แล้วแต่ | ว. ตามแต่, สุดแต่, สุดแท้แต่, (ใช้ในลักษณะที่ยกอำนาจการตัดสินขั้นสุดท้ายให้แก่ผู้ใดหรือสิ่งใดเป็นต้น) เช่น แล้วแต่บุญกรรม แล้วแต่สถานการณ์ แล้วแต่กรณี แล้วแต่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติหรือไม่. |
สุดแล้วแต่ | ว. แล้วแต่ เช่น สุดแล้วแต่จะพิจารณา, สุดแต่ ก็ว่า. |
กรด ๑ | มีความหมายหลายอย่าง สุดแล้วแต่ทฤษฎีที่ใช้เป็นหลักกำหนด คือ เป็นสารเคมีที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และเมื่อสารนี้ละลายนํ้าเป็นสารละลายแล้ว ไฮโดรเจนที่มีอยู่ทั้งหมดหรือบางส่วนต้องแปรสภาพออกมาเป็นไฮโดรเจนไอออน (H+) สารละลายที่ได้มีรสเปรี้ยวเปลี่ยนสีลิตมัสสีนํ้าเงินเป็นสีแดงได้ |
กรวยเชิง | น. ลายที่ทำเป็นรูปกรวย ใช้เป็นลายชายผ้าและปลายเสา เรียกชื่อต่าง ๆ กันแล้วแต่ลายอยู่ที่ไหน เช่น ถ้าอยู่ที่เชิงผ้า เรียกว่า กรวยเชิง, ถ้าอยู่ที่เชิงผ้าเกี้ยว เรียกว่า เชิงเกี้ยว, ถ้าอยู่ที่ด้ามหอก เรียกว่า เชิงหอก. |
กระทุงเหว | น. ชื่อปลาผิวนํ้าทุกชนิด ในวงศ์ Belonidae และ Hemiramphidae ลำตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือเฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมากน้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล ส่วนใหญ่พบในเขตนํ้ากร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล Hemiramphus, Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongyluraและ Zenarchopterusชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ คือ กระทุงเหวบั้ง [ Ablennes hians (Valenciennes) ] ซึ่งมีชุกชุมที่สุด บางชนิดพบอาศัยอยู่ในนํ้าจืด เช่น กระทุงเหวเมือง [ Xenentodon cancila (Hamilton) ] ขนาดยาวได้ถึง ๑.๒๕ เมตร, เข็ม ก็เรียก. |
กระสือ ๒ | น. ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสงได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. |
กะตัก | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Encrasicholina และ Stolephorus วงศ์ Engraulidae รูปร่างยาว กลม หรือแบนข้างเล็กน้อยแล้วแต่ชนิด ปากกว้าง ที่สันท้องระหว่างครีบท้องและครีบก้นมีหนามแหลมขนาดเล็กมาก ๒-๗ อัน ข้างลำตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินพาดตลอดตามยาว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ฝั่ง อาจคละกันหลายชนิด, หัวอ่อน ชินชัง ไส้ตัน เส้นขนมจีน หัวไม้ขีด มะลิ เก๋ย เรียกปะปนกันระหว่างขนาด ชนิด หรือต่างกันตามท้องถิ่นที่จับ ขนาดยาวได้ถึง ๑๔ เซนติเมตร. |
การ์ตูน ๒ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Amphiprion วงศ์ Pomacentridae ลำตัวสั้นและแบนข้าง สีเหลือง แสด หรือแดง บางชนิดมีส่วนบนรวมทั้งครีบหลังดำคลํ้า มักมีแถบสีขาวเด่นพาดขวางบนหัวและลำตัว ๑-๒ แนว แล้วแต่ชนิดหรือขนาดบ้างมีสีส้ม พบอาศัยตามแนวปะการัง โดยเฉพาะอยู่กับดอกไม้ทะเลซึ่งเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังประเภทหนึ่งในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ขนาดยาวได้ถึง ๑๖ เซนติเมตร. |
