Aide-memoire หรือ Memoire | แปลตามตัวอักษรว่า ช่วยความจำ เป็นหนังสือโต้ตอบทางการทูตประเภทหนึ่ง คือ บันทึกสังเขปของการเจรจาที่ได้กระทำกันเสร็จสิ้นแล้ว บันทึกช่วยจำเช่นนี้ไม่มีการกล่าวนำเป็นทางการและไม่มีการลงชื่อ ซึ่งจะมอบให้แก่กันเมื่อเสร็จการเจรจากันแล้ว ความมุ่งหมายของบันทึกนี้คือ เพื่อบันทึกข้อเท็จจริงไว้เป็นหลักฐานซึ่งผู้รับบันทึกทราบดีแล้วบันทึกช่วย จำก็คือ บันทึกสรุปการสนทนาทางการทูตอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างผู้แทนหรือพนักงานทางการทูตกับหัวหน้าหรือพนักงานของกระทรวงการต่าง ประเทศ จุดประสงค์ตามที่ชื่อบ่งอยู่แล้วว่า เป็นการสรุปประเด็นต่าง ๆ ในการสนทนาเพื่อเตือนความจำนั้นเอง ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะมอบบันทึกนี้ไว้กับกระทรวงการต่างประเทศ ในบันทึกนั้นบรรทัดแรกจะระบุว่าใครเป็นผู้ส่งและใครเป็นผู้รับบันทึก ผู้ส่งบันทึกจะต้องลงชื่อย่อกำกับบันทึกไว้ด้วยบันทึกช่วยจำอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า pro memoria โดยปกติภาษาที่ใช้ใน pro memoria จะมีลักษณะถ้อยคำเป็นทางการมากกว่า aide-memoire [การทูต] |
Communiqué | คำประกาศทางการหรือแถลงการณ์ทางการ ซึ่งรายงานให้ทราบผลของการประชุม หรือการเจรจาเป็นทางการระหว่างเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในรัฐบาล เช่น ประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เอกอัครราชทูต หรือบุคคลอื่นในระดับนั้น คำแถลงการณ์ที่เรียกว่า Communiqué นี้ไม่มีรูปแบบโดยเฉพาะแต่อย่างใด โดยปกติอะไรที่ได้ตกลงกันไว้ในการเจรจาจะบรรจุไว้ด้วยถ้อยคำกว้างๆ ส่วนอะไรที่มิได้ระบุไว้ในแถลงการณ์มักจะมีความสำคัญยิ่งกว่าถ้อยคำที่เขียน ไว้เสียด้วย [การทูต] |
Foreign Policy | นโยบายต่างประเทศ คือแผนการดำเนินการในกิจการระหว่างประเทศ ซึ่งผู้กำหนดนโยบายในคณะรัฐบาลเป็นผู้จัดขึ้น ในประเทศที่มีรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปรัฐสภา ผู้ที่จะชี้ขาดเรื่องนโยบายต่างประเทศได้แก่คณะรัฐมนตรี อันมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะ และจะได้รับความเห็นชอบจากผู้แทนของประชาชนที่ได้รับการเลือกตั้ง ส่วนรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปประธานาธิบดี ตัวประธานาธิบดีเองซึ่งโดยปกติแล้วจะได้รับคำแนะนำจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ และบุคคลชั้นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติ จะเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศ [การทูต] |
Freedom of Movement of Diplomatic Agents | เสรีภาพในการเคลื่อนย้ายและการเดินทางของผู้แทน ทางการทูต โดยปกติ รัฐผู้รับย่อมอนุญาตโดยเสรีแก่ผู้แทนทางการทูต ที่จะเคลื่อนย้ายและเดินทางไปไหนมาไหนได้ทั่วประเทศ แต่ระหว่างสงครามเย็นที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตั้งข้อจำกัดการเดินทางแก่ผู้แทนทางการทูตของกลุ่ม ประเทศคอมมิวนิสต์บางแห่ง ได้แก่ สหภาพโซเวียต บัลแกเรีย เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี รูเมเนีย และโปแลนด์ นัยว่าสหรัฐฯ ได้กำหนดเขตแขวงในดินแดนของตน 355 แห่ง หรือประมาณร้อยละ 11 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นเขตห้ามเข้าสำหรับผู้แทนทางการทูตของประเทศเหล่านั้นในทำนองเดียวกัน กลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ดังกล่าวก็ได้ตั้งข้อจำกัดการเดินทางแก่ผู้แทนทางการ ทูตของสหรัฐฯ เช่นกัน สำหรับเสรีภาพการเคลื่อนย้ายนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในข้อ 26 ว่า?ภายในบังคับของกฎหมาย และข้อบังคับของรัฐผู้รับเกี่ยวกับการเข้าไปในเขตหวงห้ามหรือวางระเบียบไว้ โดยเหตุผลของความมั่นคงแห่งชาติ ให้รัฐผู้รับประกันแก่สมาชิกทั้งมวลของคณะเกี่ยวกับเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และการเดินทางในอาณาเขตของตน? [การทูต] |
Normal Diplomacy | การติดต่อทางการทูตโดยวิถีทางทูตตามปกติ มักจะกระทำกันดังนี้ เมื่อรัฐบาลต้องการจะหยิบยกปัญหาขึ้นกับอีกรัฐบาลหนึ่ง ตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะส่งคำสั่งไปยังเอกอัครราชทูตของ ประเทศตนที่ประจำอยู่ในประเทศผู้รับส่งให้ยกเรื่องนั้นขึ้นเจรจากับรัฐบาล ของประเทศผู้รับ โดยปกติเอกอัครราชทูตจะมีหนังสือทางการทูต (Diplomatic Note) เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไปยังรัฐมนตรีวาการกระทรวงการต่างประเทศ ของประเทศผู้รับนั้นก่อน หรือไม่ก็ไปพบกับรัฐมนตรีด้วยตนเอง ณ กระทรวงการต่างประเทศ การเจรจากันอาจทำให้จำเป็นต้องมีการบันทึกของทูตแลกเปลี่ยนกันขึ้น ในรูปบันทึกช่วยจำ (Aide-Memoire ) ในบางกรณี เอกอัครราชทูตจำเป็นต้องไปพูดจา ณ กระทรวงการต่างประเทศ อีกหลายครั้งกว่าจะเสร็จเรื่อง ในระหว่างนั้น เอกอัครราชทูตมีหน้าที่จะต้องรายงานผลการเจรจาแต่ะครั้งไปยังกระทรวงการต่าง ประเทศของตน และบางคราวอาจจะต้องขอคำสั่งเพิ่มเติมอีกเมื่อเกิดกรณีใหม่โดยมิได้คาดหมาย มาก่อนเป็นต้น ในขณะเดียวกันกระทรวงการต่างประเทศของประเทศผู้รับก็จะส่งคำสั่งไปยังเอก อัครราชทูตของตน แนะว่าควรดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังเจรจากันกับรัฐบาลของ ประเทศที่ตนประจำอยู่ผลการเจรจาอาจเป็นที่ตกลงกันได้ระหว่างรัฐบาลทั้งสอง ฝ่าย หรืออาจจะจบลงด้วยภาวะชะงักงัน ( Stalemate ) หรือรัฐบาลทั้งสองอาจจะตกลงกันว่าไม่สามารถตกลงกันได้ และปล่อยให้ปัญหาคาราคาซังไปก่อน จนกว่าจะมีการรื้อฟื้นเจรจากันใหม่ บางคราวปัญหาที่ยังตกลงกันไม่ได้นั้น อาจกลายเป็นปัญหาขัดแย้งกันอย่างรุนแรงต่อไปก็ได้ [การทูต] |
