ใบสีมา, ใบเสมา | น. แผ่นหินที่ทำเป็นเครื่องหมายบอกเขตอุโบสถ, ใบพัทธสีมา ก็ว่า |
ใบสีมา, ใบเสมา | เครื่องก่อรูปอย่างใบเสมา ตั้งเรียงกันบนหลังกำแพงวังหรือกำแพงเมืองเป็นต้น. |
เจว็ด | (จะเหฺว็ด) น. แผ่นไม้รูปคล้ายใบเสมา เขียนเป็นรูปเทวดาสัปตเคราะห์สำหรับพิธีบูชาพระเคราะห์, แผ่นไม้รูปคล้ายใบเสมา เขียนเป็นรูปพระภูมิชัยมงคล ตั้งประจำศาลพระภูมิ |
ช่องกุด | น. ประตูที่เจาะกำแพงพระราชวังหรือกำแพงเมือง เป็นช่องสี่เหลี่ยมเพดานโค้งมนบ้าง โค้งแหลมบ้าง อยู่ใต้แนวใบเสมาลงมา เป็นช่องทางสำหรับคนสามัญเข้าออก, เขียนเป็น ช่องกุฎ ก็มี เช่น ซุ้มทวารบานสุวรรณชมพูนุท ประตูลักช่องกุฎสลับกัน (อิเหนา). |
ช่องตีนกา | น. ช่องรูปกากบาทอยู่ระหว่างแนวบัวผ่าหวายทั้งคู่ตอนใต้ใบเสมาของกำแพงพระราชวังและกำแพงเมือง. |
ตระเว็ด | (ตฺระเหฺว็ด) น. เจว็ด, แผ่นไม้รูปคล้ายใบเสมา เขียนเป็นรูปเทวดาสัปตเคราะห์สำหรับพิธีบูชาพระเคราะห์, แผ่นไม้รูปคล้ายใบเสมา เขียนเป็นรูปพระภูมิชัยมงคล ตั้งประจำศาลพระภูมิ, ใช้ว่า เตว็ด ก็มี. |
เตว็ด | (ตะเหฺว็ด) น. เจว็ด, แผ่นไม้รูปคล้ายใบเสมา เขียนเป็นรูปเทวดาสัปตเคราะห์สำหรับพิธีบูชาพระเคราะห์, แผ่นไม้รูปคล้ายใบเสมาเขียนเป็นรูปพระภูมิชัยมงคล ตั้งประจำศาลพระภูมิ, ใช้ว่า ตระเว็ด ก็มี. |
ใบพัทธสีมา | (-พัดทะ-) น. แผ่นหินที่ทำเป็นเครื่องหมายบอกเขตอุโบสถ, ใบสีมา หรือ ใบเสมา ก็ว่า. |
ใบสอ | น. ใบเสมาบนกำแพงเมือง |
สีมา | เครื่องหมายบอกเขตโบสถ์ มักทำด้วยแผ่นหินหรือหลักหินเป็นต้น เรียกว่า ใบพัทธสีมา, ใบสีมา หรือ ใบเสมา ก็ว่า. |
เสมา ๑ | เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายใบสีมาที่เรียงกันอยู่บนกำแพงอย่างกำแพงเมือง ว่า ใบเสมา |
เสมา ๑ | เครื่องประดับหรือเครื่องรางสำหรับห้อยคอ มีรูปร่างอย่างใบเสมา. |