ได้แก่ | สัน. คือ, เท่ากับ, เช่น หนังสือสำหรับค้นความหมายของคำที่เรียงลำดับตามตัวอักษร ได้แก่พจนานุกรม. |
ลิงได้แก้ว | น. ผู้ที่ไม่รู้คุณค่าของสิ่งมีค่าที่ได้มาหรือที่มีอยู่, วานรได้แก้ว ก็ว่า. |
วานรได้แก้ว | น. ผู้ที่ไม่รู้คุณค่าของสิ่งมีค่าที่ได้มาหรือที่มีอยู่, ลิงได้แก้ว ก็ว่า. |
กง ๓ | ไม้สำหรับดีดฝ้าย มีรูปเหมือนคันธนู เรียกว่า ไม้กง หรือ ไม้กงดีดฝ้าย (เทียบอะหม ไม้กงดีดฝ้าย และ คันกระสุน ว่า กง; พายัพ ว่า โก๋ง ได้แก่ คันกระสุน), เสลี่ยงที่มีพนักโค้งเหมือนกงเรือ เรียกว่า เสลี่ยงกง. |
กด ๒ | น. ชื่อปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด หลายชนิด หลายขนาด ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมัน ส่วนใหญ่เป็นสกุล Arius ในวงศ์ Ariidae พบมากในเขตนํ้ากร่อย เช่น กดแดงหรือกดหัวโม่ง ( A. caelatusValencienne s) บางชนิดพบในทะเล เช่น กดทะเลหรือริวกิว [ A. thalassinus (Rüppell) ], ที่อยู่ในสกุล Ketengus ได้แก่ กดหัวโต ( K. typusBleeker), ในสกุล Hemipimelodus เช่น กดโป๊ะ [ H. borneensis (Bleeker) ]. |
กถามรรค | (-มัก) น. ลาดเลาแห่งกถา ได้แก่เรื่องที่แต่งตามอัตโนมัติของผู้แต่งว่าด้วยธรรมนั้น ๆ. |
กรมวัง | (กฺรมมะ-) น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่รักษาพระราชมนเทียร พระราชวังชั้นนอก พระราชวังชั้นใน บริหารกิจการในพระราชสำนัก และบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับสมใน ได้แก่ ศาลแพ่งวัง ศาลอาชญาวัง และศาลนครบาลวัง รวมทั้งบังคับบัญชาศาลมรดก |
กรรมชวาต | (กำมะชะวาด) น. ลมเกิดแต่กรรม คือ ลมเกิดในครรภ์เวลาคลอดบุตร ได้แก่ ลมเบ่ง เช่น พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรงจับเอากิ่งรัง พอเกิดลมกรรมชวาตหวั่นไหวประชวรพระครรภ์ (ปฐมสมโพธิกถา), เขียนเป็น กรรมัชวาต ก็มี. |
กระดูกไก่ดำ | น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Justicia วงศ์ Acanthaceae ได้แก่ชนิด J. gendarussa Burm. f. ใบยาวรี ออกตรงข้ามกัน ลำต้น กิ่ง ก้านใบ และเส้นกลางใบสีม่วงดำ ใช้ทำยาได้, กระดูกดำ เฉียงพร้ามอญ หรือ สันพร้ามอญ ก็เรียก และชนิด J. grossa C. B. Clarke ดอกสีขาวอมเขียว ฝักยาว เปลือกแข็งและมีขน ผลแก่แตกตามยาว. |
กระแต ๓ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Tupaiidae รูปร่างคล้ายกระรอกแต่เล็กกว่า ปากแหลม ไม่มีฟันแทะ กินทั้งสัตว์และผลไม้ มีหลายสกุลและหลายชนิดที่พบทั่วไปได้แก่ ชนิด Tupaia glis (Diard) พวกที่พบน้อยกว่าได้แก่ กระแตเล็ก ( T. minor Günther) กระแตหางหนู [ Dendrogale murina (Schlegel & Müller) ] กระแตหางขนนก ( Ptilocercus lowi Gray) |
กระบอก ๑ | รูปตันที่กำเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ด้านใดด้านหนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็นวงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่ รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้นจนปลาย. (อ. cylinder). |
กระเพาะ | น. อวัยวะภายในของคนและสัตว์ ลักษณะคล้ายถุง ได้แก่ กระเพาะอาหารและกระเพาะปัสสาวะ. (เทียบ ข. กฺรพะ) |
กริม | (กฺริม) น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กในสกุล Trichopsis วงศ์ Anabantidae หรือ Belontiidae พบทั่วไป รูปร่างคล้ายปลากัดซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่าและสีไม่สดสวย มักมีแถบสีเข้มพาดตลอดข้างตัว ๒-๓ แถบ ขนาดยาวได้ถึง ๗ เซนติเมตร ที่พบมากได้แก่ กริมข้างลาย [ T. vittatus (Cavier) ], กัดป่า ก็เรียก. |
กวาง ๑ | (กฺวาง) น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Cervidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องกีบคู่ มีหลายชนิด รูปร่างลำตัวเพรียว คอยาว ขายาว หางสั้น ตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้ ผลัดเขาปีละครั้ง ชนิดที่พบทั้งตัวผู้และตัวเมียมีเขา ได้แก่ กวางเรนเดียร์ [ Rangifer tarandus (Linn.) ] ชนิดที่ตัวเมียไม่มีเขา ได้แก่ กวางป่าหรือกวางม้า ( Cervus unicolor Kerr) ส่วนพวกที่ตัวผู้และตัวเมียไม่มีเขา ได้แก่ กวางชะมด (Moschus spp.) และกวางวอเตอร์เดียร์ ( Hydropotes inermis Swinhoe). |
กษัตริย-, กษัตริย์ | คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมี ๔ วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. |
กอย | น. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างต่ำเตี้ย ตัวดำ ผมหยิก อยู่ในแหลมมลายู ได้แก่ พวกเซมัง และซาไกหรือเซนอย, เงาะ ก็เรียก. |
กะแท้ | น. ชื่อแมลงพวกมวนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Cydnidae ลำตัวยาว ๔-๑๒ มิลลิเมตร รูปร่างรูปไข่ ส่วนใหญ่มีสีนํ้าตาลแก่อมดำหรือดำ มักบินเข้าหาแสงไฟ เมื่อจับต้องตัวจะปล่อยกลิ่นฉุนเหม็นติดมือ บางทีคล้ายกลิ่นอุจจาระของคน ที่พบบ่อย ได้แก่ ชนิด Geotomus pygmaeus (Dallas). |
กะราง, กะลาง | น. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิด ใน ๒ วงศ์ ลำตัวอ้วนป้อม หากินเป็นฝูงตามพื้นดิน อาจหากินร่วมกับนกชนิดอื่น ๆ พวกที่อยู่ในวงศ์ Sylviidae มีปากหนาสั้นสีดำปลายแหลม เช่น กะรางหัวหงอก [ Garrulax leucolophus (Hardwicke) ] กะรางคอดำ [ G. chinensis (Scopoli) ] กะรางสร้อยคอเล็ก [ G. monileqer (Hodgson) ] พวกที่อยู่ในวงศ์ Upupidae ได้แก่ กะรางหัวขวาน ( Upupa epops Linn.) ปากยาวแหลมโค้งสีดำ หงอนขนสีส้มขอบดำ ลักษณะหงอนขนเหมือนหมวกของอินเดียนแดง ขนตามลำตัวสีนํ้าตาลอมเหลือง มีแถบดำขาวสลับกัน, ชนิดนี้ การางหัวขวาน หรือ หงอนชบา ก็เรียก. |
กัณฐชะ | น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดที่เพดานอ่อน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ก คือ ก ข ค ฆ ง และอักษรที่มีเสียงเกิดที่เส้นเสียงในลำคอ ได้แก่ ห และ สระ อะ อา. |
กัปปิยภัณฑ์ | น. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า. |
กัลป-, กัลป์ | (กันละปะ-, กัน) น. กัป, อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จจนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์มาล้างโลก ซึ่งได้แก่ช่วงเวลากลางวัน วันหนึ่งของพระพรหม คือ ๑, ๐๐๐ มหายุค (เท่ากับ ๔, ๓๒๐, ๐๐๐, ๐๐๐ ปีมนุษย์) เมื่อสิ้นกัลป์ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ โลกจะไร้สิ่งมีชีวิตและอยู่ในความมืดมนจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ แล้วพระพรหมก็จะสร้างโลกเป็นการขึ้นต้นกัลป์ใหม่ โลกจะถูกสร้างและถูกทำลายเช่นนี้สลับกันตลอดอายุของพระพรหม ทั้งนี้ตามคติของพราหมณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ กัป เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. |
ก๊าซเฉื่อย, แก๊สเฉื่อย | น. ธาตุที่เป็นแก๊ส มีสมบัติไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี ได้แก่ ฮีเลียม นีออน อาร์กอน คริปทอน ซีนอน และเรดอน, ปัจจุบันเรียก ก๊าซมีตระกูลหรือแก๊สมีตระกูล (noble gases) ก๊าซหายากหรือแก๊สหายาก (rare gases). |
กานต์ | ว. เป็นที่รัก, โดยมากใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น จันทรกานต์ เป็นที่รักของพระจันทร์ ได้แก่แก้วผลึกที่ถูกแสงจันทร์แล้วมีเหงื่อ, คู่กับ สูรยกานต์ เป็นที่รักของพระอาทิตย์ ได้แก่แก้วที่รวมแสงอาทิตย์ให้เกิดไฟได้. |
กามภพ | น. ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวด้วยกาม, โลกเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสพกาม ได้แก่ อบายภูมิ ๔ (นรกภูมิ ติรัจฉานภูมิ เปรตวิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ) มนุษยโลก ๑ และสวรรค์ ๖ ชั้น (จาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานนรดี ปรนิมมิตวสวัตดี) รวมเป็น ๑๑, กามภูมิ ก็ว่า. |
กายทุจริต | (กายยะทุดจะหฺริด, กายทุดจะหฺริด) น. ความประพฤติชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ ๑ การลักทรัพย์ ๑ การประพฤติผิดในกาม ๑. |
