กาฮัง | น. ชื่อนกเงือกชนิด Buceros bicornis Linn. ในวงศ์ Bucerotidae เป็นนกขนาดใหญ่ที่สุดในหมู่นกเงือก โคนขากรรไกรบนมีโหนกแข็งขนาดใหญ่ คอสีขาว ปีกสีดำพาดเหลือง ปลายปีกขาว หางยาวสีขาวพาดดำ ตัวผู้ตาสีแดง ตัวเมียตาสีขาว กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก, กก หรือ กะวะ ก็เรียก. |
ขาหนีบ | น. บริเวณโคนขาด้านหน้าตรงส่วนที่ต่อกับลำตัว. |
ขาอ่อน | น. ส่วนหลังของขานับตั้งแต่โคนขาถึงขาพับ. |
โคน ๑ | น. ส่วนข้างต้นของสิ่งที่ยาวกลม เช่น โคนไม้ โคนเสา โคนขา. |
ตะโพก | น. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง ๒ ข้าง, กล้ามเนื้อส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคนขาหลังของสัตว์สี่เท้า, สะโพก ก็ว่า. |
ตัก ๑ | น. หน้าขาตอนเข่าถึงโคนขาในเวลานั่ง. |
เต่าเดือย | น. ชื่อเต่าบกชนิด Manouria impressa (Günther) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมข้างละ ๑ เดือย ลักษณะคล้ายหนามยื่นออกมาจากผิวหนัง กระดองสีเหลืองส้มปนน้ำตาล มีแผ่นเกล็ดบางส่วนโปร่งใส ตัวเต็มวัยมีความยาวกระดองหลัง ๒๕-๓๐ เซนติเมตร จัดเป็นเต่าบกที่สวยงามชนิดหนึ่ง กินเห็ดป่านานาชนิด อาศัยอยู่ตามเขาสูงที่เป็นป่าดิบเขา พบทางภาคเหนือ ตอนเหนือของภาคตะวันตก และตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ควะ ก็เรียก. |
เต่าหก | น. ชื่อเต่าบกขนาดใหญ่ชนิด Manouria emys (Schlegel & Müller) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมขนาดต่าง ๆ ลักษณะคล้ายเล็บยื่นออกมาจากผิวหนัง ทำให้เข้าใจผิดว่าเต่าชนิดนี้มี ๖ ขา กินพืชและผลไม้ป่า เช่น กล้วยป่า บอน หน่อไผ่ มักพบอาศัยอยู่ตามที่ที่มีความชื้นสูงตามป่าเขาสูงที่เป็นป่าดงดิบ จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ตัวเต็มวัย หนักได้ถึง ๓๗ กิโลกรัม ในประเทศไทยพบ ๒ ชนิดย่อย ได้แก่ เต่าหกเหลือง [ M. e. emys (Schlegel & Müller) ] กระดองสีน้ำตาลอมเหลือง พบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง และเต่าหกดำ [ M. e. phayrei (Blyth) ] กระดองสีดำ พบเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้. |
ปัตคาด | (ปัดตะคาด) น. ชื่อเส้นในร่างกายของคน ในตำราหมอนวดว่า ตั้งแต่ท้องน้อยถึงโคนขาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง. |
ฝีมะม่วง | น. ชื่อฝีที่โคนขาหนีบเกิดจากต่อมนํ้าเหลืองได้รับการติดเชื้อกามโรคชนิด Lymphogranuloma venereum. |
เพลา ๕ | (เพฺลา) น. ตัก, ช่วงขาตั้งแต่เข่าถึงโคนขา, ราชาศัพท์ว่า พระเพลา. |
มหาราชลีลา | น. เรียกท่านั่งที่ห้อยเท้าขวาลงเท้าซ้ายงอพับขึ้นไปสอดไว้ใต้โคนขาขวา. |
มะม่วง ๒ | น. ชื่อฝีที่โคนขาหนีบ เกิดจากต่อมนํ้าเหลืองได้รับการติดเชื้อกามโรคชนิด Lymphogranuloma venereumเรียกว่า ฝีมะม่วง. |
ไร ๑ | น. ชื่อสัตว์ขาปล้องหลายชนิดหลายสกุล ในอันดับ Acarina มีขา ๘ ขา ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุดหรือเล็กกว่า ลักษณะคล้ายพวกเห็บแต่ต่างกันที่ไม่มีหนามเล็ก ๆ คลุมรอบปาก และแผ่นแข็งของรูหายใจอยู่บริเวณด้านข้างของลำตัวเรียงกันไม่เลยโคนขาคู่ที่ ๔ ชนิดดูดกินเลือดสัตว์ เช่น ไรไก่ ชนิด Dermanyssus gallinae (De Geer) ในวงศ์ Dermanyssidae ชนิดที่อยู่ตามผิวหน้าคน ได้แก่ชนิด Demodex folliculorum (Simen) และชนิดที่ทำให้เกิดขี้เรื้อนเปียกในสุนัข คือ ชนิด D. canisLeydis ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Dermodicidae ชนิดที่ทำลายพืช เช่น ไรสนิม ชนิด Phyllocoptruta oleivora (Ashmead) ในวงศ์ Eriophyidae ทำลายผลส้ม ชนิดที่ทำให้เกิดอาการแพ้ในคน เช่น ไรฝุ่น ชนิด Dermatophagoides pteronyssinus (Trouessart) ในวงศ์ Pyroglyphidae. |