กินูน | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae ลำตัวมีขนาดและสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดินกินรากพืช ตัวเต็มวัยอาศัยอยู่บนต้นไม้กินใบไม้ มักบินเข้าหาแสงไฟ ชาวบ้านในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมนำมารับประทาน ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Anomala antiqueGyllenhal ลำตัวสีดำเหลือบน้ำเงิน ยาว ๑๘-๒๐ มิลลิเมตร ชนิด Sophrops foveatus Moser ลำตัวสีน้ำตาลแดง ยาวประมาณ ๑๕ มิลลิเมตร, แมลงนูน ก็เรียก. |
กุเรา | น. ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยหลายชนิดใน ๒ สกุล คือ ในสกุล Eleutheronemaและในสกุล Polynemus วงศ์ Polynemidae ครีบอกตอนล่างมีก้านครีบแยกออกจากกันเป็นเส้นยาวรวม ๓-๗ เส้น แล้วแต่ชนิด ลำตัวและครีบสีเทาอมเงิน เช่น ชนิด E. tetradactylum (Shaw), P. sextarius Bloch & Schneider ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘ เซนติเมตร, กุเลา ก็เรียก. |
เก่า | ไม่ใหม่ เช่น ผ้าเก่า ของเก่า, คำนี้เมื่อใช้ประกอบกับคำอื่น ๆ มีความหมายต่าง ๆ กัน แล้วแต่คำที่นำมาประกอบ เช่น มือเก่า หมายถึง ชำนาญ, หัวเก่า หมายถึง ครึ ไม่ทันสมัย, รถเก่า หมายถึง รถที่ใช้แล้ว. |
ข้างลาย ๑ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Terapon และ Pelates วงศ์ Teraponidae มีเส้นดำข้างลำตัวข้างละ ๔-๖ เส้น แล้วแต่ชนิด อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณน้ำกร่อย ขนาดยาวได้ถึง ๓๓ เซนติเมตร เช่น ชนิด T. jarbua (Forsskål), P. quadrilineatus (Bleeker), ออดแอด หรือ ครืดคราด ก็เรียก. |
ไข่ตายโคม | น. ไข่เป็ดหรือไข่ไก่ที่ฟักเป็นตัวแล้วแต่ตายเสียก่อนออกจากไข่. |
จาบคา | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Meropidae ปากสีดำปลายแหลมโค้งเล็กน้อย รูปร่างเพรียว สีออกเขียว ขนหางอาจสั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิด มักสร้างรังเป็นรูตามหน้าผาดิน อยู่เป็นกลุ่ม กินแมลง เช่น จาบคาเคราแดง [ Nyctyornis amictas (Temminck) ] จาบคาหัวเขียว ( Merops philippinus Linn.) ซึ่งเดิมเรียก คับคา. |
จารีตนครบาล | น. วิธีไต่สวนพิจารณาคดีนครบาลซึ่งเป็นคดีโจรผู้ร้ายหรือคดีที่มีโทษหลวง เมื่อคนร้ายจนต่อพยานหลักฐานแล้วแต่ยังไม่ยอมรับสารภาพ โดยให้ใช้ได้ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น เฆี่ยน แต่ไม่ให้ถึงแก่ชีวิต. |
ฉะ ๑ | คำใช้แทนกริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คำห้อมล้อม เช่น ฉะปาก หมายความว่า ต่อยปาก, ฉะข้าว หมายความว่า กินข้าว. |
เฉย ๆ | ว. ใช้ประกอบข้อความหรือคำอื่น มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ข้อความแวดล้อม เช่น หยิบไปเฉย ๆ คือ หยิบไปโดยไม่ได้บอกกล่าว, อยู่บ้านเฉย ๆ คือ อยู่บ้านโดยไม่ทำอะไรให้เป็นกิจจะลักษณะ หรือไม่ได้ทำมาหากินอะไร |
ซ่อนทราย | ชื่อปลาทะเลในสกุล Sillagoวงศ์ Sillaginidae หัวหลิมแหลม ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ครีบหลังมี ๒ ตอน ครีบหางเป็นแฉกตื้นหรือเว้าเพียงเล็กน้อยแล้วแต่ชนิด ลำตัวสีนํ้าตาลอ่อน หลังมีสีเข้มกว่าหรือสีเทา บางชนิดมีแต้มสีน้ำตาลเข้มกว่าเรียงเป็นแถวอยู่ข้างลำตัวหรือพาดอยู่บนสันหลัง บ้างมีจุดบนครีบหลัง อยู่เป็นฝูง ไซ้ทรายหากุ้ง ปู หอย หรือหนอนขนาดเล็กอยู่ตามเขตน้ำตื้นบริเวณชายฝั่ง ขนาดยาวได้ถึง ๓๕ เซนติเมตร, เห็ดโคน หรือ บุรุด ก็เรียก. |