กายสุจริต | (กายยะสุดจะหฺริด) น. ความประพฤติชอบทางกาย มี ๓ อย่าง ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ๑ การไม่ลักทรัพย์ ๑ การไม่ประพฤติผิดในกาม ๑. |
การเมือง | น. งานที่เกี่ยวกับรัฐหรือแผ่นดิน เช่น วิชาการเมือง ได้แก่วิชาว่าด้วยรัฐ การจัดส่วนแห่งรัฐ และการดำเนินการแห่งรัฐ. |
การเมือง | การบริหารประเทศเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายในการบริหารประเทศ เช่น การเมืองระหว่างประเทศ ได้แก่การดำเนินนโยบายระหว่างประเทศ. |
การเมือง | กิจการอำนวยหรือควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น ตำแหน่งการเมือง ได้แก่ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่อำนวย (คณะรัฐมนตรี) หรือควบคุม (สภาผู้แทนราษฎร) การบริหารแผ่นดิน. |
กาลิก | น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ตามเวลาที่กำหนดให้ มี ๓ อย่าง คือ ๑. ยาวกาลิก–ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ ข้าวปลาอาหาร ๒. ยามกาลิก–ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่ นํ้าอัฐบาน ๓. สัตตาหกาลิก–ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕. |
กินสี่ถ้วย | ก. กินเลี้ยงในงานมงคล [ สี่ถ้วย คือ ขนม ๔ อย่าง อย่างละถ้วย ได้แก่ ไข่กบ (สาคูหรือเมล็ดแมงลัก), นกปล่อย (ลอดช่อง), มะลิลอย (ข้าวตอก), อ้ายตื้อ (ข้าวเหนียว) มีนํ้ากะทิใส่ชามอยู่กลาง ]. |
กิเลส, กิเลส- | (-เหฺลด, -เหฺลดสะ-) น. เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ได้แก่ โลภ โกรธ หลง เช่น ยังตัดกิเลสไม่ได้ กิเลสหนา |
กุ้งฝอย | น. ชื่อกุ้งตัวเล็ก ๆ ขนาดยาวไม่เกิน ๔ เซนติเมตร มีหลายชนิด พบในน้ำจืด ที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ ชนิด Macrobrachium lanchesteri (De Man) ในวงศ์ Palaemonidae และหลายชนิดในสกุล Caridina วงศ์ Atyidae. |
เก๊กฮวย | น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Chrysanthemum วงศ์ Compositae ได้แก่ ชนิด C. indicum L. ดอกเล็ก สีเหลือง กลิ่นหอม, เบญจมาศสวน ก็เรียก, และชนิด C. morifolium Ramat. พันธุ์ดอกเล็ก สีขาว กลิ่นหอม, เบญจมาศหนู ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดใช้ดอกตากแห้งชงหรือต้มกับนํ้าตาล ใช้ดื่มแก้กระหาย. |
แก้ว ๑ | น. หินแข็งใส แลลอดเข้าไปข้างในได้ ได้แก่จำพวกเพชรพลอย, ของที่ทำเทียมให้มีลักษณะเช่นนั้น, ของที่ได้จากการใช้ทรายขาวเป็นส่วนประกอบสำคัญมาหลอมกับสารที่มีสมบัติเป็นด่างเช่นออกไซด์ของโซเดียม ออกไซด์ของแคลเซียม แล้วมีลักษณะเช่นนั้น |
แก้ว ๒ | น. ชื่อนกปากขอหลายชนิด ในวงศ์ Psittacidae ปากสีแดงหรือเหลือง จะงอยปากบนงอโค้งเป็นขอปลายแหลมขยับไปมาและขึ้นลงได้ จะงอยปากล่างขยับไปข้างหน้าและถอยมาข้างหลังได้ หัวค่อนข้างโต ลำตัวป้อม สีส่วนใหญ่ของลำตัวเป็นสีเขียวอมเหลือง อยู่ร่วมกันเป็นฝูง กินเมล็ดพืชและผลไม้ ในประเทศไทยมี ๗ ชนิด แต่ที่เรียกว่านกแก้วมี ๒ ชนิด ได้แก่ แก้วโม่ง [ Psittacula eupatria (Linn.) ] ซึ่งเป็นนกแก้วขนาดใหญ่ที่สุดของไทย และแก้วหัวแพร ( P. roseata Biswas) . |
แกะ ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Ovis วงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องรูปร่างคล้ายแพะ แต่ไม่มีเครา มีเขา ๑ คู่ ไม่ผลัดเขา มีขนาดใหญ่โค้งงอ ปลายบิดไปข้างหน้า โคนเขาถึงประมาณกลางเขามีวงนูนลักษณะคล้ายพาลี ขนบนลำตัวยาวและอ่อนนุ่ม ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม ชนิดที่นำเลี้ยง ได้แก่ ชนิดย่อย Ovis amon aries Linn. |
โกฐ | (โกด) น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจำพวกหนึ่ง ได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช มีหลายชนิด คือ โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา, โกฐทั้ง ๗ เพิ่ม โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว, โกฐทั้ง ๙ เพิ่ม โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี, และมีโกฐพิเศษอีก ๓ ชนิด คือ โกฐกักกรา โกฐกะกลิ้ง และโกฐนํ้าเต้า, ตำรายาแผนโบราณเขียนเป็น โกฎ โกฏ โกฏฐ์ โกด หรือ โกษฐ์ ก็มี. |
โกน ๒ | ชื่อวันก่อนวันพระวันหนึ่งได้แก่วันขึ้น ๗ คํ่า ขึ้น ๑๔ คํ่า แรม ๗ คํ่า และแรม ๑๔ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๓ คํ่า เรียกว่า วันโกน. |
ของไหล | น. สสารซึ่งมีรูปร่างเปลี่ยนไปได้ตามภาชนะที่รองรับ ได้แก่ ของเหลวและแก๊ส. |
ขันสาคร | น. ขันขนาดใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สัมฤทธิ์ ทองเหลือง ตัวขันเป็นทรงลูกมะนาวตัด ก้นขันมีเชิง ข้างขันทำเป็นรูปหน้าสิงโตปากคาบห่วงซึ่งใช้เป็นหูหิ้วข้างละหู ใช้บรรจุน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ หรือสำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์ใช้อาบ. |
ข่า ๑ | น. คนชาวเขาจำพวกหนึ่ง แบ่งออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งพูดภาษาในตระกูลมอญ−เขมร เช่น ข่าอัตตะปือ ข่าตองเหลือง และอีกพวกหนึ่งพูดภาษาในตระกูลอินโดนีเซียน ได้แก่ ข่าระแด และ ข่าจะราย. |
โขมด ๑ | (ขะโหฺมด) น. ชื่อผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสงเรืองวาวในเวลากลางคืน ทำให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟอยู่ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป ทางวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ได้แก่แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด. |
คณาธิปไตย | (คะนาทิปะไต, คะนาทิบปะไต) น. ระบอบการปกครองแบบหนึ่ง ซึ่งปกครองโดยคณะบุคคลจำนวนน้อยของสังคม มักได้แก่ กลุ่มผู้อาวุโส กลุ่มทหาร หรือ กลุ่มปฏิวัติ. |
คริสตจักร | (คฺริดตะจัก) น. ประชาคมที่เชื่อและรับพระเยซูเป็นพระผู้ไถ่บาป แบ่งเป็น ๓ นิกายใหญ่ ได้แก่ โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และออร์ทอดอกซ์. |
ครุ ๒ | (คะรุ) ว. หนัก, ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย ั แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย ุ แทน. |
ครุกาบัติ | (คะรุกาบัด) น. อาบัติหนัก ได้แก่ อาบัติปาราชิก เมื่อภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถือว่าขาดจากความเป็นภิกษุทันที แม้กลับมาบวชใหม่ก็ไม่เป็นภิกษุ. |
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า | น. คลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของสนามแม่เหล็กและไฟฟ้าที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ได้แก่ คลื่นวิทยุ อินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ อัลตราไวโอเลต เอกซเรย์ รังสีแกมมา และ รังสีคอสมิก. |
ความรู้สึกเขื่อง, ความรู้สึกเด่น | น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าหรือดีเด่นกว่าผู้อื่น ความรู้สึกนี้ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สำนึก แต่ถ้าเกิดขึ้นเสมอ ๆ และมิได้แก้ไขหรือได้รับการสนับสนุน เช่นในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ก็อาจเก็บสะสมไว้เกิดเป็นนิสัยของบุคคลนั้นได้ |
ความรู้สึกด้อย | น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถไม่เท่าเทียมบุคคลทั่วไป ความรู้สึกนี้ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สำนึกและผู้นั้นไม่จำเป็นต้องมีปมด้อย อาจเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมหรือในบางขณะเท่านั้น แต่ถ้าเกิดขึ้นเสมอ ๆ และมิได้แก้ไข ก็อาจเก็บกดไว้จนเกิดเป็นปมด้อยได้ |
OPEC Basket Price | ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบจาก 7 แหล่ง, ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบจาก 7 แหล่ง ได้แก่ 1) Saharan Blend ของอัลจีเรีย 2) Minas ของอินโดนีเซีย 3) Bonny Light ของไนจีเรีย 4) Arabian Light ของซาอุดิอาระเบีย 5) Dubai ของสหรัฐอาหรับเอมิเรส 6) Venezuela's Tia Juana Light ของเวเนซูเอลา 7) Isthmys ของเม็กซิโก เป็นตัวกำหนดราคา, Example: 1. Algeria's Saharah Blend 2. Indonesia's Minas, Nigerai's 3. Bonny Light 4. Saudi Arabia's Arab Light 5.Dubai's Fateh 6. Venezuela's Tia Juana Light 7. Mexico's Isthmus (a non-OPEC crude oil) [ปิโตรเลี่ยม] |