Notes in Diplomatic Correspondence | หมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้ [การทูต] |
watershed | สันปันน้ำ แนวสันเขาซึ่งโดยปกติเป็นส่วนที่สูงที่สุดของภูเขาที่แบ่งน้ำให้ตกออกสอง ข้างของภูเขานั้น ๆ เป็นลักษณะทางธรรมชาติซึ่งรัฐที่เกี่ยวข้องอาจพิจารณานำมาใช้เป็นเส้นเขตแดน ระหว่างประเทศได้ เช่น สันปันน้ำของเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับพม่า [การทูต] |
Chicle | ยางธรรมชาติสายพันธุ์หนึ่งที่มีลักษณะโครงสร้างโมเลกุลเป็น ทรานส์-1, 4 พอลิไอโซพรีน (trans-1, 4 polyisoprene) โดยปกติใช้ทำผลิตภัณฑ์ประเภทหมากฝรั่ง [เทคโนโลยียาง] |
nutation movement | นิวเทชันมูฟเมนต์, การเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้น เนื่องจากการเจริญเติบโต โดยปกติจะหมายถึงการเคลื่อนไหวของพืช เช่น การแตกยอดของพืช การเลื้อยพันหลักของไม้เลื้อย เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
urine | น้ำปัสสาวะ, น้ำและของเสียที่ไตกรองออกมาจากเลือด เพื่อขับถ่ายออกนอกร่างกาย โดยปกติน้ำปัสสาวะของคนประกอบด้วยยูเรีย เกลือ และสารอื่น ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
stainless steel | เหล็กกล้าไร้สนิม, โลหะผสมระหว่างเหล็ก โครเมียม และธาตุบางชนิด เช่น นิกเกิล มีความต้านทานสูงต่อการเกิดสนิมโดยปกติจะมีโครเมียมผสมอยู่เกิน 12% [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hormone | ฮอร์โมน, สารเคมีซึ่งร่างกายของ สิ่งมีชีวิตสร้างขึ้น เพื่อกระตุ้นหรือควบคุมการทำงานของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ให้เป็นไปโดยปกติ เช่น ฮอร์โมนไทรอกซินช่วยควบคุมเมแทบอลิซึม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
nitrogen fixing bacteria | แบคทีเรียตรึงไนโตรเจน, แบคทีเรียที่ใช้ไนโตรเจนจากบรรยากาศเพื่อการดำรงชีวิต โดยปกติอาศัยอยู๋ในปมรากพืชตระกูลถั่ว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
growth movement | การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเติบโต, การเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเจริญเติบโต โดยปกติจะหมายถึงการเคลื่อนไหวของพืช เช่น การแตกยอดของพืช การเลื้อยพันหลักของไม้เลี้อย เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
file | ไฟล์, เขตข้อมูลที่ใช้เก็บไฟล์รูปภาพหรือไฟล์อื่นๆ ซึ่งเขตข้อมูลประเภทนี้จะเป็นเขตข้อมูลขนาดใหญ่ โดยปกติแล้วจะมีความยาวมากกว่าเขตข้อมูลประเภทอื่นๆ โดยเขตข้อมูลนี้จะเก็บข้อมูลในลักษณะเป็นบิตเรียงต่อกัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
active window | วินโดว์ที่กำลังใช้งานหมายถึง วินโดว์ที่กำลังใช้อยู่ หรืออาจพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ได้ว่า เป็นวินโดว์ที่มีโปรแกรมที่กำลังเปิดใช้อยู่ หรืออยู่หน้าวินโดว์อื่น ๆ วินโดว์นี้ จะเป็นวินโดว์ที่ตอบสนองการสั่งงานทุกอย่าง ถ้าบนจอภาพมีวินโดว์แสดงอยู่มากกว่าหนึ่งวินโดว์ จะมีวินโดว์ใช้งานอยู่เพียงวินโดว์เดียว นอกนั้นเป็นวินโดว์ที่ไม่ได้ใช้งาน (non-active window) โดยปกติแล้ว ถ้าเป็นระบบไมโครซอฟต์ วินโดว์ของพีซี (PC) ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะทราบว่า วินโดว์ ไหนเป็นวินโดว์ใช้งาน โดยดูที่แถบชื่อ (title bar) ถ้าวินโดว์ ใดมีแถบชื่อที่สีต่างกว่าวินโดว์อื่น วินโดว์นั้นจะเป็นวินโดว์ที่ใช้งานอยู่ ถ้าเป็นเครื่องแมคอินทอช วินโดว์ใช้งานจะมีเส้นหลาย ๆ เส้น ในช่องแถบชื่อนั้น ส่วนวินโดว์ที่ยังไม่ใช้งานแถบชื่อจะว่างเปล่า |
alpha test | การทดสอบรอบแรกหมายถึง การนำเอาโปรแกรมสำเร็จที่เขียนเสร็จใหม่ ๆ ไปให้ "กลุ่มลูกค้าประจำ" ทดลองใช้ดูก่อน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ให้ช่วยเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้นให้ เพื่อจะดูว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นใช้ได้ดีหรือไม่ ยังขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง หรือมีปัญหาในเรื่องใด โดยปกติแล้ว การทดลองนำไปใช้ครั้งแรกนี้ จะยังมีเรื่องที่ต้องแก้ไขอีกมาก โปรแกรมดังกล่าวจะมีข้อความบ่งบอกไว้ว่า เป็น alpha version หมายความว่า รุ่นทดสอบรอบแรก ดู beta version ประกอบ |
