (สรรพสิทธิ์), ชมรม ก็ว่า. |
ด้าม | ต้น, ทาง, เช่น รยกคันธมาทน์ โดยด้ามอาทิสวคนธ์ (ม. คำหลวง จุลพน), อันว่าพระสรรเพชญ์ ผู้เผด็จด้ามตัณหา ลุปรมาภิสมพุทธ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์), บพิตร ข้าอยู่ศุขเสวอยราช โดยด้ามอาทิทศธรรมสนท้าว (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), ดูกรเจ้าอำเภอใด แลราชผู้มีอยู่ในด้ามมารคธรรม ทำโทษน้นน (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
ได | น. มือ เช่น ยอไดพยงภักตรผม ประนมนักขชุลีการ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
ทวัย | (ทะไว) น. หมวด ๒, ทั้ง ๒ เช่น แม้อันว่าทวัยราชาคือองค์บิดุราธิราชมาดุรงค์ วิสญฺ หุตฺวา ทรงกรรแสงสาหศรทดรทาย (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
ทุรัศ | ว. ไกล เช่น อนนอาคฤดาโดยสวัสดี แต่ทุรัศทุราไลยลิ่วลี่ ถับถึงที่สถานศาลสถิตน้นน (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
บทเรศ | (บดทะ-) น. เท้า เช่น กราบบทเรศราชบิดา ท่านแล (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
บทวเรศ | (บดทะวะเรด) น. เท้า เช่น ถวายทศนัขประณตบทวเรศราชชนนี (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์). |