ซากศพ | น. ศพ เช่น แม้นพระองค์ไม่ทรงเลี้ยงมัทรีไว้ จะนิ่งมัธยัสถ์ตัดเยื่อใยไม่โปรดบ้าง ก็จะเห็นแต่กเลวระร่างซากศพของมัทรี (ม. ร่ายยาว มัทรี), เจ้าพี่เอ๋ยอุตส่าห์พาซากศพ มาให้พบผัวรักเมื่อเป็นผี (ตับนางลอย), บางทีเขียนเป็น ทรากศพ ก็มี เช่น พระบาทเจ้าจะได้ทอดทัศนา ซึ่งทรากศพสาธารณนอนตาย (ม. คำหลวง มัทรี), ร่างของคนที่ตายมานานแล้วแต่มีเค้าพอให้สันนิษฐานได้ว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงเป็นต้น. |
ดี ๒ | ว. มีลักษณะที่เป็นไปในทางที่ต้องการ น่าปรารถนา น่าพอใจ ใช้ในความหมายที่ตรงข้ามกับลักษณะบางอย่างแล้วแต่กรณี คือ ตรงข้ามกับชั่ว เช่น คนดี ความดี, ตรงข้ามกับร้าย เช่น โชคดี เคราะห์ดี |
ดีแตก | ว. เคยดีมาแล้วแต่กลับเสียในภายหลัง. |
โดนดี | คำพูดเชิงประชด มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ข้อความแวดล้อม (ใช้ในทางไม่ดี) เช่น ระวังเถอะเดี๋ยวจะโดนดี. |
ได้ | ใช้ประกอบท้ายคำกริยา มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ความแวดล้อม คือ อาจ, สามารถ, เช่น เดินได้ เขียนได้ |
ตัน ๒ | น. มาตรานํ้าหนักและมาตราวัด มีหลายอัตราแล้วแต่วัตถุที่ใช้ คือ ๑. เมตริกตัน มาตราชั่งเท่ากับนํ้าหนัก ๑, ๐๐๐ กิโลกรัม หรือ หาบหลวง หรือเป็นมาตราวัดเท่ากับ ๑.๑๓ ลูกบาศก์เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต. ๒.ตันระวางเรือ ถ้าคำนวณระวางบรรทุกสินค้าและห้องทั่วไป เรียก ตันกรอส, ถ้าคำนวณเฉพาะบรรทุกสินค้า เรียก ตันเน็ต, และถ้าคำนวณนํ้าหนักทั้งลำเรือเช่นเรือรบ เรียก ตันระวางขับน้ำ, ทั้ง ๓ นี้วัด ๑๐๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่งเช่นเดียวกัน. ๓. ตันระวางบรรทุกอื่น ๆ ถ้าของหนักคิด ๑, ๐๑๖.๐๔๗ กิโลกรัม เป็นตันหนึ่ง ถ้าเป็นของเบาคิดวัด ๑.๑๓ ลูกบาศก์เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่ง. |
ตาม | แล้วแต่, สุดแต่, เช่น ตามใจ ตามอัธยาศัย ตามกรรม |
ตามใจ | ก. แล้วแต่ใจ. |
ตามที | ว. แล้วแต่จะเป็นไป. |
ตายโคม | น. เรียกไข่เป็ดหรือไข่ไก่ที่ฟักเป็นตัวแล้วแต่ตายเสียก่อนออกจากไข่ ว่า ไข่ตายโคม. |
ถลุง | โดยปริยายใช้ในความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่ข้อความแวดล้อม เช่น ถลุงเงินเสียเรียบ หมายถึง ผลาญเงิน นักมวยถูกถลุงเสียยํ่าแย่ หมายถึง ถูกเตะต่อยเสียยํ่าแย่ เอารถยนต์ไปถลุงเสียยับเยิน หมายถึง เอาไปใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย. |
ทั้งนี้ทั้งนั้น | ว. จะเป็นเช่นนี้หรือจะเป็นเช่นนั้นก็ตาม เช่น ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่มีใครรู้ความจริง เสนอโครงการไปหลายโครงการ ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วแต่ว่าจะได้งบประมาณหรือไม่. |
เทอร์โมมิเตอร์ | น. เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิ ทำด้วยหลอดแก้วบรรจุปรอทหรือแอลกอฮอล์หรือแก๊สเป็นต้น แล้วแต่ความมุ่งหมาย ความสะดวกที่จะนำไปใช้ และความละเอียดถูกต้องในการวัด, เทอร์มอมิเตอร์ ก็เรียก. |