Petroleum | สารไฮโดรคาร์บอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ, สารไฮโดรคาร์บอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยมีธาตุสองชนิดเป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่คาร์บอนและไฮโดรเจน โดยอาจมีหรือไม่มีธาตุอโลหะอื่นๆ เช่น กำมะถัน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฯลฯ ปนอยู่ด้วยก็ได้, Example: ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของปิโตรเลียมเอง และความร้อน ตลอดจนความกดดันตามสภาพแวดล้อมที่ปิโตรเลียมนั้นถูกกักเก็บไว้ แบ่งตามสถานะสำคัญทางธรรมชาติได้ 2 ชนิด คือ น้ำมันดิบ และ ก๊าซธรรมชาติ [ปิโตรเลี่ยม] |
Enhanced Oil Recovery | วิธีการที่ช่วยในการผลิตน้ำมันขึ้นมาจากหลุมหลังจากที่ได้มีการผลิตตามธรรมชาติ, วิธีการที่ช่วยในการผลิตน้ำมันขึ้นมาจากหลุมหลังจากที่ได้มีการผลิตตามธรรมชาติแล้ว ได้แก่ การผลิตขั้นทุติยภูมิ และ การผลิตขั้นตติยภูมิ (ดูคำ Secondary Recovery และ Tertiary Recovery) [ปิโตรเลี่ยม] |
Inert Gas | ก๊าซซึ่งไม่มีปฏิกิริยาทางเคมีกับสารอื่น , ก๊าซซึ่งไม่มีปฏิกิริยาทางเคมีกับสารอื่น ได้แก่ ก๊าซ Helium, Neon, Argon, Krypton, Xenon, Radon [ปิโตรเลี่ยม] |
Cerebrovascular syndrome | กลุ่มอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง, กลุ่มอาการป่วยจากการได้รับรังสีที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูงจากภายนอกทั่วร่างกายในระยะเวลาสั้นๆ ปริมาณตั้งแต่ 50 เกรย์ขึ้นไป อาการที่เกิดได้แก่ กระวนกระวาย สับสน คลื่นไส้และอาเจียนอย่างรุนแรง ไม่รู้สึกตัว และจะเสียชีวิตภายในระยะเวลาอันสั้น (ดู Radiation syndrome, Bone marrow syndrome และ Gastrointestinal syndrome ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Central nervous system syndrome | กลุ่มอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง, กลุ่มอาการป่วยจากการได้รับรังสีที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูงจากภายนอกทั่วร่างกายในระยะเวลาสั้นๆ ปริมาณตั้งแต่ 50 เกรย์ขึ้นไป อาการที่เกิดได้แก่ กระวนกระวาย สับสน คลื่นไส้และอาเจียนอย่างรุนแรง ไม่รู้สึกตัว และจะเสียชีวิตภายในระยะเวลาอันสั้น (ดู Radiation syndrome, Bone marrow syndrome และ Gastrointestinal syndrome ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Conditioning waste | การปรับสภาพกากกัมมันตรังสี, กระบวนการปรับสภาพกากกัมมันตรังสีที่อยู่ภายในภาชนะบรรจุ ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการต่อไป เช่น การขนส่ง การเก็บพัก และ/หรือ การขจัดกากกัมมันตรังสี การปรับสภาพกากกัมมันตรังสี ได้แก่ การทำให้อยู่ในสภาพของแข็ง การหีบห่อ และการบรรจุในภาชนะหลายชั้น [นิวเคลียร์] |
Cosmic radiation | รังสีคอสมิก, รังสีจากอวกาศซึ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก มีองค์ประกอบโดยประมาณ ได้แก่ โปรตอนร้อยละ 87 รังสีแอลฟาร้อยละ 11 รังสีอนุภาคหนักที่มีเลขเชิงอะตอมระหว่าง 4 ถึง 26 ร้อยละ 1 และ อิเล็กตรอนร้อยละ 1 [นิวเคลียร์] |
Waste conditioning | การปรับสภาพกากกัมมันตรังสี, กระบวนการปรับสภาพกากกัมมันตรังสีที่อยู่ภายในภาชนะบรรจุ ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการต่อไป เช่น การขนส่ง การเก็บพัก และ/หรือ การขจัดกากกัมมันตรังสี การปรับสภาพกากกัมมันตรังสี ได้แก่ การทำให้อยู่ในสภาพของแข็ง การหีบห่อ และการบรรจุในภาชนะหลายชั้น [นิวเคลียร์] |
Uranium | ยูเรเนียม, ธาตุกัมมันตรังสีที่เป็นโลหะหนัก มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 92 มีน้ำหนักเชิงอะตอมเฉลี่ยประมาณ 238 ไอโซโทปที่พบในธรรมชาติ ได้แก่ ยูเรเนียม-235 ยูเรเนียม-238 และ ยูเรเนียม-234 [นิวเคลียร์] |
Thermoluminescence dating | การหาอายุโดยเทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์, วิธีหาอายุโบราณวัตถุประเภทเครื่องปั้นดินเผา โบราณสถานที่ก่อสร้างด้วยอิฐและตะกอนดิน โดยอาศัยปรากฏการณ์เทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ วิธีที่นิยมใช้มี 2 วิธี คือ Quartz and Feldspar Inclusion Method สามารถหาอายุตัวอย่างที่มีหินเขี้ยวหนุมานประกอบอยู่ได้ในช่วง 50 ถึง 100, 000 ปี และถ้ามีหินฟันม้าประกอบอยู่ สามารถหาอายุได้ในช่วง 500 ถึง 500, 000 ปี อีกวิธีหนึ่งได้แก่ Pre-dose Method สามารถหาอายุตัวอย่างที่มีหินเขี้ยวหนุมานประกอบอยู่ได้ในช่วงไม่เกิน 1, 000 ปี (ดู thermoluminescence ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Terrestrial radiation | รังสีจากพื้นโลก, รังสีจากสารกัมมันตรังสีที่มีอยู่บนพื้นโลก เป็นรังสีที่มนุษย์ได้รับจากภายนอกร่างกายปีละประมาณ 410 ไมโครซีเวิร์ต ส่วนที่มีผลเป็นปริมาณรังสีต่อมนุษย์คือรังสีแกมมา ซึ่งปลดปล่อยมาจากนิวไคลด์รังสีที่มีกำเนิดมาพร้อมกับโลก (ดู Primordial radionuclides) ได้แก่ สารกัมมันตรังสีในอนุกรมยูเรเนียม อนุกรมทอเรียม และสารกัมมันตรังสีโพแทสเซียม (K-40) [นิวเคลียร์] |
Radionuclide imaging | การถ่ายภาพทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์, เทคนิคการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ โดยให้สารเภสัชรังสีแก่ผู้ป่วย และถ่ายภาพการกระจายตัวของสารเภสัชรังสีในอวัยวะที่ต้องการ ตรวจด้วยเครื่องตรวจและสร้างภาพ เช่น Gamma camera หรือ Single Photon Emission Computed Tomography (SPECT) หรือ Positron Emission Tomography (PET) เพื่อแสดงขนาด รูปร่าง ตำแหน่ง และการทำงานของอวัยวะต่างๆ ที่ไม่สามารถตรวจวินิจฉัยได้โดยวิธีอื่น <br>ศัพท์ที่ใช้ทางการแพทย์และมีความหมายคล้ายกัน ได้แก่คำว่า radionuclide organ imaging, nuclear scanning</br>, Example: [นิวเคลียร์] |
Radiation syndrome | กลุ่มอาการป่วยจากรังสี, กลุ่มอาการที่ปรากฏเมื่อมนุษย์ได้รับรังสีที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูงจากภายนอกทั่วร่างกายในระยะเวลาสั้นๆ มี 3 กลุ่มอาการขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับ ได้แก่ กลุ่มอาการทางไขกระดูกหรือกลุ่มอาการทางระบบเลือด กลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร และกลุ่มอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง ทุกกลุ่ม จะแสดงอาการเป็น 3 ระยะ คือ <br>-ระยะเริ่มต้น (prodromal stage) มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย</br> <br>-ระยะแอบแฝง (latent stage) เป็นระยะที่ไม่แสดงอาการ</br> <br>-ระยะแสดงอาการที่แท้จริง (manifest illness stage) มีอาการที่แสดงถึงความเสียหายของอวัยวะ</br> <br>(ดู bone marrow syndrome, cerebrovascular syndrome และ gastrointestinal syndrome ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Radiation entomology | กีฏวิทยารังสี, วิชากีฏวิทยาแขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาผลของรังสีต่อแมลง ได้แก่ การใช้รังสีเพื่อกำจัดแมลงในผลผลิตการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อควบคุมประชากรแมลงโดยปล่อยแมลงที่เป็นหมันด้วยรังสีไปในธรรมชาติ และเพื่อปรับปรุงผลผลิตของแมลงที่มีประโยชน์ เช่น ปรับปรุงคุณภาพและผลผลิตไหม <br>(ดู radiation disinfestation, sterile insect technique, radiation induced F1-sterility ประกอบ) </br> [นิวเคลียร์] |