สะโพก | น. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง ๒ ข้าง, กล้ามเนื้อส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคนขาหลังของสัตว์สี่เท้า, ตะโพก ก็ว่า. |
หน้าขา | น. ส่วนหน้าของขานับตั้งแต่โคนขาถึงหัวเข่า. |
หริ่ง | น. ชื่อหนูขนาดเล็กถึงขนาดปานกลางหลายชนิด ในวงศ์ Muridae เช่น หนูหริ่งบ้าน (Mus musculus Linn.) มีขนลำตัวสีน้ำตาลเข้ม หัวค่อนข้างแบน หน้าสั้น ฟันเล็ก ขาสีดำ ปลายนิ้วสีขาว ฝ่าตีนสีเข้ม หางยาวสีดำ เคลื่อนไหวได้รวดเร็วและกระโดดเก่ง ในประเทศไทยมีผู้พบบางตัวมีแถบสีเหลืองพาดตามขวางบริเวณกลางลำตัวใกล้โคนขาหลัง แยกเป็นชนิดย่อย M. m. castaneusWaterhouse, หนูหริ่งไม้หางพู่ [ Chiropodomys gliroides (Blyth) ] มีขนลำตัวค่อนข้างยาว ด้านหลังสีน้ำตาลคล้ำ ท้องสีขาว หางยาว มีแผงขนสีขาวและดำตั้งแต่กลางหางไปถึงปลาย ปลายหางเป็นพู่สีขาว อาศัยอยู่ตามป่า. |
เห็บ ๑ | น. ชื่อแมงสัตว์ขาปล้องหลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ อันดับ Aearina มีขา ๘ ขา ลักษณะทั่วไปคล้ายไร แต่ส่วนใหญ่มักโตกว่า และปากมีลักษณะเป็นแท่ง มีหนามโค้งเล็ก ๆ กระจายอยู่รอบปลายปาก แผ่นแข็งของรูหายใจอยู่บริเวณด้านข้างของลำตัวเรียงกันเลยโคนขาคู่ที่ ๔ มีทั้งชนิดที่มีผนังลำตัวแข็งและผนังลำตัวอ่อน เป็นตัวเบียนดูดกินเลือดสัตว์ และเป็นพาหะนำโรค เช่น เห็บวัว (Boophilus caudatus Neumann) เห็บสุนัข [ Rhipicephalus sanguineus (Latreille.) ] ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Ixodidae. |
อูรุ | น. โคนขา, ขาอ่อน. |
Femoral fractures | กระดูกโคนขาหัก [TU Subject Heading] |
Femoral neck fractures | ส่วนคอกระดูกโคนขาหัก [TU Subject Heading] |
Acetabulum | โพรงกระดูกรูปถ้วย, เบ้าอะเซตาบูลัม, เบ้า, เบ้าหัวกระดูกโคนขา, เบ้าข้อตะโพก, เบ้าของข้อตะโพก, เบ้าหัวกระดูกต้นขา, เบ้าอะเซ็ทตาบูลั่ม [การแพทย์] |
Coxa Opening | รูเปิดตรงบริเวณโคนขา [การแพทย์] |
Femoral Artery | หลอดเลือดแดงโคนขา, เส้นเลือดแดงใหญ่แห่งขา, เส้นเลือดแดงที่ขาหนีบ [การแพทย์] |
Femoral Fractures | กระดูกโคนขาหัก [การแพทย์] |
Femoral Neck Fractures | กระดูกโคนขาส่วนคอหัก [การแพทย์] |
Femoral Neoplasms | กระดูกโคนขา, เนื้องอก, กระดูกต้นขา, เนื้องอก [การแพทย์] |
Femoral Nerve | ประสาทฟีมอรัล, ประสาทโคนขา, เส้นประสาทกระดูกต้นขา [การแพทย์] |
Femoral Vein | หลอดเลือดดำโคนขาหลอดเลือดดำใหญ่ที่ขาหลอดเลือดดำเฟโมราลหลอดเลือดดำที่โคนขา [การแพทย์] |
Femur | กระดูกต้นขา, กระดูกโคนขา, ขาช่วงหน้าแข้ง, กระดูกขา, กระดูกต้นขาด้านนอก, ปลายกระดูกขาท่อนบน [การแพทย์] |
Femur Head | กระดูกโคนขาส่วนหัว, กระดูกต้นขาส่วนหัว [การแพทย์] |
Femur Neck | กระดูกต้นขาส่วนคอ, กระดูกโคนขาส่วนคอ, คอกระดูกต้นขา [การแพทย์] |
salivary gland | ต่อมน้ำลาย, ต่อมสร้างน้ำลายของคนมี 3 คู่ คือ บริเวณโคนขากรรไกร 1 คู่ ใต้ขากรรไกร 1 คู่ และใต้ลิ้นอีก 1 คู่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Ischial Tuberosity | ปุ่มอิสเคือล, การกดบริเวณปุ่มกระดูกที่โคนขาด้านใน, ปุ่มนั่งกระดูกก้น, ปุ่มกระดูก, ปุ่มกระดูกอิสเคี่ยม [การแพทย์] |
acetabulum | (แอสซิแทบ' บิวลัม) n. โพรงรูปถ้วยของด้านข้างของกระดูกตะโพก เป็นที่รับหัวกระดูกโคนขา. -acetabular adj. |
femur | (ฟี'เมอะ) n. กระดูกโคนขา, ส่วนที่3ของขาแมลง -pl. femurs, femora |
ham | (แฮม) n. ต้นขาหลังของหมูหรือสัตว์อื่น, ตะโพก, , See also: hams n. โคนขาและตะโพกรวมกัน |
thigh | (ไธ) n. ต้นขา, โคนขา, ขาอ่อน, ปล้องต้นขาแมลง, กระดูกต้นขา |
thighbone | (ไธ'โบน) n. กระดูกต้นขา, กระดูกโคนขา |