น้ำดอกไม้ ๔ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ทุกชนิดในสกุล Sphyraena วงศ์ Sphyraenidae ลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวแหลม คางล่างยื่น ปากกว้าง มีฟันคมแข็งแรง ตาโต เกล็ดเล็กบาง ขอบเรียบ มีครีบหลัง ๒ ตอน พื้นลำตัวมีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด แต่มักเป็นสีฟ้าอมเทา เช่น ชนิด S. forsteri Cuvier หรือนํ้าตาลอมเหลือง เช่น ชนิด S. obtusata Cuvier & Valenciennes บ้างมีบั้งทอดขวางลำตัวเป็นระยะ ๆ เช่น ชนิด S. jello Cuvier & Valenciennes บ้างก็มีจุดหรือแต้มดำ เช่น ชนิด S. barracuda (Walbaum) ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๓๐-๑๕๐ เซนติเมตร, สาก ก็เรียก. |
บารอมิเตอร์ | น. เครื่องมือที่ใช้วัดความกดอากาศ อาจประกอบด้วยปรอท หรือตลับโลหะสุญญากาศ แล้วแต่ความมุ่งหมายและความสะดวกที่จะนำไปใช้. |
ประวัติการ | (ปฺระหฺวัดติกาน, ปฺระหฺวัดกาน) น. เรื่องราวที่เป็นมาแล้วแต่ก่อนตามลำดับสมัย. |
ปักเป้า ๑ | (ปักกะ-) น. ชื่อปลาทุกชนิดในวงศ์ Tetraodontidae และ Diodontidae ลำตัวป้อมหรือกลมมากน้อยแล้วแต่ชนิด ขนาดยาวตั้งแต่ ๖-๖๐ เซนติเมตร เฉพาะบางสกุล เช่น สกุล Canthigaster, Chonerhinosและ Tetrodon ในวงศ์ Tetraodontidae สกุล Diodon และ Chilomycterus ในวงศ์ Diodontidae มีลักษณะแบนข้าง ทุกชนิดสามารถพองตัวได้ ผิวหนังมีหนาม ฟันมีลักษณะเป็นแผ่นกระดูกแข็ง ไม่มีครีบท้อง กินสัตว์อื่น ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล บางชนิดพบในนํ้าจืด เช่น ชนิด Chonerhinos modestus (Bleeker) ทุกชนิดมีพิษ ไม่ควรนำมารับประทานเพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้. |
ปา | คำใช้แทนกิริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คำประกอบที่ทำให้รู้ว่าเกินกว่าที่คาดคิด, มักใช้ว่า ปาขึ้นไป หรือ ปาเข้าไป, เช่น ค่าโดยสารปาขึ้นไปตั้ง ๑๐ บาท กว่าจะทำงานเสร็จก็ปาเข้าไปตั้ง ๒ ทุ่ม. |
ปิโตรเลียม | น. นํ้ามันดิบ ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนและสารอินทรีย์อื่น ๆ อีกมาก องค์ประกอบไม่แน่นอนแล้วแต่แหล่งที่พบ. |
พ่อเจ้าประคุณ | คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง (ใช้แก่ผู้ชาย) เช่น โถ ! พ่อเจ้าประคุณของย่า เจ็บไหม ทำไมไม่นอนที่โรงละครเลยล่ะพ่อเจ้าประคุณ. |
โพระดก | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Megalaimidae หรือ Capitonidae ปากหนาสั้นแข็งแรง ปลายแหลมใหญ่ มีขนแข็งตรงโคนปาก หน้าสีแดง เหลือง หรือนํ้าตาลแล้วแต่ชนิด ตัวอ้วนป้อมสีเขียว ทำรังตามโพรงไม้ กินผลไม้และแมลง เช่น โพระดกธรรมดา [ Megalaima lineate (Vieillot) ] โพระดกหูเขียว [ M. faiostricta (Temiminck) ] โพระดกคอสีฟ้า [ M. asiatica (Latham) ]. |
ภาษาแบบแผน | น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก. |
เม่า ๒ | น. เรียกปลวกทุกชนิดในระยะที่มีปีกเพื่อบินออกผสมพันธุ์ ลำตัวขนาดแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิด ยาวตั้งแต่ ๐.๕-๒.๗ เซนติเมตร มีปีก ๒ คู่ยาวกว่าลำตัว เหมือนกันทั้งรูปทรงและเส้นปีก เมื่อพับปีก ปีกจะแบนราบไปตามลำตัวด้านหลัง เมื่อผสมพันธุ์แล้วสลัดปีกและเฉพาะตัวเมียจะไปสร้างรังใหม่ ว่า แมลงเม่า. |