structural language | ภาษาโครงสร้าง, เทคนิคในการใช้โครงสร้างควบคุมภายในภาษาโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่ได้ไม่ซับซ้อนมากเกินไป โครงสร้างควบคุมที่ใช้กันได้แก่ การทำงานตามลำดับ การทำงานซ้ำตามเงื่อนไข การเลือกทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เทคนิคนี้นิยมใช้กันในภาษาคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ [คอมพิวเตอร์] |
Naturally occurring radionuclides | นิวไคลด์กัมมันตรังสีตามธรรมชาติ, นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนพื้นโลกในปริมาณที่มีนัยสำคัญ (significant quantities) โดยทั่วไปหมายถึงนิวไคลด์กัมมันตรังสีเกิดพร้อมโลก ซึ่งได้แก่ โพแทสเซียม-40 ยูเรเนียม-235 ยูเรเนียม-238 ทอเรียม-232 และผลผลิตการสลายกัมมันตรังสีของนิวไคลด์ดังกล่าว นอกจากนี้ยังรวมถึงทริเทียมและคาร์บอน-14 ซึ่งเกิดจากกระบวนการเชิงก่อกัมมันตภาพรังสีตามธรรมชาติด้วย, Example: [นิวเคลียร์] |
Monitoring | การเฝ้าสังเกต, การเฝ้าสังเกตปริมาณรังสี หรือ การเปื้อนของสารกัมมันตรังสีจากการตรวจวัด เพื่อประเมินหรือควบคุมการรับรังสี แบ่งเป็น 2 แบบ คือ <br>1. การเฝ้าสังเกตตามจุดตรวจ ได้แก่ การเฝ้าสังเกตตามรายบุคคล สถานที่ปฏิบัติการ ต้นกำเนิดรังสี และสิ่งแวดล้อม</br> <br>2. การเฝ้าสังเกตตามความมุ่งหมาย ได้แก่ การเฝ้าสังเกตเป็นประจำ หรือตามภารกิจที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นกรณีพิเศษ</br> [นิวเคลียร์] |
Isotope | ไอโซโทป, อะตอมของธาตุเดียวกัน ซึ่งในนิวเคลียสมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน แต่จำนวนนิวตรอนต่างกัน เช่น ธาตุไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทป ได้แก่ $ ^{ 1 }_{ 1 } H $ , $ ^{ 2 }_{ 1 } H $ , $ ^{ 3 }_{ 1 } H $ ไอโซโทปของธาตุเดียวกัน จะมีสมบัติทางเคมีเหมือนกัน แต่สมบัติทางฟิสิกส์ต่างกัน [นิวเคลียร์] |
Hydrogen | ไฮโดรเจน, ธาตุที่เบาที่สุดและเป็นธาตุลำดับที่ 1 ในตารางพีริออดิก ประกอบด้วยไอโซโทป 3 ชนิด โดย 2 ชนิด พบในธรรมชาติ ได้แก่ ไฮโดรเจนหรือไฮโดรเจนมวลเบาซึ่งมีเลขมวลเท่ากับ 1 และดิวเทอเรียมหรือไฮโดรเจนมวลหนักซึ่งมีเลขมวลเท่ากับ 2 ส่วนชนิดที่ 3 ได้แก่ ทริเทียม มีเลขมวลเท่ากับ 3 เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีที่มนุษย์ผลิตขึ้น [นิวเคลียร์] |
Biodiversity | ความหลากหลายทางชีวภาพ, ความหลากหลายทางชีวภาพ จัดเป็น ๓ ระดับ ได้แก่ ความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) ความหลากหลายของชนิดหรือชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (species diversity) และความหลากหลายของระบบนิเวศ (ecological diversity) [Assistive Technology] |
Geo-Informatics | ระบบภูมิสารสนเทศ, ระบบภูมิสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่รู้จักกันมากขึ้น สำหรับ หน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ และติดตามทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เช่น ทรัพยากร ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น ระบบภูมิสารสนเทศได้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีต่างๆ ได้แก่ การรับรู้จากระยะไกล (Remote sensing) ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS - Global Positioning System) และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS - Geographic information Systems ) [Assistive Technology] |
Geomatics | ระบบภูมิสารสนเทศ, ระบบภูมิสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่รู้จักกันมากขึ้น สำหรับ หน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ และติดตามทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เช่น ทรัพยากร ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น ระบบภูมิสารสนเทศได้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีต่างๆ ได้แก่ การรับรู้จากระยะไกล (Remote sensing) ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS - Global Positioning System) และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS - Geographic information Systems ) [Assistive Technology] |
Fertile material | วัสดุเฟอร์ไทล์, วัสดุซึ่งสามารถแปลงให้เป็นวัสดุฟิสไซล์ได้ โดยการก่อกัมมันตภาพรังสีด้วยนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ วัสดุเฟอร์ไทล์ ได้แก่ ยูเรเนียม-238 และทอเรียม-232 ซึ่งเมื่อจับยึดนิวตรอนแล้วจะเปลี่ยนเป็นวัสดุฟิสไซล์ คือ พลูโทเนียม-239 และยูเรเนียม-233 ตามลำดับ [นิวเคลียร์] |
Conditioning, waste | การปรับสภาพกากกัมมันตรังสี, กระบวนการปรับสภาพกากกัมมันตรังสีที่อยู่ภายในภาชนะบรรจุ ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการต่อไป เช่น การขนส่ง การเก็บพัก และ/หรือ การขจัดกากกัมมันตรังสี การปรับสภาพกากกัมมันตรังสี ได้แก่ การทำให้อยู่ในสภาพของแข็ง การหีบห่อ และการบรรจุในภาชนะหลายชั้น [นิวเคลียร์] |
Asia Cooperation Dialogue | ความร่วมมือเอเชีย เวทีความร่วมมือในระดับทวีปเอเชีย โดยเป็นความคิดริเริ่มของไทยในการสร้างกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกอนุ ภูมิภาคของเอเชีย มีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงจุดแข็งและต่อยอดความร่วมมือต่าง ๆ ของประเทศเอเชีย โดยอาศัยความแตกต่างหลากหลายและทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเอเชียมีอยู่มา ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมุ่งสร้างความร่วมมือในวงกว้างทั้งทวีปเอเชีย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคเอเชียแข็งแกร่งและเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งสำหรับภูมิภาค อื่น ๆ เอซีดีได้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อ 18-19 มิถุนายน 2545 โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจาก 18 ประเทศเข้าร่วม ที่ประชุมได้แบ่งกรอบความร่วมมือเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติการหารือ (dialogue dimension) และมิติโครงการความร่วมมือ (project dimension) เช่น การท่องเที่ยว ความมั่นคงทางพลังงาน และการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Market) [การทูต] |
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy | ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต] |
Agreement for the Application of the Bolivarian Alternative for the Peoples of our America and the People’s Trade Agreements | ความตกลงอัลบา เกิดขึ้นจากแนวความคิดของประธานาธิบดี Hugo Cha'vez แห่งเวเนซุเอลาหลังประกาศถอนตัวจากการเป็นสมาชิกประชาคมแอนเดียนเพื่อแสดง ความไม่พอใจที่โคลัมเบียและเปรูจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ ข้อตกลง ALBA จึงเป็นทางเลือกในการจัดทำความตกลงทางการค้าตามแนวสังคมนิยมแทนการจัดทำเขต การค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา (FTAA) ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 3 ประเทศ ได้แก่ เวเนซุเอลา คิวบา และโบลิเวีย [การทูต] |
Andean Community (Communidad Andina - CAN) | ประชาคมแอนเดียน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ โบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู และสมาชิกสมทบ 4 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล อุรุกวัยและปารากวัย และประเทศผู้สังเกตการณ์ 2 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก และปานามา [การทูต] |
Andean Community (Communidad Andina -CAN) | ประชาคมแอนเดียน ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2515 ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ โบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู และสมาชิกสมคบ ประเทศ ได้แก้ อาร์เจนตินา บราซิล อุรุกวัย และปารากวัย และประเทศผู้สังเกตการณ์ 2 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก และปานามา [การทูต] |
