จงโคร่ง, โจงโคร่ง | (-โคฺร่ง) น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo asper Gravenhorst ในวงศ์ Bufonidae เป็นคางคกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระทั่วตัว ตุ่มที่หลังมีขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ลำตัวสีน้ำตาลดำและน้ำตาลเหลือง ท้องสีขาวหม่นบางตัวมีจุดสีแดงเล็ก ๆ ยางขาวมีฤทธิ์ทำให้มึนเมา อาศัยในป่าบริเวณริมลำธารหรือน้ำตก, กระทาหอง กระหอง หรือ กง ก็เรียก. |
โจง | ก. โยงขึ้น, รั้งขึ้น. |
โจงกระเบน | ก. ม้วนชายผ้านุ่งแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, เรียกวิธีนุ่งผ้าเช่นนั้น ว่า นุ่งผ้าโจงกระเบน. |
โจงกระเบนตีเหล็ก | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือข้างหนึ่งจีบหงาย ระดับแง่ศีรษะ มืออีกข้างหนึ่งแบมือหงาย งอข้อศอก ระดับข้างลำตัว เอียงศีรษะข้างเดียวกับมือต่ำ. |
นุ่งผ้าโจงกระเบน | ก. นุ่งผ้าแล้วม้วนชายผ้านุ่งสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว. |
กง ๕ | ดู จงโคร่ง, โจงโคร่ง. |
กระทาหอง | ดู จงโคร่ง, โจงโคร่ง. |
กระหอง | ดู จงโคร่ง, โจงโคร่ง. |
ถกเขมร | ก. นุ่งผ้าโจงกระเบนดึงชายให้สูงร่นขึ้นไปเหนือเข่า, ขัดเขมร ก็ว่า. |
ผ้าแดง | น. ผ้าทอด้วยด้ายย้อมสีแดงเลือดนก มักใช้ทำผ้านุ่งโจงกระเบนหรือผ้าเช็ดปากสำหรับคนกินหมากเป็นต้น. |
ผ้าลาย | น. ผ้านุ่งที่เขียนหรือพิมพ์ลายเป็นดอกดวงต่าง ๆ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันทำเป็นผ้าถุง. |
ยกกลีบ | ก. ยกกลีบผ้าโจงกระเบนข้างหลังให้โก่งขึ้น, รีดกางเกงตามแนวพับด้านหน้าและด้านหลังขาให้เป็นสันขึ้น. |
ยักคิ้ว | ก. ลักษณะของสิ่งซึ่ง ๒ ข้างไม่เท่ากันอย่างนุ่งผ้าโจงกระเบนสูงข้างต่ำข้าง เรียกว่า นุ่งผ้ายักคิ้ว. |
ลอยชาย | ว. ปล่อยชายผ้านุ่ง (คือ ไม่โจงกระเบน) ในคำว่า นุ่งผ้าลอยชาย |
ลาย ๑ | เรียกผ้านุ่งที่เขียนหรือพิมพ์ลายเป็นดอกดวงต่าง ๆ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันทำเป็นผ้าถุง ว่า ผ้าลาย. |
สนับเพลา | (-เพฺลา) น. กางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้ง มีแถบผ้าปลายงอนหุ้มปลายขากางเกงทั้ง ๒ ข้าง นุ่งโจงทับ, ปัจจุบันยังหมายถึงกางเกงด้วย, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสนับเพลา. |
หางหงส์ ๑ | น. ชายผ้านุ่งที่จีบโจงแล้วไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยให้จีบคลี่ห้อยจากเอวเบื้องหลังลงมาถึงหว่างขาอย่างตัวพระแต่งในละครรำ |