แม่เจ้าประคุณ | คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น แม่เจ้าประคุณของยายสบายดีหรือ ดึกแล้วแม่เจ้าประคุณยังไม่กลับบ้านเลย. |
แมงมุม | น. ชื่อสัตว์พวกแมงในอันดับ Araneae ปากมีรยางค์คู่หน้ารูปร่างคล้ายปากคีบและมีรยางค์ปากรูปทรงคล้ายขา ๑ คู่ ไม่มีหนวด ลำตัวขนาดแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิด มีขา ๘ ขา ทุกชนิดมีขาที่สามารถชักใยจากรูเปิดตรงส่วนท้อง ส่วนใหญ่กินแมลง มีทั้งชนิดชักใยดักสัตว์ เช่น แมงมุมขี้เถ้า (Pholcusspp.) ในวงศ์ Pholcidae และที่กระโดดจับสัตว์ เช่น แมงมุมสุนัขป่า (Pardosaspp.) ในวงศ์ Lycosidae. |
แมว ๒ | น. ชื่อปลาทุกชนิดในสกุล Thryssa, Setipinna และชนิด Lycothrissa crocodilus (Bleeker) ในวงศ์ Engraulidae ลำตัวยาว แบนข้างมาก ปากกว้าง เชิดขึ้นมากน้อยแล้วแต่ชนิด ฟันแหลมคมคล้ายฟันแมว ตาอยู่ค่อนไปทางปลายจะงอยปาก เกล็ดเป็นแบบเรียบ ใหญ่และบาง ท้องเป็นสันแหลมมีเกล็ดแข็ง เรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปลายครีบอกมักยื่นยาวเป็นเส้นคล้ายหนวดแมว ครีบก้นเป็นแผ่นยาว มีทั้งที่อยู่ในนํ้ากร่อย นํ้าทะเล และนํ้าจืด ขนาดยาวได้ถึง ๑๕-๓๐ เซนติเมตร. |
ยืนต้นตาย | ก. อาการที่ต้นไม้บางชนิดเช่นต้นตาล ต้นลาน ตายแล้วแต่ยังไม่ล้ม, อาการที่ไม้ยืนต้นเช่นต้นสัก ต้นยาง ตายเองหรือถูกกานคือ ควั่นเปลือกและกระพี้โดยรอบออกแล้วตาย แต่ยังไม่ล้ม. |
ร้อง | ก. เปล่งเสียงดัง, โดยปริยายหมายถึงออกเสียงดังเช่นนั้น เช่น ฟ้าร้อง จักจั่นร้อง, (ปาก) ใช้หมายความว่า ร้องเพลง ร้องไห้ ก็มี แล้วแต่คำแวดล้อมบ่งให้รู้ เช่น เพลงนี้ร้องเป็นไหม อย่าร้องให้เสียน้ำตาเลย. |
ลงท้าย | ว. ในที่สุด เช่น พูดว่าจะให้เงิน ลงท้ายก็เหลว คนเราลงท้ายก็ต้องตายกันทุกคน, เรียกข้อความที่ลงท้ายจดหมาย เช่น ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง ว่า คำลงท้าย. |
ลูกบ้าน | น. ชาวบ้านที่อยู่ในปกครองของนายบ้าน ซึ่งในปัจจุบันได้แก่ กำนันและผู้ใหญ่บ้านหรือนายอำเภอแล้วแต่กรณี. |
ลูกมาด | น. เรือมาดที่ขุดแล้วแต่ยังไม่ได้เบิก, มาดเรือโกลน ก็เรียก. (ดู มาด ๑). |
ลูกแหง่ | โดยปริยายหมายถึงคนที่โตแล้วแต่ยังติดพ่อติดแม่เป็นต้น หรือยังทำอ้อนเหมือนเด็กเล็ก ๆ. |
Radiation worker | ผู้ปฏิบัติงานรังสี, ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีชนิดก่อไอออน เช่น ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีอาจรวมถึงผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเทคนิค แต่มีความจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณรังสีหรือรังสีดังกล่าวเป็นประจำ ทำให้มีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าประชาชนทั่วไป เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานขับรถขนส่งสารกัมมันตรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีจะกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติงานทางรังสีตามกฎระเบียบ หรือแล้วแต่กรณี</br> <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีโอกาสได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานเป็นปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี หรือผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี จะมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ</br> [นิวเคลียร์] |