ASEAN Regional Forum | การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต] |
ASEAN Community | ประชาคมอาเซียน ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 เมื่อเดือนตุลาคม 2547 เกาะบาหลี ได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 เห็นชอบให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในสามด้านหลักภายในปี พ.ศ. 2563 ได้แก่ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน [การทูต] |
ASEAN Senior Officials on the Environment | เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม " ประกอบด้วยผู้แทนระดับปลัดกระทรวง มีหน้าที่ดูแลความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และกับประเทศและองค์กรอื่น ๆ มีการประชุมปีละครั้ง แยกเป็น 1 คณะผู้เชี่ยวชาญและ 3 คณะทำงาน ซึ่งได้แก่ (1) คณะทำงานเฉพาะกิจทางเทคนิคด้านปัญหาหมอกควัน (2) คณะทำงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมชายฝั่งและทางทะเล (3) คณะทำงานอาเซียนเกี่ยวกับความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม และ (4) คณะทำงานอาเซียนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ " [การทูต] |
ASEAN-European Community Joint Cooperation Committee | คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน-ประชาคมยุโรป " จัดตั้งขึ้นตามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประชาคมยุโรป (ASEAN-EC Cooperation Agreement) ที่ลงนามกันเมื่อปี พ.ศ. 2523 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างสองฝ่าย โดยมีคณะอนุกรรมการ 6 คณะ ได้แก่ ด้าน การค้า เศรษฐกิจอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และยาเสพติด " [การทูต] |
Bangkok Process | เป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการในระดับรัฐมนตรี เพื่อแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นระหว่างกันอย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์เกี่ยวกับแนวทางในการสนับ สนุนกระบวนการสร้างความปรองดองภายในชาติและการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าตาม ?Roadmap towards Democracy in Myanmar? เดิมเรียกว่า Forum on International Support for National Reconciliation in Myanmar ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Bangkok Process ครั้งแรกเมื่อ 15 ธันวาคม 2546 ที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศจาก 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น พม่า สิงคโปร์ และไทย รวมทั้งนาย Razali Ismail เป็นผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยพม่าเข้าร่วม [การทูต] |
Bi-Polar | มหาอำนาจสองขั้วหรือสองค่าย ในช่วง 40 ปี ของสงครามเย็น ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 โลกแบ่งออกเป็นมหาอำนาจสองขั้ว ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต [การทูต] |
Break of Diplomatic Relations | การตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต] |
Conference on Disamament | การประชุมว่าด้วยการลดอาวุธ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 เพื่อเป็นเวทีเจรจาการลดอาวุธระหว่างประเทศ มีขอบเขตความรับผิดชอบเกี่ยวกับประเด็นด้านการลดอาวุธทุกด้าน และมีหน้าที่ รายงานต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติทุกปี ปัจจุบันมีสมาชิก 65 ประเทศ(ไทยมิได้เป็นสมาชิก) โดยที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จในการเจรจาจัดทำความตกลงระหว่างประเทศ ด้านการลดอาวุธหลายฉบับ ที่สำคัญได้แก่ สนธิสัญญาไม่แพร่อาวุธนิวเคลียร์ อนุสัญญาห้ามเคมี อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ และสนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ [การทูต] |
Central European Free Trade Agreement | เขตการค้าเสรียุโรปกลาง ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2535 ปัจจุบันประกอบด้วยประเทศยุโรปกลาง 7 ประเทศ ได้แก่ ฮังการี โปแลนด์ เช็ก สโลวัก สโลเวเนีย โรมาเนีย และบัลแกเรีย [การทูต] |
The Conference on Interaction and Confidence-Building Measures in Asia | การประชุมว่าด้วยการแสวงหามาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (ด้านความมั่นคง) ในเอเชีย " CICA ได้รับการจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยความริเริ่มของคาซัคสถาน และมีสมาชิกเข้าร่วม 16 ประเทศ ได้แก่ คาซัคสถาน อินเดีย ปากีสถาน ปาเลสไตน์ รัสเซีย ตุรกี จีน อิสราเอล อิหร่าน อัฟกานิสถาน อียิปต์ อาเซอร์ไบจาน มองโกเลีย คีร์กิซสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน และประเทศผู้สังเกตการณ์อีก 10 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี ยูเครน เวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และเลบานอน " [การทูต] |
Commonwealth of Independent States | เครือรัฐเอกราช " กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราชเกิดจากการรวมตัวกันของบรรดาประเทศเกิดใหม่ภาย หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต (ยกเว้นประเทศ กลุ่มทะเลบอลติก 3 ประเทศ ได้แก่ ลิธัวเนีย แลตเวีย และเอสโตเนีย) ซึ่งได้ร่วมลงนามในปฏิญญา Alma-Ata ก่อตั้งเครือรัฐเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2534 ประกอบด้วยสมาชิก 12 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย ยูเครน เบลารุส มอลโดวา คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน คีร์กิซสถาน ทาจิกิสถาน อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน และจอร์เจีย " [การทูต] |
Common Market for Eastern and Southern Africa | ตลาดร่วมแห่งภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ " จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2537 มีประเทศสมาชิกรวม 20 ประเทศ ได้แก่ แองโกลา บุรุนดี คอโมโรส สาธารณรัฐประชาธิปไตย คองโก จิบูตี อียิปต์ เอริเทรีย เอธิโอเปีย เคนยา มาดากัสการ์ มาลาวี มอริเชียส นามิเบีย รวันดา เซเชลส์ ซูดาน สวาซิแลนด์ แซมเบีย ซิมบับเว และยูกันดา " [การทูต] |
Congress of Vienna | เป็นการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญในยุโรป ได้จัดให้มีขึ้นหลังจากเสร็จสงครามนโปเลียน (กันยายน ค.ศ. 1814 ? มิถุนายน ค.ศ. 1815) ประเทศที่ร่วมการประชุมมี ออสเตรีย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัฐสันตะปาปา ปรัสเซีย และรัสเซีย ภาระหน้าที่สำคัญของการประชุม คือ การปักปันเขตแดนกันใหม่ และจัดให้ราชวงศ์เก่าแก่กลับฟื้นคืนมาใหม่ ทั้งในประเทศฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และเยอรมนี สหภาพแห่งนอร์เวย์ และสวีเดน สหภาพแห่งเบลเยี่ยม และฮอลแลนด์ พร้อมทั้งกำหนดให้สวิตเซอร์แลนด์ มีฐานะเป็นประเทศเป็นกลางถ้ามองในแง่การทูต ผลสำเร็จสำคัญที่สุดจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาคือ ข้อมติกำหนดลำดับอาวุโสของคณะผู้แทนทางการทูต โดยถือหลักอาวุโสไม่ว่าในตำแหน่งใด แทนที่จะถือตามสถานภาพและความสำคัญของกษัตริย์อย่างแต่ก่อน รวมทั้งจัดประเภทของนักการทูต ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (ตามระเบียบที่วางขึ้นใหม่ต่อมาในการประชุม ณ Aix-la-Chapelle ได้แก่1) เอกอัครราชทูต (Ambassadors) ตัวแทนขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal legates) และหัวหน้าคณะทูตของสมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncios)2) ผู้แทนทางการทูตผู้มีอำนาจพิเศษ (Envoys Extra-ordinary) และเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม (Ministers Plenipotentiary) อินเตอร์นันสิโอของสมเด็จพระสันตะปาปา3) อัครราชทูตผู้มีถิ่นประจำ (Ministers Resident)4) อุปทูต (Chargé d?affaires)คองเกรสแห่งเวียนนายังวางระเบียบเกี่ยวกับเรื่องการจัดลำดับ อาวุโสของบุคคลในคณะทูต ซึ่งชาติต่าง ๆ ได้ลงนามรับรองในสนธิสัญญาพาหุภาคีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว [การทูต] |
