จึ้ง | น. เหล็กสำหรับไชรูอย่างหนึ่ง เช่น เกะกะกบไสไชเหล็กจึ้ง (ขุนช้างขุนแผน). (ดิกชนารีไทย). |
จึง, จึ่ง | สัน. สำหรับต่อความแสดงกิริยาที่กระทำภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วจึงไป, แสดงความที่เป็นผลเนื่องจากเหตุข้างหน้า เช่น ทำดีจึงได้ดี. |
กฎ | (กด) น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ (พงศ. ๑๑๓๖) |
กฎหมาย | ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดำรัสให้เร่งคืนมา (พากย์) |
กระแสง ๑ | น. เสียงเพราะมีกังวาน เช่น จึ่งตั้งนโม ซุ่มเสียงใหญ่โต กระแสงแจ่มใส (ประถม ก กา). |
กรุง | กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ (ม. คำหลวง ทศพร). |
กลม ๔ | (กฺลม) ว. ปวง, หมด, สิ้น, เช่น ทั้งกลม คือ ทั้งปวง, จึ่งได้เมืองแก่กู ทงงกลํ (จารึกสยาม) |
กันทะ | น. กระทะ เช่น จึ่งตั้งโลหะกันทะโดยตบะบนเส้าโขมดผี ให้ประโคมแล้วโหมอัคคี มาลีธูปเทียนบูชา (รามเกียรติ์ ร. ๒ ตอนศึกไมยราพณ์). |
จำนอง | ก. ผูก, คล้อง, หมายไว้, กำหนด, จำไว้, (โบ; กลอน) ประพันธ์, แต่ง, เช่น จึ่งจำนองโคลงอ้าง ถวายแด่บพิตรเจ้าช้าง (ลอ). |
ฉบัด | (ฉะ-) ว. ชัด, สันทัด, ทันทีทันใด, เช่น เจ้าช้างจึ่งรู้ฉบัด (ลอ), เร่งยอมนุญาตเยาวฉบัด (สรรพสิทธิ์). |
ชุ่ง | สัน. จึ่ง, จวน, เช่น ครั้นชุ่งจะใกล้อ้า ค่อยผ้ายโชยชาย (ลอ). |
ชุบ | ทำให้มีชีวิต เช่น จึ่งหน่อนเรศร์ เรืองเวทชุบชาญ อื้นอาคมขาน ชูชีพย์ชายา (สรรพสิทธิ์) |
เชีย | ก. ไหว้ เช่น จึ่งพระมัทรีนางหนุ่มเหน้า เชียเชิงเจ้าพ่อผววแม่แง่ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
โซรม | (โซม) ก. รุมกัน, ช่วยกัน, เช่น จึ่งจะรุมโรมโซรมปรทยด (ม. คำหลวง ชูชก), เลือดไหลคือโชรเซราะธาร ยักษาพลพาน โซรมก็ผาดผลาญผลง (อนิรุทธ์). |
ตระกัด | (ตฺระ-) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เขียนเป็น ตรกัด ก็มี เช่น จึ่งเจ้ามัทรีเฉลอย ว่าพ่อเอยใช่ต้งงใจแก่ความกำหนัด ในตรกัดกรีธา แลข้าจะมาในที่นี้ (ม. คำหลวง กุมาร), กระกัด ก็ว่า. |
ตรีเพชรทัณฑี | (ตฺรีเพ็ดทันที) น. ชื่อโคลงชนิดหนึ่งที่เลื่อนคำรับสัมผัสในบาทที่ ๒ จากคำที่ ๕ มาเป็นคำที่ ๓ ส่วนข้อบังคับอื่น ๆ เหมือนโคลงสี่สุภาพทุกประการ เช่น ปางนั้นสองราชไท้ ดาบศ สาพิมตไปมา กล่าวแก้ว ประทานราชเอารส สองราช เวนแต่ชูชกแล้ว จึ่งไท้ชมทาน (จินดามณี). |
ไตรจักร | (-จัก) น. โลกทั้ง ๓ คือ สวรรค์ มนุษยโลก บาดาล เช่น จึ่งจับศรจันทวาทิตย์ อันเรืองฤทธิ์ปราบทั่วทั้งไตรจักร (รามเกียรติ์ ร. ๑). |
ถีบทาง | ก. เดินตรวจตรา เช่น นั่นแหละมึงจึ่งจะรู้จักฝีมือกูผู้ชื่อเจตบุตรพราน อันได้ถีบทางตระเวนด่านนี้แล (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
ทรู่ | (ซู่) ก. ลากไป, คร่าไป, เช่น จึ่งจะทรู่ไปหยาบ ด้วยอานุภาพกำลังมัน (ม. คำหลวง กุมาร). |
บังอร | เด็ก ๆ ที่กำลังน่ารัก เช่น จึ่งตรัสประภาษไปว่าพราหมณ์เอ่ย อย่าเพ่อน้อยใจแก่เราก่อน เราจะพาสองกุมารบังอรมาให้จงได้ (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
ประเทียด | ก. ประชด, ว่าร้ายในเชิงเปรียบเทียบ, เขียนเป็น ปรทยด หรือ ประทยด ก็มี เช่น จึ่งจะรุมโรมโซรมปรทยด, จึงจะรุมโรมโซรมประทยด สยดตัดพ้อ (ม. คำหลวง ชูชก). |