alpha version | รุ่นทดสอบรอบแรกหมายถึง การนำเอาโปรแกรมสำเร็จที่เขียนเสร็จใหม่ ๆ ไปให้ "กลุ่มลูกค้าประจำ" ทดลองใช้ดูก่อน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ให้ช่วยเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้นให้ เพื่อจะดูว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นใช้ได้ดีหรือไม่ ยังขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง หรือมีปัญหาในเรื่องใด โดยปกติแล้ว การทดลองนำไปใช้ครั้งแรกนี้ จะยังมีเรื่องที่ต้องแก้ไขอีกมาก โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมีข้อความบ่งบอกไว้ว่าเป็นรุ่นทดสอบรอบแรก มีความหมายเหมือน alpha testดู beta version ประกอบ |
ansi character set | ชุดตัวอักขระของแอนซีหมายถึง การกำหนดตัวอักขระต่าง ๆ ที่คอมพิวเตอร์ใช้ ที่สถาบันแอนซี (ANSI) เป็นผู้กำหนดไว้ โดยปกติจะประกอบด้วยตัวอักษรธรรมดาซึ่งมีอยู่ 26 ตัว (A-Z) และตัวเลข 10 ตัว (0-9) และยังมีสัญลักษณ์พิเศษอื่น ๆ เช่น % |
aspect ratio | อัตราส่วนระหว่างแนวตั้งและแนวนอนหมายถึง อัตราส่วนระหว่างแนวตั้งกับแนวนอนของภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยปกติ ใช้ในการสร้างภาพคอมพิวเตอร์ (computer graphics) ซึ่งต้องคอยระวังให้มีสัดส่วนที่ถูกต้องอยู่เสมอ |
assembly language | ภาษาแอสเซมบลีหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งซึ่งจะตรงเข้าไปจัดการกับตัวไมโครโพรเซสเซอร์ หรือ "ตัวประมวลผล" ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และจะทำการประมวลผลโดยตรงได้เลย โดยปกติ ภาษานี้จะเรียนยากและต้องเขียนยาวกว่าภาษา C หรือภาษา BASIC แต่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ (result) เร็วกว่า และใช้เนื้อที่เก็บน้อยกว่าโปรแกรมภาษาอื่นมาก นิยมใช้ภาษานี้เมื่อต้องการประหยัดเวลาทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรม โดยไม่ต้องพะวงถึงความชัดเจนมากนัก และที่สำคัญก็คือ โปรแกรมภาษานี้จะเขียนขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะกับเครื่องใดเครื่องหนึ่ง หากจะนำไปใช้กับเครื่องคนละรุ่น ก็จะต้องมีการปรับแก้ก่อน (ขึ้นกับหน่วยประมวลผลหรือ CPU) |
baud | (บอด) เป็นหน่วยวัดความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านโมเด็ม 1 บอดเท่ากับจำนวนบิตที่ส่งได้ใน 1 ครั้ง ถ้าส่งได้ครั้งละ 2 บิต 1 บอดก็จะเท่ากับ 2 บิต โมเด็มจะดีหรือไม่ ก็ดูที่ความเร็วจากหน่วยวัดนี้ โดยปกติ เท่าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีขนาดความเร็ว 300 บอด (ประมาณ 37 ตัวอักษร) และ 1, 200 บอด (ประมาณ 150 ตัวอักษร) |
binary file | แฟ้มข้อมูลฐานสองหมายถึง แฟ้มที่บรรจุข้อมูลที่เป็นฐานสองเท่านั้น ข้อมูลเหล่านี้ คอมพิวเตอร์จะเข้าใจและรับรู้ได้ โดยปกติ แฟ้มข้อมูลเหล่านี้จะถูกกำหนดให้ใช้นามสกุล (file type) ว่า BIN ดู BIN ประกอบ |
black box | กล่องดำหมายถึง แผงวงจรหรืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งแยกออกมาต่างหาก โดยปกติผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเข้าใจว่า วงจรนั้นทำงานอย่างไร เป็นต้นว่า การถอดรหัสสัญญาณ |
boot | (บูท) { booted, booting, boots } n. รองเท้าหุ้มข้อเท้า, รองเท้าบู๊ท, เครื่องหุ้มคล้ายปลอก, ฝาครอบป้องกัน, ปลอกหุ้มเบาะ, โครงรถ, เครื่องรัดทรมานข้อเท้า, การเตะ, การถีบ, การปลดออก vt. สวมรองเท้าบู๊ท, เตะ, ถีบ เริ่มต้นใหม่เริ่มเครื่องใหม่หมายถึง การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เริ่มต้นทำงาน (ว่ากันว่า คำ "boot" นี้ มาจากคำว่า "bootstrap" เบื้องหลังการใช้คำ ๆ นี้ อยู่ที่การขู่ว่า ถ้าไม่ทำงานแล้วละก็ โดนรองเท้าบู๊ตแน่ ๆ เลย) การเริ่มเครื่องใหม่นั้น โดยปกติ เมื่อกดสวิตช์เปิดแล้ว คอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นทำงานด้วยการอ่านจานบันทึกในหน่วยบันทึก A: ถ้าในหน่วยบันทึก A: ไม่มีจานบันทึก ก็จะไปอ่านจานบันทึก C: (จะไม่สนใจหน่วยบันทึก B: เลย) ถ้ามีจานบันทึกใน A: จานบันทึกนั้นจะต้องมีคำสั่งระบบ (แฟ้มข้อมูล command.com) อยู่ คอมพิวเตอร์จึงจะเริ่มต้นทำงานต่อไปได้ ถ้าจานบันทึกใน A: ไม่มีคำสั่งระบบ จะมีรายงานบนจอภาพว่าเป็น "non-system disk" ในกรณีเช่นนี้ต้องเปลี่ยน แผ่น A: หรือดึงแผ่น A: ออก แล้วเริ่มต้นใหม่จาก หน่วยบันทึก C: (ถ้ามี) อนึ่ง การเริ่มเครื่องใหม่นั้น ทำได้ 2 วิธี วิธีแรกเริ่มด้วยการเปิดสวิตช์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ได้อธิบายแล้ว เรียกว่า "cold boot" อีกวิธีหนึ่งที่ใช้เมื่อมีการเปิดเครื่องอยู่ก่อนแล้ว แต่ต้องการเริ่มเครื่องใหม่ หรือเครื่องเกิดขัดข้องหรือค้าง (hang) ให้ กดแป้น CTRL +ALT +DEL เรียกว่า "warm boot" |