Corps Diplomatique หรือ Diplomatic Corps | คณะทูตานุทูตที่ประจำอยู่ในนครหลวง (Capital) ของประเทศ ซึ่งจะมีหัวหน้าคณะทูตพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทางการทูตใน คณะทูต เจ้าหน้าที่ทางการทูตในคณะทูตนั้นจะประกอบไปด้วย อัครราชทูต (Minister) อัครราชทูตที่ปรึกษา (Minister Counselor) และที่ปรึกษา (Counselor) ซึ่งอาจจะมีคนเดียวหรือหลายคน นอกจากนี้ มีเลขานุการทางการทูตอีกหลายคน คือ เลขานุการเอก โท ตรี และตามปกติยังมีผู้ช่วยทูต (Attaché) อีกหลายคนซึ่งมีฐานะทางการทูต (Diplomatic status) คือผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร (บก เรือ และอากาศ) ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์ (Commercial Attaché) ผู้ช่วยทูตฝ่ายการแถลงข่าว (Press Attaché) และผู้ช่วยฝ่ายอื่น ๆ ซึ่งกระทรวงทบวงกรมของรัฐบาล (นอกจากกระทรวงการต่างประเทศ) เป็นฝ่ายแต่งตั้งข้าราชการของตนไปประจำในคณะทูต รวมทั้งเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ซึ่งมีฐานะทางการทูตด้วยในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูต (Head หรือ Dean of the Diplomatic Corps) จะได้แก่ผู้แทนทางการทูตอาวุโสที่ได้ประจำการอยู่ในประเทศนั้นเป็นเวลานาน ที่สุด ยกเว้นแต่ในบางประเทศ จะถือเอกอัครราชทูตผู้แทนองค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncio) เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูตตลอดไป โดยไม่คำนึงถึงเรื่องอาวุโสแต่อย่างใด เช่น ฟิลิปปินส์ [การทูต] |
D-8 | กลุ่มความร่วมมือของประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นมุสลิมและเป็นสมาชิก OIC " ซึ่งมีประชากรมากที่สุด ประกอบด้วยสมาชิก 8 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ปากีสถาน อินโดนีเซีย มาเลเซีย อียิปต์ อิหร่าน ตุรกี และไนจีเรีย จัดการประชุมสุดยอดครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2540 ที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี " [การทูต] |
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] |
European Union | สหภาพยุโรป สหภาพยุโรปได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ นับแต่การก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้า (European Coal and Steal Community) ในปี พ.ศ. 2494 ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการจัดทำสนธิสัญญากรุงโรม (Treaty of Rome) ได้มีการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community : EEC) และประชาคมพลังงานปรมาณู (Euratom) ในช่วงเวลานั้นจึงเรียกชื่อกันว่าประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ต่อมาได้มีการรวม 3 ประชาคมเข้าด้วยกันและได้มีกฎหมายยุโรปตลาดเดียว (Single European Act) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2530 เพื่อให้ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเข้าสู่ขั้นตอนการเป็นตลาดร่วมและตลาดเดียวที่ สมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2535 ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อเป็นประชาคมยุโรป (European Communities : EC) ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 ต่อมาเมื่อสนธิสัญญามาสทริชท์ (Maastricht Treaty) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายและขั้นตอนให้ประชาคมยุโรปพัฒนาไปสู่การเป็นสหภาพยุโรป จึงได้เปลี่ยนมาเรียกชื่อในทางปฏิบัติว่า สหภาพยุโรป (European Union : EU) ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย [การทูต] |
Fast Track | กลุ่มสินค้าที่จะต้องเร่งลดภาษี (ในกรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน) " ซึ่งมีอยู่ 15 รายการ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ ปุ๋ย เยื่อกระดาษ เฟอร์นิเจอร์ไม้และหวาย ผลิตภัณฑ์หนัง สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันพืช เคมีภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์เซรามิกและแก้ว และแคโทดที่ทำจากทองแดง " [การทูต] |
Forum for East Asia - Latin America Cooperation | เวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเม ริกา สมาชิก 32 ประเทศ จากภูมิภาคเอเชียและลาตินอเมริกา โดยมีสมาชิก จากฝ่ายเอเชีย 15 ประเทศ คือ กลุ่ม ASEAN (10 ประเทศ) จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และจากฝ่ายลาตินอเมริกา 17 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ คอสตาริกา นิการากัว คิวบา ปานามา เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา บราซิล โบลิเวีย เอกวาดอร์ ปารากวัย อุรุกวัย อาร์เจนตินา และชิลี วัตถุประสงค์ จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีการประชุมระดับรัฐมนตรีต่าง -ประเทศทุก 2 ปี ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ปีละ 2 ครั้ง และคณะทำงาน 3 คณะ ปีละ 2 ครั้ง (คณะทำงานด้านการเมือง วัฒนธรรม และการศึกษา / ด้านเศรษฐกิจและสังคม / และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเวทีปรึกษาหารือและร่วมมือกันอย่างไม่เป็นทางการระหว่างประเทศเอเชียและ ลาตินอเมริกา โดยมีเป้าหมายไปที่การดำเนินโครงการความร่วมมือในทุกสาขาที่ประเทศสมาชิกมี ความสนใจร่วมกัน [การทูต] |
Foreign Policy | นโยบายต่างประเทศ คือแผนการดำเนินการในกิจการระหว่างประเทศ ซึ่งผู้กำหนดนโยบายในคณะรัฐบาลเป็นผู้จัดขึ้น ในประเทศที่มีรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปรัฐสภา ผู้ที่จะชี้ขาดเรื่องนโยบายต่างประเทศได้แก่คณะรัฐมนตรี อันมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะ และจะได้รับความเห็นชอบจากผู้แทนของประชาชนที่ได้รับการเลือกตั้ง ส่วนรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปประธานาธิบดี ตัวประธานาธิบดีเองซึ่งโดยปกติแล้วจะได้รับคำแนะนำจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ และบุคคลชั้นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติ จะเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศ [การทูต] |
adrenal gland | ต่อมหมวกไต มีส่วนประกอบ 2 ส่วน 1. ส่วนเปลือก (adrenal cortex) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 1.1 กลูโคคอร์ติคอยด์ แยกย่อยได้แก่ cortisone , hydrocortisone ซึ่งทำหน้าที่ในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ทำให้จำนวนกลูโคสในเลือดเพิ่มขึ้น และไกลโคเจนจะถูกสะสมในตับมากขึ้น ดังนั้นจะเห็นว่าฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่ตรงข้ามกับ insulin ในขณะที่ร่างกายเครียดจะหลั่ง ACTH และ cortisoneออกมาโดยผ่านทาง higher center ของระบบประสาทส่วนกลาง เราจึงมักพบ cortisone ในสภาวะที่ร่างกายได้รับความเจ็บปวด ถูกของร้อน มีคม ไข้สูง ฯลฯ 1.2 ไมเนอราลคอร์ติคอยด์ แยกย่อยได่แก่ aldosterone deoxycorticosterone ซึ่งมีจำนวนน้อย ทั้งสองฮอร์โมนทำหน้าที่ควบคุมน้ำและเกลือแร่ 1.3 sex hormone แยกย่อยได้เป็น Estrogen Progesterone Androgen 2. ส่วนแกน (adrenal medulla) ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนสำคัญคือ 2.1 adrenaline หรือ epinephrine ทำให้หัวใจเต้นแรง ความดันเลือดเพิ่มขึ้น เส้นเลือดที่ผิวหนังและอวัยวะภายในบีบตัว อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น เร่งการสลาย glycogen ในตับเพื่อเปลี่ยนเป็น glucose ทำให้นเตาลในเลือดสูงขึ้น 2.2 noradrenaline ไม่มีผลต่อการเผาผลายอาหารในร่างกาย แต่มีผลทำให้เลือดหดตัว หัวใจเต้นช้าลง ความดันเลือดสุงขึ้น ขยายหลอดลม แต่ไม่มีผลต่อระดับ้ำตาลในเลือด |