จึง, จึ่ง | สัน. สำหรับต่อความแสดงกิริยาที่กระทำภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วจึงไป, แสดงความที่เป็นผลเนื่องจากเหตุข้างหน้า เช่น ทำดีจึงได้ดี. |
จึ้ง | น. เหล็กสำหรับไชรูอย่างหนึ่ง เช่น เกะกะกบไสไชเหล็กจึ้ง (ขุนช้างขุนแผน). (ดิกชนารีไทย). |
กฎ | (กด) น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ (พงศ. ๑๑๓๖) |
กฎหมาย | ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดำรัสให้เร่งคืนมา (พากย์) |
กระแสง ๑ | น. เสียงเพราะมีกังวาน เช่น จึ่งตั้งนโม ซุ่มเสียงใหญ่โต กระแสงแจ่มใส (ประถม ก กา). |
กรุง | กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ (ม. คำหลวง ทศพร). |
กลม ๔ | (กฺลม) ว. ปวง, หมด, สิ้น, เช่น ทั้งกลม คือ ทั้งปวง, จึ่งได้เมืองแก่กู ทงงกลํ (จารึกสยาม) |
กันทะ | น. กระทะ เช่น จึ่งตั้งโลหะกันทะโดยตบะบนเส้าโขมดผี ให้ประโคมแล้วโหมอัคคี มาลีธูปเทียนบูชา (รามเกียรติ์ ร. ๒ ตอนศึกไมยราพณ์). |
จำนอง | ก. ผูก, คล้อง, หมายไว้, กำหนด, จำไว้, (โบ; กลอน) ประพันธ์, แต่ง, เช่น จึ่งจำนองโคลงอ้าง ถวายแด่บพิตรเจ้าช้าง (ลอ). |
ฉบัด | (ฉะ-) ว. ชัด, สันทัด, ทันทีทันใด, เช่น เจ้าช้างจึ่งรู้ฉบัด (ลอ), เร่งยอมนุญาตเยาวฉบัด (สรรพสิทธิ์). |
ชุ่ง | สัน. จึ่ง, จวน, เช่น ครั้นชุ่งจะใกล้อ้า ค่อยผ้ายโชยชาย (ลอ). |
ชุบ | ทำให้มีชีวิต เช่น จึ่งหน่อนเรศร์ เรืองเวทชุบชาญ อื้นอาคมขาน ชูชีพย์ชายา (สรรพสิทธิ์) |
เชีย | ก. ไหว้ เช่น จึ่งพระมัทรีนางหนุ่มเหน้า เชียเชิงเจ้าพ่อผววแม่แง่ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
โซรม | (โซม) ก. รุมกัน, ช่วยกัน, เช่น จึ่งจะรุมโรมโซรมปรทยด (ม. คำหลวง ชูชก), เลือดไหลคือโชรเซราะธาร ยักษาพลพาน โซรมก็ผาดผลาญผลง (อนิรุทธ์). |
ตระกัด | (ตฺระ-) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เขียนเป็น ตรกัด ก็มี เช่น จึ่งเจ้ามัทรีเฉลอย ว่าพ่อเอยใช่ต้งงใจแก่ความกำหนัด ในตรกัดกรีธา แลข้าจะมาในที่นี้ (ม. คำหลวง กุมาร), กระกัด ก็ว่า. |
ตรีเพชรทัณฑี | (ตฺรีเพ็ดทันที) น. ชื่อโคลงชนิดหนึ่งที่เลื่อนคำรับสัมผัสในบาทที่ ๒ จากคำที่ ๕ มาเป็นคำที่ ๓ ส่วนข้อบังคับอื่น ๆ เหมือนโคลงสี่สุภาพทุกประการ เช่น ปางนั้นสองราชไท้ ดาบศ สาพิมตไปมา กล่าวแก้ว ประทานราชเอารส สองราช เวนแต่ชูชกแล้ว จึ่งไท้ชมทาน (จินดามณี). |
ไตรจักร | (-จัก) น. โลกทั้ง ๓ คือ สวรรค์ มนุษยโลก บาดาล เช่น จึ่งจับศรจันทวาทิตย์ อันเรืองฤทธิ์ปราบทั่วทั้งไตรจักร (รามเกียรติ์ ร. ๑). |
ถีบทาง | ก. เดินตรวจตรา เช่น นั่นแหละมึงจึ่งจะรู้จักฝีมือกูผู้ชื่อเจตบุตรพราน อันได้ถีบทางตระเวนด่านนี้แล (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
ทรู่ | (ซู่) ก. ลากไป, คร่าไป, เช่น จึ่งจะทรู่ไปหยาบ ด้วยอานุภาพกำลังมัน (ม. คำหลวง กุมาร). |
บังอร | เด็ก ๆ ที่กำลังน่ารัก เช่น จึ่งตรัสประภาษไปว่าพราหมณ์เอ่ย อย่าเพ่อน้อยใจแก่เราก่อน เราจะพาสองกุมารบังอรมาให้จงได้ (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
ประเทียด | ก. ประชด, ว่าร้ายในเชิงเปรียบเทียบ, เขียนเป็น ปรทยด หรือ ประทยด ก็มี เช่น จึ่งจะรุมโรมโซรมปรทยด, จึงจะรุมโรมโซรมประทยด สยดตัดพ้อ (ม. คำหลวง ชูชก). |