byte | (ไบทฺ) n. หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์เท่ากับ 1 อักขระหรือ 8 บิต, ข้อมูลจำนวน 8 บิต, ชุดของบิต (bit) ซึ่งคอมพิวเตอร์จัดไว้สำหรับเก็บข้อมล 1 ชุด คอมพิวเตอร์ต่างชนิดจะจัดชุดของบิตไว้ไม่เท่ากัน เช่น เครื่อง IBM 360 จัดบิตไว้เป็นชุด ๆ ละ 8 บิต เรียกว่า ไบต์ โดยปกติ ใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของหน่วยความจำ หรือจานบันทึกว่า มีขนาดเก็บได้กี่ตัวอักษร หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น วัดกันเป็นกิโลไบต์ (kilobyte) เรียกว่า K byte เท่ากับประมาณ 1 พันไบต์ หรือหนึ่งพันตัวอักษร, เมกะไบต์ (mega byte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านไบต์ , กิกะไบต์ (gigabyte) เท่ากับประมาณ 1 พันล้านไบต์ และเทราไบต์ (terabyte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านล้านไบต์เช่น เราอาจพูดว่า ฮาร์ดดิสก์ในเครื่องนี้มีขนาดความจุ 2 กิกะไบต์ (หมายความว่าสามารถเก็บข้อความได้สองพันล้านตัวอักษร) อนึ่ง หน่วยวัดที่นิยมใช้มีดังนี้ 1 KB (kilobyte) = 1, 024 ไบต์ 1 MB (Megabyte) = 1, 048, 576 ไบต์ (หรือ 1, 024 Kbytes) 1 GB (gigabyte) = 1, 073, 741, 824 ไบต์ (หรือ 1, 024 Mbytes) 1 TB (terabyte) = 1, 099, 511, 627, 776 ไบต์ (หรือ 1, 024 Gbytes) |
cad | 1. abbr. coronary artery disease 2. (แคด) ย่อมาจาก computer aided design แปลตรง ๆ ได้ว่า การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย หมายถึงการสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการสร้างภาพ แบบจำลอง (model) ฯ แล้วจะบันทึกแบบเก็บไว้ในสื่อ สามารถเรียกแบบที่ออกไว้นั้นมาแสดงบนจอภาพเมื่อใดก็ได้ หรือจะสั่งให้พิมพ์ออกมาดูบนกระดาษก็ได้ โดยสามารถสั่งขยาย ย่อ หมุนพลิกภาพนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ภาพหรือแบบที่ออกไว้จะปรับเปลี่ยนไปตามสูตรที่กำหนดเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง เช่น การออกแบบชิ้นส่วนของรถยนต์หรือโครงสร้างอาคาร ผู้ออกแบบจะสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยปกติ คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้เพื่องานประเภทนี้ จะต้องมีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่มีความจุสูงมาก มีจอภาพที่มีความละเอียดสูง และมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็ว ส่วนการแสดงผล มักจะใช้เครื่องวาด (plotter) แทนเครื่องพิมพ์ดู CAM ประกอบ เพราะมักใช้คู่กันเป็น CAD/CAM |
carriage return | ปัดแคร่แป้นปัดแคร่ใช้ตัวย่อว่า CR ในทางคอมพิวเตอร์ ถือเป็นตัวอักขระตัวหนึ่งที่มองไม่เห็น ใช้เมื่อสิ้นสุดการพิมพ์แต่ละบรรทัด และทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) ลงไปอยู่เป็นตำแหน่งแรกของบรรทัดถัดลงมา โดยปกติ จะกำหนดให้กดแป้น <RETURN> หรือ <ENTER> |
check box | กล่องเลือกช่องสำหรับกาเครื่องหมายหมายถึง ช่องสี่เหลี่ยมหรือวงกลมที่สร้างขึ้นไว้เพื่อให้ทำเครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป แสดงว่า ได้มีการเลือกตัวเลือกนั้นไว้แล้วนั่นเอง โดยปกติจะวางไว้หน้าตัวเลือก มักใช้ในกรอบสนทนา (dialog box) |
check sum | ผลรวมตรวจสอบหมายถึง ผลการคำนวณเพื่อยืนยันในความแม่นตรงของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านทางโมเด็ม ส่วนมากจะเป็น XModem โดยปกติ ในการส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์จะต้องจัดการแยกข้อมูลทั้งหมดออกเป็นส่วนเล็ก ๆ ก่อน ฉะนั้นเมื่อส่งเรียบร้อยแล้ว จึงต้องมีการตรวจสอบผลรวม ถ้าตรงกัน ก็แปลว่า ข้อมูลที่ส่งออกไปถูกต้องครบถ้วน |
client application | โปรแกรมเฉพาะเครื่อง1. ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) คำนี้หมายถึง โปรแกรมที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์บางเครื่อง โดยปกติ ในระบบเครือข่ายนั้น จะต้องมีคอมพิวเตอร์กลางเครื่องหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นที่เก็บโปรแกรมต่าง ๆ ไว้ให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถเรียกไปใช้ได้ เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) (คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมเหล่านั้น) แต่ถ้าเครื่องบริการแฟ้มนั้นเสีย คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายเดียวกันนั้นก็จะทำงานไม่ได้เลย ฉะนั้น เราจึงมักจะให้คอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือข่ายมีโปรแกรมเก็บไว้ในเครื่องของตนเองด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่แม้จะอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน จะไม่สามารถเรียกโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ไปใช้ได้ เราเรียกโปรแกรมที่เก็บอยู่เฉพาะในเครื่องนี้ว่า " client application "2. โปรแกรมบนระบบวินโดว์ที่สามารถโยงถึงที่มาของภาพหรือข้อความที่เป็นต้นแบบได้ หากเมื่อใดมีการแก้ไขในแฟ้มต้นแบบ โปรแกรมก็จะจัดการแก้ไขในแฟ้มใหม่ ให้ด้วย ดู OLE เปรียบเทียบ |