agaricaceous | (อะการิเค' เชียส) adj. เกี่ยวกับเชื้อตระกูล Agaricaceae ซึ่งได้แก่พวกเห็ด |
alkali metal | (Chem.) n. กลุ่มของโลหะที่มีวาเลนซี่เดียว ได้แก่ potassium, sodium, lithium, rubidium, cesium, francium |
analog computer | (แอน' นะลอกคอมพิวเตอร์) n. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่คำนวณด้วยสิ่งที่แทนตัวเลขได้ และมีการแสดงผลลัพธ์โดยทางภาพที่ปรากฏบนจอภาพ หน้าปัด หรืออ่านค่าได้จากเครื่องวัด ค่าต่าง ๆ ที่นำมาใช้กับการคำนวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ เป็นค่าที่ต่อเนื่อง เช่น อุณหภูมิ ความดัน อย่างไรก็ตาม การใช้คอมพิวเตอร์ชนิดนี้ จำเป็นต้องใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ช่วย เพื่อจะนำมาเปรียบเทียบแทนค่าได้ ตัวอย่างที่เห็นง่าย ๆ ได้แก่ สไลด์รูล (slide rule) เทอร์โมแสตท (thermostat) เครื่องวัดความเร็วรถยนต์ เป็นต้น ความละเอียดถูกต้องในการคำนวณด้วยอะนาล็อกคอมพิวเตอร์มีน้อยกว่าดิจิตอลคอมพิวเตอร์มากดู digital computer เปรียบเทียบ |
anserine | (แอน' เซอริน) adj. เกี่ยวกับสัตว์ตระกูล Anserinae ซึ่งได้แก่ห่าน , คล้ายห่าน., Syn. anserous resembling a goose, stupid |
apple computer inc. | บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ <คำแปล>เป็นชื่อบริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแอปเปิล ชุดที่โด่งดังมาก ได้แก่ แอปเปิลทู (Apple II) และ แมคอินทอช (Macintosh) ฯ คอมพิวเตอร์แอปเปิลที่วางขาย ในตลาดรุ่นแรก ๆ นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างความฮือฮาอย่างมากในวงการคอมพิวเตอร์ เพราะเป็นครั้งแรก (ราว ค.ศ.1977) ที่มีการผลิตคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กในราคาที่คนทั่วไปจะหาไว้ใช้เป็นสมบัติส่วนตัวได้ ผู้ที่ช่วยกันริเริ่มคิดประดิษฐ์ได้แก่ Steve Jobs กับ Steve Wozniak สองสหายวัยรุ่นที่สร้างเครื่องต้นแบบเครื่องแรกในโรงรถ ส่วนเครื่องรุ่นแมคอินทอชนั้นเป็นคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแรกที่เริ่มนำสัญรูป (icon) รายการคำสั่ง แบบดึงลง (pull down menu) กรอบสนทนา (dialog box) เมาส์ (mouse) ฯลฯ มาใช้ ทำให้คนทั่วไปเริ่มรู้สึกว่า การใช้คอมพิวเตอร์ไม่ใช่ของยากอะไรเลย ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้หนักไปในด้านการผลิตสิ่งพิมพ์ (desktop publishing) อย่างไรก็ตาม หาใช่มีแต่เครื่องแอปเปิลแมคอินทอชเท่านั้นไม่ที่ใช้ระบบการทำงานดังที่กล่าวแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์พีซีก็เลียนแบบ โดยการนำเอาระบบวินโดว์มาใช้ |
estate | (อีสเทท') n. หลักทรัพย์ที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่ติดดินผืนใหญ่, ที่ดิน, ทรัพย์สิน, ฐานันดร, กลุ่มการเมือง, กลุ่มสังคม, -Phr. (the fourth estate ฐานันดรที่4 (นักหนังสือพิมพ์)) -Phr. (the Three Estates ฐานันดรทั้ง 3 ในยุคศักดินายุโรปได้แก่พระ ขุนนางและสามัญชน) |
homo | (โฮ'โม) n. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภท Primates ซึ่งได้แก่ มนุษย์ ลิง ชะน'และ lemur |
indefinite article | คำนำหน้านามที่ไม่กำหนดแน่ชัด ได้แก่ a, an |
indic | (อิน'ดิค) adj. เกี่ยวกับอินเดีย, เกี่ยวกับภาษาตระกูล Indo, See also: Iranian ซึ่งได้แก่ ภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดู ภาษาเออร์ดู Urdu ภาษาเบงกาลีและอื่น ๆ Indian |
integratd program | ชุดคำสั่งเบ็ดเสร็จหมายถึง โปรแกรมที่ผู้ผลิต ผลิตออกมาเป็นชุดเดียวกัน สามารถทำงานได้หลาย โดยเฉพาะงานสำนักงานทั่วไป ที่ใช้กันมาก ได้แก่ โปรแกรมการประมวลผลคำ ตารางจัดการ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร เป็นต้น โดยปกติโปรแกรมประเภทนี้จะทำงานแต่ละอย่างได้ไม่ดีนัก แต่ถ้าต้องเสียเงินซื้อก็จะถูกกว่าไปจ้างเขาเขียน |
integrated software | ซอฟต์แวร์เบ็ดเสร็จส่วนชุดคำสั่งเบ็ดเสร็จหมายถึง โปรแกรมที่ผู้ผลิต ผลิตออกมาเป็นชุดเดียวกัน สามารถทำงานได้หลาย โดยเฉพาะงานสำนักงานทั่วไป ที่ใช้กันมาก ได้แก่ โปรแกรมการประมวลผลคำ ตารางจัดการ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร เป็นต้น โดยปกติโปรแกรมประเภทนี้จะทำงานแต่ละอย่างได้ไม่ดีนัก แต่ถ้าต้องเสียเงินซื้อก็จะถูกกว่าไปจ้างเขาเขียน |
lizard | (ลิซ'เซิร์ด) n. สัตว์เลื้อยคลานจำพวก Lacertilia (Sauria) ได้แก่ จิ้งจก, ตุ๊กแก, จิ้งเหลน, กิ้งก่า, เหี้ย, แย้, หนังของสัตว์ดังกล่าว |
microsoft | ไมโครซอฟต์เป็นชื่อบริษัทผลิตซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่บริษัทหนึ่ง ตั้งอยู่ในเมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริ กา ผลิตภัณฑ์ที่แพร่หลายมากได้แก่ โปรแกรมระบบดอส (MS-DOS) , วินโดว์ (MS WINDOWS) และยังมีโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้กับเครื่องพีซี และแมคอินทอชอีกหลายโปรแกรม เป็นต้นว่า Microsoft Office, WORD, EXCEL ฯลฯ |
mongolia | (มองโก'เลีย) n. ชื่อบริเวณหนึ่งในทวีปเอเชียที่ได้แก่มองโกเลียในหรือInner Mongolia (ดู) มองโกเลียนอกหรือ Outer Mongolia (ดู) |
mtbf | (เอ็มทีบีเอฟ) ย่อมาจากคำ mean time between failure ได้แก่อายุการใช้งานเฉลี่ยของอุปกรณ์บางชนิด เช่น เครื่องพิมพ์ ถ้าเป็นขนาด MTBF 35000 ก็หมายความว่า เมื่อใช้พิมพ์ออกมา 35, 000 แผ่น ก็จะถึงคราวหมดอายุของมันแล้ว |
muzzle | (มัช'เซิล) n. ที่ครอบหรือสวมปากสุนัขหรือม้า, ปากปืน, ส่วนยื่นของศีรษะสัตว์ที่ได้แก่ ขากรรไกร ปากและจมูก. vt. ใส่ที่สวมปาก, จำกัด, หักห้าม, Syn. suppress |
new world | n. ด้านซีกโลกตะวันตกที่ได้แก่ทวีปอเมริกาเหนือและใต้รวมทั้งเกาะต่าง ๆ และน่านน้ำที่ล้อมรอบ |
primate | (ไพร'เมท) n. อาร์บิชอพ, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทหนึ่งได้แก่คนลิงและlemur., See also: primatal adj. primatial, primatical adj. |
show business | n. ธุรกิจการบันเทิง (ได้แก่ ละคร ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุเป็นต้น) |
southeast asia | n. เอเซียอาคเนย์, ประเทศและดินแดนในบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเซีย (ได้แก่บรูไน, พม่า, เขมร, อินโดนีเซีย, ลาว, ไทย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ตีมอร์, สิงคโปร, เวียดนาม) . -Sountheast Asian |
spreadsheet | ตารางจัดการหมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่ง มีลักษณะเป็นตาราง มีเส้นแนวตั้งและแนวนอนตัดกัน ช่องที่มีเส้นตัดกันนี้ เรียกว่า เซลล์ (cell) ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาทำการคำนวณได้ และจะให้ผลอย่างรวดเร็ว และง่ายดาย เป็นที่นิยมใช้กันมากสำหรับการทำบัญชี ไม่ว่าจะเป็นบัญชีรับ/จ่าย บัญชีพัสดุฯ โปรแกรมประเภทนี้ที่มีชื่อเป็นที่นิยมใช้กันมากได้แก่ Lotus 1-2-3, Microsoft Excel, Quattro Pro เป็นต้น |
supercomputer | (ซุเปอร์คอมพิวเตอร์) n. คอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ ใหญ่กว่าขนาดใหญ่ธรรมดาที่เรียกว่าเมนเฟรม (main frame) มีสมรรถนะสูง ทำงานได้เร็วว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ธรรมดาหลายเท่าตัว ใช้ในงานประมวลผลที่มีข้อมูลมาก และต้องการผลทันที เพื่อจะได้สั่งการต่อไป เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการส่งดาวเทียม หรือการส่งยานอวกาศ เป็นต้น บริษัทที่ผลิตซุเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีชื่อได้แก่ บริษัทเครย์ (Cray) |
Abiotic factors | (n) ปัจจัยที่ไม่มีชีวิต ได้แก่ ความแห้งแล้ง ความหนาวเย็น แสงแดดเผา การขาดสารอาหาร ค่าความเป็นกรดด่างไม่สมดุล เป็นต้น |
Biotic factors | (n, modal, verb) ปัจจัยที่มีชีวิต ได้แก่ เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส ไส้เดือนฝอย |