Consular office Declared ?Non grata? | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น [การทูต] |
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] |
Inter-Governmental Maritime Consultative Organization | องค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต] |
International Conferences | คือการประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้ง สุดท้าย [การทูต] |
Multiple Representation | คือการเป็นตัวแทนประจำประเทศต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งแห่ง ตามหลักทั่วไป รัฐหนึ่งจะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งให้ไปประจำเพียงรัฐเดียวในตำแหน่งเอกอัคร ราชทูต แต่มาในทุกวันนี้ เนื่องจากงบประมาณของประเทศมีจำกัด จึงเป็นธรรมเนียมแพร่หลายที่จะตั้งให้เอกอัครราชทูตคนเดียวไปประจำปลาย ประเทศได้ในเวลาเดียวกัน ยกเว้นแต่ว่ารัฐผู้รับหนึ่งใดจะแสดงการคัดค้านอย่างแจ้งชัดเอกอัครราชทูตคน เดียวกัน ซึ่งไปประจำอยู่หลายประเทศนั้น จะมีถิ่นพำนักถาวร (Permanent Residence) อยู่ในนครหลวงของเพียงประเทศหนึ่ง ส่วนในประเทศที่เหลือที่เขาเป็นเอกอัครราชทูตประจำอยู่ด้วยนั้น เขาไปพำนักอยู่เพียงระยะเวลาจำกัดเป็นพัก ๆ รัฐผู้ส่งจะมีคณะผู้แทนทางการทูตของตนไปประจำ ณ นครหลวงของแต่ละประเทศเหล่านั้น ตัวหัวหน้าคณะแต่ละแห่งจะมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Charge d? Affaires ad interim)เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 5 ดังนี้ ?1. หลังจากที่ได้บอกกล่าวแก่รัฐผู้รับที่เกี่ยวข้องตามสมควรแล้ว นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดแจ้งโดยรัฐผู้รับรัฐใดรัฐหนึ่ง รัฐผู้ส่งอาจแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทน หรือแต่งตั้งบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตแล้วแต่กรณี ไปยังมากกว่ารัฐหนึ่งก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐอื่นหนึ่งรัฐหรือมากกว่านั้น รัฐผู้ส่งอาจสถาปนาคณะผู้แทนทางการทูตโดยมีอุปทูตชั่วคราวเป็นหัวหน้าในแต่ ละรัฐที่หัวหน้าคณะผู้แทนไม่มีที่นั่งทำงานของตนเป็นประจำก็ได้ 3. หัวหน้าคณะผู้แทน หรือบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตของคณะผู้แทน อาจกระทำการในฐานะเป็นผู้แทนของรัฐผู้ส่งในองค์การระหว่างประเทศใดก็ได้" [การทูต] |
Notes in Diplomatic Correspondence | หมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้ [การทูต] |
Presentation of Credentials | หมายถึง การยื่นสารตราตั้ง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศใดประเทศหนึ่ง ก่อนที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ จะต้องนำสารตราตั้ง (Credentials) ไปยื่นต่อประมุขของรัฐนั้น ๆ พิธียื่นสารตราตั้งจะกระทำไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ แล้วแต่จะพิจารณาเห็นความเหมาะสม และความเคร่งต่อธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นสำคัญ เช่น อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่พิธียื่นสารตราตั้งของเอกอัครราชทูตต่อองค์ประมุข ของประเทศค่อนข้างวิจิตรพิสดารมาก ส่วนบางประเทศมีพิธียื่นสารอย่างง่าย ๆ แทบจะไม่มีพิธีรีตองอย่างใดในสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตันดีซี พิธียื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดีของสหรัฐฯ กระทำอย่างเรียบง่าย กล่าวคือ พอถึงเวลาที่กำหนดในวันยื่นสารตราตั้ง อธิบดีกรมพิธีการทูตหรือผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะนำรถยนต์ลีมูซีนสีดำไปยังทำเนียบของเอกอัครราชทูต เพื่อรับเอกอัครราชทูตและครอบครัวไปยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ณ ตึกทำเนียบขาว ( White House)มีข้อน่าสนใจอันหนึ่งคือ ทางฝ่ายสหรัฐฯ จะสนับสนุนให้เอกอัครราชทูตพาภรรยาและบุตรทั้งชายหญิงไปร่วมในการยื่นสารตรา ตั้งนั้นด้วย การแต่งกายของเอกอัครราชทูตก็สวมชุดสากลผูกเน็คไทตามธรรมดา ระหว่างที่ยื่นสารมีการปฏิสันถารกันพอสมควรระหว่างเอกอัครราชทูตกับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีช่างภาพของทางราชการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และมอบภาพถ่ายให้แก่เอกอัครราชทูตในวันหลัง (ต่างกับพิธีของอังกฤษมาก) เอกอัครราชทูตไม่ต้องพาคณะเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย หลังจากพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว อธิบดีกรมพิธีการทูตจะนำเอกอัครราชทูตและครอบครัวกลับไปยังทำเนียบที่พักโดย รถยนต์คันเดิม เป็นอันเสร็จพิธียื่นสารตราตั้ง โดยที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างมีสถานเอกอัครราชทูตของตนตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี ดังนั้น ในวันไหนที่มีการยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ทางการทำเนียบขาวมักจะกำหนดให้เอกอัครราชทูตใหม่จากประเทศต่าง ๆ เข้ายื่นสารในวันนั้นราว 4-5 ประเทศติดต่อกัน มิใช่วันละคนอย่างที่ปฏิบัติในบางประเทศทันทีที่เอกอัครราชทูตยื่นสารตรา ตั้งต่อประธานาธิบดีเรียบร้อยแล้ว เอกอัครราชทูตจะมีหนังสือเวียนไปยังหัวหน้าคณะทูตทุกแห่งในกรุงวอชิงตันดีซี แจ้งให้ทราบว่าในวันนั้น ๆ เขาได้ยื่นสารตราตั้งต่อประมุขของรัฐ ในฐานะเอกอัครราชทูตเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับแสดงความหวังในหนังสือว่าความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างคณะผู้ แทนทางการทูตทั้งสอง ทั้งในทางราชการและทางส่วนตัว จะมั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้นอีก จากนั้น เอกอัครราชทูตใหม่ก็จะหาเวลาไปเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซีทีละราย กว่าจะเยี่ยมหมดทุกคนก็กินเวลานานอยู่หลายเดือนทีเดียว [การทูต] |
anaphase | ระยะแอนาเฟส, ระยะหนึ่งของการแบ่งเซลล์ถัดจากระยะเมทาเฟส เป็นระยะที่ โครมาทิดแยกออกจากกันเป็นโครโมโซม กลุ่ม แล้วแต่ละกลุ่มเคลื่อนไปยังขั้วเซลล์แต่ละด้าน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
igneous rock | หินอัคนี, หินที่เกิดจากหินหนืดใต้เปลือกโลกซึ่งจะแข็งตัวอยู่ภายในเปลือกโลกหรือพุ่งพ้นเปลือกโลกออกมาบนผิวโลกแล้วเย็นตัวลง หินอัคนีมีหลายชนิดแล้วแต่ลักษณะการเย็นตัวและส่วนผสมของซิลิกา เช่น หินแกรนิต หินบะซอลต์ หินพัมมิช เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