clone | (โคลน) n. พวกสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์จากระบบไร้เพศ., See also: clonal adj. คอมพิวเตอร์เลียนแบบหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำเลียนแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อดัง ๆ ส่วนใหญ่จะมีราคาถูก โดยปกติ เขาแบ่งระดับขั้นของคอมพิวเตอร์กันดังนี้ คือ ถ้าเป็นระดับที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด ก็มีคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็ม IBM แมคอินทอช Macintosh และคอมแพค Compaq ถัดลงมาอยู่ในระดับเทียบเคียงได้ compatible หมายถึง พวกที่มีชื่อ แต่โด่งดังน้อยกว่า เช่น เอ็ปซอน Epson ที่ขั้นต่ำสุดก็คือพวกที่ทำเลียนแบบในราคาถูก .....ถูกจนคนมักจะชอบเสี่ยงซื้อไปใช้ จึงจะเรียกว่า "clone" |
command line | บรรทัดคำสั่งหมายถึงข้อความที่พิมพ์ลงบนจอภาพ เพื่อเป็นคำสั่งให้ เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน โดยปกติใช้หมายถึงคำสั่งที่อยู่พิมพ์หลัง A> B> หรือ C> เช่น A>COPY C:garuda.pm4 |
composite video | สัญญาณวีดิทัศน์คอมโพสิตหมายถึง สัญญาณวีดิทัศน์ที่ใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ โดยปกติแล้ว ใช้สายไฟสายเดียว ตรงข้ามกับสัญญาณอื่น เช่น สัญญาณ RGB (Red Green Blue) ซึ่งจะใช้แต่ละสาย สำหรับแต่ละสี คือมีสายสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน เป็นต้น ฉะนั้น หากเราต้องการภาพ เลือน ๆ ให้ปรากฏบนจอภาพ เครื่องรับโทรทัศน์ของเรา ก็ทำได้โดยส่งสัญญาณนี้แทน |
compression | (คัมเพรส'เชิน) n. การอัด, การบีบ, การกด, ผลจากการถูกอัด, ความกดดัน, ภาวะที่ปริมาตร (ในห้องเครื่อง) ต่ำลงและความกดดันของอากาศสูงขึ้นก่อนการเผาไหม้., Syn. compressure การอัดแน่นหมายถึง นำข้อมูลหรือคำสั่งจำนวนมาก ๆ มาอัดให้แน่น เพื่อ ให้ใช้ที่เก็บในหน่วยความจำ หรือจานบันทึกน้อยลง โดยปกติ จะมีโปรแกรม หรือคำสั่ง ในดอส 6.0 ที่สามารถอัดโปรแกรม ใหญ่ ๆ ที่กินเนื้อที่มาก ๆ ให้เหลือน้อยลง เพื่อจะได้เก็บลงในแผ่นจานบันทึกได้ จานบันทึกชนิดอ่อน floppy disk ในปัจจุบัน มีความสูงสุด 1.44 เมกะไบต์ ฉะนั้น ถ้าแฟ้มข้อมูลใหญ่มาก ก็จะไม่สามารถเก็บลงในแผ่นได้ จึงต้องจัดการอัดให้แน่นเสียก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อจะเรียกมาใช้ จะต้องนำมาคลายออกก่อน เรียกว่า "decompress" การอัดแน่นก็ดี การคลายคืนก็ดี จะต้องมีโปรแกรมเฉพาะจัดทำให้ ในระบบดอส นิยมใช้ PKZip/Unzip ในระบบ Windows 95 โปรแกรมที่นิยมชื่อ WinZip ในระบบยูนิกซ์ ใช้ Gunzipดู expand, decompress เปรียบเทียบ |
compuserve | คอมพิวเซิร์ฟเป็นบริการที่นำคอมพิวเตอร์ของเราไปต่อสายเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ที่สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก ๆ เพื่อจะได้ขอใช้ข้อมูลบางอย่างได้ โดยปกติ การทำเช่นนี้จะต้องจ่ายค่าบริการค่อนข้างแพง นอกจากนั้น บริการ CompuServe ยังมีโปรแกรมเก่า ๆ ที่ยอมให้มีการคัดลอกมาใช้ได้โดยไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อีก มีเกมให้เรียกมาเล่นได้ พร้อมทั้งให้บริการอย่างอื่นอีกมาก เช่น จะจองตั๋วเครื่องบินเองก็ได้ นอกจากนั้น ผู้ใช้จะขอดูข้อมูลต่าง ๆ ได้ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งกีฬา ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ ฯ |
computer aided design | การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CAD (อ่านว่า แคด) หมายถึงการสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการสร้างภาพ แบบจำลอง (model) ฯ แล้วจะบันทึกแบบเก็บไว้ในสื่อ สามารถเรียกแบบที่ออกไว้นั้นมาแสดงบนจอภาพเมื่อใดก็ได้ หรือจะสั่งให้พิมพ์ออกมาดูบนกระดาษก็ได้ โดยสามารถสั่งขยาย ย่อ หมุนพลิกภาพนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ภาพหรือแบบที่ออกไว้จะปรับเปลี่ยนไปตามสูตรที่กำหนดเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง เช่น การออกแบบชิ้นส่วนของรถยนต์หรือโครงสร้างอาคาร ผู้ออกแบบจะสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยปกติ คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้เพื่องานประเภทนี้ จะต้องมีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่มีความจุสูงมาก ๆ มีจอภาพที่มีความละเอียดสูง และมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็ว ส่วนการแสดงผล มักจะใช้เครื่องวาด (plotter) แทนเครื่องพิมพ์ |