Chloroprene rubber | (n) ยางคลอโรพรีน เป็นยางที่สังเคราะห์จากมอนอเมอร์ของคลอโรพรีน ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม เป็นยางที่มีขั้วเนื่องจากประกอบด้วยอะตอมของคลอรีน ทำให้ยางชนิดนี้มีสมบัติด้านการทนไฟ, ความทนต่อสารเคมีและน้ำมัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้งานในลักษณะดังกล่าวได้แก่ ยางซีล, ยางสายพานลำเลียงในเหมืองแร่ เป็นต้น |
compute | (vt) compute vt. คึ่มพิ้วท์ (พบบ่อย) 1. คำนวณ nc. ค็อมพิ้วเตอร์ (บังคับ) 1. (comp.) คอมพิวเตอร์อุปกรณ์ประมวลผลที่มีความจำ ตามชุดคำสั่ง และสามารถบันทึกผลการประมวลได้ 2. (comp.) พนักงานคำนวณ ในแง่ที่ทำกันเป็นร้อยคน ในสมัยโบราณ ในงานดาราศาสตร์ (ความหมายโบราณ) nc. 1. (comp.) ศิลปะโดยคอมพิวเตอร์ คือ ศิลปที่สร้างหรือทำขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพ หรือระบายสี เป็นต้น nc. 1. (comp.) คอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง คือ ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดเมนเฟรม หรือมินิคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางเครือข่ายทำหน้าที่บริการด้านประมวลผลข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการในเครือข่าย nc. 1. (comp.) สกุลของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในกลุ่มที่สร้างขึ้นจาก microprocessor ชนิดเดียวกัน หรือ คล้ายกัน ตัวอย่างสกุลของคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัทไอบีเอ็ม และแบบ PS /2 nc. 1. (comp.) เกมคอมพิวเตอร์ คือ การเล่นเกมโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ การเล่นเกมในคอมพิวเตอร์ มักควบคุมการเล่นโดยคันโยก (joystick)หรือ แป้นพิมพ์ (keyboard) ก็ได้ nc. 1. (comp.) ชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่งเพื่อจะนำไปใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานตามคำสั่งนั้น ๆ nc. 1. (comp.) ระบบคอมพิวเตอร์ คือ ระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยชุดฮาร์ดแวร์ และเครื่องอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ร่วมกันของระบบ เช่น ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยตัวเครื่อง ดิสก์ไดร้ว์ จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ และเมาส์ nc. 1. (comp.) ยุคพัฒนาการคอมพิวเตอร์ ในช่วงระหว่างกลางปี พ.ศ. 2503 - 2513 เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์เปลี่ยนมาใช้ IC หรือวงจรรวม ชื่อเต็มว่า integrated circuit หรือ IC n. (ศัพท์คอม) 1. (comp.) ความสามารถที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ nc. 1. (comp.) การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสอน มีความหมาย เช่นเดียวกับ computer-assisted instruction สามารถดูคำอธิบายใน CAI n. (ไม่ต้องท่อง) 1. (comp.) ศัพท์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ v. (ไม่ต้องท่อง) 1. (comp.) ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงาน |
Creative Common | (n) สัญญาอนุญาตให้ผู้อื่นนำสำเนาผลงานของผู้เขียน ผู้ประพันธ์ หรือผู้สร้างไปเผยแพร่ผลงานต่อ ซึ่งมีอยู่หลายแบบ โดยผู้สร้างสามารถเลือกได้ว่าจะให้อนุญาตแบบไหน ซึ่งได้แก่ "ยอมรับสิทธิของผู้สร้าง" (Attribution) "ไม่ใช้เพื่อการค้า" (Noncommercial) "ไม่แก้ไขต้นฉบับ" (No Derivative Works) และ "ใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน" (Share Alike), Syn. copyleft |
fiscal cliff | หน้าผาทางการคลัง (ใช้เรียกสถานการณ์หัวเลี้ยวหัวต่อของเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงปลายปี 2012 เนื่องจากเป็นช่วงที่จะมีเหตุการณ์สำคัญๆที่เกี่ยวข้องกับฐานะทางการคลังของสหรัฐฯ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯอย่างมีนัยสำคัญ โดยเหตุการณ์ที่สำคัญ 2 เหตุการณ์ได้แก่ การสิ้นสุดของมาตรการลดหย่อนภาษีหลายๆมาตรการ และการเริ่มต้นของมาตรการการปรับลดงบประมาณของภาครัฐฯ) |
heptathlon | (n) สัตตกรีฑา (สำหรับการแข่งขันโอลิมปิคฤดูร้อนปี2551 ที่ประเทศจีน เป็นการแข่งขันกีฬา 7 ประเภทสำหรับผู้หญิง ได้แก่ วิ่งข้ามรั้ว 100 เมตร กระโดดสูง ทุ่มน้ำหนัก วิ่ง 200 เมตร กระโดดไกล พุ่งแหลน และวิ่ง 800 เมตร) |
LANNA | (n) ล้านนา คือดินแดนที่มีจำนวนที่นานับล้าน เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ พะเยา น่าน ลำพูน และ ลำปาง โดยมีเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานี มีภาษาที่เรียกว่า คำเมือง หรือภาษาเหนือ ตัวหนังสือ ตัวเมือง วัฒนธรรม และ ประเพณี เป็นของตนเอง ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง เป็นระบอบมณฑลเทศาภิบาล ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมี พระเจ้าอินทวิชยานนท์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 เป็นพระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ในฐานะราชอาณาจักรพระองค์สุดท้าย และ เจ้าแก้วนวรัฐ, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 เป็นเจ้าผู้ปกครองนครองค์สุดท้าย ปัจจุบันเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสาย "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)" อยู่ในราชตระกูล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง และ ณ น่าน |
minister of state | (n) ตำแหน่งรัฐมนตรีชั้นสองของสหราชอาณาจักร ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง หรือ รัฐมนตรีว่าการทบวง |
overlapping territorial claims area | (n) พื้นที่ทับซ้อน, พื้นที่ทางบกหรือทางทะเลซึ่งมีประเทศมากกว่า ๑ ประเทศ อ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ สงคราม ความเชื่อทางศาสนา ที่ตั้งของชุมชนทางชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย หรือผลประโยชน์แห่งรัฐ เช่น พื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารที่มีปัญหาการอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ดังกล่าว ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา. หมู่เกาะสแปรตลีที่เป็นพื้นที่ทับซ้อน มีหลายประเทศต่างอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะทั้งหมดหรือบางส่วนของหมู่เกาะ ได้แก่ จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน บูรไน และ มาเลเซีย |
Silverman | [ซิล-เวอร์-แมน] (org) Silverman เป็นแพลตฟอร์มด้านการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์, ก่อตั้งขึ้นในปี 2018 ได้สร้างและพัฒนาระบบแบบ all-in-1 ที่ดีที่สุด ที่พร้อมรองรับทุกความต้องการทั้งการจัดการอสังหาริมทรัพย์และการจัดการที่อยู่อาศัยสำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท ได้แก่ บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ หอพักและอาคารสำนักงาน |
Sternomastoid | [สเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์] เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในส่วนนอกของลำคอ ชื่อของกล้ามเนื้อมัดนี้มาจากจุดเกาะทั้งสามจุดของกล้ามเนื้อ ซึ่งได้แก่ กระดูกอก (sternum, sterno- ) กระดูกไหปลาร้า (clavicle, cleido- ) และมาสตอยด์ โพรเซส (mastoid process) ซึ่งเป็นส่วนนูนขนาดใหญ่บนกระดูกขมับ (temporal bone) ในบางครั้งอาจเรียกชื่อกล้ามเนื้อนี้ว่า สเตอร์โนมาสตอยด์ (sternomastoid) กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ทำหน้าที่หลักในการหมุนและการงอของศีรษะ นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับกลุ่มของกล้ามเนื้อสคาลีนนัส (scalenus muscles) เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวของช่องอกระหว่างการหายใจ แนวของกล้ามเนื้อนี้ยังใช้ในการแบ่งอาณาบริเวณทางกายวิภาคของลำคอเป็นสองส่วน คือพื้นที่สามเหลี่ยมลำคอด้านหน้า (anterior triangle of neck) และพื้นที่สามเหลี่ยมลำคอด้านหลัง (posterior triangle of neck) |