โยนกลอง | ก. ปัดภาระหรือความรับผิดชอบไปให้คนอื่น. |
โยนกลอน | ก. ขึ้นต้นกลอนแล้วโยนให้คนอื่นแต่งต่อ. |
โยนหัวโยนก้อย | ก. โยนสตางค์หรือสิ่งอื่นขึ้นไปแล้วทายว่าตกลงมาจะหงายด้านหัวหรือก้อย. |
โยน ๓, โยนก | น. ชื่อชนชาติกรีก ซึ่งชาวอินเดียเรียกเพี้ยนมาจากคำ Ionia |
โยน ๓, โยนก | ชื่อเรียกชาวไทยทางล้านนา, ยวน หรือ เยาวนะ ก็เรียก. |
ก้อย ๑ | ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของสตางค์หรือเหรียญกระษาปณ์ ว่า ด้านก้อย, คู่กับ ด้านหัว |
ขวง ๒ | น. ข่วง, บริเวณ, ลาน, เช่น ให้ยกหอกลองยังขวงหลวงริมสนาม (พงศ. โยนก). |
โขยม | (ขะโหฺยม) น. ขยม, ข้า, บ่าว, เช่น ไว้โขยมวัดสามครัว (พงศ. โยนก). |
บ้อ, บ้อหุ้น | น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง เขียนตารางสี่เหลี่ยมหรือวงกลมลงบนพื้น มีผู้เล่น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายออกสตางค์ฝ่ายละ ๒-๓ อัน เอามารวมกัน ฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้โยนสตางค์ทั้งหมดลงในตารางหรือวงกลมนั้นให้กระจาย อีกฝ่ายหนึ่งจะชี้สตางค์อันใดอันหนึ่งให้ฝ่ายโยน ฝ่ายโยนจะต้องใช้สตางค์อีกอันหนึ่ง เรียกว่า “อีตัว” โยนลงให้ประกบสตางค์อันที่เขาชี้ให้ ถ้าโยนลงไปประกบได้ ก็เป็นฝ่ายชนะ ได้สตางค์ทั้งหมด ถ้าโยนถูกสตางค์อันอื่น ก็เป็นฝ่ายแพ้ ต้องเสียสตางค์ทั้งหมดให้ฝ่ายชี้ แต่ถ้าฝ่ายโยนไม่มั่นใจว่าจะโยนอีตัวไปประกบได้ ก็อาจโยนอีตัวลงไปในที่ว่าง เรียกว่า “อู้ไว้” หมายความว่า กินไม่ได้ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งก็จะเป็นผู้โยนบ้าง ฝ่ายที่โยนก่อนก็เปลี่ยนมาเป็นผู้ชี้บ้าง. |
ปิ๋ว ๑ | ก. ชักไว้เสีย, เป็นคำใช้ในวิธีเล่นโยนหลุม เมื่อโยนกันจนเหลือ ๑ สตางค์ ก็ชักเอาเสียไม่ต้องโยนอีก เรียกว่า ปิ๋ว |
ยวน ๑ | ชื่อเรียกชาวไทยทางล้านนา, เพี้ยนเป็น เยาวนะ โยน หรือ โยนก ก็มี. |
เยาวนะ | ชื่อเรียกชาวไทยทางล้านนา, ยวน โยน หรือ โยนก ก็เรียก. |
หัว ๑ | ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของเงินปลีกว่า ด้านหัว คู่กับ ด้านก้อย |