computer language | ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เพื่อสื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ โดยปกติเราแบ่งภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ชนิด คือ1. ภาษาเครื่อง (machine language) คำสั่งที่เขียนด้วยภาษานี้เครื่องจะรับรู้และปฏิบัติตามได้ทันที ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์แต่ละแบบก็จะคิดแบบของภาษาที่ใช้กับเครื่องนั้น ๆ ขึ้นเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องลักษณะของภาษาประเภทนี้จะเป็นตัวเลขฐานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ฉะนั้นจึงเป็นการยากสำหรับผู้เขียนโปรแกรม ซึ่งต้องเรียนรู้รายละเอียดของเครื่องนั้น ๆ ก่อน จึงจะใช้ภาษาได้2. ภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) หมายถึงภาษาที่มนุษย์เข้าใจ (แต่เครื่องไม่เข้าใจ) เนื่องจากภาษาเครื่องยุ่งยากและสับสน จึงมีการคิดภาษาหนังสือซึ่งมนุษย์เราเคยชินกันอยู่แล้วขึ้น แล้วใช้ตัวแปล (translator) แปลเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง เครื่องจึงจะดำเนินการได้ ภาษาแนวมนุษย์นี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ระดับ คือ2.1 ภาษาระดับต่ำ (low - level language) เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) 2.2 ภาษาระดับสูง (high - level language) เช่นภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) ลักษณะของภาษาระดับสูงนี้ ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นให้เหมาะสมกับงานเฉพาะอย่าง เช่น ภาษาฟอร์แทรน เหมาะกับงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และงานวิจัย ภาษาโคบอลและอาร์พีจี (RPG) เหมาะกับงานด้านธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีภาษาอื่นที่เป็นที่นิยมอีกมาก ภาษาเหล่านี้จะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมาก เพราะในคอมพิวเตอร์ จะมีตัวแปล (translator) ซึ่งมีหน้าที่คอยแปลภาษาแนวมนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง การใช้ภาษาแนวมนุษย์นี้มีข้อดีคือ ใช้ง่ายกว่า มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่ายกว่า และเขียนได้สั้นกว่า เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลาย ๆ คำสั่งของภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดี ตรงที่ใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการแปล |
control key | แป้นควบคุมเป็นแป้นพิเศษแป้นหนึ่ง โดยปกติ จะมีตัวย่อ Ctrl ไว้ให้อยู่ บนแป้น เป็นแป้นที่ต้องใช้พร้อมแป้นอื่น ๆ จึงจะเป็น คำสั่งให้คอมพิวเตอร์ ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะได้ เช่น ในระบบวินโดว์ การกดแป้นCTRL+S จะใช้แทนคำสั่ง save ได้ แป้น CTRL นี้ โดยปกติจะใช้สัญลักษณ์ ^ แทน เช่น ^S คือกดแป้น CTRL+S |
control statement | ข้อความสั่งควบคุมในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้น โดยปกติ เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งไปทีละคำสั่ง โดยเรียงไปตามลำดับก่อนหลัง แต่เราอาจใช้ข้อความสั่งให้ควบคุมการทำงานได้เช่น กระโดดข้าม, วนกลับไปทำบางคำสั่งใหม่หรือวนหลาย ๆ รอบหรือหยุดทำถ้า ... ข้อความสั่งเหล่านี้มีอยู่หลายคำสั่ง ขึ้นอยู่กับภาษาเป็นต้นว่า GOTO, DO, IF ในภาษาฟอร์แทรน หรือ FOR.....NEXT ในภาษาเบสิก |
data processing | n. กระบวนการหรือเทคนิคการป้อนข้อมูล ใช้ตัวย่อว่า DP (อ่านว่า ดีพี) หมายถึง การนำข้อมูลดิบ (raw data) มาดำเนินการบางประการ เช่น จัดจำแนก คัดแยก คำนวณ บันทึก เปรียบเทียบ เพื่อให้เกิดผลตามที่ต้องการ หรือ ผลที่จะนำไปใช้ต่อไป โดยปกติจะใช้คำเต็ม ๆ ว่า electronic data processing หรือ EDP ซึ่งหมายเฉพาะถึง การประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เท่านั้น |
data record | ระเบียนข้อมูลหมายถึง หน่วยหนึ่งของข้อมูลที่บันทึกไว้ในฐานหรือคลังข้อมูล โดยปกติ ระเบียนหนึ่งจะประกอบด้วยเขตข้อมูล (field) 1 เขตขึ้นไป เช่น ระเบียนของพนักงานของบริษัทแห่งหนึ่ง ประกอบด้วยเขตข้อมูล 10 เขต มี ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเข้าทำงาน เงินเดือนที่ได้รับ ตำแหน่งปัจจุบัน ฯ เป็นต้น ดู data field ประกอบ |
ddt | (ดีดีที) ในความหมายทั่วไป คำนี้หมายถึง "ยาฆ่าแมลง" นำมาใช้ในวงการคอมพิวเตอร์ เป็นคำแสลงหมายถึง การแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดในโปรแกรมในกรณีที่มีมาก ๆ (ทั้งนี้เพราะในการเขียนโปรแกรมนั้น เราเรียกจุดบกพร่องในโปรแกรมว่า แมลง หรือ bug โดยปกติแล้ว การแก้ไขธรรมดา ๆ จะใช้คำว่า debug) |
del key | เป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ โดยปกติจะมีคำ del เขียนไว้บนแป้นด้วย ถ้ากดแป้นนี้จะเป็นคำสั่งให้ลบตัวอักษรที่อยู่ทางขวามือของตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) ขึ้นอยู่กับโปรแกรมจะกำหนดไว้ |
desktop computer | คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะหมายถึง ไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดพอที่จะวางอยู่บนโต๊ะทำงานได้สบาย ๆ ในปัจจุบัน เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงทุกที โดยปกติ เราจะถือว่า คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะนั้นมีขนาดใหญ่กว่าขนาดกระเป๋าหิ้ว (portable) ซึ่งก็ยังใหญ่กว่าขนาดวางตัก (laptop) และขนาดโน้ตบุ๊ก (notebook) |