aleatory | (เอลิอะทอ' รี) adj. แล้วแต่เหตุการณ์, แล้วแต่ดวง, ซึ่งผสมกันยุ่ง (ดนตรี) (of luck) |
cascade | (แคส'เคด) { cascaded, cascading, cascades } n. น้ำตกเล็กที่ตกจากหน้าผาที่สูงชัน, น้ำตกเป็นหลั่น ๆ , การต่อไฟฟ้าเป็นหลั่น ๆ , การเชื่อมโยง, ใบพะเนียด vt., vi. ตกลงมาเหมือนน้ำตก, ต่อเนื่องกันเป็นขั้นบันได, Syn. cataract แบบต่อเรียงการจัดเรียงวินโดว์บนจอภาพนั้น สามารถทำได้ 2 แบบ คือให้เป็นแบบต่อเรียง ซึ่งจะทำให้สามารถมองเห็นชื่อของแต่ละวินโดว์ที่เรียงต่อกัน หรือแบบแผ่เรียง tile ซึ่งจะทำให้มองเห็นทุกวินโดว์บนจอพร้อม ๆ กันในขนาดเล็ก ๆ ก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่คำสั่งของผู้ใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์ ว่าจะสั่งให้เป็นแบบ cascade หรือ tileดู tile เปรียบเทียบ |
conditional | (คันดิช'เชินเนิล) adj. เป็นเงื่อนไขหรือข้อแม้, ขึ้นอยู่กับ, แล้วแต่, Syn. indefinite, provisional |
depend | (ดีเพนดฺ') { depended, depending, depends } vi. ขึ้นอยู่กับ, อาศัย, อยู่ที่, สุดแล้วแต่, พึ่งพา, แขวนหรือห้อยอยู่, เชื่อถือ |
dependent | (ดิเพน'เดินทฺ) adj. ขึ้นอยู่กับ, แล้วแต่, ซึ่งห้อยอยู่. n. ผู้อาศัย, ผู้อยู่ในความอุปถัมภ์, Syn. dependant |
emeritus | (อิเมอ'ริเทิส) adj., n. (ผู้) ซึ่งปลดเกษียณแล้วแต่ยังคงตำแหน่ง เป็นเกียรติยศอยู่ |
fickle | (ฟิค'เคิล) adj.เปลี่ยนแปลงได้, เอาแน่ไม่ได้, เหลาะแหละ, แล้วแต่อารมณ์, หลายใจ., See also: fickleness n., Syn. unstable |
function keys | แป้นกำหนดหน้าที่หมายถึง แป้นพิเศษกลุ่ม หนึ่งที่มักจะถูกจัดไว้ให้อยู่แถวบน สุดของแป้นพิมพ์ (บางทีก็อยู่ ด้านซ้ายมือ) ปกติจะมีอยู่ราว ๆ 10-15 แป้น บนแป้นจะมีตัวอักษร F ตามด้วยเลขตั้งแต่ 1-15 (แล้วแต่ว่ามีกี่แป้น) แป้นเหล่านี้จะถูกกำหนด หน้าที่ เฉพาะ ให้ใช้แทนคำสั่งบางคำสั่งได้เลย เช่น ในระบบดอส แป้น F3 จะใช้แทนคำสั่ง copy ได้ เป็นต้น |
grits | (กริทซฺ) n. ข้าวที่ปลอกเปลือกและบดอย่างหยาบ ๆ , ข้าวที่สีแล้วแต่ยังไม่ได้โม่ |
incidentally | (อินซีเดน' ทะลี) adv. โดยบังเอิญ, แล้วแต่โอกาสจะอำนวยให้, อนึ่ง, ในโอกาสนี้ |
odd lot | n. ปริมาณที่น้อยกว่าหน่วยปกติในการค้าขาย, จำนวนที่น้อยกว่า100หุ้นหรือ10หุ้นแล้วแต่กรณี, See also: odd-lot adj. |
tab key | (แป้นพิมพ์) แป้นตั้งระยะหมายถึง แป้นพิมพ์แป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ โดยปกติจะอยู่ริมด้านซ้ายสุดของแถวที่สองจากข้างบน อาจมีคำ tab บนแป้น บางทีมีเครื่องหมายลูกศรแทน การกดแป้นนี้ จะทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) เลื่อนไประยะหนึ่ง (แล้วแต่จะมีการกำหนดไว้) อาจเป็น 5- 10 ช่องว่าง มักใช้เมื่อต้องการย่อหน้าหรือต้องการจัดคอลัมน์ให้ตรงกัน (ไม่ควรกดคานเคาะ) นอกจากนั้น ในกรอบสนทนา การกดแป้นนี้หมายความว่า ให้กระโดดจากช่อง (ที่จะให้เติมข้อความ) ที่ 1 ไปช่องที่ 2 ไปช่องที่ 3....ต่อไป |
wort | (เวิร์ท) n. เบียร์ที่ต้มแล้วแต่ยังไม่ได้หมักฟู, พืช |