disk pack | ชุดจานชุดจานบันทึกจานบันทึกที่ใช้กับเมนเฟรมมักจะมาเป็นชุด ๆ ละ 5-10 แผ่น มีแกนยึดให้ติดกันอยู่ตรงกลาง ชนิด (ที่เป็นแผ่นเดียวก็มี เรียกว่า disk cartridge) จานนี้ใช้เป็นสื่อเก็บข้อมูล ที่มีประสิทธิภาพมาก โดยปกติ จานบันทึกแต่ละชุดจะบรรจุข้อมูลได้ทั้งสองหน้า ยกเว้นจานแรกและจานสุดท้าย |
dotard | (โด'ทิจ) n. ความชรา, ภาวะสติปัญญาอ่อนในวัยชรา, ภาวะสติเลอะเลือน, ความหลงรักอย่างโง่ ๆ , การโอ๋จนเกินไปจุดเล็ก ๆ บนจอภาพจุดเล็กที่สุดที่สามารถแสดงบนจอภาพได้ วัดขนาดกันเป็นมิลลิเมตร โดยปกติ จะมีขนาด .41 มม. .31 ม.ม. และ .28 ม.ม. ยิ่งจุดเล็กมากเท่าใด ภาพที่ปรากฏบนจอภาพก็จะยิ่งคมชัดและละเอียดขึ้นเท่านั้น นอกจากนั้น ยังใช้วัดระยะห่างระหว่างจุดสองจุดที่เป็นคนละสีในสีเดียวกันด้วย (สีบางสีที่เห็นบนจอภาพเกิดจากการผสมกันระหว่างจุดที่มีสีต่างกัน เช่น สีเทา เกิดจากการผสมกันของสีดำ และขาว) |
dp | (ดีพี) ย่อมาจาก data processing (แปลว่า การประมวลผลข้อมูล) หมายถึงการนำข้อมูลดิบ (raw data) มาดำเนินการบางประการ เช่นจัดจำแนก คัดแยก คำนวณ บันทึก เปรียบเทียบ เพื่อให้เกิดผลตามต้องการหรือผลที่จะนำไปใช้ต่อไปได้ โดยปกติจะหมายถึงการประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์เท่านั้น |
dram | (ดีแรม) ย่อมาจาก dynamic random access memory (แปลว่าแรมแบบพลวัต) โดยปกตินั้น คอมพิวเตอร์จะใช้ชิป 2 แบบ คือ แบบดีแรม (DRAM) และ แบบ เอสแรม (SRAM) ชิปแบบดีแรม นี้จะมีราคาถูกกว่า เพราะว่าชิปแบบนี้นั้น คอมพิวเตอร์จะต้องนำเอาข้อมูลกลับไปไว้ ณ ที่เดิมเป็น ระยะ ๆ มิฉะนั้น อาจจะลืมได้ ดู RAM ประกอบ |
drop cap | หมายถึงอักษรตัวโตกว่าขนาดปกติตัวแรกของย่อหน้า โดยปกติส่วนบนจะมีระดับเท่ากับตัวอักษรอื่น ๆ แต่จะกินเนื้อที่ของบรรทัดที่สองและสาม |
drum | (ดรัม) { drummed, drumming, drums } n. กลอง, เสียงกลอง, เยื่อแก้วหู vt., vi. ตีกลอง, เคาะจังหวะ. ดรัม <คำอ่าน>หมายถึงสื่อเก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นวัสดุรูปทรงกระบอกที่หมุนรอบแกนด้วยความเร็ว ที่ผิวนอกฉาบด้วยสารแม่เหล็ก การบันทึกข้อความลงเก็บ จะต้องบันทึกลงบนผิวดรัม ผ่านหัวบันทึก (write head) และอ่านข้อความออกโดยหัวอ่าน (read head) จึงเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูล (input) และหน่วยแสดงผล (output) มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล สูงกว่าเทปแม่เหล็ก (magnetic tape) แต่ยังช้ากว่าจานแม่เหล็ก (magnetic disk) โดยปกติจะต้องเรียกเต็ม ๆ ว่า magnetic drum |
dynamic ram | แรมแบบพลวัตย่อมาจาก Dynamic Random Access Memory ใช้ตัวย่อว่า DRAM (อ่านว่าดีแรม) โดยปกตินั้น คอมพิวเตอร์จะใช้ชิป 2 แบบ คือ แบบดีแรม (DRAM) และ แบบ เอสแรม (SRAM) ชิปแบบ ดีแรม นี้จะมีราคาถูกกว่า เพราะว่าชิปแบบนี้นั้น คอมพิวเตอร์จะต้องนำเอาข้อมูลกลับไปไว้ ณ ที่เดิมเป็นระยะ ๆ มิฉะนั้น มันจะลืมได้ ดู RAM ประกอบ |
eighty column card | บัตร 80 คอลัมน์บัตรทำด้วยกระดาษ มีไว้ใช้สำหรับบรรจุข้อมูล โดยปกติจะต้องมีรูปร่างและขนาดตามมาตรฐานที่กำหนด (71/8 นิ้ว +31/4 นิ้ว) จะต้องทำด้วยกระดาษชนิดพิเศษที่มีความต้านทานความชื้นสูง และมีความต้านทานสูงต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในอากาศ ในการบรรจุข้อมูลนั้น ใช้วิธีเจาะรูตามคอลัมน์ของบัตรซึ่งจะมี 80 คอลัมน์ (จึงเรียกกันว่า บัตร 80 คอลัมน์) แต่ละคอลัมน์มี 12 แถว ในการเจาะนั้นรูหนึ่งรูในแต่ละคอลัมน์เป็นรหัสใช้แทนตัวเลข (0-9) และรูสองรูหรือมากกว่าในแต่ละคอลัมน์เป็นรหัสใช้แทนตัวอักษร (A-Z) หรือ อักขรพิเศษอื่น ๆ เมื่อใส่บัตรเข้าเครื่อง รูเหล่านี้จะถูกแปรงไฟฟ้าปัดผ่าน ทำให้เครื่อง สามารถอ่านข้อมูลเข้าไปได้ บัตรคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันมากคือ บัตรที่ ดร. เฮอร์แมน ฮอลเลอริท (Hermann Hollerith) แห่งบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) เป็นผู้คิดขึ้น บางทีจึงนิยมเรียกกันว่า บัตรไอบีเอ็ม (IBM card) หรือ บัตรฮอลเลอริท (Hollerith card) ดู card ประกอบ |
electronic mail | ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้ตัวย่อว่า e-mail หมายถึงการสื่อสารหรือการส่งข้อความ โน้ต หรือบันทึกออกจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ผ่านไปเข้าเครื่องปลายทาง (terminal) หรือเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยส่งผ่านทางระบบเครือข่าย (network) ผู้ส่งจะต้องมีเลขที่อยู่ (e-mail address) ของผู้รับ และผู้รับก็สามารถเปิดคอมพิวเตอร์เรียกข่าวสารนั้นออกมาดูเมื่อใดก็ได้ โดยปกติ จะไม่มีการพิมพ์ข้อความหรือข่าวสารนั้นลงแผ่นกระดาษ นับว่าเป็นการประหยัดกระดาษไปได้ส่วนหนึ่ง โดยทั่วไป ถือกันว่าเป็นงานส่วนหนึ่งของสำนักงานอัตโนมัติ (office automation) ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอันมาก |
em dash | (เอ็มแดช) เป็นอักษรพิเศษตัวหนึ่งที่ใช้ในการพิมพ์ มีลักษณะเป็นขีดยาวเท่า ๆ กับอักษร M หรือเครื่องหมาย hyphen 2 ตัวพิมพ์ติด ๆ กัน (--) โดยปกติ จะใช้เพื่อแสดงว่าต้องการเน้นข้อความนั้น ๆ เช่น " การ เล่นกอล์ฟเป็นการพนันอย่างหนึ่ง -- การพนันที่เป็นที่นิยมมากเสียด้วย " ดู en dash เปรียบเทียบ |
esc key | (แป้นพิมพ์) แป้นหลีกมาจากคำว่า ESCape key ซึ่งเป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีไว้เพื่อสั่งให้ยกเลิกคำสั่งสุดท้ายที่ได้สั่งให้เครื่องปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดไปแล้ว เป็นต้นว่า สั่งคัดลอกแฟ้มข้อมูล ถ้าเกิดเปลี่ยนใจ ให้กดแป้นนี้ คอมพิวเตอร์ก็จะเลิกทำ คล้าย ๆ กับการกดเมาส์ที่ " cancel " โดยปกติ แป้นนี้มักจะอยู่แถวบนสุดทางด้านซ้ายของแผงแป้นอักขระ |
escape key | แป้นหลีกเป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ (บนแป้นมักจะมี ESC) มีไว้เพื่อสั่งให้ยกเลิกคำสั่งสุดท้ายที่ได้สั่งให้เครื่องปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดไปแล้ว เป็นต้นว่า สั่งคัดลอกแฟ้มข้อมูล ถ้าเกิดเปลี่ยนใจ ให้กดแป้นนี้ คอมพิวเตอร์ก็จะเลิกทำ คล้าย ๆ กับการกดเมาส์ที่ " cancel " โดยปกติ แป้นนี้มักจะอยู่แถวบนสุดทางด้านซ้ายของแผงแป้นอักขระ |
extended keyboard | หมายถึง แผงแป้นอักขระที่มีแป้นต่าง ๆ เพิ่มมากกว่าแป้นพิมพ์ปกติ นอกจากจะมีแป้นตัวเลขและแป้นตัวอักษรแยกออกจากกันแล้ว ยังมีแป้นฟังก์ชันอีกประมาณ 10 -15 แป้น โดยปกติแป้นพิมพ์ชนิดนี้จะมี 101 แป้น จึงมักจะมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า 101 key keyboard มีความหมายเหมือน expanded keyboard |
extension | (อิคซฺเทน'เชิน) n. การขยายออก, การยืดออก, การแผ่ออก, สิ่งที่ขยายออก, โทรศัพท์พ่วง นามสกุลในระบบดอส หมายถึง ตัวอักษรสามตัวที่อยู่หลังชื่อแฟ้มข้อมูล เนื่องจากอยู่ในตอนท้ายของชื่อ จึงนิยมเรียกกันว่า"นามสกุล" โดยปกติ คอมพิวเตอร์จะใช้นามสกุลนี้เป็นตัวบอกประเภทของแฟ้มข้อมูล จะมีจุดคั่นระหว่างชื่อและนามสกุล เช่น ถ้าแฟ้มข้อมูลที่เป็นภาษาปาสกาล (Pascal) ก็จะมีนามสกุล .PAS ถ้าเป็นแฟ้มภาษาเบสิก ก็จะมีนามสกุล .BAS อย่างนี้เป็นต้น หรือถ้าเป็นแฟ้มข้อมูลสำรอง ก็มักจะใช้นามสกุลว่า .BAK ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรต้องรู้ว่า นามสกุลอะไร บอกว่าเป็นแฟ้มข้อมูลประเภทไหน โดยเฉพาะนามสกุล .exe, .com, .bin, .doc, .bat ซึ่งจะต้องพบ บ่อย ๆ มีความหมายเหมือน file type |
file handle | รหัสเข้าสู่แฟ้มหมายถึง รหัสลับที่ใช้เป็นทางเข้าสู่แฟ้มข้อมูลในระบบดอส โดยปกติ เรา เพียงบอกแต่ชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการเปิด คอมพิวเตอร์ก็จะจัดการให้ แต่ถ้าเป็นเรื่องลับ เราอาจสั่งให้ คอมพิวเตอร์นำชื่อไปแปลงเป็นตัวเลขก่อน ตัวเลขเหล่านี้ เรียกว่า " file handle" การเข้าสู่แฟ้มข้อมูล ต้องใช้รหัส เหล่านั้นเท่านั้น |
file processing | การประมวลผลแฟ้มข้อมูลหมายถึงการนำแฟ้มข้อมูลมาประมวลผล โดยปกติหมายถึงการเขียนโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำให้ เพื่อให้ได้ผลตามที่ต้องการ |
file server | เครื่องบริการแฟ้มในระบบเครือข่าย (network) โดยปกติจะมีคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่ง เรียกว่าเครื่องบริการแฟ้ม ซึ่งจะใช้เป็นที่เก็บ ทั้งโปรแกรม และแฟ้มข้อมูลที่จะใช้ร่วมกันไว้ในฮาร์ดดิสก์ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเดียวกัน สามารถเรียกใช้ โปรแกรมและแฟ้มข้อมูลเหล่านั้นพร้อมกันได้ โดยเรียกจาก เครื่องบริการแฟ้มดังกล่าว เครื่องบริการแฟ้ม นี้จะทำหน้าที่ ดูแลการใช้แฟ้มข้อมูล และการส่งข้อมูลไปให้ตามที่มีผู้ต้องการเรียกมา |
file size | ขนาดแฟ้มข้อมูลหมายถึง จำนวนเนื้อที่ที่แฟ้มข้อมูลแต่ละแฟ้มใช้เมื่อเก็บลง ในจานบันทึก โดยปกติ จะวัดกันเป็นไบต์ (byte) , หรือ เคไบต์ (K byte) |
filetype | ชื่อประเภทแฟ้มข้อมูลหมายถึงส่วนหนึ่งของชื่อแฟ้มข้อมูล โดยปกติในระบบดอส จะเขียนมีขนาดความยาวไม่เกิน 3 ตัวอักขระ เช่น EXAM. BAS BAS จะบ่งบอกว่าเป็นแฟ้มข้อมูลที่เขียนด้วยภาษาเบสิก |
fixed disk | จานบันทึกอยู่กับที่เป็นชื่อที่ใช้เรียกฮาร์ดดิสก์ (hard disk) อีกชื่อหนึ่ง เพราะโดยปกติ เราไม่อาจจะถอดจานบันทึกแข็งนี้ ออกจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ และเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่าง จานบันทึกแบบธรรมดา (floppy disk) ที่สามารถถอดหรือดึงออกได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ฮาร์ดดิสก์ที่ดึงเข้าออก ได้ก็มี ใช้อยู่ บ้าง แม้ว่าจะไม่เป็นที่นิยมนัก ฮาร์ดดิสก์ชนิดนั้น เรียกว่า removable hard disk ดู removable hard disk ประกอบ |